โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พ.ศ. 1487

ดัชนี พ.ศ. 1487

ทธศักราช 1487 ใกล้เคียงกั.

6 ความสัมพันธ์: พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1รายพระนามพระมหากษัตริย์กัมพูชารายพระนามจักรพรรดิเวียดนามจักรพรรดิมุระกะมิแซรอสดวงอาทิตย์ที่ 121

พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ

ระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ (Edgar the Peaceful หรือ Edgar the Peaceable) (ราว ค.ศ. 943 หรือ ค.ศ. 944 - ค.ศ. 975) พระมหากษัตริย์อังกฤษในราชวงศ์เวสเซ็กซ์ พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบเสด็จพระราชสมภพเมื่อราวปี ค.ศ. 943 หรือปี ค.ศ. 944 ที่เวสเซ็กซ์ ในอังกฤษ เป็นพระราชโอรสพระองค์รองในพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1 แห่งอังกฤษและเอ็ดจิวาแห่งเคนต์ อภิเษกสมรสกับเอเธลฟรีด วูลฟธริธ และเอลฟริธ และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 959 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 975 ที่วินเชสเตอร์ อังกฤษ พระนาม “ผู้รักสงบ” ไม่ได้บ่งถึงพระลักษณะตามความหมายเพราะทรงเป็นนายทหารผู้เข้มแข็งซึ่งจะเห็นได้จากการยึดราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย และราชอาณาจักรเมอร์เซียจากพระเจ้าเอ็ดวีพระเชษฐาในปี ค.ศ. 958 พระเจ้าเอ็ดการ์ทรงปกครองบริเวณเหนือแม่น้ำเทมส์กับขุนนางของพระองค์กลุ่มหนึ่ง เมื่อพระเจ้าเอ็ดวีเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 959 พระเจ้าเอ็ดการ์ก็ทรงเรียกตัวโดยดันสตัน (ต่อมาเป็นนักบุญดันสตัน) จากที่ทรงลี้ภัยกลับมาและแต่งตั้งให้เป็นบิชอปแห่งวูสเตอร์และต่อมาเป็นบิชอปแห่งลอนดอนและในที่สุดอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี ดันสตันเมื่อเริ่มแรกไม่ยอมสวมมงกุฏให้พระเจ้าเอ็ดการ์เพราะไม่ยอมรับวิธีดำเนินชีวิตของพระองค์เกี่ยวกับพระสนม วูลฟธริธ (ต่อมาเป็นนักพรตหญิงที่วิลตัน) มึพระธิดา อีดิธแห่งวิลตัน แต่ดันสตันก็เป็นที่ปรึกษาของพระเจ้าเอ็ดการ์ตลอดรัชสมัย รัชสมัยของพระเจ้าเอ็ดการ์เป็นรัชสมัยที่บ้านเมืองมีความสงบสุขและอาจจะเป็นสมัยที่เรียกได้ว่าเป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน แม้ว่าการรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอังกฤษจะเป็นผลที่มาจากผู้ที่ครองบัลลังก์มาก่อนพระองค์ ในปลายรัชสมัยของพระเจ้าเอ็ดการ์ อังกฤษก็เกือบจะไม่มีศัตรูที่จะมาแบ่งราชอาณาจักรอย่างที่เคยเป็นมาก่อน ในสมัยนี้ดันสตันก็มีบทบาทในการปฏิรูปอารามที่ออกจะเริ่มหย่อนยานให้กลับไปถือวินัยของนักบุญเบเนดิกต์อย่างที่เคยเป็นมา แต่บทบาทอันนี้ก็ยังเป็นที่ถกเถึยงกันในบรรดาผู้รู้ในวงการศึกษา พระเจ้าเอ็ดการ์ได้ทำพิธีสวมมงกุฏที่บาธในปี ค.ศ. 973 ซึ่งมิใช่ราชาภิเศกในการฉลองการเริ่มรัชกาล พระราชพิธีครั้งนี้เตรียมการโดยดันสตันเองโดยมีโคลงเฉลิมพระเกียรติที่บันทึกในบันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน เป็นพระราชพิธีที่เป็นพื้นฐานในการทำพิธีบรมราชาภิเศกของอังกฤษมาจนถึงปัจจุบันนี้ พระราชพิธีเป็นพิธีสัญลักษณ์โดยมีเจ้าผู้ครองอาณาจักรในอังกฤษมาแสดงความสวามิภักดิ์ต่อพระองค์ที่เชสเตอร์ กษัตริย์หกพระองค์ในบริเตนและสกอตแลนด์ปฏิญาณว่าจะเป็นผู้ป้องกันพระองค์ไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางทะเล ต่อมาบันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซันกล่าวว่ามีแปดองค์ แต่พระราชพิธีประกาศการสวามิภักดิ์ที่เชสเตอร์ (submission at Chester) ดูเหมือนว่จะเป็นเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น พระเจ้าเอ็ดการ์มีพระราชโอรสธิดาเจ็ดพระองค์ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมรณสักขีพระราชโอรสพระองค์ใหญ่สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์ หลังจากที่เสด็จสวรรคตมาจนถึงการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันไม่มีราชบัลลังก์ใดที่ได้รับการสืบทอดโดยไม่มีปัญหาในการแก่งแย่ง.

ใหม่!!: พ.ศ. 1487และพระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1

มเด็จพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1 แห่งอังกฤษ หรือ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดมันด์ผู้อาวุโส หรือ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดมันด์ผู้ยุติธรรม (Edmund I of England, Edmund the Elder, Edmund the the Just, Edmund the Deed-Doer, Edmund the Magnificent; Eadmund) (ค.ศ. 922 - 26 พฤษภาคม ค.ศ. 946) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์เวสเซ็กซ์ของราชอาณาจักรอังกฤษ พระเจ้าเอ็ดมันด์เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ค.ศ. 922 ที่เวสเซ็กซ์ อังกฤษ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส และ เอ็ดจิวาแห่งเค้นท์ และเป็นพระอนุชาของสมเด็จพระเจ้าเอเธลสตันแห่งอังกฤษ ทรงเสกสมรสกับเอเธลเฟลดแห่งดาเมอแรม และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 939 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 946 เมื่อพระเจ้าเอเธลสตันเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 939 พระเจ้าเอ็ดมันด์ก็เสด็จขึ้นครองราชต่อจากพระเชษฐา หลังจากที่ขึ้นครองราชย์ก็ทรงประสพปัญหาทางทหารหลายด้านที่เป็นอันตรายต่อราชอาณาจักร สมเด็จพระเจ้าโอลาฟที่ 1 แห่งดับลินทรงได้รับชัยชนะต่อนอร์ทธัมเบรียและรุกรานมาทางมิดแลนดส์ เมื่อพระเจ้าโอลาฟเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 942 พระเจ้าเอ็ดมันด์ก็ยึดมิดแลนดส์คืน ในปี ค.ศ. 943 ทรงเป็นพ่อทูลหัวของพระเจ้าโอลาฟแห่งยอร์ค ในปี ค.ศ. 944 พระเจ้าเอ็ดมันด์ก็ทรงได้รับความสำเร็จในการกู้นอร์ทธัมเบรียคืน ในปีเดียวกันหลังจากที่พระเจ้าโอลาฟแห่งยอร์คผู้เป็นพันธมิตรของพระเจ้าเอ็ดมันด์ก็ทรงสูญเสียราชบัลลังก์ พระองค์ก็เสด็จไปเป็นพระเจ้าแผ่นดินของดับลินในไอร์แลนด์ ในพระนามว่าโอลาฟ คิวอารัน (Olaf Cuaran หรือ Amlaíb Cuarán) ในปี ค.ศ. 945 พระเจ้าเอ็ดมันด์ทรงได้รับชัยชนะต่อดินแดนสตรัธไคลด์ (Strathclyde) แต่ทรงสละสิทธิ์บริเวณที่ทรงยึดครองให้กับพระเจ้ามัลคอล์มที่ 1 แห่งสกอตแลนด์เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับข้อตกลงในสนธิสัญญาที่ทั้งสองฝ่ายให้การสนับสนุนต่อกันและกันในทางทหาร พระเจ้าเอ็ดมันด์ทรงมีนโยบายที่จะรักษาความมั่นคงและความสงบระหว่างพรมแดนอังกฤษและสกอตแลนด์ พระเจ้าเอ็ดมันด์ถูกปลงพระชนม์ในปี ค.ศ. 946 ระหว่างการต่อสู้โดยโจรเลโอฟา ขณะที่ทรงร่วมงานฉลองที่ปราสาทพัคเคิลเชิร์ชทรงเห็นเลโอฟาในกลุ่มผู้ร่วมงานจึงทรงพยายามไล่แต่เลโอฟาไม่ยอมออกจากงาน พระเจ้าเอ็ดมันด์และที่ปรึกษาจึงทรงต่อสู้กับเลโอฟา ทั้งพระเจ้าเอ็ดมันด์และเลโอฟาเสียชีวิต เมื่อพระเจ้าเอ็ดมันด์เสด็จสวรรคตพระอนุชาก็ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าเอเดรดแห่งอังกฤษ พระราชโอรสพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ได้ปกครองอังกฤษได้แก่.

ใหม่!!: พ.ศ. 1487และพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์กัมพูชา

250px หน้านี้เป็นรายพระนามพระมหากษัตริย์ในพระราชอาณาจักรกัมพูชา ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: พ.ศ. 1487และรายพระนามพระมหากษัตริย์กัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามจักรพรรดิเวียดนาม

้านล่างนี้คือ รายพระนามจักรพรรดิเวียดนาม.

ใหม่!!: พ.ศ. 1487และรายพระนามจักรพรรดิเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิมุระกะมิ

ักรพรรดิมุระกะมิ (Emperor Murakami) จักรพรรดิองค์ที่ 62 แห่งราชวงศ์ญี่ปุ่นตามที่ได้บันทึกไว้ใน รายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น จักรพรรดิมุระกะมิทรงครองสิริราชสมบัติระหว่างปี ค.ศ. 946 - ค.ศ. 967 ต่อมาพระนามของพระองค์ได้ถูกนำไปใช้เป็นพระนามของ จักรพรรดิโกะ-มุระกะมิ จักรพรรดิในช่วง ยุคราชสำนักเหนือ-ใต้ สมัย คริสต์ศตวรรษที่ 14.

ใหม่!!: พ.ศ. 1487และจักรพรรดิมุระกะมิ · ดูเพิ่มเติม »

แซรอสดวงอาทิตย์ที่ 121

7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008จากนิวซีแลนด์เห็นเป็นบางส่วนจากปรากฏการณ์วงแหวนเป็นครั้งที่ 60 ในชุดนี้ แซรอสชุดที่ 121 ของสุริยุปราคา เว้นช่วงของแต่ละเหตุการณ์ทุก ๆ 18 ปี 11 วัน มีสุริยุปราคาในชุดแซรอสนี้ทั้งหมด 71 ครั้ง ซึ่งชุดแซรอสที่ 121 ประกอบไปด้วยสุริยุปราคาบางส่วน 7 ครั้ง สุริยุปราคาเต็มดวง 42 ครั้ง สุริยุปราคาผสม 2 ครั้ง สุริยุปราคาวงแหวน 11 ครั้ง และสุริยุปราคาบางส่วน 9 ครั้ง ตามลำดับ ทั้งหมดนี้จะดำเนินอยู่ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 944 - ค.ศ. 2206 กินเวลาทั้งสิ้น 1,262 ปี.

ใหม่!!: พ.ศ. 1487และแซรอสดวงอาทิตย์ที่ 121 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ค.ศ. 944

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »