โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน

ดัชนี พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน

ระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน เป็นพระที่นั่งองค์ประธาน ของหมู่พระมหามณเฑียร มีความสำคัญเป็นพระราชพิธีมณฑล "พระราชพิธีขึ้นเฉลิมพระราชมณเฑียร" ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับที่พระที่นั่งองค์นี้เป็นการถาวร รัชกาลต่อๆมาประทับเป็นเวลาสั้นๆ ตามกำหนดพระราชพิธี ลักษณะพระที่นั่ง เป็นสถาปัตยกรรมไทย 3 หลังแฝด ชั้นเดียว ก่ออิฐปูน ยกฐานสูง เรียงจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก องค์กลางใหญ่ องค์ขนาบสองข้างมีขนาดเท่ากัน แต่ละองค์มีพระทวารเชื่อม หลังคามุงกระเบื้องเคลือบสี ตกแต่ง ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ประดับกระจกสีทอง หน้าบันจำหลักไม้เป็นรูปสมเด็จพระอมรินทราราชในบุษบก พระทวารและพระบัญชรทำซุ้มบันแถลง เป็นลายนาคสามเศียรสองชั้น ประสมซุ้ม รูปไข่ลายดอกเบญจมาศ ระเบียงรอบมีชานตั้งเสานางเรียงรองรับชายคา พระที่นั่งองค์ตะวันออก เป็นที่พระบรรทมของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ภายในกั้นด้วยพระฉากดาดทองบุตาด ด้านเหนือประดิษฐานพระแท่นบรรจถรณ์ ด้านใต้เป็นห้องทรงเครื่อง ตั้งพระแท่นราชอาสน์ทอดเครื่องสรงพระพักตร์ เครื่องพระสำอางค์ ทั้งสองส่วนกางกั้นด้วยพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร พระที่นั่งองค์นี้เป็นที่สวรรคตของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระแท่นราชบรรจถรณ์ พระที่นั่งองค์กลาง เป็นโถงมีพระทวาร และอัฒจันทร์ลงไปมุขกระสันด้านเหนือ เป็นท้องพระโรงหน้า เชื่อมต่อกับพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ทางลงสู่ท้องพระโรงหน้ามีเกยลา ซึ่งรัชกาลที่ 4 สร้างขึ้นสำหรับเสด็จออกแขกเมืองฝ่ายใน ด้านใต้เป็นอัฒจันทร์จากพระทวารไปท้องพระโรงใน ลักษณะเป็นห้องโถงยาว ขนาบด้วยพระปรัศว์ซ้ายขวา ที่รัชกาลที่ 6 ทรงยกขึ้นเป็นพระที่นั่งเทพสถานพิลาส พระที่นั่งเทพอาสน์พิไล พระที่นั่งองค์ตะวันตก เป็นโถง สำหรับทรงพระบำเพ็ญพระราชกุศลส่วนพระองค์ เมื่อปลายรัชกาลที่ 3 พระองค์ประชวร โปรดเกล้าฯให้ตั้งพระแท่นบรรทมสำหรับประทับ และเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งองค์นี้ ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์ และพระแสงนานาชน.

17 ความสัมพันธ์: พระบรมมหาราชวังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหามณเฑียรพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชวังพญาไทพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรสุเทพพระอภิเนาว์นิเวศน์พระที่นั่งในประเทศไทยพระที่นั่งไพศาลทักษิณพระตำหนักแดงสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีสวนศิวาลัยส้วมในประเทศไทยหมู่พระวิมาน (พระราชวังบวรสถานมงคล)ฉัตรเลียดก๊กเขตพระราชฐานชั้นใน (พระบรมมหาราชวัง)

พระบรมมหาราชวัง

ระบรมมหาราชวัง หรือพระราชวังพระนคร เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน พระบรมมหาราชวังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากเป็นอันดับที่ 16 ของโลก โดยมีผู้เข้าเยี่ยมชมในปี พ.ศ. 2549 เป็นจำนวนถึง 8,995,000 คน.

ใหม่!!: พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานและพระบรมมหาราชวัง · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระมหามณเฑียร

ระมหามณเฑียร เป็นหมู่พระที่นั่งภายในพระบรมมหาราชวังโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2325 เพื่อทรงใช้เป็นที่ประทับและเป็นพระราชพิธีมณฑลในพระราชพิธีปราบดาภิเษก เดิมเป็นพระที่นั่งขนาดใหญ่เชื่อมต่อกัน 3 องค์ ชื่อว่า "พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน" ต่อมา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามพระที่นั่งใหม่สำหรับแต่ละองค์โดยเป็นนามที่คล้องจองกัน ได่แก่ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน ปัจจุบัน พระมหามณเฑียรได้ใช้เป็นพระราชพิธีมณฑลสำหรับประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและพระราชพิธีสำคัญอื่น ๆ ในพระมหากษัตริย์ทุกรัชกาลในราชวงศ์จักรีสืบเนื่องกันม.

ใหม่!!: พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานและพระมหามณเฑียร · ดูเพิ่มเติม »

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเครื่องบรมราชาภิเษก พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ระหว่างวันที่ 4 - 8 พฤษภาคม พุทธศักราช 2493 ปรากฏบันทึกรายละเอียดไว้ ดังนี้.

ใหม่!!: พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานและพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังพญาไท

ระราชวังพญาไท หรือ วังพญาไท ตั้งอยู่ที่ริมคลองสามเสน ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น พระราชทานนามให้ว่า "พระตำหนักพญาไท" หรือ "วังพญาไท" ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นพระราชวังพญาไทในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.

ใหม่!!: พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานและพระราชวังพญาไท · ดูเพิ่มเติม »

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรสุเทพ

ระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรสุเทพ (พระนามเดิม: หม่อมเจ้าจันทร์ ดารากร; ประสูติ: 31 พฤษภาคม..

ใหม่!!: พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานและพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรสุเทพ · ดูเพิ่มเติม »

พระอภิเนาว์นิเวศน์

ระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉายภาพ ณ พระอภิเนาว์นิเวศน์ พระอภิเนาว์นิเวศน์ เป็นพระราชมนเทียร (เรือนหลวง) ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นภายในพระบรมมหาราชวัง โดยทรงเลือกบริเวณที่เรียกว่า "สวนขวา" เป็นที่จัดสร้างพระราชมนเทียรขึ้นใหม่ สร้างในรูปแบบสถาปัตยกรรมของชาติตะวันตก ทั้งนี้เพื่อจะใช้เป็นที่ต้อนรับแขกบ้านแขกเมื่อและเป็นที่แสดงเครื่องบรรณาการที่ประเทศแถบยุโรปส่งมาถวาย และเป็นพระเกียรติยศของพระองค์อีกประการหนึ่ง พระราชมนเทียรแห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากใช้เป็นที่ประทับ ออกว่าราชการ และต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองของพระองค์ ประกอบด้วย พระที่นั่ง 8 องค์ และหอ 3 หอ รวมทั้งหมด 11 หลัง แต่การตั้งนามพระที่นั่งและอาคารต่าง ๆ นั้น ได้รวมเอานามพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาทและพระที่นั่งไชยชุมพลเข้ามาเป็นหมู่พระที่นั่งเดียวกันด้วย เมื่อสิ้นรัชกาลแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มิได้ประทับ ณ หมู่พระอภิเนาว์นิเวศน์ ประกอบกับพระราชมนเทียรแห่งนี้สร้างด้วยเครื่องไม้ประกอบอิฐ ปูนเป็นหลัก เมื่อเวลาผ่านไปจึงผุกร่อนจนต้องรื้อลงเกือบทั้งหมดและปรับพื้นที่เป็นสวนดังเช่นปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม นามของพระที่นั่งภายในพระอภิเนาว์นิเวศน์บางองค์ก็นำไปใช้เป็นนามพระที่นั่งองค์ต่าง ๆ ในภายหลัง เช่น พระที่นั่งอนันตสมาคม ภายในพระราชวังดุสิต, พระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง เป็นต้น.

ใหม่!!: พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานและพระอภิเนาว์นิเวศน์ · ดูเพิ่มเติม »

พระที่นั่งในประเทศไทย

ระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่ง มีหลายความหมาย ความหมายแรกนั้น หมายถึง เรือนที่ประทับหรือที่สำหรับทรงงานสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน ทั้งประเภทเรือนยอด (หรือที่เรียกว่าปราสาท) และเรือนหลังคาจั่ว พระที่นั่งเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ รวมทั้งสถานที่ภายในองค์ปราสาทที่ใช้สำหรับประกอบกิจต่าง ๆ หรืออาจหมายถึง พระราชอาสน์หรือที่นั่งที่มีชื่อเฉพาะในแต่ละองค์ โดยถ้าใช้คำว่าพระที่นั่งประกอบกับคำอื่น ๆ ก็มีความหมายว่าเป็นพาหนะที่จัดเฉพาะพระเจ้าแผ่นดินหรือพระราชวงศ์ชั้นสูง เช่น รถพระที่นั่ง เรือพระที่นั่ง โดยพระที่นั่งที่สำคัญในประเทศไทย ได้แก.

ใหม่!!: พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานและพระที่นั่งในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

พระที่นั่งไพศาลทักษิณ

ระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 1 เป็นส่วนหนึ่งของพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน รัชกาลที่ 1 ประทับทรงพระสำราญ เสวยพระกระยาหาร และประกอบพระราชานุกิจ บางโอกาสโปรดเกล้าฯให้ พระบรมวงศ์ ข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท และบำเพ็ญพระราชกุศลภายใน แม้เมื่อปลายรัชกาลทรงพระประชวรได้ประทับบรรทมที่พระที่นั่งองค์นี้ ตลอดทรงว่าราชการ โดยให้ข้าราชการเข้าเฝ้าอยู่ที่ชานชาลา ข้างพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน และเสด็จสวรรคตที่พระที่นั่งองค์นี้ รัชกาลที่ 2 ทรงตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ณ พระที่นั่งองค์นี้ อันเป็นพระราชพิธีสืบมาจวบจนปัจจุบันว่า พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ ณ พระที่นั่งองค์นี้ และยังทรงตั้งพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์และพระที่นั่งภัทรบิฐ อันเป็นพระที่นั่งสำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณี รัชกาลที่ 4 ทรงสร้างเทวรูปเพื่อปกปักษ์รักษา กรุงรัตนโกสินทร์ พระราชทานนามว่า "พระสยามเทวาธิราช" ประดิษฐานไว้ในพระวิมานซุ้มเรือนแก้วกลางผนังด้านทิศเหนือ เป็นปูชนียวัตถสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ลักษณะเป็นอาคารทรงไทยก่ออิฐถือปูน ผนังภายนอกฉาบปูนเรียบทาสีขาว ตั้งอยู่ระหว่างท้องพระโรงหน้าพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน และพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน ลักษณะเป็นพระที่นั่งโถงยาว 11 ห้อง (ช่วงเสา) ทอดยาวจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ยกพื้นสูงสองเมตร ด้านที่ติดต่อกับท้องพระโรงหน้าเป็นคูหาเปิดโล่ง มีอัฒจันทร์ทางขึ้นลงตอนกลาง และที่เฉลียงชั้นลดของสองปีก ด้านที่เชื่อมกับพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน มีผนังกั้น มีประตูตรงกลางเรียกว่า "พระทวารเทวราชมเหศวร" เป็นทางเฉพาะของพระมหากษัตริย์สำหรับเสด็จ สองข้างมีพระทวารเทวราชมเหศวร มีพระบัญชร 10 ช่อง เฉพาะด้านที่เปิดออกสู่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน และลานภายนอกประดับเป็นซุ้มบันแถลง นอกนั้นเป็นเรือนแก้วลายดอกเบญจมาศ หลังคามุงกระเบื้องดินเผาเคลือบสี ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ นาคสะดุ้ง ปิดทองประดับกระจกสีทอง หน้าบันจำหลักไม้ รูปสมเด็จพระอมรินทราธิราชประทับในวิมานปราสาทสามยอด พื้นกระจกสีน้ำเงินประกอบลายก้านขดหัวนาค ผนังด้านทิศตะวันออก มีพระทวารเสด็จฯ ออกไปยังหอพระสุราลัยพิมาน ช่วงบนเขียนภาพเทพเจ้าสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ 32 องค์ ช่วงล่างระหว่างพระทวารเขียนภาพพระนารายณ์ปางต่าง ๆ ผนังด้านทิศตะวันตก มีพระทวารเสด็จออกไปยังหอพระธาตุมณเฑียร ช่วงบนเขียนภาพเทพชุมนุม เหล่าเทวดาบนวิมาน ช่วงล่างเขียนภาพพระนารายณ์ปางต่าง ๆ หน้าพระทวารประดิษฐานพระที่นั่งภัทรบิฐ พระราชอาสน์ทอดอยู่ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร กลางผนังด้านทิศเหนือ เป็นพระวิมานสำหรับ พระสยามเทวาธิราช ประดิษฐานอยู่ภายใต้ซุ้มเรือนแก้ว เบื้องหน้าตั้งโต๊ะหมู่บูชาแบบจีนพร้อมเครื่องสักการบู.

ใหม่!!: พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานและพระที่นั่งไพศาลทักษิณ · ดูเพิ่มเติม »

พระตำหนักแดง

ระตำหนักแดงภายในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร พระตำหนักแดง สร้างขึ้นภายในพระบรมมหาราชวังในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เพื่อพระราชทานเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระพี่นางพระองค์น้อยในพระองค์ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงรื้อพระตำหนักฝ่ายในภายในเขตพระราชฐานชั้นในเพื่อเปลี่ยนเป็นตำหนักตึกทั้งหมด ดังนั้น จึงโปรดให้รื้อตำหนักแดงไปปลูกที่พระราชวังเดิม เพื่อเป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ โดยตำหนักแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกนั้นเป็นที่ประทับสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา ปัจจุบัน ตำหนักส่วนนี้ได้ถูกรื้อไปปลูกเป็นกุฏิเจ้าอาวาสวัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี ส่วนที่สองเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบัน ตั้งอยู่ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร.

ใหม่!!: พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานและพระตำหนักแดง · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

ลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) เป็นพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ประสูติ ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง ก่อนที่สมเด็จพระบรมชนกนาถจะเสด็จสวรรคตในวันต่อมา พระนาม เพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้ในพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ โดยมีคำนำหน้าพระนามเป็นสมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ (ลูกสาวของพี่ชาย) ในรัชกาลที่ 7 และเป็นพระภคินี (ลูกพี่ลูกน้อง) ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และโดยพระชนมายุพระองค์จึงเคยเป็นพระกุลเชษฐ์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ หลังจากเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นการถาวร พระองค์ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจเพื่อแบ่งเบาพระราชภาระในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชอยู่เป็นนิจ จนกระทั่งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ 9 ทรงเจริญพระวัยและทรงสามารถแบ่งเบาพระราชกรณียกิจได้ กอปรกับพระองค์มีพระชนมายุสูงขึ้นจึงเสด็จออกทรงเยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดารน้อยลง นอกจากนี้ พระองค์ทรงรับสถาบันและองค์กรต่างๆ ทั้งในส่วนที่สืบสานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และโดยส่วนพระองค์เองไว้ในพระอุปถัมภ์มากกว่า 30 แห่ง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 16.37 นาฬิกา ณ ตึก 84 ปี โรงพยาบาลศิริราช สิริพระชนมายุ 85 พรรษา 8 เดือน 3 วัน.

ใหม่!!: พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานและสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี · ดูเพิ่มเติม »

สวนศิวาลัย

หมู่พระที่นั่งบริเวณสวนศิวาลัย (พระบรมหาราชวังจำลอง) สวนศิวาลัย หรือ สวนขวา เป็นสวนภายในพระบรมมหาราชวัง ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ในอดีตเคยเป็นที่ตั้งของพระอภิเนาว์นิเวศน์อันเป็นพระราชมณเฑียรที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชมณเฑียรดังกล่าวได้ชำรุดทรุดโทรมจำต้องรื้อถอนไปเกือบหมดสิ้น คงแก่อาคารสำคัญ เช่น พระพุทธรัตนสถาน พระที่นั่งมหิศรปราสาท และได้สร้างพระที่นั่งเพิ่มอีก 2 องค์ คือ พระที่นั่งบรมพิมาน และพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท และปรับเป็นสวน ปัจจุบัน เป็นเขตพระราชฐานส่วนพระองค์ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี โดยมีพระที่นั่งบรมพิมานเป็นที่ประทับเป็นการถาวรหลังจากทรงนิวัติประเทศไทย และอาคารรับรองด้านหลัง A และ B ใช้เป็นที่ทรงงานในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เพื่อเสด็จออกรับบุคคลที่ขอเข้าเฝ้า และใช้เป็นกองงานในพระองค์ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี.

ใหม่!!: พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานและสวนศิวาลัย · ดูเพิ่มเติม »

ส้วมในประเทศไทย

้วมชักโครกของส้วมสาธารณะ ในประเทศไทย ส้วมในประเทศไทย มีมาแต่โบราณ โดยในสมัยก่อน ผู้ที่ใช้ส้วมแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มของกษัตริย์ เจ้านาย ขุนนางและผู้มีฐานะดี กลุ่มของพระที่อยู่ภายใต้พระธรรมวินัย กลุ่มของชาวบ้านที่เป็นคนส่วนใหญ่ในสังคม โดยกลุ่มชาวบ้านมักจะไปถ่ายทุกข์ตามที่เหมาะ ๆ เนื่องจากยังไม่มีส้วมใช้ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2440 รัฐได้ออก มีผลบังคับให้คนไทยต้องขับถ่ายในส้วม กระทั่งช่วงปี พ.ศ. 2460-2471 ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือทางการแพทย์และสาธารณสุขจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลเอกชนของสหรัฐอเมริกา โดยส่งเสริมให้มีการสร้างส้วมในจังหวัดต่าง ๆ และยังเกิดการประดิษฐ์คิดค้นส้วมรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับท้องถิ่นของไทย เช่น "ส้วมหลุมบุญสะอาด" ที่มีกลไกป้องกันปัญหาการลืมปิดฝาหลุมถ่ายและส้วมคอห่านที่ใช้ร่วมกับระบบบ่อเกรอะบ่อซึม ต่อมาเริ่มมีผู้ใช้ส้วมชักโครกมากขึ้นในช่วงที่มีการก่อสร้างบ้านแบบสมัยใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง กระทั่งต้นพุทธทศวรรษ 2500 โถส้วมชนิดนี้ก็ได้รับความนิยม มีผู้ใช้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนในปัจจุบัน จากอดีตที่ผ่านมาส้วมสาธารณะในประเทศไทยเป็นปัญหาพื้นฐานที่สำคัญทางด้านสุขาภิบาล สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย และทางกรมอนามัยเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินการในเรื่องนี้ มีการสำรวจและประเมินผลมาตรฐานส้วมสาธารณะ พบว่าส้วมสาธารณะในประเทศไทยผ่านเกณฑ์มาตรฐานไม่มาก ในปี พ.ศ. 2549 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ งานประชุมส้วมโลก 2006 หรือ World Toilet Expo & Forum 2006 ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญในการพัฒนาส้วมสาธารณะ และมีโครงการหลายโครงการเกี่ยวกับส้วมสาธารณะอีกหลายโครงการ ประเทศไทยได้ใช้มาตรการหลายอย่าง รวมทั้งมาตรการทางกฎหมายซึ่งมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับส้วม ปรากฏอยู่ในกฎหมายหลายฉบับที่เริ่มมีการออกพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ. 116 ซึ่งถือเป็นกฎหมายฉบับแรกเกี่ยวกับการสุขาภิบาลของคนกรุงเทพฯ และต่อมาได้ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 39 (พ.ศ. 2537) ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 รวมถึงกฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพและคนชรา พ.ศ. 2548.

ใหม่!!: พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานและส้วมในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

หมู่พระวิมาน (พระราชวังบวรสถานมงคล)

หมู่พระวิมาน เป็นหมู่พระที่นั่งภายในพระราชวังบวรสถานมงคล พระราชวังบวรสถานมงคล เรียกว่า หมู่พระวิมาน, พระบรมมหาราชวัง เรียกว่า หมู่พระมหามณเฑียร สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระองค์แรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นสมเด็จพระราชอนุชาร่วมพระชนกพระชนนีกับ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หมู่พระวิมานเป็นหมู่พระที่นั่งหลายองค์ประกอบกัน และมีการซ่อมแซมและปรับปรุงครั้งใหญ่ในสมัยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ปัจจุบัน เป็นอาคารหลักของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ใช้เป็นสถานที่ที่จัดแสดงนิทรรศการ วัตถุสิ่งของต่าง ๆ ปัจจุบัน หมู่พระวิมาน ได้รับการบูรณะใหม่ทั้งหมด คงเหลือไว้แต่เพียงพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย ซึ่งเป็นสถานที่จัดนิทรรศการ.

ใหม่!!: พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานและหมู่พระวิมาน (พระราชวังบวรสถานมงคล) · ดูเพิ่มเติม »

ฉัตร

ระนพปฎลมหาเศวตฉัตร ประดิษฐานเหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง ฉัตร เป็นเครื่องสูงสำหรับแขวน ปัก ตั้ง หรือเชิญเข้ากระบวนแห่เพื่อเป็นเกียรติยศ ฉัตรมีรูปร่างคล้ายร่มที่ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ฉัตรถือเป็นของสูง เปรียบเสมือนสวรรค์ซึ่งเป็นศูนย์รวมจักรวาล.

ใหม่!!: พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานและฉัตร · ดูเพิ่มเติม »

เลียดก๊ก

ลียดก๊ก ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ เลี่ยกั๋ว ตามสำเนียงกลาง แปลว่า กลุ่มเมือง หรือชื่อเต็มตามสำเนียงกลางว่า ตงโจวเลี่ยกั๋วจื้อ แปลว่า เรื่องกลุ่มเมืองโจวตะวันออก เป็นนิยายจีนซึ่ง เฝิง เมิ่งหลง (馮夢龍) ประพันธ์ขึ้นในราชวงศ์หมิง มีเนื้อหาเริ่มด้วยราชวงศ์โจวตะวันตกถึงแก่ความพินาศ ราชวงศ์โจวตะวันออกขึ้นแทนที่ แต่บ้านเมืองระส่ำระสายจนแตกแยกออกเป็นแว่นแคว้นน้อยใหญ่ต่าง ๆ ในยุควสันตสารทและยุครณรัฐ ไปจบที่จิ๋นซีฮ่องเต้รวมแผ่นดินเป็นผลสำเร็.

ใหม่!!: พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานและเลียดก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

เขตพระราชฐานชั้นใน (พระบรมมหาราชวัง)

ผังบริเวณ ในเขตพระราชฐานชั้นใน เขตพระราชฐานชั้นใน เป็นพื้นที่ที่มีพระตำหนักของเจ้าจอมมารดา พระมเหสี พระชายาต่างๆ เขตนี้ผู้ชายห้ามเข้า หากจะเข้าต้องมีโขลนคอยดูแลอยู่ตลอด ส่วนแถวเต๊ง เป็นตึกแถวยาวที่เคยเป็นกำแพงวังสมัยรัชกาลที่ 1 โดยมีประตูช่องกุดเป็นช่องทางเข้าออกของชาววัง ซึ่งอยู่ใกล้ประตูศรีสุดาวงศ์ ซึ่งเป็นประตูชั้นในที่จะต่อกับแถวเต๊ง บริเวณนั้นมีสวนขวาอันเป็นพระราชอุทยานซึ่งรัชกาลที่ 4 ทรงสร้างเป็นพระอภิเนาว์นิเวศน์ และมีสวนเต่า พวกเจ้านายจะทรงพระสำราญที่นี่ และเวลาไว้พระศพเจ้านายชั้นสูงก็จะไว้ที่หอธรรมสังเวชซึ่งอยู่ทางตะวันตกของพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท.

ใหม่!!: พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานและเขตพระราชฐานชั้นใน (พระบรมมหาราชวัง) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พระที่นั่งเทพอาสนพิไลย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »