โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์

ดัชนี รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์

รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์(الخلافة العباسية: al-Khilāfah al-‘Abbāsīyyah) เป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ราชวงศ์ที่สามของศาสนาอิสลาม ที่มีเมืองหลวงที่แบกแดดหลังจากที่โค่นราชวงศ์อุมัยยะฮ์ออกจากบริเวณต่าง ๆ ยกเว้นอัล-อันดะลุส (Al-Andalus) รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะห์ก่อตั้งโดยผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากอับบาส อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบ (العباس بن عبد المطلب‎ – Abbas ibn Abd al-Muttalib) ลุงคนเล็กของมุฮัมมัด โดยก่อตั้งขึ้นในฮาร์รานในปี ค.ศ. 750 และย้ายเมืองหลวงจากฮาร์รานไปแบกแดดในปี ค.ศ. 762 รัฐเคาะลีฟะฮ์นี้รุ่งเรืองอยู่ราวสองร้อยปีแต่ก็มาเสื่อมโทรมลงเมื่ออำนาจของตุรกีแข็งแกร่งขึ้น ภายใน 150 ปีทีแผ่ขยายอำนาจไปทั่วเปอร์เชีย รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะห์ก็สูญเสียอำนาจให้แก่จักรวรรดิมองโกล ในปี..

35 ความสัมพันธ์: บัสราชาวไวกิงบ้านแห่งมันตาพ.ศ. 1801การค้าเครื่องเทศมัสยิดอัลอักศอมุฮัมมัด อิบน์ มูซา อัลคอวาริซมีย์ยิบรอลตาร์ยุทธการที่แม่น้ำซาบยุทธการที่เอนจาลูตรัฐเคาะลีฟะฮ์รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่สุลัยมานผู้เกรียงไกรสีกลุ่มชนอาหรับสงครามครูเสดสงครามครูเสดครั้งที่ 1สงครามครูเสดครั้งที่ 2สงครามไบแซนไทน์-อาหรับอับบาซ อิบุน อับดุบมุฏเฏาะลิบอันนาศิรียะฮ์อาดานาจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์แห่งไบแซนไทน์จักรพรรดินีไอรีนแห่งเอเธนส์จักรวรรดิข่านอิลธงการปฏิวัติอาหรับธงขาวดาเมียตตาคริสต์สหัสวรรษที่ 1ต้นสมัยกลางประวัติศาสนาอิสลามประเทศอิรักประเทศอิสราเอลเส้นทางการค้าเคาะลีฟะฮ์

บัสรา

ัสรา, แบสรา (Basra) หรือ อัลบัศเราะฮ์ (البصرة) เป็นเมืองหรืออำเภอหลักของจังหวัดบัสรา ประเทศอิรัก ตั้งในเขตชัฏฏุลอะร็อบ ริมอ่าวเปอร์เซีย เป็นที่ตั้งของมัสยิดแห่งแรกนอกคาบสมุทรอาระเบีย และศูนย์กีฬาที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลาง คือ บัสราสปอร์ตซิตี ตัวเมืองอยู่ระหว่างประเทศคูเวตและประเทศอิหร่าน ชื่อเมืองมาจากคำภาษาอาหรับ بصر (บัศร์) หรือการแลเห็น เนื่องจากเมืองนี้เป็นเมืองหน้าด่านทางทะเล แต่ไม่มีท่าเรือน้ำลึกเหมือนเมืองอุมกัศร์ (أم قصر) ที่อยู่ใกล้ ๆ กัน อย่างไรก็ตามรัฐบาลอิรักกำหนดให้เมืองบัสราเป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญ.

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และบัสรา · ดูเพิ่มเติม »

ชาวไวกิง

แผนที่แสดงการตั้งถิ่นฐานสแกนดิเนเวียของชาวไวกิง สีแดงเข้ม-ระว่าง ค.ศ.701-800, สีแดง-ระหว่าง ค.ศ. 801-900, สีส้มเข้ม-ระว่าง ค.ศ. 901-1000, และสีเหลือง-ระว่าง ค.ศ. 1001-1100, บริเวณสีเขียวแสดงพื้นที่ที่มักถูกโจมตีโดยพวกไวกิงบ่อยแต่ไม่มีการตั้งถิ่นฐานมาก ไวกิง (Vikings) ในความหมายหลักหมายถึงชนเผ่านักรบ นักการค้า และนักตั้งถิ่นฐานจากนอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์ก ซึ่งบุกรบชนะ ยึดครอง และตั้งอาณานิคมอาณาเขตในส่วนใหญ่ของอังกฤษ นอร์ม็องดี และรัสเซียเมื่อระหว่างประมาณ..

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และชาวไวกิง · ดูเพิ่มเติม »

บ้านแห่งมันตา

้านแห่งมันตา (อังกฤษ: House of Wisdom) (อาหรับ: بيت الحكمة‎) ตั้งอยู่ที่เมืองแบกแดด เป็นศูนย์รวมภูมิปัญญาในยุคทองของอิสลาม ก่อตั้งโดยกาลิป ฮาลัน อัล ราชิด (ครองราชย์ พ.ศ. 1329–1352) แห่งราชวงศ์อับบาซียะฮ์และต่อเนื่องมาถึงพระราชโอรส อัล มามุน (ครองราชย์ พ.ศ. 1356–1376) ซึ่งเป็นผู้รับรองอย่างเป็นทางการ แรกเริ่มโดยการสังเกตการณ์ท้องฟ้า ต่อมาเป็น มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ เคมี สัตววิทยา ภูมิศาสตร์ บันทึกไว้ในภาษากรีก ภาษาอินเดียและภาษาเปอร์เซีย บ้านแห่งมันตราถูกทำลายโดยการรุกรานของพวกมองโกลในปี พ.ศ. 1801 นาเซอร์ อัลดิน อัลทูซี่ ได้ช่วยขนย้ายบันทึกมากกว่า 400,000 เล่ม ออกมาเก็บซ่อนไว้ได้ก่อนการบุกทำลายของพวกมองโกล.

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และบ้านแห่งมันตา · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1801

ทธศักราช 1801 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และพ.ศ. 1801 · ดูเพิ่มเติม »

การค้าเครื่องเทศ

วามสำคัญทางเศรษฐกิจเส้นทางสายไหมและเส้นทางเครื่องเทศของเส้นทางการค้าไปยังตะวันออกมาถูกปิดโดยจักรวรรดิออตโตมัน ราว ค.ศ. 1453 เมื่อจักรวรรดิไบแซนไทน์และคอนสแตนติโนเปิลล่ม ซึ่งเป็นชนวนที่ทำให้เกิดการแข่งขันกันสำรวจหาเส้นทางการค้าไปยังตะวันออกใหม่ที่เริ่มด้วยการพยายามหาเส้นทางรอบแอฟริกาที่ในที่สุดก็นำไปสู่ยุคแห่งการสำรวจ ภาพแสดงเส้นทางการเดินทางของวัชกู ดา กามาไปยังอินเดีย (เส้นดำ) ผู้เดินทางรอบแอฟริกาคนแรก เส้นทางของเปรู ดา กูวิลยัง (สีส้ม) และอาฟงซู ดี ไปวา (สีน้ำเงิน) เส้นทางซ้อนกันเป็นสีเขียว การค้าเครื่องเทศ คือกิจการทางการพาณิชย์ที่มีต้นตอมาแต่ยุคโบราณที่เป็นการค้าขายสินค้าที่รวมทั้งเครื่องเทศ, สมุนไพร และฝิ่น การวิวัฒนาการของวัฒนธรรมของเอเชียบางส่วนก็มีอิทธิพลมาจากการค้าขายเครื่องเทศ จากนั้นก็ตามด้วยโลกกรีก-โรมันที่ใช้เส้นทางสายเครื่องหอม และเส้นทางสายโรมัน-อินเดียเป็นเส้นทางการค้ามายังตะวันออกFage 1975: 164 เส้นทางสายโรมัน-อินเดียวิวัฒนาการมาจากเทคนิคที่ใช้โดยมหาอำนาจทางการค้าของราชอาณาจักรอัคซูม (ราว 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช-จนถึง ค.ศ. 1000 กว่า ๆ) ที่เป็นการริเริ่มการใช้เส้นทางในทะเลแดงมาตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 1 อัคซูมแบ่งปันความรู้ในการใช้ลมมรสุมในการเดินเรือกับชาวโรมัน (ราว 30-10 ปีก่อนคริสตกาล) และรักษาสัมพันธ์ภาพระหว่างกันอย่างปรองดองมาจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 7 เมื่ออิสลามเรืองอำนาจขึ้น ก็ปิดเส้นทางการค้าทางทะเล และหันมาใช้ขบวนคาราวานในการขนส่งทางบกไปยังอียิปต์และซุเอซ ซึ่งเท่ากับเป็นการตัดความสัมพันธ์ทางการค้าโดยตรงระหว่างยุโรปไปยังอัคซูมและอินเดีย และในที่สุดพ่อค้าอาหรับก็ยึดการขนส่งสินค้าเข้ามาอยู่ในมือของตนเอง โดยการขนส่งสินค้าเข้าทางบริเวณเลแวนต์ไปให้แก่พ่อค้าเวนิสในยุโรปยุโรป การขนส่งด้วยวิธีนี้มายุติลงเมื่อออตโตมันเติร์กมาปิดเส้นทางอีกครั้งในปี..

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และการค้าเครื่องเทศ · ดูเพิ่มเติม »

มัสยิดอัลอักศอ

มัสยิดอัลอักศอ (المسجد الاقصى, Al-Aqsa Mosque) เป็นมัสยิดซึ่งตั้งอยู่บนเนินพระวิหารในเขตเมืองเก่าของกรุงเยรูซาเลม ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดลำดับสามของศาสนาอิสลาม ซึ่งในอดีตนั้น อาณาบริเวณนี้ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นโดมเงินหรือโดมทอง, หอสุเหร่าทั้งสี่, ประตูทั้งสิบเจ็ด ล้วนถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของมัสยิดอัลอักศอ แต่ในปัจจุบันได้มีการเรียกส่วนต่าง ๆ แยกออกจากกัน มัสยิดอัลอักศอจึงหมายถึงเฉพาะอาคารมัสยิดที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของโดมทองแห่งเยรูซาเลม ในขณะที่อาณาบริเวณทั้งหมดมีชื่อเรียกว่า อัลฮะเราะมุชชะรีฟ ชาวมุสลิมเชื่อว่าองค์อัลลอฮ์ได้พามุฮัมมัดเดินทางข้ามจากสุเหร่าศักดิ์สิทธิ์ในนครมักกะฮ์มายังอัลอักศอ (เรียกเหตุการณ์นี้ว่า อิสรออ์) และมุฮัมมัดถูกรับขึ้นสู่สวรรค์ไปพบอัลลอฮ์จากมัสยิดแห่งนี้ (เรียกเหตุการณ์นี้ว่า เมียะอ์รอจญ์) เดิมที มัสยิดแห่งนี้เป็นเพียงศาลาหลังเล็ก ๆ ที่สร้างขึ้นโดยอุมัร เคาะลีฟะฮ์คนที่สองของรอชิดีน ก่อนที่จะได้รับการสร้างใหม่และขยับขยายในสมัยราชวงศ์อุมัยยะฮ์จนแล้วเสร็จใน..

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และมัสยิดอัลอักศอ · ดูเพิ่มเติม »

มุฮัมมัด อิบน์ มูซา อัลคอวาริซมีย์

อัลคอวาริซมีย์ บนแสตมป์ของสหภาพโซเวียต ในโอกาสระลึกถึงชาตกาลครบรอบ 1,200 ปี อะบู อับดัลลาหฺ มุฮัมมัด อิบน์ มูซา อัลคอวาริซมีย์ (Abū ʿAbdallāh Muḥammad ibn Mūsā al-Khwārizmī) (ค.ศ. 780-ค.ศ. 850) เป็นนักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักโหราศาสตร์ นักภูมิศาสตร์ อีกทั้งยังเป็นนักเขียน และนักแปล.

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และมุฮัมมัด อิบน์ มูซา อัลคอวาริซมีย์ · ดูเพิ่มเติม »

ยิบรอลตาร์

รอลตาร์ (Gibraltar) เป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ใกล้กับจุดใต้สุดของคาบสมุทรไอบีเรีย ในบริเวณช่องแคบยิบรอลตาร์ มีเนื้อที่โดยรวมประมาณ 6.5 ตารางกิโลเมตร ทางทิศเหนือมีพรมแดนติดต่อกับประเทศสเปน และมีประชากรประมาณ 32,000 คน สถานที่ที่มีชื่อเสียงของยิบรอลตาร์คือ โขดหินยิบรอลตาร์ (Rock of Gibraltar) ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรณีวิทยาแห่งหนึ่งของโลก เดิมทียิบรอลตาร์เคยเป็นดินแดนหนึ่งของราชอาณาจักรสเปน จนกระทั่งในปี..

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และยิบรอลตาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่แม่น้ำซาบ

ทธการที่แม่น้ำซาบ (Battle of the Zab; معركة الزاب) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 750 ที่ริมฝั่งแม่น้ำซาบใหญ่ (Great Zab) ในประเทศอิรักปัจจุบัน เป็นการสู้รบระหว่างฝ่ายราชวงศ์อุมัยยะฮ์กับฝ่ายราชวงศ์อับบาซียะฮ์ ยุทธการครั้งนี้ทำให้ราชวงศ์อุมัยยะฮ์หมดอำนาจในตะวันออกกลางและราชวงศ์อับบาซียะฮ์ขึ้นมามีอำนาจแทนจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ในปี..

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และยุทธการที่แม่น้ำซาบ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่เอนจาลูต

ทธการที่เอนจาลูต (Battle of Ain Jalut หรือ Ayn Jalut; เอนจาลูต แปลว่า "บ่อน้ำพุของโกไลแอธ") เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1260 เป็นการสู้รบระหว่างมุสลิมมัมลุกกับชาวมองโกล สนามรบอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกาลิลี ยุทธการครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ทัพมองโกลต้องถอยร่นหลังจากเข้าปะทะ หลังมองเกอ ข่านขึ้นเป็นข่านผู้ยิ่งใหญ่ในปี..

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และยุทธการที่เอนจาลูต · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเคาะลีฟะฮ์

รัฐเคาะลีฟะฮ์ (Caliphate จาก خليفة khilāfa) เป็นเขตการปกครองแบบหนึ่งในอาณาจักรมุสลิมที่มีประมุขเป็นเคาะลีฟะฮ์ที่มาจากปรัชญาว่าเป็นผู้สืบอำนาจมาจากนบีมุฮัมมัดศาสดาของศาสนาอิสลาม ซุนนีย์ระบุว่าเคาะลีฟะฮ์ควรจะเป็นผู้ที่ได้รับเลือกโดยชูรา ผู้ได้รับเลือกโดยมุสลิมหรือผู้แทน ชีอะฮ์เชื่อว่าเคาะลีฟะฮ์คืออิมามผู้สืบเชื้อสายมาจากอะฮฺลุลบัยตฺ (Ahl al-Bayt) ตั้งแต่สมัยมุฮัมมัดมาจนถึงปี..

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และรัฐเคาะลีฟะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์

รัฐอุมัยยะห์ (بنو أمية‎) เป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งแรกที่ถูกสถาปนาโดยมุอาวียะห์ อิบนุ อบี สุฟยาน (Muahwiya Ibn Abi Sufyan I, ค.ศ. 661 - ค.ศ. 680) หลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของอะลีย์ บุตรเขยของมุฮัมหมัด ราชวงศ์นี้แผ่ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางในช่วงต้น อีกทั้งราชวงศ์ยังรักษาธรรมเนียมปฏิบัติของศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด แต่พอถึงปลายยุคเคาะลีฟะฮ์กลับเสวยแต่น้ำจัณฑ์ ล่าสัตว์ ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยไม่ปฏิบัติตามหลักศาสนา จึงถูกลูกหลานของน้าของศาสนทูตมุฮัมหมัดโค่นล้มราชวงศ์ลงในสมัยมัรวานที่ 2 ในปี ค.ศ. 750 (พ.ศ. 1293) อุมัยยะห์เป็นหนึ่งในสี่รัฐเคาะลีฟะฮ์ของอิสลามที่ก่อตั้งหลังจากการเสียชีวิตของมุฮัมหมัด ศาสนทูตของศาสนาอิสลามที่ปกครองโดยราชวงศ์อุมัยยะห์ ที่ได้รับชื่อจาก Umayya ibn Abd Shams ผู้เป็นทวดของคอลีฟะฮ์อุมัยยะห์คนแรก แม้ว่าตระกูลอุมัยยะห์เดิมจะมาจากมักกะฮ์ แต่ดามัสกัสเป็นเมืองหลวงของรัฐ หลังจากอุมัยยะห์ถูกโค่นโดยรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะห์ก็ย้ายไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่อัล-อันดะลุส (Al-Andalus) และก่อตั้งเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบา ภายหลังจากที่ท่านอะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ เคาะลีฟะฮ์รอชิดีนคนที่ 4 เสียชีวิต ท่านหะสัน อิบนุ อะลี บุตรของท่านอาลีได้รับเลือกตั้งเป็นเคาะลีฟะฮ์คนต่อไป แต่ดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ได้ไม่กี่เดือนก็ยอมสละตำแหน่งให้แก่ท่านมุอาวียะฮ์ อิบนุ อบี สุฟยาน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในรัฐอิสลาม พร้อมกับหลีกเลี่ยงความแตกแยกและการสูญเสียเลือดระหว่างชาวมุสลิมด้วยกันมากกว่านี้ มุอาวิยะฮ์เป็นเคาะลีฟะฮ์ท่านแรกในราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ท่านสืบเชื้อสายจากตระกูลอุมัยยะห์ บุตรของอับดุซซัม ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "ราชวงศ์อุมัยยะฮ์" ในสมัยการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ท่านมุอาวียะฮ์ได้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากสาธารณรัฐเป็นราชอาณาจักร ท่านทำให้ตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์กลายเป็นตำแหน่งกษัตริย์โดยการสืบสันติวงศ์ ท่านได้ทรงแต่งตั้งยะซิด โอรสของท่านให้เป็นกษัตริย์ ต่อมาการแต่งตั้งแบบนี้ได้กลายเป็นตัวอย่างการแต่งตั้งเคาะลีฟะฮ์มาตลอดราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ทั้งรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และอื่น ๆ อีกด้วย ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าท่านเป็นผู้สร้างตำแหน่งกษัตริย์โดยการสืบสันติวงศ์ขึ้นในประวัติศาสตร์ของศาสนาอิสลาม การปกครองแบบประชาธิปไตยระหว่างเผ่าของเคาะลีฟะฮ์ท่านก่อน ๆ ก็หมดสิ้นไป กลายเป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิร.

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และรายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

สุลัยมานผู้เกรียงไกร

ลต่านสุลัยมานที่ 1 (ตุรกีออตโตมัน: سلطان سليمان اول‎) พระองค์เป็นที่รู้จักในโลกตะวันตกว่า สุลัยมานผู้เกรียงไกร และเป็นที่รู้จักในโลกตะวันออกว่า สุลัยมานผู้ตรากฎหมาย ทรงเป็นประมุขของจักรวรรดิออตโตมันสมัยราชวงศ์ออสมันระหว่างปี ค.ศ. 1520 จนเสด็จสวรรคตเมื่อต้นเดือนกันยายนปี ค.ศ. 1566 เป็นสุลต่านพระองค์ที่ 10 และเป็นสุลต่านที่ทรงราชย์นานที่สุดของจักรวรรดิออตโตมัน เป็นเวลานานถึง 46 ปี สุลต่านสุลัยมานเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1494 ที่ทราบซอนในประเทศตุรกี เป็นพระราชโอรสในสุลต่านเซลิมที่ 1 และฮาฟซา ฮาทุน (Hafsa Hatun) ทรงเสกสมรสตามกฎหมายกับร็อกเซลานา หรือเฮอร์เรมสุลต่าน พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อราววันที่ 5/6 กันยายน ค.ศ. 1566 ที่ Szigetvár ในประเทศฮังการีปัจจุบัน หลังจากพระองค์เสด็จสวรรคต พระราชโอรสของพระองค์กับเฮอร์เรมสุลต่านก็ขึ้นครองราชย์เป็นสุลต่านเซลิมที่ 2 สุลต่านสุลัยมานเป็นพระมหากษัตริย์องค์สำคัญของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ผู้มีบทบาทสำคัญไม่เพียงแต่ในจักรวรรดิออตโตมันเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงททวีปยุโรปด้วย พระองค์มีพระบรมราชานุภาพอันยิ่งใหญ่ทางการทหารและทางเศรษฐกิจ ทรงเป็นผู้นำทัพด้วยพระองค์เองในการสงครามหลายครั้งและทรงได้รับชัยชนะในสงครามหลายครั้งที่รวมทั้งต่อเบลเกรด โรดส์ และ ฮังการีเกือบทั้งหมด แต่มาทางพ่ายแพ้ในการล้อมกรุงเวียนนาในปี..

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และสุลัยมานผู้เกรียงไกร · ดูเพิ่มเติม »

สีกลุ่มชนอาหรับ

ธงขบวนการปฏิวัติอาหรับhttp://www.crwflags.com/fotw/flags/xo-arabc.html Pan-Arab Colours, crwflags.comMahdi Abdul-Hadi, http://www.passia.org/palestine_facts/flag/20.htm The Great Arab Revolt, passia.org ดินแดนที่ใช้สีกลุ่มชนอาหรับบนธงชาติ สีกลุ่มชนอาหรับ (Pan-Arab colors) เป็นสีที่ใช้ในธงของประเทศหรือดินแดนที่มีกลุ่มชนอาหรับอาศัยอยู่ ประกอบด้วยสีดำ ขาว เขียว แดง โดยสีดำแทนจักรวรรดิกาหลิบรอชิดีน สีขาวแทนราชวงศ์อุมัยยะฮ์ สีเขียวแทนราชวงศ์ฟาติมียะห์ และสีแดงแทนกลุ่มเคาะวาริจญ์ สีกลุ่มชนอาหรับใช้ครั้งแรกบนธงขบวนการปฏิวัติอาหรับ ในปี..

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และสีกลุ่มชนอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสด

กรุงเยรูซาเลมในสงครามครูเสดครั้งแรก สงครามครูเสด (Crusades; الحروب الصليبية, อัลฮุรูบ อัศศอลีบียะหฺ หรือ الحملات الصليبية, อัลฮัมลาต อัศศอลีบียะหฺ แปลว่า "สงครามไม้กางเขน") เป็นชุดสงครามรบนอกประเทศทางศาสนา ที่ถูกทำให้ศักดิ์สิทธิ์โดยสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 และศาสนจักรคาทอลิก มีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อฟื้นฟูการเข้าถึงที่ศักดิ์สิทธิ์ในและใกล้เยรูซาเล็มของคริสเตียน เยรูซาเล็มเป็นนครศักดิ์สิทธิ์และสัญลักษณ์ของศาสนาเอบราฮัมหลักทั้งสาม (ศาสนายูดาย ศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม)Esposito What Everyone Needs to Know about Islam ภูมิหลังสงครามครูเสดเกิดเมื่อเซลจุคเติร์กมีชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือกองทัพไบแซนไทน์เมื่อ..

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และสงครามครูเสด · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสดครั้งที่ 1

งครามครูเสดครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1096–1099) เริ่มต้นเป็นการแสวงบุญอย่างกว้างขวาง (ฝรั่งเศสและเยอรมนี) และจบลงด้วยปฏิบัติการนอกประเทศของทหารโดยทวีปยุโรปที่นับถือโรมันคาทอลิกเพื่อทวงแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ซึ่งถูกยึดในการพิชิตเลแวนต์ของมุสลิม (ค.ศ. 632–661) จนเป็นผลให้ยึดเยรูซาเลมได้เมื่อ..

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และสงครามครูเสดครั้งที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสดครั้งที่ 2

“สภาสงครามครูเสดครั้งที่ 2” -- พระเจ้าคอนราดที่ 3 แห่งเยอรมนี, พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส และพระเจ้าบอลด์วินที่ 3 แห่งเยรูซาเลม สงครามครูเสดครั้งที่ 2 (Second Crusade) (ค.ศ. 1147-ค.ศ. 1149) เป็นสงครามครูเสด ครั้งสำคัญครั้งที่สองที่เริ่มจากยุโรปในปี ค.ศ. 1145 ในการโต้ตอบการเสียอาณาจักรเอเดสสาในปีก่อนหน้านั้น อาณาจักรเอเดสสาเป็นอาณาจักรครูเสดอาณาจักรแรกที่ก่อตั้งขึ้นระหว่างสงครามครูเสดครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1095-ค.ศ. 1099) และเป็นอาณาจักรแรกที่ล่ม สงครามครูเสดครั้งที่ 2 ได้รับการประกาศโดยสมเด็จพระสันตะปาปายูจีนที่ 3 และเป็นสงครามครูเสดครั้งแรกที่นำโดยพระมหากษัตริย์ยุโรปที่รวมทั้งพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส และพระเจ้าคอนราดที่ 3 แห่งเยอรมนี พร้อมด้วยการสนับสนุนของขุนนางสำคัญต่างๆ ในยุโรป กองทัพของทั้งสองพระองค์แยกกันเดินทางข้ามยุโรปไปยังตะวันออกกลาง หลังจากข้ามเข้าสู่ดินแดนของจักรวรรดิไบแซนไทน์ในอานาโตเลียแล้ว กองทัพทั้งสองต่างก็ได้รับความพ่ายแพ้ต่อเซลจุคเติร์ก แหล่งข้อมูลของคริสเตียนตะวันตก--โอโดแห่งดุยล์ (Odo of Deuil) และคริสเตียนซีเรียคอ้างว่าจักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอสแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ทรงมีส่วนในความพ่ายแพ้ครั้งนี้โดยทรงสร้างอุปสรรคแก่การเดินหน้าของกองทัพทั้งสองโดยเฉพาะในอานาโตเลีย และทรงเป็นเป็นผู้สั่งการโจมตีของเซลจุคเติร์ก กองทัพที่ร่อยหรอที่เหลือของพระเจ้าหลุยส์และพระเจ้าคอนราดก็เดินทางต่อไปยังกรุงเยรูซาเลม และในปี..

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และสงครามครูเสดครั้งที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามไบแซนไทน์-อาหรับ

งครามไบแซนไทน์-อาหรับ (Byzantine–Arab Wars) เป็นสงครามที่ต่อเนื่องกันระหว่างจักรวรรดิกาหลิป และจักรวรรดิไบแซนไทน์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 12 ที่เริ่มตั้งแต่การพิชิตดินแดนของมุสลิมภายใต้จักรวรรดิกาหลิปรอชิดีนและจักรวรรดิกาหลิปอุมัยยะห์ และต่อสู้ต่อเนื่องกันมาด้วยสาเหตุความขัดแย้งของพรมแดนจนถึงสงครามครูเสดเริ่มต้นขึ้น ผลของสงครามคือการเสียดินแดนของจักรวรรดิไบแซนไทน์ หรือชาวอาหรับเรียกว่า “รุม” ในบันทึกทางประวัติศาสตร์ ความขัดแย้งครั้งแรกยืนยาวตั้งแต่ ค.ศ. 634 จนถึง ค.ศ. 718 ที่จบลงด้วยการการล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลครั้งที่สองที่หยุดยั้งการขยายตัวของจักรวรรดิอาหรับเข้ามายังอนาโตเลีย ความขัดแย้งครั้งเกิดขึ้นระหว่างราว ค.ศ. 800 จนถึง ค.ศ. 1169 เมื่อฝ่ายอิสลามยึดดินแดนทางตอนใต้ของอิตาลีโดยกองกำลังของอับบาซียะห์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 9 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 10 แตไม่ประสบกับความสำเร็จเท่าใดนักในซิซิลี เมื่อมาถึงสมัยการปกครองของราชวงศ์มาซีโดเนียไบแซนไทน์ก็ยึดบริเวณลว้านคืนมาได้ และบุกต่อไปเพื่อที่จะยึดเยรูซาเลมทางตอนใต้ อาณาจักรอีเมียร์แห่งอเล็พโพและอาณาจักรเพื่อนบ้านกลายเป็นอาณาจักรบริวารของไบแซนไทน์ทางตะวันออก ที่อันตรายส่วนใหญ่มาจากจักรวรรดิกาหลิปฟาติมียะห์ในอียิปต์ สถานะการณ์มาเปลี่ยนแปลงเมื่อราชวงศ์เซลจุครุ่งเรืองขึ้นและทำให้อับบาซียะห์ได้ดินแดนลึกเข้าไปในอนาโตเลีย ซึ่งเป็นผลให้จักรพรรดิไบแซนไทน์อเล็กซิออสที่ 1 โคมเนนอสต้องเขียนพระราชสาส์นไปขอความช่วยเหลือจากสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2ที่การประชุมสภาสงฆ์แห่งปิอาเชนซา ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเริ่มสงครามครูเสดครั้งที่ 1.

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และสงครามไบแซนไทน์-อาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

อับบาซ อิบุน อับดุบมุฏเฏาะลิบ

อับบาซ อิบุน อับดุบมุฏเฏาะลิบ (العباس بن عبد المطلب, Abbas ibn Abd al-Muttalib) เป็นลุงทางพ่อและเป็นเพื่อนของมุฮัมมัดผู้มีอายุแก่กว่ามุฮัมมัดเพียงไม่กี่ปี อับดุบมุฏเฏาะลิบเป็นพ่อค้าผู้มีฐานะดี ระหว่างการเผยแพร่ของศาสนาอิสลามในระยะแรกอับดุบมุฏเฏาะลิบก็เป็นผู้พิทักษ์ปกป้องมุฮัมมัดขณะที่อยู่ที่มักกะหฺ แต่มาเปลี่ยนนิกายหลังจากยุทธการบัดร (Battle of Badr) ในปี..

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และอับบาซ อิบุน อับดุบมุฏเฏาะลิบ · ดูเพิ่มเติม »

อันนาศิรียะฮ์

อันนาศิรียะฮ์ (الناصرية) เป็นนครในประเทศอิรัก ตั้งอยู่บนลุ่มแม่น้ำยูเฟรทีส ตั้งห่างจากกรุงแบกแดดทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว 225 ไมล์ (370 กม.) อยู่ใกล้กับโบราณสถานเมืองอูร์ เป็นเมืองหลวงของเขตผู้ว่าการษีกอร ในปี..

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และอันนาศิรียะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

อาดานา

อาดานา (Adana) เป็นเมืองทางตอนใต้ของประเทศตุรกี และเป็นศูนย์กลางการค้าและกสิกรรมที่สำคัญ เมืองตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำเซย์ฮาน อยู่ห่างจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนราว 30 กม.

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และอาดานา · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิอเล็กซานเดอร์แห่งไบแซนไทน์

ักรพรรดิอเล็กซานเดอร์แห่งไบแซนไทน์ (Alexander; Αλέξανδρος) (19 กันยายน ค.ศ. 870 – 6 มิถุนายน ค.ศ. 913) บางครั้งก็ลำดับเป็นอเล็กซานเดอร์ที่ 3 พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ของราชวงศ์มาซิโดเนียนผู้ทรงครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 912 จนถึง ค.ศ. 913 อเล็กซานเดอร์เป็นพระราชโอรสองค์ที่สามในพระจักรพรรดิบาซิลที่ 1 และจักรพรรดินียูโดเคีย อินเจรินา พระองค์ไม่ทรงมีปัญหาเหมือนกับพระเชษฐาจักรพรรดิลีโอที่ 6 เดอะไวส์ว่าผู้ใดเป็นพระราชบิดาที่แท้จริงระหว่างจักรพรรดิบาซิลและจักรพรรดิมิคาเอลที่ 3 เพราะประสูติหลายปีหลังจากที่จักรพรรดิมิคาเอลเสด็จสวรรคตไปแล้ว อเล็กซานเดอร์ทรงได้รับการสวมมงกุฎให้เป็นพระจักรพรรดิร่วมกับพระราชบิดาราวปี..

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์แห่งไบแซนไทน์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีไอรีนแห่งเอเธนส์

อรีนแห่งเอเธนส์ จักรพรรดินีแห่งไบแซนไทน์ หรือ ไอรีน เดอะเอเธนส์เนียน (กรีก:Εἰρήνη ἡ Ἀθηναία; ราวค.ศ. 712 - 9 สิงหาคม ค.ศ. 803) พระนามเดิมคือ ไอรีน ซารันตาเปชาอีนา (กรีก:Εἰρήνη Σαρανταπήχαινα) ทรงเป็นจักรพรรดินี พระประมุขแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ตั้งแต..

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และจักรพรรดินีไอรีนแห่งเอเธนส์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิข่านอิล

ักรวรรดิข่านอิล (Ilkhanate; ایلخانان, "Ilkhanan"; มองโกเลีย: Хүлэгийн улс, "ดินแดนของฮูเลกู" (Hulagu-yn Ulus)) เป็นรัฐที่แตกมาจากจักรวรรดิมองโกล ครอบคลุมพื้นที่ในตะวันออกกลาง บริเวณประเทศอิหร่านในปัจจุบันเป็นส่วนใหญ่ คำว่า "อิลข่าน" มาจากนามที่กุบไลข่านประทานให้แก่ฮูเลกู ข่าน ผู้ปกครองคนแรก จุดเริ่มต้นของจักรวรรดิข่านอิลมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 เมื่อเจงกีส ข่าน รบชนะจักรวรรดิควาเรซม์ และพิชิตดินแดนในเอเชียกลางและตะวันออกกลาง ล่วงมาจนถึงฮูเลกู ข่าน พระนัดดา (หลาน) ของเจงกีส ข่าน เมื่อเขารบชนะราชวงศ์อับบาซียะฮ์ที่ครองกรุงแบกแดด ฮูเลกูก็ขยายอำนาจไปในปาเลสไตน์ ก่อนจะพ่ายให้กับชาวแมมลุกในยุทธการที่เอนจาลูต หลังมองเกอ ข่านสวรรคต จักรวรรดิมองโกลก็เกิดสงครามกลางเมือง และแตกออกเป็นหลายอาณาจักร ในปี..

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และจักรวรรดิข่านอิล · ดูเพิ่มเติม »

ธงการปฏิวัติอาหรับ

23px ธงขบวนการปฏิวัติอาหรับ สัดส่วน: 2:3 ธงขบวนการปฏิวัติอาหรับ เป็นธงที่ถูกกำหนดขึ้นโดยขบวนการชาตินิยมอาหรับ เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ในการต่อต้านการปกครองของจักรวรรดิออตโตมาน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นเป็นแถบสีดำ สีเขียว และสีขาว แบ่งตามแนวนอนของธง ที่ด้านคันธงนั้นเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วสีแดง ธงดังกล่าวนี้ถือเป็นต้นแบบของธงชาติของประเทศอาหรับต่างๆ ในเวลาต่อมาด้ว.

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และธงการปฏิวัติอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ธงขาว

งขาวที่สร้างขึ้นอย่างง่ายๆ ธงขาว (white flag) เป็นคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ โดยทั่วไปเป็นที่เข้าใจว่าการยกธงขาวเป็นสัญลักษณ์ของการยอมแพ้ หรือการพักรบ หรือทั้งสองกรณี ในการสงคราม อย่างไรก็ดี ธงขาวยังมีความหมายอย่างอื่นอีกมากในประวัติศาสตร์และธรรมเนียมของแต่ละท้องถิ่น.

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และธงขาว · ดูเพิ่มเติม »

ดาเมียตตา

การยึดเมืองดาเมียตตาโดยนักรบครูเสด ดาเมียตตา (Damietta หรือ Damiata หรือ Domyat) หรือ ดุมยาฏ (دمياط) เป็นเมืองท่าและเมืองหลักของเขตผู้ว่าการดาเมียตตาในประเทศอียิปต์ ดาเมียตตาตั้งอยู่ที่จุดที่แม่น้ำไนล์ไหลออกสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนราว 200 กิโลเมตรทางตอนเหนือของกรุงไคโร.

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และดาเมียตตา · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์สหัสวรรษที่ 1

ริสต์สหัสวรรษที่ 1 เป็นช่วงเวลาที่เริ่มต้นในวันที่ 1 มกราคม..1 และจบลงในวันที่ 31 ธันวาคม..1000 ตามปฏิทินจูเลียน นี่เป็นสหัสวรรษที่ 1 ของทั้งคริสต์ศักราชและสากลศักร.

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และคริสต์สหัสวรรษที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

ต้นสมัยกลาง

ักรพรรดินีธีโอโดรา พระอัครมเหสีในจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 ในงานโมเสกของคริสต์ศตวรรษที่ 6 ภายในมหาวิหารซันวีตาเล เมืองราเวนนา หนังสือสำหรับพิธีศาสนาจากคริสต์ศตวรรษที่ 8 (หอสมุดวาติกัน, Reg. Lat. 316. foll. 131v/132r) ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages) เป็นสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์ยุโรป เริ่มขึ้นหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันและดำเนินต่อเนื่องกันเป็นเวลาประมาณห้าร้อยปีโดยเริ่มตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 500 จนกระทั่งมาถึงราวปี ค.ศ. 1000 ต้นสมัยกลางสิ้นสุดแล้วจึงต่อด้วยสมัยกลางยุครุ่งโรจน.

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และต้นสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสนาอิสลาม

การขยายอาณาเขตในสมัยราชวงศ์อุมัยยะห์ ปี 661–750 มัสยิดแห่งอุคบา ในประเทศตูนิเซีย สร้างในปี 670 โดยนายพลชาวอาหรับ แสดงถึงการแพร่ของศาสนาอิสลามในบริเวณแอฟริกาเหนือ ประวัติศาสนาอิสลาม เริ่มขึ้นปี..

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และประวัติศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิรัก

ประเทศอิรัก (العراق; عێراق อังกฤษ: Iraq) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิรัก (جمهورية العراق; كؤماری عێراق) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีอาณาเขตทางทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทางทิศตะวันออกจดประเทศอิหร่าน ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จดประเทศคูเวต ทางทิศใต้จดประเทศซาอุดีอาระเบีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศจอร์แดน และทางทิศตะวันตกจดประเทศซีเรีย กรุงแบกแดด ซึ่งเป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่ในกลางประเทศ ราว 97% ของประชากรอิรัก 36 ล้านคนเป็นชาวมุสลิม ส่วนใหญ่มีเชื้อสายซุนนีย์ ชีอะฮ์และเคิร์ด ประเทศอิรักมีแนวชายฝั่งส่วนแคบวัดความยาวได้ 58 กิโลเมตรทางเหนือของอ่าวเปอร์เซีย และอาณาเขตของประเทศครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเมโสโปเตเมีย ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาซากรอส และทะเลทรายซีเรียส่วนตะวันออก สองแม่น้ำหลัก แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ไหลลงใต้ผ่านใจกลางประเทศและไหลลงสู่ชัฏฏุลอะร็อบใกล้อ่าวเปอร์เซีย แม่น้ำเหล่านี้ทำให้ประเทศอิรักมีดินแดนอุดมสมบูรณ์มากมาย ภูมิภาคระหว่างแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสมักเรยกว่า เมโสโปเตเมีย และคาดว่าเป็นบ่อเกิดของการเขียนและอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดของโลก พื้นที่นี้ยังเป็นที่ตั้งของอารยธรรมที่สืบทอดต่อกันมานับแต่ 6 สหัสวรรษก่อนคริสตกาล ในแต่ละช่วงของประวัติศาสตร์ อิรักเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิอัคคาเดีย ซูเมเรีย อัสซีเรีย และบาบิโลเนีย นอกจากนี้ยังเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมีเดีย อะคีเมนิด เฮลเลนนิสติก พาร์เธีย แซสซานิด โรมัน รอชิดีน อุมัยยะฮ์ อับบาซียะห์ มองโกล ซาฟาวิด อาฟชาริยะห์และออตโตมัน และเคยเป็นอาณาเขตในอาณัติสันนิบาตชาติภายใต้การควบคุมของอังกฤษ พรมแดนสมัยใหม่ของประเทศอิรักส่วนใหญ่ปักใน..

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และประเทศอิรัก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิสราเอล

ประเทศอิสราเอล (Israel; יִשְׂרָאֵל; إِسْرَائِيل) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐอิสราเอล (State of Israel; מְדִינַת יִשְׂרָאֵל; دَوْلَة إِسْرَائِيل) เป็นประเทศในตะวันออกกลางบนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและชายฝั่งเหนือของทะเลแดง มีเขตแดนทางบกติดต่อกับประเทศเลบานอนทางทิศเหนือ ประเทศซีเรียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศจอร์แดนทางทิศตะวันออก ดินแดนเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาของปาเลสไตน์ทางทิศตะวันออกและตะวันตกตามลำดับ และประเทศอียิปต์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศอิสราเอลมีภูมิลักษณ์หลากหลายแม้มีพื้นที่ค่อนข้างเล็ก เทลอาวีฟเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศ ส่วนที่ตั้งรัฐบาลและเมืองหลวงตามประกาศคือ เยรูซาเลม แม้อำนาจอธิปไตยของรัฐเหนือเยรูซาเลมยังไม่มีการรับรองในระดับนานาประเทศThe Jerusalem Law states that "Jerusalem, complete and united, is the capital of Israel" and the city serves as the seat of the government, home to the President's residence, government offices, supreme court, and parliament.

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และประเทศอิสราเอล · ดูเพิ่มเติม »

เส้นทางการค้า

้นทางการค้า (trade route) คือเส้นทางที่ในเครือข่ายที่บ่งว่าเป็นเส้นทางและจุดหยุดพักที่ใช้ในการขนส่งสินค้าไปยังตลาดที่อยู่ในดินแดนที่ไกลออกไปจากต้นแหล่งที่ผลิตสินค้ามาก เส้นทางการค้าแต่ละเส้นทางก็จะประกอบด้วยถนนสายหลัก (Arterial road) ที่อาจจะมีเครือข่ายย่อยๆ ที่ใช้เป็นเส้นทางการค้าและการคมนาคมมาบรรจบ ในประวัติศาสตร์ช่วงตั้งแต่ปี 1532 ก่อนคริสต์ศักราช จนถึง..

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และเส้นทางการค้า · ดูเพิ่มเติม »

เคาะลีฟะฮ์

ลีฟะฮ์ หรือ กาหลิบ (خليفة) มาจากคำว่า "เคาะลีฟะฮ์ อัรเราะซูล" (ผู้แทนของท่านเราะซูล) คือคำที่ใช้เรียกประมุขของอาณาจักรอิสลามต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่หลังจากนบีมุฮัมมัดเสียชีวิต จนถึงปลายอาณาจักรอุษมานียะหฺ ประมุขสี่คนแรกเรียกว่า อัลคุละฟาอ์ อัรรอชิดูน คือ อะบูบักรฺ อุมัร อิบนุลค่อฏฏอบ อุษมาน บินอัฟฟาน, และอะลีย์ บินอะบีฏอลิบ ต่อมาเมื่ออำนาจของรัฐอิสลามตกภายใต้การปกครองของตระกูลอุมัยยะฮ์ ตระกูลอับบาซียะฮ์ และตระกูลอุษมาน ประมุขแต่ละคนก็ยังใช้คำนี้ เคาะลีฟะฮ์คนสุดท้ายคือ อับดุลมะญีด ที่ 2 เขตปกครองของเคาะลีฟะฮ์เรียกว่ารัฐเคาะลีฟะฮ์ (Caliphate).

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และเคาะลีฟะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

AbassidAbbasid CaliphateAbbasid dynastyAbbasidsAbbassidAbbāsidsราชวงศ์อับบาซียะห์ราชวงศ์อับบาซียะฮ์อับบาซียะห์อับบาซียะฮ์จักรวรรดิกาหลิบอับบาซียะห์จักรวรรดิกาหลิปอับบาซียะห์จักรวรรดิกาหลิปอับบาซียะฮ์จักรวรรดิอับบาซียะห์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »