โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์กระจง

ดัชนี วงศ์กระจง

วงศ์กระจง (Chevrotain, Mouse-deer, Napu; อีสาน: ไก้) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง ในอันดับสัตว์กีบคู่ (Artiodactyla) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tragulidae กระจงถือเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง มีรูปร่างลักษณะทั่วไปคล้ายกับกวาง (Cervidae) มีกระเพาะอาหารแบ่งออกเป็น 4 ส่วน มีการหมักอาหารที่กระเพาะอาหาร แต่กระเพาะห้องที่สามจะลดขนาดลง เหลือไว้เพียงร่องรอยเท่านั้น มีส่วนหัวค่อนข้างเล็ก ไม่มีเขา จะงอยหน้าแหลมและแคบ จมูกไม่มีขน ไม่มีทั้งต่อมที่ใบหน้าและต่อมกับ ขายาวเรียวและเล็ก ตัวผู้ที่โตเต็มวัยมีเขี้ยวงอกจากขากรรไกรบนยาวยื่นออกมาใช้สำหรับป้องกันตัว ส่วนตัวเมียมีเขี้ยวเหมือนกับตัวผู้ แต่มีขนาดเล็กมาก ไม่มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย มีระยะเวลาตั้งท้องนานราว 120–180 วัน ตัวเมียสามารถกลับมาเป็นสัดได้ ใน 7 วันหลังจากออกลูก ออกลูกโดยปกติครั้งละ 1 ตัว ถือได้ว่าเป็นสัตว์กีบที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก ด้วยว่ามีขนาดพอ ๆ กับกระต่ายตัวหนึ่งเท่านั้นเอง พบกระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกาและเอเชีย ในอนุทวีปอินเดีย และเอเชียอาคเนย์ แบ่งออกได้เป็น 3 สกุล 10 ชนิด และสูญพันธุ์ไปแล้วอีก 6 สกุล (ดูในตาราง) สำหรับในประเทศไทย พบ 2 ชนิด คือ กระจงควาย หรือ กระจงใหญ่ (Tragulus napu) และกระจงเล็ก หรือ กระจงหนู (T. kanchil) ซึ่งถือได้เป็นสัตว์กีบที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกด้ว.

8 ความสัมพันธ์: กระจงกระจงชวากระจงควายกระจงเล็กสัตว์เคี้ยวเอื้องอันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้องอันดับสัตว์กีบคู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กระจง

กระจง หรือ ไก้ (Mouse-deer, Chevrotain) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกเคี้ยวเอื้องขนาดเล็กสกุลหนึ่ง จัดอยู่ในสกุล Tragulus (/ทรา-กู-ลัส/) ในวงศ์ Tragulidae โดยคำว่า Tragulus มาจากคำว่า Tragos หมายถึง "แพะ" ในภาษากรีก ขณะที่ ulus ในภาษาละตินหมายถึง "เล็ก" มีน้ำหนักตัวประมาณ 0.7–8.0 กิโลกรัม (1.5–17.6 ปอนด์) มีความยาวประมาณ 40–75 เซนติเมตร (16–30 นิ้ว) จัดเป็นสัตว์กีบคู่ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก แต่ชนิดที่เล็กที่สุดของกระจงก็ยังมีขนาดใหญ่กว่าแอนทีโลปในสกุล Neotragus ในทวีปแอฟริกาNowak, R. M. (eds) (1999).

ใหม่!!: วงศ์กระจงและกระจง · ดูเพิ่มเติม »

กระจงชวา

กระจงชวา (Java mouse-deer) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกเคี้ยวเอื้องขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ Tragulidae รูปร่างหน้าตาคล้ายกระจงชนิดอื่นทั่วไป ขนตามลำตัวสีน้ำตาลแดงบริเวณหน้าอก และใต้ท้องมีแถบสีขาว 3 เส้นขนานไปกับลำตัว ไม่มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย แต่จะมีเขี้ยวงอกมาจากริมฝีปาก โดยเขี้ยวของตัวผู้จะยาวกว่าตัวเมีย มีความยาวลำตัวและหัว 40–48 เซนติเมตร ความยาวหาง 65–80 เซนติเมตร น้ำหนัก 0.7–2 กิโลกรัม มีพฤติกรรมหากินตามลำพัง สามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่หลากหลายได้ มักอาศัยและหากินในบริเวณป่าที่รกชัฏ ในฤดูผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อนอาจจะอาศัยเป็นคู่ ออกหากินทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน โดยมีทางเดินหาอาหารของตัวเอง ซึ่งเรียกว่า "ด่าน" ซึ่งด่านเป็นเพียงทางเดินเล็ก ๆ ปกคลุมด้วยไม้พื้นล่างที่รกทึบ มีนิสัยขี้อายและตื่นตกใจง่าย เมื่อพบศัตรูจะกระโดดหนีไปด้วยความรวดเร็ว มีฤดูผสมพันธุ์ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม ก่อนผสมพันธุ์ตัวเมียจะใช้ขาหลังเคาะที่พื้นราว 8 ที ในเวลา 3 วินาที เมื่อตัวผู้ได้ยินเสียงจะเข้ามาหา ใช้เวลาในการตั้งท้องประมาณ 140 วัน ปกติออกลูกครั้งละ 1 ตัว ในช่วงปลายฤดูฝนที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ พบกระจายพันธุ์บนเกาะชวา และเป็นไปได้ว่าอาจมีที่เกาะบาหลีด้วย หมายเหตุ: เดิมทีกระจงชวาเคยถูกรวมเป็นชนิดเดียวกับ กระจงเล็ก (T. kanchil) ที่พบได้ในประเทศไทย, แหลมมลายู, เกาะบอร์เนียว และสุมาตรา แต่ปัจจุบันได้ถูกแยกออกจากกันMeijaard, I., and C. P. Groves (2004).

ใหม่!!: วงศ์กระจงและกระจงชวา · ดูเพิ่มเติม »

กระจงควาย

กระจงควาย หรือ กระจงใหญ่ (Greater mouse-deer, Napu) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tragulus napu อยู่ในวงศ์ Tragulidae มีขาเล็กเรียว ซึ่งมีนิ้วเท้าข้างละ 4 นิ้ว ทั้งตัวผู้และตัวเมียไม่มีเขา แต่ตัวผู้จะมีเขี้ยวบนยาวเลยริมฝีปากบนลงมา เมื่อโตเต็มวัยมีน้ำหนักตัวประมาณ 5 กิโลกรัม ขนบนตัวสีน้ำตาลออกเทา มีจุดสีเข้มกว่ากระจายอยู่ทั่วไป ที่ใต้คอและบนหน้าอกมีลายพาดตามยาวสีขาว 5 ลาย ด้านใต้ท้องสีขาว หางค่อนข้างสั้นสีน้ำตาลอ่อนด้านบนและสีขาวด้านล่าง ปกติชอบอยู่โดดเดี่ยว นอกจากในฤดูผสมพันธุ์จึงจะอยู่เป็นคู่ ออกหากินในเวลากลางคืน กินอาหารได้แก่ หญ้าอ่อน ๆ, ผลไม้, ยอดไม้ และใบไม้อ่อน ในเวลากลางวันจะหลบพักนอนตามหลืบหินและโพรงไม้ ออกลูกครั้งละ 1 ตัว แต่บางครั้งก็พบออกลูกแฝด ระยะตั้งท้องนานประมาณ 5-6 เดือน พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนใต้ของประเทศพม่า, เทือกเขาตะนาวศรี ไปจนถึงแหลมมลายู, เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว นอกจากนี้แล้วยังพบได้ที่ภาคตะวันออกของไทยไปจนถึงตอนใต้ของกัมพูชาและเวียดนาม จัดเป็นกระจงอีกชนิดหนึ่ง ที่สามารถพบได้ในประเทศไทยนอกจาก กระจงเล็ก (T. kanchil) ที่มีขนาดตัวเล็กกว่า โดยมักอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ บางครั้งยังอาจพบได้ที่พื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น ป่าพรุหรือป่าชายเลนได้อีกด้วย จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 2 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: วงศ์กระจงและกระจงควาย · ดูเพิ่มเติม »

กระจงเล็ก

กระจงเล็ก หรือ กระจงหนู (Lesser mouse-deer, Lesser Malay chevrotain; มลายู: Kanchil) เป็นสัตว์จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กีบคู่ จัดเป็นสัตว์กีบคู่ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก รูปร่างหน้าตาคล้ายเก้งหรือกวาง เป็นกระจงอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย มีขนาดเล็กกว่ากระจงควาย (T. napu) มีความสูงจากกีบเท้าถึงหัวไหล่ 20-23 เซนติเมตร มีลักษณะเด่น คือ ลายแถบสีขาวที่หน้าอกมีแถบเดียว ในขณะที่กระจงควายมี 2 แถบ ในประเทศไทยพบได้ตามแนวป่าตะวันตก, แนวเขาหินปูนภาคกลาง, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ในต่างประเทศพบได้ในลาว, พม่า, ตอนใต้ของจีน, เวียดนาม, บรูไน, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย หมายเหตุ: เดิมทีกระจงเล็กเคยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tragulus javanicus แต่ปัจจุบันชื่อนี้ได้ถูกจำแนกออกไปเป็น กระจงชวา พบในเกาะชวา และบาหลีแทน Meijaard, E., & Groves, C. P. (2004).

ใหม่!!: วงศ์กระจงและกระจงเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เคี้ยวเอื้อง

ัตว์เคี้ยวเอื้อง (ruminant) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในอันดับ Artiodactyla ซึ่งย่อยอาหารที่ประกอบด้วยพืชเป็นหลัก โดยเริ่มจากการย่อยให้นุ่มก่อนในกระเพาะอาหารส่วนแรกของสัตว์นั้น ซึ่งเป็นการกระทำของแบคทีเรียเป็นหลัก แล้วจึงสำรอกเอาอาหารที่ย่อยแล้วครึ่งหนึ่งออกมา เรียกว่า เอื้อง (cud) ค่อยเคี้ยวอีกครั้ง ขบวนการเคี้ยวเอื้องอีกครั้งเพื่อย่อยสลายสารที่มีอยู่ในพืชและกระตุ้นการย่อยอาหารนี้ เรียกว่า "การเคี้ยวเอื้อง" (ruminating) มีสัตว์เคี้ยวเอื้องอยู่ราว 150 สปีชีส์ ซึ่งมีทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เคี้ยวเอื้องมีทั้งปศุสัตว์ แพะ แกะ ยีราฟ ไบซัน กวางมูส กวางเอลก์ ยัค กระบือ กวาง อูฐ อัลปากา ยามา แอนทิโลป พรองฮอร์น และนิลกาย ในทางอนุกรมวิธาน อันดับย่อย Ruminanti มีสัตว์ทุกสปีชีส์ที่กล่าวมาข้างต้น ยกเว้นอูฐ ลามาและอัลปากา ซึ่งอยู่ในอันดับย่อย Tylopoda ดังนั้น คำว่า "สัตว์เคี้ยวเอื้อง" จึงมิได้มีความหมายเหมือนกับ Ruminantia คำว่า "ruminant" มาจากภาษาละตินว่า ruminare หมายถึง "ไตร่ตรองถี่ถ้วนอีกครั้ง" (to chew over again).

ใหม่!!: วงศ์กระจงและสัตว์เคี้ยวเอื้อง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้อง

ัตว์เคี้ยวเอื้อง (ruminant) เป็นอันดับย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์กีบคู่ (Artiodactyla) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ruminantia สัตว์เคี้ยวเอื้องประกอบไปด้วยสัตว์ส่วนใหญ่ในอันดับนี้ ได้แก่ วัว, ควาย, แพะ, แกะ, กวาง และแอนทิโลป ลักษณะร่วมของสัตว์เคี้ยวเอื้อง ก็คือ มี กระเพาะ 4 ห้อง ที่เมื่อกินอาหารไปแล้ว คือ หญ้า คายออกมาเคี้ยวอย่างช้า ๆ อีกครั้งในเวลากลางคืน ก่อนจะถูกนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โดยกระเพาะของสัตว์เคี้ยวเอื้องจะแบ่งออกเป็น 4 ห้อง คือ Rumen (ผ้าขี้ริ้ว), Reticulum (รังผึ้ง), Omasum (สามสิบกลีบ) และ Abomasum (กระเพาะแท้ หรือกระเพาะจริง).

ใหม่!!: วงศ์กระจงและอันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้อง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับสัตว์กีบคู่

อันดับสัตว์กีบคู่ เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Artiodactyla (/อา-ทิ-โอ-แดค-ทิ-ล่า/) มีลักษณะเด่น คือ มีนิ้วเท้าที่เป็นกีบที่เป็นคู่ แตกต่างไปจากสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์กีบคี่ (Perissodactyla) ซึ่งมีกีบนิ้วเท้าเป็นจำนวนคี่ ทั้งสองอันดับล้วนแต่เป็นสัตว์กินพืช ที่จะกินพืชลักษณะแตกต่างกันออกไปตามสกุลและวงศ์ หรือชนิด กระจายพันธุ์ออกไปในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นโอเชียเนีย ปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 10 วงศ์ ราว 220 ชนิด โดยแบ่งออกได้เป็น 3 อันดับย่อย โดยแบ่งตามลักษณะของกระเพาะอาหาร โดยแบ่งออกเป็นห้อง ๆ หรือส่วน คือ.

ใหม่!!: วงศ์กระจงและอันดับสัตว์กีบคู่ · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

ใหม่!!: วงศ์กระจงและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Tragulidae

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »