โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พ.ศ. 1545

ดัชนี พ.ศ. 1545

ทธศักราช 1545 ใกล้เคียงกั.

13 ความสัมพันธ์: ยุคอาณาจักรเหนือใต้ของเกาหลีรายพระนามพระมหากษัตริย์กัมพูชารายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษอาสนวิหารดีฌงอาณาจักรพัลแฮจักรพรรดิออทโทที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรพรรดิไฮน์ริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ต้นสมัยกลางโจรกรรมทางวรรณกรรมเอ็มมาแห่งนอร์มังดี สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ21 มิถุนายน23 มกราคม24 มกราคม

ยุคอาณาจักรเหนือใต้ของเกาหลี

มัยอาณาจักรเหนือใต้ เมื่อสิ้นสุดสมัย 3 อาณาจักรนั้น อาณาจักรชิลลาถือว่าเป็นผู้มีชัยเหนืออาณาจักรอื่นบนคาบสมุทรเกาหลีทั้งหมด ในทางประวัติศาสตร์ถือว่ายุคสมัยนี้ อาณาจักรชิลลาเป็นผู้รวบรวมแผ่นดินเกาหลีให้เป็นผืนเดียวกันได้เป็นครั้งแรกนับแต่ยุคสมัยดึกดำบรรพ์เป็นต้นมา จึงเรียกว่า ยุคชิลลารวมอาณาจักร ช่วงยุคสมัยนี้นับจากปีที่อาณาจักรโคกูรยอและอาณาจักรแพ็กเจล่มสลายลงไปใน พ.ศ. 1211 และสืบเนื่องไปจนถึง พ.ศ. 1478 แต่ที่จริงแล้ว อาณาจักรชิลลาไม่ได้ครอบครองดินแดนทั้งหมดไว้ ที่ครอบคลุมได้ทั้งหมดนั้นเพียงดินแดนทางตอนใต้เท่านั้น แม้แต่ดินแดนของโคกูรยอเดิม ชิลลาก็ได้มาเพียงบางส่วนเท่านั้น ไม่เพียงที่ต้องยกคาบสมุทรเหลียวตงให้กับจีน แต่ดินแดนทางเหนือจรดไปถึงแมนจูเรียตกอยู่ในการควบคุมของอาณาจักรเกิดใหม่อีกอาณาจักรหนึ่ง ชื่อว่า อาณาจักรพัลแฮ หรือเรียกว่า ป๋อไห่ ในชื่อเรียกตามภาษาจีน ในยุคสมัยนี้ นักประวัติศาสตร์บางท่านจึงจัดว่าเป็นยุคอาณาจักรเหนือใต้ของเกาหลี.

ใหม่!!: พ.ศ. 1545และยุคอาณาจักรเหนือใต้ของเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์กัมพูชา

250px หน้านี้เป็นรายพระนามพระมหากษัตริย์ในพระราชอาณาจักรกัมพูชา ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: พ.ศ. 1545และรายพระนามพระมหากษัตริย์กัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษ

ต่อไปนี้คือรายพระปรมาภิไธย พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรอังกฤษ ซึ่งในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ และประเทศในเครือจักรภพ สำหรับรายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะซึ่งประกอบกันเป็นสหราชอาณาจักรปัจจุบันดู รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะอังกฤษและรายพระนามพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: พ.ศ. 1545และรายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารดีฌง

อาสนวิหารดีฌง (Cathédrale de Dijon) หรือ อาสนวิหารนักบุญเบนีญแห่งดีฌง (Cathédrale Saint-Bénigne de Dijon) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกประจำอัครมุขมณฑลดีฌง ตั้งอยู่ที่เมืองดีฌง จังหวัดโกต-ดอร์ ในแคว้นบูร์กอญ-ฟร็องช์-กงเต ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญเบนีญแห่งดีฌง โดยในสมัยแรกราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 มีสถานะเป็นเพียงโบสถ์แห่งนักบุญเบนีญ และต่อมาในปี ค.ศ. 1731 ในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศสได้เป็นที่ตั้งของมุขมณฑลดีฌง และภายหลังได้ปรับยกสถานะเป็นอัครมุขมณฑลดีฌงในปี ค.ศ. 2002 ส่วนหลักของสถาปัตยกรรมเป็นแบบกอทิกซึ่งบูรณะราวปี ค.ศ. 1280 จนถึง ค.ศ. 1393 ซึ่งสร้างทับบนตัวโบสถ์เก่าที่ถูกทำลายลงจากอัคคีภัย โดยโบสถ์เก่าสร้างครอบห้องเก็บศพใต้โบสถ์ที่เป็นห้องบรรจุโลงศพหินของนักบุญเบนีญ ซึ่งตัวอาคารเป็นแบบโรมาเนสก์ทรงกลม (rotunda) ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 17 เมตร สร้างราวค.ศ. 1002 ซึ่งในปัจจุบันแทบไม่เหลือหลักฐานแล้ว ห้องเก็บศพดั้งเดิมเป็นแบบโรมาเนสก์ ก่อสร้างราวปีค.ศ. 511 เพื่อใช้เป็นที่บรรจุโลงศพหินของนักบุญเบนีญ หลังคาอาสนวิหารที่เห็นในปัจจุบัน เป็นหลังคากระเบื้องเคลือบสลับสีแบบบูร์กอญ อาสนวิหารแห่งนี้ยังเป็นที่ฝังศพของฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งเบอร์กันดี อีกด้วย ในปัจจุบัน อาสนวิหารดีฌงได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 1545และอาสนวิหารดีฌง · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรพัลแฮ

มื่ออาณาจักรโคกูรยอแตกใน พ.ศ. 1211 ในครั้งนั้นมีผู้คนกลุ่มต่าง ๆ เป็นจำนวนมากอพยพหลบหนีออกจากโคกูรยอไปอย่างกระจัดกระจายไปทุกทิศทุกทางไปอาศัยอยุ่อย่างกระจัดกระจายในที่ต่าง ๆ กระทั่งใน..

ใหม่!!: พ.ศ. 1545และอาณาจักรพัลแฮ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิออทโทที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรพรรดิออทโทที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Otto III, Holy Roman Emperor Otto III, Holy Roman Emperor) (ค.ศ. 980 - 23 มกราคม ค.ศ. 1002) ทรงเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แห่งราชวงศ์ออทโทผู้ทรงครองราชบัลลังก์ระหว่างวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 996 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 1002 ออทโทที่ 3 เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิออทโทที่ 2 และธีโอฟานู.

ใหม่!!: พ.ศ. 1545และจักรพรรดิออทโทที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิไฮน์ริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรพรรดิไฮน์ริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Henry II, Holy Roman Emperor) หรือนักบุญไฮน์ริชคณะเบเนดิกติน (Saint Henry, Obl.S.B.) (6 พฤษภาคม ค.ศ. 973 - 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1024) เป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์สมัยราชวงศ์ออทโท ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ระหว่าง ค.ศ. 1014 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1024 นอกจากจะเป็นประมุขจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แล้วจักรพรรดิไฮน์ริชที่ 2 ก็ยังเป็นพระมหากษัตริย์ของเยอรมนีตั้งแต่ปี ค.ศ. 1002 อิตาลีตั้งแต่ปี ค.ศ. 1004 และดยุกแห่งบาวาเรียระหว่างปี ค.ศ. 995 ถึงปี ค.ศ. 1005 พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์เยอรมันพระองค์เดียวที่ได้รับการสถาปนาให้เป็นนักบุญ จักรพรรดิไฮน์ริชที่ 2 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 973 ในบาวาเรียในเยอรมนี พระองค์เป็นพระโอรสของดยุกไฮน์ริชที่ 2 แห่งบาวาเรียและกีเซลาแห่งเบอร์กันดี ขณะที่พระบิดาทรงมีความขัดแย้งกับพระจักรพรรดิสององค์ก่อนหน้านั้น ไฮนริคก็หันเข้าวัดตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ โดยทรงไปพึ่งอับราฮัม บิชอปแห่งไฟรซิง และต่อมาทรงได้รับการศึกษาจากสำนักศึกษาของมหาวิหารเซนต์แมรี ฮิลเดสไฮม์ เมื่อพระบิดาสิ้นพระชนม์ไฮน์ริชก็ทรงเป็นดยุกแห่งบาวาเรียในปี ค.ศ. 995 ในพระนาม “ไฮนริคที่ 4”.

ใหม่!!: พ.ศ. 1545และจักรพรรดิไฮน์ริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ต้นสมัยกลาง

ักรพรรดินีธีโอโดรา พระอัครมเหสีในจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 ในงานโมเสกของคริสต์ศตวรรษที่ 6 ภายในมหาวิหารซันวีตาเล เมืองราเวนนา หนังสือสำหรับพิธีศาสนาจากคริสต์ศตวรรษที่ 8 (หอสมุดวาติกัน, Reg. Lat. 316. foll. 131v/132r) ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages) เป็นสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์ยุโรป เริ่มขึ้นหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันและดำเนินต่อเนื่องกันเป็นเวลาประมาณห้าร้อยปีโดยเริ่มตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 500 จนกระทั่งมาถึงราวปี ค.ศ. 1000 ต้นสมัยกลางสิ้นสุดแล้วจึงต่อด้วยสมัยกลางยุครุ่งโรจน.

ใหม่!!: พ.ศ. 1545และต้นสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

โจรกรรมทางวรรณกรรม

รกรรมทางวรรณกรรม หรือ การลอกเลียนวรรณกรรม (plagiarism) หมายถึง การลอกงานเขียน ความคิดหรืองานสร้างสรรค์ดั้งเดิมทั้งหมดหรือบางส่วนที่เหมือนหรือเกือบเหมือนงานดั้งเดิมของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นงานดั้งเดิมของตนเอง ในวงวิชาการ โจรกรรมทางวรรณกรรมโดยนิสิตนักศึกษา อาจารย์หรือนักวิจัยถือเป็น “ความไม่สุจริตทางวิชาการ” (en:academic dishonesty) หรือ “การฉ้อฉลทางวิชาการ” (en:academic fraud) และผู้กระทำผิดจะต้องถูกตำหนิทางวิชาการ (academic censure) โจรกรรมทางวรรณกรรมในงานสื่อสารมวลชนถือเป็นละเมิดจรรยาบรรณทางวารสารศาสตร์ (en:journalistic ethics) นักข่าวที่ถูกจับได้โดยทั่วไปจะถูกลงโทษทางวินัยตั้งแต่พักงานถึงการถูกให้ออกจากงาน สำหรับบุคคลทั่วไปที่ถูกจับได้ว่าทำโจรกรรมทางวรรณกรรมทางวิชาการหรือทางงานหนังสือพิมพ์มักอ้างว่าได้กระทำลงไปโดยไม่ได้ตั้งใจ โดยลืมใส่อ้างอิง หรือใส่คำประกาศกิตติคุณ (en:citation) ที่เหมาะสมไว้ ปัญหาโจรกรรมทางวรรณกรรมเป็นปัญหาที่เกิดมานานนับศตวรรษมาแล้วซึ่งเป็นแบบรูปเล่ม การพัฒนาทางอินเทอร์เน็ตที่บทความปรากฏในรูปของอีเล็กทรอนิกส์ ทำให้งานคัดลอกทำได้เพียง “ลอก” ข้อความในเว็บมา “ใส่” ไว้ในอีกเว็บหนึ่งอย่างง่ายดายที่เรียกว่า “การคัดลอก-แปะ” (en:copying and pasting) โจรกรรมทางวรรณกรรมต่างกับการละเมิดลิขสิทธิ์แม้ทั้งสองคำนี้ใช้กับพฤติกรรมที่คล้าย ๆ กัน เพียงแต่เน้นการละเมิดที่ต่างมุมกัน การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นการละเมิดสิทธิ์ด้วยการไม่บอกกล่าวกับผู้ถือลิขสิทธิ์ แต่ขณะเดียวกัน ในอีกด้านหนึ่งโจรกรรมทางวรรณกรรมเกี่ยวข้องกับการสร้างชื่อเสียงให้ตนเองของผู้กระทำด้วยการแอบอ้างว่าตนเป็นผู้เขียน.

ใหม่!!: พ.ศ. 1545และโจรกรรมทางวรรณกรรม · ดูเพิ่มเติม »

เอ็มมาแห่งนอร์มังดี สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ

อ็มมาแห่งนอร์มังดี สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ (ภาษาอังกฤษ: Emma of Normandy) (ราว ค.ศ. 985 - 6 มีนาคม ค.ศ. 1052) เอ็มมาแห่งนอร์มังดีประสูติราว ค.ศ. 985 เป็นพระธิดาของริชาร์ดผู้ไม่กลัวใคร ดยุคแห่งนอร์มังดี (Richard the Fearless) และกันนอรา ดัชเชสแห่งนอร์มังดี เป็นพระราชินีในสมเด็จพระเจ้าเอเธล์เรดที่ 2 แห่งอังกฤษ ระหว่างค.ศ. 1002 ถึง ค.ศ. 1016 และมีพระราชโอรสกับพระเจ้าเอเธล์เรดผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ ต่อมาทรงเสกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าคานูทมหาราชและเป็นพระราชินีระหว่าง ค.ศ. 1017 ถึง ค.ศ. 1035 และมีพระราชโอรสผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าฮาร์ธาคานูท เอ็มมาแห่งนอร์มังดีเป็นพระอัยกีของ สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ เอ็มมาสิ้นพระชนม์เมื่อ 6 มีนาคม ค.ศ. 1052 ที่วินเชสเตอร์ อังกฤษ.

ใหม่!!: พ.ศ. 1545และเอ็มมาแห่งนอร์มังดี สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

21 มิถุนายน

วันที่ 21 มิถุนายน เป็นวันที่ 172 ของปี (วันที่ 173 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 193 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พ.ศ. 1545และ21 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

23 มกราคม

วันที่ 23 มกราคม เป็นวันที่ 23 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 342 วันในปีนั้น (343 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: พ.ศ. 1545และ23 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

24 มกราคม

วันที่ 24 มกราคม เป็นวันที่ 24 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 341 วันในปีนั้น (342 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: พ.ศ. 1545และ24 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ค.ศ. 1002

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »