โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ราชวงศ์ซาวอย

ดัชนี ราชวงศ์ซาวอย

ราชวงศ์ซาวอย (Casa Savoia, House of Savoy) เป็นราชตระกูลที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1003ในภูมิภาคประวัติศาสตร์ซาวอย ราชตระกูลขยายตัวและรุ่งเรืองขึ้นจากราชตระกูลที่ปกครองอาณาจักรเคานท์ในบริเวณซาวอยไปจนในที่สุดก็ได้ปกครองราชอาณาจักรอิตาลีจนกระทั่งปลายสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อตำแหน่งพระมหากษัตริย์อิตาลีถูกยุบเลิกในปี ค.ศ. 1946 ราชวงศ์ซาวอยเป็นราชตระกูลที่เก่าที่สุดในโลก, ฝรั่งเศส, สเปน และ โครเอเชี.

55 ความสัมพันธ์: ชาร์ล็อตต์แห่งซาวอย สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสชุดกีฬาฟุตบอลพระมหากษัตริย์อิตาลีพระเจ้าวิตโตรีโอ อาเมเดโอที่ 2 แห่งซาร์ดิเนียพระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 แห่งอิตาลีกามิลโล เบนโซ เคานต์แห่งกาวูร์การเลิกล้มราชาธิปไตยการเสกสมรสระหว่างราชวงศ์มารี-โฌเซฟีนแห่งซาวอย สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสมาร์ชาเรอาเลดอร์ดีนันซามาเรีย ฟรานซิสกาแห่งซาวอย สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกสรัชทายาทที่ได้รับสมมุติราชวงศ์ราชอาณาจักรอิตาลีราชอาณาจักรซาร์ดิเนียรายพระนามพระมหากษัตริย์สเปนรายพระนามพระมหากษัตริย์อาร์เมเนียรายพระนามจักรพรรดิเอธิโอเปียรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์กรีซรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์สเปนรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์ออสเตรียรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์อิตาลีรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์โปรตุเกสรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระประมุขแห่งลักเซมเบิร์กศิลป์ พีระศรีสมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปนสมเด็จพระราชินีนาถอีซาเบลที่ 2 แห่งสเปนสมเด็จพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2 แห่งอิตาลีสถาปัตยกรรมบาโรกอิลกันโตเดลยีอีตาเลียนีธงชาติอิตาลีดัชชีมันโตวาดัชชีซาวอยตราแผ่นดินของฟิลิปปินส์ซาวอยซาวอย (แก้ความกำกวม)ปัญหาเยอรมันโจวันนาแห่งอิตาลี สมเด็จพระราชินีแห่งบัลแกเรียโจวีเนซซาเจ้าชายยูจีนแห่งซาวอยเจ้าชายวิตตอรีโอ เอมานูเอเล เจ้าชายแห่งเนเปิลส์เจ้าชายสืบสายพระโลหิตเจ้าชายอะเมเดโอ ดยุกที่ 5 แห่งโอสตาเจ้าชายอาเมเดโอแห่งซาวอย-เอออสตา ดยุคแห่งเอออสตาที่ 3เจ้าชายไอโมน ดยุกที่ 4 แห่งโอสตาเจ้าชายไอโมน ดยุกแห่งอาพูเลียเจ้าชายเลกาที่ 1 มกุฎราชกุมารแห่งแอลเบเนียเจ้าชายเลกาที่ 2 มกุฎราชกุมารแห่งแอลเบเนียเจ้าชายเอมานูเอเล ฟีลีแบร์โตแห่งซาวอย เจ้าชายแห่งเวนิซเจ้าหญิงมารี-โจเซแห่งเบลเยียม...เจ้าหญิงมารีอา กาเบรียลลาแห่งซาวอยเจ้าหญิงมารีอา อันนาแห่งซาวอยเจ้าหญิงมารีนา เจ้าหญิงแห่งเนเปิลส์เจ้าหญิงคลอทิลด์ เจ้าหญิงแห่งเวนิซเจ้าหญิงโอลกา ดัชเชสแห่งอาพูเลีย ขยายดัชนี (5 มากกว่า) »

ชาร์ล็อตต์แห่งซาวอย สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส

ร์ล็อตต์แห่งซาวอย สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส (Charlotte de Savoie; Charlotte of Savoy) (ค.ศ. 1443 - 1 ธันวาคม ค.ศ. 1483) ชาร์ล็อตต์แห่งซาวอยเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสในพระเจ้าหลุยส์ที่ 11 แห่งฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1461 - 30 สิงหาคม ค.ศ. 1483 ชาร์ล็อตต์แห่งซาวอยประสูติเมื่อ ค.ศ. 1443 เป็นพระธิดาในหลุยส์ ดยุคแห่งซาวอย และแอนน์แห่งไซปรัส พระอัยกีทางพระมารดาเป็นธิดาของจอห์นที่ 1 เคานท์แห่งลามาร์ช (John I, Count of La Marche) และแค็ทเธอรินแห่งแวงโดม ชาร์ล็อตต์เสกสมรสกับมกุฎราชกุมารหลุยส์ผู้เป็นพระราชโอรสองค์โตในพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 เมื่อวันที่ 14 กุมภาพัน..

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและชาร์ล็อตต์แห่งซาวอย สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ชุดกีฬาฟุตบอล

ในปี ค.ศ. 2006 ของปาเวล เนดเวต สวมชุดกีฬาฟุตบอลในแบบปัจจุบัน ในกีฬาฟุตบอล ชุดกีฬา หมายถึง อุปกรณ์มาตรฐานและเครื่องแต่งกายของนักฟุตบอล ในภาษาอังกฤษ สำเนียงบริเตนใช้คำว่า "kit" หรือ "strip" และสำเนียงอเมริกันใช้คำว่า "uniform" ตามกติกานั้นกำหนดให้ใช้ชุดกีฬา และห้ามไม่ให้สวมใส่สิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองและผู้เล่นอื่น ในการแข่งขันแต่ละแห่งนั้นอาจระบุเงื่อนไขเฉพาะ เช่น กฎบังคับด้านขนาดของโลโก้ที่แสดงบนเสื้อและกล่าวว่า ในการแข่งขันแต่ละนัดระหว่าง 2 ทีมนั้น หากสีของชุดกีฬาเหมือนหรือคล้ายกัน ทีมเยือนจะต้องเปลี่ยนไปเป็นอีกชุด โดยปกติแล้วนักฟุตบอลจะมีหมายเลขอยู่ด้านหลังของเสื้อ โดยทีมแรกจะสวมเสื้อตั้งแต่หมายเลข 1 ถึง 11 เพื่อให้พอสอดคล้องกับตำแหน่งการเล่น แต่ในระดับอาชีพแล้ว หมายเลขของผู้เล่นเข้าใหม่มักจะถูกกำหนดจากหมายเลขของผู้เล่นคนอื่นในทีม ซึ่งผู้เล่นแต่ละคนในทีมจะถูกกำหนดหมายเลขตายตัวในฤดูกาลนั้น ๆ สโมสรอาชีพมักจะแสดงนามสกุลหรือชื่อเล่นบนเสื้อ อาจจะอยู่เหนือ (มีบางครั้งที่อยู่ต่ำกว่า) หมายเลขเสื้อ ชุดฟุตบอลนั้นมีการพัฒนา แต่เดิมผู้เล่นจะสวมเสื้อผ้าฝ้ายหนา ๆ กางเกงทรงหลวมยาวถึงเข่าและรองเท้าหนังแข็ง ๆ หนัก ๆ ต่อมาในศตวรรษที่ 20 รองเท้าเบาและอ่อนลง ส่วนกางเกงสั้นลง และการพัฒนาด้านการผลิตเสื้อผ้าและการพิมพ์ ได้มีการผลิตเสื้อใยสังเคราะห์ที่เบาลง พร้อมกับการออกแบบที่มีสีสันและซับซ้อนขึ้น เมื่อการเติบโตของการโฆษณาในศตวรรษที่ 20 ทำให้เกิดโลโก้ของผู้สนับสนุนบนเสื้อผ้า และมีการผลิตเสื้อให้แฟนฟุตบอลได้ซื้อหากัน ก่อให้เกิดรายได้จำนวนมากสู่สโมสร.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและชุดกีฬาฟุตบอล · ดูเพิ่มเติม »

พระมหากษัตริย์อิตาลี

มงกุฎเหล็กแห่งลอมบาร์เดียที่ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 พระมหากษัตริย์อิตาลี (rex Italiae, re d'Italia, King of Italy) เป็นตำแหน่งที่ใช้สำหรับประมุขผู้ครองคาบสมุทรอิตาลีมาตั้งแต่การล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน แต่ก็ไม่มีพระมหากษัตริย์องค์ใดที่ปกครองคาบสมุทรอิตาลีทั้งหมดมาจนถึง สมเด็จพระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 2 ในปี..

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและพระมหากษัตริย์อิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าวิตโตรีโอ อาเมเดโอที่ 2 แห่งซาร์ดิเนีย

มเด็จพระเจ้าวิคเตอร์ อมาเดอุสที่ 2 แห่งซาร์ดิเนีย หรือ วิกเตอร์ อมาเดอุสที่ 2 แห่งซาวอย (อังกฤษ:Victor Amadeus II of Savoy) ทรงดำรงตำแหน่งดยุคแห่งซาวอยตั้งแต..

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและพระเจ้าวิตโตรีโอ อาเมเดโอที่ 2 แห่งซาร์ดิเนีย · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 แห่งอิตาลี

ระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 แห่งอิตาลี (Vittorio Emanuele III; 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1869 — 28 ธันวาคม ค.ศ. 1947) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งอิตาลีจากราชวงศ์ซาวอย ครองราชบัลลังก์อิตาลีระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1900 จนถึงวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1946 นอกจากอิตาลีแล้วพระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลยังทรงราชย์เป็นจักรพรรดิแห่งเอธิโอเปียระหว่างปี ค.ศ. 1936 จนถึงปี ค.ศ. 1943 และพระมหากษัตริย์แห่งแอลเบเนียระหว่างปี ค.ศ. 1939 จนถึงปี ค.ศ. 1943 ซึ่งรับรองโดยมหาอำนาจระหว่าง ค.ศ. 1937 ถึง ค.ศ. 1939 อีกด้วย ระหว่างรัชสมัยของพระองค์ก็มีเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นหลายเหตุการณ์ เช่น สงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สอง ตลอดไปจนถึงการสถาปนาและการล่มสลายของฟาสซิสต์ในอิตาลี.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและพระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 แห่งอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

กามิลโล เบนโซ เคานต์แห่งกาวูร์

กามิลโล เบนโซ เคานต์แห่งกาวูร์ เชลลาเรนโก และอีโซลาเบลลา (Camillo Paolo Filippo Giulio Benso, conte di Cavour, di Cellarengo e di Isolabella; 10 สิงหาคม พ.ศ. 2353 - 6 มิถุนายน พ.ศ. 2404) รัฐบุรุษชาวปีดมอนต์ผู้มีบทบาทสำคัญในการรวมรัฐต่าง ๆ ในคาบสมุทรอิตาลีให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของอิตาลี.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและกามิลโล เบนโซ เคานต์แห่งกาวูร์ · ดูเพิ่มเติม »

การเลิกล้มราชาธิปไตย

ในประวัติศาสตร์โลก มีการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ในหลายประเทศทั่วโลก สาเหตุการล่มสลายของราชวงศ์อาจเป็นผลมาจากการปฏิวัติ, การตั้งสาธารณรัฐ, การลงประชามติของประชาชน, การรัฐประหาร หรือจากสงคราม.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและการเลิกล้มราชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

การเสกสมรสระหว่างราชวงศ์

250px 250px การเสกสมรสระหว่างราชวงศ์ (royal intermarriage) คือการแต่งงานระหว่างสมาชิกของราชวงศ์ผู้ปกครองสองราชวงศ์ ซึ่งในอดีตถือเป็นยุทโธบายทางการทูตที่ใช้กันโดยทั่วไปเพื่อผลประโยชน์ของชาติ ในบางครั้งการเสกสมรสนี้เกิดขึ้นด้วยการบังคับใช้กระบวนการทางกฎหมายต่อบุคคลผู้สืบเชื้อสายราชวงศ์ และในหลาย ๆ ครั้งเกี่ยวข้องกับนโยบายทางการเมืองและ/หรือขนบธรรมเนียมของระบอบราชาธิปไตยเสียเป็นส่วนใหญ่ ในทวีปยุโรป การเสกสมรสในลักษณะนี้เป็นที่แพร่หลายอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงตั้งแต่สมัยกลางจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในขณะที่หลักฐานของการเสกสมรสระหว่างราชวงศ์ในส่วนอื่น ๆ ของโลก สามารถสืบค้นย้อนไปได้ไกลที่สุดถึงยุคสัมฤทธิ์ ซึ่งบ่อยครั้งที่พระมหากษัตริย์ในอดีตมักจะพยายามแผ่ขยายราชวงศ์ของพระองค์ออกไปทั้งในและนอกประเทศ ดังนั้นสายสัมพันธ์ทางเครือญาติซึ่งเกิดจากการเสกสมรสนี้ จึงเป็นปัจจัยที่ช่วยทั้งกระตุ้นและยับยั้งความขัดแย้งและการรุกรานระหว่างรัฐBucholz, p.228 ทั้งยังช่วยริเริ่ม ส่งเสริม และรับประกันสันติภาพระหว่างรัฐได้อีกด้วย นอกจากนี้สายสัมพันธ์ทางเครือญาติจากการเสกสมรสยังสามารถรักษามิตรไมตรีของสองราชวงศ์ ที่ต่างพยายามหลีกเลี่ยงภัยคุกคามจากการรุกรานและความขัดแย้งอันมีชนวนเหตุมาจากการยุยงของราชวงศ์ที่สาม พร้อมเสริมสร้างโอกาสที่จะผนวกรวมดินแดนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของตนจากการอ้างสิทธิ์ทางกฎหมายเหนือราชบัลลังก์ หรือแม้กระทั่งการอ้างสิทธิ์เหนือส่วนหนึ่งของรัฐ เช่น อาณานิคม ผ่านการรับช่วงสืบทอดอำนาจการปกครองในกรณีที่รัฐนั้นเกิดปัญหาไร้รัชทายาทสืบทอดราชบัลลังก์ หรือในกรณีที่พระมหากษัตริย์องค์ก่อนหน้าไม่มีรัชทายาทเพศชายไว้สืบทอดราชสมบัติโดยปราศจากข้อกังขาได้ ในบางส่วนของทวีปยุโรป ราชวงศ์ต่าง ๆ ยังคงนิยมเสกสมรสระหว่างกันเป็นปกติ (สมาชิกราชวงศ์เสกสมรสกับตระกูลขุนนางต่าง ๆ ภายในรัฐ) ไปจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 16 และนับแต่นั้นเป็นต้นมา จึงเริ่มหันมานิยมการเสกสมรสระหว่างราชวงศ์ของรัฐอธิปไตยต่าง ๆ มากขึ้น แต่ในส่วนอื่น ๆ ของโลก การเสกสมรสเช่นนี้กลับได้รับความนิยมน้อยกว่ามากและเริ่มลดจำนวนลงตามกาลเวลาที่ผ่านไป หรือแปรเปลี่ยนไปตามขนบธรรมเนียมและนโยบายการต่างประเทศในขณะนั้น.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและการเสกสมรสระหว่างราชวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

มารี-โฌเซฟีนแห่งซาวอย สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส

เจ้าหญิงมารี-โฌเซฟีนแห่งซาวอย เคาน์เตสแห่งพรอว็องส์ หรือ สมเด็จพระราชินีมารี-โฌเซฟีนแห่งฝรั่งเศส (Marie-Joséphine de Savoie) เป็นพระมเหสีในพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส และเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส พระนางเป็นพระราชธิดาในพระเจ้าวิตโตรีโอ อามาเดโอที่ 3 แห่งซาร์ดิเนียและมารีอา อันโตเนีย เฟร์นันดา แห่งสเปน พระนางประสูติในราชวงศ์ซาวอย แต่เมื่ออภิเษกสมรสกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศสแล้ว จึงถือว่าพระนางอยู่ในราชวงศ์บูร์บง พระนางเป็นสมเด็จพระราชินีภายใต้กฎหมายในสมัยสาธารณรัฐเพียงพระองค์เดียวของฝรั่งเศส หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2296 หมวดหมู่:ราชินีแห่งฝรั่งเศส หมวดหมู่:ราชวงศ์บูร์บง.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและมารี-โฌเซฟีนแห่งซาวอย สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

มาร์ชาเรอาเลดอร์ดีนันซา

มาร์ชาเรอาเลดอร์ดีนันซา หรือ Fanfara Reale (Marcia Reale d'Ordinanza) เพลงมาร์ชหลวงตามพระราชโองการ เป็นเพลงชาติ และ เพลงสรรเสริญพระบารมีของราชอาณาจักรอิตาลี ระหว่างปี ค.ศ. 1861 ถึง ค.ศ. 1946.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและมาร์ชาเรอาเลดอร์ดีนันซา · ดูเพิ่มเติม »

มาเรีย ฟรานซิสกาแห่งซาวอย สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส

้าหญิงมาเรีย ฟรานซิสกาแห่งซาวอย(มาเรีย ฟรานซัวส์ เอลิซาเบธ; 21 มิถุนายน พ.ศ. 2189 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2226) ทรงเป็นเจ้าหญิงแห่งซาวอยและสมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส เป็นพระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าอัลฟองโซที่ 6 แห่งโปรตุเกสและเป็นพระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าเปโดรที่ 2 แห่งโปรตุเก.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและมาเรีย ฟรานซิสกาแห่งซาวอย สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

รัชทายาทที่ได้รับสมมุติ

มส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจวต รัชทายาทที่ได้รับสมมุติแห่งอังกฤษและสกอตแลนด์ ผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ (pretender) คือ ผู้อ้างการมีสิทธิ์ในตำแหน่งเกียรติหรือยศที่ไม่มีอยู่แล้ว ใช้กับอดีตพระมหากษัตริย์ หรือผู้สืบเชื้อสายอดีตพระมหากษัตริย์ซึ่งราชบัลลังก์มีผู้ครองแล้วหรือมีคู่แข่งอ้าง หรือถูกเลิกไปแล้วมากที่สุด ภาษาอังกฤษคำว่า “Pretend” มาจากภาษาฝรั่งเศส “prétendre” ที่แปลว่า ยื่นเสนอ เสนอ หรืออ้าง นอกจากนั้นคำว่า “รัชทายาทที่ได้รับสมมุติ” ยังใช้กับกลุ่มผู้ที่พยายามอ้างสิทธิในนามของผู้อื่นไม่ว่าผู้นั้นจะทราบหรือทำการอ้างเองหรือไม่ และเป็นคำที่ใช้ได้ทั้งสำหรับผู้อ้างที่มีสิทธิที่แท้จริงในราชบัลลังก์ เช่น กรณีผู้อ้างหลายคนระหว่างสงครามดอกกุหลาบ หรือผู้ประดิษฐ์ข้ออ้างขึ้นเองในกรณีของแลมเบิร์ต ซิมเนล (Lambert Simnel) ผู้อ้างว่ามีสิทธิในราชบัลลังก์ของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ บุคคลในกลุ่มหลังนี้มักจะอ้างใช้ชื่อของบุคคลที่เสียชีวิตไปแล้วหรือพระญาติพระวงศ์ที่หายสาบสูญไป ซึ่งบางที่ก็จะเรียกว่า “รัชทายาทที่ได้รับสมมุติเท็จ” (false pretender) รัชทายาทที่ได้รับสมมุติของพระสันตะปาปา เรียก “พระสันตะปาปาเท็จ” (antipope).

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและรัชทายาทที่ได้รับสมมุติ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์

ราชวงศ์ (Dynasty) คือ ลำดับของผู้ปกครองจากตระกูลเดียวกันOxford English Dictionary, "dynasty, n." Oxford University Press (Oxford), 1897.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและราชวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรอิตาลี

ราชอาณาจักรอิตาลี (Regno d'Italia) เป็นราชอาณาจักรบนคาบสมุทรอิตาลี ซึ่งได้มีการสถาปนาขึ้นใน ค.ศ. 1861 จากการรวมตัวกันของรัฐอิตาลีหลาย ๆ รัฐภายใต้การนำของราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย และดำรงอยู่ตราบจนถึงปี ค.ศ. 1946 เมื่อประชาชนชาวอิตาลีได้มีการลงประชามติให้มีการเปลี่ยนผ่านการปกครองจากระบบราชอาณาจักรไปสู่ความเป็นสาธารณรัฐ อิตาลีได้ประกาศสงครามต่อออสเตรียในปี..

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและราชอาณาจักรอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย

ราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย หรือ ราชอาณาจักรพีดมอนต์-ซาร์ดิเนีย หรือ ราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย-พีดมอนต์ (Kingdom of Sardinia หรือ Piedmont-Sardinia หรือ Sardinia-Piedmont) เป็นดินแดนที่เป็นของตระกูลซาวอย (House of Savoy) ในปี..

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์สเปน

รายพระนามพระมหากษัตริย์สเปน.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและรายพระนามพระมหากษัตริย์สเปน · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์อาร์เมเนีย

;General.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและรายพระนามพระมหากษัตริย์อาร์เมเนีย · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามจักรพรรดิเอธิโอเปีย

นี่คือ รายพระนามสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งเอธิโอเปียตั้งแต่ราชวงศ์ซักเว กษัตริย์แห่งอาซุมและดาม็อทไม่รวมอยู่ในนี้เนื่องจากมีช่องว่างมากมายและมีความยืดหยุ่นของเหตุการณ์มาก.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและรายพระนามจักรพรรดิเอธิโอเปีย · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์กรีซ

แกรนด์ดัสเชสโอลกา คอนสแตนตินอฟนาแห่งรัสเซียทรงดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซยาวนานที่สุด เป็นเวลา 45 ปี ตำแหน่งคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์แห่งกรีซ เป็นผู้อภิเษกสมรสกับพระประมุขแห่งราชอาณาจักรกรีซในระหว่างรัชกาลของแต่ละพระองค์ ซึ่งพระประมุขจะดำรงพระอิสริยยศ "สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเฮลเลนส์" และคู่อภิเษกสมรสทุกพระองค์จะดำรงพระอิสริยยศ "สมเด็จพระราชินีแห่งเฮลเลนส์" ซึ่งอยู่ในระหว่าง พ.ศ. 2379 ถึง พ.ศ. 2517.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์กรีซ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์สเปน

รายพระนามสมเด็จพระราชินี, สมเด็จพระราชินีนาถ และ เจ้าฟ้าชายพระราชสวามีแห่งสเปน.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์สเปน · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์ออสเตรีย

ร อ.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์ออสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์อิตาลี

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์อิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์โปรตุเกส

้าหญิงอเมลีแห่งออร์เลออง ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกสอย่างเป็นทางการพระองค์สุดท้าย ในประวัติศาสตร์ของราชอาณาจักรโปรตุเกสมีสมเด็จพระราชินีนาถซึ่งดำรงเป็นพระประมุขของโปรตุเกส 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 1 แห่งโปรตุเกสและสมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 แห่งโปรตุเกส(บางหลักฐานกล่าวว่า เจ้าหญิงเบียทริซแห่งโปรตุเกสได้ขึ้นครองราชสมบัติด้วยระยะเวลาอันสั้นในศตวรรษที่ 14 ซึ่งปัจจุบันยังเป็นที่ถกเถียง) สตรีซึ่งเป็นคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกสจะได้รับพระอิศริยยศ "สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส" และสมเด็จพระราชินีบางพระองค์ได้รับพระอิศริยยศผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนยวกษัตริย์ซึ่งยังทรงพระเยาว์และยามที่พระมหากษัตริย์ปฏิบัติภารกิจนอกประเทศ และยังมีคู่อภิเษกสมรสในสมเด็จพระราชินีนาถซึ่งได้ดำรงเป็นผู้ปกครองแผ่นดินร่วมกันด้ว.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์โปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระประมุขแห่งลักเซมเบิร์ก

รายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระประมุขแห่งลักเซมเบิร์ก.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระประมุขแห่งลักเซมเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ศิลป์ พีระศรี

ตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี (15 กันยายน พ.ศ. 2435 — 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505) เดิมชื่อ คอร์ราโด เฟโรชี (Corrado Feroci) ชาวอิตาลีสัญชาติไทย เป็นประติมากรจากเมืองฟลอเรนซ์ที่เข้ามารับราชการในประเทศไทยตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยถือเป็นปูชนียบุคคลคนหนึ่งของไทยที่ได้สร้างคุณูปการในทางศิลปะและมีผลงานที่เป็นที่กล่าวขานจนเป็นที่รู้จักกว้างขวาง ทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้งและอาจารย์สอนวิชาศิลปะที่โรงเรียนประณีตศิลปกรรม ซึ่งภายหลังได้รับการยกฐานะให้เป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยศาสตราจารย์ศิลป์ได้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัย มีความรักใคร่ ห่วงใยและปรารถนาดีต่อลูกศิษย์อยู่ตลอดจนเป็นที่รักและนับถือทั้งในหมู่ศิษย์และอาจารย์ด้วยกัน ศาสตราจารย์ศิลป์ยังเป็นผู้วางรากฐานที่เข้มแข็งให้แก่วงการศิลปะไทยสมัยใหม่จากการที่ได้พร่ำสอนและผลักดันลูกศิษย์ให้ได้มีความรู้ความสามารถในวิชาศิลปะทั้งงานจิตรกรรมและงานช่าง มีจุดประสงค์ให้คนไทยมีความรู้ความเข้าใจในศิลปะและสามารถสร้างสรรค์งานศิลปะได้ด้วยความสามารถของบุคลากรของตนเอง การก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากรจึงเปรียบเสมือนการหว่านเมล็ดพันธุ์ให้แก่คนไทยเพื่อที่จะออกไปสร้างศิลปะเพื่อแผ่นดินของตน และถึงแม้จะริเริ่มรากฐานของความรู้ด้านศิลปะตะวันตกในประเทศไทย แต่ในขณะเดียวกันศาสตรจารย์ศิลป์ก็ได้ศึกษาศิลปะไทยอย่างลึกซึ้ง เนื่องจากต้องการให้คนไทยรักษาความงามของศิลปะไทยเอาไว้ จึงได้เกิดการสร้างลูกศิษย์ที่มีความรู้ทั้งงานศิลปะตะวันตกและศิลปะไทยออกไปเป็นกำลังสำคัญให้แก่วงการศิลปะไทยเป็นจำนวนมาก และเกิดรูปแบบงานศิลปะไทยสมัยใหม่ในที่สุด ด้วยคุณูปการนี้ศาสตราจารย์ศิลป์จึงได้รับการยกย่องให้เป็นปูชนียบุคคลของมหาวิทยาลัยศิลปากรและของประเทศไทย โดยเฉพาะในงานประติมากรรมที่ได้มีผลงานที่โดดเด่นมากมายที่สร้างไว้แก่ประเทศไทย ได้แก่ พระพุทธรูปประธานที่พุทธมณฑล, อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และรวมไปถึง พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ที่วงเวียนใหญ่, พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช, อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี และพระบรมราชานุสาวรีย์ของกษัตริย์ไทยอีกหลายพระองค์ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ศาสตรจารย์ศิลป์จงได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ของไทยและเป็นบิดาแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยในวันที่ 15 กันยายน ของทุกปีจะถือเป็นวันศิลป์ พีระศรี ซึ่งมหาวิทยาลัยจะจัดงานรำลึกขึ้นทุกปีเพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของศาสตราจารย์ศิลป์ที่มีต่อมหาวิทยาลัยและประเทศไทยหลายประการ.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและศิลป์ พีระศรี · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน

มเด็จพระราชาธิบดีฆวน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน หรือ พระเจ้าฆวน การ์โลสที่ 1 (Juan Carlos I; เสด็จพระราชสมภพ 5 มกราคม พ.ศ. 2481) เป็นพระมหากษัตริย์สเปน ตั้งแต่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 - 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ฟรันซิสโก ฟรังโก ผู้เผด็จการสเปน กำหนดให้สมเด็จพระราชาธิบดีฆวน การ์โลสที่ 1 เป็นประมุขแห่งรัฐองค์ถัดมาใน..

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและสมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถอีซาเบลที่ 2 แห่งสเปน

มเด็จพระราชินีนาถอีซาเบลที่ 2 แห่งสเปน (Isabel II de España) (10 ตุลาคม 1830 - 10 เมษายน 1904) เป็นสมเด็จพระราชินีนาถพระองค์เดียวของสเปน พระนางเป็นพระราชธิดาในพระเจ้าเฟร์นันโด และสมเด็จพระราชินีมาเรีย คริสตีน่า พระนางปกครองสเปนต่อจากพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 7 พระราชบิดา หลังจากนั้นพระนางก็ทรงถูกถอดจากราชสมบัติในการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์เมื่อปี..

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและสมเด็จพระราชินีนาถอีซาเบลที่ 2 แห่งสเปน · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2 แห่งอิตาลี

ระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2 แห่งอิตาลี หรือ พระเจ้าฮัมเบิร์ตที่ 2 แห่งอิตาลี (Umberto II; Umberto II of Italy) (15 กันยายน ค.ศ. 1904 - 18 มีนาคม ค.ศ. 1983) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งอิตาลีแห่งราชวงศ์ซาวอย ผู้ทรงครองราชบัลลังก์อิตาลีระหว่างวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1946 จนเมื่อสถาบันพระมหากษัตริย์ของอิตาลีถูกยุบเลิกเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1946 พระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1904 ที่ราคโคนิจิในคูนิโอในประเทศอิตาลี พระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 และ เอเลนาแห่งมอนเตเนโกร และทรงเสกสมรสกับเจ้าหญิงมารี-โจเซแห่งเบลเยียม เมื่อวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1904 และมีพระราชโอรสธิดาด้วยกันสี่พระองค์ พระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1983 ที่เจนีวาในประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและสมเด็จพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2 แห่งอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมบาโรก

วิหารซุพเพอร์กา (Basilica di Superga) ใกล้เมืองตูริน ประเทศอิตาลี โดย ฟิลิโป คูวารา (Filippo Juvarra) วิการตกแต่งภายในของวัดวีส์ ประเทศเยอรมนี ที่แสดงถึงความแยกไม่ออกระหว่างประติมากรรมและสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมบาโรก (ภาษาอังกฤษ: Baroque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่ประเทศอิตาลี เป็นสถาปัตยกรรมที่บ่งถึงความหรูหราโอ่อ่าและความมีอำนาจของสถาบันคริสต์ศาสนาและการปกครอง และจะเน้นเรื่องแสง สี เงา และคุณค่าของประติมากรรม ขณะที่สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์จะเน้นความมั่งคั่งและอำนาจของราชสำนักอิตาลี และประสมประสานศิลปะศาสนาและศิลปะทางโลก สถาปัตยกรรมบาโรกเมื่อเริ่มแรกเป็นสถาปัตยกรรมที่มาจากปฏิกิริยาต่อการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์ซึ่งเป็นกระบวนการของสถาบันคาทอลิกต่อต้านการปฏิรูปดังกล่าว โดยการปฏิรูปภายในสถาบันคาทอลิกเอง การประชุมสังคายนาที่เมืองเทร้นต์ ระหว่างวันที่ 13 ธันวาคม..

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและสถาปัตยกรรมบาโรก · ดูเพิ่มเติม »

อิลกันโตเดลยีอีตาเลียนี

อิลกันโตเดลยีอีตาเลียนี (Il Canto degli Italiani) หรือ "เพลงแห่งชาวอิตาลี" เป็นชื่อของเพลงชาติแห่งสาธารณรัฐอิตาลี เพลงนี้เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวอิตาลีในชื่อ "อินโนดีมาเมลี" (Inno di Mameli - เพลงสรรเสริญของมาเมลี) อันเป็นการขนานนามตามชื่อผู้ประพันธ์เพลง และ "ฟราเตลลีดีตาเลีย" (Fratelli d'Italia - พี่น้องชาวอิตาลีทั้งหลาย) ซึ่งเรียกตามบทร้องวรรคเปิดของเพลงนี้ บทร้องของเพลงนี้ได้ประพันธ์โดยกอฟเฟรโด มาเมลี (Goffredo Mameli - ขณะนั้นยังเป็นนักศึกษาชาวเจนัวและมีอายุได้ 20 ปี) ในฤดูใบไม้ร่วงของปี ค.ศ. 1847 ที่เมืองเจนัว ท่ามกลางบรรยากาศในการต่อสู้ของประชาชนเพื่อการรวมชาติและการทำสงครามปลดแอกจากจักรวรรดิออสเตรีย อีกสองเดือนต่อมา มีเกเล โนวาโร (Michele Novaro) ซึ่งเป็นชาวเจนัวเช่นกัน ได้ประพันธ์ทำนองสำหรับบทร้องของมาเมลีขึ้นที่เมืองโตริโน เพลงดังกล่าวนี้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจากมหาชนท่ามกลางยุคแห่งการรวมชาติ (Risorgimento) นานนับทศวรรษ หลังการรวมชาติสำเร็จลงในปี ค.ศ. 1861 เพลงที่ได้รับเลือกให้เป็นเพลงชาติอิตาลีนั้นมิใช่เพลง "อิลกันโตเดลยีอีตาเลียนี" ซึ่งได้รับความนิยมจากมหาชน แต่เป็นเพลง "มาร์ชาเรอาเลดอร์ดีนันซา" (Marcia Reale d'Ordinanza - เพลงมาร์ชหลวงตามพระราชโองการ) เพลงดังกล่าวนี้เป็นเพลงสรรเสริญประจำราชวงศ์ซาวอย อันเป็นราชวงศ์ของกษัตริย์ผู้ปกครองอิตาลีหลังยุคการรวมชาติ และได้ใช้เป็นเพลงชาติอิตาลีสืบมาจนถึงปี ค.ศ. 1946 เมื่ออิตาลีได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยการลงประชามติยกเลิกระบอบราชาธิปไตยและสถาปนาการปกครองระบอบสาธารณรัฐขึ้นแทนที่ โดยเพลง "อิลกันโตเดลยีอีตาเลียนี" ได้รับเลือกให้ใช้เป็นเพลงชาติของสาธารณรัฐอิตาลีเป็นการชั่วคราว เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1946 และอีกเกือบ 60 ปีให้หลัง เพลงนี้จึงได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการตามกฎหมายเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและอิลกันโตเดลยีอีตาเลียนี · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติอิตาลี

งชาติสาธารณรัฐอิตาลี (Il Tricolore) มีลักษณะเป็นธงสามสี รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ภายในแบ่งเป็นสามแถบตามแนวตั้ง เป็นสีต่างๆ เรียงจากด้านคันธงตามลำดับ คือ สีเขียว สีขาว และสีแดง.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและธงชาติอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ดัชชีมันโตวา

ัชชีแห่งมานตัว (Duchy of Mantua) เป็นดัชชีแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ปกครองโดยดยุกแห่งมานตัว ดัชชีแห่งมานตัวตั้งอยู่ในแคว้นลอมบาร์เดียในอิตาลีเหนือ หลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันแล้วมานตัวก็ถูกรุกรานโดยจักรวรรดิไบแซนไทน์, ลังโกบาร์ด และ แฟรงค์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 มานตัวก็ตกไปเป็นของโบนิฟาเซแห่งคานอสสามาร์ควิสแห่งทัสเคนี ประมุขคนสุดท้ายของตระกูลคือมาทิลเด เคานเทสแห่งทัสเคนี (เสียชีวิต ค.ศ. 1115) ผู้ตามตำนานกล่าวว่าเป็นผู้สั่งให้สร้างโรทอนโดดิซานโลเรนโซ (ค.ศ. 1082) หลังจากการเสียชีวิตของมาทิลเด มานตัวก็กลายเป็นราชนครรัฐอิสระ และพยายามต่อต้านอำนาจของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 และ 13 ระหว่างที่เกิดความยุ่งเหยิงระหว่างรัฐกับสถาบันศาสนาพินามอนเต โบนาโคลซิก็ถือโอกาสยึดอำนาจในฐานะกัปตันของประชาชน (Captain General of the People) ในปี..

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและดัชชีมันโตวา · ดูเพิ่มเติม »

ดัชชีซาวอย

ัชชีแห่งซาวอย (Duchy of Savoy, Savoie, Savoia) ระหว่างปี..

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและดัชชีซาวอย · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของฟิลิปปินส์

ตราแผ่นดินของฟิลิปปินส์ (Coat of Arms of the Philippines) มีลักษณะเป็นพระอาทิตย์มีรัศมีแปดแฉกซึ่งแสดงถึงจังหวัดทั้งแปด (บาตันกัส บูลาจัน กาวิเต มะนิลา ลากูนา นูเอวา เอจิยา ปัมปางาและตาร์ลัก) ซึ่งอยู่ภายใต้กฎอัยการศึกระหว่างการปฏิวัติฟิลิปปินส์ และดาวห้าแฉกสามดวงแสดงถึงเขตทางภูมิศาสตร์หลักสามแห่งคือลูซอน วิซายา และ มินดาเนา พื้นสีน้ำเงินทางด้านซ้ายมีนกอินทรีของสหรัฐอเมริกา และพื้นสีแดงทางด้านขวามีสิงโตของสเปน ซึ่งแสดงถึงประวัติศาสตร์ในการเป็นอาณานิคม การออกแบบนี้คล้ายกับการออกแบบโดยเครือรัฐแห่งฟิลิปปินส์เมื่อ..

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและตราแผ่นดินของฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

ซาวอย

งของซาวอย ซึ่งเป็นธงเดียวกับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ระหว่างค.ศ. 1200 ถึง ค.ศ. 1350 ซาวอย (Savoy), ซาวัว (Savoie) หรือ ซาวอยา (Savoia) คือภูมิภาคในยุโรปที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของเทือกเขาแอลป์ที่เกิดขึ้นหลังจากการล่มสลายของราชอาณาจักรเบอร์กันดีของแฟรงค์ ดินแดนในอดีตของซาวอยเป็นของประเทศฝรั่งเศสและประเทศอิตาลีในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและซาวอย · ดูเพิ่มเติม »

ซาวอย (แก้ความกำกวม)

ซาวอย อาจจะหมายถึง.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและซาวอย (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

ปัญหาเยอรมัน

ำถามเยอรมัน (Deutsche Frage; German Question) คือประเด็นการอภิปรายในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเฉพาะในช่วงการปฏิวัติ พ.ศ. 2391 ถึงวิธีการที่ดีที่สุดในการรวมชาติเยอรมัน (Unification of Germany) โดยตั้งแต..

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและปัญหาเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

โจวันนาแห่งอิตาลี สมเด็จพระราชินีแห่งบัลแกเรีย

้าหญิงโจวันนาแห่งอิตาลี สมเด็จพระราชินีแห่งบัลแกเรีย (ภาษาบัลแกเรีย: Йоанна Савойска; ภาษาอิตาลี: Giovanna Elisabetta Antonia Romana Maria) (13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450 - 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งบัลแกเรีย (ซารินา) พระองค์สุดท้าย โดยเป็นพระมเหสีในพระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย เป็นพระราชวงศ์อิตาลี.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและโจวันนาแห่งอิตาลี สมเด็จพระราชินีแห่งบัลแกเรีย · ดูเพิ่มเติม »

โจวีเนซซา

วีเนซซา (Giovinezza, วัยหนุ่มสาว) เป็นเพลงประจำพรรคฟาสซิสต์อิตาลี, เผด็จการสังคมนิยม, และมีสถานะเป็นเพลงชาติอิตาลี ระหว่าง ค.ศ. 1924 และ ค.ศ. 1943.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและโจวีเนซซา · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายยูจีนแห่งซาวอย

้าชายยูจีนแห่งซาวอย หรือ เจ้าชายเออแฌนแห่งซาวัว-คารินยอง (Eugen von Savoyen; Eugène de Savoie-Carignan); Prince Eugene of Savoy) (18 ตุลาคม ค.ศ. 1663 - 21 เมษายน ค.ศ. 1736) เจ้าชายยูจีนแห่งซาวอยเป็นแม่ทัพผู้มีชื่อเสียงและมีสมรรถภาพที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตรยุโรป เจ้าชายยูจีนแห่งซาวอยประสูติที่ปารีสจากพระบิดามารดาที่เป็นเจ้านายซาวอย เจ้าชายยูจีนเจริญพระชันษาขึ้นมาในราชสำนักฝรั่งเศสของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เดิมพระองค์มีพระประสงค์จะดำเนินอาชีพเป็นนักบวชแต่เมื่อมีพระชนม์ได้ 19 ก็หันไปสนใจกับอาชีพการเป็นทหาร เมื่อถูกปฏิเสธโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จากการเข้ารับราชการในกองทัพฝรั่งเศส เจ้าชายยูจีนก็ทรงย้ายไปออสเตรียและหันไปสวามิภักดิ์ต่อราชวงศ์ฮับส์บวร์ก เจ้าชายยูจีนแห่งซาวอยรับราชการอยู่หกสิบปีภายใต้จักรพรรดิฮับส์บวร์กสามพระองค์ – จักรพรรดิลีโอโพลด์ที่ 1, จักรพรรดิโจเซฟที่ 1 และ จักรพรรดิคาร์ลที่ 6 สงครามครั้งแรกที่เจ้าชายยูจีนทรงมีส่วนร่วมคือการสงครามต่อต้านการล้อมกรุงเวียนนาของออตโตมันเติร์กในยุทธการเวียนนาใน ค.ศ. 1683 และต่อมาสงครามสันนิบาตศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหาสงครามตุรกี ก่อนที่จะเข้าร่วมในสงครามเก้าปีพร้อมกับลูกพี่ลูกน้องวิคเตอร์ อมาเดอุสที่ 2 ดยุคแห่งซาวอย แต่ชื่อเสียงของเจ้าชายยูจีนมามั่นคงเมื่อได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดต่อออตโตมันในยุทธการเซนทาในปี ค.ศ. 1697 จากนั้นก็มีชื่อเสียงเพิ่มขึ้นระหว่างสงครามสืบราชบัลลังก์สเปนเมื่อไปทำการเป็นพันธมิตรกับจอห์น เชอร์ชิลล์ ดยุคแห่งมาร์ลบะระห์ที่ได้รับชัยชนะต่อฝรั่งเศสในยุทธการเบล็นไฮม์, ยุทธการอูเดอนาร์ด และ ยุทธการมาลพลาเคต์ จากนั้นก็ไปได้รับความสำเร็จในฐานะแม่ทัพของกองทัพของพระจักรพรรดิทางตอนเหนือของอิตาลี โดยเฉพาะในยุทธการตูรินในปี ค.ศ. 1706 เมื่อความขัดแย้งกับจักรวรรดิออตโตมันเริ่มขึ้นอีกครั้งในสงครามออสเตรีย-ตุรกี ค.ศ. 1716-1718 เจ้าชายยูจีนก็ทรงสามารถปราบปรามข้าศึกศัตรูได้ในยุทธการเปโตรวาราดิน และ ยุทธการเบลเกรด ตลอดคริสต์ทศวรรษ 1720 อิทธิพลและความสามารถทางการทูตของของเจ้าชายยูจีนก็สามารถสร้างความมั่นคงให้แก่จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปัญญาขัดแย้งต่างๆ ที่เกี่ยวกับการสืบราชบัลลังก์ แต่ในบั้นปลายของชีวิตความเหนื่อยร้าและสุขภาพทางจิตที่เปราะบางทำให้พระองค์ไม่ทรงประสบความสำเร็จในฐานะผู้บังคับบัญชาทหารสูงสุดในการพยายามยุติสงครามสืบราชบัลลังก์โปแลนด์ได้ แต่กระนั้นในออสเตรีย ชื่อเสียงของเจ้าชายยูจีนก็ไม่มีผู้ใดเทียมได้ ความเห็นเกี่ยวกับบุคลิกของเจ้าชายยูจีนอาจจะแตกต่างกันไป แต่ก็ไม่มีผู้ใดที่จะค้านความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ที่พระองค์ทรงป้องกันจักรวรรดิฮับส์บวร์กจากถูกกลืนไปเป็นของฝรั่งเศส และทรงหยุดยั้งการรุกรานมาทางตะวันตกของจักรวรรดิออตโตมัน และปลดปล่อยยุโรปกลางจากการยึดครองของออตโตมันที่ดำเนินมาเป็นเวลาร้อยห้าสิบปี นอกจากนั้นเจ้าชายยูจีนก็ยังทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปะคนสำคัญ เจ้าชายยูจีนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 1736 เมื่อมีพระชนมายุได้ 72 พรรษ.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและเจ้าชายยูจีนแห่งซาวอย · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายวิตตอรีโอ เอมานูเอเล เจ้าชายแห่งเนเปิลส์

้าชายวิตตอริโอ เอ็มมานูเอล เจ้าชายแห่งเนเปิลส์ หรือ มกุฎราชกุมารแห่งอิตาลี (HRH Prince Vittorio Emanuele, Prince of Naples); เป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวใน พระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2 กับ สมเด็จพระราชินีมารี-โจดซแห่งอิตาลี ภายหลังอิตาลีเปลี่ยนระบอบการปกครอง พระองค์และพระราชวงศ์ยังสามารถดำรงพระอิสริยยศนี้ได้ตลอดพระชนม์ชีพ ทรงอภิเษกสมรสกับ มาริน่า ริโกลฟี่ ดอเรีย ภายหลังได้รับพระราชอิสริยยศเป็น เจ้าหญิงแห่งเนเปิลส์ มกุฎราชกุมารีแห่งอิตาลี มีพระราชโอรสร่วมกันเพียงพระองค์เดียวคือ เจ้าชายเอ็มมานูเอล ฟิลิแบร์โตแห่งซาวอย เจ้าขายแห่งเวนิซ ทั้งนี้ พระองค์ยังถือเป็นพระราชนัดดาใน สมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 1 แห่งเบลเยียม ผ่านทางสายพระราชมาร.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและเจ้าชายวิตตอรีโอ เอมานูเอเล เจ้าชายแห่งเนเปิลส์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายสืบสายพระโลหิต

หลุยส์ที่ 2 ดยุคแห่งออร์เลอองส์ เจ้าชายสืบสายพระโลหิต (Prince du Sang หรือ Prince of the Blood) คือผู้ที่เป็นผู้สืบเชื้อสายที่ถูกต้องตามกฎหมายโดยตรงจากประมุขของประเทศ ในฝรั่งเศสตำแหน่ง “เจ้าชายสืบสายพระโลหิต” เป็นบรรดาศักดิ์สูงสุดในราชสำนักรองจากพระราชนิกุลที่ใกล้ชิดที่สุดของพระมหากษัตริย์ในสมัย “อองเซียง เรฌีม” และในสมัยราชวงศ์บูร์บงฟื้นฟู ตำแหน่ง “เจ้าชายสืบสายพระโลหิต” หรือ “เจ้าหญิงสืบสายพระโลหิต” เป็นตำแหน่งที่ใช้กับสมาชิกที่ถูกต้องตามกฎหมายของประมุขที่กำลังครองราชย์ ในยุโรปบางประเทศโดยเฉพาะในราชอาณาจักรฝรั่งเศสบรรดาศักดิ์นี้เป็นตำแหน่งเฉพาะตัวและใช้อย่างจำกัดกว่าบรรดาศักดิ์อื่น.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและเจ้าชายสืบสายพระโลหิต · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายอะเมเดโอ ดยุกที่ 5 แห่งโอสตา

้าชายอะเมเดโอ ดยุกที่ 5 แห่งโอสตา (His Royal Highness Prince Amedeo, 5th Duke of Aosta) เป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวใน เจ้าชายไอโมน ดยุกที่ 4 แห่งโอสตา และ เจ้าหญิงไอรีน ดัชเชสแห่งโอสตา พระมารดาของพระองค์ เป็นพระราชธิดาใน สมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 1 แห่งกรีซ กับ เจ้าหญิงโซเฟียแห่งปรัสเซีย หลังจากพระบิดาของพระองค์สิ้นพระชนม์ พระองค์จึงสืบพระอิสริยยศเป็น ดยุกที่ 5 แห่งโอสตา พระองค์เสกสมรสจำนวน 2 ครั้ง มีพระบุตร 3 พระองค์ ทั้งนี้พระองค์ยังเป็นพระบิดาใน เจ้าชายไอโมน ดยุกแห่งอาพูเลี.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและเจ้าชายอะเมเดโอ ดยุกที่ 5 แห่งโอสตา · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายอาเมเดโอแห่งซาวอย-เอออสตา ดยุคแห่งเอออสตาที่ 3

้าชายอาเมเดโอแห่งซาวอย-เอออสตา, ดยุคแห่งเอออสตาที่ 3 เจ้าชายอาเมเดโอแห่งซาวอย-ออสตา 28 ตุลาคม ค.ศ. 1898 — 1 มีนาคม ค.ศ. 1942) เป็นพระญาติของพระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 แห่งอิตาลี และทรงเป็นดยุคแห่งเอออสตาลำดับที่ 3 พระนามหลังทรงได้รับศีลจุ่มในศาสนาคริสต์คือ "อาเมเดโอ อุมแบร์โต อิซาเบลลา ลุยจี ฟิลิปโป มาเรีย จูเซปเป โจวานนี ดี ซาวอย-เอออสตา" (Amedeo Umberto Isabella Luigi Filippo Maria Giuseppe Giovanni di Savoia-Aosta) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พระองค์ดำรงตำแหน่งเป็นอุปราชแห่งแอฟริกาตะวันออกของอิตาลี (Africa Orientale Italiana).

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและเจ้าชายอาเมเดโอแห่งซาวอย-เอออสตา ดยุคแห่งเอออสตาที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายไอโมน ดยุกที่ 4 แห่งโอสตา

้าชายไอโมน ดยุกที่ 4 แห่งโอสตา (His Royal Highness Prince Prince Aimone, Duke of Aosta) เป็นพระโอรสใน เจ้าชายแอลมานุแอล ดยุกแห่งโอสตา และ เจ้าหญิงเฮเลนาแห่งออเลล็อง ทรงอภิเษกสมรสกับ เจ้าหญิงไอรีน ดัชเชสแห่งโอสตา ทรงเป็นพระราชชามาดา ใน สมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 1 แห่งกรีซ กับ เจ้าหญิงโซเฟียแห่งปรัสเซีย หลังจากพระบิดาของพระองค์สิ้นพระชนม์ พระองค์จึงสืบพระอิสริยยศเป็น ดยุกที่ 4 แห่งโอสตา ทรงมีพระโอรสเพียงพระองค์เดียวคือ เจ้าชายอะเมเดโอ ดยุกที่ 5 แห่งโอสตา ทรงเป็นพระอัยกา(ปู่) ใน เจ้าชายไอโมน ดยุกแห่งอาพูเลี.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและเจ้าชายไอโมน ดยุกที่ 4 แห่งโอสตา · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายไอโมน ดยุกแห่งอาพูเลีย

้าชายไอโมน ดยุกแห่งอาพูเลีย ทรงเป็นพระโอรสพระองค์เดียวใน เจ้าชายอะเมเดโอ ดยุกที่ 5 แห่งโอสตา และ เจ้าหญิงโคลด์ ดัชเชสแห่งออสตา พระองค์สมรสกับ เจ้าหญิงโอลกา ดัชเชสแห่งอาพูเลีย (เดิม เจ้าหญิงโอลกาแห่งกรีซ) มีพระบุตร 3 พระอง.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและเจ้าชายไอโมน ดยุกแห่งอาพูเลีย · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายเลกาที่ 1 มกุฎราชกุมารแห่งแอลเบเนีย

้าชายเลกาที่ 1 มกุฎราชกุมารแห่งแอลเบเนี.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและเจ้าชายเลกาที่ 1 มกุฎราชกุมารแห่งแอลเบเนีย · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายเลกาที่ 2 มกุฎราชกุมารแห่งแอลเบเนีย

้าชายเลกาที่ 2 มกุฎราชกุมารแห่งแอลเบเนี.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและเจ้าชายเลกาที่ 2 มกุฎราชกุมารแห่งแอลเบเนีย · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายเอมานูเอเล ฟีลีแบร์โตแห่งซาวอย เจ้าชายแห่งเวนิซ

้าชายเอ็มมานูเอล ฟิลิแบร์โตแห่งซาวอย เจ้าชายแห่งเวนิซ เป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวใน เจ้าชายวิคตอริโอ เอ็มมานูเอล เจ้าชายแห่งเนเปิลส์ และ เจ้าหญิงมารินา เจ้าหญิงแห่งเนเปิลส์ ด้วยพระราชวงศ์แห่งอิตาลีถูกล้มล้างไปแล้วก็ตาม แต่สมาชิกพระบรมวงศานุวงศ์แห่งราชวงศ์ซาวอย ก็ยังสามารถดำรงพระอิสริยยศนี้ไปได้ตลอดพระชนม์ชีพ เจ้าชายเอ็มมานูเอล ทรงเสกสมรสกับนางสาวคลอทิลด์ มารี ปาสคาลล์ คูโร่ (ภายหลัง เจ้าหญิงคลอทิลด์ เจ้าหญิงแห่งเวนิซ) ทรงมีพระธิดาร่วมกัน 2 พระอง.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและเจ้าชายเอมานูเอเล ฟีลีแบร์โตแห่งซาวอย เจ้าชายแห่งเวนิซ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงมารี-โจเซแห่งเบลเยียม

้าหญิงมารี-โจเซแห่งเบลเยียม (HRH Princess Marie-José of Belgium; มารี-โจเซ ชาร์ล็อต โซฟี อาเมลี อ็องเรียต กาเบรียลล์; 4 สิงหาคม พ.ศ. 2449 — 27 มกราคม พ.ศ. 2544) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีพระองค์สุดท้ายของประเทศอิตาลี ในช่วงการดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระราชินีมเหสีเป็นเวลาสามสิบห้าวันในเดือนพฤษภาคม ทำให้มีพระสมัญญาว่า "ราชินีแห่งเดือนพฤษภาคม" (The May Queen) เจ้าหญิงมารี-โจเซประสูติ ณ เมืองออสเตนด์ ประเทศเบลเยียม โดยเป็นพระราชธิดาพระองค์เล็กและพระองค์เดียวในสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบรต์ที่ 1 แห่งเบลเยียม กับ เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งบาวาเรีย พระมเหสี เมื่อแรกประสูติพระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเจ้าหญิงแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา และดัชเชสแห่งแซ็กโซนี จนกระทั่งการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 1.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและเจ้าหญิงมารี-โจเซแห่งเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงมารีอา กาเบรียลลาแห่งซาวอย

้าหญิงมารีอา กาเบรียลลาแห่งซาวอย (อิตาลี:Maria Gabriella di Savoia) (24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1940-) พระราชธิดาพระองค์กลางในสมเด็จพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2 แห่งอิตาลีกับเจ้าหญิงมารี-โจเซแห่งเบลเยียม กษัตริย์และราชินีองค์สุดท้ายแห่งราชบัลลังก์อิตาลี.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและเจ้าหญิงมารีอา กาเบรียลลาแห่งซาวอย · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงมารีอา อันนาแห่งซาวอย

้าหญิงมารีอา อันนาแห่งซาวอย หรือ มารีอา อันนา คาโรลีนา ปีอา (Maria Anna Carolina Pia di Savoia) ทรงเป็นจักรพรรดินีมเหสีแห่งออสเตรีย และสมเด็จพระราชินีแห่งฮังการี ตั้งแต่ทรงอภิเษกสมรสกีบสมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งออสเตรี.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและเจ้าหญิงมารีอา อันนาแห่งซาวอย · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงมารีนา เจ้าหญิงแห่งเนเปิลส์

้าหญิงมารินา เจ้าหญิงแห่งเนเปิลส์ หรือ มกุฎราชกุมารีแห่งอิตาลี (HRH Princess Marina, Princess of Naples); เป็นพระวรชายาใน เจ้าชายวิคตอริโอ เอ็มมานูเอล เจ้าชายแห่งเนเปิลส์ ภายหลังอิตาลีเปลี่ยนระบอบการปกครอง พระองค์และพระราชวงศ์ยังสามารถดำรงพระอิสริยยศนี้ได้ตลอดพระชนม์ชีพ พระองค์และพระราชสวามี มีพระราชโอรสร่วมกันเพียงพระองค์เดียวคือ เจ้าชายเอ็มมานูเอล ฟิลิแบร์โตแห่งซาวอย เจ้าขายแห่งเวนิซ.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและเจ้าหญิงมารีนา เจ้าหญิงแห่งเนเปิลส์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงคลอทิลด์ เจ้าหญิงแห่งเวนิซ

้าหญิงคลอทิลด์ เจ้าหญิงแห่งเวนิซ ทรงเป็นพระชายาใน เจ้าชายเอ็มมานูเอล ฟิลิแบร์โตแห่งซาวอย เจ้าชายแห่งเวนิซ ทั้ง 2 มีพระธิดาร่วมกัน 2 พระองค์ ทั้งนี้ พระองค์ยังทรงเป็นนักแสดงหญิงชาวฝรั่งเศส อีกด้วย ปัจจุบันทรงปฏิบัติพระกรณียากิจด้านต่างๆ ที่โดดเด่นคือ การเสด็จไปร่วมพระราชพิธีต่างๆเช่น พระราชพิธีอภิเษกสมรสระหว่าง เจ้าชายอาลแบร์ที่ 2 องค์อธิปัตย์แห่งโมนาโก กับ เจ้าหญิงชาร์ลีนแห่งโมนาโก.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและเจ้าหญิงคลอทิลด์ เจ้าหญิงแห่งเวนิซ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงโอลกา ดัชเชสแห่งอาพูเลีย

้าหญิงโอลกา อิสเบลล์แห่งซาวอย-ออสตา, ดัชเชสแห่งอาพูเลีย หรือพระนามเดิม เจ้าหญิงโอลกา อิสเบลล์แห่งกรีซ (Πριγκίπισσα Όλγα της Ελλάδας ประสูติ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514) พระธิดาในเจ้าชายไมเคิลแห่งกรีซและเดนมาร์ก กับมารีนา กาเรลลา ด้วยเหตุที่พระบิดาและพระมารดาเป็นการสมรสแบบต่างฐานันดร ดังนั้นพระองค์จึงถูกตัดสิทธิในการสืบราชบัลลังก์กรีซซึ่งรวมไปถึงผู้สืบเชื้อสายด้วยและพระอิสริยยศเป็นเพียง เจ้าหญิงแห่งกรีซ ไม่ถูกยกเป็น Royal Highness ไม่มีสร้อยพระนาม เจ้าชาย/เจ้าหญิงแห่งเดนมาร์ก ซึ่งเป็นเชื้อสายขั้นต้นพระราชวงศ์กรีซ พระองค์ทรงหมั้นกับเจ้าชายไอโมน ดยุกแห่งอาพูเลียในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2548 สามปีต่อมาพระองค์จึงอภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2551 ณ สถานทูตอิตาลีในกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย โดยประกอบพิธีทางศาสนาเมื่อวันที่ 27 กันยายนที่พัตมอส และได้ให้ประสูติกาลพระโอรสคือ เจ้าชายอุมแบร์โตแห่งซาวอย เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2552 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ทรงประสูติกาลพระโอรสพระนาม อเมเดโอ ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และหนึ่งวันหลังการประสูติกาลก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็น ดยุกแห่งอาบรูซซี จากพระปัยกาฝ่ายพระชนก.

ใหม่!!: ราชวงศ์ซาวอยและเจ้าหญิงโอลกา ดัชเชสแห่งอาพูเลีย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Count of SavoyCounts of SavoyHouse of Savoyราชตระกูลซาวอยตระกูลซาวอยเคานท์แห่งซาวอย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »