โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี

ดัชนี สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี

มเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี (10 พฤษภาคม พ.ศ. 2404 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2470) หรือที่ชาววังออกพระนามว่า เสด็จพระนาง เป็นพระมเหสีชั้นลูกหลวงตำแหน่งพระราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยเป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ต่างพระมารดากับพระราชสวามี ด้วยพระองค์ประสูติแต่เจ้าคุณจอมมารดาสำลี พระองค์เป็นพระชนนีของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร ซึ่งทรงเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก (ชั้นทูลกระหม่อม) ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์แรกที่มีพระชนม์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้รับการสถาปนาไว้ในที่ "สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี" ภายหลังทรงสิ้นพระชนม์เมื่อวันเสาร์ เดือน 8 ขึ้น 11 ค่ำ ปีเถาะนพศก..

71 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2404พ.ศ. 2470พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระยศเจ้านายไทยพระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์พระตำหนักฝ่ายใน (พระราชวังบางปะอิน)พระตำหนักสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีพระตำหนักในพระราชวังดุสิตพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีพระนางเธอลักษมีลาวัณพระโกศทองใหญ่พระเมรุมาศพระเวชยันตราชรถพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบงเบิกบานพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์ สุนทรศักดิกัลยาวดี กรมขุนสุพรรณภาควดีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา กรมหลวงทิพยรัตนกิริฎกุลินีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบงพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวงษวิจิตรพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิตพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมานการเตรียมงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ราชสกุลวงศ์ในราชวงศ์จักรีรายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 4รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 5รายพระนามพระอัครมเหสีในพระมหากษัตริย์ไทยรายพระนามและรายนามผู้ได้รับพระราชทาน ม.จ.ก.รายพระนามและรายนามผู้ได้รับพระราชทาน น.ร.รายพระนามและรายนามผู้ได้รับพระราชทานปฐมจุลจอมเกล้ารายพระนามเจ้านายพระชันษายืนในราชวงศ์จักรีรายพระนามเจ้านายที่ได้รับการเฉลิมพระยศในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารวังบางขุนพรหมวังสวนสุนันทาสภากาชาดไทยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยาวดี กรมหลวงศรีรัตนโกสินทรสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีสามก๊กสินนภา สารสาสสุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทหม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตรหม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล...หม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุลหม่อมเจ้ามารยาตรกัญญา ดิศกุลหม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุลหม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตรอินทุรัตนา บริพัตรธิราชเจ้าจอมสยามถนนบริพัตรคามิลลา ดัชเชสแห่งคอร์นวอลประเทศไทยใน พ.ศ. 2404แพร่งภูธรแยกราชเทวีเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์เจ้าจอมมารดาชุ่ม ในรัชกาลที่ 5เจ้าจอมมารดาสำลี (แก้ความกำกวม)เจ้าจอมมารดาแส ในรัชกาลที่ 5เจ้าดารารัศมี พระราชชายาเจ้าคุณจอมมารดาสำลี ในรัชกาลที่ 4เขตพระราชฐานชั้นใน (พระบรมมหาราชวัง)เขตราชเทวี10 พฤษภาคม9 กรกฎาคม ขยายดัชนี (21 มากกว่า) »

พ.ศ. 2404

ทธศักราช 2404 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1861.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและพ.ศ. 2404 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2470

ทธศักราช 2470 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1927 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและพ.ศ. 2470 · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระยศเจ้านายไทย

ในประเทศไทย พระยศเจ้านาย คือพระอิสริยยศของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวง.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและพระยศเจ้านายไทย · ดูเพิ่มเติม »

พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

นี่คือพระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รายพระนามพระราชโอรสและพระร.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและพระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

นี่คือ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รายพระนามพระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชนั.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและพระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์

ระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์ พระนามเดิม หม่อมเจ้าสุขุมาภินันท์ บริพัตร (29 มิถุนายน 2466 - 10 เมษายน 2546) พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต และหม่อมสมพันธ์ บริพัตร ณ อยุธยา (ธิดาของพระยาวทัญญูวินิจฉัย (หม่อมหลวงชุ่ม ปาลกะวงศ์) ทรงได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ในรัชกาลที่ 7 และเป็นอดีตเลขาธิการสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์ ทรงเสกสมรสกับหม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา (นามสกุลเดิม ณ ถลาง) มีโอรส 2 คน คือ.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์ · ดูเพิ่มเติม »

พระตำหนักฝ่ายใน (พระราชวังบางปะอิน)

ระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระตำหนักฝ่ายใน ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นในของพระราชวังบางปะอิน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นสำหรับเป็นที่ประทับของเจ้านายฝ่ายในเพื่อเป็นที่ประทับเมื่อเสด็จแปรพระราชฐานมา ณ พระราชวังแห่งนี้ โดยมีดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและพระตำหนักฝ่ายใน (พระราชวังบางปะอิน) · ดูเพิ่มเติม »

พระตำหนักสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี

ระตำหนักสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีพระตำหนักสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี เป็นตำหนักที่ตั้งอยู่หลังพระมหามณเฑียรตรงกับประตูสนามราชกิจ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างเพื่อเป็นที่ประทับของสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี และ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยาวดี กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและพระตำหนักสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี · ดูเพิ่มเติม »

พระตำหนักในพระราชวังดุสิต

ในพระราชวังดุสิตมีการแบ่งเขตพระราชฐานออกเป็นฝ่ายหน้าและฝ่ายใน โดยเขตพระราชฐานฝ่ายในนั้นประกอบด้วย พระตำหนักและตำหนัก อันเป็นที่ประทับของเจ้านายฝ่ายในหลายพระองค์ ดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและพระตำหนักในพระราชวังดุสิต · ดูเพิ่มเติม »

พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี

ระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี (15 เมษายน พ.ศ. 2448 — 10 ตุลาคม พ.ศ. 2528) เป็นพระวรราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า เครือแก้ว อภัยวงศ์ บุตรีของพระยาอภัยภูเบศร (เลื่อม อภัยวงศ์) กับคุณเล็ก บุนนาค ต่อมาได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า สุวัทนา ได้เข้ารับราชการฝ่ายใน ในตำแหน่งเจ้าจอมสุวัทนา และได้รับการสถาปนาเป็น พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ตามลำดับ พระองค์ได้ให้ประสูติการแก่พระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในรัชกาลคือ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี แต่หลังจากประสูติพระเจ้าลูกเธอได้เพียงหนึ่งวัน พระราชสวามีได้สวรรคตลง พระองค์และพระธิดาจึงได้เสด็จไปประทับยังสหราชอาณาจักรกว่า 20 ปี ภายหลังจึงได้เสด็จนิวัตประเทศไทยโดยพำนักในวังรื่นฤดี เป็นการถาวรตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี · ดูเพิ่มเติม »

พระนางเธอลักษมีลาวัณ

ระนางเธอลักษมีลาวัณ (3 กรกฎาคม พ.ศ. 2442 – 29 สิงหาคม พ.ศ. 2504) มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าวรรณพิมล วรวรรณ เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ กับหม่อมหลวงตาด วรวรรณ (สกุลเดิม มนตรีกุล) ทรงเป็นที่รู้จักในฐานะพระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระขนิษฐาต่างชนนีของอดีตพระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี พระองค์เป็นผู้ริเริ่มรื้อฟื้น คณะละครปรีดาลัย ของพระบิดาขึ้นมาอีกครั้ง ทรงปลีกพระองค์ประทับอยู่เพียงลำพัง ทรงใช้เวลาที่มีอยู่ในการประพันธ์นวนิยาย ร้อยกรอง และบทละครจำนวนมาก โดยใช้นามปากกาว่า ปัทมะ, วรรณพิมล และพระนางเธอลักษมีลาวัณ พระนางเธอลักษมีลาวัณ ถูกลอบปลงพระชนม์เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม..

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและพระนางเธอลักษมีลาวัณ · ดูเพิ่มเติม »

พระโกศทองใหญ่

ระโกศทองใหญ่ รัชกาลที่ 5 ในงานพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระโกศทองใหญ่ ทรงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ขณะประดิษฐานบนพระมหาพิชัยราชรถในพระราชพิธีเชิญพระโกศทรงพระศพออกพระเมรุ พระโกศทองใหญ่ หรือ พระลองทองใหญ่ เป็นพระโกศสำหรับทรงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์และพระศพของพระบรมวงศ์ชั้นสูง สร้างขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช นับเป็นพระโกศที่มีลำดับยศสูงที่สุด โดยได้ใช้ทรงพระศพของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพเป็นพระองค์แรก (แต่ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 1 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับตัวเขียน ระบุว่าพระศพสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงศรีสุนทรเทพนั้น ใช้พระโกศไม้สิบสอง และเมื่อเสร็จการพระศพจึงลอกทองที่หุ้มพระโกศไม้สิบสองมาหุ้มทำพระโกศทองใหญ่และทรงพระบรมศพของรัชกาลที่ 1 เป็นพระองค์แรก) พระโกศทองใหญ่ใช้ทรงพระศพของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีเป็นพระองค์ล่าสุด นอกจากนี้ พระโกศทองใหญ่ยังใช้เป็นเครื่องประกอบพระอิสริยยศพระศพสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ที่บรรจุพระบรมศพและพระศพลงในหีบพระศพแทนการลงพระโกศ เช่น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุล.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและพระโกศทองใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

พระเมรุมาศ

ระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระเมรุมาศ และพระเมรุ คือ สถาปัตยกรรมชั่วคราว หรือสถาปัตยกรรมเฉพาะกิจที่สร้างขึ้น ณ ใจกลางเมือง เพื่อใช้ในพระราชพิธีพระบรมศพหรือพระราชพิธีพระศพโดยเฉพาะ มีลักษณะเป็น "กุฎาคาร หรือ เรือนยอด" คือเรือนซึ่งหลังคาต่อเป็นยอดแหลม โดยในอดีตนิยมสร้างเป็นแบบ ยอดปรางค์ อาจมีพรหมพักตร์หรือไม่มีก็ได้ พระเมรุมาศ เป็นพระเมรุขนาดสูงใหญ่ ใช้ในพระราชพิธีพระบรมศพ พระมหากษัตริย์ พระอัครมเหสี พระบรมราชินี พระราชชนนี พระบวรราชเจ้า พระยุพราช สำหรับการตายที่ใช้ราชาศัพท์ว่าสวรรคต ภายในพระเมรุมาศมี “พระเมรุทอง” ลักษณะของพระเมรุมาศที่ปรากฏการสร้างมี 2 รูปแบบคือพระเมรุมาศทรงปราสาท ที่สร้างมาแต่โบราณ มีขนาดใหญ่โตมโหฬาร และพระเมรุมาศทรงบุษบก ส่วนพระเมรุ เช่นเดียวกับพระเมรุมาศ แต่มีขนาดเล็กลง และไม่มีพระเมรุทองภายใน ใช้สำหรับราชวงศ์ที่ทรงฐานานุศักดิ์ใช้ราชาศัพท์ว่า “ทิวงคต” หรือ “สิ้นพระชนม์” การออกแบบสถาปัตยกรรมพระเมรุมาศ พระเมรุ ต้องอาศัยการสร้างสรรค์ออกแบบจากผู้รอบรู้เจนจบงานศิลปกรรมของชาติ ช่างที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้จากครูบาอาจารย์ทั้งงานออกแบบรูปลักษณ์ ก่อสร้างอาคาร การคิดลวดลายขึ้นประดิษฐ์ตกแต่งทุกส่วนให้เข้ากับอาคาร โดยมีหลักเกณฑ์ที่คำนึงถึงว่าพระเมรุมาศของพระองค์ใด ที่แสดงลักษณะของพระองค์นั้น ภายหลังจากการถวายพระเพลิงแล้ว ชิ้นส่วนประกอบต่าง ๆ ของพระเมรุที่ถูกรื้อถอนบางส่วนจะนำไปถวายวัด เพื่อเป็นการกุศลแด่ผู้วายชนม.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและพระเมรุมาศ · ดูเพิ่มเติม »

พระเวชยันตราชรถ

ระเวชยันตราชรถ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 ราวปี พ.ศ. 2338 คราวเดียวกับพระมหาพิชัยราชรถ เป็นราชรถทรงบุษบก มีความกว้าง 4.85 เมตร ยาว 18 เมตร สูง 11.20 เมตร หนัก 12.25 ตัน สำหรับใช้เป็นราชรถสำรองในงานพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ และเป็นราชรถทรงพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ซึ่งทรงศักดิ์สูง เมื่อแรกเริ่มพระเวชยันตราชรถได้ใช้เป็นรถพระที่นั่งรองในงานถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกในปี พ.ศ. 2339 มีศักดิ์เป็นชั้นที่ 2 รองจากพระมหาพิชัยราชรถ ต่อมาได้ใช้ทรงพระโกศสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ คู่พระโกศสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี ซึ่งทรงพระมหาพิชัยราชรถ ออกพระเมรุท้องสนามหลวงคราวเดียวกัน พ.ศ. 2342 หลังจากนั้นจึงได้ใช้ราชรถองค์นี้เป็นราชรถรองในงานออกพระเมรุของพระมหากษัตริย์ในรัชกาลต่อๆ มา จนถึงงานพระเมรุพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ต่อมาพระมหาพิชัยราชรถชำรุดจนไม่สามารถฉุดชักออกมาจากที่ตั้งได้ จึงได้มีการใช้พระเวชยันตราชรถเป็นราชรถทรงพระบรมศพ โดยออกนามในหมายเรียกว่า "พระมหาพิชัยราชรถ" เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติแก่พระบรมศพตามราชประเพณี ทั้งนี้ พระเวชยันตราชรถได้อัญเชิญออกใช้ในราชการครั้งล่าสุดเมื่อคราวพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 เมื่อ พ.ศ. 2528 ปัจจุบันพระเวชยันตราชรถได้เก็บรักษาไว้ ณ โรงราชรถ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร สำหรับงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ในปี พ.ศ. 2555 นั้น เดิมจะได้เชิญพระศพขึ้นทรงพระเวชยันตราชรถตามพระอิสริยยศ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระศพด้วยพระมหาพิชัยราชรถ เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติยศสูงสุดตามโบราณราชประเพณี พระเวชยันตราชรถจึงไม่ได้อัญเชิญออกมาใช้งาน.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและพระเวชยันตราชรถ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบงเบิกบาน

ระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบงเบิกบาน (1 มีนาคม พ.ศ. 2402 — 6 มิถุนายน พ.ศ. 2419) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าคุณจอมมารดาสำลี (สกุลเดิม: บุนนาค) ธิดาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) กับหม่อมคล้าย มีพระพี่น้องคือ พระองค์เจ้าแดง, พระองค์เจ้าเขียว (หญิงเล็ก), สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา กรมหลวงทิพยรัตนกิริฎกุลินี เดิมพระนามของพระองค์สะกดว่า บุษบงก์เบิกบาน มาจากคำบาลีว่า ปุสปงฺค (ปุสป+องฺค) แต่สะกดว่า บุษบงเบิกบาน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบงเบิกบาน · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์ สุนทรศักดิกัลยาวดี กรมขุนสุพรรณภาควดี

ระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์ สุนทรศักดิกัลยาวดี กรมขุนสุพรรณภาควดี (24 กรกฎาคม พ.ศ. 2411 — 26 ตุลาคม พ.ศ. 2447) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ) เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อย่างไรก็ตาม พระองค์ทรงได้รับพระกรุณายกย่องพระเกียรติยศไว้ยิ่งกว่าพระเจ้าลูกเธอพระองค์อื่นหลายประการและสมเด็จพระบรมชนกนาถถึงกับรับสั่งว่าพระองค์เป็น "ลูกคู่ทุกข์คู่ยาก" พระองค์ทรงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากสมเด็จพระบรมชนกนาถให้ทำหน้าที่ดูแลพระเจ้าน้องที่ยังทรงพระเยาว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระองค์ได้รับพระราชทานเกียรติให้เป็นผู้สั่งพระกนิษฐาให้เป็นสาว เนื่องจากตามธรรมเนียมการเป็นสาวของสตรีในพระราชสำนักฝ่ายในนั้น จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ใหญ่ก่อน นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงดำรงตำแหน่งอุปนายิกาสภาอุณาโลมแดง (สภากาชาดไทย) ร่วมกับเจ้านายฝ่ายในอีกหลายพระองค์ พระองค์เป็นพระราชธิดาในรัชกาลที่ 5 พระองค์แรกและเป็นพระเจ้าลูกเธอ ชั้นพระองค์เจ้าในรัชกาลที่ 5 พระองค์เดียวที่ได้รับการสถาปนาให้เป็นเจ้าต่างกรมที่ "กรมขุนสุพรรณภาควดี" ซึ่งภายหลังจากการทรงกรมเพียง 1 ปี พระองค์ก็สิ้นพระชนม์ลง โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้จัดการพระราชทานเพลิงพระศพที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ วัดนิเวศธรรมประวัติ โดยให้ตั้งพระศพทรงบำเพ็ญพระราชกุศลที่พระราชวังบางปะอิน.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์ สุนทรศักดิกัลยาวดี กรมขุนสุพรรณภาควดี · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา กรมหลวงทิพยรัตนกิริฎกุลินี

ระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา กรมหลวงทิพยรัตนกิริฎกุลินี (13 พฤษภาคม พ.ศ. 2407 - 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2501) หรือที่ถวายเรียกกันว่า เสด็จอธิบดี อธิบดีหญิงคนแรกของประเทศไทย พระองค์เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม..

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา กรมหลวงทิพยรัตนกิริฎกุลินี · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบง

ระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบง ลางแห่งสะกดว่า สิริรัตนบุษบง หรือ ศิริรัตน์บุษบง (4 มกราคม 2448 — 6 กรกฎาคม 2533) เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ที่ประสูติแต่หม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบง · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวงษวิจิตร

ระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวงษวิจิตร บ้างออกพระนามว่า สุทธพงศพิจิตร (16 มีนาคม พ.ศ. 2450 — 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546) เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ที่ประสูติแต่หม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวงษวิจิตร · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี

ระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี หรือพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าอาภาพรรณี สวัสดิวัตน์ (ราชสกุลเดิม: คัคณางค์; ประสูติ: 28 มีนาคม พ.ศ. 2417 — สิ้นพระชนม์: 6 สิงหาคม พ.ศ. 2481) เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากร กับหม่อมสุ่น คัคณางค์ ณ อยุธยา ต่อมาได้เป็นพระชายาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ครั้นในปี..

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต

ลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต (5 ธันวาคม พ.ศ. 2447 - 15 กันยายน พ.ศ. 2502) อดีตอุปนายก ผู้อำนวยการสภากาชาดไทย และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งธนาคารไทยทนุ เมื่อปี..

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน

ระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน (21 ธันวาคม พ.ศ. 2452 — 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543) พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ที่ประสูติแต่หม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน · ดูเพิ่มเติม »

การเตรียมงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นพระราชพิธีที่จัดเพื่อแสดงความจงรักภักดี และถวายความอาลัย แด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยรัฐบาลกำหนดวันพระราชพิธีฯ ระหว่างวันที่ 14-19 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและการเตรียมงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชสกุลวงศ์ในราชวงศ์จักรี

ราชสกุลวงศ์ในรัชกาลปัจจุบัน.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและราชสกุลวงศ์ในราชวงศ์จักรี · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 4

นี่คือรายพระนามรายนามพระมเหสี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและรายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 5

นี่คือรายพระนามและรายนาม พระมเหสี เจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและรายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 5 · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระอัครมเหสีในพระมหากษัตริย์ไทย

รายพระนามพระอัครมเหสีในพระมหากษัตริย์ไท.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและรายพระนามพระอัครมเหสีในพระมหากษัตริย์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามและรายนามผู้ได้รับพระราชทาน ม.จ.ก.

รื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (The Most Illustrious Order of the Royal House of Chakri) มีอักษรย่อว่า ม..ก. มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประธานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์และทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะพระราชทานและเรียกคืนเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์นี้ได้ ปัจจุบัน เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์มีจำนวน 25 สำรับ สำหรับพระมหากษัตริย์ 1 สำรับ สมเด็จพระบรมราชินี 1 สำรับ และพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ที่สืบเนื่องโดยตรงในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกหรือผู้ซึ่งพระบรมวงศานุวงศ์ดังกล่าวได้เสกสมรสด้วยอีก 23 สำหรับ นอกจากนี้ ยังสามารถพระราชทานแก่ประมุขของต่างประเทศซึ่งไม่นับรวมใน 25 สำรับอีกด้วย โดยมีพระนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ เช่น.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและรายพระนามและรายนามผู้ได้รับพระราชทาน ม.จ.ก. · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามและรายนามผู้ได้รับพระราชทาน น.ร.

รื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (ฝ่ายหน้า) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ มีอักษรย่อว่า น.ร. เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีความเป็นมาสืบแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้ มีเฉพาะชั้นสายสะพายชั้นเดียว ทั้งนี้ ผู้รับพระราชทานต้องเป็นพุทธมามกะเท่านั้น และจะประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ในงานมงคล หรืองานที่มีหมายกำหนดการระบุไว้เท่านั้น เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ จัดเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีลำดับเกียรติเป็นลำดับที่ 3 รองจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์และเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ และเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่สามัญชนจะได้รับพระราชทาน โดยมีรายพระนามและรายนาม เช่น.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและรายพระนามและรายนามผู้ได้รับพระราชทาน น.ร. · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามและรายนามผู้ได้รับพระราชทานปฐมจุลจอมเกล้า

ปฐมจุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า ปฐมจุลจอมเกล้า ฝ่ายใน เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประธานของเครื่องอิสริยาภรณ์ รวมทั้งทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะพระราชทานแก่ผู้ที่ทรงพระราชดำริเห็นสมควรและเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ได้ ปัจจุบัน เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า แบ่งออกสำหรับพระราชทานฝ่ายหน้าจำนวน 30 สำรับ และฝ่ายในจำนวน 20 สำรับ นอกจากนี้ ยังสามารถพระราชทานแก่เจ้านายหรือผู้มีเกียรติจากต่างประเทศซึ่งไม่นับรวมกับจำนวนดังกล่าว รายพระนามและรายนามผู้ได้รับพระราชทานปฐมจุลจอมเกล้า (ไม่รวมพระนามของผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลจุลจอมเกล้าในชั้นที่สูงขึ้น ได้แก่ ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ) ตั้งแต่สถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เช่น.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและรายพระนามและรายนามผู้ได้รับพระราชทานปฐมจุลจอมเกล้า · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามเจ้านายพระชันษายืนในราชวงศ์จักรี

้านายพระชันษายืนในราชวงศ์จักรี เป็นการรวบรวมรายพระนามเจ้านายในราชวงศ์จักรีตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้า ซึ่งมีพระชันษายืนนับตั้งแต่ 90 ปีขึ้นไปอันเคยมีเป็นสูงสุดลงจน 60 ปีบริบูรณ์ ซึ่งเป็นต้นเขตของ "อายุยืน" เรียงเป็นลำดับกันตามพระชันษา โดยได้อ้างอิงเนื้อหาตามหนังสือชื่อ"เจ้านายพระชันษายืนในพระราชวงศ์จักรี" พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี..

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและรายพระนามเจ้านายพระชันษายืนในราชวงศ์จักรี · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามเจ้านายที่ได้รับการเฉลิมพระยศในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

มื่อถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาพระอิสริยยศเจ้านายในพระราชวงศ์ ก็ทรงตั้งเป็นต่างกรมตามชั้นยศซึ่งบัญญัติมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา แต่มีผิดกันบ้างเล็กน้อย มีการสถาปนาเจ้านายในพระราชวงศ์เรื่อยมาในทุกรัชกาล โดยครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2548 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเจ้านายในพระราชวงศ์จักรี จำนวน 3 พระองค์ คือ.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและรายพระนามเจ้านายที่ได้รับการเฉลิมพระยศในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นวัดประจำรัชกาลเมื่อ พ.ศ. 2412 โดยมีพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ และเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) เป็นผู้อำนวยการก่อสร้าง มีลักษณะผสมระหว่างสถาปัตยกรรมไทยกับสถาปัตยกรรมตะวันตก คือ ลักษณะภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมไทย ส่วนภายในออกแบบตกแต่งอย่างตะวันตก และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่าวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม หมายถึง วัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง และมีมหาสีมาอันเป็นเสาศิลาจำหลักยอดเป็นรูปเสมาธรรมจักร 8 เสา ตั้งเป็นสีมาที่กำแพง 8 ทิศ “ราชบพิธ” หมายถึง พระอารามที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง บพิธ คำนี้มาจากภาษาบาลีคือ ปวิธะ ที่แปลว่าสร้าง ส่วน “สถิตมหาสีมาราม” หมายถึง พระอารามซึ่งมีสีมากว้างใหญ่ เป็นมหาสีมาล้อมรอบอาณาเขตของวัด วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม นับเป็นพระอารามหลวงสุดท้าย ที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างตามโบราณราชประเพณีที่มีการสร้างวัดประจำรัชกาล.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วังบางขุนพรหม

วังบางขุนพรหม เป็นวังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ต้นราชสกุลบริพัตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี พระมารดา วังบางขุนพรหมอยู่ในเนื้อที่ 33 ไร่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ทางทิศใต้ของวังเทวะเวสม์ วังบางขุนพรหม มีตำหนักรวม 2 ตำหนัก ได้แก่ ตำหนักใหญ่ และตำหนักสมเด็จ โดยตำหนักใหญ่ ก่อสร้างขึ้นในปี..

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและวังบางขุนพรหม · ดูเพิ่มเติม »

วังสวนสุนันทา

วนสุนันทา เป็นเขตพระราชฐานชั้นในของพระราชวังดุสิต ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มีพระราชดำริให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของพระภรรยาเจ้าและเจ้าจอมเมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตไปแล้ว โดยพระองค์มีพระราชประสงค์ให้สวนนี้มีลักษณะเป็นสวนป่า จึงโปรดเกล้าฯ ให้หาพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลที่ดีและหาได้ยากนานาชนิดมาปลูกไว้ในสวนแห่งนี้ด้วย ที่มาของชื่อสวนแห่งนี้มาจากชื่อสวนของพระอินทร์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งมีชื่อว่า "สุนันทาอุทยาน" และพระนามของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี พระมเหสีซึ่งเป็นที่รักยิ่งของพระองค์ แต่ทว่าพระองค์เสด็จสวรรคเสียก่อน การก่อสร้างพระตำหนัก และตำหนักในสวนสนันทาจึงมาเริ่มการก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ได้ทรงพระราชดำริว่าสถานที่ในพระบรมมหาราชวังชั้นในคับแคบ ไม่เหมาะสมจะเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน จึงโปรดให้สร้างพระตำหนักและตึกในบริเวณสวนสุนันทาขึ้นอีกหลายหลัง แล้วโปรดให้เป็นที่ประทับของพระมเหสี เจ้าจอมมารดา เจ้าจอมและพระราชธิดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 32 ตำหนัก ซึ่งมีพระตำหนักองค์สำคัญๆ 4 หลังได้แก่ พระตำหนักสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระตำหนักสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี และพระตำหนักพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา แต่ทว่าพระตำหนักสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงนั้นได้มีการหยุดการก่อสร้างเมื่อมีการก่ออาคารมาถึงฐานอันเนื่องมาจากทรงโปรดที่จะประทับที่พระตำหนักพญาไท จึงได้มีการแก้แบบและก่อสร้างเป็นท้องพระโรงมีนามว่า พระที่นั่งนงคราญสโมสร ส่วนสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี เสด็จมาประทับที่พระตำหนักในช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะเสด็จไปประทับที่วังของพระราชโอรสเป็นการถาวร โดยพระราชทานพระตำหนักเป็นที่ประทับแก่เจ้านายที่อยู่ในความดูแลของพระองค์ จึงทำให้พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา เป็นองค์ประธานของสวนสุนันทาจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในปี..

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและวังสวนสุนันทา · ดูเพิ่มเติม »

สภากาชาดไทย

กาชาดไทย เป็นสภากาชาดประจำประเทศไทย มีภารกิจปกป้องชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน ร..

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและสภากาชาดไทย · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ันเอกหญิง สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระประสูติแต่สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าจอมมารดาเปี่ยม) เมื่อวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

มเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระนามเดิม พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา (10 กันยายน พ.ศ. 2405 — 17 ธันวาคม พ.ศ. 2498) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพแต่สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา(เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม) เป็นพระเจ้าลูกเธอชั้นเล็ก ลำดับที่ 60 ในจำนวนทั้งหมด 82 พระองค์ โดยรับราชการสนองพระเดชพระคุณเป็นพระภรรยาเจ้าในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เป็นพระราชชนนีในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งเป็นสยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกของไทย เป็นสมเด็จพระมาตุจฉาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสมเด็จพระอัยยิกาเจ้าในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระปัยยิกาเจ้าในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรณรงค์ เสถียรวงศ์ กรมสารนิเทศ นอกจากนี้พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งองค์สภาชนนีสภาอุณาโลมแดง อันเป็นชื่อของสภากาชาดไทยเมื่อครั้งแรกตั้งในต้นรัชกาลที่ 5 เป็นพระองค์แรกและพระองค์เดียว และองค์สภานายิกา สภากาชาดไทย พระองค์ที่ 2 และทรงสร้างสถานพยาบาลขึ้น ปัจจุบัน คือ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสภากาชาดไทย ในวันที่ 11 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี

มเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี หรือที่ชาวบ้านเรียกพระนามว่า สมเด็จพระนางเรือล่ม (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2403 — 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2423) มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์” เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต

อมพล จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต (29 มิถุนายน พ.ศ. 2424 — 18 มกราคม พ.ศ. 2487) ชาววังออกพระนามโดยลำลองว่า ทูลกระหม่อมชาย หรือ ทูลกระหม่อมบริพัตร ทรงดำรงตำแหน่งที่สำคัญทางการทหาร ตำแหน่งเสนาธิการทหารบก ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ เสนาธิการทหารบก เสนาบดีกระทรวงกลาโหม เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร ทรงดำรงตำแหน่งองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ยังทรงพระปรีชาสามารถในงานดนตรี ทรงได้รับการขนานพระนามเป็น "พระบิดาแห่งเพลงไทยเดิม" ทรงพระนิพนธ์เพลงไทย เพลงฝรั่งและเพลงไทยเดิมไว้มากมาย ทรงนิพนธ์เพลง วอทซ์ปลื้มจิต, วอทซ์ชุมพล, สุดเสนาะ, เพลงมหาฤกษ์, เพลงพญาโศก.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยาวดี กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร

มเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยาวดี กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร พระราชธิดาพระองค์ที่ 19 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี เมื่อวันที่ 14 กันยายน..

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยาวดี กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

ลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) เป็นพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ประสูติ ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง ก่อนที่สมเด็จพระบรมชนกนาถจะเสด็จสวรรคตในวันต่อมา พระนาม เพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้ในพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ โดยมีคำนำหน้าพระนามเป็นสมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ (ลูกสาวของพี่ชาย) ในรัชกาลที่ 7 และเป็นพระภคินี (ลูกพี่ลูกน้อง) ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และโดยพระชนมายุพระองค์จึงเคยเป็นพระกุลเชษฐ์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ หลังจากเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นการถาวร พระองค์ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจเพื่อแบ่งเบาพระราชภาระในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชอยู่เป็นนิจ จนกระทั่งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ 9 ทรงเจริญพระวัยและทรงสามารถแบ่งเบาพระราชกรณียกิจได้ กอปรกับพระองค์มีพระชนมายุสูงขึ้นจึงเสด็จออกทรงเยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดารน้อยลง นอกจากนี้ พระองค์ทรงรับสถาบันและองค์กรต่างๆ ทั้งในส่วนที่สืบสานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และโดยส่วนพระองค์เองไว้ในพระอุปถัมภ์มากกว่า 30 แห่ง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 16.37 นาฬิกา ณ ตึก 84 ปี โรงพยาบาลศิริราช สิริพระชนมายุ 85 พรรษา 8 เดือน 3 วัน.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก

มก๊ก (Romance of the Three Kingdoms) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาการแปลสามก๊กในปัจจุบัน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

สินนภา สารสาส

นนภา สารสาส นักดนตรี นักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์ชาวไทย อดีตสมาชิกร่วมวงดนตรีบัตเตอร์ฟลาย และมีผลงานร่วมกับจิรพรรณ อังศวานนท์ ในแนวโพรเกรสซีฟร็อก ผสมผสานกับดนตรีไทย ใช้ชื่อผลงานว่า "เอกรงค์" สินนภา สารสาส เป็นบุตรีคนรองในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทุรัตนา พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต กับนายสมหวัง สารสาส (บุตรพระสารสาสน์พลขันธ์ (ลอง สุนทานนท์)) มีพี่น้องร่วมบิดามารดาคือ ธรณินทร์ และพญาณินทร์ สารสาส และมีน้องต่างมารดาสี่คน คือ วรวรรณ, สันติทวี, ศรีภพ และชินเวศ สารสาส นอกจากนี้เธอยังมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร เมื่อนับจากฝ่ายมารดา สินนภา สมรสกับนายอนันต์ ตาราไต ต่อมาได้หย่าร้าง.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและสินนภา สารสาส · ดูเพิ่มเติม »

สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

นหลวงวัดราชบพิธ (อนุสรณ์สถานเจดีย์ทอง 4 องค์) แผนผังสุสานหลวง แสดงที่ตั้งของอนุสาวรีย์ต่างๆ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก (ราชวรมหาวิหาร) ประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งมิเพียงคงความวิจิตรงดงามในเชิงสถาปัตยกรรมไทยแบบพระราชนิยมแห่งหนึ่งในกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว พระอารามนี้ยังประกอบด้วยเขตสุสานหลวงจุฬาลงกรณ์ราชสันตติวงศ์ อันเป็นบริเวณเฉพาะที่นับเนื่องด้วยราชสกุลและสายสัมพันธ์แห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารเป็นสุสานที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้ผู้ที่มีความรักใคร่ห่วงใยอย่างใกล้ชิดคือ พระมเหสี เจ้าจอมมารดา และพระราชโอรส พระราชธิดา ได้อยู่รวมกันหลังจากที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ในทั่วไปจะเป็นการสร้างอนุสาวรีย์ของพระมเหสีและเจ้าจอมมารดา เพื่อให้ลูกได้อยู่รวมกับแม่หรืออย่างน้อยในบ้านของแม่ เว้นแต่ในกรณีที่พระราชโอรสหรือพระราชธิดาสิ้นพระชนม์ก่อนพระมารดาก็สร้างอนุสาวรีย์ของพระเจ้าลูกเธอพระองค์นั้นไปก่อน.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและสุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

หมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

หมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็นหมู่พระที่นั่งที่อยู่ระหว่างพระมหามณเฑียรและหมู่พระมหาปราสาทภายในพระบรมมหาราชวัง ทอดตัวจากทิศเหนือไปทิศใต้ ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นกลางและเขตพระราชฐานชั้นใน สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อใช้เป็นสถานที่ออกว่าราชการและเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ เดิมประกอบด้วยหมู่พระที่นั่ง 11 องค์ แต่เนื่องจากพระที่นั่งบางองค์ทรุดโทรมจนยากต่อการบูรณะจึงได้ทำการรื้อลง ปัจจุบัน หมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ประกอบด้วย พระที่นั่ง 5 องค์ ได้แก่ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็นพระที่นั่งองค์เดียวในหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5 พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร และพระที่นั่งเทวารัณยสถาน เป็นพระที่นั่งที่รื้อลงและสร้างขึ้นใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุล.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์

ตราจารย์ หม่อมราชวงศ์ ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ (25 กันยายน 2490 -) เกิดที่กรุงเทพมหานคร นักวิจัยไทยที่มีผลงานดีเด่นในสาขาชีวเคมี และชีวเคมีศึกษา มีความสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับโปรตีนและเอนไซม์ และเน้นการสอนและการวิจัยทางด้านนี้มาตลอดระยะเวลากว่า 35 ปี เป็นผู้ก่อตั้งชมรมวิจัยโปรตีนแห่งประเทศไทยขึ้น เมื่อ ปี..

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและหม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร

รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร (22 กันยายน 2495 -) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนที่ 15 อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเท.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล

หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล (28 กันยายน 2486 -) กรรมการกฤษฎีกา ประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยและรองประธานกรรมการมูลนิธิสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และอดีตปลัดกระทรวงการคลัง สื่อมวลชนเรียก หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล กันติดปากว่า หม่อมเต.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและหม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล

หม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล (30 เมษายน พ.ศ. 2521 —) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร รองโฆษกพรรคประชาธิปัต.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและหม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมเจ้ามารยาตรกัญญา ดิศกุล

หม่อมเจ้ามารยาตรกัญญา ดิศกุล (8 เมษายน พ.ศ. 2445 – 11 ธันวาคม พ.ศ. 2549) เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นพระธิดาพระองค์โตที่ประสูติในหม่อมแสง ศตะรัต มีพระนามลำลองว่า "หญิงแย้ม" หม่อมเจ้ามารยาตรกัญญาทรงเติบโตมาพร้อมกับหม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล พระธิดาพระองค์ใหญ่ในกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พร้อมกับพระธิดาของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ในสำนักของสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีที่วังบางขุนพรหม คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบง พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวงษวิจิตร พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสิฐสบสมัย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรกานตมณี หม่อมเจ้ามารยาตรกัญญาทรงเป็นเลขานุการสภากาชาดไทย มาตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงเป็นสภานายิกา จนกระทั่งภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ก็ยังทรงเป็นเลขานุการจนกระทั่งเกษียณอายุ ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จไปลี้ภัยที่ปีนัง ระหว่าง..

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและหม่อมเจ้ามารยาตรกัญญา ดิศกุล · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล

หม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล (3 สิงหาคม พ.ศ. 2429 — 23 กันยายน พ.ศ. 2521) เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประสูติในหม่อมนวม ดิศกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม โรจนดิศ) มีพระนามลำลองว่า "หญิงใหญ่" เมื่อทรงพระเยาว์ทรงเข้าไปอยู่ในพระราชสำนักของสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี และมีความสามารถในการทำอาหารเป็นอย่างดี ด้วยความที่เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ในกรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงทรงมีหน้าที่ดูแลวังวรดิศ และประกอบพระกรณียกิจแทนพระบิดาขณะที่ไม่ได้ทรงอยู่ในพระนคร นอกจากนี้หม่อมเจ้าจงจิตรถนอมยังมีศักดิ์เป็นหลานสาวของเจ้าจอมมารดาชุ่มผู้เป็นย่า เมื่อนับจากบรรพบุรุษฝ่ายมารดาของเจ้าจอมมารดาชุ่ม ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จไปลี้ภัยที่ปีนัง ระหว่าง..

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและหม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร

หม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร (ราชสกุลเดิม: ไชยันต์; ประสูติ: 12 ธันวาคม พ.ศ. 2429 — สิ้นชีพิตักษัย: 21 มิถุนายน พ.ศ. 2499) ชายาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและหม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร · ดูเพิ่มเติม »

อินทุรัตนา บริพัตร

อินทุรัตนา บริพัตร (2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2465) มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าอินทุรัตนา บริพัตร และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทุรัตนา เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต และหม่อมสมพันธ์ บริพัตร ณ อยุธยา (สกุลเดิม ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา).

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและอินทุรัตนา บริพัตร · ดูเพิ่มเติม »

ธิราชเจ้าจอมสยาม

ราชเจ้าจอมสยาม (Thee Siamese Lord) เป็นละครโทรทัศน์กึ่งสารคดี ออกอากาศทางทีวีไทย ในวันจันทร์ วันอังคาร และวันพุธ เวลา 20.20 - 21.10 น. ระหว่างวันที่ 6 ตุลาคม - 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 รวมทั้งหมด 18 ตอน.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและธิราชเจ้าจอมสยาม · ดูเพิ่มเติม »

ถนนบริพัตร

นนบริพัตร (Thanon Paribatra) ถนนสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่ตัดตรงในลักษณะขวางตัดกับถนนสายอื่น ๆ เริ่มต้นตั้งแต่ที่ถนนดำรงรักษ์ บริเวณด้านข้างพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ พื้นที่แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ทอดผ่านสะพานมหาดไทยอุทิศ ข้ามคลองมหานาค ผ่านวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ผ่านแยกเมรุปูนจุดตัดกับถนนบำรุงเมือง ในพื้นที่แขวงบ้านบาตร จากนั้นตัดผ่านถนนหลวง ที่เชิงสะพานระพีพัฒนภาค ข้ามคลองรอบกรุง จากนั้นผ่านเชิงสะพานดำรงสถิต ข้ามคลองโอ่งอ่าง บริเวณคลองถม และไปสิ้นสุดที่ถนนเยาวราช บริเวณเชิงสะพานภาณุพันธ์ ที่แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ ชื่อ "บริพัตร" นั้นตั้งขึ้นเพื่อเป็นพระเกียรติแก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต หรือทูลกระหม่อมบริพัตร พระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี องค์ผู้ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงเป็นต้นราชสกุลบริพัตร.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและถนนบริพัตร · ดูเพิ่มเติม »

คามิลลา ดัชเชสแห่งคอร์นวอล

มิลลา ดัชเชสแห่งคอร์นวอล หรือพระนามเดิม คามิลลา โรสแมรี หรือที่รู้จักกันในพระนาม คามิลลา พาร์กเกอร์ โบลส์ (Camilla, Duchess of Cornwall; ประสูติเมื่อ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2490) เป็นพระวรชายาพระองค์ที่สองของเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ องค์รัชทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงในราชบัลลังก์สหราชอาณาจักร พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร คามิลลาประสูติเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ทรงเป็นธิดาของนายบรูซ ชานด์และนางโรซาลินด์ ชานด์ (สกุลเดิม คิวบิต) พระชนนีของพระองค์เป็นธิดาของโรแลนด์ คิวบิตที่ 3 บารอนแห่งอาซท์คอมบี้ พระองค์ประสูติในอีสต์ซัสเซ็กซ์ และทรงเติบโตขึ้นมาในชนชั้นสูงของอังกฤษ ในปี 1973 พระองค์สมรสกับทหารในกองทัพอังกฤษ ชื่อว่าอันดริว พาร์กเกอร์-โบลส์ และทั้งคู่มีบุตรสองคน ทั้งสองหย่ากันในปี 1995 ความสัมพันธ์ของคามิลลาและเจ้าชายชาลส์นั้นตกเป็นข่าวดังขึ้น ในที่สุดคลาเรนซ์เฮ้าส์ประกาศเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ว่าเจ้าชายชาลส์และคามิลลา ปากเกอร์ โบลส์ จะอภิเษกสมรสในวันที่ 8 เมษายน ปีเดียวกันนั้น อย่างไรก็ตามเนื่องจากการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 การอภิเษกสมรสต้องเลื่อนไปเป็นวันที่ 9 เมษายน แทนเพราะเจ้าชายชาลส์ต้องเสด็จพระราชดำเนิน ไปในการพระศพ รวมทั้งได้มีการประกาศเพิ่มเติมด้วยว่าหลังจากอภิเษกสมรสแล้ว คามิลลาจะดำรงพระอิสริยยศเป็น เจ้าหญิงดัชเชสแห่งคอร์นวอล (Her Royal Highness the Duchess of Cornwall) และหลังจากเจ้าชายชาลส์เสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์จะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าหญิงพระราชชายา (Her Royal Highness the Princess Consort) เชื่อกันว่าเนื่องจากอ้างอิงตามพระอิสริยยศของเจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียที่ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น เจ้าชายพระราชสวามี (His Royal Highness the Prince Consort) และหลังจากเสกสมรสแล้ว คามิลลาได้กลายเป็นพระมารดาเลี้ยงใน เจ้าชายวิลเลียม ดยุกแห่งเคมบริดจ์ และ เจ้าชายเฮนรี แห่งเวลส์ พระโอรสทั้ง 2 พระองค์ของพระราชสวามีกับพระวรชายาพระองค์เก่า ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวล.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและคามิลลา ดัชเชสแห่งคอร์นวอล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทยใน พ.ศ. 2404

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2404 ในประเทศไท.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและประเทศไทยใน พ.ศ. 2404 · ดูเพิ่มเติม »

แพร่งภูธร

ปากทางเข้าแพร่งภูธรด้านถนนอัษฎางค์ แลเห็นสุขุมาลอนามัย แพร่งภูธร เป็นย่านการค้าที่อยู่ระหว่างถนนตะนาวกับถนนอัษฎางค์ ริมคลองหลอด เชิงสะพานช้างโรงสี เดิมคือ วังสะพานช้างโรงสี วังเหนือ อยู่ทางทิศใต้ของแพร่งนรา ซึ่งเป็นที่ประทับของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไพฑูรย์ กรมหมื่นสนิทนเรนทร์ ต้นราชสกุลไพฑูรย์ เมื่อกรมหมื่นสนิทนเรนทร์สิ้นพระชนม์ จึงเป็นที่ประทับของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมแสง กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา พระอนุชาร่วมเจ้าจอมมารดา ต้นราชสกุลชุมแสง เมื่อกรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชาสิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานวังนี้เป็นที่ประทับของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ ต่อมาเมื่อเมื่อกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์สิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้แบ่งพื้นที่ทำเป็นตึกแถว พระราชทานชื่อถนนย่านนั้นว่า แพร่งภูธร ตามพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ ปัจจุบัน ใจกลางแพร่งภูธรเป็นลานสาธารณะสำหรับพักผ่อนและทำกิจกรรมต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่ตั้งของร้านอาหารที่มีชื่อเสียงจำนวนหลากหลายร้าน หลากหลายประเภท เช่น ก๋วยเตี๋ยวเนื้อ, บะหมี่และเกี๊ยว, ต้มสมองหมู, เปาะเปี๊ยะสด, ข้าวหมูแดง, ข้าวแกงกะหรี่เนื้อและสตูว์เนื้อ, ไอศกรีมแบบไทย, ขนมเบื้อง, ผัดไทย รวมถึงอาหารตามสั่ง เช่นเดียวกับถนนตะนาว, ถนนมหรรณพ และแพร่งนราที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งบางร้านยังมีชื่อเสียงโด่งดังในระดับโลกด้วย นอกจากนี้แล้วยังเป็นที่ตั้งของสถานีอนามัย สุขุมาลอนามัย ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและแพร่งภูธร · ดูเพิ่มเติม »

แยกราชเทวี

แยกราชเทวี (Ratchathewi Intersection) เป็นสี่แยกในเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร เป็นจุดตัดของถนนพญาไทและถนนเพชรบุรี แต่ดั้งเดิม ณ สถานที่นี้ เคยเป็นที่ตั้งของสะพานพระราชเทวี หรีอที่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า สะพานราชเทวี อันเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กข้ามคลองประแจจีน บนฝั่งถนนพญาไทก่อนถึงถนนประแจจีน (ถนนเพชรบุรี) สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยพระราชทรัพย์ของสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระชนมายุครบ ๕๐ พรรษา ด้วยการบริจาคพระราชทรัพย์สร้างสะพาน และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามและทรงประกอบพระราชพิธีเปิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม..

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและแยกราชเทวี · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์

้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ (HRH the Prince Charles, The Prince of Wales) พระนามเต็ม ชาลส์ ฟิลิป อาร์เธอร์ จอร์จ; พระราชสมภพ 14 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าจอมมารดาชุ่ม ในรัชกาลที่ 5

้าจอมมารดาชุ่ม ในรัชกาลที่ 5 เป็นธิดาของพระมงคลรัตน์ราชมนตรี (ช่วง ไกรฤกษ์) กับ ไข่ มงคลรัตน์ราชมนตรี เกิดเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2412 เจ้าจอมมารดาชุ่ม มีพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันกับท่าน 10 คน ได้แก.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและเจ้าจอมมารดาชุ่ม ในรัชกาลที่ 5 · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าจอมมารดาสำลี (แก้ความกำกวม)

้าจอมมารดาสำลี อาจหมายถึง.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและเจ้าจอมมารดาสำลี (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าจอมมารดาแส ในรัชกาลที่ 5

้าจอมมารดาแส ในรัชกาลที่ 5 เกิดเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2411 เป็นธิดารุ่นเล็กของพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ) กับบาง อัพภันตริกามาตย์ มีพี่น้องร่วมบิดาที่รับราชการฝ่ายใน ดังนี้.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและเจ้าจอมมารดาแส ในรัชกาลที่ 5 · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าดารารัศมี พระราชชายา

้าดารารัศมี พระราชชายา (150px) (26 สิงหาคม พ.ศ. 2416 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476) เจ้าหญิงในราชวงศ์ทิพย์จักรจากนครเชียงใหม่ ผู้มีบทบาทสำคัญต่อการรวมล้านนาเข้ากับสยาม โดยการถวายตัวเป็นสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมลานน.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและเจ้าดารารัศมี พระราชชายา · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าคุณจอมมารดาสำลี ในรัชกาลที่ 4

300px เจ้าคุณจอมมารดาสำลี ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (สกุลเดิม บุนนาค, พ.ศ. 2378 - พ.ศ. 2443) เป็นมารดาในสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและเจ้าคุณจอมมารดาสำลี ในรัชกาลที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

เขตพระราชฐานชั้นใน (พระบรมมหาราชวัง)

ผังบริเวณ ในเขตพระราชฐานชั้นใน เขตพระราชฐานชั้นใน เป็นพื้นที่ที่มีพระตำหนักของเจ้าจอมมารดา พระมเหสี พระชายาต่างๆ เขตนี้ผู้ชายห้ามเข้า หากจะเข้าต้องมีโขลนคอยดูแลอยู่ตลอด ส่วนแถวเต๊ง เป็นตึกแถวยาวที่เคยเป็นกำแพงวังสมัยรัชกาลที่ 1 โดยมีประตูช่องกุดเป็นช่องทางเข้าออกของชาววัง ซึ่งอยู่ใกล้ประตูศรีสุดาวงศ์ ซึ่งเป็นประตูชั้นในที่จะต่อกับแถวเต๊ง บริเวณนั้นมีสวนขวาอันเป็นพระราชอุทยานซึ่งรัชกาลที่ 4 ทรงสร้างเป็นพระอภิเนาว์นิเวศน์ และมีสวนเต่า พวกเจ้านายจะทรงพระสำราญที่นี่ และเวลาไว้พระศพเจ้านายชั้นสูงก็จะไว้ที่หอธรรมสังเวชซึ่งอยู่ทางตะวันตกของพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและเขตพระราชฐานชั้นใน (พระบรมมหาราชวัง) · ดูเพิ่มเติม »

เขตราชเทวี

ตราชเทวี เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและเขตราชเทวี · ดูเพิ่มเติม »

10 พฤษภาคม

วันที่ 10 พฤษภาคม เป็นวันที่ 130 ของปี (วันที่ 131 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 235 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและ10 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

9 กรกฎาคม

วันที่ 9 กรกฎาคม เป็นวันที่ 190 ของปี (วันที่ 191 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 175 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและ9 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมมาลมารศรี พระราชเทวีสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรีสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีพระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรีพระองค์เจ้าหญิงสุขุมาลมารศรีพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรีพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวีพระนางเธอ พระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »