โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ

ดัชนี ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ

ีดีพีต่อหัว (พีพีพี) ในปี ค.ศ. 2014 ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ (purchasing power parity, PPP) หรือ ประสิทธิผลของเงิน เป็นค่าค่าหนึ่งที่เกิดจากการประมาณทางเทคนิคโดยใช้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เพื่อคำนวณหาระดับการบริโภคสินค้าและบริการในแต่ละประเทศ โดยใช้ราคาสินค้าและบริการในสหรัฐอเมริกาเป็นฐานในการคำนวณ และแสดงผลในสกุลเงินดอลลาร์สหรั.

28 ความสัมพันธ์: บริการสุขภาพการคลังสาธารณะประเทศออสเตรเลียมาลาเรียระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกรายชื่อประเทศเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ) ต่อคนวลาดีมีร์ ปูตินสหภาพยุโรปสหรัฐสงครามกลางเมืองลิเบียหนี้สาธารณะความเสมอภาคของอัตราดอกเบี้ยซูโจวประเทศบอตสวานาประเทศญี่ปุ่นประเทศรัสเซียประเทศลิเบียประเทศสิงคโปร์ประเทศอุตสาหกรรมใหม่โตเกียวเรอูนียงเศรษฐกิจยุโรปเศรษฐกิจอินเดียเศรษฐกิจของประเทศไนจีเรียเศรษฐกิจเยอรมนีเส้นแบ่งความยากจนเขตอภิมหานครโตเกียวเคฮันชิงPPP

บริการสุขภาพ

ริการสุขภาพเป็นการบำรุงรักษาหรือพัฒนาสุขภาพโดยการป้องกัน วินิจฉัยและรักษาโรค ความเจ็บป่วย การบาดเจ็บและภาวะบกพร่องทางกายหรือจิตใจอย่างอื่นในมนุษย์ วิชาชีพสุขภาพ (ผู้ให้บริการหรือผู้ประกอบเวชกิจ) เป็นผู้ให้บริการสุขภาพในสาขาสุขภาพต่าง ๆ แพทย์และอาชีพเกี่ยวข้องเป็นส่วนหนึ่งของวิชาชีพสุขภาพเหล่านี้ วิชาชีพทันตแพทย์ พยาบาลผดุงครรภ์ พยาบาล แพทย์ นักทัศนมาตร โสตสัมผัสวิทยา เภสัชวิทยา จิตวิทยาและวิชาชีพสุขภาพอื่นล้วนเป็นส่วนหนึ่งของบริการสุขภาพ บริการสุขภาพรวมงานที่ให้บริบาลปฐมภูมิ บริบาลทุติยภูมิและบริบาลตติยภูมิ ตลอดจนในสาธารณสุข การเข้าถึงบริการสุขภาพอาจแตกต่างกันตามประเทศ ชุมชนและปัจเจกบุคคล ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากภาวะสังคมและเศรษฐกิจ ตลอดจนนโยบายสุขภาพในที่นั้น ๆ ประเทศและเขตอำนาจมีนโยบายและแผนต่างกันในด้านเป้าหมายบริการสุขภาพส่วนบุคคลและยึดประชากรในสังคมของพวกตน ระบบบริการสุขภาพเป็นองค์การที่ตั้งขึ้นเพื่อบรรลุความต้องการสุขภาพของประชากรเป้าหมาย โครงแบบที่แน่ชัดของบริการสุขภาพแตกต่างกันในระดับชาติและต่ำกว่าชาติ ในบางประเทศและเขตอำนาจ การวางแผนบริการสุขภาพแบ่งระหว่างผู้เข้าร่วมตลาด ส่วนในบางประเทศและเขตอำนาจ การวางแผนเกิดขึ้นในส่วนกลางระหว่างรัฐบาลหรือองค์กรประสานงานอื่น ๆ ในทุกกรณี องค์การอนามัยโลก ระบุว่า ระบบบริการสุขภาพที่ทำงานได้ดีต้องการกลไกจัดหาเงินทนทาน กำลังแรงงานที่ได้รับการฝึกอย่างดีและได้รับค่าตอบแทนเพียงพอ สารสนเทศน่าเชื่อถือเพื่อใช้ตัดสินใจและออกนโยบาย และสถาบันสุขภาพและลอจิสติกส์ที่มีการบำรุงรักษาดีเพื่อส่งยาและเทคโนโลยีคุณภาพ บริการสุขภาพอาจเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจของประเทศหนึ่ง ในปี 2554 อุตสาหกรรมบริการสุขภาพคิดเป็นเฉลี่ยร้อยละ 9.3 ของจีดีพี หรือ 3,322 ดอลลาร์สหรัฐต่อหัว (ปรับภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ) ในประเทศโออีซีดี 34 ประเทศ สหรัฐ เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี แคนาดาและสวิสเซอร์แลนด์เป็นผู้มีรายจ่ายบริการสุขภาพสูงสุด ทุกประเทศโออีซีดีมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (หรือเกือบถ้วนหน้า) ยกเว้นสหรัฐและเม็กซิโก ปกติถือว่าบริการสุขภาพเป็นปัจจัยกำหนดสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพกายและจิตทั่วไปและความเป็นอยู่ดีของประชากรทั่วโลก ตัวอย่างเช่น การขจัดโรคฝีดาษทั่วโลกในปี 2523 ซึ่งองค์การอนามัยโลกประกาศว่าเป็นโรคแรกในประวัติศาสตร์มนุษย์ที่ถูกขจัดเบ็ดเสร็จด้วยการแทรกแซงของบริการสุขภาพโดยเจตน.

ใหม่!!: ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อและบริการสุขภาพ · ดูเพิ่มเติม »

การคลังสาธารณะประเทศออสเตรเลีย

การคลังสาธารณะในประเทศออสเตรเลีย เศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลออสเตรเลีย รายรับของรัฐบาล เช่น ภาษี รายจ่ายของรัฐบาล เช่น สวัสดิการ ประกันสังคม ทั้งในระดับประเทศ ระดับรัฐและท้องถิ่น.

ใหม่!!: ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อและการคลังสาธารณะประเทศออสเตรเลีย · ดูเพิ่มเติม »

มาลาเรีย

มาลาเรีย (malaria) หรือไข้จับสั่น ไข้ป่า ไข้ป้าง ไข้ร้อนเย็นหรือไข้ดอกสัก เป็นโรคติดเชื้อของมนุษย์และสัตว์อื่นที่มียุงเป็นพาหะ มีสาเหตุจากปรสิตโปรโตซัว (จุลินทรีย์เซลล์เดียวประเภทหนึ่ง) ในสกุล Plasmodium (พลาสโมเดียม) อาการทั่วไปคือ มีไข้ อ่อนเพลีย อาเจียนและปวดศีรษะ ในรายที่รุนแรงอาจทำให้ตัวเหลือง ชัก โคม่าหรือเสียชีวิตได้ โรคมาลาเรียส่งผ่านโดยการกัดของยุงเพศเมียในสกุล Anopheles (ยุงก้นปล่อง) และปกติอาการเริ่ม 10 ถึง 15 วันหลังถูกกัด หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม บุคคลอาจมีอาการของโรคในอีกหลายเดือนให้หลัง ในผู้ที่เพิ่งรอดจากการติดเชื้อ การติดเชื้อซ้ำมักมีอาการเบากว่า การต้านทานบางส่วนนี้จะหายไปในเวลาเป็นเดือนหรือปีหากบุคคลไม่ได้สัมผัสมาลาเรียอย่างต่อเนื่อง เมื่อถูกยุง Anopheles เพศเมียกัดจะนำเชื้อปรสิตจากน้ำลายของยุงเข้าสู่เลือดของบุคคล ปรสิตจะไปตับซึ่งจะเจริญเติบโตและสืบพันธุ์ มนุษย์สามารถติดเชื้อและส่งต่อ Plasmodium ห้าสปีชีส์ ผู้เสียชีวิตส่วนมากเกิดจากเชื้อ P. falciparum เพราะ P. vivax, P. ovale และ P. malariae โดยทั่วไปก่อให้เกิดมาลาเรียแบบที่รุนแรงน้อยกว่า สปีชีส์รับจากสัตว์ P. knowlesi พบมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การวินิจฉัยมาลาเรียตรงแบบทำโดยการตรวจเลือดด้วยกล้องจุลทรรศน์โดยใช้ฟิล์มเลือดหรือการวินิจฉัยชนิดรวดเร็ว (rapid diagnostic test) ที่อาศัยแอนติเจน มีการพัฒนาวิธีซึ่งใช้ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสเพื่อตรวจจับดีเอ็นเอของปรสิต แต่ยังไม่มีใช้แพร่หลายในพื้นที่ซึ่งมีโรคมาลาเรียทั่วไปเนื่องจากราคาแพงและซับซ้อน ความเสี่ยงของโรคลดได้โดยการป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด โดยใช้มุ้งหรือสารขับไล่แมลง หรือด้วยมาตรการควบคุมยุง เช่น การฉีดพ่นยาฆ่าแมลงหรือการระบายน้ำนิ่ง มียารักษาโรคหลายชนิดที่ป้องกันมาลาเรียในผู้ที่เดินทางไปยังบริเวณที่พบโรคมาลาเรียทั่วไป แนะนำให้ใช้ยารักษาโรคซัลฟาด็อกซีน/ไพริเมธามีนบางครั้งในทารกและหลังไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ในบริเวณซึ่งมีโรคมาลาเรียอัตราสูง โรคมาลาเรียยังไม่มีวัคซีน แต่กำลังพัฒนา การรักษาโรคมาลาเรียที่แนะนำ คือ การใช้ยาต้านมาลาเรียหลายชนิดร่วมกันซึ่งรวมอาร์ตีมิซินิน ยาชนิดที่สองอาจเป็นเมโฟลควิน ลูมีแฟนทรีนหรือซัลฟาด็อกซีน/ไพริเมธามีน อาจใช้ควินินร่วมกับด็อกซีไซคลินได้หากไม่มีอาร์ติมิซินิน แนะนำว่าในพื้นที่ซึ่งมีโรคมาลาเรียทั่วไป ให้ยืนยันโรคมาลาเรียหากเป็นไปได้ก่อนเริ่มการรักษาเนื่องจากความกังวลว่ามีการดื้อยาเพิ่มขึ้น มีการพัฒนาการดื้อยาในปรสิตต่อยาต้านมาลาเรียหลายชนิด เช่น P. falciparum ซึ่งดื้อต่อคลอโรควินได้แพร่ไปยังพื้นที่ซึ่งมีการระบาดมากที่สุด และการดื้อยาอาร์ทีมิซินินเป็นปัญหาในบางพื้นที่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โรคนี้แพร่หลายในเขตร้อนและอบอุ่นซึ่งอยู่เป็นแถบกว้างรอบเส้นศูนย์สูตร ซึ่งรวมพื้นที่แอฟริกาใต้สะฮารา ทวีปเอเชียและละตินอเมริกาบริเวณกว้าง โรคมาลาเรียมักสัมพันธ์กับความยากจนและยังอาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ในทวีปแอฟริกา มีการประเมินว่ามีการสูญเสีย 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีเนื่องจากค่าใช้จ่ายสาธารณสุขเพิ่มขึ้น เสียความสามารถการทำงาน และผลเสียต่อการท่องเที่ยว องค์การอนามัยโลกประเมินว่ามีผู้ป่วย 198 ล้านคน ใน..

ใหม่!!: ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อและมาลาเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก

ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) หรือ EEC เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมติคณะรัฐมนตรีใน..

ใหม่!!: ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อและระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อประเทศเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ) ต่อคน

้านล่างนี้เป็นรายชื่อประเทศเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อต่อคน.

ใหม่!!: ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อและรายชื่อประเทศเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ) ต่อคน · ดูเพิ่มเติม »

วลาดีมีร์ ปูติน

วลาดีมีร์ วลาดีมีโรวิช ปูติน (Владимир Владимирович Путин; Vladimir Vladimirovich Putinr) เป็นนักการเมืองชาวรัสเซียผู้ดำรงตำแหน่ง ประธานาธิบดีรัสเซียคนที่สี่และคนปัจจุบัน เช่นเดียวกับประธานพรรคยูไนเต็ดรัสเซียและประธานสภารัฐมนตรีสหภาพรัสเซียและเบลารุส เขารักษาการตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม..

ใหม่!!: ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อและวลาดีมีร์ ปูติน · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพยุโรป

หภาพยุโรป (European Union: EU) เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 28 ประเทศซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป มีพื้นที่ 4,324,782 ตารางกิโลเมตร มีประชากรที่ประเมินกว่า 510 ล้านคน สหภาพยุโรปพัฒนาตลาดเดี่ยวภายในผ่านระบบกฎหมายทำให้เป็นมาตรฐานซึ่งใช้บังคับในรัฐสมาชิกทุกประเทศ นโยบายสหภาพยุโรปมุ่งประกันการเคลื่อนย้ายบุคคล สินค้า บริการและทุนอย่างเสรีในตลาดเดี่ยว ตรากฎหมายด้านยุติธรรมและกิจการในประเทศและธำรงนโยบายร่วมกันด้านการค้า เกษตรกรรม การประมงและการพัฒนาภูมิภาค การควบคุมหนังสือเดินทางถูกเลิกภายในพื้นที่เชงเกน มีการตั้งสหภาพการเงินในปี 2542 และมีผลบังคับเต็มที่ในปี 2545 ประกอบด้วยรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป 19 ประเทศซึ่งใช้สกุลเงินยูโร สหภาพยุโรปดำเนินการผ่านระบบผสมระหว่างสหภาพเหนือชาติและความร่วมมือระหว่างรัฐบาล องค์กรตัดสินใจหลักเจ็ดองค์กร เรียก สถาบันของสหภาพยุโรป ได้แก่ ที่ประชุมยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป รัฐสภายุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป ธนาคารกลางยุโรปและศาลผู้สอบบัญชียุโรป สหภาพยุโรปกำเนิดขึ้นจากประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (ECSC) และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2494 และ 2501 ตามลำดับโดยประเทศอินเนอร์ซิกส์ ประชาคมและองค์การสืบเนื่องมีขนาดเติบโตขึ้นโดยการเข้าร่วมของสมาชิกใหม่และมีอำนาจมากขึ้นโดยการเพิ่มขอบเขตนโยบายในการจัดการ สนธิสัญญามาสทริชท์สถาปนาสหภาพยุโรปในปี 2536 และนำเสนอความเป็นพลเมืองยุโรป การแก้ไขหลักพื้นฐานรัฐธรรมนูญล่าสุดของสหภาพยุโรปล่าสุด สนธิสัญญาลิสบอน มีผลใช้บังคับในปี 2552 สหภาพยุโรปมีประชากรคิดเป็น 7.3% ของประชากรโลก ในปี 2559 สหภาพยุโรปผลิตผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน 16.477 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 22.2% ของจีดีพีราคาตลาดโลก และ 16.9% เมื่อวัดในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ นอกจากนี้ ประเทศสหภาพยุโรป 26 จาก 28 ประเทศมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงมาก ตามข้อมูลของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ในปี 2555 สหภาพยุโรป ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ สหภาพยุโรปพัฒนาบทบาทด้านความสัมพันธ์ภายนอกและการกลาโหมผ่านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงร่วม สหภาพฯ คงคณะผู้แทนทางทูตถาวรทั่วโลกและมีผู้แทนในสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก จี7 และจี-20 เนื่องจากมีอิทธิพลทั่วโลก จึงมีการอธิบายสหภาพยุโรปเป็นอภิมหาอำนาจปัจจุบันหรืออภิมหาอำนาจในอนาคต.

ใหม่!!: ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อและสหภาพยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองลิเบีย

งครามกลางเมืองลิเบี..

ใหม่!!: ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อและสงครามกลางเมืองลิเบีย · ดูเพิ่มเติม »

หนี้สาธารณะ

หนี้สาธารณะ (Public debt) หรือ หนี้ของรัฐบาล (Government debt) คือหนี้ที่ถือโดยรัฐบาลกลาง, หน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น, องค์กรของรัฐ รวมไปถึง รัฐวิสาหกิจ ตลอดจนการค้ำประกันหนี้สินโดยรัฐบาล ซึ่งการเกิดขึ้นของหนี้สาธารณะส่วนใหญ่ของรัฐบาลทั่วโลก มาจากการดำเนินนโยบายของรัฐแบบขาดดุล หรือก็คือรายได้ของรัฐน้อยกว่ารายจ่ายของรัฐ ทำให้ต้องมีการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลในแต่ละรอบปีงบประมาณ การกู้เงินของรัฐบาล มีได้หลายช่องทาง รัฐอาจกู้จากสถาบันการเงินภายในประเทศ (เช่น ธนาคารพาณิชย์ และ ธนาคารกลาง), สถาบันการเงินต่างประเทศ, เอกชน, รัฐบาลต่างประเทศ หรือ องค์กรทางการเงินระหว่างประเทศ อาทิ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ), องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) เป็นต้น คนทั่วไปมักมองว่ารัฐบาลไม่ควรก่อหนี้สาธารณะ เพราะหนี้สาธารณะนั้นจะนำมาซึ่งความสูญเสียเสถียรภาพทางการคลังและการเงินของประเทศ ซึ่งท้ายที่สุดจะทำให้ประเทศเกิดวิกฤติการทางการเงิน ทัศนคตินี้ไม่เป็นจริงเสมอไปหากรัฐบาลมีการบริหารจัดการสภาพคล่องของรัฐให้ดี มีวัตถุประสงค์ในการใช้เงินที่เหมาะสม และรักษาสัดส่วนหนี้ในประเทศและต่างประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เนื่องจากหนี้ในประเทศมีความยืดหยุ่นในการบริหารและความเสี่ยงต่ำกว่าหนี้ต่างประเทศ เพราะรัฐบาลที่มีอำนาจรัฐสามารถเจรจากับเจ้าหนี้ ซึ่งอยู่ใต้อำนาจรัฐได้ ทั้งยังสามารถหลีกเลี่ยงความผันผวนของค่าเงิน ตลอดจนสถานการณ์ของโลก นอกจากนี้ความสามารถในการบริหารสภาพคล่องและหนี้สาธารณะ ยังเป็นปัจจัยสำคัญ ต่อการยกอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ประเทศสามารถจัดหาแหล่งทุนจากต่างประเทศได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง การผิดนัดชำระหนี้สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนี้สาธารณะต่างประเทศนั้น ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก เนื่องจากอาจนำมาซึ่งการถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจภาพรวม ทำให้สถานการณ์ที่แย่อยู่แล้วแย่ลงไปอีก ดังนั้นเมื่อประเทศเผชิญหน้ากับความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้ หรือบริหารสภาพคล่องไม่ทัน วิธีที่นิยมคือการขอกู้เงินจากแหล่งใหม่เพื่อไปใช้หนี้แก่เจ้าหนี้รายเก่า อย่างไรก็ตาม การกู้เงินจากแหล่งใหม่โดยเฉพาะจากต่างประเทศในสถานการณ์ที่ย่ำแย่ มักจะถูกฝ่ายผู้ให้กู้ตั้งเงื่อนไขที่เป็นพันธสัญญาให้รัฐบาลผู้ขอกู้ต้องปฏิบัติตาม อาทิ มาตรการรัดเข็มขัด (ลดรายจ่าย) สำหรับหนี้สาธารณะของประเทศไทยนั้น สามารถตรวจสอบได้ที่เว็บไซด์สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (http://www.pdmo.go.th/index.php) ซึ่งสถานะหนี้สาธารณะล่าสุดของไทยอยู่ที่ 173.98 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 45.34% ของจีดีพี.

ใหม่!!: ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อและหนี้สาธารณะ · ดูเพิ่มเติม »

ความเสมอภาคของอัตราดอกเบี้ย

วามเสมอภาคของอัตราดอกเบี้ย (Interest rate parity) เป็นภาวะที่ไม่สามารถแสวงหากำไรโดยปราศจากความเสี่ยง (arbitrage) เป็นจุดดุลยภาพ (equilibrium) ซึ่งไม่มีความแตกต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ย (interest rates) เงินฝาก (bank deposits) ในสองประเทศ ในความเป็นจริงภาวะดุลยภาพนี้ไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลาจึงมีโอกาสในการทำกำไรโดยปราศจากความเสี่ยงโดยการแสวงหาผลประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยโดยได้ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (covered interest arbitrage) สองสมมุติฐานหลักที่ทำให้เกิดความเสมอภาคของอัตราดอกเบี้ยได้ คือ การเคลื่อนย้ายของเงินทุน (capital mobility) และ การทดแทนกันได้โดยสมบรูณ์ (perfect substitutability) ของสินทรัพย์ (assets) ในประเทศและต่างประเทศ ที่ดุลยภาพของตลาดปริวรรตเงินตรา (foreign exchange market) ความเสมอภาคของอัตราดอกเบี้ยแสดงว่าผลตอบแทน (return) ที่คาดหวังจากสินทรัพย์ในประเทศจะเท่ากับผลตอบแทนที่คาดหวังจากสินทรัพย์ในต่างประเทศซึ่งปรับด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (exchange rate) แล้ว นักลงทุนจึงไม่สามารถทำกำไรด้วยการทำอาร์บิทราจ (arbitrage) โดยการกู้ยืมเงินในประเทศซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า จากนั้นนำไปแลกเป็นเงินตราต่างประเทศ แล้วจึงนำไปลงทุนในต่างประเทศซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าได้เนื่องจากผลกำไรหรือขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนกลับเป็นเงินสกุลท้ัองถิ่น ณ.เมื่อครบกำหนดไถ่ถอน (maturity) ความเสมอภาคของอัตราดอกเบี้ยมี 2 รูปแบบที่แตกต่างกัน 1.

ใหม่!!: ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อและความเสมอภาคของอัตราดอกเบี้ย · ดูเพิ่มเติม »

ซูโจว

ซูโจว (จีนตัวเต็ม: 蘇州; จีนตัวย่อ: 苏州) เป็นเมืองสำคัญทางตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลเจียงซู ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศจีน อยู่ติดกับเขตการปกครองพิเศษเซี่ยงไฮ้ ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ตอนปลายของแม่น้ำแยงซี ริมฝั่งทะเลสาบไท่หรือไท่หู (อังกฤษ: Lake Tai or Tai Hu; จีนตัวย่อ: 太湖) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี เป็นเขตการปกครองระดับจังหวัดที่มีประชากรอาศัยอยู่มากกว่า 4 ล้านคนในเขตเมือง และมีประชากรรวมกว่า 10 ล้านคนในพื้นที่เขตปกครองทั้งหมด เมืองซูโจวยังถือได้ว่าเป็นเมืองที่ร่ำรวยที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศจีน เป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ศูนย์กลางการค้า และการขนส่ง นอกจากนี้ซูโจวยังเป็นเมืองสำคัญด้านวัฒนธรรม การศึกษา ศิลปะ และการคมนาคม เมืองซูโจวเริ่มก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อ 514 ปี ก่อนคริสตกาล มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2,500 ปี ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก หรือเมื่อประมาณ 100 ปี ก่อนคริสตกาล เมืองซูโจวเป็นหนึ่งในสิบเมืองใหญ่ที่สุดในโลกเนื่องจากมีผู้คนอพยพเข้ามาอยู่จำนวนมาก และในศตวรรษที่ 10 สมัยราชวงศ์ซ่ง เมืองซูโจวเคยเป็นเมืองศูนย์กลางด้านพาณิชย์ที่สำคัญของประเทศ ต่อมาในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง จนถึงช่วงกบฏไท่ผิง (Taiping Rebellion) ในปี..

ใหม่!!: ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อและซูโจว · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบอตสวานา

อตสวานา (อังกฤษและBotswana) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐบอตสวานา (Republic of Botswana; Lefatshe la Botswana) เป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคแอฟริกาใต้ และเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีอาณาเขตดังนี้ ทิศใต้ติดกับประเทศแอฟริกาใต้ ทิศตะวันตกติดกับประเทศนามิเบีย ทิศเหนือติดกับประเทศแซมเบีย ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศซิมบับเว.

ใหม่!!: ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อและประเทศบอตสวานา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศรัสเซีย

รัสเซีย (Russia; Росси́я) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation; a) เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสค์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8 รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน..

ใหม่!!: ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อและประเทศรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลิเบีย

ลิเบีย (ليبيا) เป็นประเทศในแอฟริกาเหนือ มีชายฝั่งบนทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตั้งอยู่ระหว่างประเทศอียิปต์ไปทางตะวันออก ประเทศซูดานไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศชาดและประเทศไนเจอร์ไปทางใต้ และประเทศแอลจีเรียและตูนิเซียไปทางตะวันตก มีเมืองหลวงชื่อตริโปลี ประเทศลิเบียมีพื้นที่เกือบ 1,800,000 ตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ในทวีปแอฟริกา และประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลกอันดับที่ 17 เมืองหลวง กรุงตริโปลี มีชาวลิเบียอาศัยอยู่ 1.7 ล้านคน จากทั้งประเทศ 6.4 ล้านคน ตามข้อมูลเมื่อปี..

ใหม่!!: ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อและประเทศลิเบีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสิงคโปร์

ประเทศสิงคโปร์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นนครรัฐสมัยใหม่และประเทศเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่นอกปลายทิศใต้ของคาบสมุทรมลายูและอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 137 กิโลเมตร ดินแดนของประเทศประกอบด้วยเกาะหลักรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมักเรียกว่าเกาะสิงคโปร์ในภาษาอังกฤษ และเกาะอูจง (Pulau Ujong) ในภาษามลายู และเกาะที่เล็กกว่ามากอีกกว่า 60 เกาะ ประเทศสิงคโปร์แยกจากคาบสมุทรมลายูโดยช่องแคบยะฮอร์ทางทิศเหนือ และจากหมู่เกาะเรียวของประเทศอินโดนีเซียโดยช่องแคบสิงคโปร์ทางทิศใต้ ประเทศมีลักษณะแบบเมืองอย่างสูง และคงเหลือพืชพรรณดั้งเดิมเล็กน้อย ดินแดนของประเทศขยายอย่างต่อเนื่องโดยการแปรสภาพที่ดิน หมู่เกาะมีการตั้งถิ่นฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 2 และต่อมาเป็นของจักรวรรดิท้องถิ่นต่าง ๆ สิงคโปร์สมัยใหม่ก่อตั้งใน..

ใหม่!!: ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อและประเทศสิงคโปร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอุตสาหกรรมใหม่

ประเทศที่ได้รับการจำแนกให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ใน พ.ศ. 2557 (สีฟ้า) ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (newly industrialized country, NIC) เป็นประเภทการจำแนกประเทศโดยนักรัฐศาสตร์และนักเศรษฐศาสตร์ ประเทศอุตสาหกรรมใหม่เป็นประเทศที่สถานะทางเศรษฐกิจยังไม่เทียบเท่ากับประเทศพัฒนาแล้ว แต่ถือว่ามีสถานะดีกว่าประเทศใกล้เคียงในทางเศรษฐศาสตร์มหภาค และมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง โดยมีตัวบ่งชี้ที่สำคัญคือ การพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมในระยะแรกเริ่มและมีการพัฒนาต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ในบางประเทศมีการอพยพของประชากรจากชนบทหรือภาคเกษตรกรรมเข้าสู่เมืองใหญ่ ปกติแล้วประเทศอุตสาหกรรมใหม่จะมีลักษณะร่วมกันดังนี้.

ใหม่!!: ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

โตเกียว

ตเกียว หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่ามหานครโตเกียว (Tokyo Metropolis) หรือเรียกเอะโดะหรือเอโดะ เป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น มีระบบการปกครองแบบพิเศษซึ่งรวมการปกครองในรูปแบบจังหวัดและเมืองไว้ด้วยกัน ทั้งนี้ เขตอภิมหานครโตเกียวจัดว่าเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยรวมเขตปริมณฑลแล้วมีประชากรอาศัยอยู่ราว 35,237,000 คน) เฉพาะในตัวเมืองโตเกียว 23 แขวงการปกครองพิเศษ มีประชากรในเขตเมืองประมาณ 12 ล้านคน ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเมืองหนึ่ง ประชากรทั้งหมดของโตเกียวมีทั้งหมดกว่า 35 ล้านคน โตเกียวตั้งอยู่บริเวณภูมิภาคคันโตของญี่ปุ่น คำว่า "โตเกียว" หมายถึง "นครหลวงตะวันออก" ในโตเกียวยังเป็นที่ตั้งของพระราชวังหลวงของสมเด็จพระจักรพรรดิ กรุงโตเกียวเคยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 1964 และจะเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 2 ในปี 2020 ระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563.

ใหม่!!: ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

เรอูนียง

รอูนียง หรือ เรอูว์นียง (La Réunion) เป็นเกาะตั้งอยู่บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกของมาดากัสการ์ และห่างจากมอริเชียสไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 200 กิโลเมตร (130 ไมล์) ในระบบบริหาร เรอูนียงเป็นหนึ่งในจังหวัดโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศส เหมือนกับจังหวัดโพ้นทะเลอื่น ๆ เรอูนียงก็เป็นหนึ่งใน 18 แคว้นของประเทศฝรั่งเศส (ในฐานะแคว้นโพ้นทะเล) และเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐโดยมีสถานะเท่ากับแคว้นอื่น ๆ ในภาคพื้นทวีปยุโรป เรอูนียงเป็นแคว้นที่อยู่ห่างไกลที่สุดในกลุ่มสหภาพยุโรปและใช้สกุลเงินยูโร ตามความจริง ตำแหน่งที่ตั้งของเรอูนียงในเขตเวลาทางด้านตะวันออกของทวีปยุโรป ทำให้เรอูนียงเป็นแคว้นแรกในโลกที่ใช้สกุลเงินยูโร และการใช้สกุลเงินยูโรเป็นครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อเวลา 00.01 นาฬิกา เมื่อนายกเทศมนตรีเมืองแซง-เดอนี เรอเน-ปอล วิกโตเรีย ซื้อลิ้นจี่ถุงหนึ่งในตล.

ใหม่!!: ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อและเรอูนียง · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐกิจยุโรป

รษฐกิจยุโรป ประกอบด้วยผู้คนกว่า 731 ล้านคนในประเทศต่าง ๆ 48 ประเทศ เช่นเดียวกับทวีปอื่น ๆ ความร่ำรวยของรัฐในทวีปยุโรปมีความแตกต่างกันออกไป แม้ว่าคนยากจนที่สุดของทวีปนี้จะดีกว่าคนยากจนที่สุดของทวีปอื่น ๆ ในแง่ของจีดีพีและมาตรฐานการครองชีพก็ตาม การสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่สองทำให้ประเทศในยุโรปใกล้ชิดกันมากขึ้น ปิดท้ายในการก่อตัวสหภาพยุโรป (อียู) และในปี..

ใหม่!!: ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อและเศรษฐกิจยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐกิจอินเดีย

รษฐกิจของอินเดีย มีขนาดเป็นอันดับที่ 11 ของโลกเมื่อวัดด้วยค่าจีดีพี และเป็นอันดับ 4 ของโลกเมื่อเทียบด้วยความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ หลังจากที่ได้มีการปฏิรูปเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งโดยนักสังคมนิยมเป็นแรงบันดาลใจให้แก่เศรษฐกิจของประเทศหลังจากได้รับเอกราช อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศได้เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยกิจกรรมตลาดเสรีซึ่งริเริ่มในปี..

ใหม่!!: ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อและเศรษฐกิจอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐกิจของประเทศไนจีเรีย

ประเทศไนจีเรียเป็นประเทศรายได้ปานกลาง มีเศรษฐกิจแบบผสม และเป็นตลาดเกิดใหม่ โดยภาคการเงิน บริการ สื่อสาร เทคโนโลยีและบันเทิงกำลังขยายตัว เศรษฐกิจไนจีเรียมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) มากเป็นอันดับที่ 22 ของโลก (จีดีพีราคาตลาด: อันดับที่ 30 ในปี 2556) และในเดือนเมษายน 2557 เป็นเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา ไนจีเรียมีศักยภาพเป็นหนึ่งในยี่สิบเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของโลกภายในปี 2563 ภาคการผลิตที่กำลังเกิดใหม่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของทวีปแอฟริกา และผลิตสินค้าและบริการเป็นสัดส่วนมากในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก แม้ว่าปัจจุบันจะมีการปฏิบัติการต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ เดิมเศรษฐกิจไนจีเรียมีอุปสรรคจากช่วงที่มีการจัดการผิดพลาด แต่การปฏิรูปเศรษฐกิจในทศวรรษที่ผ่านมาดึงไนจีเรียกลับมาสู่การบรรลุศักยภาพทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ จีดีพีที่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ (PPP) ของไนจีเรียเพิ่มขึ้นเป็นเกือบสามเท่าจาก 170,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2543 เป็น 451,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2555 แต่การประมาณขนาดเศรษฐกิจนอกระบบ (ซึ่งไม่นับรวมในตัวเลขทางการ) ทำให้ตัวเลขแท้จริงใกล้เคียง 630,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เช่นเดียวกัน จีดีพีต่อหัวเพิ่มขึ้นจาก 1,400 ดอลล่าร์สหรัฐในปี 2543 เป็น 2,800 ดอลล่าร์สหรัฐในปี 2555 (เมื่อนับรวมเศรษฐกิจนอกระบบแล้ว มีการประมาณว่าจีดีพีต่อหัวอยู่ที่ราว 3,900 ดอลล่าร์สหรัฐ) โดยที่ประชากรเพิ่มขึ้นจาก 120 ล้านคนในปี 2543 เป็น 160 ล้านคนในปี 2553 จะมีการทบทวนตัวเลขเหล่านี้โดยอาจปรับเพิ่มขึ้นมากที่สุด 80% เมื่อมีการคำนวณเมตริกใหม่หลังการเปลี่ยนฐานเศรษฐกิจในเดือนเมษายน 2557 แม้ว่าไนจีเรียจะมีสถานภาพเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ แต่ไนจีเรียผลิตน้ำมันได้เพียง 2.7% ของอุปสงค์ทั่วโลก (ซาอุดิอาระเบีย: 12.9%, รัสเซีย: 12.7%, สหรัฐอเมริกา: 8.6%) เพื่อให้เห็นภาพรายได้จากน้ำมัน ที่อัตราการส่งออกที่ประมาณ 1.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน (300,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน) และราคาขายประมาณการ 65 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรลในปี 2554 รายได้ที่คาดไว้จากปิโตรเลียมของไนจีเรียอยู่ที่ประมาณ 52,200 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (จีดีพีปี 2555 อยู่ที่ 451,000 ดอลล่าร์สหรัฐ) ซึ่งคิดเป็นราว 11% ของตัวเลขจีดีพีอย่างเป็นทางการ (และลดเหลือ 8% หากนับรวมเศรษฐกิจนอกระบบ) ฉะนั้น แม้ว่าภาคปิโตรเลียมจะสำคัญ แต่ยังเป็นส่วนเล็กของเศรษฐกิจไนจีเรียในภาพรวม ภาคเกษตรกรรมที่เน้นการยังชีพเป็นส่วนใหญ่ตามไม่ทันการเติบโตของประชากรที่รวดเร็ว และปัจจุบันไนจีเรียนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารปริมาณมาก จากเดิมที่เคยเป็นผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ แม้จะมีการผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารกลับมาใหม่ก็ตาม ตามรายงานของซิตีกรุปซึ่งจัดพิมพ์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ไนจีเรียจะมีการเติบโตของจีดีพีโดยเฉลี่ยสูงที่สุดในโลกระหว่างปี 2553–2603.

ใหม่!!: ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อและเศรษฐกิจของประเทศไนจีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐกิจเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี ถือเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยุโรป มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกหากวัดตามราคาตลาด และเป็นอันดับ 5 ของโลกหากวัดตามอำนาจซื้อ ทั้งนี้ใน..

ใหม่!!: ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อและเศรษฐกิจเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

เส้นแบ่งความยากจน

ำนวนประชากรโลกที่อยู่ได้ด้วยเงินน้อยกว่า 1.25 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ประมาณการณ์ของสหประชาชาติ ค.ศ. 2000-2007 เส้นแบ่งความยากจน (poverty line) หรือ ขีดแบ่งความยากจน (poverty threshold) เป็นระดับรายได้ซึ่งถือว่าเพียงพอแก่การดำรงชีพในประเทศหนึ่ง ในทางปฏิบัติ เช่นเดียวกับนิยามของความยากจน เส้นแบ่งในประเทศพัฒนาแล้วมักอยู่สูงกว่าประเทศกำลังพัฒนา เส้นแบ่งความยากจนนานาชาติในอดีตอยู่ที่ 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ใน..

ใหม่!!: ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อและเส้นแบ่งความยากจน · ดูเพิ่มเติม »

เขตอภิมหานครโตเกียว

ตอภิมหานครโตเกียว หมายถึงพื้นที่ของโตเกียวและปริมณฑล ตั้งอยู่ในภาคคันโต ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเขตมหานครที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ตามด้วย เขตมหานครเคฮันชิง ตามประมาณการของสหประชาชาติในปี 2014 เขตอภิมหานครนี้มีประชากรกว่า 37,883,000 คน ทำให้พื้นที่แห่งนี้กลายเป็นและถือเป็นเขตปริมณฑลที่มีขนาดประชากรมากที่สุดของโลก ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 13,500 ตารางกิโลเมตร และมีความหนาแน่นประชากรอยู่ที่ 2,642 คน/ตารางกิโลเมตร มากกว่าความหนาแน่นประชากรของบังกลาเทศถึงเท่าตัว เขตอภิมหานครโตเกียวยังเป็นเขตปริมณฑลที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของโลก ด้วยมูลค่าจีดีพี (ตัวเงิน) ในปี 2008 ราว 53 ล้านล้านบาท (165 ล้านล้านเยน) และจากการวิจัยที่ตีพิมพ์โดย PricewaterhouseCoopers เขตอภิมหานครโตเกียว มีจีดีพี (อำนาจซื้อ) 1.479 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งทำให้เขตมหานครโตเกียวกลายเป็นเขตเมืองที่มีกำลังการบริโภคสูงสุดสุดในโลก.

ใหม่!!: ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อและเขตอภิมหานครโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

เคฮันชิง

ันชิง เป็นชื่อเรียกอาณาบริเวณเมืองนครและปริมณฑลของประเทศญี่ปุ่น ที่ถือเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจที่สำคัญของญี่ปุ่น ครอบคลุมพื้นที่สามเมืองในสามจังหวัด ได้แก่ 1.

ใหม่!!: ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อและเคฮันชิง · ดูเพิ่มเติม »

PPP

PPP เป็นคำย่อที่สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อและPPP · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Purchasing power parityความเสมอภาคของอำนาจซื้อความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »