โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาซีชาร์ป

ดัชนี ภาษาซีชาร์ป

ษาซีชาร์ป (C♯ Programming Language) เป็นภาษาโปรแกรมแบบหลายโมเดล ที่ใช้ระบบชนิดข้อมูลแบบรัดกุม (strong typing) และสนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่ง การเขียนโปรแกรมเชิงประกาศ การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน การเขียนโปรแกรมเชิงกระบวนการ การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (แบบคลาส) และการเขียนโปรแกรมเชิงส่วนประกอบ พัฒนาเริ่มแรกโดยบริษัทไมโครซอฟท์เพื่อทำงานบนดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก โดยมีแอนเดอร์ เฮลส์เบิร์ก (Anders Hejlsberg) เป็นหัวหน้าโครงการ และมีรากฐานมาจากภาษาซีพลัสพลัสและภาษาอื่นๆ (โดยเฉพาะภาษาเดลไฟและจาวา) โดยมีจุดมุ่งหมายให้เป็นภาษาสมัยใหม่ที่ไม่ซับซ้อน ใช้งานได้ทั่วไป (general-purpose) และเป็นเชิงวัตถุเป็นหลัก ปัจจุบันภาษาซีซาร์ปมีการรับรองให้เป็นมาตรฐานโดยเอ็กมาอินเตอร์เนชันแนล (Ecma International) และองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยารมาตรฐาน (ISO) และมีรุ่นล่าสุดคือ C♯ 5.0 ที่ออกมาเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม..

28 ความสัมพันธ์: ฟังก์ชันพื้นและฟังก์ชันเพดานพิดจินกระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมการยกกำลังการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุภาษาจาวาภาษาดอตเน็ตภาษาซีภาษาโปรแกรมภาษาเอฟชาร์ปมายเอสคิวเอลลูซีนสายอักขระว่างผลรวมจำนวนจุดลอยตัวดักไทปปิงคลาส (คอมพิวเตอร์)คิวต์ซิงเกิลตันแพตเทิร์นซีไมโครซอฟท์ วิชวลสตูดิโอไวรัส HLLPเวิลด์ไวด์เทเลสโคปเอดิตพลัสเอเอสพีดอตเน็ตCCommon Language Runtime

ฟังก์ชันพื้นและฟังก์ชันเพดาน

กราฟของฟังก์ชันพื้น กราฟของฟังก์ชันเพดาน ในทางคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ ฟังก์ชันพื้น (floor function) คือฟังก์ชันที่จับคู่จำนวนจริงไปยังจำนวนเต็มที่อยู่ก่อนหน้า นั่นคือ floor (x) เป็นจำนวนเต็มมากที่สุดที่ไม่มากกว่า x ส่วน ฟังก์ชันเพดาน (ceiling function) คือฟังก์ชันที่จับคู่จำนวนจริงไปยังจำนวนเต็มที่อยู่ถัดจากจำนวนนั้น นั่นคือ ceiling (x) คือจำนวนเต็มน้อยที่สุดที่ไม่น้อยกว่า x กราฟของฟังก์ชันพื้นและเพดานทั้งหมด มีลักษณะคล้ายฟังก์ชันขั้นบันได แต่ไม่ใช่ฟังก์ชันขั้นบันได เนื่องจากมีช่วงบนแกน x เป็นจำนวนอนันต.

ใหม่!!: ภาษาซีชาร์ปและฟังก์ชันพื้นและฟังก์ชันเพดาน · ดูเพิ่มเติม »

พิดจิน

น (Pidgin เดิมชื่อ Gaim) เป็นโปรแกรมรับส่งข้อความด่วน (เมสเซนเจอร์) ที่ทำงานได้บนหลายระบบปฏิบัติการ และสนับสนุนโพรโทคอลในการพูดคุยหลายชนิด พิดจินเป็นซอฟต์แวร์เสรี และใช้สัญญาอนุญาตแบบ GPL.

ใหม่!!: ภาษาซีชาร์ปและพิดจิน · ดูเพิ่มเติม »

กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรม

กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรม (Programming paradigm) เป็นวิธีการพื้นฐานของการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมมี 4 กระบวนทัศน์หลัก ได้แก่ การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ การเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่ง (imperative programming) การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน (functional programming) และการเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ (logic programming) นอกจากกระบวนทัศน์หลักทั้ง 4 แล้ว ยังมีอีกกระบวนทัศน์หนึ่งซึ่งขยายความสามารถของโมดูลโปรแกรม โดยใช้วิธีการตัดแทรกโค้ด กระบวนทัศน์นี้คือ การโปรแกรมเชิงหน่วยย่อย (aspect-oriented programming).

ใหม่!!: ภาษาซีชาร์ปและกระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรม · ดูเพิ่มเติม »

การยกกำลัง

้าx+1ส่วนx.

ใหม่!!: ภาษาซีชาร์ปและการยกกำลัง · ดูเพิ่มเติม »

การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน

ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันเป็นกระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมที่รูปแบบการสร้างโครงสร้างและส่วนประกอบของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งปฏิบัติต่อการคำนวณว่าเป็นการประเมินผลฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์และหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงสถานะและข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงได้ โดยเป็นกระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมเชิงประกาศซึ่งหมายความหรือการประกาศแทนข้อความสั่ง ในโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน ค่าผลลัพธ์ของฟังก์ชันขึ้นอยู่กับที่นำเข้าสู่ฟังก์ชันเท่านั้น ดังนั้นการเรียกฟังก์ชัน f สองครั้งด้วยค่าอาร์กิวเมนต์ x เดียวกันจะให้ค่าผลลัพธ์ f(x) เท่ากันทุกครั้ง การกำจัดผลข้างเคียง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสถานะที่ไม่ขึ้นกับสิ่งที่นำเข้าฟังก์ชัน สามารถทำให้ง่ายขึ้นที่จะทำความเข้าใจและพยากรณ์พฤฒิกรรมของโปรแกรมซึ่งเป็นหนึ่งในแรงจูงใจของการพัฒนาของการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันมีรากฐานมาจากแคลคูลัสแลมบ์ดาซึ่งเป็นระบบรูปนัยที่พัฒนาในคริสต์ทศวรรษ 1930 เพื่อค้นEntscheidungsproblem นิยามของฟังก์ชัน การประยุกต์ฟังก์ชัน และการเรียกซ้ำ ภาษาการใส่รายละเอียดเพิ่มจากแคลคูลัสแลมบ์ดา กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมเชิงประกาศที่เป็นที่รู้จักอื่น ๆ การเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ มีพื้นฐานอยู่บนความสัมพันธ์เชิงตรรกะ ในกลับโปรแกรมเชิงคำสั่งเปลี่ยนสถานะด้วยคำสั่งในภาษาต้นทาง ตัวอย่างที่ง่ายที่สุดคือการกำหนดค่า การเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่งไม่มีฟังก์ชันในความหมายแบบคณิตศาสตร์แต่มีในความหมายแบบซับรูทีน ซึ่งมีผลข้างเคียงที่อาจะเปลี่ยนค่าของสถานะของโปรแกรมได้ ฟังก์ชันที่ไม่คืนค่าจึงสมเหตุสมผลเพราะขาดความโปร่งใสในการอ้างอิง ได้แก่นิพจน์เดียวกันทางภาษาสามารถให้ผลลัพธ์ที่มีค่าต่างกันได้ในเวลาที่ต่างกันขึ้นกับสถานะของโปรแกรมที่กำลังกระทำการ ภาษาโปรแกรมเชิงฟังก์ชันโดยเฉพาะภาษาโปรแกรมเชิงฟังก์ชันบริสุทธิ เช่น ภาษาโฮปถูกในความสำคัญในวงการวิชาการมากกว่าในการพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ อย่างไรก็ตามภาษาโปรแกรมที่มีชื่อเสียงซึ่งสนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน เช่น ภาษาคอมมอนลิสป์ ภาษา Scheme ภาษา Clojure ภาษา Wolfram (หรือ ภาษา Mathematica) ภาษา Racket ภาษาเออร์แลง ภาษา OCaml ภาษา Haskell และภาษาเอฟชาร์ป ใช้ในโปรแกรมประยุกต์เชิงอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์โดยองค์กรอย่างกว้างขวาง การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันยังได้รับการรองรับในภาษาเขียนโปรแกรมเฉพาะทางบางภาษา เช่น ภาษาอาร์ (สถิติ) ภาษาเจ ภาษาเค และภาษาคิวจาก Kx Systems (การวิเคราะห์ทางการคลัง) XQuery/XSLT (เอกซ์เอ็มแอล) และภาษาโอปอล ภาษาเชิงประกาศเฉพาะทางที่ใช้งานอย่างกว้างขวางเช่น ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง และ Lex/Yacc ใช้บางส่วนประกอบของการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันโดยเฉพาะใน eschewing วัตถุที่เปลี่ยนแปลงได้.

ใหม่!!: ภาษาซีชาร์ปและการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน · ดูเพิ่มเติม »

การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ

การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-oriented programming, OOP) คือหนึ่งในรูปแบบการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ให้ความสำคัญกับ วัตถุ ซึ่งสามารถนำมาประกอบกันและนำมาทำงานรวมกันได้ โดยการแลกเปลี่ยนข่าวสารเพื่อนำมาประมวลผลและส่งข่าวสารที่ได้ไปให้ วัตถุ อื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทำงานต่อไป แนวคิดการเขียนโปรแกรมแบบดังเดิมมักนิยมใช้ ในการสร้างเว็บไซต์ต่าง.

ใหม่!!: ภาษาซีชาร์ปและการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจาวา

ลโก้ของภาษาจาวา ภาษาจาวา (Java programming language) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming) พัฒนาโดย เจมส์ กอสลิง และวิศวกรคนอื่นๆ ที่ ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ภาษาจาวาถูกพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) โดยเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการกรีน (the Green Project) และสำเร็จออกสู่สาธารณะในปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) ซึ่งภาษานี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้แทนภาษาซีพลัสพลัส (C++) โดยรูปแบบที่เพิ่มเติมขึ้นคล้ายกับภาษาอ็อบเจกต์ทีฟซี (Objective-C) แต่เดิมภาษานี้เรียกว่า ภาษาโอ๊ก (Oak) ซึ่งตั้งชื่อตามต้นโอ๊กใกล้ที่ทำงานของ เจมส์ กอสลิง แต่ว่ามีปัญหาทางลิขสิทธิ์ จึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อ "จาวา" ซึ่งเป็นชื่อกาแฟแทน และแม้ว่าจะมีชื่อคล้ายกัน แต่ภาษาจาวาไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript) ปัจจุบันมาตรฐานของภาษาจาวาดูแลโดย Java Community Process ซึ่งเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการ ที่อนุญาตให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกำหนดความสามารถในจาวาแพลตฟอร์มได้.

ใหม่!!: ภาษาซีชาร์ปและภาษาจาวา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาดอตเน็ต

ษาดอตเน็ต เป็นประเภทภาษาโปรแกรม โดยโปรแกรมที่พัฒนาจะทำงานบนดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก ซึ่งไม่ว่าภาษาดอตเน็ตไหนที่ใช้ ตัวแปลโปรแกรมจะทำการแปลมาเป็นภาษากลาง (MSIL) และเมื่อโปรแกรมถูกเรียกใช้ CLR ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดอตเน็ตเฟรมเวิร์กจะทำการแปลเป็นโค้ดที่เหมาะสมสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ ขั้นตอนนี้สามารถทำได้ในการแปลครั้งแรกเช่นกันหากต้องการ ปัจจุบันนี้มีภาษาดอตเน็ตมีมากกว่า 40 ภาษา โดยไมโครซอฟท์ได้พัฒนาและรองรับภาษาดอตเน็ตหลักๆคือ C# VB.NET และ C++/CLI ซึ่งที่เหลือนั้นพัฒนาโดยผู้อื่น.

ใหม่!!: ภาษาซีชาร์ปและภาษาดอตเน็ต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซี

ษาซี (C) เป็นภาษาโปรแกรมสำหรับวัตถุประสงค์ทั่วไป เริ่มพัฒนาขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2512-2516 (ค.ศ. 1969-1973) โดยเดนนิส ริชชี่ (Denis Retchie) ที่เอทีแอนด์ทีเบลล์แล็บส์ (AT&T Bell Labs) ภาษาซีเป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นในการเขียนโปรแกรมและมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้างและอนุญาตให้มีขอบข่ายตัวแปร (scope) และการเรียกซ้ำ (recursion) ในขณะที่ระบบชนิดตัวแปรอพลวัตก็ช่วยป้องกันการดำเนินการที่ไม่ตั้งใจหลายอย่าง เหมือนกับภาษาโปรแกรมเชิงคำสั่งส่วนใหญ่ในแบบแผนของภาษาอัลกอล การออกแบบของภาษาซีมีคอนสตรักต์ (construct) ที่โยงกับชุดคำสั่งเครื่องทั่วไปได้อย่างพอเพียง จึงทำให้ยังมีการใช้ในโปรแกรมประยุกต์ซึ่งแต่ก่อนลงรหัสเป็นภาษาแอสเซมบลี คือซอฟต์แวร์ระบบอันโดดเด่นอย่างระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ยูนิกซ์ ภาษาซีเป็นภาษาโปรแกรมหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดตลอดกาล และตัวแปลโปรแกรมของภาษาซีมีให้ใช้งานได้สำหรับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เป็นส่วนมาก ภาษาหลายภาษาในยุคหลังได้หยิบยืมภาษาซีไปใช้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ตัวอย่างเช่น ภาษาดี ภาษาโก ภาษารัสต์ ภาษาจาวา จาวาสคริปต์ ภาษาลิมโบ ภาษาแอลพีซี ภาษาซีชาร์ป ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี ภาษาเพิร์ล ภาษาพีเอชพี ภาษาไพทอน ภาษาเวอริล็อก (ภาษาพรรณนาฮาร์ดแวร์) และซีเชลล์ของยูนิกซ์ ภาษาเหล่านี้ได้ดึงโครงสร้างการควบคุมและคุณลักษณะพื้นฐานอื่น ๆ มาจากภาษาซี ส่วนใหญ่มีวากยสัมพันธ์คล้ายคลึงกับภาษาซีเป็นอย่างมากโดยรวม (ยกเว้นภาษาไพทอนที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง) และตั้งใจที่จะผสานนิพจน์และข้อความสั่งที่จำแนกได้ของวากยสัมพันธ์ของภาษาซี ด้วยระบบชนิดตัวแปร ตัวแบบข้อมูล และอรรถศาสตร์ที่อาจแตกต่างกันโดยมูลฐาน ภาษาซีพลัสพลัสและภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีเดิมเกิดขึ้นในฐานะตัวแปลโปรแกรมที่สร้างรหัสภาษาซี ปัจจุบันภาษาซีพลัสพลัสแทบจะเป็นเซตใหญ่ของภาษาซี ในขณะที่ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีก็เป็นเซตใหญ่อันเคร่งครัดของภาษาซี ก่อนที่จะมีมาตรฐานภาษาซีอย่างเป็นทางการ ผู้ใช้และผู้พัฒนาต่างก็เชื่อถือในข้อกำหนดอย่างไม่เป็นทางการในหนังสือที่เขียนโดยเดนนิส ริตชี และไบรอัน เคอร์นิกัน (Brian Kernighan) ภาษาซีรุ่นนั้นจึงเรียกกันโดยทั่วไปว่า ภาษาเคแอนด์อาร์ซี (K&R C) ต่อม..

ใหม่!!: ภาษาซีชาร์ปและภาษาซี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโปรแกรม

ษาโปรแกรม คือภาษาประดิษฐ์ชนิดหนึ่งที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อสื่อสารชุดคำสั่งแก่เครื่องจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรมสามารถใช้สร้างโปรแกรมที่ควบคุมพฤติกรรมของเครื่องจักร และ/หรือ แสดงออกด้วยขั้นตอนวิธี (algorithm) อย่างตรงไปตรงมา ผู้เขียนโปรแกรมซึ่งหมายถึงผู้ที่ใช้ภาษาโปรแกรมเรียกว่า โปรแกรมเมอร์ (programmer) ภาษาโปรแกรมในยุคแรกเริ่มนั้นเกิดขึ้นก่อนที่คอมพิวเตอร์จะถูกประดิษฐ์ขึ้น โดยถูกใช้เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องทอผ้าของแจ็กการ์ดและเครื่องเล่นเปียโน ภาษาโปรแกรมต่าง ๆ หลายพันภาษาถูกสร้างขึ้นมา ส่วนมากใช้ในวงการคอมพิวเตอร์ และสำหรับวงการอื่นภาษาโปรแกรมก็เกิดขึ้นใหม่ทุก ๆ ปี ภาษาโปรแกรมส่วนใหญ่อธิบายการคิดคำนวณในรูปแบบเชิงคำสั่ง อาทิลำดับของคำสั่ง ถึงแม้ว่าบางภาษาจะใช้การอธิบายในรูปแบบอื่น ตัวอย่างเช่น ภาษาที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน หรือการเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ การพรรณนาถึงภาษาโปรแกรมหนึ่ง ๆ มักจะแบ่งออกเป็นสองส่วนได้แก่ วากยสัมพันธ์ (รูปแบบ) และอรรถศาสตร์ (ความหมาย) บางภาษาถูกนิยามขึ้นด้วยเอกสารข้อกำหนด (ตัวอย่างเช่น ภาษาซีเป็นภาษาหนึ่งที่กำหนดโดยมาตรฐานไอโซ) ในขณะที่ภาษาอื่นอย่างภาษาเพิร์ลรุ่น 5 และก่อนหน้านั้น ใช้การทำให้เกิดผลแบบอ้างอิง (reference implementation) เป็นลักษณะเด่น.

ใหม่!!: ภาษาซีชาร์ปและภาษาโปรแกรม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเอฟชาร์ป

ษาเอฟชาร์ป (F#) เป็นภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบ strongly typed บนดอตเน็ตเฟรมเวิร์กและ Mono ที่สนับสนุนโมเดลการเขียนโปรแกรมหลายแบบรวมทั้ง การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ และการเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่ง F# เป็นภาษาดอตเน็ต สามารถเรียกใช้เอพีไอของดอตเน็ต และถูกเรียกจากภาษาดอตเน็ตอื่นๆ นอกจากนั้น F# ยังสามารถถูกใช้กับโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ เขียนโปรแกรมสำหรับหน่วยประมวลผลกราฟิกส์ หรือ GPU และใช้เขียนโปรแกรมสำหรับแมคโอเอสเท็น ไอโอเอส และ แอนดรอยด์ โดยใช้ Programming tool สร้างโดยบริษัท Xamarin.

ใหม่!!: ภาษาซีชาร์ปและภาษาเอฟชาร์ป · ดูเพิ่มเติม »

มายเอสคิวเอล

MySQL (มายเอสคิวแอล) เป็นระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database Management System) โดยใช้ภาษา SQL แม้ว่า MySQL เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส แต่แตกต่างจากซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สทั่วไป โดยมีการพัฒนาภายใต้บริษัท MySQL AB ในประเทศสวีเดน โดยจัดการ MySQL ทั้งในแบบที่ให้ใช้ฟรี และแบบที่ใช้ในเชิงธุรกิจ เมื่อปี..

ใหม่!!: ภาษาซีชาร์ปและมายเอสคิวเอล · ดูเพิ่มเติม »

ลูซีน

ลูซีน (Lucene) เป็นซอฟต์แวร์เสรีและซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สสำหรับใช้เป็นส่วนต่อประสานโปรแกรมประยุกต์ในการค้นคืนสารสนเทศ แต่เดิมลูซีนถูกเขียนขึ้นโดยใช้ภาษาจาวา โดย Doug Cutting ซึ่งสนับสนุนโดยมูลนิธิซอฟต์แวร์อาแพชี และเผยแพร่โดยใช้สัญญาอนุญาตซอฟต์แวร์อาแพชี ลูซีนถูกย้ายไปเขียนขึ้นด้วยภาษาอื่น ๆ นอกจากภาษาจาวาด้วย ได้แก่ ภาษาเพิร์ล ภาษาซีชาร์ป ภาษาซีพลัสพลัส ภาษาไพทอน ภาษารูบี้ และภาษาพีเอชพี ลูซีนเหมาะกับการใช้งานใดที่ต้องการการสร้างดัชนีข้อความอย่างเต็มรูปแบบ (Full-text indexing) และความสามารถในการค้นคืนข้อความแบบเต็มรูปแบบ (Full-text searching) ลูซีนได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในการนำไปใช้สร้างเครื่องมือช่วยค้นหาข้อมูลสำหรับอินเทอร์เน็ต หรือ ภายในองค์กร หรือ เฉพาะในเว็บไซต์เดียว ซึ่งบางครั้งก็มีผู้เข้าใจผิดว่าลูซีนเป็นเครื่องมือช่วยค้นหาข้อมูลเต็มรูปแบบ ที่มีเครื่องมือรวบรวมเว็บเพจ (Web crawler) และโปรแกรมแจงโครงสร้างภาษา HTML ด้วย ทั้งนี้โปรแกรมที่ใช้งานลูซีนจะต้องมีมีเครื่องมือรวบรวมเว็บเพจ (Web crawler) และโปรแกรมแจงโครงสร้างภาษา HTML โดยแยกออกจากลูซีน สิ่งที่อยู่ในแก่นของสถาปัตยกรรมเชิงตรรกะของลูซีนคือแนวคิดว่าเอกสารประกอบไปด้วยเขตข้อมูลของข้อความ ซึ่งทำให้ส่วนต่อประสานโปรแกรมประยุกต์ของลูซีนยืดหยุ่นพอที่จะไม่ขึ้นอยู่กับรูปแบบไฟล์ ข้อความจากไฟล์ในรูปแบบ PDF HTML เอกสารไมโครซอฟท์เวิร์ด และรูปแบบอื่น ๆ อีกมากมายสามารถนำมาสร้างดัชนีได้ตราบเท่าที่สามารถสกัดข้อความจากเอกสารได้.

ใหม่!!: ภาษาซีชาร์ปและลูซีน · ดูเพิ่มเติม »

สายอักขระว่าง

ในวิทยาการคอมพิวเตอร์และภาษารูปนัย สายอักขระว่าง (empty string, null stringKernighan and Ritchie, C, p. 38) หมายถึงสายอักขระที่มีหนึ่งเดียวที่มีความยาวเป็นศูน.

ใหม่!!: ภาษาซีชาร์ปและสายอักขระว่าง · ดูเพิ่มเติม »

ผลรวม

ในทางคณิตศาสตร์ ผลรวม (summation) หมายถึงการบวกของเซตของจำนวน ซึ่งจะให้ผลลัพธ์เป็น ผลบวก (sum, total) จำนวนที่กล่าวถึงอาจเป็นจำนวนธรรมชาติ จำนวนเชิงซ้อน เมตริกซ์ หรือวัตถุอื่นที่ซับซ้อนกว่านั้น ผลรวมไม่จำกัดของลำดับเรียกว่าเป็นอนุกรม.

ใหม่!!: ภาษาซีชาร์ปและผลรวม · ดูเพิ่มเติม »

จำนวนจุดลอยตัว

Z3 คอมพิวเตอร์ฐานสองเชิงกลที่สามารถโปรแกรมและดำนำเนินการทางคณิตศาสตร์ได้เครื่องแรก (จัดแสดงต่อสาธารณะที่พิพิธภัณฑ์เยอรมันในเมืองมิวนิก ตัวอย่างแสดงถึงการแทนจำนวนจุดลอยตัวโดยแบ่งเป็นการเก็บค่าเลขนัยสำคัญและเลขชี้กำลัง ในทางคอมพิวเตอร์ จำนวนจุดลอยตัว (floating point) คือระบบแทนจำนวนชนิดหนึ่ง ซึ่งจำนวนนั้นอาจมีขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กเกินกว่าที่จะแทนด้วยจำนวนเต็ม เนื่องจากจำนวนต่าง ๆ สามารถเขียนแทนด้วยเลขนัยสำคัญ (mantissa) จำนวนหนึ่งโดยประมาณ และเปลี่ยนสเกลด้วยเลขชี้กำลัง (exponent) ฐานของสเกลปกติจะเป็น 2, 10 หรือ 16 เป็นต้น จำนวนทั่วไปจึงสามารถเขียนให้อยู่ในรูปแบบนี้ได้ คำว่า จุดลอยตัว จึงหมายถึงจุดฐาน (จุดทศนิยม หรือในคอมพิวเตอร์คือ จุดทวินิยม) ที่สามารถ "ลอยตัว" ได้ หมายความว่า จุดฐานสามารถวางไว้ที่ตำแหน่งใดก็ได้ที่สัมพันธ์กับเลขนัยสำคัญของจำนวนนั้น ตำแหน่งนี้แสดงไว้แยกต่างหากในข้อมูลภายใน และการแทนด้วยจำนวนจุดลอยตัวจึงอาจถือว่าเป็นสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ในบริบทของคอมพิวเตอร์ หลายปีที่ผ่านมา คอมพิวเตอร์ใช้งานจำนวนจุดลอยตัวในรูปแบบที่แตกต่างกัน เวลาต่อมาจึงทำให้เกิดมาตรฐาน IEEE 754 สำหรับจำนวนที่พบได้อย่างปกติสามัญชนิดนี้ ข้อดีของจำนวนจุดลอยตัวที่มีต่อจำนวนจุดตรึง (fixed point รวมทั้งจำนวนเต็ม) คือจำนวนจุดลอยตัวสามารถรองรับค่าได้ในขอบเขตที่กว้างกว่า ตัวอย่างเช่น จำนวนจุดตรึงที่มีตัวเลขเจ็ดหลัก และกำหนดให้สองหลักสุดท้ายอยู่หลังจุด สามารถแทนจำนวนเหล่านี้ได้ 12345.67, 123.45, 1.23 ในขณะที่จำนวนจุดลอยตัว (ตามเลขฐานสิบของมาตรฐาน IEEE 754) ที่มีตัวเลขเจ็ดหลักเช่นกัน สามารถแทนจำนวนเหล่านี้ได้อีกเพิ่มเติม 1.234567, 123456.7, 0.00001234567, 1234567000000000 เป็นต้น แต่ข้อเสียคือรูปแบบของจำนวนจุดลอยตัวจำเป็นต้องใช้หน่วยเก็บข้อมูลมากขึ้นอีกเล็กน้อย (สำหรับเข้ารหัสตำแหน่งของจุดฐาน) ดังนั้นเมื่อจำนวนทั้งสองประเภทเก็บบันทึกอยู่ในที่ที่เหมือนกัน จำนวนจุดลอยตัวจะใช้เนื้อที่มากกว่าเพื่อเพิ่มความเที่ยง (precision) ความเร็วของการดำเนินการกับจำนวนจุดลอยตัว เป็นการวัดประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่สำคัญในขอบเขตข่ายโปรแกรมประยุกต์ ซึ่งมีหน่วยวัดเป็นฟล็อปส์ (FLOPS - floating-point operations per second การประมวลผลจุดลอยตัวต่อวินาที).

ใหม่!!: ภาษาซีชาร์ปและจำนวนจุดลอยตัว · ดูเพิ่มเติม »

ดักไทปปิง

ักไทปปิง หรือ ดั๊กไทป์ปิ้ง (en: Duck typing) เป็นวิธีกำหนดชนิดของวัตถุ ในภาษาเชิงวัตถุ ดักไทปปิงเป็นกฏสูงสุดในการกำหนด ชนิดของไทปปิง ไทปปิงทำหน้าที่กำหนดชนิดของตัวแปร รวมไปถึง ชนิดของวัตถุ และ เมธอท การตั้งค่าต่างๆด้วย ชื่อของ ดักไทปปิง ได้มาจากข้อความของ เจมส์ วิธคอม ไลลี่ย์ นักประพันธ์ชาวสหรัฐอเมริกา ที่กล่าวว่า ในทางโปรแกรมเมื่อเราส่งผ่านค่าไปยังฟังก์ชั่น เพื่อเรียกใช้งานวัตถุ ในภาษาที่ไม่ใช้ ดักไทป ผลคือเราต้องเรียกหา วัตถุที่ชื่อว่า เป็ด เท่านั้น แต่ในโปรแกรมประเภทดักไทป เราสามารถส่งค่าเหล่านั้นไปได้ โดยสะดวก เพราะถ้าวัตถุนั้นมี เมธอทเดินแบบเป็ด เมธอทว่ายน้ำแบบเป็ด เมธอทร้องแบบเดียวกับเป็ด ถือว่าวัตถุนั้นเสมือนว่า ชื่อเป็ดได้เช่นกันตัวอย่าง จะเห็นว่าเราส่งตัวแปรเข้า ฟังก์ชั่น calculate โดยไม่ได้คำนึงถึงชนิดของข้อมูลเลย ค่าของตัวแปรในลิสต์เดียวกันก็มีความหลายหลายมาก ในตัวแปรลิสต์เดียวกันมีทั้งตัวแปรที่เป็น เลขจำนวนเต็ม เป็นตัวหนังสือ เป็นลิสต์ของลิสต์ เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาษาซีชาร์ปและดักไทปปิง · ดูเพิ่มเติม »

คลาส (คอมพิวเตอร์)

ในการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ คลาส (class) คือต้นแบบที่กำหนดคุณสมบัติและพฤติกรรมการทำงานของอ็อบเจกต์ทึ่ถูกสร้างมาจากคลาสนั้นๆ องค์ประกอบของคลาสมีสองส่วนหลักได้แก.

ใหม่!!: ภาษาซีชาร์ปและคลาส (คอมพิวเตอร์) · ดูเพิ่มเติม »

คิวต์

วต์ (Qt อ่านเหมือน cute) เป็นวิจิททูลคิทสำหรับพัฒนาส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ (GUI) โปรแกรมในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ที่ใช้คิวต์ เช่น KDE, โอเปรา, กูเกิลเอิร์ท, สไกป์, โฟโตชอป เอเลเมนส์ เป็นต้น คิวต์ พัฒนาโดยใช้ภาษา C++ และใช้ส่วนขยายอื่นนอกเหนือจาก C++ มาตรฐาน ที่ต้องใช้ preprocessor ประมวลเพื่อสร้างคำสั่ง C++ ก่อนการคอมไพล์ มี binding สำหรับใช้ในภาษา เอดา, ซีชาร์ป, จาวา, ปาสกาล, เพิร์ล, พีเอชพี, รูบี้ และ ไพทอน ขีดความสามารถอื่นนอกเหนือจากส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ เช่นการติดต่อกับฐานข้อมูลSQL การอ่านข้อมูล XML การบริหารทรีด (thread) ด้านเครือข่าย และการจัดการไฟล์ ปัจจุบัน Qt ถูก Nokia เทคโอเวอร์ และ ออกผลิตภัณฑ์ ที่เน้นเขียนแอพพลิเคชั้นให้สามารถ รันข้ามแพรตฟอร์มหลากหลายและสามารถทำงานบน โทรศัพทืมือถือและอุปกรณ์เครื่อนที่(Mobile Device)ต่างได้ เช่น อุปกรณ์นำทางบนรถยนต์, แทปเลสพีซี(Tables PC) โดยกาสนับสนุนของ Intel Qt สามารถทำงานได้บนระบบปฏิบัติการ Maemo,Meego,Embleded Linux,Ubantu และ Android.

ใหม่!!: ภาษาซีชาร์ปและคิวต์ · ดูเพิ่มเติม »

ซิงเกิลตันแพตเทิร์น

รงสร้างของคลาสซิงเกิลตัน ในแบบ UML ซิงเกิลตันแพตเทิร์น (Singleton pattern) เป็นดีไซน์แพตเทิร์นที่ใช้จำกัดจำนวนอ็อบเจกต์ที่ถูกสร้างในขณะที่โปรแกรมทำงาน มีประโยชน์ในสถานการณ์ที่ทั้งระบบต้องมีอ็อบเจกต์เพียงตัวเดียวเพื่อจะได้ไม่เกิดการทำงานซ้ำซ้อนกัน ตัวอย่างเช่นคลาสที่ใช้สำหรับเป็นศูนย์รวมการตั้งค่าปรับแต่ง (configuration) ของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เมื่อเริ่มโปรแกรมอ็อบเจกต์ของคลาสนี้จะอ่านค่าตั้งต้นจากไฟล์ ผู้ใช้โปรแกรมสามารถทำการปรับเปลี่ยนค่าและเซฟไฟล์เพื่อการใช้งานครั้งต่อไป ในกรณีนี้เราต้องการให้ทุกๆ ส่วนของโปรแกรมใช้อ็อบเจกต์ซิงเกิลตันเพียงตัวเดียวร่วมกัน เพื่อที่ทุกส่วนทำงานสัมพันธ์กันและไม่ต่างส่วนต่างเปลี่ยนแปลงค่าโดยส่วนอื่นๆ ไม่รับรู้.

ใหม่!!: ภาษาซีชาร์ปและซิงเกิลตันแพตเทิร์น · ดูเพิ่มเติม »

ซี

ซี หรือ C เป็นตัวอักษรละตินตัวที่ 3 นอกจากนี้ยังอาจหมายถึง.

ใหม่!!: ภาษาซีชาร์ปและซี · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครซอฟท์ วิชวลสตูดิโอ

มโครซอฟท์ วิชวลสตูดิโอ คือ Integrated Development Environment พัฒนาขึ้นโดยไมโครซอฟท์ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยนักพัฒนาซอฟต์แวร์พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เว็บไซต์ เว็บแอปพลิเคชัน และ เว็บเซอร์วิซ ระบบที่รองรับการทำงานนั้นมีไมโครซอฟท์ วินโดวส์ พ็อคเกตพีซี Smartphone และ เว็บเบราว์เซอร์ ในปัจจุบัน วิชวลสตูดิโอนั้นสามารถใช้ภาษาโปรแกรมที่เป็นภาษาดอตเน็ต ในโปรแกรมเดียวกัน เช่น VB.NET C++ C# J# เป็นต้น วิชวลสตูดิโอ 2008 ซึ่งเป็นรุ่นหลังจาก 2010 ได้แบ่งเป็นรุ่นดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: ภาษาซีชาร์ปและไมโครซอฟท์ วิชวลสตูดิโอ · ดูเพิ่มเติม »

ไวรัส HLLP

HLLP (ย่อมาจาก High Level Language Parasitic) เป็นไวรัสประเภทไวรัสติดไฟล์ กลุ่มหนึ่งซึ่งเขียนด้วยภาษาระดับสูงเช่น ภาษาปาสกาล ภาษาซี ภาษาซีพลัสพลัส ภาษาเบสิก เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาษาซีชาร์ปและไวรัส HLLP · ดูเพิ่มเติม »

เวิลด์ไวด์เทเลสโคป

วิลด์ไวด์เทเลสโคป (WorldWide Telescope) หรือ ดับเบิลยูดับเบิลยูที เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างโดยไมโครซอฟท์ ซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้ดูภาพอวกาศ มันถูกประกาศเปิดตัวในงานประชุม TED Conference ที่ Monterey รัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ผู้ใช้สามารถหันกล้องไปรอบอวกาศและซูมขยายพื้นที่ที่ต้องการไปได้ไกลเท่าที่มีข้อมูลบันทึกอยู่ ภาพต่าง ๆ นั้นนำมาจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลและกล้องโทรทรรศน์อื่นบนโลกอีกประมาณ 10 ตัว มันสามารถดูท้องฟ้าได้ในความยาวคลื่นหลาย ๆ แบบ ซอฟต์แวร์ดังกล่าวทำงานโดยใช้เทคโนโลยี Visual Experience Engine ของไมโครซอฟท์ WorldWide Telescope มีประเภทของวัตถุที่มองดูได้สี่ประเภท คือ ท้องฟ้า (Sky), โลก (Earth), ดาวเคราะห์ (Planets), และภาพมุมกว้างพานอรามา (Panoramas) ซอฟต์แวร์ที่ใกล้เคียงกับ WWT เช่น Aladin Sky Atlas, เซเลสเทีย, Google Sky, KStars, SKY-MAP.ORG และ Stellarium.

ใหม่!!: ภาษาซีชาร์ปและเวิลด์ไวด์เทเลสโคป · ดูเพิ่มเติม »

เอดิตพลัส

อดิตพลัส (EditPlus) คือโปรแกรมแก้ไขข้อความ 32 บิต สำหรับระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ เป็นโปรแกรมสัญชาติเกาหลีใต้ พัฒนาโดย คิม ซังอิล (김상일) จากอีเอส-คอมพิวติง เป็นแชร์แวร์ให้ทดลองใช้งานได้ 30 วัน ซึ่งหากเลยกำหนดแล้วโปรแกรมจะไม่สามารถบันทึกไฟล์ได้.

ใหม่!!: ภาษาซีชาร์ปและเอดิตพลัส · ดูเพิ่มเติม »

เอเอสพีดอตเน็ต

ลโก้ ASP.NET เอเอสพีดอตเน็ต (ASP.NET) คือเทคโนโลยีสำหรับพัฒนาเว็บไซต์ เว็บแอปพลิเคชัน และเว็บเซอร์วิซ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก พัฒนาโดยไมโครซอฟท์ ASP.NET เป็นรุ่นถัดจาก Active Server Pages (ASP) แม้ว่า ASP.NET นั้นจะใช้ชื่อเดิมจาก ASP แต่ทั้งสองเทคโนโลยีนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยไมโครซอฟท์นั้นได้สร้าง ASP.NET ขึ้นมาใหม่หมดบนฐานจากCommon Language Runtime (CLR) ซึ่งทำให้ผู้พัฒนาสามารถเลือกใช้ภาษาใดก็ได้ที่รองรับโดยดอตเน็ตเฟรมเวิร์กเช่น C# และ VB.NET เป็นต้น ปัจจุบันรุ่นล่าสุดคือ ASP.NET 2.0 ซึ่งรวมอยู่ใน.NET Framework 2.0.

ใหม่!!: ภาษาซีชาร์ปและเอเอสพีดอตเน็ต · ดูเพิ่มเติม »

C

C (ตัวใหญ่:C ตัวเล็ก:c) เป็นอักษรละติน ลำดับที่ 3.

ใหม่!!: ภาษาซีชาร์ปและC · ดูเพิ่มเติม »

Common Language Runtime

Common Language Runtime (CLR) คือเวอร์ชวลแมชีน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก และพัฒนาตามมาตรฐานเปิด Common Language Infrastructure ที่ไมโครซอฟท์ได้พัฒนาขึ้นมา ซึ่งอธิบายถึงสภาพแวดล้อมสำหรับโค้ดที่ทำงานบน CLR โดย CLR จะรันจากไบต์โค้ดที่เรียกว่า Microsoft Intermediate Language (MSIL) ซึ่งพัฒนาตามมาตรฐาน Common Intermediate Language (CIL) ผู้พัฒนาใช้ CLR ด้วยการเขียนโค้ดด้วยภาษาระดับสูงอย่าง C# หรือ VB.NET โดยช่วงเวลาคอมไพล์ ดอตเน็ตคอมไพเลอร์จะทำการแปลงโค้ดดังกล่าวไปเป็นโค้ด MSIL (Microsoft Intermediate Language) และเวลาที่รันโค้ด CLR's just-in-time compiler จะทำการแปลงโค้ด MSIL ไปเป็นภาษาเครื่องสำหรับระบบปฏิบัติการเพื่อให้ทำงานได้ หรือหากต้องการโค้ด MSIL สามารถคอมไพล์ไปยังเป็นภาษาเครื่องก่อนที่จะรัน ก็ทำได้เช่นกัน ซึ่งในกรณีนี้จะทำให้การรันโค้ดตอนแรกเร็วขึ้น เพราะไม่เสียเวลาแปลงโค้ด MSIL ไปยังภาษาเครื่อง.

ใหม่!!: ภาษาซีชาร์ปและCommon Language Runtime · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ซีชาร์ป

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »