โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษายูเครน

ดัชนี ภาษายูเครน

ภาษายูเครน (украї́нська мо́ва, ukrayins'ka mova) เป็นภาษากลุ่มสลาวิกตะวันออก เป็นภาษาทางการของยูเครน ระบบการเขียนใช้อักษรซีริลลิก และใช้คำร่วมกับภาษาของประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะภาษาเบลารุส ภาษาโปแลนด์, ภาษารัสเซีย และภาษาสโลวัก ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ กัน หมวดหมู่:ภาษาในประเทศยูเครน ยูเครน.

64 ความสัมพันธ์: AGROVOCÏกลุ่มภาษาสลาวิกการโอนผ่านยุคหลังโซเวียตของยูเครนกูเกิล แปลภาษาภาษารัสเซียภาษาไซเทียมิสแกรนด์ยูเครนยูลิยา ทีโมเชนโกย้อดรายชื่อภาษารายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่รายชื่อรหัสภาษา ISO 639-1รถไฟใต้ดินเคียฟวลาดิเมียร์ ไซโดเรนโกวลาดีมีร์ คลิทช์โกวิกิพีเดียภาษายูเครนวิตาลี คลิทช์โกสกอร์โปนอคสภาเพื่อความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนสาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมียสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2อักษรซีริลลิกอเล็กซานเดอร์ (ชื่อ)จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีจังคอยจีเมลทรานส์นีสเตรียดิวโอลิงโกประธานาธิบดียูเครนประเทศยูเครนประเทศโรมาเนียประเทศโปแลนด์ปอลตาวาปีเตอร์ ชิลตันแม่น้ำดานูบแวมไพร์โฟโต้สเกปโดเนตสค์โซเฟีย โรตารุโนโวรอสซียา (สมาพันธรัฐ)ไชนาเรดิโออินเตอร์เนชันแนลเพลงชาติสหภาพโซเวียตเพลงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนเรือบรรทุกเครื่องบินเหลียวหนิงเอสเอ็มเอฟเขตปกครองสามัญเครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนียเซวัสโตปอล...ѤҐWindows-1251ЩЭИЖВГЄІЇЕЙ ขยายดัชนี (14 มากกว่า) »

AGROVOC

AGROVOC ได้ถูกพัฒนาขึ้นในปี 1980 โดยเป็นอรรถาภิธานศัพท์พหุภาษาแบบมีโครงสร้าง ในด้านการเกษตร วนศาสตร์ การประมง อาหาร โภชนาการ และสาขาที่เกี่ยวข้อง (เช่น สิ่งแวดล้อม) อรรถาภิธานนี้เป็นคำศัพท์มาตรฐานที่กำหนดคำดรรชนีให้ถูกต้องตรงกัน ทั้งนี้เพื่อช่วยให้การสืบค้นสารสนเทศมีประสิทธิภาพ และยังช่วยขยายผลการสืบค้นสารสนเทศให้มีความครอบคลุมและกว้างขวางยิ่งขึ้น ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา AGROVOC เป็นเครื่องมือที่ให้องค์กรต่างๆ ใส่องค์ความรู้ และพัฒนาออนโทโลยี เพื่อให้มีความสามารถในการสืบค้นได้ แต่ในปัจจุบัน AGROVOC ได้ถูกพัฒนาขึ้นเป็นแม่ข่ายทางมโนทัศน์ (Concept Server) ซึ่งเปรียบเสมือนอรรถาภิธานคำศัพท์ (Term-based hesaurus) AGROVOC ได้ถูกใช้งานโดยกลุ่มคนทั่วโลก เช่นนักวิจัย บรรณารักษ์ ผู้จัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ และบุคคลอื่นๆ เพื่อใช้ในการทำดรรชนี การค้นคืน และการจัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันในด้านสารสนเทศทางการเกษตร สิ่งสำคัญก็คือการทำให้การอธิบายเชิงความหมายมีมาตรฐาน ทั้งนี้เพื่อทำให้ระบบต่างๆ สามารถทำงานประสานกันได้ และเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลให้กว้างขึ้น อรรถาภิธานศัพท์เกษตร AGROVOC ประกอบด้วยคำศัพท์ใน 6 ภาษาหลัก คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน ภาษาอาหรับ ภาษาจีน ภาษารัสเซีย และได้ถูกแปลเป็นภาษาอื่น ๆ อีก ได้แก่ ภาษาเช็ก ภาษาเปอร์เซีย ภาษาเยอรมัน ภาษาฮินดี ภาษาฮังการี ภาษาอิตาลี ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ภาษาลาว ภาษาโปแลนด์ ภาษาโปรตุเกส ภาษาสโลวัก และภาษาไทย สำหรับคำศัพท์ในภาษามลายู ภาษามอลโดวา ภาษาเตลูกู ภาษาตุรกี และภาษายูเครน อยู่ในระหว่างดำเนินการ.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและAGROVOC · ดูเพิ่มเติม »

Ï

ตัวอักษร Ï (ตัวเล็ก: ï) เป็นรูปแบบหนึ่งของอักษรละติน I ที่มีอุมเล้าท์และไดแอร์เรซิส (umlaut, diaeresis) อยู่ด้านบน โดยถูกใช้ในบริบทที่หลากหลายในสัทอักษรสากล.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและÏ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาสลาวิก

ประเทศที่มกลุ่มภาษาสลาวิกใต้เป็นภาษาประจำชาติ กลุ่มภาษาสลาวิก เป็นสาขาหนึ่งของกลุ่มภาษาบัลโต-สลาวิก ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน กลุ่มภาษาสลาวิกเป็นภาษาแม่ของชาวสลาฟ ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในยุโรปตะวันออกและคาบสมุทรบอลข่าน แก้ไข กลุ่มภาษาสลาวิก.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและกลุ่มภาษาสลาวิก · ดูเพิ่มเติม »

การโอนผ่านยุคหลังโซเวียตของยูเครน

การโอนผ่านยุคหลังโซเวียตของยูเครน เป็นยุคโอนผ่านระหว่าง การประกาศเอกราชของยูเครนจากสหภาพโซเวียตในปี 1991 จนถึงการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญ ในปี 1996 โดยหลังจากที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้ ประเทศมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการคือ "ยูเครน" แทนที่ "สาธารณรัฐยูเครน".

ใหม่!!: ภาษายูเครนและการโอนผ่านยุคหลังโซเวียตของยูเครน · ดูเพิ่มเติม »

กูเกิล แปลภาษา

กูเกิลแปลภาษา (Google Translate) เป็นบริการแปลภาษาหลายภาษาด้วยเครื่องจักรโดยไม่คิดค่าบริการของบริษัทกูเกิล กูเกิลแปลภาษามีลักษณะไม่เหมือนกับบริการแปลอื่น ๆ เช่น Babel Fish, AOL, ยาฮู! ที่ใช้ SYSTRAN ขณะที่กูเกิลใช้ซอฟต์แวร์การแปลของตนเอง แต่อย่างไรก็ตามคู่แข่งทางการค้าเจ้าใหญ่อย่างบริษัท ไมโครซอฟท์ ได้มีผลิตภัณฑ์ที่ใกล้เคียงกันมากมาลงแข่งขันด้วย ซึ่งมีชื่อว่า Bing Translator.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและกูเกิล แปลภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษารัสเซีย

ษารัสเซีย (русский язык) เป็นภาษากลุ่มสลาวิกที่ใช้เป็นภาษาพูดอย่างกว้างขวางที่สุด ภาษารัสเซียจัดอยู่ในกลุ่มอินโด-ยูโรเปียน ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์กับภาษาสันสกฤต ภาษากรีก และภาษาละติน รวมไปถึงภาษาในกลุ่มเจอร์แมนิก โรมานซ์ และเคลติก (หรือเซลติก) ยุคใหม่ ตัวอย่างของภาษาทั้งสามกลุ่มนี้ได้แก่ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาไอริชตามลำดับ ส่วนภาษาเขียนนั้นมีหลักฐานยืนยันปรากฏอยู่เริ่มจากคริสต์ศตวรรษที่ 10 ในปัจจุบัน ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีการใช้นอกประเทศรัสเซียด้วย มีเอกสารทางวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งตีพิมพ์เป็นภาษารัสเซีย รวมทั้งความรู้ในระดับมหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่ง ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีความสำคัญทางการเมืองในยุคที่สหภาพโซเวียตเรืองอำนาจและยังเป็นภาษาราชการภาษาหนึ่งของสหประชาชาต.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและภาษารัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไซเทีย

ษาซามาร์เทียหรือภาษาไซเทีย เป็นสำเนียงของภาษากลุ่มอิหร่านตะวันออก ใช้พูดโดยชาวไซเทียหรือซามาร์เทียในรัสเซียภาคใต้ระหว่าง 257 ปีก่อนพุทธศักราชจนถึง..

ใหม่!!: ภาษายูเครนและภาษาไซเทีย · ดูเพิ่มเติม »

มิสแกรนด์ยูเครน

'''Nadiya Karplyuk''' – มิสแกรนด์ยูเครน 2014 '''Anastasiia Lenna''' – มิสแกรนด์ยูเครน 2015 '''Marina Kushnir''' – มิสแกรนด์ยูเครน 2016 ซึ่งได้ตำแหน่งจากการประกวดควีนออฟยูเครน 2016 แต่ไม่ได้เข้าร่วมการประกวดมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล 2016 เนื่องจากมีการเปลี่ยนตัวผู้ดำรงตำแหน่ง '''Veronika Mykhailyshyn''' – ควีนออฟยูเครน 2016 ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง '''มิสแกรนด์ยูเครน 2016''' แทน '''Marina Kushnir''' มิสแกรนด์ยูเครน (Miss Grand Ukraine) เป็นตำแหน่งในการประกวดนางงามระดับประเทศของยูเครน ซึ่งจะต้องเป็นตัวแทนของประเทศเข้าร่วมการประกวดมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล โดยในปัจจุบัน ผู้ดำรงตำแหน่งมิสแกรนด์ยูเครนจะมาจากการประกวด ควีนออฟยูเครน โดยการประกวดดังกล่าวใช้ระบบการคัดเลือกหาตัวแทนของแต่ละจังหวัด เพื่อเข้าร่วมการประกวดในระดับประเทศ โดยจะถือว่าผู้ที่ชนะการประกวด ควีนออฟยูเครน ในแต่ละปี เป็นผู้ดำรงตำแหน่ง มิสแกรนด์ยูเครน ผู้ถือลิขสิทธิ์การจัดหาผู้ดำรงตำแหน่งมิสแกรนด์ยูเครนในปัจจุบัน คือ Natalia Kovaleva ผู้ดำรงตำแหน่งมิสแกรนด์ยูเครนคนแรก คือ Nadiya Karplyuk จากจังหวัดโวลิน และได้เข้าร่วมการประกวดมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล 2014 และสามารถผ่านเข้าสู่รอบ 20 คนสุดท้ายได้สำเร็จ ส่วนผู้ดำรงตำแหน่งมิสแกรนด์ยูเครนคนปัจจุบัน คือ Snizhana Tanchuk จากจังหวัดลวีฟ ซึ่งได้รับตำแหน่งจากการประกวดควีนออฟยูเครน 2017 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ภาษายูเครนและมิสแกรนด์ยูเครน · ดูเพิ่มเติม »

ยูลิยา ทีโมเชนโก

ูลิยา โวโลดีมีริฟนา ทีโมเชนโก (ภาษายูเครน: Юлія Володимирівна Тимошенко, อังกฤษ: Yulia Tymoshenko) เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 ในเมืองดนีโปรเดปโทรฟสค์ ในประเทศยูเครน เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศยูเครน ยูเลียเป็นนักการเมืองและเป็นผู้นำพรรคบาทคิฟฉชีนา (Батькiвщина, แปลว่า ปิตุภูมิ) ก่อนหน้าที่จะทำงานทางการเมือง เธอเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จสูงในอุตสาหกรรมก๊าสปิโตรเลียม และนับเป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในยูเครน ยูลิยาเคยเป็นพันธมิตรคนสำคัญที่สุดของผู้นำฝ่ายค้าน คือ นายวิกเตอร์ ยูเชงโก (ยูลิยาเคยเป็นรองนายกรัฐมนตรี สมัยที่เขาเป็นนายกฯ) และมีประวัติที่ดีเยี่ยมในช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดี เมื่อปี..

ใหม่!!: ภาษายูเครนและยูลิยา ทีโมเชนโก · ดูเพิ่มเติม »

ย้อด

ย้อด (Yod อาจสะกดเป็น Yud หรือ Yodh) เป็นอักษรตัวที่สิบของอักษรตระกูลเซมิติกส่วนใหญ่ เช่น อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู י‎, อักษรซีเรียค และอักษรอาหรับ ﻱ‎ (ยาอ์) แทนด้วยสัทอักษร อักษรฟินิเชียตัวนี้พัฒนาไปเป็นอักษรกรีก (Ι), อักษรละติน I, อักษรซีริลลิกสำหรับภาษายูเครนและภาษาเบลารุส І, (Ⲓ) และอักษรกอทิก eis (̹) เชื่อว่ามาจากอักษรภาพรูปมือ (จากภาษาอาหรับและภาษาฮีบรูสมัยใหม่, yad) หรืออาจจะมาจากอักษรไฮโรกลิฟรูปแขน หมวดหมู่:อักษรอาหรับ fa:ی ja:ي.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและย้อด · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อภาษา

รายชื่อภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกเรียงตามลำดับตัวอักษร.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่

นี่คือ รายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ที่ใช้เป็นภาษาแม.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและรายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อรหัสภาษา ISO 639-1

ตารางนี้ประกอบด้วยรหัสทั้งหมดของ.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและรายชื่อรหัสภาษา ISO 639-1 · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟใต้ดินเคียฟ

รถไฟใต้ดินเคียฟ (Київський метрополітен or Київське метро) เป็นระบบขนส่งสาธารณะในเคียฟ เป็นเส้นทางรถไฟใต้ดินแห่งแรกในประเทศยูเครน และแห่งที่สามในกลุ่มอดีตประเทศของสหภาพโซเวียต ต่อจากรถไฟใต้ดินมอสโก และ รถไฟใต้ดินเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ปัจจุบันมีสามเส้นทาง ระยะทาง จำนวน 51 สถานี สถิติผู้โดยสาร 1.439 ล้านคนต่อวัน.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและรถไฟใต้ดินเคียฟ · ดูเพิ่มเติม »

วลาดิเมียร์ ไซโดเรนโก

วลาดิเมียร์ ไซโดเรนโก (Wladimir Sidorenko; ภาษายูเครน:Валерій Сидоренко) หรือ โวโลดืยมีร ซืยโดเรนโค นักมวยสากลชาวยูเครน เกิดเมื่อ 23 กันยายน..

ใหม่!!: ภาษายูเครนและวลาดิเมียร์ ไซโดเรนโก · ดูเพิ่มเติม »

วลาดีมีร์ คลิทช์โก

วลาดีมีร์ คลิทช์โก (อังกฤษ: Wladimir Klitschko) นักมวยรุ่นเฮฟวี่เวทชาวยูเครน มีชื่อเต็มว่า วลาดีมีร์ โวโลดีมีโลวิช คลิทช์โก (Volodymyr Volodymyrovych Klychko, ยูเครน: Володимир Володимирович Кличко) เกิดเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1976 ที่เซมิปาลาตินส์ก, คาซัคสถาน สหภาพโซเวียต เป็นน้องชายแท้ ๆ ของ วิตาลี คลิทช์โก วลาดิมียร์ผ่านการชกมวยสากลสมัครเล่นมาอย่างโชกโชนกว่าวิตาลี ผู้เป็นพี่ เคยคว้าแชมป์มวยระดับจูเนียร์ของทวีปยุโรป ในรุ่นเฮฟวี่เวท ในปี ค.ศ. 1993 และเคยประสบความสำเร็จสูงสุดด้วยการคว้าเหรียญทองในรุ่นซูเปอร์เฮฟวี่เวท ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน ค.ศ. 1996 ที่แอตแลนตา สหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นแล้ว วลาดิมียร์ก็หันมาชกมวยสากลอาชีพพร้อมกับ วิตาลี พี่ชาย ด้วยการเข้าอยู่ในสังกัด Universum Box-Promotion ที่ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ของ ฟริตซ์ สดูเนค ซึ่งทั้งคู่เมื่อหันมาชกมวยสากลอาชีพแล้วก็ได้สร้างความฮือฮาเป็นอย่างมากต่อวงการมวยโลก ด้วยเป็นคู่พี่น้องผิวขาวในรุ่นเฮฟวี่เวท ที่หมัดหนัก รูปร่างสูงใหญ่ทั้งคู่ ซึ่งวลาดิมียร์มีส่วนสูง 6 ฟุต 7 นิ้ว (199 เซนติเมตร) ซึ่งวลาดิมียร์ก็ถือว่าประสบความสำเร็จก่อนวิตาลีพี่ชายเสียด้วยซ้ำ เมื่อสามารถคว้าแชมป์อินเตอร์เนชั่นแนลของสภามวยโลก (WBC) มาครองได้ก่อน ในปี ค.ศ. 1998 แต่แล้ววลาดิเมียร์ก็ต้องมาพบกับความพ่ายแพ้ครั้งแรกเมื่อเป็นฝ่ายแพ้น็อกต่อ รอสส์ พูริตตี นักมวยโนเนมชาวอเมริกัน ในปลายปีเดียวกัน ในยกที่ 11 หลังจากนั้นวลาดิเมียร์ก็ยังชกเคลื่อนไหวอีกหลายครั้ง รวมทั้งคว้าแชมป์ยุโรปและแชมอินเตอร์คอนติเนนตัล ของ สมาคมมวยโลก (WBA) มาครองได้อีก วลาดิมียร์ มาคว้าแชมป์โลกได้เป็นครั้งแรก เมื่อเป็นฝ่ายเอาชนะคะแนน คริส เบิร์ด นักมวยชาวอเมริกันใน ปี ค.ศ. 2000 ได้แชมป์โลกรุ่นเฮฟวี่เวทขององค์กรมวยโลก (WBO) วลาดิมียร์ป้องกันตำแหน่งไว้ได้ 5 ครั้ง ก่อนที่จะมาพ่ายแพ้อีกครั้งต่อ คอร์รี แซนเดอร์ส นักมวยชาวแอฟริกาใต้ ในปี ค.ศ. 2002 เมื่อเป็นฝ่ายแพ้น็อกเพียงแค่ยกที่ 2 จากนั้นก็ชกเคลื่อนไหวอีก 2 ครั้ง ก่อนที่จะพบกับความพ่ายแพ้ครั้งที่ 3 ต่อ ลามอน บริวสเตอร์ นักมวยชาวอเมริกัน ในยกที่ 5 เมื่อปี ค.ศ. 2003 ชิงแชมป์โลกกลับมาไม่สำเร็จ วลาดิมียร์ คลิทช์โก กลับมาเป็นแชมป์โลกได้อีกครั้งในปี ค.ศ. 2005 เมื่อเป็นฝ่ายชนะน็อก แซมมวล ปีเตอร์ นักมวยชาวไนจีเรีย ถึงรัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา ทำให้ได้แชมป์หลายสถาบัน ทั้ง NABF, IBF และ WBO จนถึงปัจจุบันนี้ วลาดิมียร์ยังไม่ได้พ่ายแพ้แก่ใครอีก นอกจากจะเป็นแชมป์ของ NABF, IBF, WBO, IBO แล้วยังเป็นแชมป์ของสถาบันเดอะ ริง อีกด้วย ชีวิตส่วนตัว ในปี..

ใหม่!!: ภาษายูเครนและวลาดีมีร์ คลิทช์โก · ดูเพิ่มเติม »

วิกิพีเดียภาษายูเครน

วิกิพีเดียภาษายูเครน (Українська Вікіпедія) เป็นสารานุกรมวิกิพีเดียที่จัดทำขึ้นในภาษายูเครน เริ่มสร้างเมื่อ 30 มกราคม พ.ศ. 2547 ปัจจุบันวิกิพีเดียภาษายูเครนมีบทความมากกว่า 610,000 บทความ (มกราคม 2559).

ใหม่!!: ภาษายูเครนและวิกิพีเดียภาษายูเครน · ดูเพิ่มเติม »

วิตาลี คลิทช์โก

วิตาลี คลิทช์โก (อังกฤษ: Vitali Klitschko) นักมวยรุ่นเฮฟวี่เวทชาวยูเครน มีชื่อเต็มว่า วิตาลี โวโลดีมีโลวิช คลิทช์โก (Vitalii Volodymyrovych Klychko, ยูเครน: Віта́лій Володи́мирович Кличко́) เกิดเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1971 ที่สหภาพโซเวียต เป็นบุตรชายของ วลาดิเมียร์ โรดิโอโนวิช ซึ่งเป็นอดีตทหารระดับพันเอกของกองบินโซเวียต และ นาเดซดา อูลยานอฟนา ผู้เป็นแม่ วิตาลี ก่อนมาชกมวยสากลอาชีพเคยชกคิกบ็อกซิ่งมาก่อน เคยได้เหรียญเงินและเหรียญทองในการแข่งขันคิกบ็อกซิ่งนานาชาติในปี ค.ศ. 1995 และเคยได้เหรียญเงินมวยสากลสมัครเล่นชิงแชมป์โลกที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ในปีเดียวกัน ก่อนที่จะหันมาชกมวยสากลอาชีพในปี ค.ศ. 1996 ในสังกัดของ Universum Box-Promotion ที่ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ภายใต้การฝึกสอนของ ฟริตซ์ สดูเนค พร้อมกับน้องชาย คือ วลาดิเมียร์ คลิทช์โก ซึ่งทั้งวิตาลีและวลาดิเมียร์ น้องชายได้สร้างความฮือฮาเป็นอย่างมากต่อวงการมวยโลก เนื่องจากทำสถิติชนะรวดโดยไม่มีแพ้ ไม่มีเสมอมาตลอด พร้อมกับภาพลักษณ์ที่เป็นมวยผิวขาวที่หมัดหนัก รูปร่างสูงใหญ่ทั้งคู่ โดยเฉพาะผู้พี่ วิตาลี ที่มีส่วนสูงถึง 6 ฟุต 7 นิ้ว (201 เซนติเมตร) และทำสถิติชนะน็อกรวดมาตลอดถึง 24 ครั้งด้วยกัน ก่อนที่จะขึ้นแชม์โลกเป็นครั้งแรกในสถาบัน องค์กรมวยโลก (WBO) ด้วยการเอาชนะน็อก เฮอร์บี ไฮด์ นักมวยผิวดำชาวอังกฤษ ได้ถึงถิ่นของแชมป์โลก ถึงกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในยกที่ 2 เท่านั้นเอง ในปี ค.ศ. 1999 แต่แล้วหลังจากนั้นเพียงอีก 2 ครั้งต่อมา วิตาลีก็ได้พบกับความพ่ายแพ้เป็นครั้งแรก เมื่อเป็นฝ่ายแพ้ทางเทคนิค เนื่องด้วยอาการบาดเจ็บที่หัวไหล่ คริส เบิร์ด นักมวยผิวดำชาวอเมริกัน ที่ฝีไม้ลายมือดูเหมือนว่าจะห่างไกลจากวิตาลีมากในยกที่ 9 ที่กรุงเบอร์ลิน ถิ่นของตัวเอง ในปี ค.ศ. 2000 ลังจากนั้นวิตาลีก็ยังกลับมาชกเคลื่อนไหวอยู่อีก 4-5 ครั้ง และได้ครองแชมป์อินเตอร์คอนติเนนตัลของ สมาคมมวยโลก (WBA) ก่อนที่จะชิงแชมป์โลกอีกครั้งกับยอดนักมวยชาวอังกฤษ ผู้เป็นเจ้าของตำแหน่งแชมป์โลกตัวจริงอย่าง เลนน็อก ลูอิส และในครั้งนี้วิตาลีก็เป็นฝ่ายแพ้แตก ลูอิสในยกที่ 6 ในการชกที่ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 2003 จนกระทั่งในปี..

ใหม่!!: ภาษายูเครนและวิตาลี คลิทช์โก · ดูเพิ่มเติม »

สกอร์โปนอค

กอร์โปนอค เป็นชื่อตัวละครจากภาพยนตร์ซีรีส์ เรื่อง ทรานส์ฟอร์มเมอร์ส เป็นหุ่นยนต์ฝ่ายของดีเซปติคอน.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและสกอร์โปนอค · ดูเพิ่มเติม »

สภาเพื่อความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ

ื่อความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ (Council for Mutual Economic Assistance) หรือ คอมิคอน (Comecon) เป็นองค์กรความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของสหภาพโซเวียต ประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มตะวันออก และรัฐคอมมิวนิสต์บางแห่งทั่วโลก มอสโกกังวลเรื่องแผนมาร์แชลล์ คอมิคอนมีขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศในขอบเขตอิทธิพลของโซเวียตไปสู่อิทธิพลของอเมริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คอมิคอนได้รับการตอบรับจากกลุ่มตะวันออก (Eastern Bloc) ถึงการก่อตัวในยุโรปตะวันตกขององค์การเพื่อการดำเนินงานทางเศรษฐกิจของยุโรป (OEEC)"Germany (East)", Library of Congress Country Study, การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรปในปี 1957 และองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1961.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและสภาเพื่อความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน

รณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน (ชื่อย่อ: Ukrainian SSR) หรือ ยูเครน (Українська Радянська Соціалістична Республіка, Українська РСР; Украинская Советская Социалистическая Республика, Украинская ССР) หรือ โซเวียตยูเครน เป็นรัฐสังคมนิยมโซเวียตที่มีประชาธิปไตย (ข้อ 68 รัฐธรรมนูญแห่งยูเครนปี 1978) และเป็นหนึ่งใน 15 สาธารณรัฐองค์ประกอบ (constituent republic) ของสหภาพโซเวียต ก่อตั้งขึ้นในปี 1922 (สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 1919) และล่มสลายในปี 1991 แม้สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจะเป็นสมาชิกก่อตั้งองค์การสหประชาชาติที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในทางปฏิบัติแล้ว ไม่มีสิทธิ์มีเสียงอะไรในกิจการต่างประเทศ ซึ่งถูกควบคุมอย่างเข้มงวดโดยทางการมอสโก ในการล่มสลายของสหภาพโซเวียตและเปเรสตรอยกา สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนถูกแปลงเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ยูเครน แม้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของยูเครนได้รับการอนุมัติเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1996.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมีย

รเมีย (Crimea) หรือมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมีย (Крим, Автономна Республіка Крим; Крым, Автономная Республика Крым, Avtonomnaja Respublika Krym; Къырым, Къырым Мухтар Джумхуриети, Qırım, Qırım Muhtar Cumhuriyeti) เป็นสาธารณรัฐปกครองตนเอง ภายใต้สหพันธรัฐรัสเซีย ตั้งอยู่ทางชายฝั่งด้านเหนือของทะเลดำ ที่รวมถึงแหลมไครเมีย มีเมืองหลวงชื่อซิมเฟโรปอล (Simferopol) ตั้งอยู่กลางแหลม ไครเมียมีพื้นที่ 26,200 ตร.กม.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและสาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมีย · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2

รณรัฐโปแลนด์ที่ 2 หรือเครือจักรภพโปแลนด์ที่สองหรือโปแลนด์ระหว่างสงคราม หมายความถึงประเทศโปแลนด์ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สอง (ค.ศ. 1918–1939) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐโปแลนด์หรือเครือจักรภพโปแลนด์ (Rzeczpospolita Polska) รัฐโปแลนด์ถูกสร้างใหม่ใน ค.ศ. 1918 เป็นผลสืบเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หลังความขัดแย้งในภูมิภาคหลายครั้ง เขตแดนของรัฐถูกชี้ชัดใน ค.ศ. 1922 ประเทศโปแลนด์มีเพื่อนบ้าน ได้แก่ เชโกสโลวาเกีย เยอรมนี นครเสรีดันซิก ลิทัวเนีย ลัตเวีย โรมาเนียและสหภาพโซเวียต มีทางเข้าทะเลบอลติกโดยทางชายฝั่งสั้น ๆ ที่อยู่ข้างนครกดือเนีย (Gdynia) ระหว่างเดือนมีนาคมและสงหาคม ค.ศ. 1939 โปแลนด์ยังมีเขตแดนร่วมกับรูธีเนียคาร์พาเธีย (Carpathian Ruthenia) ซึ่งขณะนั้นเป็นจังหวัดของฮังการี แม้มีแรงกดดันทั้งในและนอกประเทศ ประเทศยังคงอยู่จน ค.ศ. 1939 เมื่อโปแลนด์ถูกนาซีเยอรมนี สหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐสโลวักบุกครอง เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป สาธารณรัฐที่สองมีพื้นที่ต่างจากรัฐโปแลนด์ปัจจุบันมาก โดยมีดินแดนทางทิศตะวันออกมากกว่าและทางทิศตะวันตกน้อยกว.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

อักษรซีริลลิก

ประเทศที่ใช้อักษรซีริลลิก อักษรซีริลลิก หรือ อักษรซิริลลิก (Cyrillic script) เป็นตัวอักษรที่ใช้เป็นตัวเขียนสำหรับภาษาในกลุ่มภาษาสลาวิกนอกจากนี้ยังใช้เป็นตัวเขียนสำหรับภาษาในอีกหลายประเทศ แต่ไม่มีอักษรซีริลลิกทุกตัวกับภาษาใด ขึ้นอยู่กับการเขียนในภาษานั้น ในกลุ่มประเทศที่ใช้อักษรซีริลลิกด้วยกันเอง จะไม่เรียก ซีริล แต่จะออกเสียงว่า คีริล แทน เช่น ในภาษารัสเซียเรียกอักษรซีริลลิกว่า Кириллица คีริลลิซ.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและอักษรซีริลลิก · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซานเดอร์ (ชื่อ)

อเล็กซานเดอร์ (Alexander) เป็นชื่อต้นของผู้ชาย มีที่มาจากคำในภาษาละติน "Alexander" ซึ่งเป็นการถอดคำมาจากภาษากรีกจากคำว่า "Αλέξανδρος".

ใหม่!!: ภาษายูเครนและอเล็กซานเดอร์ (ชื่อ) · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

ักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี รู้จักกันในนาม ออสเตรีย-ฮังการี (Austria-Hungary) เป็นจักรวรรดิที่มีระบอบการปกครองแบบควบคู่ (Dual Monarchy) เจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ปีพ.ศ. 2410 จนถึง พ.ศ. 2461 หลังจากนั้น จักรวรรดินี้ถูกล้มล้างหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 จักรวรรดินี้ได้สืบทอดมาจากจักรวรรดิออสเตรีย (ค.ศ. 1804-ค.ศ. 1867) โดยมีอาณาเขตพื้นที่เดียวกัน โดยมีต้นกำเนิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรียและฮังการี เมื่อปีพ.ศ. 2410 ซึ่งทั้งสองประเทศนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์ฮับส์บูร์กมาช้านาน โดยเจรจาให้มีการรวมอาณาจักรเป็นหนึ่งเดียว โดยจักรวรรดินี้เป็นอาณาจักรที่มีหลากหลายเชื้อชาติและมีความเจริญรุ่งเรืองขีดสุด ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม ราชวงศ์ฮับส์บูร์กนั้นได้ปกครองประเทศในฐานะจักรพรรดิแห่งออสเตรีย (Emperor of Austria) และราชอาณาจักรฮังการีในฐานะกษัตริย์แห่งฮังการี (Apostolic King of Hungary) ผู้ทรงเปรียบเสมือนเบื้องขวาแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า นอกจากนั้นยังได้ปกครองทั่วทั้งทางตะวันตกและทางเหนือ รวมทั้งครึ่งหนึ่งของทวีปยุโรปเลยทีเดียว โดยทุกประเทศที่อยู่ภายใต้จักรวรรดินี้ มีรัฐบาลเป็นของตนเอง มิได้มีรัฐบาลและศูนย์กลางทางการเมืองหรือรัฐบาลที่ประเทศเดียว เมืองหลวงของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีนั้น มีอยู่ 2 เมืองด้วยกันคือ กรุงเวียนนา ที่ประเทศออสเตรีย และกรุงบูดาเปสต์ที่ประเทศฮังการี จักรวรรดินี้มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากจักรวรรดิรัสเซีย และเป็นอาณาจักรที่มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับ 3 รองจากจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งปัจจุบันนี้ พื้นที่ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดินั้นมีประชากรรวมทั้งหมดถึง 73 ล้านคน.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

จังคอย

ังคอย (ยูเครน และ รัสเซีย: Джанкой, Canköy; Dzhankoy, Djankoy, Dzhankoi) เป็นเมืองทางตอนเหนือของเขตไครเมีย ประเทศยูเครน ตั้งอยู่ห่างจากเมืองซิมเฟโรปอล 93 กม.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและจังคอย · ดูเพิ่มเติม »

จีเมล

ีเมล (Gmail) เป็นบริการอีเมลฟรีของกูเกิลผ่านทางระบบเว็บเมล POP และ IMAP โดยในขณะที่โปรแกรมยังอยู่ในระยะพัฒนา (บีตา) จีเมลเปิดให้ผู้ที่ได้รับคำเชิญทดลองใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2547 และให้บริการแก่บุคคลทั่วไปเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 หลังจากนั้นจึงออกจากระยะพัฒนาพร้อมกับบริการอื่น ๆ ของกูเกิล แอปส์เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปัจจุบันจีเมลรับรองการใช้งาน 54 ภาษารวมถึงภาษาไทย จีเมลเป็นผู้บุกเบิกการใช้ AJAX ที่ใช้งานจาวาสคริปต์และการใช้งานผ่านทางคีย์บอร์ด ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน ปัจจุบัน จีเมลเป็นบริการอีเมล์บนเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้มากที่สุดในโลก กล่าวคือมากกว่า 425 ล้านคน.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและจีเมล · ดูเพิ่มเติม »

ทรานส์นีสเตรีย

ทรานส์นีสเตรีย (Transnistria, Transdniestria) หรือ พรีดเนสโตรวี (Pridnestrovie) เป็นภูมิภาคแห่งหนึ่งของประเทศมอลโดวา ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำนีสเตอร์กับชายแดนมอลโดวา (ด้านที่ติดกับประเทศยูเครน) ปัจจุบันบริเวณนี้ถูกปกครองโดย สาธารณรัฐมอลเดเวียพรีดเนสโตรวี (Pridnestrovian Moldavian Republic) ซึ่งมีอยู่เพียงสามประเทศเท่านั้นที่ให้การรับรองเอกราช ได้แก่ อับฮาเซีย, เซาท์ออสซีเชีย และสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค (สามประเทศนี้ ประเทศส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ให้การรับรองเช่นกัน) รัฐบาลมอลโดวาถือว่าทรานส์นีสเตรียอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยและยังคงเป็นส่วนหนึ่งของตน โดยมีสถานะเป็นสาธารณรัฐปกครองตนเองซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมกันในประเทศอดีตสหภาพโซเวียต แม้ว่ารัฐบาลมอลโดวาจะไม่มีอำนาจปกครองในดินแดนนี้แล้วก็ตาม.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและทรานส์นีสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

ดิวโอลิงโก

วโอลิงโก (Duolingo) เป็นโปรแกรมเรียนภาษาฟรีที่ใช้ปัญหาเป็นการหาคำตอบเป็นหลัก การให้บริการของโปรแกรมนี้ถูกออกแบบมาให้ผู้ใช้ทำแบบฝึกหัดในแต่ละบทสำเร็จ ในขณะเดียวกันก็ช่วยแปลเว็บไซต์และเอกสารอื่น ๆ ไปด้วย ในวันที่ 13 ธันวาคม 2557 ดิวโอลิงโกได้ให้บริการการเรียนภาษาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษาสเปน, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาเยอรมัน, ภาษาโปรตุเกส, ภาษาอิตาลี, ภาษาดัตช์, ภาษาไอริช, ภาษาเดนมาร์ก และภาษาสวีเดนสำหรับผู้ใช้ที่พูดภาษาอังกฤษ และภาษาอังกฤษสำหรับผู้ใช้ภาษาสเปน, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, โปรตุเกส, อิตาลี, กรีก, ดัตช์, รัสเซีย, โปแลนด์, ตุรกี, ฮังการี, โรมาเนีย, ญี่ปุ่น, ฮินดี, อินโดนีเซีย, เกาหลี และเช็ก และยังมีคู่ภาษาอื่น ๆ อีกมากมาย สามารถใช้ได้บนเว็บ, ไอโอเอส, แอนดรอยด์ และวินโดวส์โฟน 8.1 ดิวโอลิงโกได้เริ่มต้นทดสอบระบบครั้งแรกเฉพาะเจ้าหน้าที่ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2555 และมียอดผู้ใช้ที่รอคอยมากกว่า 300,000 คน ในวันที่ 19 มิถุนายน 2556 ดิวโอลิงโกได้เปิดตัวสู่สาธารณะเป็นครั้งแรก ในปี 2557 แอปเปิลได้เลือกให้ดิวโอลิงโกเป็นแอปพลิเคชันประจำปี เป็นครั้งแรกที่รางวัลนี้ได้ถูกมอบแก่แอปพลิเคชันทางการศึกษา ดิวโอลิงโกชนะการประกวดแอปพลิเคชันใหม่ที่ดีที่สุดในงาน 2014 Crunchies, และเป็นแอปพลิเคชันทางการศึกษาที่มียอดดาวน์โหลดสูงที่สุดในกูเกิลเพลย์ ปี 2556 และ 2557 ในเดือนมกราคม 2557 ดิวโอลิงโกมียอดผู้ใช้งานรวม 60 ล้านคน ซึ่งมี 20 ล้านคนที่ยังคงใช้งานอยู.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและดิวโอลิงโก · ดูเพิ่มเติม »

ประธานาธิบดียูเครน

ประธานาธิบดียูเครน (ภาษายูเครน: Президент України, Prezydent Ukrayiny) คือประมุขแห่งรัฐของประเทศยูเครน ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของยูเครนคือเปโตร โปโรเชนโก.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและประธานาธิบดียูเครน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูเครน

ประเทศยูเครน (Ukraine) หรือ อูกรายีนะ (Україна, Ukrayina) เป็นประเทศในยุโรปตะวันออก มีอาณาเขตทางตะวันออกติดต่อกับประเทศรัสเซีย ทางเหนือติดต่อกับเบลารุส ทางตะวันตกติดต่อกับโปแลนด์ สโลวาเกีย และฮังการี ทางตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับโรมาเนียและมอลโดวา ทางใต้และตะวันออกเฉียงใต้จรดทะเลดำและทะเลอะซอฟตามลำดับ ยูเครนมีพื้นที่ 603,628 กม.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและประเทศยูเครน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโรมาเนีย

รมาเนีย (Romania; România) แต่ก่อนเรียกว่า รูมาเนีย (Rumania หรือ Roumania) เป็นประเทศในทวีปยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ มีอาณาเขตทิศตะวันออกเฉียงเหนือจดประเทศยูเครนและประเทศมอลโดวา ทิศตะวันตกจดประเทศฮังการีและประเทศเซอร์เบีย ทิศใต้จดประเทศบัลแกเรีย โรมาเนียมีชายฝั่งบนทะเลดำด้ว.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและประเทศโรมาเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปแลนด์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและประเทศโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ปอลตาวา

ปอลตาวา (ยูเครน, รัสเซีย: Полта́ва) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนแม่น้ำ Vorskla River ในทางตอนกลางของ ประเทศยูเครนเมืองนี้ยังเป็นเมืองหลวง ของ แคว้นปอลตาวา ในปี 2015 ปอลตาวามีประชากรอยู่ 294,962 คน.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและปอลตาวา · ดูเพิ่มเติม »

ปีเตอร์ ชิลตัน

ปีเตอร์ เลสลี ชิลตัน OBE (เกิดวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1949) เป็นอดีตผู้รักษาประตูฟุตบอลชาวอังกฤษ ผู้ทำสถิติลงเล่นให้กับทีมชาติอังกฤษมากที่สุด โดยลงเล่นไป 125 นัด และเคยเป็นผู้เล่นที่ลงเล่นในนัดการแข่งขันอย่างเป็นทางการมากที่สุดถึง 1,249 นัด ก่อนที่จะถูกทำลายสถิติโดย Paul Bastock ใน..

ใหม่!!: ภาษายูเครนและปีเตอร์ ชิลตัน · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำดานูบ

แม่น้ำดานูบ (Danube River) เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในสหภาพยุโรป และยาวเป็นอันดับสองของทวีปยุโรป (รองจากแม่น้ำวอลกา) มีต้นกำเนิดที่แถบป่าดำ (Black Forest; Schwarzwald) ในประเทศเยอรมนี เกิดจากแม่น้ำเล็กๆ สองสาย คือ Brigach และ Breg ซึ่งไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำดานูบที่เมือง Donaueschingen แม่น้ำดานูบไหลจากป่าดำไปทางทิศตะวันออกผ่านเมืองหลวงและเมืองสำคัญๆ ของประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันตกและยุโรปตะวันออก ก่อนที่จะไหลผ่านดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำดานูบ (Danube Delta) และแยกลงสู่ทะเลดำที่ประเทศโรมาเนียและยูเครน มีความยาวประมาณ 2,845 กม.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและแม่น้ำดานูบ · ดูเพิ่มเติม »

แวมไพร์

Nosferutu: A Symphony of Horror'' ที่ดัดแปลงมาจากนวนิยายเรื่อง เค้าท์แดร็กคูลา ภาพยนตร์เรื่องนี้ฉายในปี ค.ศ. 1922 แวมไพร์ (Vampire) ผีชนิดหนึ่งตามความเชื่อของชาวยุโรป ในยุคกลาง เชื่อว่าเป็นผีดิบ ที่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนมนุษย์ทั่วไป แต่มีฟันแหลมคม ดื่มเลือดของมนุษย์ด้วยกันเป็นอาหารเพื่อหล่อเลี้ยง โดยที่แวมไพร์จะมีชีวิตเป็นอมตะ ไม่มีวันตาย จะปรากฏตัวได้แต่เฉพาะเวลากลางคืน เพราะกลางวันแพ้แสงแดด แวมไพร์จะหลบซ่อนอยู่ในโลงของตนหรือในหลุมในเวลากลางวัน สามารถแปลงร่างได้หลายแบบ เช่น ค้างคาว, นกฮูก, หมาป่า, หมาจิ้งจอก, กบ, คางคก, แมลงเม่า, งูพิษ เป็นต้น สามารถกำบังกายหายตัวได้ ไม่มีเงาเมื่อกระทบกับแสงหรือสะท้อนในกระจก มีแรงมากเหมือนผู้ชาย 20 คน รวมถึงสามารถบังคับสิ่งของให้เคลื่อนที่ด้วยอำนาจของตนได้ด้วย สิ่งที่จะกำราบแวมไพร์ได้คือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา เช่น ไม้กางเขน, น้ำมนตร์ หรือแม้กระทั่งสมุนไพรกลิ่นแรงบางชนิด เช่น กระเทียม วิธีฆ่าแวมไพร์มีมากมาย เช่น ตอกลิ่มให้ทะลุหัวใจ เผา หรือ ตัดหัวด้วยจอบของสัปเหร่อ บุคคลที่ตกเป็นเหยื่อของมัน จะกลายเป็นแวมไพร์ไปด้วย และกลายเป็นสาวกของแวมไพร์ตนที่ดูดเลือดตัวเอง ชาวยุโรปในยุคกลางนั้น หวาดกลัวแวมไพร์มาก ผู้ที่สงสัยว่าเป็นแวมไพร์ จะตกอยู่ในสถานะเดียวกับแม่มด หรือ มนุษย์หมาป่า คือ ถูกตัดสินลงโทษด้วยการเอาถึงชีวิต มีวิธีการป้องกันการรุกรานของแวมไพร์หลายวิธี เช่น บางหมู่บ้านจะโปรยเมล็ดข้าวไว้บนหลังคาบ้าน เพราะเชื่อว่าแวมไพร์จะง่วนกับการนับเมล็ดข้าวเป็นการถ่วงเวลาจนรุ่งเช้า หรือ โรยเศษขนมปังไว้ตั้งแต่สุสานให้แวมไพร์เดินเก็บเศษขนมนั้นวนเวียนไปมา หรือแม้แต่การวางไม้กางเขนหรือดอกกุหลาบที่มีหนามแหลมเพื่อเป็นการพันธนาการไว้ในโลง เรื่องราวของแวมไพร์ มีมากมาย ที่เป็นนิทานพื้นบ้านและวรรณกรรม โดยวรรณกรรมที่ว่าถึงแวมไพร์ที่เก่าแก่ที่สุด มีมาตั้งแต่สมัยโรมัน วรรณกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดของแวมไพร์คือ เรื่องแดรกคูลา ของ บราม สโตกเกอร์ ที่โด่งดังจนมีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ ละคร ละครเวที หรือแม้แต่กระทั่งภาพยนตร์การ์ตูนมากมายตราบจนปัจจุบัน เช่น ภาพยนตร์เรื่อง Nosferatu: A Symphony of Horror ในปี..

ใหม่!!: ภาษายูเครนและแวมไพร์ · ดูเพิ่มเติม »

โฟโต้สเกป

ฟโต้สเกป (PhotoScape) เป็นโปรแกรมตัดต่อกราฟิกส์ พัฒนาโดย MOOII Tech,ประเทศเกาหลีใต้ แนวคิดพื้นฐานของโฟโต้สเกป คือ 'ง่ายและสนุก' เพื่อที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถแก้ไขภาพที่ถ่ายจากกล้องดิจิทัลของพวกเขาหรือแม้กระทั่งโทรศัพท์มือถือ โฟโต้สเกป มีผู้ใช้อินเตอร์เฟซง่ายที่ดำเนินการปรับปรุงภาพร่วมกันรวมทั้ง การปรับสี,ตัด,การปรับขนาด,การพิมพ์ และการภาพเคลื่อนไหวในไฟล์ GIF โฟโต้สเกป ทำงานได้เฉพาะในระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และไม่สามารถใช้ได้ในระบบ Mac หรือLinux ได้ ภาษาเริ่มต้นของมันเป็นภาษาอังกฤษและภาษาเกาหลี พร้อมด้วยแพ็กเกจภาษาเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลดได้.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและโฟโต้สเกป · ดูเพิ่มเติม »

โดเนตสค์

นตสค์ (Donetsk) (ยูเครน: Донецьк, รัสเซีย: Доне́цк) เป็นเมืองในภาคตะวันออกของประเทศยูเครน มีพื้นที่ 358 ตารางกิโลเมตร ประชากร 1,100,700 คน.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและโดเนตสค์ · ดูเพิ่มเติม »

โซเฟีย โรตารุ

ซเฟีย โรตารุ (Sofia Rotaru ในชื่อเต็ม Sofia Mihailovna Rotaru-Evdokimenko; มอลโดวา: Sofia Rotaru; ยูเครน: Софiя Ротару) เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์ นักกีตาร์ ชาวรัสเซีย ยูเครน และ มอลโดวา ที่ประสบความสำเร็จสูงในระดับโลก ได้รับฉายาว่า ราชินีแห่งเพลงป็อป (Queen Of Pop) และ "This is All We Have".

ใหม่!!: ภาษายูเครนและโซเฟีย โรตารุ · ดูเพิ่มเติม »

โนโวรอสซียา (สมาพันธรัฐ)

นโวรอสซียา หรือ นิวรัสเซีย (nəvɐˈrosʲɪjə; Новоросія, Novorosiya), หรือเรียกอีกแบบว่า สหภาพสาธารณรัฐประชาชน (sɐˈjus nɐˈrodnɨx rʲɪˈspublʲɪk; Союз народних республік, Soyuz Narodnykh Respublik, หรือรู้จักในชื่อ Lugandonia Лугандонія), เป็นสมาพันธรัฐร่วมระหว่าง สาธารณรัฐประชาชนโดเนตสค์ (DPR) และ สาธารณรัฐประชาชนลูฮันสค์ (LPR) ในภาคตะวันออกของยูเครน โดยมีชายแดนติดกันระหว่างประเทศรัสเซีย ยูเครน ได้ให้สมาพันธรัฐนี้เป็น พื้นที่ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย ในปัจจุปันยังไม่มีรัฐต่างประเทศใดรับรองทั้งสองสาธารณรัฐของสมาพันธรัฐนี้เป็นประเทศเอกราช และ ยูเครน ให้สถานภาพสมาพันธรัฐนี้เป็นองค์กรก่อการร้าย โดยที่ โนโวรอสซียา ได้จัดตั้งขึ้นในวันที่ 22 พฤษภาคม 2014, และ 1 เดือนต่อมา spokesmen ได้ประกาศให้สาธารณรัฐเข้ารวมเป็นสมาพันธ์"สหภาพสาธารณรัฐประชาชน".

ใหม่!!: ภาษายูเครนและโนโวรอสซียา (สมาพันธรัฐ) · ดูเพิ่มเติม »

ไชนาเรดิโออินเตอร์เนชันแนล

China Radio International (CRI), (ก่อนหน้านี้เรียกว่า Radio Beijing และชื่อแรกก่อตั้งคือ Radio Peking) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 3 ธันวาคม..

ใหม่!!: ภาษายูเครนและไชนาเรดิโออินเตอร์เนชันแนล · ดูเพิ่มเติม »

เพลงชาติสหภาพโซเวียต

Slav’sya, Otechestvo nashe svobodnoye! (Славься, Отечество наше свободное!; Slav’sya, Otechestvo nashe svobodnoye!, แปล "Be glorious, our free Fatherland!"), หรือมีชื่อที่รู้จักอย่างเป็นทางการคือ "เพลงชาติสหภาพโซเวียต" (r) เป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตประกาศใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 15 มีนาคม 1944 ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง หลังการปฏิวัติสังคมนิยมในรัสเซียโดยพวกบอลเชวิคเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1917 (พ.ศ. 2460) ในปีต่อมา ได้มีการใช้เพลง L'Internationale (หรือในภาษาอังกฤษ The Internationale) ซึ่งเพลงประจำของการปฏิวัติสังคมนิยมสากลเป็นเพลงชาติรัสเซีย เนื้อร้องฉบับภาษารัสเซียเป็นผลงานแปลของ อาร์คาดี้ ยาคอฟเลวิช ก็อตส์ เมื่อปี ค.ศ. 1902 (พ.ศ. 2445) เพลงนี้ได้ใช้เป็นเพลงชาติสหภาพโซเวียตที่ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1922 (พ.ศ. 2465) และใช้ต่อมาจนถึงปี ค.ศ. 1944 (พ.ศ. 2487) จากนั้นมีการใช้เพลงชาติใหม่ ที่ประพันธ์ทำนองโดย อเล็กซานเดอร์ อเล็กซานดรอฟ และประพันธ์เนื้อร้องโดย เซอร์เกย์ มิคาลกอฟ และ จี.แอล. เรจิสตาน ก่อนที่เพลงนี้จะได้ใช้เป็นเพลงชาติสหภาพโซเวียต ทำนองของเพลงนี้เคยถูกใช้ในงานหลายชิ้นของอเล็กซานดรอฟ ครั้งแรกได้ใช้เป็นเพลงประจำพรรคบอลเชวิคใน ค.ศ. 1938 (พ.ศ. 2481) และเมื่อ องค์การคอมมิวนิสต์สากล หรือโคมินเทิร์นสลายตัวไปในปี ค.ศ. 1943 (พ.ศ. 2486) ผู้นำประเทศมองว่าเพลงชาติใหม่ของสหภาพโซเวียต สมควรเข้ามาแทนที่เพลง L'Internationale ซึ่งตามประวัติแล้วเกี่ยวข้องกับขบวนการคอมมิวนิสต์สากลมากกว่า โจเซฟ สตาลิน ผู้นำประเทศในยุคนั้นจึงตัดสินใจเลือกเอาทำนองที่อเล็กซานดรอฟประพันธ์ มาใช้เป็นทำนองเพลงชาติฉบับใหม่ ส่วนคำร้องที่ร่วมประพันธ์โดย มิคาลกอฟ และ แอล.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและเพลงชาติสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

เพลงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน

ลงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน (Державний гімн Української Радянської Соціалістичної Республіки - Deržavný himn Ukrajinśkoji Radjanśkoji Socialistyčnoji Respubliky) เป็นเพลงชาติของประเทศยูเครนสมัยอยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต (ในชื่อ "สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน").

ใหม่!!: ภาษายูเครนและเพลงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน · ดูเพิ่มเติม »

เรือบรรทุกเครื่องบินเหลียวหนิง

รือบรรทุกเครื่องบินเหลียวหนิง (中国人民解放军海军辽宁舰; Liaoning) เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีน เรือบรรทุกเครื่องบินเหลียวหนิง เดิมชื่อว่า เรือบรรทุกเครื่องบินวาร์ยัก (Варяг; Varyag) เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นคุซเนตซอฟของโซเวียต ต่อขึ้นที่อู่ต่อเรือที่เมืองไมโคเลฟ ติดทะเลดำ ทางตอนใต้ของยูเครน ปล่อยลงน้ำเมื่อปี..

ใหม่!!: ภาษายูเครนและเรือบรรทุกเครื่องบินเหลียวหนิง · ดูเพิ่มเติม »

เอสเอ็มเอฟ

อสเอ็มเอฟ (SMF ย่อมาจาก Simple Machines Forum) เป็นโปรแกรมระบบกระดานสนทนาหรือที่นิยมเรียกกันว่าเว็บบอร์ดบนอินเทอร์เน็ตแบบโอเพนซอร์ส ทำงานด้วยภาษาพีเอชพี ควบคู่กับระบบฐานข้อมูล โดยรับรองการทำงานของฐานข้อมูลหลากหลายชนิด ได้แก่ MySQL, SQLite หรือ PostgreSQL ด้วยความที่ใช้ภาษาพีเอชพีในการพัฒนา รวมถึงการแพร่หลายของระบบฐานข้อมูล MySQL รวมถึงมีตัวช่วยการติดตั้งที่ง่าย (Wizard installer) มีรูปแบบของธีม (Themes) และส่วนเสริมฟังก์ชันการใช้งาน (Modifications) ให้เลือกใช้มากมาย ทำให้ SMF ได้รับความนิยมอย่างแพร่หล.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและเอสเอ็มเอฟ · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองสามัญ

ตปกครองสามัญ(Generalgouvernement, Generalne Gubernatorstwo, Генеральна губернія),เรียกอีกอย่างว่า เจอเนอรัลโกเวอร์โนเรนท์ เป็นเขตยึดครองของเยอรมันที่ได้ก่อตั้งขึ้นภายหลังจากการร่วมมือบุกเข้ายึดครองโปแลนด์โดยนาซีเยอรมนีและสหภาพโซเวียตในปี..

ใหม่!!: ภาษายูเครนและเขตปกครองสามัญ · ดูเพิ่มเติม »

เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย

รือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย (Rzeczpospolita Obojga Narodów; Polish-Lithuanian Commonwealth) มีชื่อเป็นทางการว่า “Rzeczpospolita Korony Polskiej i Wielkiego Księstwa Litewskiego” หรือที่รู้จักกันในนาม “สาธารณรัฐโปแลนด์ที่หนึ่ง” (First Polish Republic) หรือ “สาธารณรัฐแห่งสองชาติ” (Republic of the Two Nations) (Pierwsza Rzeczpospolita หรือ Rzeczpospolita Obojga Narodów; Abiejų tautų respublika) เป็นเครือจักรภพที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุด, accessed on 19 March 2006: At its apogee, the Polish-Lithuanian Commonwealth comprised some 400000 sqare mile and a multi-ethnic population of 11 million. For population comparisons, see also those maps:,. แห่งหนี่งในยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 17 โครงสร้างทางการเมืองเป็นกึ่งสหพันธรัฐ กึ่งราชาธิปไตย เครือจักรภพก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: ภาษายูเครนและเครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย · ดูเพิ่มเติม »

เซวัสโตปอล

ซวัสโตปอล (Sevastopol, ยูเครนและรัสเซีย: Севасто́поль) เป็นหนึ่งในสองนครที่มีสถานภาพพิเศษในประเทศยูเครน (อีกนครหนึ่ง คือ เคียฟ เมืองหลวงของประเทศ) ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลดำของคาบสมุทรไครเมีย มีประชากร 342,541 คน (2544) ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และสภาพการเดินเรือของท่าเรือเซวัสโตปอลทำให้นครดังกล่าวเป็นจุดนาวิกที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ นอกจากนี้ยังเป็นรีสอร์ตริมทะเลและสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศเครือจักรภพรัฐเอกราช นครยังเป็นที่ตั้งของกองเรือทะเลดำรัสเซีย ซึ่งเดิมเป็นของโซเวียต และปัจจุบันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือยูเครนและรัสเซียเช่าฐานทัพเรือจากยูเครนไปถึงปี 2585 เซวัสโตปอลเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่กองทัพเรือยูเครนและกองเรือทะเลดำของรัสเซีย ความสำคัญด้านการค้าและการต่อเรือของท่าเซวัสโตปอลเติบโตขึ้นหลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย แม้จะประสบความยากลำบากที่มาจากการควบคุมท่าเรือและสะพานเทียบเรือร่วมกันของทหาร เซวัสโตปอลยังเป็นศูนย์วิจัยชีววิทยาทางทะเลที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีการศึกษาและฝึกโลมาในนครนับแต่สงครามโลกครั้งที่สองยุติ เซวัสโตปอลเป็นหนึ่งในสถานที่ที่มีภูมิอากาศอบอุ่นที่สุดในประเทศยูเครน โดยฤดูหนาวไม่หนาว และฤดูร้อนอบอุ่นปานกลาง วันที่ 6 มีนาคม 2557 เซวัสโตปอลประกาศว่าตนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐรัสเซียฝ่ายเดียว.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและเซวัสโตปอล · ดูเพิ่มเติม »

Ѥ

Iotified E (Ѥ, ѥ) เป็นอักษรซีริลลิกยุคเก่าตัวหนึ่ง เป็นอักษรรวมระหว่าง І กับ Є ใช้แทนเสียงสระ // ปัจจุบันเลิกใช้อักษรนี้และเปลี่ยนไปใช้ Е ในภาษารัสเซีย ส่วนภาษายูเครนจะใช้ Є แทน.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและѤ · ดูเพิ่มเติม »

Ґ

Ge (Ґ, ґ) บางครั้งก็เรียกว่า Ghe หรือ Ge with upturn (ในรหัสยูนิโคดใช้ชื่อว่า CYRILLIC CAPITAL/SMALL LETTER GHE WITH UPTURN) เป็นอักษรตัวหนึ่งในอักษรซีริลลิก ใช้แทนเสียง // คล้ายกับเสียง g ของคำว่า go ในภาษาอังกฤษ ในภาษาเบลารุสและภาษายูเครนสมัยโบราณ บางครั้งมีการใช้อักษรละติน g และทวิอักษร КГ (kh) แทนเสียงของ g ในคำทับศัพท์จากภาษาละติน แต่ภายหลังการทำเช่นนี้รวมทั้งการใช้ทวิอักษร ได้เลือนหายไปจากอักขรวิธีของภาษาเบลารุส จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 การใช้อักษร Ґ ได้ถูกนำมาพิจารณาใหม่และเพิ่มเข้าไปในภาษายูเครนและภาษารูซิน อักษร Ґ ของภาษายูเครนได้ถูกยกเลิกในการปฏิรูปอักขรวิธีของภาษารัสเซีย โดยสหภาพโซเวียต ใน พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) และถูกจัดให้เป็นอักษรเดียวกันกับ Г แต่อย่างไรก็ตาม อักษร Ґ ได้ถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งหนึ่งโดยชาวพื้นเมืองของประเทศยูเครน ใน พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) ภายหลังการปฏิรูปกลาสนอสต์ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักภาษาศาสตร์ชาวเบลารุสบางท่าน โดยเฉพาะ เอียน สตานเคียวิช (Yan Stankyevich) ได้มีการเสนอแนะว่าควรจะนำการอักษรนี้มาแทนเสียงของ g อีกครั้ง อย่างน้อยก็เพื่อทับศัพท์คำใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่คนส่วนใหญ่ไม่ยอมรับแนวความคิดนี้ แม้กระทั่งตัวอักษร Ґ ก็ไม่เคยได้ปรากฏรวมอยู่ในลำดับอักษรของภาษาเบลารุสเลย เนื่องจากเห็นว่าอักษรตัวนี้ไม่ได้ใช้มานานมากแล้ว.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและҐ · ดูเพิ่มเติม »

Windows-1251

Windows-1251 คือการเข้ารหัสอักขระแบบ 8 บิตชนิดหนึ่ง ถูกออกแบบขึ้นเพื่อให้ครอบคลุมภาษาที่ใช้อักษรซีริลลิก อย่างเช่น ภาษารัสเซีย ภาษาบัลแกเรีย เป็นต้น แต่การเข้ารหัสอักขระนี้นิยมใช้เฉพาะภาษาเซอร์เบียและภาษาบัลแกเรีย การเข้ารหัสอักขระ Windows-1251 และ KOI8-R (หรือสำหรับภาษายูเครนคือ KOI8-U) มีการใช้งานมากกว่า ISO 8859-5 ซึ่งไม่ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง ทางออกในอนาคตคือการใช้ยูนิโคดเข้ามาแทนที่ ในตารางข้างบนนี้ 20 คือเว้นวรรค A0 คือเว้นวรรคแบบไม่ตัดคำ และ AD คือยัติภังค์เผื่อเลือก.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและWindows-1251 · ดูเพิ่มเติม »

Щ

Shcha หรือ Shta (Щ, щ) เป็นอักษรซีริลลิกตัวหนึ่ง ใช้แทนเสียง // หรือ // ในภาษารัสเซีย, // หรือ // ในภาษายูเครน และ // ในภาษาบัลแกเรีย เริ่มแรกอักษรตัวนี้เป็นอักษรรวมระหว่าง Ш กับ Т ที่มี descender อยู่ตรงกลาง และมีพัฒนาการมาจากอักษรกลาโกลิต Shta (รูปภาพ: 14px) อักษรตัวนี้ค่อนข้างมีความยุ่งยากในการทับศัพท์ ในทางภาษาศาสตร์จะถ่ายอักษรเป็น šč ในภาษาอังกฤษจะเปลี่ยนเป็น shch และในภาษาเยอรมันจะเปลี่ยนเป็น schtsch ซึ่งต้องใช้มากถึง 7 ตัวเพื่อแปลงอักษรเพียงตัวเดียว.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและЩ · ดูเพิ่มเติม »

Э

E หรือ E Oborotnoye (Э, э) เป็นอักษรหนึ่งในอักษรซีริลลิก มีใช้ในภาษารัสเซียและภาษาในกลุ่มสลาวิกเป็นส่วนมาก ยกเว้นภาษายูเครน อักษรนี้ใช้แทนเสียงสระ // (เอ).

ใหม่!!: ภาษายูเครนและЭ · ดูเพิ่มเติม »

И

I หรือ Y (И, и) บางครั้งก็เรียกว่า Octal I เป็นอักษรตัวหนึ่งในอักษรซีริลลิก ออกเสียงสระ // (อี) ในภาษารัสเซียและ // (อิ) ในภาษายูเครน แต่ไม่มีในภาษาเบลารุส อักษรนี้มีลักษณะคล้ายอักษรละติน N ตัวใหญ่ที่เขียนกลับข้าง อักษรนี้มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก อีตา ชื่อเดิมของอักษรนี้คือ iže และมีค่าของเลขซีริลลิกเท่ากับ 8 อักษร И เมื่อต้องการถ่ายอักษรจะใช้ I สำหรับภาษารัสเซีย และใช้ Y หรือ I สำหรับภาษายูเครน.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและИ · ดูเพิ่มเติม »

Ж

Zhe (Ж, ж) เป็นอักษรหนึ่งในอักษรซีริลลิก ที่ใช้แทนเสียง เหมือนเสียง s ในคำว่า treasure ของภาษาอังกฤษ หรือ ż ในภาษาโปแลนด์ Zhe เป็นอักษรตัวที่ 7 ของภาษาบัลแกเรีย เป็นอักษรตัวที่ 8 ของภาษาเบลารุส ภาษามาซิโดเนีย ภาษารัสเซีย และภาษาเซอร์เบีย และเป็นอักษรตัวที่ 9 ของภาษายูเครน อักษรตัวนี้ยังใช้ในกลุ่มภาษาอื่นที่ไม่ใช่สลาวิกเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งออกเสียงเป็น หรือ ในอักษรซีริลลิกโบราณ Ж เป็นอักษรตัวที่ 7 มีชื่อเดิมคือ živěte แต่ไม่มีค่าของเลขซีริลลิก กบที่มีลักษณะ คล้ายอักษร Ж ปัจจุบันยังไม่ทราบว่าอักษรนี้มีพัฒนาการมาอย่างไร เนื่องจากไม่มีอักษรกรีก หรืออักษรละติน หรืออักษรในภาษาอื่นที่คล้ายกันเลย แม้ว่าจะมีอักษรกลาโกลิต Zhivete ในสมัยก่อนที่ใช้แทนเสียง และมีรูปร่างคล้ายกันก็ตาม (รูปภาพ: 14px) อย่างไรก็ตาม จุดกำเนิดของ Zhivete นั้นยังคลุมเครือเหมือนอักษรกลาโกลิตอื่นๆ ความเป็นไปได้อย่างหนึ่งคือ อักษร Zhe อาจประกอบด้วยอักษรฮีบรู Shin (ש) สองอันต่อกันโดยที่ส่วนล่างกลับหัว ซึ่งอักษรฮีบรูตัวนี้เป็นต้นกำเนิดของ Sha (Ш, ш) อยู่แล้ว อักษร Zhe บ่อยครั้งมักจะถูกถ่ายอักษรเป็น zh หรือ zx ซึ่งพบได้ยากกว่า เว้นแต่ภาษาเซอร์เบีย ภาษามาซิโดเนีย และระบบการถ่ายทอดอักษรบางระบบของภาษาบัลแกเรีย จะใช้ ž หรือ z แทน อักษร Zhe ยังเป็นอักษรตัวแรกสำหรับเยาวชนที่ต้องการศึกษากลุ่มภาษาสลาวิก เนื่องจากอักษรตัวนี้มีลักษณะคล้ายลูกอ๊อดของกบในช่วงเปลี่ยนรูปร่าง อีกทั้งในกลุ่มภาษาเหล่านี้ คำที่มีความหมายว่า กบ หรือ ลูกอ๊อด จะเขียนเป็น жаба (zhaba จาบา) อีกด้ว.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและЖ · ดูเพิ่มเติม »

В

Ve (В, в) เป็นอักษรตัวที่ 3 ในอักษรซีริลลิก อ่านได้เป็นเสียง // และมีรูปร่างเหมือนอักษรละติน B แต่ออกเสียงต่างกัน อักษรตัวนี้และ Б มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก บีตา ซึ่งมีการใช้แทนเสียง // ของภาษากรีกในเวลาใกล้เคียงกับสมัยที่อักษรซีริลลิกถูกสร้างขึ้น ชื่อเดิมของอักษรตัวนี้คือ vědě และมีค่าตัวเลขเท่ากับ 2 ในระบบเลขซีริลลิก ในภาษารัสเซีย อักษรตัวนี้ออกเสียงเหมือน // เหมือนภาษาอังกฤษ ยกเว้นเมื่ออักษรตัวนี้ปรากฏท้ายคำจะเป็น // ที่ไร้เสียง หรืออ่านเป็น // ก่อนเสียงสระซึ่งเลื่อนไปทางเพดานแข็ง ในการออกเสียงภาษายูเครนแบบมาตรฐาน (ซึ่งมีสำเนียงโพลทาวาเป็นฐาน) อักษร В จะออกเสียงเป็น // ในภาษาอังกฤษ (เหมือนมี ว สะกด) เมื่ออยู่ที่ท้ายคำ เช่น Владислав แปลงเป็นอักษรละตินจะได้ Vladyslaw อ่านว่า วลาดีสลาว แต่สำหรับชาวยูเครนกลุ่มหนึ่ง จะออกเสียงอักษรนี้เป็น // เสมอไม่ว่าจะปรากฏอยู่ที่ใด ในภาคตะวันออกของประเทศยูเครน อักษร В อาจจะถูกอ่านเป็น // ที่ไร้เสียงให้คล้ายกับภาษารัสเซีย ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ยกตัวอย่างคำว่า сказав ภาษายูเครนมาตรฐานจะอ่านว่า skazaw สคาซาว ในขณะที่ภาคตะวันออกจะอ่านว่า skazaf สคาซาฟ ในภาษาเบลารุส อักษร В จะออกเสียงเป็น // เท่านั้น แต่เมื่ออักษรตัวนี้ไปปรากฏอยู่ท้ายคำหรือหน้าพยัญชนะอีกตัวจะเปลี่ยนรูปเป็นอักษร Ў ซึ่งเป็นอักษรที่มีใช้ในภาษานี้เท่านั้นที่แทนเสียง // ตัวอย่าง คำศัพท์ мова (mova โมวา) ที่เป็นคำนาม เมื่อเปลี่ยนรูปไปเป็นคำคุณศัพท์จะกลายเป็น моўный (mownyy โมวนืยอี) และคำนามที่เป็นพหูพจน์จะกลายเป็น моў (mow โมว).

ใหม่!!: ภาษายูเครนและВ · ดูเพิ่มเติม »

Г

Ge หรือ He (Г, г) เป็นอักษรตัวหนึ่งในอักษรซีริลลิก ออกเสียงเป็น // หรือ // ในภาษาที่แตกต่างกัน อักษรนี้มีพัฒนาการโดยตรงมาจากอักษรกรีก แกมมา และ Г ทั้งตัวใหญ่และตัวเล็ก จะมีรูปร่างเหมือนแกมมาตัวใหญ่ ชื่อเดิมของอักษรนี้คือ glagoli และมีค่าเท่ากับ 3 ในเลขซีริลลิก ในมาตรฐานของภาษาเซอร์เบีย ภาษาบัลแกเรีย และภาษามาซิโดเนีย อักษร Г จะออกเสียงเป็น // เหมือนกับ g ของคำว่า go ในภาษาอังกฤษ หรือ ก ในภาษาไทย ในภาษารัสเซียก็อ่านเป็น // เช่นกัน ยกเว้นเมื่อปรากฏท้ายคำจะเป็น // ที่ไร้เสียง (สะกดด้วย ก) หรือออกเสียงเป็น // ก่อนเสียงสระเพดานแข็ง มีอยู่น้อยคำที่อักษรนี้ปรากฏอยู่ตรงกลางแล้วออกเสียงเป็น // เช่น ураган urakan อูราคัน หมายถึง เฮอร์ริเคน ในภาษายูเครนและภาษาเบลารุส จะเรียกอักษรนี้ว่า He ใช้แทนเสียงเสียดแทรกในลำคอ // ไม่เหมือนเสียง h ของภาษาอังกฤษ สำหรับภาษายูเครนนั้น เสียง // นั้นหาที่ใช้ได้น้อย แต่เมื่อต้องการใช้จะเปลี่ยนรูปเขียนเป็น Ge with upturn (Ґ, ґ) แทน ส่วนภาษาเบลารุส แม้อักษร Г จะมีใช้บ่อย เพื่อแทนคำที่ยืมมาจากภาษาโปแลนด์และภาษารัสเซีย แต่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 การใช้เสียงนี้ในภาษาก็ได้หมดความสำคัญไป การเพิ่มตัวอักษร Г ลงในภาษาเบลารุสยังคงได้รับการยอมรับเฉพาะนักภาษาศาสตร์บางท่าน แต่ยังไม่ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและГ · ดูเพิ่มเติม »

Є

Ye (Є, є) คืออักษรตัวหนึ่งในอักษรซีริลลิก ใช้เฉพาะในภาษายูเครน เพื่อออกเสียงสระ // (เย) ให้เหมือนกับ Ye (Е, е) ในภาษาเบลารุสและภาษารัสเซีย อักษรนี้เป็นรูปดั้งเดิมที่คล้ายกับอักษร Ye ในสมัยโบราณ ไม่ควรสับสนระหว่างตัวอักษร Є กับเครื่องหมายสกุลเงินยูโร € ซึ่งมีสองขีดตรงกลาง.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและЄ · ดูเพิ่มเติม »

І

I (І, і) หรือบางครั้งก็เรียกว่า Decimal I หรือ Dotted I เป็นอักษรหนึ่งในอักษรซีริลลิก มีใช้เฉพาะในภาษาเบลารุส ภาษาคาซัก และภาษายูเครน ใช้แทนเสียงสระ // (อี) เหมือนอักษร И ของภาษารัสเซีย อักษรนี้มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก ไอโอตา ชื่อเดิมของอักษรนี้คือ i และมีค่าของเลขซีริลลิกเท่ากับ 10 อักษร І เคยใช้เป็นอักษรในภาษารัสเซีย จนถึง พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) ได้เกิดการปฏิวัติอักขรวิธีโดยสหภาพโซเวียต อักษรนี้จึงถูกยกเลิกไป แต่ยังคงมีการใช้ในบางประเทศที่แยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและІ · ดูเพิ่มเติม »

Ї

Yi (Ї, ї) เป็นอักษรหนึ่งในอักษรซีริลลิก มีใช้เฉพาะภาษายูเครน และภาษารูซิน ใช้แทนเสียงสระ // (ยี).

ใหม่!!: ภาษายูเครนและЇ · ดูเพิ่มเติม »

Е

Ye หรือ E (Е, е) เป็นอักษรตัวหนึ่งในอักษรซีริลลิก มีรูปร่างลักษณะเหมือนอักษรละติน E มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก เอปไซลอน ชื่อเดิมของตัวอักษรนี้คือ estǐ และมีค่าของเลขซีริลลิกเท่ากับ 5 ในภาษาบัลแกเรีย ภาษามาซิโดเนีย ภาษาเซอร์เบีย และภาษายูเครน จะเรียกอักษรนี้ว่า "E" และใช้แทนเสียง // หรือ // (เอ หรือ แอ) ส่วนภาษาเบลารุสและภาษารัสเซีย จะเรียกตัวอักษรนี้ว่า "Ye" และใช้แทนเสียงสระที่เลื่อนขึ้นไปทางเพดานแข็ง โดยอ่านเป็น /, / หรือ /, / (เย หรือ แย) ให้ควบเสียงเข้ากับพยัญชนะที่อยู่ข้างหน้า แต่เสียงที่เปล่งออกมานั้นไม่ค่อยมีความแตกต่างจาก "E" มากนัก สำหรับภาษายูเครน เมื่อต้องการอ่านเสียงให้เป็น "Ye" จะเปลี่ยนไปใช้ Є แทน.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและЕ · ดูเพิ่มเติม »

Й

Short I (Й, й) เป็นอักษรตัวหนึ่งในอักษรซีริลลิก อักษรตัวนี้ประดิษฐ์ขึ้นจากอักษร И และเครื่องหมายเสริมอักษร breve ใช้แทนเสียงพยัญชนะกึ่งสระ // เหมือน y ในคำว่า yellow ของภาษาอังกฤษหรือ ย ในภาษาไทย อักษร Short I เป็นอักษรตัวที่ 11 ในภาษารัสเซียเรียกว่า И краткое (I kratkoye อี ครัตโคเอีย), เป็นอักษรตัวที่ 10 ในภาษาบัลแกเรียเรียกว่า И кратко (I kratko อี ครัตโค), เป็นอักษรตัวที่ 14 ในภาษายูเครนเรียกว่า Йот (Yot ยอต) หรือ Ий (Yi อิย) และเป็นอักษรตัวที่ 11 ในภาษาเบลารุส แต่ถึงกระนั้นก็ไม่มีการใช้อักษร И ในภาษาเบลารุส อักษร Short I มักจะถูกถ่ายอักษรให้เป็น j หรือ y ส่วนมากจะใช้เป็นพยัญชนะสะกดตัวสุดท้ายของคำ อักษร Й (หรือในอีกแง่หนึ่งคือการเติม breve บนอักษร И) เริ่มมีการใช้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15–16 และตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 ความแตกต่างระหว่าง И กับ Й เริ่มปรากฏในอักขรวิธีของภาษาเชิร์ชสลาโวนิก (ซึ่งใช้เป็นภาษารัสเซียเช่นกัน) แต่หลังจากเกิดการปฏิรูปอักขรวิธีในสหภาพโซเวียต โดย จักรพรรดิปอเตอร์ที่ 1 (Peter I) เครื่องหมายเสริมอักษรของภาษารัสเซียถูกตัดออกไปทั้งหมด แต่หลังจากที่พระองค์เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2278 (ค.ศ. 1735) ไม่นาน การใช้อักษร И กับ Й ก็กลับมาอีก แต่ก็ยังไม่ถือว่า Й เป็นอักษร จนกระทั่งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ประมาณทศวรรษที่ 30 จึงประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ในภาษาเซอร์เบียและภาษามาซิโดเนีย จะใช้ Je (Ј, ј) แทนอักษร Short I.

ใหม่!!: ภาษายูเครนและЙ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Ukrainian language

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »