โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พุทธบริษัท

ดัชนี พุทธบริษัท

ทธบริษัท คือหมู่ชนที่นับถือพระพุทธศาสนา มี 4 จำพวกคือ.

9 ความสัมพันธ์: พระบรมสารีริกธาตุพระไตรปิฎกภาษาบาลีพระเจ้าสุทโธทนะวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์วัดประสิทธิ์โพธิ์ชัยวัดไชยธารารามวันมาฆบูชาศาสนาพุทธแม่ชี

พระบรมสารีริกธาตุ

ระบรมสารีริกธาตุ สัณฐานเมล็ดข้าวสาร พระบรมสารีริกธาตุ (शरीर; Śarīra) เรียกโดยย่อว่าพระบรมธาตุ คือ พระอัฐิของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ได้ทรงอธิษฐานไว้ก่อนปรินิพพาน ให้คงเหลือไว้หลังจากการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธบริษัท พระบรมธาตุมีสองลักษณะคือ พระบรมธาตุที่ไม่แตกกระจาย และที่แตกกระจาย มีขนาดเล็กสุดประมาณเมล็ดพันธุ์ผักกาด ชาวพุทธเชื่อว่าพระบรมสารีริกธาตุเป็นวัตถุแทนองค์พระบรมศาสดาที่ทรงคุณค่าสูงสุดในศาสนาพุทธ จึงนิยมกระทำการบูชาองค์พระบรมสารีริกธาตุโดยประการต่าง ๆ เช่น การสร้างเจดีย์ เพื่อประดิษฐานพระธาตุไว้สักการะ โดยเชื่อว่ามีอานิสงส์ประดุจได้กระทำการบูชาแด่พระพุทธเจ้าเมื่อยังทรงพระชนม์อยู่ ทั้งนี้ คำว่า "พระบรมสารีริกธาตุ" เป็นศัพท์เฉพาะใช้เรียกเฉพาะพระธาตุของพระพุทธเจ้า หากเป็นของพระอรหันตสาวกจะเรียกว่า "พระธาตุ" เท่านั้น.

ใหม่!!: พุทธบริษัทและพระบรมสารีริกธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

พระไตรปิฎกภาษาบาลี

ปรากฏพระพุทธดำรัสในมหาปรินิพพานสูตรว่า "เมื่อทรงปรินิพานไปแล้ว พระธรรมวินัยที่ได้ทรงสั่งสอนไว้แล้ว จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย"พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. ออนไลน์. เข้าถึงได้จากhttp://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B.

ใหม่!!: พุทธบริษัทและพระไตรปิฎกภาษาบาลี · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าสุทโธทนะ

ระเจ้าสุทโธทนะ (สุทฺโธทน; ศุทฺโธทน (शुद्धोदन); Suddhodana) มักเรียกว่า พระเจ้าสิริสุทโธทน์สุทรรศน์ มีพระนามราชสกุลว่าโคตมะ เป็นพระมหากษัตริย์แคว้นสักกะ (ซึ่งมีนครหลวงคือกรุงกบิลพัสดุ์) เป็นพุทธบิดาของพระโคตมพุทธเจ้า พระองค์เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสีหหนุกับพระนางกัญจนา มีพระอนุชาและพระกนิษฐาร่วมพระชนกชนนีอีก 6 พระองค์ ได้แก่ สุกโกทนะ อมิโตทนะ โธโตทนะ ฆนิโตทนะ ปมิตา และอมิตา พระเจ้าสุทโธทนะ มีพระอัครมเหสีนามว่าพระนางสิริมหามายา เจ้าหญิงโกลิยวงศ์จากกรุงเทวทหะ และมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่งคือ “เจ้าชายสิทธัตถะ” ซึ่งต่อมาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และหลังจากพระสิทธัตถราชกุมารประสูติได้ 7 วัน พระนางสิริมหามายาก็สวรรคต พระสุทโธทนะจึงอภิเษกสมรสใหม่กับพระนางมหาปชาบดีหรือโคตมี ซึ่งเป็นพระกนิษฐาร่วมชนนีกับพระนางสิริมหามายา และมีพระโอรสคือ “เจ้าชายนันทะ” และพระธิดาคือ “เจ้าหญิงรูปนันทา” พระเจ้าสุทโธทนะเป็นกษัตริย์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรมและยึดมั่นในราชประเพณีอย่างเคร่งครัดในการปกครองบ้านเมือง ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขตลอดรัชสมัยของพระองค์ ทรงมุ่งหวังที่จะให้พระโอรสโดยเฉพาะสิทธัตถะได้รับเลือกจากสภาศากยะให้เป็นราชาสืบต่อจากตน แต่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช และพอทราบว่า เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว จึงเชิญพระศาสดากลับมาที่กรุงกบิลพัสดุ์ เมื่อพระบรมศาสดาที่เสด็จมายังกรุงกบิลพัสดุ์คราวนี้ พระเจ้าสุทโธทนะได้สดับรับฟังพระธรรมเทศนา ทรงเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา บรรลุพระโสดาบันเป็นอุบาสกพุทธบริษัท ในพรรษาที่ 5 ของพระโคตมพุทธเจ้า พระเจ้าสุทโธทนะประชวรหนัก พระบรมศาสดาเสด็จจากกูฎาคาร ป่ามหาวัน เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี มายังเมืองกบิลพัสดุ์ แสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดา 7 วัน ในวันสุดท้าย พระเจ้าสุทโธทนะได้บรรลุพระอรหัตผลและนิพพาน ภาพ:BabyBuddha.JPG|ภาพวาดพุทธประวัติ: พระเจ้าสุทโธทนะทรงอุ้มเจ้าชายสิทธัตถะ (พระราชโอรส) ให้กาฬเทวินดาบสทำนายมหาบุรุษลักษณะของพระราชกุมาร.

ใหม่!!: พุทธบริษัทและพระเจ้าสุทโธทนะ · ดูเพิ่มเติม »

วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์

วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ (ตัวเต็ม: 普頌皇恩寺, ตัวย่อ: 普頌皇恩寺, พินอิน: Pǔ sòng huáng ēn sì ผู่ซ่งหวางเอินสื้อ, ฮกเกี้ยน: โพ้ซงอ๋องอุนซี่, สำเนียงแต้จิ๋ว: โพ้วซึงอ๊วงอึ๋นยี่) หรือ วัดเล่งเน่ยยี่ 2 เป็นวัดมหายานในความอุปถัมภ์ของคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่เลขที่ 75 หมู่ที่ 4 ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี บนพื้นที่ 12 ไร่เศษ จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องในวโรกาสงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539.

ใหม่!!: พุทธบริษัทและวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

วัดประสิทธิ์โพธิ์ชัย

วัดประสิทธิ์โพธิ์ชัย สร้างเมื่อ พ.ศ. 2433 เป็นวัดที่เก่าแก่มาก เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดบ้านคำบง  มี พระใบ สิริจนฺโท เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก และมีหลวงพ่อพุทธเมตตาประดิษฐานในพระอุโบสถ ซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์ชาวบ้านมีความเลื่อมใสและศรัทธา และยังมีวัตถุโบราณต่างๆ ของเก่าแก่คนสมัยก่อนเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา และต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2460 จึงได้ตราตั้งวัดขึ้นใหม่ชื่อว่า วัดประสิทธิ์โพธิ์ชัย นับตั้งแต่นั้นมา ปี พ.ศ. 2538 ก็ได้แต่งตั้ง พระครูภัทรโพธิคุณ (เที่ยง ภทฺทวโร) รองเจ้าคณะอำเภอห้วยผึ้ง เป็นเจ้าอาวาส รูปที่ 19   ปัจจุบันท่านเป็นคณาจารย์พระสายกรรมฐาน จบหลักสูตรอภิธรรมบัณฑิต จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ชาวบ้านให้ความศรัทธาและนับถือ   ปี พ.ศ. 2545 ท่านก็นำชาวบ้านคำบงบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถเก่าเป็นพระอุโบสถหลังใหม่มีพระสงฆ์จำพรรษาจำนวน 15 รูป ปี พ.ศ. 2553 ท่านก็ได้ติดต่อกับคณะชมรมรักพระบรมพระสารีริกธาตุแห่งประเทศไทย อัญเชิญและรับพระบรมสารีริกธาตุมาจากวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร อัญเชิญมาจากประเทศอินเดีย เนปาล ศรีลังกา มาประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดประสิทธิ์โพธิ์ชัย เพื่อให้พุทธบริษัท 4 ได้สักการบูชาเป็นพุทธานุสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสังฆเจ้า เป็นบุญกุศลและศิริมงคลให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าในบวรพระพุทธศาสนาต่อไป หมวดหมู่:วัดในจังหวัดกาฬสินธุ์.

ใหม่!!: พุทธบริษัทและวัดประสิทธิ์โพธิ์ชัย · ดูเพิ่มเติม »

วัดไชยธาราราม

ระธาตุเจดีย์พระจอมไทยบารมีประกาศ พระอุโบสถวัดไชยธาราราม จังหวัดภูเก็ต พระธาตุเจดีย์ พระจอมไทยบารมีประกาศ วัดไชยธาราราม จังหวัดภูเก็ต วัดไชยธาราราม เดิมชื่อ วัดฉลอง ตั้งอยู่ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ห่างจากอำเภอเมืองภูเก็ต ระยะทาง 8 กิโลเมตร ทางหลวงหมายเลข 4021 ผ่านสนามกีฬาสุระกุล เลี้ยวซ้ายไปห้าแยกฉลอง สมัยรัชกาลที่ 5 พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี (แช่ม) เป็นเจ้าอาวาส มีชื่อเสียงการปรุงสมุนไพร และรักษาโรค เข้าเฝือกผู้ป่วยกระดูกหัก ปัจจุบันพระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนีได้มรณภาพแล้ว เจ้าอาวาสวัดสัมโพธิหาร (วัดสัมโพธิหาร เดิมชื่อ วัดป่าอรัญนิรมล ประเทศศรีลังกา) ได้กล่าวว่า พระบรมสารีริกธาตุที่ได้มอบให้วัดไชยธาราราม เคยอยู่ในเจดีย์ของเมืองอนุราชปุระ เมืองหลวงเดิมของศรีลังกา มีอายุกว่า 2,200 ปี มาแล้ว วโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ 72 พรรษา พระเถระชั้นผู้ใหญ่ของศรีลังกาคือ พระปิยะทัสสะ นายะกะเถโร และพระกุศลาธรรมา แห่งวัดสัมโพธิวิหาร ได้มีหนังสือกราบทูลสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก เสด็จเยือนศรีลังกา เพื่อรับการถวายพระบรมสารีริกธาตุ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2542สมเด็จพระสังฆราชมีพระบัญชาให้ พลเอก มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดไปรับพระบรมสารีริกธาตุ ณ วัดสัมโพธิวิหาร ประเทศศรีลังกา และอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุกลับมาถึงประเทศไทย พ.ศ. 2543 สมเด็จพระสังฆราชได้ประทาน พระบรมสารีริกธาตุอัญเชิญมาจากศรีลังกา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต เพื่ออัญเชิญมาประดิษฐาน ณ วัดไชยธาราราม (วัดฉลอง) อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต เพื่อเป็นสิริมงคลแก่พุทธบริษัทในจังหวัดภูเก็ตและบริเวณฝั่งอันดามัน.

ใหม่!!: พุทธบริษัทและวัดไชยธาราราม · ดูเพิ่มเติม »

วันมาฆบูชา

ปุรณมี วันมาฆบูชา (มาฆปูชา; Magha Puja) เป็นวันสำคัญของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทยราชกิจจานุเบกษา,, เล่ม ๓๐, ๓๐ มีนาคม..

ใหม่!!: พุทธบริษัทและวันมาฆบูชา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: พุทธบริษัทและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

แม่ชี

แม่ชีในกรุงเทพ นางชี หรือ แม่ชี เป็นนักพรตหญิงในศาสนาพุทธฝ่ายเถรวาท นุ่งขาวห่มขาว โกนศีรษะ ถือศีลแปด อาศัยในวัดเช่นเดียวกับภิกษุ แต่มิได้อุปสมบท บางแห่งจึงถือว่าแม่ชีไม่ใช่นักบวช แต่เป็นอุบาสิกาในพุทธบริษัทสี่เท่านั้น อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีการก่อตั้งสำนักชีโดยเฉพาะเพื่อจะได้ไม่ปะปนกับพระภิกษุซึ่งเป็นเพศชาย บางแห่งมีบทบาทจนเป็นที่ยอมรับในสังคม และบางสำนักนางชีสามารถออกบิณฑบาตรได้เช่นเดียวกับพระสงฆ์ นอกจากนี้ยังมีอุบาสิกาที่ถือศีลแปด เช่นกันแต่มิได้ปลงผม เรียกว่า ชีพราหมณ.

ใหม่!!: พุทธบริษัทและแม่ชี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พุทธบริษัท 4พุทธบริษัท ๔

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »