โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สมัยโบราณ

ดัชนี สมัยโบราณ

ฟาโรห์ ผู้ปกครองอารยธรรมอียิปต์ อารยธรรมที่โด่งดังในสมัยโบราณ สาธารณรัฐโรมัน อารยธรรมที่โด่งดังอีกแห่งในสมัยโบราณ สมัยโบราณ (Ancient history) ในความหมายที่เป็นสากล จะหมายถึง ช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักการตั้งถิ่นฐานถาวร สร้างอารยธรรม วัฒนธรรม อักษรต่าง ๆ ขึ้นมา ซึ่งในแต่ละประเทศ สมัยโบราณจะมาถึงเร็วหรือช้า จะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่าช่วงเวลาใดทีประเทศนั้นอยู่ในช่วงสร้างและประดิษฐ์อารยธรรมที่จะเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่าอารยธรรมของประเทศนี้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ช่วงเวลานั้น ของประเทศนั้น ก็จะจัดอยู่ในช่วงสมัยโบราณ สมัยโบราณโดยเฉลี่ยของโลกจะตรงกับ 3,500 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 476 เพราะในช่วงเวลาดังกล่าว อารยรรมที่โด่งดังจำนวนมากของโลกถือกำเนิดในช่วงนี้ เช่น อารยธรรมโรมัน กรีก เมโสโปเตเมีย จีน อินเดีย อียิปต์ ฯลฯ นักประวัติศาสตร์ทั่วโลกจึงกำหนดช่วงเวลาดังกล่าวให้เป็นสมัยโบราณโดยเฉลี่ยของโลก สมัยโบราณโดยเฉลี่ยของโลก สิ้นสุดใน ค.ศ. 476 เมื่อจักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายลง เหลือแต่จักรวรรดิโรมันตะวันออก ที่เปิดเมืองรับเอาศาสนาคริสต์เข้ามามีบทบาทสูงในสังคมโรมัน และอิทธิพลของโรมันก็แผ่ขยายไปทั่วยุโรป และไปทั่วโลก ทำให้โลกโดยรวมออกจากสมัยโบราณ เข้าสู่สมัยกลาง (Middle Ages) ทางด้านอารยธรรมสมัยโบราณของต่างประเทศ โดยเฉพาะในแถบยุโรป มีอารยธรรมที่น่าสนใจเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น อารยธรรมอียิปต์ กรีก โรมัน บุคคลที่มีชีวิตอยู่ในช่วงหลายพันปีก่อน แล้วยังมีชื่อเสียงอยู่จนถึงปัจจุบันมีมากมาย เช่น จูเลียส ซีซาร์, คลีโอพัตรา รวมทั้งฟาโรห์หลายพระองค์แห่งอียิปต.

52 ความสัมพันธ์: พระธาตุขามแก่นกรีกกรีซโบราณการกระจายอย่างเป็นธรรมการค้าประเวณีเด็กการค้าเครื่องเทศยาปฏิชีวนะยุคก่อนประวัติศาสตร์ยุคโลหะยุคเหล็กรักร่วมเพศราชวงศ์ห่งบ่างราชอาณาจักรมาเกโดนีอาราชอาณาจักรแนบาเทียรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่รูปขบวนเชิงยุทธวิธีวัดกู่ผางลางสมัยกลางสมัยคลาสสิกหลักสูตรหล่อฮังก๊วยอารมาเกดโดนอารยธรรมอีทรัสคันอารยธรรมเฮลเลนิสต์อาณาจักรรวมชิลลาอเล็กซานเดอร์มหาราชจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรวรรดิศุงคะจักรวรรดิสาตวาหนะจักรวรรดิอะคีเมนิดจักรวรรดิคุปตะจักรวรรดิแซสซานิดจักรวรรดิโรมันตะวันตกจักรวรรดิเปอร์เชียจังหวัดเพชรบุรีดาบความโปร่งใสประวัติศาสตร์โลกประเทศคาซัคสถานประเทศตูนิเซียปลายสมัยโบราณนัยน์ตาปีศาจแอโทรพาทีนีแคว้นมคธโรมโบราณโรคลมชักโล่เกาะสุมาตราเมืองหลวงญี่ปุ่นเอจออฟเอ็มไพร์ส (วีดีโอเกม)...เข็มกลัดตรึงเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ ขยายดัชนี (2 มากกว่า) »

พระธาตุขามแก่น

ระธาตุขามแก่น พระธาตุขามแก่น ตั้งอยู่ที่วัดเจติยภูมิ บ้านขาม หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เป็นปูชนียสถานของจังหวัดขอนแก่น บ้านขามเคยเป็นเมืองมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นเวลาประมาณ 2000 ปี ตั้งแต่ พ.ศ 500 ต่อมาเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ ชื่อ เพี้ยเมืองแพน (ปัจจุบันคือ จังหวัดร้อยเอ็ด) ได้มาตั้งเมืองขามแก่นที่ บ้านขาม พุทธศตวรรษที่ 5 พระยาหลังเขียว หรือโมริย กษัตริย์เจ้าเมืองโมรีย์ (เมืองโมรีย์อยู่ในอาณาเขตของประเทศกัมพูชา) สร้างพระธาตุขามแก่น ตั้งอยู่ในวัดเจติยภูมิ ตำบลบ้านขาม.

ใหม่!!: สมัยโบราณและพระธาตุขามแก่น · ดูเพิ่มเติม »

กรีก

กรีก (Greek) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: สมัยโบราณและกรีก · ดูเพิ่มเติม »

กรีซโบราณ

กรีซโบราณ (Ancient Greece) เป็นคำที่ใช้เรียกถึงบริเวณที่มีการพูดภาษากรีกในโลกยุคโบราณ ซึ่งไม่เพียงอ้างถึงพื้นที่คาบสมุทรของกรีซยุคปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังกล่าวรวมถึงอารยธรรมกรีกโบราณซึ่งเป็นที่ตั้งรกรากถิ่นฐานโดยชาวกรีกในยุคโบราณอันได้แก่ ไซปรัส, บริเวณชายฝั่งของทะเลอีเจียนของตุรกี (หรือที่รู้จักในนามไอโอเนีย), ซิซิลีและทางใต้ของอิตาลี (หรือที่รู้จักในนามแมกนา เกรเชีย) และถิ่นฐานซึ่งกระจายออกไปของชาวกรีกตามชายฝั่งต่างๆซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศ บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ยูเครน โรมาเนีย ลิเบีย สเปน อัลแบเนีย และอียิปต.

ใหม่!!: สมัยโบราณและกรีซโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

การกระจายอย่างเป็นธรรม

การกระจายอย่างเป็นธรรม (Distributive Justice) เป็นหลักการพื้นฐานที่สุดที่ใช้กำกับหรือกำหนดโครงสร้างความสัมพันธ์ของคนและสถาบันในสังคม อันเกี่ยวข้องกับการกระจายประโยชน์ และสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม การเข้าถึงทรัพยากร รวมถึงโอกาสที่จะได้รับสิทธิบางอย่าง และการกำหนดภาระหน้าที่ให้แก่สมาชิกในสังคม (Kurian, 2011: 446; Rawls, 1971: 4) การกระจายอย่างเป็นธรรมมีหลายแนวคิดแตกต่างกันออกไป เช่น หลักการกระจายที่เน้นความเท่าเทียมกันอย่างเด็ดขาด (Strict Egalitarianism) หลักการกระจายแบบประโยชน์นิยม (Utilitarianism–Based Principle) หลักที่มีฐานจากความแตกต่าง (Difference-Based Principle) หลักการกระจายแบบเสรีภาพนิยม ที่ขึ้นอยู่กับความสามารถของคนบุคคล (Libertarian Principle) และหลักการกระจายตามความเหมาะสม (Desert-based Principle) เป็นต้น.

ใหม่!!: สมัยโบราณและการกระจายอย่างเป็นธรรม · ดูเพิ่มเติม »

การค้าประเวณีเด็ก

การค้าประเวณีเด็ก (Prostitution of children, child prostitution) เป็นการค้าประเวณีที่เกี่ยวกับเด็ก เป็นรูปแบบหนึ่งของการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก เด็กในที่นี้มักจะหมายถึงผู้เยาว์ หรือบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ในเขตกฎหมายโดยมาก การค้าประเวณีเด็กผิดกฎหมายโดยเป็นส่วนของกฎหมายห้ามการค้าประเวณีโดยทั่ว ๆ ไป การค้าประเวณีเด็กมักจะปรากฏในรูปแบบของการค้าเซ็กซ์ (sex trafficking) ที่เด็กถูกลักพาตัว หรือถูกหลอกให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการค้าเพศ หรือว่า เป็นเซ็กซ์เพื่อการอยู่รอด ที่เด็กจะร่วมกิจกรรมทางเพศแลกเปลี่ยนกับปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อชีวิตรวมทั้งอาหารและที่อยู่อาศัย การค้าประเวณีเด็กมักจะเกี่ยวข้องกับสื่อลามกอนาจารเด็ก และบางครั้งจะเกิดขึ้นคาบเกี่ยวกัน และมีคนที่เดินทางไปต่างประเทศเพื่อจะเที่ยวเซ็กซ์ทัวร์เด็ก งานวิจัยแสดงว่า อาจจะมีเด็กมากถึง 10 ล้านคนทั่วโลกที่ค้าประเวณี โดยมีปัญหาหนักที่สุดในทวีปอเมริกาใต้และเอเชีย แต่ก็เป็นปัญหาทั่วโลก ทั้งในประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาแล้ว สหประชาชาติได้กำหนดว่า การค้าประเวณีเด็กผิดกฎหมายสากล โดยมีการรณรงค์และองค์กรต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านการปฏิบัติการเช่นนี้ เด็กโดยมากที่เกี่ยวข้องเป็นหญิง อาจจะอายุเพียงแค่ 4-5 ขวบ เรียนน้อยมากและถูกคนแปลกหน้าหลอกได้ง.

ใหม่!!: สมัยโบราณและการค้าประเวณีเด็ก · ดูเพิ่มเติม »

การค้าเครื่องเทศ

วามสำคัญทางเศรษฐกิจเส้นทางสายไหมและเส้นทางเครื่องเทศของเส้นทางการค้าไปยังตะวันออกมาถูกปิดโดยจักรวรรดิออตโตมัน ราว ค.ศ. 1453 เมื่อจักรวรรดิไบแซนไทน์และคอนสแตนติโนเปิลล่ม ซึ่งเป็นชนวนที่ทำให้เกิดการแข่งขันกันสำรวจหาเส้นทางการค้าไปยังตะวันออกใหม่ที่เริ่มด้วยการพยายามหาเส้นทางรอบแอฟริกาที่ในที่สุดก็นำไปสู่ยุคแห่งการสำรวจ ภาพแสดงเส้นทางการเดินทางของวัชกู ดา กามาไปยังอินเดีย (เส้นดำ) ผู้เดินทางรอบแอฟริกาคนแรก เส้นทางของเปรู ดา กูวิลยัง (สีส้ม) และอาฟงซู ดี ไปวา (สีน้ำเงิน) เส้นทางซ้อนกันเป็นสีเขียว การค้าเครื่องเทศ คือกิจการทางการพาณิชย์ที่มีต้นตอมาแต่ยุคโบราณที่เป็นการค้าขายสินค้าที่รวมทั้งเครื่องเทศ, สมุนไพร และฝิ่น การวิวัฒนาการของวัฒนธรรมของเอเชียบางส่วนก็มีอิทธิพลมาจากการค้าขายเครื่องเทศ จากนั้นก็ตามด้วยโลกกรีก-โรมันที่ใช้เส้นทางสายเครื่องหอม และเส้นทางสายโรมัน-อินเดียเป็นเส้นทางการค้ามายังตะวันออกFage 1975: 164 เส้นทางสายโรมัน-อินเดียวิวัฒนาการมาจากเทคนิคที่ใช้โดยมหาอำนาจทางการค้าของราชอาณาจักรอัคซูม (ราว 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช-จนถึง ค.ศ. 1000 กว่า ๆ) ที่เป็นการริเริ่มการใช้เส้นทางในทะเลแดงมาตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 1 อัคซูมแบ่งปันความรู้ในการใช้ลมมรสุมในการเดินเรือกับชาวโรมัน (ราว 30-10 ปีก่อนคริสตกาล) และรักษาสัมพันธ์ภาพระหว่างกันอย่างปรองดองมาจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 7 เมื่ออิสลามเรืองอำนาจขึ้น ก็ปิดเส้นทางการค้าทางทะเล และหันมาใช้ขบวนคาราวานในการขนส่งทางบกไปยังอียิปต์และซุเอซ ซึ่งเท่ากับเป็นการตัดความสัมพันธ์ทางการค้าโดยตรงระหว่างยุโรปไปยังอัคซูมและอินเดีย และในที่สุดพ่อค้าอาหรับก็ยึดการขนส่งสินค้าเข้ามาอยู่ในมือของตนเอง โดยการขนส่งสินค้าเข้าทางบริเวณเลแวนต์ไปให้แก่พ่อค้าเวนิสในยุโรปยุโรป การขนส่งด้วยวิธีนี้มายุติลงเมื่อออตโตมันเติร์กมาปิดเส้นทางอีกครั้งในปี..

ใหม่!!: สมัยโบราณและการค้าเครื่องเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ยาปฏิชีวนะ

การดื้อยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนิซิลลินอย่างรุนแรง ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics จากภาษากรีซโบราณ αντιβιοτικά, antiviotika) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterials) เป็นกลุ่มย่อยของยาอีกกลุ่มหนึ่งในกลุ่มยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial drugs) ซึ่งเป็นยาที่ถูกใช้ในการรักษาและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยอาจออกฤทธิ์ฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสอง ยาปฏิชีวนะบางชนิดอาจมีคุณสมบัติเป็นมีคุณสมบัติเป็นสารต้านโพรโทซัวได้ เช่น เมโทรนิดาโซล ทั้งนี้ ยาปฏิชีวนะไม่มีฤทธิ์ในการต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น ไข้หวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น โดยยาที่มีฤทธิ์ต่อเชื้อไวรัสจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาต้านไวรัส ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยอีกกลุ่มหนึ่งของยาต้านจุลชีพ ในบางครั้ง คำว่า ยาปฏิชีวนะ (ซึ่งหมายถึง "การต่อต้านชีวิต") ถูกนำมาใช้เพื่อสื่อความถึงสารใดๆที่นำมาใช้เพื่อต้านจุลินทรีย์ ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับคำว่า ยาต้านจุลชีพ บางแหล่งมีการใช้คำว่า ยาปฏิชีวนะ และ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ในความหมายที่แยกจากกันไป โดยคำว่า ยา (สาร) ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จะสื่อความถึง สบู่ และน้ำยาฆ่าเชื้อ ขณะที่คำว่า ยาปฏิชีวนะ จะหมายถึงยาที่ใช้ในทางการแพทย์เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย การพัฒนายาปฏิชีวนะเริ่มต้นในช่วงศตวรรษที่ 20 พร้อมกับการพัฒนาเรื่องการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคจากเชื้อจุลชีพต่างๆ การเกิดขึ้นของยาปฏิชีวนะนำมาซึ่งการกำจัดโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ออกไปหลายชนิด เช่น กรณีของวัณโรคที่ระบาดในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม ด้วยประสิทธิภาพที่ดีและการเข้าถึงยาที่ง่ายนำไปสู่การใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิด พร้อมๆกับการที่แบคทีเรียมีการพัฒนาจนกลายพันธุ์เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ปัญหาดังข้างต้นได้แพร่กระจายเป็นวงกว้าง จนเป็นปัญหาสำคัญของการสาธารณสุขในทุกประเทศทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้ประกาศให้ปัญหาการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียเป็น "ปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่สุดที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลกและทุกคนล้วนจะต้องได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ ไม่ว่าวัยใด หรือประเทศใดก็ตาม".

ใหม่!!: สมัยโบราณและยาปฏิชีวนะ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

ก่อนประวัติศาสตร์ (อังกฤษ: Prehistory) โดยทั่วไปหมายถึงช่วงเวลาที่ไม่มีการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ โดยมนุษย์ (ในบางครั้งหมายถึง ช่วงเวลาก่อนมีอารยธรรมมนุษย์).

ใหม่!!: สมัยโบราณและยุคก่อนประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคโลหะ

ลหะ (Metal Age) เป็นยุคที่อยู่ในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 5,000-900 ปีก่อนพุทธศักราช ยุคที่มนุษย์รู้จักนำเอาแร่โลหะมาจากธรรมชาตินำมาใช้เพื่อประโยชน์ เช่น ทองแดง, สำริด และเหล็ก นำมาหล่อหรือขึ้นเป็นมีด, หอก และดาบ เพื่อใช้ในการล่าสัตว์ หรือมาประกอบเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ และเครื่องประดับ มนุษย์สมัยนี้พัฒนาการเป็นอยู่อาศัยและการเกษตรกรรมให้ดียิ่งขึ้น เช่น การสร้างบ้านให้ใต้ถุนบ้านสูง.

ใหม่!!: สมัยโบราณและยุคโลหะ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเหล็ก

หล็ก เกิดหลังจากยุคสำริดสิ้นสุดลงในช่วง 1206-1150 ปีก่อนคริสตกาล เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มใช้เหล็กในการทำเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ในการดำรงชีวิต ยุคต่อมาหลังยุคเหล็ก คือ สมัยโบราณ.

ใหม่!!: สมัยโบราณและยุคเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

รักร่วมเพศ

รักร่วมเพศ (homosexuality) หมายถึงพฤติกรรมทางเพศหรือความสนใจของคนในเพศเดียวกันหรือรสนิยมทางเพศ ในเรื่องรสนิยมทางเพศหมายถึง "มีเพศสัมพันธ์หรือความรักในทางโรแมนติกพิเศษกับบุคคลในเพศเดียวกัน" และยังหมายถึง "ความรู้สึกส่วนตัวและการแสดงออกทางสังคมโดยยึดจากความชอบ พฤติกรรมที่พวกเขาแสดงออก และการเป็นสมาชิกในกลุ่มสังคมเดียวกันของพวกเขา" รักร่วมเพศ, ไบเซ็กชวล และรักต่างเพศ ถือเป็นกลุ่มคนหลัก 3 ประเภทของรสนิยมทางเพศ สัดส่วนของประชากรที่เป็นกลุ่มคนรักเพศเดียวกันค่อนข้างยากที่จะประเมินLeVay, Simon (1996).

ใหม่!!: สมัยโบราณและรักร่วมเพศ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ห่งบ่าง

ราชวงศ์ห่งบ่าง (thời kỳ Hồng Bàng, 鴻厖) เป็นราชวงศ์แรกในประวัติศาสตร์เวียดนาม ที่ปกครองในช่วง 2,879–258 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นช่วงเวลาในประวัติศาสตร์เวียดนามซึ่งประกอบไปด้วยสหภาพทางการเมืองในช่วง 2,879 ก่อนคริสต์ศักราชของชนเผ่าหลายแห่งในภาคเหนือของบริเวณหุบเขาแม่น้ำแดง และได้ถูกปกครองโดยอาน เซือง เวือง ในปี 258 ก่อนคริสต์ศักราช พงศาวดารเวียดนามตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 กล่าวคือ ดั่ยเหวียตสือกี๊ตว่านทือ (大越史記全書, Đại Việt sử ký toàn thư) อ้างว่าช่วงเวลาของยุคราชวงศ์ห่งบ่างเริ่มต้นด้วยกิญ เซือง เวือง ในฐานะ กษัตริย์หุ่ง (𤤰雄, Hùng Vương) องค์แรก ชื่อตำแหน่งได้ถูกใช้ในการอภิปรายสมัยใหม่หลายครั้งเกี่ยวกับผู้ปกครองชาวเวียดนามโบราณในยุคนี้ กษัตริย์หุ่งเป็นตำแหน่งผู้ปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของประเทศ (ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อซิกกวี๋และวันลางในเวลาต่อมา) และอย่างน้อยก็ในทางทฤษฎี ในยุคสมัยนี้ได้มีการควบคุมการใช้ที่ดินและทรัพยากรอย่างเป็นระบบขึ้นอย่างสมบูรณ์ แต่อย่างไรก็ตามบันทึกประวัติศาสตร์ของกษัตริย์ดังกล่าวใน 3 พันปีก่อนคริสต์ศักราชก็ยังถือว่าขาดแคลนอยู่มาก ประวัติของยุคห่งบ่างเกิดขึ้นในช่วงของราชวงศ์ที่แบ่งเป็น 18 ราชวงศ์ของกษัตริย์หุ่ง ในยุคกษัตริย์หุ่งได้รับความเจริญรุ่งเรืองพร้อมกับอารยธรรมการปลูกนาข้าวในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดงในช่วงยุคสำริด ในช่วงปลายของยุคห่งบ่างได้เกิดสงครามจำนวนมาก.

ใหม่!!: สมัยโบราณและราชวงศ์ห่งบ่าง · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรมาเกโดนีอา

มาเกโดนีอา (Μακεδονία) หรือ มาซิโดเนีย (Macedonia) เป็นราชอาณาจักรในกรีซโบราณที่มีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรกรีซ มาเกโดนีอาดินแดนของชนมาเกโดนีอาโบราณมีเขตแดนติดกับราชอาณาจักรอิไพรัส (Epirus) ทางตะวันตก, ราชอาณาจักรไพโอเนีย (Paionia) ทางตอนเหนือ, เทรซทางตะวันออก และเทสซาลี (Thessaly) ทางด้านใต้ ในช่วงระยะเวลาอันสั้นหลังจากการพิชิตดินแดนต่างๆ ของอเล็กซานเดอร์มหาราชราชอาณาจักรมาเกโดนีอาก็เป็นราชอาณาจักรที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลกที่มีดินแดนที่ครอบคลุมกรีซทั้งหมดไปจนถึงอินเดีย ซึ่งเป็นการเริ่มต้นยุคประวัติศาสตร์ที่เรียกว่าสมัยเฮเลนนิสต.

ใหม่!!: สมัยโบราณและราชอาณาจักรมาเกโดนีอา · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรแนบาเทีย

ราชอาณาจักรแนบาเทีย (Nabataean Kingdom; مملكة الأنباط) เป็นอาณาจักรของชาวแนบาเทีย สถาปนาเมื่อ 168 ปีก่อนคริสต์ศักราชโดยพระเจ้าอะรีทัสที่ 1 (Aretas I) ราชอาณาจักรแห่งนี้ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรไซนายและคาบสมุทรอาหรับ ทางเหนือติดกับดินแดนยูเดีย (Judea) ทางตะวันตกเฉียงใต้ติดกับอาณาจักรอียิปต์ทอเลมี มีเมืองหลวงคือเมืองเปตรา (ปัจจุบันอยู่ในประเทศจอร์แดน) ซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญของภูมิภาค และอยู่ในเส้นทางเครื่องหอม (Incense Route) มีเมืองสำคัญเช่น บอสตรา (Bostra), มาดาอิน ซาเลห์ (Mada'in Saleh), นิตซานา (Nitzana) ชาวแนบาเทียเป็นชนเร่ร่อนที่อาศัยอยู่ในทะเลทรายเนเกฟและคาบสมุทรไซนายสมัยที่จักรวรรดิอะคีเมนิดปกครองเมื่อศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล ต่อมาร่วมมือกับอาณาจักรแฮสมาเนียน (Hasmonean) เพื่อต่อสู้กับจักรวรรดิซิลิวซิด (Seleucid Empire) แต่หลังจากนั้นพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ แจนแนอัส (Alexander Jannaeus) แห่งแฮสมาเนียนได้โจมตีราชอาณาจักรแนบาเทียและบังคับให้ชาวแนบาเทียเปลี่ยนมานับถือศาสนายูดาห์ พระเจ้าโอบาดัสที่ 1 (Obodas I) จึงทำสงครามกับชาวแฮสมาเนียนและได้รับชัยชนะ ราชอาณาจักรแนบาเทียเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในรัชสมัยของพระเจ้าอะรีทัสที่ 3 (Aretas III; ครองราชย์ 87–62 ปีก่อนคริสต์กาล) แต่พระองค์ต้องทำสงครามกับชาวโรมัน ภายหลังทั้งสองฝ่ายได้เจรจาตกลงกันโดยพระเจ้าอะรีทัสที่ 3 ยอมส่งเครื่องราชบรรณาการให้แก่โรมันTaylor, Jane; Petra; p.25-31; Aurum Press Ltd; London; 2005; ISBN 9957-451-04-9 ราชอาณาจักรแนบาเทียในช่วงปลายตกอยู่ใต้อิทธิพลของจักรวรรดิโรมันที่ยึดดินแดนรอบ ๆ ทั้งหมด ในปี..

ใหม่!!: สมัยโบราณและราชอาณาจักรแนบาเทีย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: สมัยโบราณและรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

รูปขบวนเชิงยุทธวิธี

การจัดกระบวนทัพนาวีของกองทัพเรือ การจัดกำลังพลเชิงยุทธวิธี คือการจัดเรียงหรือการใช้งานหน่วยรบเคลื่อนที่เช่นทหารราบ ทหารม้า อากาศยาน และเรือรบ การจัดกระบวนทัพนี้มีการใช้มาแต่โบราณไม่ว่าจะในชนเผ่ามาวรี หรือในสมัยโบราณ หรือสมัยกลาง เช่น กำแพงโล่ (นอร์สโบราณ:skjaldborg) ฟาลังซ์ การจัดกระบวนเชืงยุทธวิธีนั้นรวมไปถึง.

ใหม่!!: สมัยโบราณและรูปขบวนเชิงยุทธวิธี · ดูเพิ่มเติม »

วัดกู่ผางลาง

นภูเขาในวัดกู่ผางลาง วัดกู่ผางลาง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 9 ตำบลห้วยข้าวก่ำ อำเภอจุน จังหวั.

ใหม่!!: สมัยโบราณและวัดกู่ผางลาง · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: สมัยโบราณและสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สมัยคลาสสิก

มัยคลาสสิก (Classical antiquity หรือ classical era หรือ classical period) เป็นคำที่ใช้กว้างๆ สำหรับสมัยประวัติศาตร์วัฒนธรรมที่มีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณเมดิเตอเรเนียนที่ประกอบด้วยการผสมผสานระหว่างกรีกโบราณและโรมันโบราณที่เรียกว่าโลกกรีก-โรมัน สมัยคลาสสิกเป็นสมัยที่วรรณคดีกรีกและลาตินมีความรุ่งเรือง สมัยคลาสสิกถือกันว่าเริ่มขึ้นเมื่อมีการบันทึกวรรณกรรมกรีกเป็นครั้งแรกที่เริ่มด้วยมหากาพย์ของโฮเมอร์ราวศตวรรษที่ 8 ถึง 7 ก่อนคริสต์ศตวรรษ และดำเนินต่อมาจนกระทั่งถึงสมัยการเผยแพร่ของคริสต์ศาสนา และ การล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 จนมาสิ้นสุดลงในปลายสมัยโบราณตอนปลาย ราว..

ใหม่!!: สมัยโบราณและสมัยคลาสสิก · ดูเพิ่มเติม »

หลักสูตร

หลักสูตร (curriculum (เอกพจน์) หรือ curricula (พหูพจน์)) เป็นคำที่เกิดขึ้นมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 และเริ่มใช้คำนี้อย่างแพร่หลายในช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยในตำราเรียนเล่มแรกที่เขียนอธิบายเกี่ยวกับหลักสูตรของจอห์น แฟรงคลิน บอบบิทในปี..

ใหม่!!: สมัยโบราณและหลักสูตร · ดูเพิ่มเติม »

หล่อฮังก๊วย

หล่อฮังก๊วย เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์แตง (Cucurbitaceae) เป็นพืชพืนเมืองของทางตอนใต้ของจีนและภาคเหนือของไทย หล่อฮังก๊วยจัดได้ว่าเป็นพืชสมุนไพรจีนชนิดหนึ่ง ผลของหล่อฮังก๊วยมีลักษณะกลมเหมือนไข่เป็ด มีเปลือกแข็งล้อมรอบเนื้อผลไม้แต่มีความเปราะ ในช่วงที่ยังไม่สุกผลจะมีสีเขียวและเข้มขึ้นเรื่อยๆจนกลายเป็นสีเขียวเข้มแกมดำและผลจะรีลง ในการแพทย์แผนจีนจะนำผลของหล่อฮังก๊วยไปตากแห้งหรือลนไฟจนแห้ง จากนั้นจะทำการเคาะหากใช้ได้แล้วจะมีเสียงกังวาน สามารถนำมาต้มหรือผสมกับจับเลี้ยงเพื่อปรุงเครื่องดื่มแก้ร้อนในได้ สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม..

ใหม่!!: สมัยโบราณและหล่อฮังก๊วย · ดูเพิ่มเติม »

อารมาเกดโดน

อห์นแห่งปัทมอสกำลังนิพนธ์หนังสือวิวรณ์ อารมาเกดโดน (Armageddon; Ἁρμαγεδών. Harmagedōn, הַר מְגִדּוֹ, Har Megiddo; أرمجدون; ภาษาละตินสมัยหลัง: Armagedōn) เป็นสมรภูมิการยุทธ์อันเกี่ยวข้องกับคำพยากรณ์วันสิ้นโลกตามความเชื่อของศาสนาอับราฮัม ตามความเชื่อของฝ่ายบุพสหัสวรรษนิยม (premillennialism) พระเมสสิยาห์จะเสด็จมาอีกครั้ง เพื่อขจัดศัตรูของพระคริสต์ (antichrist) ซึ่งคัมภีร์ไบเบิลขนานเขาเหล่านั้นว่า "สัตว์" (beast) โดยพระเมสสิยาห์จะกระทำสงคราม ณ สมรภูมิอารมาเกดโดน เพื่อยังให้ "สัตว์" ทั้งปวงปลาสนาการไป และบัดนั้น ซาตานจักถูกผลักไสลงสู่ "ช่องบาดาล" (bottomless pit) หรือ "นรกขุมลึก" (abyss) เป็นเวลาหนึ่งพันปี ซึ่งเรียกว่า "ยุคพันปี" (Millennial Age) ทว่า เมื่อซาตานได้รับการปลดปล่อยจากนรกแล้ว มันจักประชุมฝูงชนแห่ง "ยะยูจและมะยูจ" (Gog and Magog) จาก "มุมทั้งสี่ของแผ่นดินโลก" (four corners of the earth) และประดาพลมากลุ้มรุมล้อม "องค์บริสุทธิ์" (holy ones) และ "นครอันเป็นที่รัก" (beloved city) (หมายถึง นครเยรูซาเลม) เอาไว้ ฝ่ายพระเจ้าจะบันดาลเพลิงกาฬร่วงลงจากชั้นฟ้า และผลาญไหม้เหล่ายะยูจและมะยูจ เมื่อนั้น ปีศาจที่ล่อลวงชนแห่งยะยูจและมะยูจมา ก็จะถูกทิ้งลง "บึงไฟนรก" (Gehenna) ที่ซึ่งฝูง "สัตว์" และ "ผู้เผยพระวจนะเท็จ" (False Prophet) ถูกส่งลงมาเมื่อพันปีก่อนหน้านี้ คำภาษาอังกฤษว่า "Armageddon" มาจากภาษาฮีบรูว่า "har məgiddô" (הר מגידו) หมายถึง "เขาเมกิดโด" (Mountain of Megiddo) สถานที่ทำสงครามหลายครั้งในสมัยโบราณ.

ใหม่!!: สมัยโบราณและอารมาเกดโดน · ดูเพิ่มเติม »

อารยธรรมอีทรัสคัน

อารยธรรมอีทรัสคัน (Etruscan civilization) เป็นคำใหม่ที่ใช้เรียกอารยธรรมและวิธีการใช้ชีวิตของชนในอิตาลีโบราณและคอร์ซิกาที่ชาวโรมันเรียกว่า “อีทรัสคิ” (Etrusci) หรือ “ทัสคิ” (Tusci) ภาษากรีกแอตติคสำหรับชนกลุ่มนี้คือ “Τυρρήνιοι” (Tyrrhēnioi) ที่แผลงมาเป็นภาษาลาติน “Tyrrhēni” (อีทรัสคัน), “Tyrrhēnia” (อีทรูเรีย (Etruria)) และ “Mare Tyrrhēnum” (ทะเลไทเรเนียน (Tyrrhenian Sea)) ชาวอีทรัสคันเองเรียกตนเองว่า “Rasenna” (ราเซนา) ที่แผลงมาเป็น “Rasna” หรือ “Raśna” (ราซนา) ชาวอีทรัสคันมีภาษาและวัฒนธรรมที่เป็นของตนเองแต่ไม่ทราบที่มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ก่อนการก่อตั้งกรุงโรมมาจนกระทั่งกลืนไปกับชาวโรมันโบราณในสาธารณรัฐโรมัน ในจุดที่รุ่งเรืองสูงสุดระหว่าสมัยการก่อตั้งกรุงโรมและราชอาณาจักรโรมันอีทรัสคันประกอบด้วยสามรัฐในสมาพันธรัฐ: ในอีทรูเรีย, ในบริเวณลุ่มแม่น้ำโป (Po Valley) กับทางตะวันออกของเทือกเขาแอลป์ และในบริเวณละติอุมและคัมปาเนีย กรุงโรมเองก็อยู่ในดินแดนที่เป็นของอีทรัสคัน และมีหลักฐานว่าในสมัยแรกของโรมเป็นสมัยที่ครอบคลุมโดยอีทรัสคันจนกระทั่งเวอิอิ (Veii) โจมตีกรุงโรมในปี 396 ก่อนคริสต์ศักราช อารยธรรมที่กล่าวว่าเป็นอารยธรรมอีทรัสคันอย่างแน่นอนวิวัฒนาการขึ้นในอิตาลีหลังจากราวปี 800 ก่อนคริสต์ศักราชในบริเวณที่เป็นอารยธรรมวิลลาโนวัน (Villanovan culture) ของยุคเหล็กก่อนหน้านั้น อารยธรรมอีทรัสคันมาเสื่อมโทรมลงราวศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราชเมื่อมาได้รับอิทธิพลจากนักการค้าชาวกรีกและเพื่อนบ้านของกรีซกรีซใหญ่ (Magna Graecia), อารยธรรมกรีกทางตอนใต้ของอิตาลี หลังจากปี 500 ก่อนคริสต์ศักราชอำนาจทางการเมืองของอีทรัสคันก็สิ้นสุดลงCary, M.; Scullard, H. H., A History of Rome. Page 28.

ใหม่!!: สมัยโบราณและอารยธรรมอีทรัสคัน · ดูเพิ่มเติม »

อารยธรรมเฮลเลนิสต์

อารยธรรมเฮลเลนิสต์ (Hellenistic civilization) เป็นจุดสูงสุดของความมีอิทธิพลของอารยธรรมกรีกในโลกยุคโบราณตั้งแต่ราวปี 323 จนถึงราวปี 146 ก่อนคริสต์ศตวรรษ (หรืออาจจะดำเนินต่อมาถึงปี 30 ก่อนคริสต์ศตวรรษก็เป็นได้) เป็นสมัยที่ตามมาจากสมัยกรีกคลาสสิก (Classical Greece) และตามมาทันทีด้วยการปกครองของโรมในบริเวณที่เคยปกครองโดยหรือมีอิทธิพลจากกรีซ – แม้ว่าวัฒนธรรม ศิลปะ และวรรณคดีของกรีซจะยังคงมีอิทธิพลต่อสังคมของโรมัน ที่ชนชั้นสูงจะพูดและอ่านภาษากรีกได้ดีพอ ๆ กับภาษาละติน หลังจากชัยชนะต่อจักรวรรดิเปอร์เชียโดยอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซิดอนกรีกแล้ว ราชอาณาจักรมาซิโดเนียต่าง ๆ ก็ได้รับการก่อตั้งขึ้นทั่วบริเวณเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ (ตะวันออกใกล้ และ ตะวันออกกลาง) และทางตะวันออกเฉียงเหนือของแอฟริกา (ส่วนใหญ่ในอียิปต์โบราณ) ซึ่งเป็นผลให้วัฒนธรรมและภาษากรีกเผยแพร่ไปยังดินแดนต่าง ๆ ที่ก่อตั้งขึ้น และในทางกลับกันอาณาจักรใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นต่างก็รับวัฒนธรรมท้องถิ่นเข้ามาใช้ตามแต่จะสะดวกและมีประโยชน์ ฉะนั้นอารยธรรมเฮลเลนิสต์จึงเป็นอารยธรรมที่ผสานระหว่างอารยธรรมกรีกกับอารธรรมของตะวันออกใกล้ ตะวันออกกลาง และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และแยกตัวจากทัศนคติเดิมของกรีกต่ออารธรรมอื่นที่เคยถือว่าอารยธรรมที่ไม่ใช่วัฒนธรรมกรีกเป็นอารธรรมของ "อนารยชน" แต่การผสานระหว่างอารยธรรมกรีกและอารยธรรมที่ไม่ใช่กรีกจะมากน้อยเท่าใดนั้นก็ยังเป็นเรื่องที่โต้แย้งกันอยู่ แต่แนวโน้มของความเห็นที่ตรงกันชี้ให้เห็นว่าเป็นการปรับรับวัฒนธรรมใหม่เป็นพฤติกรรมที่อยู่ในหมู่ชนชั้นสูงเท่านั้นส่วนประชากรโดยทั่วไปก็คงอาจจะดำรงชีวิตเช่นที่เคยทำกันม.

ใหม่!!: สมัยโบราณและอารยธรรมเฮลเลนิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรรวมชิลลา

อาณาจักรรวมชิลลา (통일 신라, Unified Silla) เป็นอาณาจักรที่สถาปนาเมื่อปี ค.ศ. 668 โดยพระเจ้ามุนมูแห่งอาณาจักรชิลลา ภายหลังจากการรวม อาณาจักรโคกูรยอ และ อาณาจักรแพ็กเจ เข้าเป็นหนึ่งเดียวกับชิลลาโดยอาณาจักรแห่งนี้มีราชธานีอยู่ที่คย็องจู ซึ่งอาณาจักรรวมชิลลาได้ล่มสลายลงในปี ค.ศ. 935 ภายหลังจากการยอมจำนนต่อวัง กอน ของพระเจ้าคยองซุน กษัตริย์องค์สุดท้.

ใหม่!!: สมัยโบราณและอาณาจักรรวมชิลลา · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซานเดอร์มหาราช

อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา (356-323 ปีก่อนคริสตกาล) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, Μέγας Ἀλέξανδρος) เป็นกษัตริย์กรีกจากราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ผู้สร้างชื่อเสียงมากที่สุดของราชวงศ์อาร์กีด เป็นผู้สร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคโบราณ เกิดที่เมืองเพลลา ตอนเหนือของมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 356 ก่อนคริสตกาล ได้รับการศึกษาตามแบบกรีกดั้งเดิมภายใต้การกำกับดูแลของอริสโตเติล นักปรัชญากรีกผู้มีชื่อเสียง สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจาก พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 336 ก่อนคริสตกาลหลังจากที่พระบิดาถูกลอบสังหาร สวรรคตในอีก 13 ปีต่อมาเมื่อพระชนมายุเพียง 32 พรรษา แม้ว่าราชบัลลังก์และจักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์จะอยู่เพียงชั่วครู่ยาม แต่ผลกระทบจากการพิชิตดินแดนของพระองค์ส่งผลสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อเล็กซานเดอร์ถือเป็นหนึ่งในบุรุษผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกยุคโบราณ มีชื่อเสียงเลื่องลือในความสามารถทางการรบ ยุทธวิธี และการเผยแพร่อารยธรรมกรีกไปในดินแดนตะวันออก พระเจ้าพีลิปโปสทรงนำแว่นแคว้นกรีกโดยมากบนแผ่นดินใหญ่กรีซให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของมาเกโดนีอา โดยใช้ทั้งกลวิธีทางการทูตและทางทหาร เมื่อพีลิปโปสสวรรคต อเล็กซานเดอร์จึงได้สืบทอดราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและกองทัพที่เปี่ยมประสบการณ์ พระองค์เป็นที่ยอมรับในด้านการรบจากแว่นแคว้นกรีซ และได้เริ่มแผนการขยายอำนาจแผ่อาณาจักรตามที่บิดาเคยริเริ่มไว้ พระองค์ยกทัพรุกรานดินแดนเอเชียไมเนอร์ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเปอร์เซีย และกระทำการรณยุทธ์อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาร่วมสิบปี อเล็กซานเดอร์เอาชนะชาวเปอร์เซียครั้งแล้วครั้งเล่า นำทัพข้ามซีเรีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และแบคเทรีย ทรงโค่นล้มกษัตริย์พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย และพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น "จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย" จึงยกทัพบุกอินเดีย แต่ต่อมาถูกบีบให้ต้องถอยทัพกลับโดยบรรดาทหารที่กำเริบขึ้นเนื่องจากเบื่อหน่ายการสงคราม การสูญเสียเฮฟีสเทียนทำให้อเล็กซานเดอร์ตรอมใจจนสวรรคตที่เมืองบาบิโลน ในปี 323 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะเริ่มแผนการรบต่อเนื่องในการรุกรานคาบสมุทรอาระเบีย ในปีถัดจากการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์ เกิดสงครามกลางเมืองทั่วไปจนอาณาจักรของพระองค์แตกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้เกิดเป็นรัฐใหญ่น้อยมากมายปกครองโดยบรรดาขุนนางชาวมาเกโดนีอา แม้ความเป็นผู้พิชิตของพระองค์จะโดดเด่นอย่างยิ่ง แต่มรดกของอเล็กซานเดอร์ที่ยืนยงต่อมากลับมิใช่ราชบัลลังก์ กลายเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ติดตามมาจากการพิชิตดินแดนเหล่านั้น การก่อร่างสร้างเมืองอาณานิคมกรีกและวัฒนธรรมกรีกที่เผยแพร่ไปในแดนตะวันออกทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมเฮเลนนิสติก ซึ่งยังคงสืบทอดต่อมาในจักรวรรดิไบแซนไทน์กระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อเล็กซานเดอร์เป็นบุคคลในตำนานในฐานะวีรบุรุษผู้ตามอย่างอคิลลีส มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมปรัมปราทั้งของฝ่ายกรีกและที่ไม่ใช่กรีก เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งบรรดานายพลทั้งหลายใช้เปรียบเทียบกับตนเองแม้จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนการทหารทั่วโลกยังคงใช้ยุทธวิธีการรบของพระองค์เป็นแบบอย่างในการเรียนการสอน.

ใหม่!!: สมัยโบราณและอเล็กซานเดอร์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Kaiser des Heiligen Römischen Reiches; Emperor of the Holy Roman Empire) หรือจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Emperor) หรือจักรพรรดิโรมัน-เยอรมัน (Römisch-Deutscher Kaiser) เป็นคำที่นักประวัติศาสตร์ใช้หมายถึงประมุขรัฐในสมัยกลางที่พระสันตะปาปาทรงแต่งตั้งให้เป็น "จักรพรรดิแห่งชาวโรมัน" ต่อมาตำแหน่งนี้มาจากการเลือกตั้งแต่ยังคงต้องรับราชาภิเษกจากพระสันตะปาปาอยู่ จนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมาจึงหมายถึงผู้ปกครองจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นมีอาณาเขตครอบคลุมดินแดนยุโรปกลาง.

ใหม่!!: สมัยโบราณและจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิศุงคะ

ักรวรรดิศุงคะ (शुंग राजवंश, Sunga Empire หรือ Shunga Empire) เป็นราชวงศ์มคธที่ปกครองทางตอนกลางเหนือและตะวันออกของอินเดีย และบางส่วนของทางตะวันตกเฉียงเหนือที่ปัจจุบันคือปากีสถานตั้งแต่ราว 185 ปีก่อนคริสต์ศักราชมาจนถึง 73 ปีก่อนคริสต์ศักราช จักรวรรดิศุงคะก่อตั้งขึ้นหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโมริยะ เมืองหลวงตั้งอยู่ที่ปาตลีบุตร ต่อมาพระมหากษัตริย์เช่นพระเจ้าภคภัทระ (Bhagabhadra) ก็ทรงตั้งราชสำนักที่วิทิศา ระหว่างสมัยของจักรวรรดิศุงคะเป็นสมัยของการสงครามทั้งกับต่างประเทศและกับศัตรูภายในท้องถิ่น.

ใหม่!!: สมัยโบราณและจักรวรรดิศุงคะ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิสาตวาหนะ

ตวาหนะ (Satavahana หรือ Andhras) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองจากชุนนระ (ปูเน), ประทิศฐาน (ไพธาน) ในรัฐมหาราษฏระ และ กรีมนคร (Karimnagar) ในรัฐอานธรประเทศทางตอนใต้และตอนกลางของอินเดีย ราวตั้งแต่ 230 ก่อนคริสต์ศักราช แม้ว่าเวลาที่สิ้นสุดลงของสาตวาหนะจะยังคงเป็นปัญหาแต่จากการประมาณโดยทั่วไปแล้วจักรวรรดิสาตวาหนะรุ่งเรืองอยู่เป็นเวลา 450 ปีมาจนถึงราวปี ค.ศ. 220 ราชวงศ์สาตวาหนะได้ชื่อว่าเป็นผู้สร้างความสงบในจักรวรรดิ และหยุดยั้งการเข้ามาของชาวต่างประเทศหลังจากการเสื่อมโทรมของจักรวรรดิโมร.

ใหม่!!: สมัยโบราณและจักรวรรดิสาตวาหนะ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอะคีเมนิด

ักรวรรดิอะคีเมนียะห์ หรือ จักรวรรดิเปอร์เชียอะคีเมนียะห์ (Achaemenid Empire หรือ Achaemenid Persian Empire, هخامنشیان) (550–330 ก.ค.ศ.) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิแรกของจักรวรรดิเปอร์เชียที่ปกครองอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของเกรตเตอร์อิหร่านที่ตามมาจากจักรวรรดิมีเดีย ในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดจักรวรรดิอะคีเมนียะห์มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 7.5 ล้านตารางกิโลเมตร ที่ทำให้เป็นจักรวรรดิที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และเป็นจักรวรรดิที่วางรากฐานของระบบการปกครองจากศูนย์กลางSchmitt Achaemenid dynasty (i. The clan and dynasty) จักรวรรดิอะคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยจักรพรรดิไซรัสมหาราชครอบคลุมอาณาบริเวณสามทวีปที่รวมทั้งดินแดนในอัฟกานิสถาน และ ปากีสถาน, บางส่วนของเอเชียกลาง, อานาโตเลีย, เธรซ, บริเวณริมฝั่งทะเลดำส่วนใหญ่, อิรัก, ตอนเหนือของซาอุดีอาระเบีย, จอร์แดน, ปาเลสไตน์, เลบานอน, ซีเรีย และอียิปต์ไปจนถึงลิเบีย จักรวรรดิอะคีเมนียะห์เป็นศัตรูของนครรัฐกรีกในสงครามกรีซ-เปอร์เชีย เพราะไปปล่อยชาวยิวจากบาบิโลเนีย และในการก่อตั้งให้ภาษาอราเมอิกเป็นภาษาราชการ และพ่ายแพ้ต่ออเล็กซานเดอร์มหาราชในปี 330 ก่อนคริสต์ศักราช ความสำคัญทางประวัติศาสตร์โลกของจักรวรรดิอะคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งโดยจักรพรรดิไซรัสมหาราชก็คือกาวางรากฐานที่ได้รับความสำเร็จของระบบการบริหารการปกครองจากศูนย์กลาง และของรัฐบาลที่มีปรัชญาในการสร้างประโยชน์ให้แก่มวลชนSchmitt Achaemenid dynasty (i. The clan and dynasty).

ใหม่!!: สมัยโบราณและจักรวรรดิอะคีเมนิด · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิคุปตะ

ักรวรรดิคุปตะ (Gupta Empire) เป็นจักรวรรดิอินเดียโบราณที่รุ่งเรืองระหว่างปี ค.ศ. 280 จนกระทั่งปี ค.ศ. 550 จักรวรรดิ โดยมีอาณาบริเวณที่ครอบคลุมตางตอนเหนือและตอนกลางของอินเดียทั้งหมด และบังคลาเทศปัจจุบัน จักรวรรดิก่อตั้งขึ้นโดยพระเจ้าศรีคุปต์ โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ปาฏลีบุตรที่ปัจจุบันคือปัฏนาทางตอนเหนือของรัฐพิหาร ความรุ่งเรืองของจักรวรรดิภายใต้การนำของพระมหากษัตริย์ราชวงศ์คุปตะทำให้มีความเจริญในด้านวิทยาศาสตร์และศิลปะ ในด้านความเจริญทางด้านวัฒนธรรมนักประวัติศาสตร์จัดราชวงศ์คุปตะในระดับเดียวกับราชวงศ์ฮั่น, ราชวงศ์ถัง และจักรวรรดิโรมัน สมัยจักรวรรดิคุปตะถือกันโดยนักวิชาการบางคนว่าเป็นยุคทองของอินเดียในด้านวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรม, ศิลปะ, วรรณคดี, ตรรกศาสตร์, คณิตศาสตร์, ดาราศาสตร์, ศาสนา และปรัชญ.

ใหม่!!: สมัยโบราณและจักรวรรดิคุปตะ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิแซสซานิด

ักรวรรดิซาสซานิยะห์ (ساسانیان, Sassanid Empire) ที่เป็นหนึ่งในจักรวรรดิเปอร์เชียและที่เป็นจักวรรดิสุดท้ายก่อนที่ศาสนาอิสลามจะเริ่มขึ้นเป็นหนึ่งในสองมหาอำนาจของเอเชียตะวันตกเป็นเวลากว่าสี่ร้อยปี ราชวงศ์ซาสซานิยะห์ก่อตั้งโดยอาร์ดาเชอร์ที่ 1 (Ardashir I) หลังจากที่ทรงได้รับชัยชนะต่อจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิพาร์เธียนองค์สุดท้ายอาร์ตาบานัสที่ 4 (Artabanus IV) และมาสิ้นสุดลงเมื่อยาซเดเกิร์ดที่ 3 (Yazdegerd III) มาพ่ายแพ้หลังจากที่ทรงใช้เวลาถึงสิบสี่ปีในการต่อต้านจักรวรรดิกาหลิปรอชิดีนซึ่งเป็นหนึ่งในจักรวรรดิกาหลิปอิสลามที่ตามกันมา จักรวรรดิซาสซานิยะห์หรือที่เรียกว่า “Eranshahr” (“จักรวรรดิอิหร่าน”) ตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นปัจจุบันคืออิหร่าน, อิรัก, อาร์มีเนีย, ทางตอนใต้ของคอเคซัส (รวมทั้งทางตอนใต้ของดาเกสถาน), ตะวันตกเฉียงใต้ของเอเชียกลาง, ตะวันตกของอัฟกานิสถาน, บางส่วนของตุรกี, บางส่วนของซีเรีย, บริเวณริมฝั่งทะเลของคาบสมุทรอาหรับ, บริเวณอ่าวเปอร์เซีย และบางส่วนของทางตะวันตกเฉียงใต้ของปากีสถาน สมัยการปกครองของซาสซานิยะห์เป็นสมัยอันยาวนานของปลายสมัยโบราณและถือกันว่าเป็นสมัยที่สำคัญที่สุดและมีอิทธิพลที่สุดทางประวัติศาสตร์สมัยหนึ่งของ เป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของวัฒนธรรมของเปอร์เซียแ ละเป็นจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่จักรวรรดิสุดท้ายก่อนที่จะเริ่มยุคการพิชิตของมุสลิมและการยอมรับนับถือศาสนาอิสลาม วัฒนธรรมของเปอร์เซียมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของโรมันเป็นอันมากในยุคซาสซานิยะห์J.

ใหม่!!: สมัยโบราณและจักรวรรดิแซสซานิด · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันตะวันตก

ักรวรรดิโรมันตะวันตก (Western Roman Empire) หมายถึงครึ่งตะวันตกของจักรวรรดิโรมันหลังจากการแบ่งโดยไดโอคลีเชียนในปี..

ใหม่!!: สมัยโบราณและจักรวรรดิโรมันตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเปอร์เชีย

ักรวรรดิเปอร์เชีย (Persian Empire) คือจักรวรรดิและอาณาจักรต่างๆในประวัติศาสตร์ของเปอร์เชียที่ปกครองต่อเนื่องกันมาในบริเวณที่ราบสูงอิหร่าน, ถิ่นกำเนิดของเปอร์เชีย และไกลไปทางเอเชียตะวันตก, เอเชียใต้, เอเชียกลาง และ บริเวณคอเคซัส จักรวรรดิเปอร์เชียจักรวรรดิแรกก่อตั้งภายใต้จักรวรรดิมีเดีย (728–559 ปีก่อนคริสต์ศักราช) หลังจากการโค่นจักรวรรดิอัสซีเรียด้วยความช่วยเหลือของบาบิโลเนีย จักรวรรดิเปอร์เชียอคีเมนียะห์ (550–330 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และมารุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยของพระเจ้าดาไรอัสมหาราช และ พระเจ้าเซอร์ซีสมหาราช — ผู้มีชื่อเสียงว่าเป็นศัตรูคนสำคัญของรัฐกรีกโบราณ (ดู สงครามกรีก-เปอร์เชีย) บริเวณที่ตั้งเดิมอยู่ในบริเวณที่ในปัจจุบันรู้จักกันว่าจังหวัดพาร์ส (จังหวัดฟาร์ส) ในประเทศอิหร่านปัจจุบัน จักรวรรดิเปอร์เชียก่อตั้งภายใต้พระเจ้าไซรัสมหาราชผู้ทรงยึดจักรวรรดิจากชนมีดีส (Medes) และทรงขยายดินแดนออกไปทางตะวันออกกลางที่รวมทั้งดินแดนของบาบิโบเนีย, อัสซีเรีย, ฟินิเซีย และ ลิเดีย หลังจากนั้นพระเจ้าแคมไบซีสที่ 2 แห่งเปอร์เชีย (Cambyses II of Persia) พระราชโอรสในพระเจ้าไซรัสก็ทรงดำเนินนโยบายการขยายดินแดนต่อไปยังอียิปต์ จักรวรรดิอคีเมนียะห์มาสิ้นสุดลงระหว่างสงครามอเล็กซานเดอร์มหาราช แต่ก็มาฟื้นตัวอีกครั้งในรูปของจักรวรรดิพาร์เธียน และ จักรวรรดิซาสซานิยะห์ แห่ง อิหร่าน ที่ตามมาด้วยยุคประวัติศาสตร์หลังศาสนาอิสลามของจักรวรรดิต่างๆ เช่น จักรวรรดิทาฮิริยะห์, จักรวรรดิซาฟาริยะห์, จักรวรรดิไบอิยะห์, จักรวรรดิซามานิยะห์, จักรวรรดิกาสนาวิยะห์, จักรวรรดิเซลจุค และ จักรวรรดิควาเรซเมีย มาจนถึงอิหร่านปัจจุบัน จักรวรรดิต่างๆ ที่รุ่งเรืองต่อเนื่องกันมาในเกรตเตอร์อิหร่าน ก่อนเดือนมีนาคม..

ใหม่!!: สมัยโบราณและจักรวรรดิเปอร์เชีย · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเพชรบุรี

ังหวัดเพชรบุรี (/เพ็ดชะบุรี/; เดิมสะกดว่า เพ็ชร์บุรี) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันตก (บ้างก็จัดอยู่ในภาคกลางตอนล่าง ด้านของการพยากรณ์อากาศจัดอยู่ภาคใต้ตอนบน) มีภูมิประเทศทั้งเป็นที่สูงติดเทือกเขาและที่ราบชายฝั่งทะเล มักเรียกชื่อสั้น ๆ ว่า เมืองเพชร เดิมเรียก พริบพรี และจากหลักฐานในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ปรากฏชื่อว่า ศรีชัยวัชรปุระ จังหวัดเพชรบุรีมีชื่อเสียงในฐานะแหล่งผลิตน้ำตาล เนื่องจากมีต้นตาลหนาแน่น เป็นเมืองเก่าแก่ มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เพชรบุรีเป็นเมืองที่เคยรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยโบราณและเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของไทยในกลุ่มหัวเมืองฝ่ายตะวันตก ปัจจุบันมีวัดเก่าแก่และบ้านเรือนทรงไทยจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีคำพูดติดปากว่า นักเลงเมืองเพชร ปัจจุบันเพชรบุรีเป็นเมืองด่านสำคัญระหว่างภาคกลางและภาคใต้ และยังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น หาดชะอำ หาดปึกเตียน หาดเจ้าสำราญ แหลมหลวง แหลมเหลว และเขื่อนแก่งกระจาน.

ใหม่!!: สมัยโบราณและจังหวัดเพชรบุรี · ดูเพิ่มเติม »

ดาบ

ญี่ปุ่น หรือ คะตะนะ เป็นดาบที่มีคมด้านเดียว ดาบ เป็นชื่อเรียกของอาวุธที่มีขนาดยาวและมีคมที่ด้าน มีการใช้ทั่วโลกโดยมีชื่อเรียกและลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ส่วนประกอบหลักของดาบจะประกอบด้วยสามส่วนหลักคือ คมดาบ ไว้สำหรับฟันและตัด, ปลายดาบไว้สำหรับแทง, และ ด้ามดาบไว้สำหรับจับถือ.

ใหม่!!: สมัยโบราณและดาบ · ดูเพิ่มเติม »

ความโปร่งใส

วามโปร่งใส (ทางการเมือง) (Political Transparency) หมายถึง ความสามารถของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยที่จะเข้าถึง และอภิปรายเกี่ยวกับข้อเท็จจริง เอกสาร และข้อมูลเกี่ยวกับการตัดสินใจดำเนินนโยบายสาธารณะ การใช้อำนาจบริหารประเทศของรัฐบาลและทางราชการ ตลอดจนการแต่งตั้งบุคคลเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมือง และในระบบราชการ โดยที่มาของคำว่าความโปร่งใสนี้มาจากความหมายในทางวิทยาศาสตร์กายภาพที่นำไปใช้อธิบายคุณลักษณะของวัตถุที่มีคุณสมบัติ “โปร่งใส” คือ วัตถุที่แสงสว่างสามารถลอดผ่านผิวของวัตถุทำให้สามารถมองทะลุพื้นผิวของวัตถุได้นั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม ความหมายในเชิงการเมืองยังมีความหมายที่ลึกกว่าแค่เพียงการมองเห็นการทำงานของรัฐบาล และราชการ แต่ยังรวมถึงการที่ประชาชนสามารถเข้าใจ มีส่วนร่วม และควบคุมตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลได้อีกด้วย (Kurian, 2011: 1686).

ใหม่!!: สมัยโบราณและความโปร่งใส · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์โลก

ประวัติศาสตร์โลกหรือประวัติศาสตร์มนุษยชาติเริ่มต้นที่ยุคหินเก่า ประวัติศาสตร์โลกไม่รวมประวัติศาสตร์ธรรมชาติที่ไม่ใช่มนุษย์และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยา ยกเว้นตราบเท่าที่โลกธรรมชาตินั้นกระทบต่อชีวิตมนุษย์เป็นอย่างมาก ประวัติศาสตร์โลกประกอบด้วยการศึกษาทางโบราณคดีและหลักฐานลายลักษณ์อักษรตั้งแต่สมัยโบราณ ประวัติศาสตร์โบราณที่มีบันทึกเริ่มต้นจากการประดิษฐ์การเขียน ทว่า รากเหง้าแห่งอารยธรรมมีมาแต่ก่อนการประดิษฐ์การเขียน สมัยก่อนประวัติศาสตร์เริ่มต้นในยุคหินเก่า ต่อด้วยยุคหินใหม่และการปฏิวัติเกษตรกรรม (ระหว่าง 8000 ถึง 5000 ปีก่อนคริสตกาล) ในพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ (Fertile Crescent) การปฏิวัติเกษตรกรรมเป็นเครื่องหมายการเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์มนุษย์ โดยมนุษย์เริ่มต้นทำการเกษตร คือ กสิกรรมและการเลี้ยงสัตว์อย่างเป็นระบบ เมื่อเกษตรกรรมก้าวหน้าขึ้น มนุษย์ส่วนมากเปลี่ยนจากวิถีชีวิตเร่ร่อนมาเป็นตั้งถิ่นฐานเป็นเกษตรกรในนิคมถาวร การเร่ร่อนยังมีอยู่ในบางที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ห่างไกลซึ่งมีพืชที่เพาะปลูกได้ไม่กี่ชนิด แต่ความมั่นคงสัมพัทธ์และผลิตภาพที่เพิ่มขึ้นจากกสิกรรมทำให้ชุมชนมนุษย์ขยายเป็นหน่วยที่ใหญ่กว่า ซึ่งความก้าวหน้าในการขนส่งก็มีส่วนช่วย เมื่อกสิกรรมพัฒนา การเพาะปลูกธัญพืชมีความซับซ้อนขึ้นและทำให้มีการแบ่งงานกันทำเพื่อเก็บอาหารระหว่างฤดูเพาะปลูก จากนั้นการแบ่งงานทำให้เกิดชนชั้นสูงที่สุขสบายและพัฒนาการนคร สังคมมนุษย์ที่ซับซ้อนมากขึ้นทำให้ระบบการเขียนและการบัญชีมีความจำเป็น หลายนครพัฒนาบนตลิ่งทะเลสาบและแม่น้ำ ตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสตกาล เกิดนิคมโดดเด่นและมีการพัฒนา เช่นในเมโสโปเตเมีย ริมตลิ่งแม่น้ำไนล์แห่งอียิปต์ และหุบแม่น้ำสินธุ อาจมีอารยธรรมคล้ายกันพัฒนาขึ้นตามแม่น้ำสำคัญในจีน แต่หลักฐานทางโบราณคดีของการสร้างเมืองอย่างกว้างขวางในที่นั้นชัดแจ้งน้อยกว่า ประวัติศาสตร์โลกเก่า (โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุโรปและเมดิเตอร์เรเนียน) โดยทั่วไปแบ่งเป็นยุคโบราณ ถึง..

ใหม่!!: สมัยโบราณและประวัติศาสตร์โลก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศคาซัคสถาน

อัลมาตี คาซัคสถาน (Қазақстан,; Казахстан) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐคาซัคสถาน (Қазақстан Республикасы; Республика Казахстан) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ครอบคลุมกว้างขวางในทวีปเอเชีย และเป็นสาธารณรัฐในอดีตสหภาพโซเวียต มีพรมแดนติดกับประเทศรัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศในเอเชียกลาง ได้แก่ คีร์กีซถาน อุซเบกิสถาน และเติร์กเมนิสถาน และมีชายฝั่งบนทะเลแคสเปียน คาซัคสถานเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต คาซัคสถานเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก อย่างไรก็ดี มีพื้นที่กึ่งทะเลทราย (steppe) อยู่มาก จึงมีประชากรเป็นอันดับที่ 57 มีประมาณ 6 คน/ตร.กม.

ใหม่!!: สมัยโบราณและประเทศคาซัคสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศตูนิเซีย

ตูนิเซีย (Tunisia; تونس‎) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐตูนิเซีย (Tunisian Republic; الجمهورية التونسية) เป็นประเทศอาหรับมุสลิมที่ตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ บนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นประเทศทางตะวันออกสุดและเล็กที่สุดของ 3 ประเทศบนเทือกเขาแอตลาส (Atlas mountains) มีอาณาเขตทางตะวันตกจรดประเทศแอลจีเรีย และทางใต้และตะวันตกจรดประเทศลิเบีย พื้นที่ร้อยละ 40 ของประเทศประกอบด้วยทะเลทรายสะฮารา ในขณะที่ส่วนที่เหลือส่วนใหญ่ประกอบด้วยพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์ และชายฝั่งที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ทั้งคู่มีบทบาทอย่างมากในสมัยโบราณ เริ่มต้นด้วยการก่อตั้งเมืองคาร์เทจ (Carthage) ที่มีชื่อของชาวฟีนีเชีย (Phoenicia) และในเวลาต่อมาได้กลายเป็นพื้นที่มณฑลแอฟริกา (Africa Province) เป็นพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำของอาณาจักรโรมัน สันนิษฐานว่า ชื่อ ตูนิส (Tunis) มาจากภาษาเบอร์เบอร์ (Berber) แปลว่าแหลมซึ่งสอดคล้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศ ที่เป็นแหลมยื้นเข้าไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน หรือ อีกความหมายหนึ่งนั้น แปลว่า "พักแรม".

ใหม่!!: สมัยโบราณและประเทศตูนิเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ปลายสมัยโบราณ

ราณตอนปลาย (Late Antiquity) เป็นสมัยประวัติศาสตร์ที่ใช้โดยนักประวัติศาสตร์ในการบรรยายช่วงเวลาที่เปลี่ยนจากยุคโบราณคลาสสิกไปเป็นยุคกลางทั้งบนแผ่นดินใหญ่ยุโรปและบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน ของเขตของสมัยยังคงเป็นเรื่องที่โต้แย้งกันอยู่ แต่นักประวัติศาสตร์คนสำคัญปีเตอร์ บราวน์เสนอว่าเป็นช่วงเวลาระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 2 ถึง ที่ 8 โดยทั่วไปแล้วก็อาจจะเทียบได้กับช่วงเวลาตั้งแต่การสิ้นสุดของวิกฤติการณ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 3 (ค.ศ. 235-ค.ศ. 284) ของจักรวรรดิโรมัน ไปจนถึงการจัดระบบบริหารของจักรวรรดิโรมันตะวันออกภายใต้การนำของจักรพรรดิเฮราคลิอัส และการพิชิตดินแดนโดยมุสลิมในยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันประสบกับความเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ทั้งทางด้านสังคม, วัฒนธรรม และ ระบบการปกครองที่เริ่มขึ้นในรัชสมัยของจักรพรรดิไดโอคลีเชียนผู้ทรงเป็นผู้เริ่มการแบ่งจักรวรรดิออกเป็นสองส่วนคือจักรวรรดิโรมันตะวันออกและจักรวรรดิโรมันตะวันตกที่ปกครองโดยพระจักรพรรดิหลายพระองค์ เริ่มด้วยจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 เมื่อจักรวรรดิถูกเปลี่ยนเป็นจักรวรรดิคริสเตียน และการก่อตั้งคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง การโยกย้ายถิ่นฐานของกลุ่มชนเจอร์มานิคต่อมาก็บั่นทอนเสถียรภาพของจักรวรรดิยิ่งขึ้นไปอีก ที่ในที่สุดก็นำไปสู่การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในปี ค.ศ. 476 และมาแทนที่ด้วยระบอบพระมหากษัตริย์ของชนเจอร์มานิค หรือ “ระบอบพระมหากษัตริย์ของอนารยชน” ผลก็คือการผสานระหว่างวัฒนธรรมกรีก-โรมัน เจอร์มานิค และ คริสเตียนที่กลายมาเป็นพื้นฐานของวัฒนธรรมของยุโรปตะวันตก การสูญเสียประชากร, ความรู้ทางเทคโนโลยี และ มาตรฐานความเป็นอยู่ของยุโรปตะวันตกในยุคนี้เป็นลักษณะของสถานภาพที่เรียกว่า “การล่มสลายของสังคม” (Societal collapse) โดยนักเขียนตั้งแต่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยามาจนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ จากความเสื่อมโทรมที่เกิดขึ้นและการขาดหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของยุโรปตะวันตกในช่วงนี้โดยเฉพาะ ในช่วงระหว่างการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกมาจนถึงยุคกลาง ทำให้ได้ชื่อว่าเป็น “ยุคมืด” ที่มาแทนที่ด้วยคำว่า “ยุคโบราณตอนปลาย”.

ใหม่!!: สมัยโบราณและปลายสมัยโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

นัยน์ตาปีศาจ

นัยน์ตาปีศาจนาซาร์” ที่ใช้ในการเป็นเครื่องรางในการป้องกันจากนัยน์ตาปีศาจที่ขายกันแพร่หลายในตุรกี นัยน์ตาปีศาจ (Evil eye) เป็นการมองที่เชื่อกันในหลายวัฒนธรรมว่าสามารถทำให้ผู้ถูกมองได้รับการบาดเจ็บหรือโชคร้าย อันเกิดจากการจ้องมองด้วยความอิจฉาหรือความเดียดฉันท์ คำนี้มักจะหมายถึงอำนาจของบุคคลใดบุคคลหนึ่งในการก่อให้เกิดสิ่งที่เลวร้ายได้ด้วยการมองอย่างประสงค์ร้าย ความเชื่อดังกล่าวทำให้วัฒนธรรมหลายวัฒนธรรมพยายามหาทางป้องกันก่อนที่จะเกิดสิ่งที่เลวร้ายขึ้น ความคิดและความสำคัญของนัยน์ตาปีศาจก็แตกต่างกันออกไปเป็นอันมากระหว่างวัฒนธรรมต่างๆ ความเชื่อนี้ปรากฏหลายครั้งในบทแปลของพันธสัญญาเดิม และแพร่ขยายออกไปอย่างกว้างขวางในบรรดาอารยธรรมของกลุ่มชนต่าง ๆ ในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน กรีซคลาสสิกอาจจะเรียนรู้จากอียิปต์โบราณ และต่อมาก็ผ่านความเชื่อนี้ต่อไปยังโรมันโบราณ.

ใหม่!!: สมัยโบราณและนัยน์ตาปีศาจ · ดูเพิ่มเติม »

แอโทรพาทีนี

แอโทรพาทีนี (Atropatene; Ἀτροπατηνή) เดิมเรียก อาโตรปัตกัน (Atropatkan) หรือ อาตอร์ปัตกัน (Atorpatkan) เป็นอาณาจักรโบราณที่ปกครองโดยกลุ่มชนอิหร่านท้องถิ่น ดำรงอยู่ระหว่างศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราชถึงคริสต์ศตวรรษที่ 3 ครอบคลุมพื้นที่ในอาเซอร์ไบจานของอิหร่าน เคอร์ดิสถานของอิหร่าน และบางส่วนของประเทศอาเซอร์ไบจานในปัจจุบัน ภายหลังการสวรรคตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชในปีที่ 323 ก่อนคริสต์ศักราช จักรวรรดิของพระองค์ถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ที่การประชุมในบาบิโลนโดยไดแอโดไค (diadochi) ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่ใกล้ชิดกับพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ภูมิภาคมีเดียถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ มีเดียแมกนา (Media Magna) ทางใต้ และมีเดียแอโทรพาทีนี (Media Atropatene) ทางเหนือ โดยแอโทรพาทีนีมาจากชื่อผู้ปกครองคนแรกคือ แอโทรพาทีส (Atropates) ซึ่งเป็นอดีตขุนนางของพระเจ้าดาริอัสที่สามแห่งจักรวรรดิอะคีเมนิด ต่อมาแอโทรพาทีสปฏิเสธที่จะสวามิภักดิ์ต่อจักรวรรดิซิลิวซิด (Seleucid Empire) และประกาศแยกตัวเป็นอิสระ ชื่ออาณาจักรจึงถูกตัดเหลือแค่ "แอโทรพาทีนี" ราชวงศ์ของแอโทรพาทีสปกครองอย่างเป็นอิสระนานหลายศตวรรษ ก่อนจะตกอยู่ใต้อำนาจของจักรวรรดิพาร์เธียน ซึ่งเรียกดินแดนแถบนี้ว่า "อาตูร์ปาตากัน" (Aturpatakan) และถูกผนวกเข้ากับจักรวรรดิแซสซานิดในเวลาต่อมา ระหว่างปี..

ใหม่!!: สมัยโบราณและแอโทรพาทีนี · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นมคธ

แผนที่เอเชียใต้ แสดงภาพแคว้นอินเดียโบราณทั้ง 16 แห่ง ซึ่งเรียกรวมกันว่ามหาชนบท แคว้นมคธ (บาลี/สันสกฤต: मगध มะคะธะ) เป็นชื่อแคว้นหนึ่งในจำนวน 16 แคว้นใหญ่ในชมพูทวีปสมัยพุทธกาล มีเมืองหลวงชื่อราชคฤห์ พระราชาที่ปกครองแคว้นมคธสมัยพุทธกาลคือพระเจ้าพิมพิสาร ต่อจากนั้นคือพระเจ้าอชาตศัตรูผู้เป็นพระราชโอรส แคว้นมคธเป็นแคว้นที่พระพุทธเจ้าทรงเลือกประดิษฐานพระพุทธศาสนาเป็นแห่งแรกเพราะเป็นแคว้นใหญ่ และทรงรับสวนเวฬุวันนอกเมืองราชคฤห์เป็นอารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนา มคธเป็นชื่อของภาษาด้วยคือภาษามคธ อันเป็นภาษาที่พระพุทธเจ้าทรงเลือกใช้ในการประกาศพระศาสนา ซึ่งต่อมาเรียกว่าภาษาบาลี เพราะเป็นภาษาที่รักษาพระพุทธศาสนาเข้าไว้.

ใหม่!!: สมัยโบราณและแคว้นมคธ · ดูเพิ่มเติม »

โรมโบราณ

ตามตำนานโรมก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 753 ก่อนคริสต์ศักราชโดยรอมิวลุส และรีมุสที่ถูกเลี้ยงด้วยแม่หมาป่า โรมโบราณ (Ancient Rome) คือวัฒนธรรมที่วิวัฒนาการขึ้นมาจากชุมชนเกษตรกรบน คาบสมุทรอิตาลีที่เริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 ก่อนคริสต์ศักราช ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียนโรมโบราณกลายมาเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โบราณ ในช่วงเวลาที่โรมโบราณเจริญรุ่งเรืองอยู่วัฒนธรรมโรมันเปลี่ยนจากการปกครองตั้งแต่เป็นแบบราชาธิปไตยไปเป็นระบอบสาธารณรัฐคณาธิปไตย และในที่สุดก็ไปเป็นระบบจักรวรรดิแบบอัตตาธิปไตย อารยธรรมโรมันมามีอำนาจอันมีอิทธิพลต่อทวีปยุโรปตะวันตกเฉียงใต้ ทวีปยุโรปตะวันออกเฉียงใต้/คาบสมุทรบอลข่าน และในบริเวณทะเลเมดิเตอเรเนียนโดยการพิชิตและการการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมกับท้องถิ่นที่เข้าไปปกครอง จักรวรรดิโรมันทางด้านตะวันตกเสื่อมโทรมลงและสลายตัวไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งภายในและการถูกโจมตีโดยชนกลุ่มต่างๆ ในสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน จักรวรรดิโรมันตะวันตกที่รวมทั้งฮิสปาเนีย กอล บริทาเนีย และอิตาลี ได้แบ่งแยกออกเป็นอาณาจักรอิสระในคริสต์ศตวรรษที่ 5 จักรวรรดิโรมันตะวันออก หรือที่เรียกว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่คอนสแตนติโนเปิล ประกอบด้วยกรีซ ส่วนที่พิชิตโดยจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 อานาโตเลีย ซีเรีย และอียิปต์รอดจากวิกฤติการณ์ที่จักรวรรดิทางด้านตะวันตกประสบ และแม้ว่าจะเสียซีเรียและอียิปต์แก่จักรวรรดิอิสลามของอาหรับจักรวรรดิก็รุ่งเรืองต่อมาอีกหนึ่งสหัสวรรษ จนกระทั่งมาเสียเมือง ให้กับจักรวรรดิออตโตมันของตุรกี นักประวัติศาสตร์มักจะเรียกจักรวรรดิโรมันตะวันออกมักจะเรียกว่าเป็น จักรวรรดิไบแซนไทน์ วัฒนธรรมโรมันมักจะจัดอยู่ใน “ยุคโบราณ” (classical antiquity) ร่วมกับกรีกโบราณซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เป็นต้นตอและแรงบันดาลใจให้แก่วัฒนธรรมโรมโบราณ โรมโบราณมีบทบาทอย่างใหญ่หลวงในการวิวัฒนการทางด้านกฎหมาย การสงคราม ศิลปะ วรรณคดี สถาปัตยกรรม เทคโนโลยี และภาษาของโลกตะวันตก และประวัติศาสตร์โรมก็ยังคงเป็นประวัติที่ยังคงมีอิทธิพลต่อโลกจนทุกวันนี้.

ใหม่!!: สมัยโบราณและโรมโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

โรคลมชัก

รคลมชัก หรือ โรคลมบ้าหมู (epilepsy มีรากศัพท์จากἐπιλαμβάνειν หมายถึง ยึด ครอบครอง หรือ ทำให้เจ็บป่วย) เป็นกลุ่มโรคทางประสาทวิทยาซึ่งถูกจำกัดความโดยอาการชักอันมีต้นเหตุจากการทำงานอย่างสอดคล้องกันมากเกินไปของเซลล์ประสาท ระยะเวลาและความรุนแรงของโรคลมชักสามารถมีได้ตั้งแต่แบบสั้นๆและแทบไม่มีอาการ ไปจนถึงอาการสั่นอย่างรุนแรงเป็นเวลานานๆ อาการชักดังกล่าวสามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บทางร่างกายเช่น กระดูกหัก ลักษณะสำคัญของโรคลมชักคืออาการชักจะเกิดขึ้นซ้ำๆโดยไม่มีสิ่งเร้าหรือกระตุ้น อาการชักซึ่งเกิดจากสิ่งเร้าอย่างใดหนึ่งอย่างชัดเจน (เช่น ภาวะขาดเหล้า) จะไม่ถือว่าเป็นโรคลมชัก ผู้ป่วยโรคลมชักในบางประเทศมักถูกตีตราจากสังคมเนื่องจากอาการที่แสดงออกมา โรคลมชักในผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด อย่างไรก็ดีโรคลมชักสามารถเกิดขึ้นหากผู้ป่วยได้รับการบาดเจ็บทางสมอง เป็นโรคหลอดเลือดสมอง มีเนื้องอกในสมอง หรือ ได้รับการติดเชื้อทางสมอง ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า อิพิเลปโตเจเนซิส ความผิดปกติของพันธุกรรมมีส่วนเชื่อมโยงกับโรคลมชักในสัดส่วนเพียงเล็กน้อย การชักจากโรคลมชักเป็นผลจากการทำงานที่ผิดปกติหรือมากเกินไปของเซลล์เปลือกสมอง การวินิจฉัยมักจะทำโดยการตัดภาวะอื่นๆซึ่งอาจทำให้เกิดอาการที่คล้ายคลึงกันออกไปก่อน เช่น เป็นลม นอกจากนี้การวินิจฉัยยังรวมไปถึงการพิจารณาว่ามีสาเหตุอื่นๆของการชักหรือไม่ เช่น การขาดแอลกอฮอล์ หรือ ความผิดปกติของปริมาณอิเล็กโตรไลต์ในเลือด ซึ่งอาจทำได้โดยการตรวจสมองผ่านการสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก และ การตรวจเลือด บ่อยครั้งโรคลมชักสามารถได้รับการยืนยันด้วยการบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง แต่ผลการตรวจที่ปกติก็ไม่ได้ทำให้แพทย์สามารถตัดโรคดังกล่าวออกไปได้ ประมาณ 70% ของผู้ป่วยโรคลมชักสามารถควบคุมอาการของโรคได้ด้วยยา ซึ่งบ่อยครั้งตัวเลือกที่ให้ผลการควบคุมอาการดีมีราคาถูก ในกรณีที่อาการชักของผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยา อาจพิจารณาการผ่าตัด การกระตุ้นระบบประสาท และ การเปลี่ยนอาหารได้เป็นกรณีไป โรคลมชักมิได้คงอยู่ตลอดไปในผู้ป่วยทุกราย มีผุ้ป่วยหลายรายที่อาการดีขึ้นจนถึงขั้นไม่ต้องใช้ยา ข้อมูลในปี..

ใหม่!!: สมัยโบราณและโรคลมชัก · ดูเพิ่มเติม »

โล่

ล่ อาจหมายถึง โล่ และอาวุธปืน.

ใหม่!!: สมัยโบราณและโล่ · ดูเพิ่มเติม »

เกาะสุมาตรา

มาตรา หรือ ซูมาเตอรา (Sumatra; Sumatera) คือเกาะที่มีขนาดเป็นอันดับ 6 ของโลก (มีขนาดประมาณ 470,000 กม.&sup2) และเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอินโดนีเซี.

ใหม่!!: สมัยโบราณและเกาะสุมาตรา · ดูเพิ่มเติม »

เมืองหลวงญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่นนั้นมีเมืองหลวง (首都 ชุโตะ หรือ 都 มิยะโกะ) มานับต่อนับ แต่ส่วนมากจะอยู่ในยุคโบราณ และจะอยู่ในภาคคันไซทั้งหมด ยกเว้นโตเกียวซึ่งเป็นเมืองหลวงใหม่ เมืองหลวงที่ไม่ใช่เมืองโตเกียว ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศคือ เฮอังเกียว ซึ่งเป็นยุคที่ถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของวัฒนธรรมญี่ปุ่น มีการประดิษฐ์ตัวอักษรญี่ปุ่น โดยดัดแปลงมาจากตัวอักษรจีน ผู้คนเริ่มที่จะสวมใส่กิโมโน ซึ่งในยุคก่อนหน้านั้น ชาวญี่ปุ่นยังแต่งตัวแบบจีนอยู.

ใหม่!!: สมัยโบราณและเมืองหลวงญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

เอจออฟเอ็มไพร์ส (วีดีโอเกม)

อจออฟเอ็มไพร์ส (Age of Empires; AoE) เป็นชุดวิดีโอเกมแนว real-time strategy อิงประวัติศาสตร์ซึ่งเปิดตัวในปี 1997 พัฒนาโดยเอนเซมเบิลสตูดิโอส์ และวางจำหน่ายในนามไมโครซอฟท์ ภาคแรกของเกม เอจออฟเอ็มไพร์ส เกมพัฒนาจากคอมพิวเตอร์แบบ 2 มิติ เกมให้ผู้เล่นสวมบทเป็นผู้นำของอารยธรรมโดยพัฒนาอารยธรรมต่าง ๆ จนครบทั้ง 4 ยุค (ยุคหิน ยุคหินใหม่ ยุคสัมฤทธิ์ และยุคเหล็ก) ภายหลังเกมถูกย้ายมาลงพอคเก็ตพีซีโดยวินโดว์ แต่ยังคงคล้ายกับภาคเดิมบนพีซี Despite this, it received generally good reviews, and the ภาคเสริม Age of Empires: The Rise of Rome was released in 1998.

ใหม่!!: สมัยโบราณและเอจออฟเอ็มไพร์ส (วีดีโอเกม) · ดูเพิ่มเติม »

เข็มกลัดตรึง

็มกลัดตรึง หรือ เข็มกลัดฟิบิวลา (Fibula แปลว่า “กลัดติด” Yarwood (1986:180).) เป็นเข็มกลัดประดับโบราณ (brooch) ภาษาละติน “fibulae” มีความหมายเฉพาะว่าเป็นเข็มกลัดแบบโรมัน แต่ต่อมาความหมายของคำนี้ก็กว้างขึ้นจนครอบคลุมเข็มกลัดจากยุคโบราณทั้งหมด และ จากยุคกลางตอนต้น เข็มกลัดตรึงไม่เหมือนกับเข็มกลัดสมัยใหม่ที่ไม่แต่จะเป็นเครื่องตกแต่งเท่านั้นแต่ยังมีประโยชน์ใช้สอยที่รวมทั้งตรึงเสื้อผ้าให้ติดตัว ที่รวมทั้งเสื้อคลุมปล่อยชาย (cloak) เข็มกลัดฟิบิวลามาแทนที่เข็มกลัดตรงที่คล้ายไม้กลัดที่ใช้ในการเหน็บเสื้อผ้าในยุคหิน และ ยุคสำริด ต่อมาในยุคกลางเข็มกลัดฟิบิวลาก็มาแทนที่ด้วยกระดุม แต่เข็มกลัด (safety-pin) ที่แปลงมาจากเข็มกลัดฟิบิวลาก็ยังใช้สอยกันจนกระทั่งทุกวันนี้.

ใหม่!!: สมัยโบราณและเข็มกลัดตรึง · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ

รื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติที่ผลิตในปี ค.ศ. 1952 เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (Vending machine) เป็นเครื่องที่มีจุดประสงค์เพื่อจำหน่ายสิ่งของเช่น อาหารว่าง, เครื่องดื่ม, บุหรี่ หรือ ล็อตเตอรี หรือแม้กระทั่งทองคำ ให้กับลูกค้าโดยอัตโนมัติ หลังจากลูกค้าได้ใส่เงินหรือบัตรเครดิต เข้าสู่เครื่อง โดยเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติเครื่องแรกได้รับการพัฒนาในประเทศอังกฤษ ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เพื่อจำหน่ายไปรษณียบัตร.

ใหม่!!: สมัยโบราณและเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Ancient historyAncient timesยุคโบราณประวัติศาสตร์ยุคโบราณ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »