โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วรรณกรรมไทย

ดัชนี วรรณกรรมไทย

วรรณคดีไทย คือ วรรณกรรมทุกประเภทไม่ว่าในลักษณะร้อยแก้ว หรือร้อยกรองที่ประพันธ์ขึ้นเป็นภาษาไทย โดยมีเอกลักษณ์ของการใช้ภาษาแบบไทย เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของการประดิษฐ์สร้างสรรค์วรรณคดี และเป็นสาเหตุประการสำคัญที่ทำให้ลักษณะวรรณคดีของชาติในแต่ละยุคแตกต่างกัน วรรณคดีไทยที่ปรากฎขึ้นในสมัยสุโขทัยเมื่อพุทธศตวรรษที่ 19 มีลักษณะที่สอดคล้องกับเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นตอนที่ชาวไทย หรือชาวสยาม ได้เริ่มพัฒนาภาษาของตนขึ้นอย่างมีเอกลักษณ์ แตกต่างไปจากภาษาของชนที่พูดภาษาไท-กะไดเผ่าอื่น โดยเริ่มมีหลักฐานปรากฎชัดราวสมัยที่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี และเริ่มการปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง คนไทยกำลังแสวงหาลักษณะเฉพาะของชาติ วรรณคดีสุโขทัยก็ได้สะท้อนความจริงนี้ และได้บันทึกถึงสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นต้นเค้าของลักษณะไทย เช่น การบันทึกในศิลาจารึกเรื่องการประดิษฐ์ตัวอักษรไทย โดยพระเจ้ารามคำแหงมหาราช กษัตริย์องค์ที่สาม เมื่อ..

30 ความสัมพันธ์: พรรณไม้ในวรรณคดีพระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)พระสุนทรโวหาร (ภู่)กลบทบัวบานกลีบขยายกามเทพกุมารทองกุสุมา รักษมณีมาร (ศาสนาพุทธ)รายการสาขาวิชาวรรณกรรมกรีกโบราณสมุทรโฆษคำฉันท์สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)อิลราชคำฉันท์จังหวัดราชบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจูเลี่ยม กิ่งทองขุนแผนฉันท์ประพจน์ อัศววิรุฬหการประคอง นิมมานเหมินท์นักพรตนักสิทธิ์แก้วหน้าม้าไทยศึกษาเรือหลวงพลายชุมพลเรือหลวงมัจฉาณุเรือหลวงวิรุณเรือหลวงสินสมุทรเสือโคคำฉันท์เงาะป่า (วรรณคดี)

พรรณไม้ในวรรณคดี

พรรณไม้ในวรรณคดี หมายถึงไม้ประเภทต่าง ๆ ที่มีชื่อปรากฏอยู่ในวรรณกรรมของไทย โดยเฉพาะประเภทวรรณคดี ซึ่งจะบอกได้ถึงความสำคัญของธรรมชาติ และความสวยงามของพรรณพืชไม้ ที่มีความสัมพันธ์ต่อวัฒนธรรม และสังคมไทยมาช้านาน ดอกไม้ในวรรณคดีไทย หมายถึงดอกไม้ที่บรรดากวีไทยท่านได้พรรณนาไว้เป็นบทร้อยกรองอย่างไพเราะในหนังสือวรรณคดี เช่น รามเกียรติ์ อิเหนา เงาะป่า ดาหลัง ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี บทเห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก กาพย์ห่อนิราศธารทองแดง นิราศหริภุญชัย นิราศพระประถม นิราศสุพรรณ นิราศเมืองแกลง นิราศภูเขาทอง นิราศอิเหนา นิราศวัดเจ้าฟ้า ลิลิตพระลอ ลิลิตตะเลงพ่าย ถือเป็นความสามารถเฉพาะตัวของกวีไทย ที่ได้พรรณนาชื่อดอกไม้หลายชนิดไว้อย่างไพเราะ ทั้งลักษณะ สีสัน กลิ่น ทำให้ผู้อ่านเกิดมโนภาพ ประทับใจ เหมือนได้ไปอยู่ ณ ที่นั้นด้วย.

ใหม่!!: วรรณกรรมไทยและพรรณไม้ในวรรณคดี · ดูเพิ่มเติม »

พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)

อำมาตย์เอก พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) (10 พฤษภาคม พ.ศ. 2422 - 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2484) เป็นนักเขียน ผู้เชี่ยวชาญทางภาษาไทย ท่านใช้นามปากกาหลายนาม ที่รู้จักกันแพร่หลาย คือ "อ.น.ก.", "อุนิกา", "อนึก คำชูชีพ" และเป็นผู้ริเริ่มคำทักทายคำว่า "สวัสดี" และยังเป็นผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาทางการแพทย์หรือที่เรียกว่าอาจารย์ใหญ่ เป็นท่านแรกของประเทศไทย โดยกล่าวว่า "ฉันเป็นครู ตายแล้วขอเป็นครูต่อไป".

ใหม่!!: วรรณกรรมไทยและพระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) · ดูเพิ่มเติม »

พระสุนทรโวหาร (ภู่)

ระสุนทรโวหาร นามเดิม ภู่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สุนทรภู่ (26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 - พ.ศ. 2398) เป็นอาลักษณ์ชาวไทยที่มีชื่อเสียงเชิงกวี ได้รับยกย่องเป็น เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย เกิดหลังจากตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ 4 ปี และได้เข้ารับราชการเป็นอาลักษณ์ราชสำนักในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อสิ้นรัชกาลได้ออกบวชเป็นเวลาร่วม 20 ปี ก่อนจะกลับเข้ารับราชการอีกครั้งในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นอาลักษณ์ในสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร ซึ่งเป็นตำแหน่งราชการสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิต สุนทรภู่เป็นกวีที่มีความชำนาญทางด้านกลอน ได้สร้างขนบการประพันธ์กลอนนิทานและกลอนนิราศขึ้นใหม่จนกลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางสืบเนื่องมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ผลงานที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่มีมากมายหลายเรื่อง เช่น นิราศภูเขาทอง นิราศสุพรรณ เพลงยาวถวายโอวาท กาพย์พระไชยสุริยา และ พระอภัยมณี เป็นต้น โดยเฉพาะเรื่อง พระอภัยมณี ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีประเภทกลอนนิทาน และเป็นผลงานที่แสดงถึงทักษะ ความรู้ และทัศนะของสุนทรภู่อย่างมากที่สุด งานประพันธ์หลายชิ้นของสุนทรภู่ได้รับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอนนับแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน เช่น กาพย์พระไชยสุริยา นิราศพระบาท และอีกหลาย ๆ เรื่อง ปี..

ใหม่!!: วรรณกรรมไทยและพระสุนทรโวหาร (ภู่) · ดูเพิ่มเติม »

กลบทบัวบานกลีบขยาย

กลบทบัวบานกลีบขยาย เป็นบทกลอนพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้จารึกไว้ในวัดโพธิ์ (วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม) ดังที่รู้จักกันว่าจารึกวัดโพธิ์ ทรงพระราชนิพนธ์ไว้เป็นบทกลอนสั้นๆ ตามขนบของกลอนกลบท เรียกว่า กลบทบัวบานกลีบขยาย เพื่อเป็นแบบสำหรับกุลบุตรกุลธิดาในชั้นหลังได้ศึกษาวรรณคดีไทยอย่างสะดวกและกว้างขวาง.

ใหม่!!: วรรณกรรมไทยและกลบทบัวบานกลีบขยาย · ดูเพิ่มเติม »

กามเทพ

กามเทพ (สันสกฤต: काम देव กามะ เทวะ) เป็นเทพเจ้าในความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ฮินดู ถือเป็นเทพเจ้าแห่งความรัก (กาม หมายถึง ความรัก ความปรารถนา) มีขอช้างเป็นอาวุธ ในวรรณคดีไทยเรียกว่า ขอกาม มีพรรณนาไว้ในวรรณคดีไทยสมัยอยุธยา กามเทพของอินเดีย มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ อนังคะ (ไร้ตัวตน), กันทรรป, มันมถะ (ผู้กวนหัวใจ), มทนะ (มึนเมา), รติกานตะ (เจ้าแห่งฤดูกาล), ปุษปวาน หรือ กาม ก็มี กามเทพนั้น มักจะบรรยายภาพเป็นชายหนุ่มรูปงาม มีปีก มีอาวุธเป็นคันธรและธนู คันศรนั้นทำมาจากลำอ้อย มีผึ้งตอม และลูกศรประดับด้วยดอกไม้หอม ๕ ชนิด มีสหายเป็นนกดุเหว่า นกแก้ว ผึ้ง ฤดูใบไม้ผลิ และสายลมเอื่อย ทั้งหมดล้วนเป็นสัญลักษณ์ของฤดูใบไม้ผลิ ตามศิวปุราณะ กล่าวว่า กามเทพเป็นโอรสของพระพรหม ตำนานอื่นๆ เช่น สกันธปุราณะ ถือว่ากามเทพเป็นพี่ชายของประสุติ ทั้งสองเป็นโอรสของศตรุป โอรสของพระพรหม แต่ตำนานทั้งหมดเล่าตรงกัน ว่ากามเทพนั้น สมรสกับนางรตี ธิดาของประสุติและทักษะ บางตำนานเชื่อว่ากามเทพยังเคยเป็นอวตารหนึ่งของปรัทยุมนะ โอรสของพระกฤษณะ และนางรุกมิณี.

ใหม่!!: วรรณกรรมไทยและกามเทพ · ดูเพิ่มเติม »

กุมารทอง

ตุ๊กตากุมารทองที่ศาลเจ้าจังหวัดราชบุรี กุมารทอง เป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์ของไทยเกี่ยวกับจิตวิญญาณ ที่มาของกุมารทองมาจากการเลี้ยงภูตผีปีศาจไว้ใช้งาน โดยกุมารทองจะเป็นวิญญาณของเด็กผู้ชาย หากเป็นวิญญาณผู้หญิงที่คนเลี้ยงไว้จะเรียกว่า "โหงพราย" กุมารทองนั้นแรกเริ่มเดิมทีมาจากวิญญาณของเด็กที่ตายในท้องแม่หรือที่เรียกว่าตายทั้งกลม ผู้มีวิชาอาคมจะไปนำพาวิญญาณเด็กนั้นมาเลี้ยงไว้เป็นลูก จากหลักฐานที่พบในเอกสารโบราณระบุถึงการทำกุมารทองสรุปว่า ต้องหาศพที่ตายทั้งกลม แล้วประกอบพิธีกรรมผ่าเอาศพทารกในท้องนั้นมาย่างไฟให้แห้งสนิทก่อนรุ่งอรุณ แล้วจึงลงรักปิดทองให้ทั่ว ด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่ากุมารทอง ต่อมาสภาพสังคมและวัฒนธรรมพัฒนาไปมากขึ้น ทำให้ไม่สามารถสร้างกุมารทองจากศพทารกจริง ๆ ได้ จึงได้มีการดัดแปลงกรรมวิธีการสร้างกุมารทองขึ้น โดยใช้ดินเจ็ดป่าช้าบ้าง ไม้รักซ้อนหรือไม้มะยมบ้าง ไปจนถึงโลหะ มาสร้างเป็นรูปกุมาร แล้วปลุกเสกตั้งจิต ตั้งธาตุทั้ง 4 และเรียกอาการสามสิบสองให้บังเกิดเป็นจิตวิญญาณของเด็กขึ้นมา กุมารทองปัจจุบันนิยมสร้างเป็นรูปเด็ก ลักษณะเป็นเด็กไว้จุก นุ่งโจงกระเบนอย่างโบราณ กลายเป็นเครื่องรางของขลัง เชื่อกันว่าเสมือนมีวิญญาณเด็กอยู่ในรูปกุมารนั้น ผู้บูชาต้องเลี้ยงดูเหมือนลูกของตน ต้องให้ข้าวน้ำเซ่นสรวงและต้องเรียกให้กินข้าวด้วย กล่าวกันว่าหากปฏิบัติดูแลดีกุมารทองก็จะช่วยค้ำคูณ อาทิ ช่วยคุ้มครองป้องกันเจ้าของและครอบครัวจากสิ่งไม่ดีทั้งหลาย ช่วยให้ทำมาค้าขึ้น ไปจนถึงเตือนภัยล่วงหน้าอีกด้วย และจะคอยติดตามเฝ้าระวังบ้านเรือนจากโจรผู้ร้ายและศัตรูไม่ให้มากล้ำกราย ปัจจุบันผู้บูชานิยมไหว้ด้วยน้ำแดง เรื่องราวของกุมารทองถูกกล่าวถึงใน วรรณคดีไทย เช่น ขุนช้างขุนแผน บ้างก็นับลูกกรอก เป็นกุมารทองด้วย เครื่องรางอีกประเภทหนึ่งที่คล้ายกันคือรักยม ทั้งกุมารทองและรักยมปัจจุบันยังมีผู้นิยมบูชากันอยู่ไม่น้อยในสังคมไท.

ใหม่!!: วรรณกรรมไทยและกุมารทอง · ดูเพิ่มเติม »

กุสุมา รักษมณี

ตราจารย์เกียรติคุณ กุสุมา รักษมณี เป็นนักภาษาและวรรณคดี ที่มีความเชี่ยวชาญทั้งภาษาและวรรณคดีสันสกฤต และภาษาและวรรณคดีไทย เคยสอนอยู่ที่ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯ อาจารย์กุสุมามีบทบาทอย่างมากในการนำทฤษฎีวรรณคดีสันสกฤตมาอธิบายวรรณคดีไทย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ กุสุมา รักษมณี หรือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.กุสุมา รักษมณี เกิดเมื่อวันที่ ปัจจุบันเป็นข้าราชการบำนาญ.

ใหม่!!: วรรณกรรมไทยและกุสุมา รักษมณี · ดูเพิ่มเติม »

มาร (ศาสนาพุทธ)

ทวบุตรมารผจญพระพุทธเจ้า มาร (มาร; Mara มาจากรากศัพท์ มรฺ แปลว่า "ตาย" มารจึงแปลว่า "ผู้ทำให้ตาย") หมายถึง เทวดาจำพวกหนึ่ง มีใจบาปหยาบช้าคอยกีดกันไม่ให้ทำบุญ ในวรรณกรรมไทย "มาร" หมายถึง ยักษ์ ด้วย ในพระพุทธศาสนาใช้หมายถึง สิ่งใด ๆ ที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากคุณความดีหรือจากผลที่หมายอันประเสริฐ, สิ่งที่ล้างผลาญคุณความดี, ตัวการที่กำจัดหรือขัดขวางบุคคลมิให้บรรลุ ผลสำเร็จอันดีงาม, พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต),, พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม.

ใหม่!!: วรรณกรรมไทยและมาร (ศาสนาพุทธ) · ดูเพิ่มเติม »

รายการสาขาวิชา

รายชื่อสาขาวิชา หรือ สาขาการศึกษา (Field of study) หมายถึงสาขาความรู้ หรือ การวิจัยที่เปิดสอนในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย คำว่า สาขาวิชา ได้รับการนิยามและยอมรับโดย วารสารวิชาการที่ตีพิมพ์ผลงานวิจัย และโดยสมาคมผู้รู้ (learned societies) และโดยภาควิชาหรือคณะวิชาที่บุคคลผู้อยู่ในสาขาวิชานั้นๆ สังกัด โดยปกติ สาขาการศึกษาต่างๆ มักมีสาขาย่อยหรือแขนงวิชาแตกออกไป เส้นแบ่งระหว่างสาขาย่อยมักยังมีความคลุมเครือและมีกฎเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจน ในยุโรปสมัยกลางซึ่งขณะนั้นยังมีการแบ่งคณะวิชาออกเป็น 4 คณะหรือสายวิชา ได้แก่เทววิทยา การแพทย์ ธรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ และศิลปะ โดยคณะวิชาหลังมีสถานะไม่สูงเท่า 3 สาขาแรก การแบ่งสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยสมัยนั้นมีรากสืบทอดมาจากขบวนการแยกอาณาจักรออกจากศาสนจักร (Secularization) ของมหาวิทยาลัยซึ่งเกิดขึ้นราวสมัยกลาง-ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ประมาณ พ.ศ. 2390 - พ.ศ. 2440) โดยได้เพิ่มวิชาภาษาศาสตร์ที่ไม่ใช่คลาสสิก วรรณคดี และวิชาสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยาและวิศวกรรมศาสตร์เสริมเข้าไปในหลักสูตรแบบประเพณีโบราณ ในต้นคริสต์ศตวรรษ ที่ 20 (ประมาณ พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2475) ได้มีการเพิ่มสาขาวิชาใหม่ๆ เช่น การศึกษา สังคมวิทยา และจิตวิทยา ในมหาวิทยาลัยต่างๆ และในช่วงประมาณ พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2523) ได้เกิดปรากฏการณ์ "การระเบิด" ของสาขาวิชาใหม่ๆ ที่เน้นเนื้อหาเฉพาะเจาะจง เช่น สื่อศึกษา สตรีศึกษา และชนผิวดำศึกษา สาขาใหม่ๆ เหล่านี้จัดขึ้นในมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับอาชีพและวิชาชีพต่างๆ เช่น การพยาบาล การจัดการโรงพยาบาล การราชทัณฑ์ และหลังสุดก็ได้เห็นสาขาวิชาที่เป็นลักษณะ "สหสาขาวิชา" เช่น ชีวเคมี และ ธรณีฟิสิกส์เกิดเพิ่มขึ้นและได้รับการยอมรับว่าสาขาวิชาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ได้ช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้กว้างขวางขึ้น เครื่องหมายดอกจัน * แสดงเป็นหมายเหตุว่าสาขาวิชานั้นยังเป็นที่ถกเถียงถึงสถานภาพว่าควรนับไว้ในสายวิชาใด เช่น วิชามานุษยวิทยา และวิชาภาษาศาสตร์ควรจัดไว้ในกลุ่มสังคมศาสตร์ หรือ มนุษยศาสตร์ เป็นที่สังเกตได้ว่าบางท่าน โดยเฉพาะนักทฤษฎีวิจารณ์มักให้ความสำคัญในการบ่งชี้การจัดกลุ่มที่เข้มงวดในทุกสายวิชา รวมทั้งความชัดเจนของโครงสร้างของแนวคิดโดยรวมของแต่ละวิชาซึ่งยังเป็นถกเถียงได้มากสำหรับบางคน.

ใหม่!!: วรรณกรรมไทยและรายการสาขาวิชา · ดูเพิ่มเติม »

วรรณกรรมกรีกโบราณ

หน้ากระดาษจากหนังสือเรื่อง ''งานและวัน'' ของเฮสิโอด ฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. 1539 วรรณกรรมกรีกโบราณ คือ วรรณคดีที่เขียนด้วยภาษากรีกโบราณ ตั้งแต่สมัยที่เริ่มมีการจารึกเป็นภาษากรีกต่อมาจนถึงสมัยจักรวรรดิไบเซนไทน์ งานวรรณคดีภาษากรีกที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลือตกทอดมา คือ มหากาพย์สองเรื่องที่กวีโฮเมอร์รจนาขึ้นในยุคอาร์เคอิก หรือประมาณศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล ได้แก่ อีเลียด และโอดิสซี ซึ่งเล่าเหตุการที่เกิดขึ้นในยุคขุนศึกของอารยธรรมไมซีนี มหากาพย์สองเรื่องนี้ กับงานเขียนร้อยกรองในยุคเดียวกัน ได้แก่ เพลงสวดโฮเมอริค (Homeric Hymns) และบทกวีอีกสองเรื่องของเฮสิโอด คือ ธีออโกนี (Theogony) และ งานและวัน (works and days) ถือได้ว่าเป็นทั้งจุดเริ่มต้นและรากฐานของธรรมเนียมทางวรรณกรรมของชาวกรีก สืบต่อไปถึงยุคคลาสสิค, สมัยอารยธรรมเฮเลนิสติก และยังเป็นรากฐานให้กับวรรณคดีของชาวโรมันอีกด้วย งานวรรณกรรมกรีกโบราณ เริ่มต้นขึ้นจากบทกวีขับร้องประกอบการเล่นดนตรีอย่างเช่น มหากาพย์ของโฮเมอร์ และบทกวีไลริค (lyric poetry) ซึ่งมีกวีนามอุโฆษ เช่น แซพโพ อัลซีอัส และพินดาร์ เป็นแบบอย่างที่มีอิทธิพลในช่วงยุคบุกเบิกของศิลปะทางกวีนิพนธ์ ต่อมามีการพัฒนาศิลปะการละครขึ้น งานนาฏกรรมบทละครที่ตกทอดมาได้แก่ของ เอสคิลัส (ราว 525-456 ก.คริสต์) ซอโฟคลีส (497-406 ก.คริสต์) ยูริพิดีส (480-406 ก.คริสต์) และอริสโตฟานีส (446-436 ก.คริสต์) ในบรรดานาฏศิลปินทั้งสี่ เอสคิลัสเป็นนักประพันธ์ละครคนแรกสุดที่มีงานตกทอดมาถึงเราอย่างสมบูรณ์ ซอโฟคลีสเป็นนักแต่งบทละครที่มีชื่อเสียงจากงานโศกนาฏกรรมไตรภาคเกี่ยวกับอีดิปัส โดยเฉพาะเรื่องพระเจ้าอีดิปัส (Oedipus Rex) และแอนติโกเน่ฯ ยูริพิดีสมีชื่อเสียงจากการสร้างงานประพันธ์ที่พยายามท้าทายขอบเขตของโศกนาฏกรรม ส่วนนักประพันธ์สุขนาฏกรรม (หรือ หัสนาฏกรรม) อริสโตฟานีสมีปรีชาสามารถในสาขางานสุขนาฏกรรมแบบดั้งเดิม (old comedy) ในขณะที่เมแนนเดอร์เป็นผู้บุกเบิกสุขนาฏกรรมใหม่ ภาพวาดจากซีนในบทสนทนา ซิมโพเซียม (ปรัชญาว่าด้วยความรัก) ของเพลโต (Anselm Feuerbach, 1873) สำหรับงานร้อยแก้วมีเฮโรโดตัส และธิวซิดิดีส เป็นผู้บุกเบิกงานเขียนทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับกรีซในช่วงศตวรรษที่ 5 (และความเป็นมาก่อนหน้านั้น) ซึ่งเป็นช่วงที่ทั้งสองท่านมีชีวิตอยู่ เพลโตถ่ายทอดความคิดเชิงปรัชญาผ่านบทสนทนา ซึ่งมีโสเครตีสผู้เป็นอาจารย์ของท่านเป็นจุดศูนย์กลาง ในขณะที่อริสโตเติ้ลลูกศิษย์ของเพลโตบุกเบิกสาขาปรัชญาใหม่ๆ รวมทั้งพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์หลายแขนง รวมทั้งการจำแนกหมวดหมู่สัตว์ และทฤษฎีทางกลศาสตร์ซึ่งเป็นชุดความรู้ที่สังคมตะวันตกยึดถือกันต่อมาอีกเกือบสองพันปีจนกระทั่งถูกเปลี่ยนแปลงในสมัยของไอแซก นิวตัน.

ใหม่!!: วรรณกรรมไทยและวรรณกรรมกรีกโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

สมุทรโฆษคำฉันท์

มุทรโฆษคำฉันท์ เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องจาก วรรณคดีสโมสร ในสมัยรัชกาลที่ 6 ว่าเป็นเรื่องที่แต่งดีเป็นเยี่ยมในกระบวนคำฉันท์ เป็นวรรณกรรมขนาดย่อม มีความยาว ของเนื้อเรื่อง 2,218 บท (นับรวมแถลงท้ายเรื่อง 21 บท) กับโคลงท้ายเรื่องอีก 4 บท สมุทรโฆษคำฉันท์นับเป็นหนึ่งในวรรณคดีไทย ที่มีประวัติอันยาวนาน สืบเนื่องมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา จวบจนถึงช่วงต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีเนื้อหาแบบนิยายไทยทั่วไป ที่มีความรักและการพลัดพราก กวีได้สอดแทรกขนบการแต่งเรื่องไว้อย่างสมบูรณ์ ขณะเดียวกัน นักประวัติศาสตร์ยังใช้วรรณคดีเล่มนี้สำหรับการอ้างอิงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ด้านขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมด้ว.

ใหม่!!: วรรณกรรมไทยและสมุทรโฆษคำฉันท์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

มเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ นามเดิม ช่วง บุนนาค (พ.ศ. 2351 – พ.ศ. 2425) เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ของสยามในสมัยรัตนโกสินทร์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการเมืองการปกครองของสยาม โดยเริ่มเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งนับเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่ง "สมเด็จเจ้าพระยา" เป็นคนสุดท้าย นอกจากนี้ ท่านยังมีบทบาทในการอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองสิริราชสมบัติและได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2416 ด้วย นอกจากด้านการปกครองแล้ว ท่านยังมีบทบาทสำคัญในด้านวรรณกรรม การละคร และดนตรี รวมถึงเป็นแม่กองในการก่อสร้าง บูรณะ ซ่อมแซม สถานที่ต่าง ๆ มากมาย เช่น พระนครคีรี พระอภิเนาว์นิเวศน์ คลองผดุงกรุงเกษม เป็นต้น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มีชีวิตยืนยาวถึง 5 รัชกาล ตั้งแต่เกิดในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และถึงแก่พิราลัยด้วยโรคลมขณะที่กำลังเดินทางกลับจากราชบุรี เมื่อ พ.ศ. 2425 ในสมัยต้นรัชกาลที่ 5 โดยมีอายุยืนยาวถึง 74 ปี.

ใหม่!!: วรรณกรรมไทยและสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) · ดูเพิ่มเติม »

อิลราชคำฉันท์

อิลราชคำฉันท์ เป็น วรรณคดี คำฉันท์ที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี มีความไพเราะ และนิยมใช้เป็นแบบอย่างในการแต่งคำฉันท์มาช้านาน แม้จะมีความยาวเพียง 329 บท ตีพิมพ์เป็นหนังสือเล่มเล็กเพียง 36 หน้ากระดาษเท่านั้น นับเป็นคำฉันท์อีกเรื่องหนึ่งที่นักศึกษาวรรณคดีเอ่ยถึงเสมอ ผู้ประพันธ์อิลราชคำฉันท์คือ มหาเสวกตรี พระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน สาลักษณ) แต่งเมื่อครั้งยังมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวง ที่ หลวงสารประเสร.

ใหม่!!: วรรณกรรมไทยและอิลราชคำฉันท์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดราชบุรี

ราชบุรี เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตก โดยเป็นศูนย์กลางในด้านอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร เช่น มะพร้าว ชมพู่ ฝรั่ง มะม่วง และการปศุสัตว์ของประเทศ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางในด้านพลังงานของประเทศในปัจจุบัน โดยมีเมืองราชบุรีเป็นศูนย์กลางด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และการคมนาคมในภูมิภาค ทิศเหนือติดต่อจังหวัดกาญจนบุรี ทิศใต้ติดต่อจังหวัดเพชรบุรี ทิศตะวันออกติดต่อจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดนครปฐม และทิศตะวันตกติดต่อประเทศพม.

ใหม่!!: วรรณกรรมไทยและจังหวัดราชบุรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสุพรรณบุรี

รรณบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานคร 107 กิโลเมตร จังหวัดที่อยู่ติดกัน (จากทิศเหนือ วนตามเข็มนาฬิกา) ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม และกาญจนบุรี.

ใหม่!!: วรรณกรรมไทยและจังหวัดสุพรรณบุรี · ดูเพิ่มเติม »

จูเลี่ยม กิ่งทอง

250px จูเลี่ยม กิ่งทอง หรือ จูเลี่ยม มีแก้ว นายหนังตะลุงนามกระเดื่องทั่วภาคใต้ เกิดเมื่อปี..

ใหม่!!: วรรณกรรมไทยและจูเลี่ยม กิ่งทอง · ดูเพิ่มเติม »

ขุนแผน

อนุสาวรีย์ขุนแผน ขุนแผน หรือชื่อเดิม พลายแก้ว เป็นตัวเอกของวรรณคดีไทย เรื่อง ขุนช้างขุนแผน.

ใหม่!!: วรรณกรรมไทยและขุนแผน · ดูเพิ่มเติม »

ฉันท์

ฉันท์ เป็นลักษณ์หนึ่งของการประพันธ์ประเภทร้อยกรองในวรรณคดีไทยที่บังคับเสียงหนัก - เบาของพยางค์ ที่เรียกว่า ครุ - ลหุ ฉันท์ในภาษาไทยรับแบบมาจากประเทศอินเดีย ตำราฉันท์ที่เก่าแก่ที่สุดของอินเดียเป็นภาษาสันสกฤต คือ ปิงคลฉันทศาสตร์ แต่งโดยปิงคลาจารย์ ส่วนตำราฉันท์ภาษาบาลีเล่มสำคัญที่สุดได้แก่ คัมภีร์วุตโตทัยปกรณ์ ผู้แต่งคือ พระสังฆรักขิตมหาสามี เถระชาวลังกา แต่งเมื่อ พ.ศ. 1703 เป็นที่มาของ คัมภีร์วุตโตทัย ซึ่งเป็นต้นตำหรับการแต่งฉันท์ของไทยกวีนิพนธ์ไทย ๑ - ๒, สุภาพร มากแจ้ง, กรุงเทพฯ, โอเดียนสโตร์, 2539.

ใหม่!!: วรรณกรรมไทยและฉันท์ · ดูเพิ่มเติม »

ประพจน์ อัศววิรุฬหการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประพจน์ อัศววิรุฬหการ หนือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ เกิดที่จังหวัดอุทัยธานี เป็นนักภาษาศาสตร์และนักอักษรศาสตร์ชาวไทย เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและวรรณคดีบาลีและภาษาสันสกฤต พระไตรปิฎกฉบับภาษาจีน และพระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เคยดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะอักษรศาสตร์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันเป็น กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลั.

ใหม่!!: วรรณกรรมไทยและประพจน์ อัศววิรุฬหการ · ดูเพิ่มเติม »

ประคอง นิมมานเหมินท์

ตราจารย์ ดร.ประคอง นิมมานเหมินท์ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ประคอง นิมมานเหมินท์ (27 พฤษภาคม 2482 -) นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญภาษาไทยและวรรณคดีไทยเป็นผู้บุกเบิกการศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นด้วยการเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง "ลักษณะวรรณกรรมภาคเหนือ" และจากนั้นยังมีผลงานศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมไทยและวรรณกรรมชนชาติไทจำนวนมาก ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์พิเศษ ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นราชบัณฑิต ประจำสำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิต.

ใหม่!!: วรรณกรรมไทยและประคอง นิมมานเหมินท์ · ดูเพิ่มเติม »

นักพรต

นักพรต (monk)กีรติ บุญเจือ, แก่นปรัชญายุคกลาง, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550, หน้า 131 คือผู้บำเพ็ญพรต หรือผู้ประพฤติตามข้อกำหนดการปฏิบัติทางศาสนาเพื่อข่มกาย ใจ ของตนราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: วรรณกรรมไทยและนักพรต · ดูเพิ่มเติม »

นักสิทธิ์

นักสิทธิ์ หมายถึง ผู้สำเร็จด้านจิตวิญญาณ เพราะมีศรัทธาแรงกล้าและคุณธรรมสูงราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมไทย, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 236-7 มาจากคำว่า สิทฺธ ในภาษาสันสกฤต ซึ่งแปลว่าผู้สำเร็.

ใหม่!!: วรรณกรรมไทยและนักสิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

แก้วหน้าม้า

แก้วหน้าม้า เป็นวรรณคดีไทย พระนิพนธ์ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทินกร กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ ประพันธ์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 นอกจากพระนิพนธ์เรื่องนี้แล้ว ยังทรงมีผลงานพระนิพนธ์อื่น ๆ เช่น บทละครนอกเรื่องยอพระกลิ่น โคลงนิราศฉะเชิงเทรา บทละครนอกโม่งป่า และเพลงยาวสังวาสอีกหลายสำนวน.

ใหม่!!: วรรณกรรมไทยและแก้วหน้าม้า · ดูเพิ่มเติม »

ไทยศึกษา

ทยศึกษา หรือ ไทยคดีศึกษา เป็นการศึกษาวิจัยที่รวมรวบผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ เช่นประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา ศาสนศึกษา รัฐศาสตร์ ภาษาไทย วรรณคดีไทย และดนตรีศึกษา เพื่อศึกษาวิจัยในประเด็นเกี่ยวกับประเทศไทยและชาติพันธุ์ไต.

ใหม่!!: วรรณกรรมไทยและไทยศึกษา · ดูเพิ่มเติม »

เรือหลวงพลายชุมพล

รือหลวงพลายชุมพล (HTMS Phlai-chumphon) เป็นเรือดำน้ำประจำกองทัพเรือไทย เป็นประเภทเรือดำน้ำรักษาฝั่ง ขนาดเล็ก (ระวางขับน้ำต่ำกว่า 500 ตัน) ประกอบขึ้นที่อู่ต่อเรือบริษัทมิตซูบิชิ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น พร้อมกันจำนวน 4 ลำ พร้อมกับ เรือหลวงมัจฉาณุ เรือหลวงวิรุณ และเรือหลวงสินสมุทร โดยเรือหลวงพลายชุมพล ประกอบขึ้นพร้อมกับเรือหลวงสินสมุทร แต่มีรูปแบบแตกต่างกัน โดยเรือหลวงสินสมุทร เรือหลวงมัจฉาณุและเรือหลวงวิรุณ 3 ลำ มีลักษณะภายนอกเหมือนกันทุกประการ ต่างจากเรือหลวงพลายชุมพล ชื่อเรือหลวงพลายชุมพล เป็นชื่อพระราชทาน มา ณ วันที่ 30 สิงหาคม..

ใหม่!!: วรรณกรรมไทยและเรือหลวงพลายชุมพล · ดูเพิ่มเติม »

เรือหลวงมัจฉาณุ

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: วรรณกรรมไทยและเรือหลวงมัจฉาณุ · ดูเพิ่มเติม »

เรือหลวงวิรุณ

right เรือหลวงวิรุณ (HTMS Wirun) เป็นเรือดำน้ำประจำกองทัพเรือไทย เป็นประเภทเรือดำน้ำรักษาฝั่ง ขนาดเล็ก (ระวางขับน้ำต่ำกว่า 500 ตัน) ประกอบขึ้นที่อู่ต่อเรือบริษัทมิตซูบิชิ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น พร้อมกันจำนวน 4 ลำ พร้อมกับ เรือหลวงมัจฉาณุ เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงพลายชุมพล ชื่อเรือหลวงวิรุณ เป็นชื่อพระราชทาน มา ณ วันที่ 30 สิงหาคม..

ใหม่!!: วรรณกรรมไทยและเรือหลวงวิรุณ · ดูเพิ่มเติม »

เรือหลวงสินสมุทร

รือหลวงสินสมุทร (HTMS Sinsamut) เป็นเรือดำน้ำประจำกองทัพเรือไทย เป็นประเภทเรือดำน้ำรักษาฝั่ง ขนาดเล็ก (ระวางขับน้ำต่ำกว่า 500 ตัน) ประกอบขึ้นที่อู่ต่อเรือบริษัทมิตซูบิชิ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น พร้อมกันจำนวน 4 ลำ พร้อมกับ เรือหลวงมัจฉาณุ เรือหลวงวิรุณ และเรือหลวงพลายชุมพล โดยเรือหลวงสินสมุทร ประกอบขึ้นพร้อมกับเรือหลวงพลายชุมพล แต่มีรูปแบบแตกต่างกัน โดยเรือหลวงสินสมุทรมีลักษณะภายนอกเหมือนกับเรือหลวงมัจฉาณุและเรือหลวงวิรุณ ทุกประการ ชื่อเรือหลวงสินสมุทร เป็นชื่อพระราชทาน มา ณ วันที่ 30 สิงหาคม..

ใหม่!!: วรรณกรรมไทยและเรือหลวงสินสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

เสือโคคำฉันท์

ือโคคำฉันท์ เป็นวรรณคดีไทย ประเภทฉันท์เรื่องแรก และเป็นแบบฉบับของการแต่งฉันท์ในสมัยต่อมา ซึ่งพระมหาราชครู ภิกษุชาวเชียงใหม่ เป็นผู้แต่ง มีเค้าเรื่องอยู่ในปัญญาสชาดก.

ใหม่!!: วรรณกรรมไทยและเสือโคคำฉันท์ · ดูเพิ่มเติม »

เงาะป่า (วรรณคดี)

งาะป่า เป็นวรรณคดีไทย ประเภท บทละครร้อยกรอง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในระหว่างการพักฟื้นหลังทรงพระประชวร โดยใช้เวลาเพียง 8 วันเท่านั้น.

ใหม่!!: วรรณกรรมไทยและเงาะป่า (วรรณคดี) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

วรรณคดีไทย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »