โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร

ดัชนี วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร

วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร หรือชื่อลำลองว่า วัดท้ายตลาด เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร เป็นวัดที่สร้างในสมัยอยุธยา ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง และเหตุที่เรียกว่าวัดท้ายตลาดเนื่องจากอยู่ต่อจากตลาดเมืองธนบุรี ปัจจุบันชาวบ้านยังนิยมเรียกชื่อนี้อยู่ ในสมัยธนบุรี วัดนี้เป็นวัดในเขตพระราชฐาน จึงไม่มีพระสงฆ์อยู่ตลอดช่วงรัชกาล ส่วนพระวิหาร สันนิษฐานว่าได้ใช้เป็นฉางเกลือของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ภายในพระวิหารกั้นเป็น 2 ตอน ปัจจุบัน ตอนหน้าที่หันออกคลองบางกอกให้ ประดิษฐานพระพุทธรูปเป็นหมู่บนฐานชุกชี ส่วนตอนหลังเป็นพื้นที่ค่อนข้างแคบ ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ ในรัชกาลที่ 3 ได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่ทั่วทั้งพระอาราม และทรงเปลี่ยนนามใหม่ว่า "วัดโมลีโลกยสุธาราม" ภายหลังมาเรียกกันว่า "วัดโมลีโลกยาราม" วัดโมลีโลกยารามเคยเป็นสำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีที่มีผู้สอบได้เปรียญธรรมมากเป็นระดับต้น ๆ ของประเทศ ที่ตั้ง พระราชวังเดิม ซอยวังเดิม 6 ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร.

21 ความสัมพันธ์: พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวพระพรหมกวี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ)พระราชวังเดิมพระธรรมไตรโลกาจารย์พระธรรมเจดีย์พระตำหนักแดงรายชื่อพระอารามหลวงในประเทศไทยรายชื่อวัดในกรุงเทพมหานครรายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทยรายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (ฝั่งธนบุรี)วัดท้ายตลาดสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (หม่อมราชวงศ์เจริญ ญาณฉนฺโท)สมเด็จพระวันรัตน์ (ทับ พุทฺธสิริ)สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีคลองบางกอกใหญ่คลองคูเมืองธนบุรีฝั่งตะวันตกเขตบางกอกใหญ่

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พระราชสมภพ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — สวรรคต 7 กันยายน พ.ศ. 2352) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 1 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม..

ใหม่!!: วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหารและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

งชาติสยามในรัชกาลที่ 4 ธงช้างเผือก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - สวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ" เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชสมัย รัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานพระราชวังพระราชนิเวศน์ พระราชวังเดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวรารามอ.

ใหม่!!: วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหารและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปวเรนทราเมศมหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสมเด็จพระอนุชาธิราชในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงได้รับพระบวรราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 รองจากพระบรมเชษฐา สูงศักดิ์กว่า "วังหน้า" กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (พระมหาอุปราช)พระองค์ใดในอดีต เมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 เมื่อมีพระชนมายุได้ 43 พรรษ.

ใหม่!!: วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหารและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระพรหมกวี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ)

ระพรหมกวี ฉายา คงฺคปญฺโญ เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง อดีตเจ้าคณะภาค 10 เจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร.

ใหม่!!: วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหารและพระพรหมกวี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ) · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังเดิม

ท้องพระโรง พระราชวังกรุงธนบุรี (วังเดิม) พระราชวังกรุงธนบุรี หรือ พระราชวังเดิม เป็นพระราชวังหลวงในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ ในเขตที่เคยเป็นที่ตั้งของป้อมวิไชยเยนทร์ ที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตำแหน่งของพระราชวังเดิมเป็นจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์ สามารถสังเกตการณ์ได้ในระยะไกล อีกทั้งยังใกล้กับเส้นทางคมนาคม และเส้นทางการเดินทัพที่สำคัญ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงโปรดให้สร้างพระราชวังนี้ขึ้นในปี พ.ศ. 2310 ภายหลังจากที่ทรงกอบกู้เอกราชให้ชาติไทย เพื่อใช้เป็นที่ประทับและว่าราชการ เมื่อทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี พร้อมกับปรับปรุงป้อมวิไชยเยนทร์ และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นป้อมวิไชยประสิทธิ์ เดิมพระราชวังแห่งนี้มีอาณาเขต ตั้งแต่ป้อมวิไชยประสิทธิ์ขึ้นมาจนถึงคลองเหนือวัดอรุณราชวราราม (คลองนครบาล) โดยรวมวัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) และวัดท้ายตลาด (วัดโมลีโลกยาราม) เข้าไปในเขตพระราชวังเดิม ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ ได้ทรงย้ายราชธานีมาอยู่ฝั่งพระนคร โดยสร้างพระบรมมหาราชวังขึ้นเป็นที่ประทับ พระราชวังกรุงธนบุรี (พระราชวังเดิม) จึงได้ชื่อว่า "พระราชวังเดิม" ตั้งแต่บัดนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงกำหนดเขตวังให้แคบกว่าเดิม โดยให้วัดทั้งสองที่กล่าวแล้วคือ วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) และวัดโมลีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) อยู่ภายนอกพระราชวัง และ นอกจากนี้ทรงแต่งตั้งพระราชวงศ์ชั้นสูงที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยมาประทับที่นี่ อันเนื่องจากเห็นว่าพระราชวังนี้มีความสำคัญทางด้านทำเลที่ตั้ง ได้แก.

ใหม่!!: วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหารและพระราชวังเดิม · ดูเพิ่มเติม »

พระธรรมไตรโลกาจารย์

ระธรรมไตรโลกาจารย์ เป็นสมณศักดิ์พระราชาคณะชั้นธรรม ปัจจุบันพระราชทานเฉพาะแก่พระเถระฝ่ายธรรมยุติกนิกาย มีพัดยศประจำตำแหน่งเป็นพัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ มี 5 แฉก พื้นแพรต่วนสีแดง.

ใหม่!!: วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหารและพระธรรมไตรโลกาจารย์ · ดูเพิ่มเติม »

พระธรรมเจดีย์

ระธรรมเจดีย์ เป็นสมณศักดิ์พระราชาคณะชั้นธรรม ปัจจุบันผู้ที่ได้รับพระราชทานคือ พระธรรมเจดีย์ (สมคิด เขมจารี).

ใหม่!!: วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหารและพระธรรมเจดีย์ · ดูเพิ่มเติม »

พระตำหนักแดง

ระตำหนักแดงภายในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร พระตำหนักแดง สร้างขึ้นภายในพระบรมมหาราชวังในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เพื่อพระราชทานเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระพี่นางพระองค์น้อยในพระองค์ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงรื้อพระตำหนักฝ่ายในภายในเขตพระราชฐานชั้นในเพื่อเปลี่ยนเป็นตำหนักตึกทั้งหมด ดังนั้น จึงโปรดให้รื้อตำหนักแดงไปปลูกที่พระราชวังเดิม เพื่อเป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ โดยตำหนักแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกนั้นเป็นที่ประทับสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา ปัจจุบัน ตำหนักส่วนนี้ได้ถูกรื้อไปปลูกเป็นกุฏิเจ้าอาวาสวัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี ส่วนที่สองเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบัน ตั้งอยู่ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร.

ใหม่!!: วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหารและพระตำหนักแดง · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อพระอารามหลวงในประเทศไทย

รายชื่อพระอารามหลวงในประเทศไทย มีดังนี้.

ใหม่!!: วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหารและรายชื่อพระอารามหลวงในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อวัดในกรุงเทพมหานคร

รายชื่อวัดในกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหารและรายชื่อวัดในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย

ต่อไปนี้ เป็นรายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย เรียงตามรายชื่อ 76 จังหวัด พร้อมกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหารและรายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (ฝั่งธนบุรี)

ราณสถานที่มีรายชื่อในหน้านี้ตั้งอยู่ในพื้นที่สีเขียวบนแผนที.

ใหม่!!: วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหารและรายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (ฝั่งธนบุรี) · ดูเพิ่มเติม »

วัดท้ายตลาด

วัดท้ายตลาด อาจหมายถึง.

ใหม่!!: วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหารและวัดท้ายตลาด · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

มเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นราชทินนามของสมเด็จพระราชาคณะรูปหนึ่ง ปัจจุบันพระราชทานเฉพาะแก่พระภิกษุฝ่ายมหานิก.

ใหม่!!: วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหารและสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (หม่อมราชวงศ์เจริญ ญาณฉนฺโท)

มเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ฉายา ญาณฉนฺโท นามเดิม หม่อมราชวงศ์เจริญ ราชสกุล อิศรางกูร เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ และอดีตเจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหารและวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร.

ใหม่!!: วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหารและสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (หม่อมราชวงศ์เจริญ ญาณฉนฺโท) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระวันรัตน์ (ทับ พุทฺธสิริ)

มเด็จพระวันรัตน์เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑, หน้า 123 นามเดิม ทับ ฉายา พุทฺธสิริ (6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2349 - 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2434) เป็นสมเด็จพระวันรัตรูปที่ 12 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นหนึ่งในพระมหาเถระ 10 องค์ผู้เป็นต้นวงศ์ธรรมยุติกนิกาย ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายใต้ และเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดโสมนัสราชวรวิหาร นอกจากนี้ท่านยังเป็นพระมหาเถระที่มีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก ชอบธุดงค์ และเคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง.

ใหม่!!: วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหารและสมเด็จพระวันรัตน์ (ทับ พุทฺธสิริ) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

มเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (แต้จิ๋ว: Dênchao; 17 เมษายน พ.ศ. 2277 – 6 เมษายน พ.ศ. 2325) มีพระนามเดิมว่า สิน เป็นคนไทยเชื้อสายจีน เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ก่อตั้งอาณาจักรธนบุรี และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวของราชอาณาจักรนั้น เดิมพระองค์เป็นนายทหารในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ต่อม..

ใหม่!!: วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหารและสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

ลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) เป็นพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ประสูติ ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง ก่อนที่สมเด็จพระบรมชนกนาถจะเสด็จสวรรคตในวันต่อมา พระนาม เพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้ในพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ โดยมีคำนำหน้าพระนามเป็นสมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ (ลูกสาวของพี่ชาย) ในรัชกาลที่ 7 และเป็นพระภคินี (ลูกพี่ลูกน้อง) ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และโดยพระชนมายุพระองค์จึงเคยเป็นพระกุลเชษฐ์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ หลังจากเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นการถาวร พระองค์ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจเพื่อแบ่งเบาพระราชภาระในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชอยู่เป็นนิจ จนกระทั่งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ 9 ทรงเจริญพระวัยและทรงสามารถแบ่งเบาพระราชกรณียกิจได้ กอปรกับพระองค์มีพระชนมายุสูงขึ้นจึงเสด็จออกทรงเยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดารน้อยลง นอกจากนี้ พระองค์ทรงรับสถาบันและองค์กรต่างๆ ทั้งในส่วนที่สืบสานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และโดยส่วนพระองค์เองไว้ในพระอุปถัมภ์มากกว่า 30 แห่ง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 16.37 นาฬิกา ณ ตึก 84 ปี โรงพยาบาลศิริราช สิริพระชนมายุ 85 พรรษา 8 เดือน 3 วัน.

ใหม่!!: วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหารและสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี · ดูเพิ่มเติม »

คลองบางกอกใหญ่

ปากคลองบางกอกใหญ่ บรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกใหญ่ช่วงที่ผ่านวัดอินทารามวรวิหาร (วัดบางยี่เรือนอก) การขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงที่ ๑ ซึ่งทำให้แม่น้ำสายเดิมกลายเป็นคลองบางกอกใหญ่ในปัจจุบัน คลองบางกอกใหญ่ หรือชื่อในอดีตว่า คลองบางหลวง เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยามาก่อน กล่าวคือบริเวณตั้งแต่ปากคลองบางกอกน้อย ตรงข้ามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปจนถึงปากคลองบางกอกใหญ่ในปัจจุบันนั้น ยังเป็นแผ่นดินอยู่ แม่น้ำเจ้าพระยาเดิมจะอ้อมเลี้ยวจากหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นคุ้งกว้างมาทะลุออกข้างวัดท้ายตลาด ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (พ.ศ. 2077 - 2089) โปรดเกล้าให้ขุดคลองลัดระหว่างคุ้งแม่น้ำทั้งสอง เพื่อย่นระยะทางและอำนวยความสะดวกให้กับบรรดาพ่อค้าทูตานุทูตชาวตะวันตกที่เริ่มเข้ามาติดต่อค้าขายและเจริญสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในสมัยนั้น ต่อมาคลองลัดเริ่มกว้างใหญ่ขึ้นกลายเป็นแม่น้ำ ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมก็เล็กลงกลายเป็นคลองบางกอกน้อยและคลองบางกอกใหญ่ ถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน ราชสำนักย้ายมาอยู่ที่กรุงธนบุรี คลองบางกอกใหญ่กลายมาเป็นชุมชนของข้าหลวง และโปรดเกล้าให้บรรดาชาวจีนซึ่งได้เคยช่วยเหลือพระองค์มาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมคลองบางกอกใหญ่ ผู้คนจึงนิยมเรียกกันติดปากว่า "คลองบางข้าหลวง" หรือ "คลองบางหลวง" สืบมาถึงในปัจจุบัน รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร กำหนดให้คลองบางกอกใหญ่เป็นคลองสำคัญซึ่งจะต้องอนุรักษ์ไว้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2510 ปากคลองบางกอกใหญ่แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งขวาของป้อมวิไชยประสิทธิ์ ไปสิ้นสุดที่คลองมอญ ตรงข้ามปากคลองชักพระ มีความยาวประมาณ 6 กิโลเมตร คลองบางกอกใหญ่ในปัจจุบันนั้นถือเป็นเส้นทางสัญจรและระบายน้ำ และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สำคัญอย่างมาก มีศาสนสถานตั้งอยู่อย่างหนาแน่นทั้งสองฝั่ง วัดและมัสยิดริมคลองบางกอกใหญ่ได้แก.

ใหม่!!: วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหารและคลองบางกอกใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

คลองคูเมืองธนบุรีฝั่งตะวันตก

แผนที่คูเมืองฝั่งตะวันตก คลองคูเมืองฝั่งตะวันตก เป็นคูคลองที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ขุดขึ้น เพื่อใช้ป้องกันอริราชศัตรูซึ่งจะเข้ามาจู่โจมพระนคร ซึ่งขุดไว้ทั้ง 2 ฝั่งคือ คลองคูเมืองฝั่งตะวันออก หรือคลองคูเมืองเดิมในปัจจุบัน และคลองคูเมืองฝั่งตะวันตก โดยขุดแยกจากคลองบางกอกใหญ่ ปัจจุบันคือบริเวณใต้สะพานอนุทินสวัสดิ์ ผ่านวัดโมลีโลกยาราม วัดอรุณราชวราราม วัดเครือวัลย์วรวิหาร ตัดคลองนครบาลหรือคลองวัดอรุณ จากนั้นตรงขึ้นไปตัดกับคลองมอญ ตรงขึ้นไปอีกตัดกับคลองวัดระฆัง ผ่านโรงพยาบาลศิริราช ก่อนไปออกคลองบางกอกน้อยที่บริเวณใกล้ๆกับวัดอมรินทราราม.

ใหม่!!: วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหารและคลองคูเมืองธนบุรีฝั่งตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

เขตบางกอกใหญ่

ตบางกอกใหญ่ เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนบุรี ซึ่งถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี.

ใหม่!!: วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหารและเขตบางกอกใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

วัดโมลีโลกยารามวัดโมฬีกยารามราชวรวิหาร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »