โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สถานีรถไฟสุไหงโก-ลก

ดัชนี สถานีรถไฟสุไหงโก-ลก

นีรถไฟสุไหงโก-ลก ตั้งอยู่บนถนนสายเอเชีย 18 เขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ของทางรถไฟสายใต้และสถานีสุดท้ายของทางรถไฟสายใต้ โดยสุดเขตแดนเมืองรันตูปันยัง ประเทศมาเลเซีย และมีระยะทางห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพมากที่สุด ถึง 1,142 กิโลเมตร.

17 ความสัมพันธ์: ชานชาลาเกาะกลางการขนส่งระบบรางในกรุงเทพมหานครรถด่วนพิเศษทักษิณสถานีรถไฟสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่สถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชันสถานีรถไฟกระเบียดสถานีรถไฟกรุงเทพสถานีรถไฟรันเตาปันจังสถานีรถไฟศาลาธรรมสพน์อำเภอสุไหงโก-ลกทางรถไฟสายชุมทางหาดใหญ่–ปาดังเบซาร์ทางรถไฟสายใต้ที่สุดในประเทศไทยที่หยุดรถไฟบางระมาดป้ายหยุดรถไฟจรัญสนิทวงศ์เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ชานชาลาเกาะกลาง

นชาลาเกาะกลางของสถานีปูฮัง ในเส้นทางรถไฟใต้ดินเปียงยาง ชานชาลาเกาะกลาง (Island platform) เป็นรูปแบบชานชลาสถานีรถไฟซึ่งมีชานชาลาเดียว ตั้งอยู่ตรงกลาง โดยมีรางรถไฟขนาบอยู่สองข้าง การก่อสร้างชานชาลาลักษณะนี้ค่อนข้างยุ่งยาก เนื่องจากต้องใช้รางรถไฟคู่เบี่ยงออกจากกัน แต่มีประสิทธิภาพสูง เพราะสะดวกในการเปลี่ยนขบวนรถ หรือเปลี่ยนเส้นทาง.

ใหม่!!: สถานีรถไฟสุไหงโก-ลกและชานชาลาเกาะกลาง · ดูเพิ่มเติม »

การขนส่งระบบรางในกรุงเทพมหานคร

สถานีรถไฟกรุงเทพ การขนส่งระบบรางในกรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต..

ใหม่!!: สถานีรถไฟสุไหงโก-ลกและการขนส่งระบบรางในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

รถด่วนพิเศษทักษิณ

รถด่วนพิเศษทักษิณ (ทักษิณ แปลว่าภาคใต้; รหัสขบวน: 37/38) เป็นขบวนรถด่วนพิเศษของการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้บริการผู้โดยสารระหว่างสถานีรถไฟกรุงเทพ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร กับสถานีรถไฟสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส เป็นขบวนรถด่วนพิเศษที่มีระยะทางทำการไกลที่สุดในประเทศไทย (ไม่นับรถด่วนพิเศษระหว่างประเทศ ซึ่งเข้าไปในประเทศมาเลเซีย) ชนิดรถที่ให้บริการได้แก่ รถนั่งและนอนปรับอากาศชั้นหนึ่งและชั้นสอง (บนอ.ป. และ บนท.ป.) รถนั่งชั้นสองและชั้นสาม (บชท. และ บชส.) และรถเสบียง (บกข. หรือ บสข.) ปัจจุบันพ่วงการโดยสารร่วมกับรถด่วนพิเศษระหว่างประเทศขบวนที่ 45/46.

ใหม่!!: สถานีรถไฟสุไหงโก-ลกและรถด่วนพิเศษทักษิณ · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟ

นีรถไฟแกรนด์เซ็นทรัล นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา สถานีรถไฟ คืออาคารหรือกลุ่มอาคาร ที่ใช้เป็นจุดจอด แวะพัก เปลี่ยนขบวน สำหรับการเดินรถไฟ มีการรับส่งผู้โดยสารเป็นภารกิจหลัก และรับส่งสินค้าบ้างเป็นครั้งคราว.

ใหม่!!: สถานีรถไฟสุไหงโก-ลกและสถานีรถไฟ · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่

นีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ ตั้งอยู่บนถนนรถไฟ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นสถานีรถไฟ ระดับ 1 ของทางรถไฟสายใต้ โดยจากจุดนี้ทางรถไฟจะแยกออกเป็นสองสาย คือ.

ใหม่!!: สถานีรถไฟสุไหงโก-ลกและสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน

นีรถไฟชุมทางตลิ่งชันในอดีต สถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน ตั้งอยู่ที่ซอยฉิมพลี 12 ถนนฉิมพลี แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร อยู่ห่างจากสถานีรถไฟธนบุรีเป็นระยะทาง 5.21 กิโลเมตร เป็นสถานีรถไฟชั้น 2 ของทางรถไฟสายใต้ อยู่ระหว่าง สถานีรถไฟธนบุรี/สถานีรถไฟบางบำหรุ และ สถานีรถไฟศาลาธรรมสพน์ ใช้สัญญาณแบบไฟสีสามท่า ประแจกลไฟฟ้า ชนิดบังคับสัมพันธ์ด้วยรีเลย์ และสัญญาณไฟสี ตัวย่อของสถานีคือ ต.

ใหม่!!: สถานีรถไฟสุไหงโก-ลกและสถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟกระเบียด

นีรถไฟกระเบียด (Krabiat Railway Station) ตั้งอยู่ที่หมู่ 4 บ้านถนนตก ตำบลกะเปียด อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 709.87 กิโลเมตร เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ของทางรถไฟสายใต้ อยู่ระหว่าง สถานีรถไฟห้วยปริก และ สถานีรถไฟทานพอ ใช้สัญญาณแบบหางปลา ประแจกลเดี่ยว ตัวย่อของสถานีคือ.

ใหม่!!: สถานีรถไฟสุไหงโก-ลกและสถานีรถไฟกระเบียด · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟกรุงเทพ

นอกสถานีรถไฟกรุงเทพ ภายในสถานีรถไฟกรุงเทพ สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นสถานีรถไฟหลักของประเทศไทย และเป็นสถานีที่เก่าแก่ที่สุด สร้างในสมัย รัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2453 สร้างเสร็จและเริ่มใช้งาน วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ในปัจจุบันสถานีรถไฟหัวลำโพง มีทางเชื่อมต่อที่มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่ดูกลมกลืนกับรถไฟฟ้ามหานครหรือรถไฟฟ้าใต้ดินบริเวณถนนพระรามที่ 4 การก่อสร้างสถานีกรุงเทพ ก่อสร้างในลักษณะโดมสไตล์อิตาเลียนผสมกับศิลปะแบบเรอเนสซองซ์ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับสถานีรถไฟแฟรงก์เฟิร์ตในประเทศเยอรมนี การประดับหลัก ประดับด้วยหินอ่อนและเพดานมีการสลักลายนูนต่าง ๆ โดยมีนาฬิกาขนาดใหญ่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 160 เซนติเมตร ตั้งอยู่กลางสถานีรถไฟเป็นสัญลักษณ์แห่งหนึ่ง สถานีกรุงเทพ มีรถไฟประมาณ 200 ขบวนต่อวัน โดยมีผู้โดยสารหลายหมื่นคน (ข้อมูลปี พ.ศ. 2561) โดยเฉพาะช่วงวันสำคัญ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ จะมีผู้โดยสารเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: สถานีรถไฟสุไหงโก-ลกและสถานีรถไฟกรุงเทพ · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟรันเตาปันจัง

นีรถไฟรันเตาปันจัง (Stesen keretapi Rantau Panjang) เป็นสถานีรถไฟในเมืองรันเตาปันจัง ประเทศมาเลเซีย เปิดใช้งานในปี ค.ศ. 1921 เมื่อก่อนเคยเป็นสถานีรถไฟเชื่อมต่อชายแดนไทย-มาเลเซีย แต่ในปัจจุบันการเชื่อมต่อไปถูกยกเลิก และใช้ชายแดนที่ปาดังเบซาร์แทน.

ใหม่!!: สถานีรถไฟสุไหงโก-ลกและสถานีรถไฟรันเตาปันจัง · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟศาลาธรรมสพน์

นีรถไฟศาลาธรรมสพน์ ตั้งอยู่ที่ถนนศาลาธรรมสพน์ ซอย 26 แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร อยู่ห่างจากสถานีรถไฟธนบุรีเป็นระยะทาง 13.18 กิโลเมตร เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ของทางรถไฟสายใต้ อยู่ระหว่าง สถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน และ สถานีรถไฟศาลายา ใช้สัญญาณแบบไฟสีสามท่า ประแจกลหมู่ ชนิดบังคับด้วยเครื่องกลสายลวด และสัญญาณไฟสี ตัวย่อของสถานีคือ ท.

ใหม่!!: สถานีรถไฟสุไหงโก-ลกและสถานีรถไฟศาลาธรรมสพน์ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอสุไหงโก-ลก

อำเภอสุไหงโก-ลก เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนราธิวาส มีตัวเมืองขนาดใหญ่และมีความเจริญกว่าตัวจังหวัดมาก เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคใต้ตอนล่าง.

ใหม่!!: สถานีรถไฟสุไหงโก-ลกและอำเภอสุไหงโก-ลก · ดูเพิ่มเติม »

ทางรถไฟสายชุมทางหาดใหญ่–ปาดังเบซาร์

| ทางรถไฟสายชุมทางหาดใหญ่–ปาดังเบซาร์ เป็นทางรถไฟระหว่างประเทศที่เชื่อมระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย มีจุดเริ่มต้นจากสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ผ่านพรมแดนไทยกับมาเลเซีย จนถึงสถานีปลายทางคือสถานีรถไฟปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส ซึ่งบรรจบกับทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันตกของมาเลเซี.

ใหม่!!: สถานีรถไฟสุไหงโก-ลกและทางรถไฟสายชุมทางหาดใหญ่–ปาดังเบซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ทางรถไฟสายใต้

ทางรถไฟสายใต้ เป็นทางรถไฟที่เริ่มต้นจากสถานีรถไฟธนบุรี กรุงเทพมหานคร ผ่านจังหวัดนครปฐม, ราชบุรี, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, พัทลุง, สงขลา, ปัตตานี, ยะลา และไปสุดปลายทางที่สถานีรถไฟสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส และไปบรรจบกับทางรถไฟของประเทศมาเลเซีย ที่สถานีรถไฟรันเตาปันจาง ทางรถไฟสายใต้สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจากสถานีรถไฟธนบุรีถึงสถานีรถไฟเพชรบุรี ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ขยายเส้นทางไปภาคใต้และสร้างทางแยกที่สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานพระรามหกไปบรรจบกันที่สถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน เพื่อเชื่อมทางรถไฟสายใต้กับทางรถไฟสายเหนือ ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ และสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ความยาวของทางรถไฟสายใต้ นับจากสถานีรถไฟธนบุรี ถึง ชายแดนไทย-มาเลเซีย ที่อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส รวมทั้งสิ้น 1,144.29 กิโลเมตร เป็นทางรถไฟสายที่ยาวที่สุดในประเทศไท.

ใหม่!!: สถานีรถไฟสุไหงโก-ลกและทางรถไฟสายใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ที่สุดในประเทศไทย

ติที่สุดในประเทศไทยเรื่องต่าง.

ใหม่!!: สถานีรถไฟสุไหงโก-ลกและที่สุดในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ที่หยุดรถไฟบางระมาด

ที่หยุดรถไฟบางระมาด ตั้งอยู่ที่ถนนฉิมพลี แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร อยู่ห่างจากสถานีรถไฟธนบุรีเป็นระยะทาง 3.42 กิโลเมตร เป็นที่หยุดรถไฟของทางรถไฟสายใต้ อยู่ระหว่าง สถานีรถไฟธนบุรี และ สถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน ตัวย่อของที่หยุดรถคือ รม.

ใหม่!!: สถานีรถไฟสุไหงโก-ลกและที่หยุดรถไฟบางระมาด · ดูเพิ่มเติม »

ป้ายหยุดรถไฟจรัญสนิทวงศ์

ป้ายหยุดรถไฟจรัลสนิทวงศ์ ตั้งอยู่ที่ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร อยู่ห่างจากสถานีรถไฟธนบุรีเป็นระยะทาง 0.67 กิโลเมตร เป็นป้ายหยุดรถไฟของทางรถไฟสายใต้ อยู่ระหว่าง สถานีรถไฟธนบุรี และ สถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน ตัวย่อของสถานีคือ รว.

ใหม่!!: สถานีรถไฟสุไหงโก-ลกและป้ายหยุดรถไฟจรัญสนิทวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก หรือเมืองสุไหงโก-ลก ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลสุไหงโก-ลกอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ถือได้ว่าเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดนราธิวาส เป็นศูนย์กลางทางด้านการค้าและการลงทุนศูนย์กลางการเงินและธนาคารที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของชายแดนภาคใต้เนื่องด้วยเป็นหัวเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญมีด่านศุลกากรที่เป็นศูนย์กลางการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า ทั้งนำเข้า และส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน มาเลเซียได้รับการประกาศยกฐานะเป็นเทศบาลเมือง เมื่อ ปี..

ใหม่!!: สถานีรถไฟสุไหงโก-ลกและเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »