โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พ.ศ. 1427

ดัชนี พ.ศ. 1427

ทธศักราช 1427 ใกล้เคียงกั.

12 ความสัมพันธ์: บูร์โกสพระเจ้าอัลเฟรดมหาราชพระเจ้าคาร์โลมันแห่งฝรั่งเศสรายชื่อทุพภิกขภัยรายพระนามพระมหากษัตริย์และจักรพรรดิฝรั่งเศสรายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่นรายพระนามคู่สมรสแห่งบูร์กอญสมเด็จพระสันตะปาปามารินุสที่ 1สมเด็จพระสันตะปาปาเอเดรียนที่ 3จักรพรรดิคาร์ลที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ทวารวดี12 ธันวาคม

บูร์โกส

ที่ตั้งเมืองบูร์โกสในประเทศสเปน มหาวิหารบูร์โกส อนุสาวรีย์เอลซิด ช่องโค้งซานตามารีอา บูร์โกส (Burgos) เป็นเมืองหลักของจังหวัดบูร์โกสในแคว้นกัสติยาและเลออน ทางภาคเหนือของประเทศสเปน ตั้งอยู่บริเวณขอบด้านเหนือของที่ราบสูงตอนกลาง (Meseta Central) ห่างจากบายาโดลิดเมืองหลักของแคว้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 122 กิโลเมตร และห่างจากกรุงมาดริดไปทางทิศเหนือ 244.7 กิโลเมตร มีประชากรประมาณ 173,600 คนเฉพาะในอาณาเขตของเมืองและอีกประมาณ 10,000 คนในเขตชานเมือง ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่ามีมนุษย์ดึกดำบรรพ์ (เช่น มนุษย์นีแอนเดอร์ทัล) เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณที่เป็นเมืองบูร์โกสในปัจจุบันอย่างน้อยตั้งแต่ยุคหินใหม่ และเมื่อชาวโรมันได้เข้าครอบครองพื้นที่แถบนี้ ก็พบว่ามีชนพื้นเมืองเคลติเบเรียนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว ในสมัยจักรวรรดิโรมันดินแดนนี้เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดฮิสปาเนียซีเตรีออร์และของจังหวัดฮิสปาเนียตาร์ราโกเนนซิสในเวลาต่อมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชาววิซิกอทสามารถขับไล่ชาวซูเอบีออกไปได้และมีอำนาจในแถบนี้แทน จนกระทั่งชาวอาหรับบุกยึดคาบสมุทรไอบีเรียในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 แถบนี้จึงตกเป็นของชาวอาหรับด้วย แต่ก็ไม่ได้ทิ้งร่องรอยที่แสดงการครอบครองไว้มากนัก พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 3 มหาราชทรงตีเมืองนี้คืนได้สำเร็จประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 9 และสร้างปราสาทไว้เป็นจำนวนมากเพื่อใช้ป้องกันอาณาจักรของชาวคริสต์ทางเหนือที่ได้ขยายพื้นที่ลงมาทางทิศใต้นับจากนั้น ดินแดนแถบนี้ภายหลังจึงมีชื่อเรียกว่า กัสติยา ซึ่งแปลว่า "ดินแดนแห่งปราสาท" บูร์โกสได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นเมืองตั้งแต่ ค.ศ. 884 เมื่อเดียโก โรดรีเกซ ปอร์เซโลส (Diego Rodríguez Porcelos) เคานต์แห่งกัสติยาปกครองดินแดนแถบนี้โดยมีคำสั่งให้สนับสนุนการเพิ่มของจำนวนประชากรชาวคริสต์ เขาก็ได้รวบรวมผู้คนในพื้นที่ชนบทรอบ ๆ เข้ามาอยู่ในหมู่บ้านที่ล้อมรอบด้วยป้อมปราการแห่งนี้ โดยมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านบริเวณเขตแดนอาณาจักรชาวคริสต์ที่กำลังขยายเขตออกไปดังกล่าว ชื่อในภาษาของชาววิซิกอทของเมืองบูร์โกส (baurgs) มีความหมายว่า "หมู่บ้านซึ่งล้อมรอบด้วยกำแพงที่มั่นคง" ต่อมาเมืองนี้ก็เริ่มมีคำเรียกต่อท้ายชื่อว่า "กาปุตกัสเตลไล" (Caput Castellae) แปลว่า "หัวหน้าของกัสติยา" เคาน์ตีแห่งบูร์โกสซึ่งขึ้นต่อกษัตริย์แห่งเลออนนั้นยังคงถูกปกครองต่อมาโดยเคานต์อีกหลายคนและเริ่มขยายเขตออกไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเฟร์นัน กอนซาเลซ (Fernán González) เคานต์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งได้ประกาศเอกราชขณะที่ราชอาณาจักรเลออนอ่อนแอลง บูร์โกสเป็นที่ตั้งของสำนักบิชอปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 และในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ก็กลายเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรกัสติยา นอกจากนี้ยังเป็นที่หยุดพักหลักบนเส้นทางที่จะไปสู่เมืองซานเตียโกเดกอมโปสเตลาของบรรดานักแสวงบุญ และเป็นศูนย์กลางทางการค้าระหว่างดินแดนแถบทะเลกันตาเบรียกับดินแดนทางทิศใต้ เป็นจุดดึงดูดพ่อค้าชาวต่างชาติจำนวนมาก ซึ่งต่อมาจะเป็นผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่งในเมืองนี้และกีดกันชาวต่างชาติกลุ่มอื่นไม่ให้เข้ามามีอิทธิพล ตลอดทั้งคริสต์ศตวรรษที่ 13 และคริสต์ศตวรรษที่ 14 บูร์โกสมักจะเป็นสถานที่ประทับของกษัตริย์แห่งเลออนและกัสติยา (จนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16) ประมวลกฎหมายแห่งบูร์โกส (Leyes de Burgos) ซึ่งเป็นกฎหมายชุดแรกที่ใช้ควบคุมการประพฤติตนของชาวสเปนที่เข้าไปตั้งถิ่นฐานในทวีปอเมริกาได้รับการประกาศใช้ที่เมืองนี้เมื่อปี ค.ศ. 1512 ตั้งแต่อดีตนั้นบูร์โกสเคยถูกใช้เป็นพื้นที่การรบหลายครั้ง เช่น ในสงครามระหว่างชาวคริสต์กับชาวมัวร์ (ชาวอาหรับ) ระหว่างแคว้นเลออนและแคว้นนาวาร์ ระหว่างแคว้นกัสติยาและแคว้นอารากอน มาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในสงครามคาบสมุทร (รบกับกองทัพฝรั่งเศสของนโปเลียน) และในช่วงสงครามกลางเมืองสเปน (ค.ศ. 1934-1939) บูร์โกสก็เป็นเมืองหลวงของกองกำลังชาตินิยมที่มีนายพลฟรังโกเป็นผู้นำ.

ใหม่!!: พ.ศ. 1427และบูร์โกส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช

ระเจ้าอัลเฟรดมหาราช (Alfred the Great; Ælfrēd) (ค.ศ. 849 - 26 ตุลาคม ค.ศ. 899) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรเวสเซ็กซ์ในสมัยราชวงศ์เวสเซ็กซ์ เสด็จพระราชสมภพที่เวนเทจ บาร์กเชอร์ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าเอเธลวูล์ฟแห่งเวสเซกซ์และออสเบอร์กา ทรงเสกสมรสกับเอลสวิธ และทรงราชย์เป็นกษัตริย์ของชนแองโกล-แซ็กซอนภายใต้ราชอาณาจักรเวสเซกซ์ระหว่างวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 871 พระเจ้าอัลเฟรดทรงมีชื่อเสียงในการป้องกันราชอาณาจักร จากการรุกรานของชาวไวกิงจากเดนมาร์ก และเป็นพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษพระองค์เดียวที่รับสมญานามว่า “มหาราช” พระเจ้าอัลเฟรดทรงเป็นกษัตริย์แห่งแซกซันตะวันตกพระองค์แรก ที่ทรงแสดงพระองค์ว่าเป็นกษัตริย์แห่งชาวแองโกล-แซกซัน ทรงเป็นผู้มีการศึกษาดี และทรงส่งเสริมการศึกษาและปรับปรุงทางด้านกฎหมายในราชอาณาจักรและระบบการทหาร พระราชประวัติของพระองค์ถูกกล่าวถึงในงานเขียนของแอสเซอร์ (Asser) นักปราชญ์ชาวเวล.

ใหม่!!: พ.ศ. 1427และพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าคาร์โลมันแห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าคาร์โลมันที่ 2 แห่งฝรั่งเศส (Carloman II de France) (863 - 5 สิงหาคม 882) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งชนแฟรงค์ตะวันตก พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 8 ในราชวงศ์กาโรแล็งเชียง พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์โตในพระเจ้าหลุยส์ที่ 2 แห่งฝรั่งเศสกับสมเด็จพระราชินีแอนซ์การ์ดแห่งเบอร์กันดี ตั้งแต่พระบิดาของพระองค์สวรรคตพระองค์ก็ทรงปกครองฝรั่งเศสร่วมกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 3พระเชษฐา เมื่อพระเชษฐาของพระองค์สวรรคตพระองค์ก็ทรงปกครองฝรั่งเศสเพียงด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงปกครองฝรั่งเศสเพียง 2 ปี ก็สวรรคต พระเจ้าคาร์โลมันที่ 2 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 884 ขณะทรงล่าสัตว์ จักรพรรดิคาร์ลที่ 3 ซึ่งมีศักดิ์เป็นพระญาติจึงทรงปกครองฝรั่งเศสต่อจากพระอง.

ใหม่!!: พ.ศ. 1427และพระเจ้าคาร์โลมันแห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อทุพภิกขภัย

แสดงผู้ประสบกับทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1845 ถึงปี ค.ศ. 1849 รายชื่อทุพภิกขภัยข้างล่างเป็นรายการที่ไม่สมบูรณ์ เป็นรายชื่อของเหตุการณ์ทุพภิกขภัยที่ถือว่าเป็นครั้งสำคัญๆ ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์เท่านั้น.

ใหม่!!: พ.ศ. 1427และรายชื่อทุพภิกขภัย · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์และจักรพรรดิฝรั่งเศส

ระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส (Monarques de France) ทรงปกครองดินแดนฝรั่งเศสมาตั้งแต่การสถาปนาราชอาณาจักรแฟรงก์ในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 1427และรายพระนามพระมหากษัตริย์และจักรพรรดิฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: พ.ศ. 1427และรายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามคู่สมรสแห่งบูร์กอญ

ทความนี้แสดงลิสต์ราชินี เคานท์เตส และดัชเชสซึ่งเป็นคู่สมรสในผู้ปกครอง ราชอาณาจักรบูร์กอญ เคาน์ตีบูร์กอญ และดัชชีบูร์กอญ โดยเริ่มตั้งแต่สมัยตำนานจนถึงปีค.ศ. 1795.

ใหม่!!: พ.ศ. 1427และรายพระนามคู่สมรสแห่งบูร์กอญ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปามารินุสที่ 1

สมเด็จพระสันตะปาปามารินุสที่ 1 (อังกฤษ: Marinus I) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 882 ถึง ค.ศ. 884 มารินุสที่ 1 หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 9 หมวดหมู่:บุคคลจากโรม.

ใหม่!!: พ.ศ. 1427และสมเด็จพระสันตะปาปามารินุสที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาเอเดรียนที่ 3

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาเอเดรียนที่ 3 (อังกฤษ: Adrian III) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 884 ถึง ค.ศ. 885 เอเดรียนที่ 3 หมวดหมู่:นักบุญในคริสต์ศตวรรษที่ 9 หมวดหมู่:บุคคลจากโรม.

ใหม่!!: พ.ศ. 1427และสมเด็จพระสันตะปาปาเอเดรียนที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิคาร์ลที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรพรรดิคาร์ลที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หรือ คาร์ลพระวรกายพ่วงพี (Carolus Pinguis, Charles the Fat) (13 มิถุนายน ค.ศ. 839 - 13 มกราคม ค.ศ. 888) เป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แห่งราชวงศ์การอแล็งเฌียง ผู้ทรงครองจักรวรรดิระหว่างปี ค.ศ. 881 จนถึงปี ค.ศ. 888 พระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าลุดวิกชาวเยอรมัน และ เฮมม.

ใหม่!!: พ.ศ. 1427และจักรพรรดิคาร์ลที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ทวารวดี

ทวารวดี เป็นคำภาษาสันสกฤต เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 1427 โดยนายแซมมวล บีล (Samuel Beel) ได้แปลงมาจากคำว่า โถโลโปตี้ (Tolopoti) ที่มีอ้างอยู่ในบันทึกของภิกษุจีนจิ้นฮง (Hiuantsang) ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 กล่าวว่า โถโลโปตี เป็นชื่อของอาณาจักรหนึ่งตั้งอยู่ระหว่างอาณาจักรศรีเกษตร และอาณาจักรอิศานปุระ และเขาได้สรุปด้วยว่าอาณาจักรนี้เดิมตั้งอยู่ในดินแดนประเทศไทย(สยาม)ปัจจุบัน และยังสันนิษฐานคำอื่นๆที่มีสำเนียงคล้ายกันเช่น จวนโลโปติ (Tchouanlopoti) หรือ เชอโฮโปติ (Chohopoti) ว่าคืออาณาจักรทวารวดีด้วย ต่อมาความคิดเห็นนี้ได้มีผู้รู้หลายท่านศึกษาต่อและให้การยอมรับเช่น นายเอดัวร์ ชาวาน (Edourd Chavannes) และ นายตากากุสุ (Takakusu) ผู้แปลจดหมายเหตุการเดินทางของภิกษุอี้จิงในปี พ.ศ. 2439 และ นายโปล เปลลิโอต์ (Paul Pelliot) ผู้ขยายความอาณาจักรทวารวดีเพิ่มอีกว่ามีประชาชนเป็นชาวมอญในปี พ.ศ. 2447 เป็นต้น ดังนั้นบรรดาเมืองโบราณรวมทั้งโบราณวัตถุสถานต่างๆที่พบมากมายโดยเฉพาะในบริเวณลุ่มน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งแต่เดิมไม่สามารถจัดกลุ่มได้ว่าเป็นของขอมหรือของไทย แต่มีลักษณะคล้ายกับศิลปะอินเดียสมัยราชวงศ์คุปตะ - หลังคุปตะ ราวพุทธศตวรรษที่ 9-13 ที่พันตรีลูเนต์ เดอ ลาจองกีเยร์ (Lunet de Lajonguiere) เรียกว่า กลุ่มอิทธิพลอินเดียแต่ไม่ใช่ขอม จึงถูกนำมาสัมพันธ์กลายเป็นเรื่องเดียวกัน โดยศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ (พ.ศ. 2468) และสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (พ.ศ. 2469) เป็นกลุ่มบุคคลแรกที่กำหนดเรียกชื่อดินแดนที่เมืองโบราณเหล่านี้ตั้งอยู่ รวมทั้งงานศิลปกรรมที่พบนั้นว่าคือดินแดนแห่งอาณาจักรทวารวดี และศิลปะแบบทวารวดี โดยใช้เหตุผลของตำแหน่งที่ตั้งอาณาจักรตามบันทึกจีนกับอายุของบันทึก และอายุของงานศิลปกรรมที่ตรงกัน อาณาจักรทวารวดีจึงกลายเป็นอาณาจักรแรกในดินแดนไทย กำหนดอายุตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 12 ลงมาถึงพุทธศตวรรษที่ 16 อาณาจักรทวารวดี เป็นที่น่าเชื่อถือขึ้นอีกเมื่อพบเหรียญเงิน 2 เหรียญ มีจารึกภาษาสันสกฤตอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 จากเมืองนครปฐมโบราณ มีข้อความว่า ศรีทวารวดีศวรปุณยะ ซึ่งแปลได้ว่า บุญกุศลของพระราชาแห่งศรีทวารวดี หรือ บุญของผู้เป็นเจ้าแห่งศรีทวารวดี หรือ พระเจ้าศรีทวารวดีผู้มีบุญอันประเสริฐ อาณาจักรทวารวดีจึงเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่ามีอยู่จริง และยังเชื่อกันอีกด้วยว่าเมืองนครปฐมโบราณน่าจะเป็นศูนย์กลางหรือเมืองหลวงของอาณาจักร (แต่ปัจจุบันพบเหรียญลักษณะคล้ายกันอีก 2 เหรียญ ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และที่อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ความสำคัญของเมืองนครปฐมจึงเปลี่ยนไป) แต่ขณะเดียวกันนักวิชาการบางท่านก็เชื่อว่าอำเภออู่ทอง หรืออาจเป็นจังหวัดลพบุรี ที่น่าจะเป็นเมืองหลวงมากกว่ากัน.

ใหม่!!: พ.ศ. 1427และทวารวดี · ดูเพิ่มเติม »

12 ธันวาคม

วันที่ 12 ธันวาคม เป็นวันที่ 346 ของปี (วันที่ 347 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 19 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พ.ศ. 1427และ12 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ค.ศ. 884

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »