โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วูล์ฟแพ็ค

ดัชนี วูล์ฟแพ็ค

วูล์ฟแพ็ค (Wolfpack) วงดนตรีสัญชาติไทย เป็นการรวมตัวของนักดนตรีจากวงต่าง ๆ 4 คน โดยมีความหมายถึง ฝูงหมาป่าที่ออกล่าเหยื่อเป็นกลุ่ม และสามัคคีกัน มีสมาชิกคนสำคัญ ได้แก่ นล สิงหลกะ (อ๋อ) มือกลอง และ รณภพ อรรคราช (เต้ย) มือกีตาร์ จากวงอินคา ร่วมด้วย ประภาคาร วงศ์ช่างหล่อ มือเบส และ วรวิทย์ แสงสีดา (แบน) กีต้าร์/คีย์บอร์ด/เปียโน โดยมีศิริพันธ์ เจริญรัตน์ เป็นโปรดิวเซอร์ ควบคุมการผลิตผลงานของอัลบั้ม วูล์ฟแพ็ค ออกอัลบั้มชื่อเดียวกับวงในต้นปี พ.ศ. 2539 กับค่ายเอ็มสแควร์ มีทั้งหมด 11 เพลง โดยเป็นดนตรีฮาร์ดร็อก ย้อนยุคในทศวรรษที่ 60 และ 70 มีเพลงที่ได้รับความนิยม คือ ไม่ (ใช่ของเรา), คำ (บางคำ), เธอ (ผู้เดียว) และในต้นปี พ.ศ. 2540 วูล์ฟแพ็คก็ได้ทำเพลงประกอบภาพยนตร์ไทยเรื่อง 2499 อันธพาลครองเมือง วูล์ฟแพ็ค มีอัลบั้มออกมาจำนวน 4 อัลบั้มคือ.

8 ความสัมพันธ์: รายชื่อกลุ่มดนตรีสัญชาติไทยรณภพ อรรคราชสีสันอะวอร์ดส์อินคา (วงดนตรี)นล สิงหลกะไทยร็อกเอ็มสแควร์2499 อันธพาลครองเมือง

รายชื่อกลุ่มดนตรีสัญชาติไทย

รายชื่อกลุ่มดนตรีและวงดนตรีสัญชาติไทย ชื่อในวงเล็บสำหรับกลุ่มที่ใช้ชื่อภาษาต่างประเทศ.

ใหม่!!: วูล์ฟแพ็คและรายชื่อกลุ่มดนตรีสัญชาติไทย · ดูเพิ่มเติม »

รณภพ อรรคราช

รณภพ อรรคราช (เต้ย) มือกีต้าร์ วงอินคา และ วูล์ฟแพ็ค เกิดเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2508 ที่กรุงเทพฯ จบการศึกษาระดับอนุบาลจากโรงเรียนโชติศึกษา ชั้นประถมที่โรงเรียนค่ายนารายณ์ศึกษา จังหวัดลพบุรี และ โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดนครปฐม จนจบ ม.3 จบชั้นมัธยมที่โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จังหวัดลพบุรี และปริญญาตรีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เริ่มเล่นดนตรีตั้งแต่สมัยประถม ได้รับตำแหน่งแซ็กโซโฟน ในวงดุริยางค์ของโรงเรียน ภปร.

ใหม่!!: วูล์ฟแพ็คและรณภพ อรรคราช · ดูเพิ่มเติม »

สีสันอะวอร์ดส์

รางวัลสีสันอะวอร์ดส์ สีสันอะวอร์ดส์ เป็นรางวัลทางด้านดนตรีซึ่งจัดขึ้นโดยนิตยสารสีสัน ของคุณทิวา สาระจูฑะ โดยเริ่มมีการตัดสินจากผลงานเพลงไทยที่ออกในปี พ.ศ. 2531 ประกาศลงในนิตยสารสีสัน แล้วเชิญศิลปินผู้ได้รับโล่รางวัลมารับที่สำนักงานในช่วงต้นปี 2532 ถัดมาในปี 2532 เริ่มมีการจัดงานมอบรางวัลที่ห้องอาหาร Ana House ซอยสุขุมวิท 27 โดยครั้งนี้เริ่มมีสื่อมวลชนให้ความสนใจติดตามทำข่าวและสัมภาษณ์ศิลปินจำนวนหนึ่ง และในครั้งที่ 3 ได้จัดขึ้นที่ห้องอาหาร ร่องผัก ในซอยสุขุมวิท 23 สีสันอะวอร์ดส์ กลายเป็นรางวัลสาธารณะเมื่อครั้งที่ 4 ในปี พ.ศ. 2534 จัดที่โรงแรม Jade Pavillian ซอยสุขุมวิท 22 มีสื่อมวลชนหลายแขนงได้ส่งเจ้าหน้าที่มาทำข่าวเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง ก่อนจะย้ายสถานที่มอบรางวัลไปโรงแรมต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกับสำนักงานของนิตยสารสีสันในอีก 3-4 ครั้ง และย้ายไปที่ โรงแรมทาวน์อินทาวน์ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีหลักเกณฑ์กติกาที่ปรับปรุงให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของยุคสมัยอยู่เสมอ และพิจารณาผลงานอย่างกว้างขวาง นอกจากนั้นในงานมอบรางวัลยังเป็นการรวมศิลปินเพลงจากทุกสังกัด ทุกแนวดนตรี มาชุมนุมในที่เดียวกัน และบางครั้งจะขึ้นเวทีแสดงดนตรีร่วมกัน.

ใหม่!!: วูล์ฟแพ็คและสีสันอะวอร์ดส์ · ดูเพิ่มเติม »

อินคา (วงดนตรี)

อินคา วงดนตรีไทยจากค่าย แกรมมี่ เอนเตอร์เทนเม้นท์ และ จีราฟ เรคคอร์ดส ถ้าจะให้นึกถึงวงดนตรีแนวคันทรี่ร็อคสักวงที่เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดังประมาณช่วงกลางทศวรรษที่ 2530 เข้าใจว่าอาจทำให้ใครหลายคนคงนึกยากสักหน่อย แต่ถ้าให้นึกว่ามีวงดนตรีไหนบ้าง ที่มีนักดนตรีทุกคนผมยาวสลวย สามารถร้องประสานเสียงกันอย่างลงตัว และมีสำเนียงแตกต่าง กว่าวงไหนดนตรีไหนๆในยุค ใครหลายคนคงนึกไม่ยาก หากจะให้ง่ายเข้าไปอีก คงไม่มีคนวัยสามสิบต้นๆคนไหนที่นึกไม่ออกบอกไม่ถูก หากจะถามว่า วงดนตรีวงไหนที่เปล่งประสานเสียงเพลงที่ว่า “...หมากเกมนี้ฉันก็รู้ว่าจะต้องลงเอยอย่างไร....” จนยังกระหึ่มอยู่ในใจของใครบางคนมาจนถึงบัดนี้ ใช่, วงดนตรีวงนั้น - วงดนตรีที่มีชื่อเหมือนกับจักรวรรดิ โบราณที่เก่าแก่ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ "อินคา".

ใหม่!!: วูล์ฟแพ็คและอินคา (วงดนตรี) · ดูเพิ่มเติม »

นล สิงหลกะ

นล สิงหลกะ มือกลอง และนักร้องนำวงอินคา และวูล์ฟแพ็.

ใหม่!!: วูล์ฟแพ็คและนล สิงหลกะ · ดูเพิ่มเติม »

ไทยร็อก

ทยร็อก (Thai rock) เป็นดนตรีร็อกจากประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของดนตรีแนวสตริงและป๊อปร็อก ดนตรีร็อกเริ่มเข้ามาสู่ประเทศไทยในราวทศวรรษที่ 70 จากอิทธิพลชาติตะวันตกอย่างสหรัฐอเมริกา ผ่านสงครามเวียดนาม โดยแหลม มอริสัน นักดนตรีชาวอุดรธานีได้ตั้งวงดนตรีชื่อ วีไอพี ขึ้นมา เพื่อเล่นดนตรีแนวเฮฟวี่เมทัลและฮาร์ดร็อกให้กับเหล่าทหารอเมริกันในสถานบันเทิงยามค่ำคืนของอุดรธานี โดยมีจิมิ เฮนดริกซ์ และจิม มอร์ริสัน แห่งวงเดอะดอร์ส เป็นแบบอย่าง ก่อนที่จะมีนักดนตรีอีกหลายคนสร้างชื่อเสียงขึ้นมา เช่น กิตติ กาญจนสถิตย์, โอฬาร พรหมใจ หรือชัคกี้ ธัญญรัตน์ จุดกำเนิดของไทยร็อกเริ่มขึ้นในปลายทศวรรษที่ 70 โดยเริ่มจาก เนื้อกับหนัง ถือว่าเป็นวงดนตรีในแนวเฮฟวี่เมทัลและฮาร์ดร็อกวงแรกของไทย โดยมีวิฑูร วทัญญู เป็นผู้สนับสนุน ซึ่งยากมากที่จะหาผู้ที่ยอมรับฟังดนตรีร็อกในยุคนั้น เนื่องจากในขณะนั้นวงการดนตรีไทยเป็นยุคที่นิยมดนตรีป๊อปแบบใส ๆ เช่น ฟรุตตี้, เรนโบว์ ต่อมาในทศวรรษที่ 80 ดิ โอฬาร โปรเจ็คต์ วงดนตรีที่เล่นเพลงแนวเฮฟวี่เมทัล โดยปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์ และโอฬาร พรหมใจ ก็ได้รับความนิยมและยอมรับขึ้นมาจากอัลบั้ม "กุมภาพันธ์ 2528" ต่อมาเมื่อไทยเริ่มเข้าสู่ยุคของการพาณิชย์ เริ่มมีค่ายเพลงต่าง ๆ เกิดขึ้น ความสำเร็จของอัสนี-วสันต์ กับไมโคร ในสังกัดแกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ก็ช่วยให้ดนตรีร็อกได้รับความนิยมมากขึ้น รวมถึงในดนตรีแนวเพื่อชีวิตอย่าง คาราบาว ที่สร้างยอดขายได้มากกว่า 5 ล้านตลับ ก็ยังนำเอาดนตรีร็อกมาผสมผสานกับดนตรีรำวงจังหวะสามช่าแบบไทยอีกด้วย จวบจนช่วงต้นของทศวรรษที่ 90 ศิลปินหลายวง หลายคนในสังกัดอาร์เอส โปรโมชั่น เช่น ไฮ-ร็อก ที่ทำให้ดนตรีแนวเฮฟวี่เมทัลได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางมากขึ้น, หิน เหล็ก ไฟ ที่เมื่อออกผลงานชุดแรกก็สร้างยอดขายได้มากกว่าหนึ่งล้านตลับ, หรั่ง ร็อกเคสตร้า, อิทธิ พลางกูร, ธนพล อินทฤทธิ์, พิสุทธิ์ ทรัพย์วิจิตร ก็ประสบความสำเร็จอีกด้วย ในช่วงนี้ถือได้ว่าเป็นยุคทองของดนตรีร็อกแนวเฮฟวี่เมทัลของไทยอย่างแท้จริง โดยทั้งหมดได้รวมกันแสดงคอนเสิร์ต ช็อต ชาร์จ ช็อค ร็อก คอนเสิร์ต ที่มีจำนวนผู้ชมล้นหลามและจัดต่อเนื่องด้วยกันถึง 3 ครั้งในรอบ 3 ปี ในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 90 วงการดนตรีไทยได้เปลี่ยนความนิยมไป เมื่ออัลเทอร์เนทีฟและอินดี้ป็อป เริ่มเข้ามามีอิทธิพลและได้รับความนิยมขึ้นมาแทนที่เฮฟวี่เมทัล โมเดิร์นด็อก จากสังกัดเบเกอรี่มิวสิค ก็ได้สร้างปรากฏการณ์ของดนตรีในแนวนี้ขึ้นมาเป็นวงแรก ก่อนจะตามด้วยวงอื่นในแนวเดียวกัน เช่น วายน็อตเซเว่น, ฟลาย, แบล็คเฮด, สไมล์บัฟฟาโล่, นครินทร์ กิ่งศักดิ์ เป็นต้น นอกจากนี้แล้วดนตรีร็อกในแนวอื่นที่มิใช่อัลเทอร์เนทีฟก็ยังได้รับความนิยม เช่น โลโซ, วูล์ฟแพ็ค, ธรรพ์ณธร ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา, ลาบานูน, ไอน้ำ ในยุคปัจจุบัน ดนตรีร็อกไทยได้มีแนวดนตรีแบบใหม่เข้ามา เช่น แกลมเมทัล หรือ นูเมทัล มีหลายวงที่ได้รับความนิยม เช่น บิ๊กแอส, บอดี้แสลม แคลช,โปเตโต้, อีโบลา, เรโทรสเปกต์, สวีตมัลเล็ต, กะลา เป็นต้น วงดนตรีร็อคในเมืองไทยในยุคแรกไม่สามารถจัดเป็นทศวรรษได้ เนื่องจากกระแสความนิยมและการเปลี่ยนแปลงทางดนตรีก้าวกระโดดไปอย่างรวดเร็ว นอกนั้นยังมีวงดนตรีนอกกระแสหรือดนตรีใต้ดินอย่าง ดีเซมเบอร์, ดอนผีบิน หรือกล้วยไทย เป็นต้น.

ใหม่!!: วูล์ฟแพ็คและไทยร็อก · ดูเพิ่มเติม »

เอ็มสแควร์

อ็มสแควร์ เป็นชื่อค่ายเพลงไทยค่ายหนึ่งในอดีต ก่อตั้งขึ้นเมื่อต้นปี พ.ศ. 2537 โดย ยุวดี บุญครอง, โฆษิต สุวินิจจิต แห่งบริษัท มีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด (มหาชน) และได้ วิทยา ศุภพรโอภาส อดีตผู้บริหารค่ายนิธิทัศน์ มาร่วมบริหารงานในระยะต่อมา เพื่อขยายงานภายในบริษัทของตนเองโดยใช้สื่อเสียงเพลง อาศัยการผลิตและการโปรโมทผ่านทางสื่อต่างๆ โดยได้รับผลิตผลงานเพลงให้กับศิลปินนักร้องที่มีชื่อเสียงและแจ้งเกิดไว้หลายคน อาทิ พงษ์สิทธิ์ คำภีร์, แบล็คเฮด, ดนุพล แก้วกาญจน์, ศิริพร อยู่ยอด เป็นต้น แต่ดำเนินงานได้เพียง 3 ปีเศษก็มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ โดยแบ่งเป็นค่ายเพลงต่างๆ ในเครือ และได้เปลี่ยนชื่อจากค่ายเอ็มสแควร์เป็นกลุ่ม "MMG" (Media Music Group) ขณะที่ วิทยา หนึ่งในผู้บริหารได้แยกตัวไปก่อตั้งคลื่นวิทยุเพลงลูกทุ่งระบบเอฟเอ็มแห่งแรกของไทยในนาม "ลูกทุ่งเอฟเอ็ม" กิจการของ MMG ยังคงดำเนินต่อไปจนถึงคราวยุติบทบาทลง.

ใหม่!!: วูล์ฟแพ็คและเอ็มสแควร์ · ดูเพิ่มเติม »

2499 อันธพาลครองเมือง

2499 อันธพาลครองเมือง ภาพยนตร์ไทย ที่มีเนื้อหาเล่าย้อนถึงกรุงเทพมหานครยุคก่อนพุทธศักราช 2500 ที่เหล่านักเลงอันธพาลวัยรุ่นมีอิทธิพลและครองเมืองอย่างไม่หวั่นเกรงกฎหมาย กำกับโดย นนทรีย์ นิมิบุตร สร้างโดย บริษัท ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด เพลงประกอบภาพยนตร์ โดย วูล์ฟแพ็ค ออกฉายเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2540.

ใหม่!!: วูล์ฟแพ็คและ2499 อันธพาลครองเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »