โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สัญญา (นิติศาสตร์)

ดัชนี สัญญา (นิติศาสตร์)

สัญญา หมายถึง ข้อตกลงระหว่างบุคคลสองฝ่าย (หรือหลายฝ่าย) ว่าจะกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง สัญญามักจะเป็นรูปแบบเอกสารลายลักษณ์อักษร ซึ่งระบุเงื่อนไขและข้อตกลงต่าง ๆ ลงท้ายด้วยลายมือชื่อของทั้งสองฝ่าย และอาจมีของพยานด้วยก็ได้ หมวดหมู่:กฎหมายนิติกรรมและสัญญา หมวดหมู่:เอกสารทางกฎหมาย.

17 ความสัมพันธ์: บัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคาบันทึกความเข้าใจการสมรสยืม (กฎหมาย)ยืมใช้สิ้นเปลืองยืมใช้คงรูปลัทธิกัลโบสัญญาสัญญาต่างตอบแทนสัญญาต้องเป็นสัญญาสนธิสัญญาผู้รับจ้างก่อสร้างคำมั่นนายหน้าโมฆะเอกเทศสัญญาThink tank

บัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคา

ัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคา (Bill of Quantities/B.O.Q.) คือเอกสารหนึ่งของเอกสารประกวดราคา (Tender Documents) และเอกสารสัญญา (Contract Documents) ที่ใช้เพื่อการประกวดราคาและการก่อสร้าง.

ใหม่!!: สัญญา (นิติศาสตร์)และบัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคา · ดูเพิ่มเติม »

บันทึกความเข้าใจ

ันทึกความเข้าใจ (memorandum of understanding, ย่อ: MoU) เป็นเอกสารที่บันทึกข้อตกลง ความร่วมมือ หรือ ความเข้าใจระหว่าง องค์กร หน่วยงาน รัฐ เมื่อทั้งสองฝ่ายรับทราบและเข้าใจรายละเอียดในบันทึกความเข้าใจนั้นแล้ว ตัวแทนผู้มีอำนาจของทั้งสองฝ่ายก็จึงจะลงนามในบันทึกความเข้าใจ บันทึกความเข้าใจเป็นสนธิสัญญาก็ต่อเมื่อเข้าองค์ประกอบของสนธิสัญญา ตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. 1969 บันทึกความเข้าใจนั้น ไม่ถือว่าเป็นเป็นหนังสือสัญญาที่มีผลตามกฎหมายโดยตรง แต่จะถูกนำมาอ้างอิง เมื่อเรื่องที่สองฝ่ายที่ลงนามเกิดปัญหาจนต้องพึ่งกระบวนการทางกฎหมาย จึงจะนำบันทึกความเข้าใจดังกล่าวมากล่าวอ้าง (ยกเว้นบันทึกสัญญาที่เข้าข่ายเป็นสนธิสัญญา).

ใหม่!!: สัญญา (นิติศาสตร์)และบันทึกความเข้าใจ · ดูเพิ่มเติม »

การสมรส

การสมรส เป็นการรวมกันทางสังคมหรือสัญญาตามกฎหมายระหว่างคู่สมรสที่สร้างสิทธิและข้อผูกพันระหว่างคู่สมรสด้วยกัน ระหว่งคู่สมรสและบุตร และระหว่างคู่สมรสกับญาติโดยการสมรส นิยามของการสมรสแตกต่างกันไปในแต่ละวัฒนธรรม แต่โดยหลักแล้วเป็นสถาบันซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งมักเป็นความสัมพันธ์แบบใกล้ชิดหรือความสัมพันธ์ทางเพศ ได้รับการรับรอง เมื่อนิยามอย่างกว้าง การสมรสถูกพิจารณาว่าเป็นวัฒนธรรมสากล ในหลายวัฒนธรรม การสมรสถูกทำให้เป็นทางการผ่านพิธีแต่งงาน ในแง่ของการรับรองตามกฎหมาย รัฐเอกราชและเขตอำนาจอื่นส่วนมากจำกัดการสมรสไว้เฉพาะระหว่างคู่สมรสต่างเพศหรือสองบุคคลที่มีเพศภาวะตรงข้ามกันในสองเพศภาวะ (gender binary) และบางรัฐเอกราชและเขตอำนาจอื่นอนุญาตการสมรสที่มีภรรยาหลายคนได้ นับแต่ปี 2543 หลายประเทศและบางเขตอำนาจอื่นอนุญาตให้การสมรสเพศเดียวกันชอบด้วยกฎหมาย ในบางวัฒนธรรม แนะนำหรือบังคับให้มีการสมรสก่อนมีกิจกรรมทางเพศใด ๆ บุคคลสมรสด้วยหลายเหตุผล มีทั้งทางกฎหมาย สังคม ลิบิโด อารมณ์ การเงิน จิตวิญญาณและศาสนา การสมรสสามารถกระทำในพิธีทางกฎหมายฝ่ายฆราวาส หรือทางฝ่ายศาสนาก็ได้ โดยปกติการสมรสสร้างข้อผูกพันที่เป็นนามธรรมหรือทางกฎหมายระหว่างปัจเจกบุคคลที่เกี่ยวข้อง บางวัฒนธรรมอนุญาตให้เลิกการสมรสได้ผ่านการหย่าร้างหรือการเพิกถอนการสมรส การสมรสที่มีคู่ครองหลายคนอาจยังเกิดขึ้นแม้จะมีกฎหมายประจำชาติก็ตาม รัฐ องค์การ ฝ่ายศาสนา กลุ่มชนเผ่า ชุมชนท้องถิ่นหรือผู้เท่าเทียมกันสามารถรับรองการสมรสได้ มักถูกมองว่าเป็นสัญญา การสมรสตามกฎหมายเป็นมโนทัศน์ทางกฎหมายที่มองการสมรสว่าเป็นสถาบันของรัฐโดยไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา ตามกฎหมายการสมรสของเขตอำนาจ การบังคับสมรส (forced marriage) มิชอบด้วยกฎหมายในบางเขตอำน.

ใหม่!!: สัญญา (นิติศาสตร์)และการสมรส · ดูเพิ่มเติม »

ยืม (กฎหมาย)

ืม (loan; prêt, /เปร/) หมายความว่า "ขอสิ่งของมาใช้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วคืนให้หรือใช้คืน" ในทางกฎหมายเป็นสัญญาประเภทสัญญามีชื่อ ซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า "ผู้ให้ยืม" (lender) ส่งมอบทรัพย์สินของตนให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า "ผู้ยืม" (borrower) เพื่อให้ผู้ยืมใช้สอย และผู้ยืมจะได้คืนทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ให้ยืมเมื่อเขาใช้สอยเสร็จแล้ว แบ่งเป็นสองประเภท ได้แก่ ยืมใช้คงรูป (loan for use; prêt à usage) คือ สัญญายืมที่ผู้ให้ยืมให้ผู้ยืมใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้วขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์), 2549: 281.

ใหม่!!: สัญญา (นิติศาสตร์)และยืม (กฎหมาย) · ดูเพิ่มเติม »

ยืมใช้สิ้นเปลือง

ืมใช้สิ้นเปลือง (loan for consumption; IPA: pʀɛ•də•kɔ̃sɔmasjɔ̃ /เปรเดอกงซอมาซียง/)) คือ สัญญายืม (loan) ซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียก "ผู้ให้ยืม" (lender) โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้นเป็นปริมาณมีกำหนดให้ไปแก่บุคคลอีกฝ่าย เรียก "ผู้ยืม" (borrower) และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น การยืมอันมีวัตถุแห่งสัญญาเป็นเงินนั้น เรียก "กู้ยืม" (loan of money)ราชบัณฑิตยสถาน, 2551: ออนไลน.

ใหม่!!: สัญญา (นิติศาสตร์)และยืมใช้สิ้นเปลือง · ดูเพิ่มเติม »

ยืมใช้คงรูป

ืมใช้คงรูป (loan for use หรือ commodate; prêt à usage หรือ commodat) เป็นสัญญายืม (loan) ประเภทหนึ่ง ที่บุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียก "ผู้ให้ยืม" (lender) ให้บุคคลอีกฝ่าย เรียก "ผู้ยืม" (borrower) ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว ยืมใช้คงรูปเป็นหนึ่งในสองประเภทของสัญญายืม คู่กับ "ยืมใช้สิ้นเปลือง" (loan for consumption) การยืมทั้งหลายเหล่านี้ นับเป็นพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของมนุษย์ที่เรียกได้ว่าไม่มีใครไม่เคยยืมหรือถูกยืม ไม่ว่าจะเป็นของเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ดินสอ ปากกา ยางลบ ไปจนถึงของสำคัญต่าง ๆ เช่น ทรัพย์สินเงินทอง ทั้งนี้ เหตุผลหนึ่งก็เนื่องจากสมาชิกในสังคมมิได้มีฐานะทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน กับทั้งความจำเป็นหลาย ๆ ด้าน อาทิ ในการประกอบธุรกิจที่ต้องการทุนสูงหรือทุนหมุนเวียน และอาจรวมถึงกิเลสตัณหาอยากได้อยากมีจนเกิดสำนวนไทยว่า "กู้หนี้ยืมสิน" การยืมจึงก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ให้ยืมกับผู้ยืม ซึ่งบางทีนำไปสู่ความวิวาทบาดทะเลาะในสังคม ดังนั้น เพื่อความสงบเรียบร้อยของส่วนรวม กฎหมายจึงเข้ามาควบคุมพฤติกรรมในการยืม.

ใหม่!!: สัญญา (นิติศาสตร์)และยืมใช้คงรูป · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิกัลโบ

ลัทธิกัลโบ (Calvo Doctrine) คือลัทธินโยบายการต่างประเทศที่มองว่าอำนาจตัดสินข้อพิพาทในประเด็นการลงทุนระหว่างประเทศควรขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของประเทศที่ได้ไปลงทุน ดังนั้นลัทธิกัลโบจึงได้เสนอให้ห้ามการปกป้องทางการทูตหรือการแทรกแซง (ด้วยกำลังอาวุธ) ก่อนที่การแก้ไขในระดับท้องถิ่นจะถูกใช้หมดทุกหนทางแล้ว ซึ่งตามแนวทางนี้นักลงทุนจะไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากใช้ระบบศาลในท้องถิ่นเท่านั้น จึงถือได้ว่าลัทธินี้เป็นการแสดงออกถึงแนวคิดชาตินิยมในทางกฎหมาย ทั้งนี้หลักการของลัทธิกัลโบซึ่งถูกตั้งชื่อตามนักกฎหมายชาวอาร์เจนตินา การ์โลส กัลโบ ได้ถูกประยุกต์ใช้ทั่วทั้งภูมิภาคละตินอเมริกาและส่วนอื่น ๆ ของโลกด้วย ลัทธินี้ถือกำเนิดขึ้นจากแนวคิดของกัลโบที่ได้แสดงไว้ใน กฎหมายระหว่างประเทศเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติในยุโรปและอเมริกา (Derecho internacional teórico y práctico de Europa y América) ของเขาที่ปารี..

ใหม่!!: สัญญา (นิติศาสตร์)และลัทธิกัลโบ · ดูเพิ่มเติม »

สัญญา

"สัญญา" สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: สัญญา (นิติศาสตร์)และสัญญา · ดูเพิ่มเติม »

สัญญาต่างตอบแทน

ัญญาต่างตอบแทน (synallagmatic contract, reciprocal contract, bilateral contract, multilateral contract หรือ multipartite contract) เป็นศัพท์กฎหมาย หมายถึง นิติกรรมที่มีคู่กรณีหลายฝ่ายเกี่ยวข้อง หรือที่เรียกว่า "สัญญา" และคู่สัญญาต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ต้่องตอบแทนกันโดยกระทำหรืองดเว้นกระทำการอย่างใด ๆ เช่น ในสัญญาซื้อขาย ผู้ซื้อมีหน้าที่ชำระราคาทรัพย์สินที่ตนซื้อ และผู้ขายก็มีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อ เป็นต้น สัญญาต่างตอบแทนมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น ทวิภาคีสัญญา, สัญญาสองฝ่าย, พหุภาคีสัญญา, สัญญาหลายฝ่าย, นิติกรรมสองฝ่าย และ นิติกรรมหลายฝ่าย ดังนั้น นิติกรรมหรือสัญญาที่ไม่ต่างตอบแทน จึงอาจเรียกว่า "นิติกรรมฝ่ายเดียว" (unilateral act) หรือ "สัญญาผูกพันฝ่ายเดียว" (unilateral contract).

ใหม่!!: สัญญา (นิติศาสตร์)และสัญญาต่างตอบแทน · ดูเพิ่มเติม »

สัญญาต้องเป็นสัญญา

ัญญาต้องเป็นสัญญา (agreements must be keptEncyclopædia Britannica, 2009: Online.; pacta sunt servanda, พักตาซุนต์เซอร์วันดา) เป็นภาษิตภาษาละตินทางกฎหมาย ซึ่งเป็นหลักกฎหมายพื้นฐานสำหรับระบบซีวิลลอว์ (civil law system) และสำหรับวงการกฎหมายระหว่างประเทศ ในความเข้าใจส่วนใหญ่ หลักกฎหมายดังกล่าวหมายควบคุมสัญญาของเอกชน โดยเน้นว่าข้อสัญญาที่ตกลงกันไว้นั้นเป็นประดุจกฎเหล็กเหนือคู่กรณีทั้งสองฝ่าย คู่สัญญาต้องกระทำการโดยสุจริตซึ่งกันและกันตามหลักสุจริต (good faith) และการที่คู่สัญญาฝ่ายใดไม่ชำระหนี้ (obligation) ให้ลุล่วงไปนั้นชื่อว่า "ผิดสัญญา" (breach of the pact) ส่วนในวงการกฎหมายระหว่างประเทศนั้น ถือกันดังที่บัญญัติไว้ในข้อ 26 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา (Vienna Convention on the Law of Treaties) และข้อ 26 แห่ง อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญาระหว่างรัฐกับองค์การระหว่างประเทศหรือระหว่างองค์การระหว่างประเทศ (Vienna Convention on the Law of Treaties between States and International Organizations or between International Organizations) ซึ่งมีข้อความเดียวกันว่า "สนธิสัญญาทุกรายที่มีผลใช้บังคับแล้ว ย่อมผูกพันภาคีแห่งสนธิสัญญารายนั้น และต้องได้รับการปฏิบัติโดยภาคีนั้นอย่างสุจริต" (Every treaty in force is binding upon the parties to it and must be performed by them in good faith.) โดยหลัก "สัญญาต้องเป็นสัญญา" นี้ส่งผลให้รัฐมีหน้าที่ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ของตนโดยสุจริตและโดยไม่บกพร่อง อย่างไรก็ดี ในกรณีที่สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปก็อาจทำให้ข้อสัญญาบางประการไม่อาจใช้บังคับได้ ซึ่งก็ต้องมีการตกลงแก้ไขกันต่อไป ทำให้เกิดข้อยกเว้นของหลัก "สัญญาต้องเป็นสัญญา" ดังกล่าว และข้อยกเว้นนี้เป็นไปตามภาษิตละตินที่ว่า "การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์นำไปสู่การแก้ไขข้อสัญญา" (things thus standing).

ใหม่!!: สัญญา (นิติศาสตร์)และสัญญาต้องเป็นสัญญา · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญา

นธิสัญญา (treaty) เป็นข้อตกลงเฉพาะหน้าภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศซึ่งเข้าทำสัญญาโดยตัวแสดงในกฎหมายระหว่างประเทศ ได้แก่ รัฐเอกราชและองค์การระหว่างประเทศ สนธิสัญญาอาจเรียกชื่อต่าง ๆ เช่น กติกา (covenant), กติกาสัญญา (pact), กรรมสาร (act), ข้อตกลง (accord), ความตกลง (agreement), แถลงการณ์ (communiqué), ปฏิญญา (declaration), พิธีสาร (protocol) และ อนุสัญญา (convention) แต่ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร รูปแบบความตกลงทั้งหมดเหล่านี้ถือว่าเป็นสนธิสัญญาเท่าเทียมกันและมีหลักเกณฑ์เดียวกันภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ สนธิสัญญาสามารถเปรียบได้หลวม ๆ กับสัญญา ทั้งสองต่างเป็นวิธีการที่ภาคีที่สมัครใจยอมรับพันธกรณีต่อกัน และภาคีซึ่งไม่สามารถยึดพันธกรณีสามารถรับผิดได้ภายใต้กฎหมายระหว่างประเท.

ใหม่!!: สัญญา (นิติศาสตร์)และสนธิสัญญา · ดูเพิ่มเติม »

ผู้รับจ้างก่อสร้าง

ผู้รับจ้างก่อสร้าง หรือชื่อเรียกทั่วไปว่า ผู้รับเหมา (contractor) หมายถึง ผู้ชนะการประกวดราคา หรือผู้ที่เจ้าของงาน (ผู้ว่าจ้าง) เลือกให้เป็นผู้ทำงานก่อสร้างตามที่ระบุไว้เอกสารสัญญ.

ใหม่!!: สัญญา (นิติศาสตร์)และผู้รับจ้างก่อสร้าง · ดูเพิ่มเติม »

คำมั่น

คำมั่น (promise) หมายถึง การแสดงเจตนาฝ่ายเดียวของผู้ให้คำมั่น ที่มีผลผูกพันผู้ให้คำมั่นเมื่อมีผู้แสดงเจตนารับรู้ที่สอดคล้องกับคำมั่น อันเป็นความผูกพันก่อนเกิดสัญญาที่มุ่งประสงค์จะทำระหว่างกัน เช่น คำมั่นว่าจะซื้อหรือขาย คำมั่นไม่จำเป็นต้องมีการเสนอให้มีการตกลงทำสัญญาเสมอไป อาจมีผู้แสดงเจตนารับรู้ที่สอดคล้องกับคำมั่นหรือไม่มีผู้แสดงเจตนารับรู้ ก็นับว่าเป็นคำมั่นได้ เช่น คำมั่นว่าจะให้รางวัล หมวดหมู่:กฎหมายนิติกรรมและสัญญา.

ใหม่!!: สัญญา (นิติศาสตร์)และคำมั่น · ดูเพิ่มเติม »

นายหน้า

นายหน้า (brokerage) เป็นสัญญาประเภทหนึ่ง ซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งตกลงจะให้ค่าบำเหน็จ (commission) แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า "นายหน้า" (broker) เพื่อตอบแทนการที่นายหน้าได้ชี้ช่องหรือจัดการให้เขาได้เข้าทำสัญญากับบุคคลอีกฝ่ายราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: สัญญา (นิติศาสตร์)และนายหน้า · ดูเพิ่มเติม »

โมฆะ

มฆะ (void) มีความหมายโดยทั่วไปว่า เปล่า ว่าง ไม่มีประโยชน์ หรือไม่มีผล โดยในทางกฎหมายนั้นหมายความว่า เสียเปล่า หรือไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมายราชบัณฑิตยสถาน, 2551: ออนไลน.

ใหม่!!: สัญญา (นิติศาสตร์)และโมฆะ · ดูเพิ่มเติม »

เอกเทศสัญญา

อกเทศสัญญา (specific contract), หนี้เอกเทศ (specific obligation) หรือ สัญญามีชื่อ (nominated contract) เป็นศัพท์กฎหมาย หมายถึง หนี้หรือสัญญาประเภทที่กฎหมายขนานนามให้เป็นพิเศษ เพื่อวางกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเป็นการเอกเทศ ดังนั้น หนี้หรือสัญญาทั่วไปที่ไม่ปรากฏชื่อตามกฎหมาย จึงได้ชื่อว่า "สัญญาไม่มีชื่อ" (innominate contract) หรือ "หนี้สามัญ" (general obligation) โดยปรกติแล้ว กฎหมายจะวางบทบัญญัติครอบคลุมสัญญาและหนี้เป็นการทั่วไปก่อน เรียกบทบัญญัตินี้ว่า "บททั่วไป" ซึ่งจะใช้บังคับแก่ทุกกรณี และวางหลักเฉพาะเจาะจงสำหรับเรื่องพิเศษบางประเภท เรียกบทบัญญัตินี้ว่า "บทพิเศษ" ซึ่งต้องนำมาใช้ก่อนบททั่วไป เมื่อไม่มีบทพิเศษบัญญัติไว้จึงค่อยยกบททั่วไปมาใช้ เช่น ตามกฎหมายไทย ซื้อขายเป็นเอกเทศสัญญาที่มีบทบัญญัติกำหนดความสัมพันธ์ของคู่กรณีไว้เป็นบทพิเศษ แต่ไม่ได้กำหนดเรื่องการเกิดและการสิ้นสุดลงของสัญญา จึงต้องยกบททั่วไปที่เกี่ยวข้องมาใช้ เอกเทศสัญญาและหนี้เอกเทศนั้นเป็นบทบัญญัติจำพวกบทพิเศษ ส่วนสัญญาไม่มีชื่อและหนี้ทั่วไปคือสัญญาและหนี้ตามบททั่วไปนั่นเอง และเอกเทศสัญญาหรือหนี้เอกเทศจะมีประเภทใดบ้างนั้น ขึ้นอยู่กฎหมายของแต่ละประเท.

ใหม่!!: สัญญา (นิติศาสตร์)และเอกเทศสัญญา · ดูเพิ่มเติม »

Think tank

ำภาษาอังกฤษว่า think tank (คณะทำงานระดับมันสมอง, กลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวกับการวิจัย, คณะผู้เชี่ยวชาญ, กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ) หรือ policy institute (สถาบันนโยบาย) หรือ think factory (โรงงานความคิด) เป็นต้น เป็นองค์การที่ทำงานวิจัยและสนับสนุนเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ รวมทั้งนโยบายสังคม กลยุทธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ การทหาร เทคโนโลยี และวัฒนธรรม สถาบันนโยบายโดยมากเป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งบางประเทศรวมทั้งสหรัฐและแคนาดาเว้นภาษีให้ และพวกอื่นก็ได้ทุนจากรัฐบาล จากองค์การสนับสนุนประเด็นทางกฎหมายต่าง ๆ จากธุรกิจ หรือได้รายได้จากการให้คำปรึกษาหรือการวิจัยที่เกี่ยวข้องกัน สถาบันนโยบายอาจมีกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากสาขาวิชาต่าง ๆ ทำงานให้กับผู้บริโภคที่เป็นรัฐบาลหรือเอกชน โปรเจ็กต์จากรัฐบาลบ่อยครั้งเกี่ยวกับการวางแผนทางสังคมและการป้องกันประเทศ งานที่ทำให้กับเอกชนอาจรวมการพัฒนาและการทดสอบเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ แหล่งเงินทุนอาจรวมการมอบเงินทุน สัญญาว่าจ้าง การบริจาคส่วนบุคคล และรายได้จากการขายรายงาน.

ใหม่!!: สัญญา (นิติศาสตร์)และThink tank · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สัญญา (กฎหมาย)สัญญา (กฎหมายแพ่ง)หนังสือสัญญาใบสัญญาเอกสารสัญญา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »