โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สังคมนิยมแบบอิสรนิยม

ดัชนี สังคมนิยมแบบอิสรนิยม

ังคมนิยมแบบอิสรนิยม (libertarian socialism, บ้างเรียก อนาธิปไตยสังคมนิยม (socialist anarchism) อิสรนิยมฝ่ายซ้าย (left libertarianism) หรือ สังคมนิยมเสรี เป็นกลุ่มปรัชญาการเมืองในขบวนการสังคมนิยมซึ่งปฏิเสธมุมมองสังคมนิยมที่ว่ารัฐเป็นเจ้าของหรือควบคุมปัจจัยการผลิต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวิจารณ์รูปแบบรัฐที่กว้างขวางกว่า ตลอดจนความสัมพันธ์แรงงานค่าจ้าง (wage labour) ในที่ทำงาน สังคมนิยมแบบอิสรนิยมเน้นการจัดการตนเองของคนงานในที่ทำงานและโครงสร้างการปกครองการเมืองแบบกระจายอำนาจแทน โดยยืนยันว่า สามารถบรรลุสังคมที่ยึดเสรีภาพและความเสมอภาคได้โดยการยกเลิกสถาบันอำนาจนิยมซึ่งควบคุมปัจจัยการผลิตบางอย่างและทำให้ฝ่ายข้างมากเป็นเบี้ยล่างของชนชั้นที่เป็นเจ้าของหรืออภิชนทางการเมืองและเศรษฐกิจ นักสังคมนิยมแบบอิสรนิยมโดยทั่วไปฝากความหวังไว้กับวิธีกระจายอำนาจของประชาธิปไตยทางตรงและสมาคมสหพันธรัฐและสมาพันธรัฐ เช่น ระบบเทศบาลอิสรนิยม สมัชชาพลเมือง สหภาพแรงงานและสภาคนงาน เพราะฉะนั้น นักสังคมนิยมแบบอิสรนิยมเชื่อว่า “การใช้อำนาจในรูปแบบของสถาบันใดๆก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นสถาบันทาง เศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา หรือ ที่เกี่ยวกับเพศ คือการทำร้ายทั้งผู้ใช้อำนาจและผู้ที่ถูกบังคับข่มเหงภายใต้อำนาจนั้นๆ”.

8 ความสัมพันธ์: การเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวามุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกีลัทธิคอมมิวนิสต์ซาปาติสตาประชาธิปไตยโดยตรงโนม ชอมสกีเมธ รัตนประสิทธิ์เศรษฐยาธิปไตย

การเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวา

ำว่า ฝ่ายซ้าย-ฝ่ายขวา (left-right politics) เป็นระบบจำแนกจุดยืน อุดมการณ์ทางการเมืองและพรรคการเมือง การเมืองฝ่ายซ้ายและการเมืองฝ่ายขวามักถูกนำเสนอว่าขัดแย้งกัน แม้ว่าปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มอาจมีจุดยืนฝ่ายซ้ายในประเด็นหนึ่ง และจุดยืนฝ่ายขวาในอีกประเด็นหนึ่งก็ได้ ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นที่กำเนิดของคำดังกล่าว ฝ่ายซ้ายถูกเรียกว่า "ขบวนการเคลื่อนไหว" (party of movement) และฝ่ายขวาถูกเรียกว่า "ขบวนการระเบียบ" (party of order) จุดยืนแบบเป็นกลางเรียกว่า สายกลาง (centrism) และบุคคลที่มีจุดยืนดังกล่าวเรียกว่า กลุ่มสายกลางหรือผู้เดินสายกลาง (moderate) มีความเห็นพ้องทั่วไปว.

ใหม่!!: สังคมนิยมแบบอิสรนิยมและการเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวา · ดูเพิ่มเติม »

มุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกี

นม ชอมสกี เป็นผู้มีชื่อเสียงในฐานะปัญญาชน นักปฏิบัติการ (หรือนักกิจกรรม) ทางการเมือง และนักวิจารณ์ เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลอื่น ๆ เขาเรียกตัวเองว่า นักสังคมนิยมแบบอิสรนิยม ผู้สนับสนุนสหการนิยมแบบอนาธิปไตย (anarcho-syndicalism) และมองว่า เป็นผู้รอบรู้สำคัญคนหนึ่งในการเมืองฝ่ายซ้ายของสหรัฐ โนม ชอมสกี ในการประท้วงต่อต้านสงครามในเมืองแวนคูเวอร์ พ.ศ. 2547.

ใหม่!!: สังคมนิยมแบบอิสรนิยมและมุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกี · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิคอมมิวนิสต์

ในทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลัทธิคอมมิวนิสต์ (communism; communis แปลว่า "ร่วมกัน" หรือ "สากล") คืออุดมการณ์และขบวนการทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ อันเป็นระเบียบทางสังคมบนพื้นฐานของความเป็นเจ้าของร่วมกัน (Common ownership) ของปัจจัยการผลิต (Means of production) และปราศจากชนชั้นทางสังคม เงินตรา และรัฐ ลัทธิคอมมิวนิสต์ปรากฏอยู่ในปรัชญาหรือแนวคิดหลากหลายทฤษฎีที่โดยรวม ๆ แล้วจะรวมถึงลัทธิมากซ์-อนาธิปไตย (ลัทธิคอมมิวนิสต์-อนาธิปไตย) และอุดมการณ์ทางการเมืองอื่น ๆ ซึ่งเชื่อมโยงกับสองแนวคิดนี้ โดยที่ทั้งหมดนี้มีบทวิเคราะห์สรุปร่วมกันว่าระเบียบทางสังคมในปัจจุบันอันถือกำเนิดถึงจากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ประกอบไปด้วยชนชั้นทางสังคมสองชนชั้นหลักคือ "ชนชั้นแรงงาน" ผู้ที่ต้องทำงานเพื่ออยู่รอดและถือเป็นกลุ่มคนส่วนมากในสังคม และ "ชนชั้นนายทุน" อันเป็นชนกลุ่มน้อยในสังคม ผู้ถือเอากำไรจากการจ้างวานชนชั้นแรงงานผ่านการครอบครองปัจจัยการผลิตไว้เฉพาะส่วนตน ที่ซึ่งความขัดแย้งระหว่างสองชนชั้นนี้เองที่จะก่อให้เกิดการปฏิวัติ อันเป็นองค์ประกอบตั้งต้นที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกันของคนในสังคม (Social ownership) ด้วยความที่ลัทธิคอมมิวนิสต์มีอุดมคติที่ตรงกันข้ามกับลัทธิเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Liberalism) จึงทำให้เกิดความหวาดกลัวและการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวางในช่วงสงครามเย็น ดังจะเห็นได้จากกระแส "ความหวาดกลัวแดง" (Red Scare) หรือ ลัทธิแม็คคาร์ธี ในอเมริกาช่วงต้นสงครามเย็น.

ใหม่!!: สังคมนิยมแบบอิสรนิยมและลัทธิคอมมิวนิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ซาปาติสตา

งซาปาติสตา แผนที่แสดงรัฐเชียปัส ฐานที่มั่นของกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติซาปาติสตา ซาปาติสตา หรือ กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติซาปาติสตา (Ejército Zapatista de Liberación Nacional, EZLN) เป็นกลุ่มปฏิวัติติดอาวุธที่มีฐานที่มั่นที่รัฐเชียปัส ซึ่งเป็นรัฐที่จนที่สุดของประเทศเม็กซิโก ซึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา ขบวนการนี้ได้ประกาศสงครามกับรัฐบาลเม็กซิโก โดยที่ฐานสังคมของกองทัพส่วนใหญ่เป็นชนพื้นเมืองแต่มีผู้สนับสนุนอื่นอยู่บ้างในเขตเมืองและจากนานาชาติโดยผ่านเว็บ ผู้นำขบวนการนี้คือรองผู้บัญชาการมาร์โกส (Marcos) ซึ่งรู้จักกันในอีกชื่อว่า Delegate Zero และเขาแตกต่างจากผู้บัญชาการซาปาติสตาคนอื่น ๆ ตรงที่รองผู้บัญชาการมาร์โกสไม่ใช่ชาวมายาพื้นเมือง กองทัพซาปาติสตานี้ได้ชื่อมาจากนายเอมีเลียโน ซาปาตา (Emiliano Zapata) นักปฏิรูปเกษตรกรรม และผู้บัญชาการของกองทัพปลดปล่อยชาวใต้แห่งชาติ (Liberation Army of the South) ในสมัยการปฏิวัติเม็กซิโก สมาชิกซาปาติสตามองว่าพวกตนเป็นทายาททางความคิดของซาปาตา และในหมู่บ้านซาปาติสตาจะมีภาพฝาผนังเป็นรูปของบุคคลสำคัญที่เป็นผู้จุดประกายอุดมการณ์ของกองทัพ เช่น ซาปาตา, เช เกบารา และรองผู้บัญชาการมาร์โกส (Subcomandante Marcos) นิวยอร์ก ไทมส์ เรียกขบวนการเคลื่อนไหวซาปาติสตานี้ว่าเป็น การปฏิวัติครั้งแรกในแบบโพสต์โมเดิร์น เนื่องจากซาปาติสตาเป็นกลุ่มปฏิวัติที่หลีกเลี่ยงการติดอาวุธมาตั้งแต่กองทัพรัฐบาลเม็กซิโกได้ปราบปรามการลุกฮือของพวกเขาด้วยกำลังในปี..

ใหม่!!: สังคมนิยมแบบอิสรนิยมและซาปาติสตา · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตยโดยตรง

การชุมนุมตามกระบวนการประชาธิปไตยโดยตรงที่เรียกว่า Landsgemeinde ในแคนทอนกลารุสปี พ.ศ. 2549 ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประชาธิปไตยโดยตรง (direct democracy) หรือ ประชาธิปไตยบริสุทธิ์ (pure democracy.) เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย ที่ประชาชนตัดสินการริเริ่มออกกฎหมาย/นโยบายต่าง ๆ โดยตรง ไม่ว่าจะโดยออกเสียงลงคะแนนหรือลงประชามติเป็นต้น ซึ่งต่างจากรัฐประชาธิปไตยปัจจุบันโดยมากอันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ที่ประชาชนออกเสียงเลือกผู้แทนเพื่อทำหน้าที่ริเริ่มแล้วออกเสียงตัดสินนโยบายอีกทอดหนึ่ง ในระบอบนี้ ประชาชนอาจมีอำนาจการตัดสินใจทางฝ่ายบริหาร ริเริ่มแล้วตัดสินการออกกฎหมายทางฝ่ายนิติบัญญัติ เลือกตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ และดำเนินการทางฝ่ายตุลาการ ประชาธิปไตยโดยตรงมีรูปแบบหลัก ๆ สองอย่างคือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ.

ใหม่!!: สังคมนิยมแบบอิสรนิยมและประชาธิปไตยโดยตรง · ดูเพิ่มเติม »

โนม ชอมสกี

นม ชอมสกี ดร.

ใหม่!!: สังคมนิยมแบบอิสรนิยมและโนม ชอมสกี · ดูเพิ่มเติม »

เมธ รัตนประสิทธิ์

นายเมธ รัตนประสิทธิ์ หรือ หลวงวิลาสวันวิท เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ 1 สมัย ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 เป็นอดีตหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย และเป็นผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียนการป่าไม้ จังหวัดแพร่ จนได้รับการกล่าวถึงว่าเป็น "ผู้เริ่มงานโรงเรียนการป่าไม้".

ใหม่!!: สังคมนิยมแบบอิสรนิยมและเมธ รัตนประสิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐยาธิปไตย

รษฐยาธิปไตย หรือ ธนาธิปไตย (πλοῦτος,, 'ความมั่งคั่ง' + κράτος,, 'ปกครอง' - plutocracy, plutarchy) เป็นระบอบการปกครองที่คนมีเงินเป็นผู้ถือครองอำนาจทางการเมือง โดยเป็นรูปแบบหนึ่งของคณาธิปไตย และสามารถนิยามด้วยว่า เป็นสังคมที่ปกครองหรือควบคุมโดยประชาชนที่มั่งคั่งที่สุดส่วนน้อย เป็นการเมืองเพื่ออำนาจ เพื่อผลประโยชน์ และสิทธิพิเศษ ของกลุ่มคนที่มีอำนาจทางการเมือง โดยต้องใช้เงินเป็นองค์ประกอบหลัก มีการใช้คำทำนองนี้เป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: สังคมนิยมแบบอิสรนิยมและเศรษฐยาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Libertarian socialismสังคมนิยมอิสรนิยมสังคมนิยมเสรี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »