โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ป่าดิบชื้น

ดัชนี ป่าดิบชื้น

ป่าดิบชื้นที่อุทยานแห่งชาติไทรโยค ป่าดิบชื้น หรือ ป่าฝนเขตร้อน (tropical rain forest) จัดเป็นป่าประเภทไม่ผลัดใบ เป็นป่าที่มีสีเขียวตลอดทั้งปี ต้นไม้จะไม่ผลัดใบในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนค่อนข้างมาก ต้นไม้ไม่มีความจำเป็นต้องผลัดใบเพื่อลดการคายน้ำ ป่าชนิดนี้มักจะเรียกกันว่าป่าดงดิบ เป็นป่าที่อยู่ในเขตมรสุมพัดผ่านเกือบตลอดทั้งปี ขึ้นอยู่ตามที่ราบลุ่ม ที่ราบเชิงเขาที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 0-100 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (บางครั้งอาจพบอยู่สูงถึงระดับ 250 เมตร) และมีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 2,000 มม./ปี พบมากทางภาคใต้และแถบจังหวัดชายทะเลภาคตะวันออก เช่น จังหวัดระยอง จันทบุรี และตร.

163 ความสัมพันธ์: ชะนีชะนีแก้มขาวชะนีเซียมังบุชด็อกบุนนาคพญากระรอกบินหูแดงพืดหินปะการังกระรอกหน้ากระแตกระรอกข้างลายท้องแดงกระจงควายกระซู่กองทัพอำมหิตกากหมากตาฤๅษีการเดินป่าในเพชรพระอุมาการเปลี่ยนแปลงแทนที่ขั้นปฐมภูมิกิ้งก่าบินคอแดงกิ้งก่าดงคอสีฟ้ากุหลาบลอเรนเซียฝางภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้นมังตานมดหนามกระทิงอกแดงมดทหารศรีลังกายางน่องเถายุคหินกลาง (แอฟริกา)ระบบนิเวศป่าไม้ลิงแสมลิงไลออนทามารินสีทองวงศ์กบลูกศรพิษวงศ์กิ้งก่าวงศ์ย่อยกิ้งก่าวงศ์ย่อยลิงโลกเก่าวงศ์ย่อยอึ่งอ่างวงศ์ย่อยงูแมวเซาวงศ์งูโบอาวงศ์งูเหลือมวงศ์ปลาตะพัดวงศ์นกปักษาสวรรค์วงศ์เม่นโลกใหม่สกุลกฤษณาสกุลกูดต้นสกุลดีอานีม่าสกุลซิสทูราสมัยอีโอซีนสมเสร็จภูเขาสวนพฤกษศาสตร์สากลภาคใต้ (ทุ่งค่าย)สะแลสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกสัตว์เลื้อยคลานสิงโต...สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นหมูหริ่งหมู่เกาะญี่ปุ่นหมู่เกาะโมลุกกะหมีเหม็นหยาดน้ำค้าง (สกุล)หว้าหนูเหม็นอันดับกิ้งก่าและงูอำเภออมก๋อยอุทยานแห่งชาติศรีพังงาอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้างอุทยานแห่งชาติทับลานอุทยานแห่งชาติดอยหลวงอุทยานแห่งชาติคลองพนมอุทยานแห่งชาติปางสีดาอุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้วอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็นอุทยานแห่งชาติโลเรินตส์อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมืองอุทยานแห่งชาติเขาสกอุทยานแห่งชาติเขานันอุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้างอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์อีเห็นข้างลายฮิปโปโปเตมัสแคระผีเสื้อหนอนม้วนใบเขานันจระเข้แคระจักรวรรดิอินคาจิ้งเหลนจระเข้ตาแดงจงโคร่งธารน้ำทวีปอเมริกาใต้ที่ราบขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า 4: อาณาจักรกะโหลกแก้วดองดึงด้วงกว่างเฮอร์คิวลีสความหลากหลายทางชีวภาพคาลาโนโร่คางคกต้นไม้ค้างคาวสเปกตรัมค้างคาวแม่ไก่ภาคกลางค้างคาวแม่ไก่ป่าฝนงูอนาคอนดายักษ์งูเขียวหางไหม้ตั๊กแตนตำข้าวกล้วยไม้สีชมพูตามันเนอการาตุ๊กแกบินหางเฟินตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิคตีกัลซาวลาซุนดาแลนด์ประเทศฟิลิปปินส์ประเทศตองงาประเทศเปรูปลาบ้าปลาหลดปลาอะโรวาน่าเอเชียปลาผีเสื้อติดหินน่านปลาดุกลำพันปลาคาร์ดินัลปลาตะพากปลานางอ้าวปลานีออนปลาใบไม้อเมริกาใต้ปีสากลแห่งป่าไม้ป่าพรุป่าดิบชื้นแอมะซอนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ป่าไม้เขตร้อนนกพรานผึ้งนกทึดทือมลายูนกตะขาบทุ่งนกแคสโซแวรีนกแซงแซวสีเทานกเขียวก้านตองนกเค้าแคระนกเค้าใหญ่แวโรนกเงือกปากเหลืองถิ่นใต้นากยักษ์น้ำตกเอนเจลแมงมุมทารันทูล่าแคพิบาราโลก (ดาวเคราะห์)โอรังเป็นเดะก์โคล่าโตเกียวดิสนีย์รีสอร์ตโตเกียวดิสนีย์ซีไก่จุกไฮแรกซ์หินไผ่กวนอิมไทรย้อยใบทู่ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิสเพชรพระอุมาเมกะลาเนียเม่นต้นไม้เรณูวิทยาเสือดาวอินโดจีนเสือโคร่งมลายูเสือโคร่งสุมาตราเสือโคร่งอินโดจีนเสือไฟเห่าช้างเจ้าหญิงสีชมพูเทือกเขาอันนัมเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลาเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองพระยาเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไนเต่าปูลูเต่าเดือยเซรัง ขยายดัชนี (113 มากกว่า) »

ชะนี

นี (วงศ์: Hylobatidae; Gibbons; ภาษาเหนือ: อี่ฮุย, อี่วุย) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับวานร (Primates) เป็นลิงไม่มีหาง ซึ่งชะนีถูกจัดให้อยู่ในวงศ์ Hylobatidae และถูกจัดให้เป็น 1 ใน 4 ลิงที่มีความใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด (ประกอบไปด้วย ชะนี, ชิมแปนซี, อุรังอุตัง, กอริลลา ซึ่งชะนีมีความใกล้เคียงมนุษย์น้อยที่สุดในบรรดาทั้ง 4 นี้ เนื่องจากมีแขนขาเรียวยาว มีฟันเขี้ยวที่แหลมคม และใช้ชีวิตหากินอยู่บนต้นไม้มากกว่าพื้นดิน) ซึ่งนับว่าชะนีมีแขนที่ยาวที่สุดในบรรดาสัตว์อันดับวานรทั้งหมด และมีฟันที่เขียนเป็นสูตรได้ว่า Myers, P. 2000.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและชะนี · ดูเพิ่มเติม »

ชะนีแก้มขาว

นีแก้มขาว (White-cheeked gibbon, Northern white-cheeked gibbon) เป็นชะนีชนิดหนึ่ง มีลักษณะที่แตกต่างกันชัดเจนระหว่างตัวผู้และตัวเมีย กล่าวคือ ตัวผู้จะมีขนสีดำตลอดทั้งลำตัว ยกเว้นบริเวณแก้มซึ่งจะมีสีขาวเด่นชัด ส่วนตัวเมียนั้นจะมีขนสีเหลืองอ่อนหรือสีครีมตลอดทั้งลำตัว ยกเว้นบริเวณกระหม่อมหรือกลางศีรษะซึ่งมีสีดำ ขนาดเมื่อโตเต็มที่มีความยาวลำตัวตั้งแต่ศีรษะ 45-63 เซนติเมตร น้ำหนักตัวผู้ประมาณ 5.6 กิโลกรัม ขณะที่ตัวเมีย 5.8 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ในป่าดิบชื้นของทางตอนเหนือของลาวติดต่อกับพรมแดนเวียดนาม และจีน มีพฤติกรรมและนิเวศวิทยาอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดเล็ก ๆ บนต้นไม้สูง ซึ่งในฝูงจะเป็นครอบครัวกัน ประกอบไปด้วยตัวผู้จ่าฝูง 1 ตัว ตัวเมีย 1 ตัว และลูก ๆ อีก 2-3 ตัว จะมีอาณาเขตครอบครองเป็นของตัวเอง และมักจะส่งเสียงร้องที่สอดประสานกันระหว่างตัวผู้และตัวเมีย ขณะที่ห้อยโหนไปกับกิ่งไม้ โดยที่ตัวผู้จะมีเสียงร้องที่สลับซับซ้อนกว่า ประชากรชะนีแก้มขาวในจีน เดิมเคยเหลือเพียง 60 ตัวเท่านั้น ก่อนที่จะมีการอนุรักษ์ ซึ่งปัจจุบันได้มีจำนวนเพิ่มขึ้นแล้ว.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและชะนีแก้มขาว · ดูเพิ่มเติม »

ชะนีเซียมัง

นีเซียมัง หรือ เซียมมัง หรือ ชะนีดำใหญ่ (มลายู: Siamang; แปลว่า "ลิงสยาม") สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับวานรชนิดหนึ่ง เป็นสัตว์จำพวกชะนี ซึ่งเป็นชะนีชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก จัดเป็นเพียงชนิดเดียวในสกุล Symphalangus มีรูปร่างคล้ายชะนีทั่วไป แต่มีรูปร่างและลำตัวใหญ่กว่ามาก ขนาดโตเต็มที่มีความยาวลำตัวและหัว 75-90 เซนติเมตร น้ำหนักในเพศผู้ 10.9 กิโลกรัม ตัวเมีย 10.6 กิโลกรัม ขนมีสีดำทั้งตัวทั้งตัวผู้และตัวเมีย มีลักษณะเด่นคือ บริเวณลำคอมีถุงสีเทาปนชมพู โดยถุงดังกล่าวจะป่องออกขณะที่ส่งเสียงร้อง โดยชะนีเซียมังจัดเป็นชะนีที่ร้องได้ดังที่สุด มีการกระจายพันธุ์ในเขตใต้สุดของไทย, มาเลเซียและเกาะสุมาตรา มี 2 ชนิดย่อย คือ S. s. syndactylus พบในมาเลเซีย และ S. s. continentis พบที่เกาะสุมาตรา อาศัยอยู่ในป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น อาหารหลัก ได้แก่ ใบไม้, ผลไม้, ดอกไม้และสัตว์ที่มีขนาดเล็ก อาศัยอยู่รวมกันเป็นครอบครัวแบบผัวเดียวเมียเดียวที่มีลูกอาศัยอยู่ด้วยกัน โดยชะนีเซียมังแต่ละฝูงมีสมาชิกประมาณ 3-5 ตัว แต่ตัวผู้จะเป็นฝ่ายเลี้ยงดูลูกด้วยตัวเอง ซึ่งแตกต่างไปจากชะนีชนิดอื่น ที่ตัวเมียจะเป็นฝ่ายดูแลลูก ในสถานที่เลี้ยงมีอายุขัยประมาณ 35 ปี ชะนีเซียมัง ในสวนสัตว์ในประเทศไทยมีอยู่เพียงที่เดียวเท่านั้น คือ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 ได้มีลูกชะนีเซียมังเกิดขึ้นมาใหม.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและชะนีเซียมัง · ดูเพิ่มเติม »

บุชด็อก

็อก (Bush dog, Savannah dog) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกินเนื้อชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์สุนัข (Canidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวของสกุล Speothos ที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน บุชด็อก แม้จะอยู่วงศ์เดียวกับหมาป่าหรือสุนัขบ้าน แต่กลับมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับนากหรือพังพอนมากกว่าจะเป็นสุนัข เนื่องจากลำตัวยาว ขาสั้น ขนสั้น หางสั้น ใบหูกลมสั้น ที่อุ้งตีนมีพังผืด จึงทำให้มีความสามารถว่ายน้ำได้ดี และดำน้ำได้เก่งมาก ขนาดเมื่อโตเต็มที่ ยาวประมาณ 55–75 เซนติเมตร (22–30 นิ้ว) และความยาวหาง 13 เซนติเมตร (5 นิ้ว) มีความสูงจากตีนถึงหัวไหล่ 20–30 เซนติเมตร (8–12 นิ้ว) น้ำหนักประมาณ 5–8 กิโลกรัม (11–18 ปอนด์) และมีฟันที่เขียนเป็นสูตรได้ว่า มีฟันทั้งหมด 38 ซี่de Mello Beiseigel, B. & Zuercher, G.L. (2005).

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและบุชด็อก · ดูเพิ่มเติม »

บุนนาค

นนาค หรือ สารภีดอย หรือ นาคบุตร เป็นไม้ยื้นต้น เนื้อแข็ง ดอกหอม อยู่ในวศ์เดียวกันกับส้มป่องและติ้วแดง พบได้ในอินเดียและศรีลังก.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและบุนนาค · ดูเพิ่มเติม »

พญากระรอกบินหูแดง

ญากระรอกบินหูแดง (Red giant flying squirrel) เป็นกระรอกบินขนาดใหญ่ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Petaurista petaurista มีรูปร่างและลักษณะคล้ายพญากระรอกบินหูดำ (P. elegans) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แตกต่างจากตรงที่มีปลายหางสีดำ ขนสีน้ำตาลแดงไม่มีลาย หัวและหางมีลายจาง ๆ มีขนสีน้ำตาลแดงจางและมีลายจุดสีขาวหนาแน่น โดยเฉพาะบริเวณหัว ขอบหูด้านหน้าเป็นสีขาวและมีรอยแต้มสีขาวบริเวณไหล่ หางสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทา ปลายหางสีดำ มีคอหอยสีขาว มีความยาวลำตัวและหัวประมาณ 52 เซนติเมตร ความยาวหาง 63 เซนติเมตร หากินในเวลากลางคืนเช่นเดียวกับกระรอกบินชนิดอื่น ๆ พบกระจายพันธุ์ในป่าดิบชื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ ตั้งแต่อัฟกานิสถาน, ตอนเหนือของอินเดีย เช่น รัฐชัมมูและกัศมีร์ ไปตลอดจนแนวเทือกเขาหิมาลัยจนถึงเอเชียตะวันออก เช่น เกาะไต้หวัน ในประเทศไทยจะพบได้ในภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไปจนถึงแหลมมลายู, สิงคโปร์ จนถึงเกาะบอร์เนียวและชวา นอกจากนี้แล้วยังพบได้ที่ศรีลังกาอีกด้วย กินอาหารจำพวกพืชและผลไม้ตลอดจนแมลง พญากระรอกบินหูแดงสามารถร่อนได้ไกลถึง 75 เมตร (250 ฟุต).

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและพญากระรอกบินหูแดง · ดูเพิ่มเติม »

พืดหินปะการัง

แผนที่แสดงการกระจายตัวของแนวปะการังทั่วโลก แนวปะการัง หรือ พืดหินปะการัง เป็นระบบนิเวศที่ซับซ้อน และมีความหลากหลายมากที่สุดในทะเล แนวปะการังจัดเป็นสิ่งก่อสร้างของสิ่งมีชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นหินปูนที่มีความแข็ง โดยสัตว์ทะเลขนาดเล็กคือ ปะการัง รวมถึงซากของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในทะเลอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น สาหร่ายหินปูน, หอยที่มีเปลือกแข็ง เป็นต้น ทั้งปะการังเองและสิ่งมีชีวิตที่สร้างหินปูนได้ เมื่อตายไปแล้วจะยังคงเหลือซากหินปูนทับถมพอกพูน ซึ่งถือว่าเป็นขบวนการสร้างแนวปะการัง ซากหินปูนเหล่านั้นค่อย ๆ ผุกร่อนเป็นผงตะกอน ซึ่งส่วนหนึ่งก็ยังคงสะสมพอกพูนในแนวปะการัง แต่อีกส่วนหนึ่งอาจถูกพัดพาล่องลอยไปตามกระแสน้ำไปทับถมพอกพูนเป็นชายหาด การเจริญเติบโตของแนวปะการังเป็นไปอย่างช้า ๆ ในแต่ละปี ปะการังบางชนิดอาจเพิ่มขนาดของตนเองขึ้นมาได้เพียง 2-5 เซนติเมตรเท่านั้น ซึ่งกว่าที่ปะการังจะสร้างตนเองจนแข็งแรงเป็นแนวพืดได้ต้องใช้เวลานับหมื่น ๆ ปี โดยแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เกรตแบร์ริเออร์รีฟ ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย ที่มีเนื้อที่กว้างขวางกว่า 1,562 ไมล์ (2,500 กิโลเมตร) มีแนวปะการังมากกว่า 2,900 แนว ซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นมรกดกโลกทางธรรมชาติ และแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งของโลก คือ สามเหลี่ยมปะการัง ที่ครอบคลุมพื้นที่ระหว่างน่านน้ำของฟิลิปปินส์ เช่น อุทยานธรรมชาติปะการังตุบบาตาฮา, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ปาปัวนิวกินี, หมู่เกาะโซโลมอน และติมอร์เลสเต คิดเป็น 1 ใน 3 ของแนวปะการังที่มีอยู่ในโลก และมีความหลากหลายของชนิดปลาที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังคิดเป็นร้อยละ 35 ของปลาที่อาศัยในแนวปะการังทั้งหมดทั่วโลก.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและพืดหินปะการัง · ดูเพิ่มเติม »

กระรอกหน้ากระแต

กระรอกหน้ากระแต (อังกฤษ: Shrew-faced squirrel, Shrew-faced ground squirrel) เป็นกระรอกชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhinosciurus laticaudatus จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Rhinosciurus กระรอกหน้ากระแต เป็นกระรอกที่มีลักษณะเด่นชัดแตกต่างไปจากกระรอกชนิดอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด คือ ใบหน้าบริเวณจมูกจะแหลมยาวยื่นออกมาคล้ายสัตว์จำพวกกระแต ซึ่งเป็นสัตว์ในอันดับสัตว์กินแมลง มากกว่าจะเหมือนกระรอกที่เป็นสัตว์ในอันดับสัตว์ฟันแทะ จัดเป็นกระรอกดินชนิดหนึ่ง มักอาศัยตามลำพังและหากินตามพื้นดิน โดยใช้ลิ้นที่ยาวตวัดกินอาหารได้แก่ แมลงชนิดต่าง ๆ, ไส้เดือนดิน และผลไม้บางชนิด มีหางที่สั้นและเป็นพวงเหมือนขนแปรงขัดขวด ลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ใต้ท้องสีขาว มีสีเหลืองแซมบริเวณขอบด้านข้างโดยรอบ ความยาวลำตัว 23 เซนติเมตร ความยาวหางประมาณ 17 เซนติเมตร อาศัยทำรังอยู่ตามโพรงไม้ ตกลูกปีละครั้งเดียว ครั้งละประมาณ 1-2 ตัว พบกระจายพันธุ์อยู่เฉพาะป่าดิบชื้นในคาบสมุทรมลายูเท่านั้น โดยเฉพาะในบริเวณที่ต่ำโดยเฉพาะในหุบเขาที่มีลำธารน้ำไหล โดยพบตั้งแต่ภาคใต้ของไทยแถบจังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป, มาเลเซีย, สิงคโปร์, บรูไน จนถึงเกาะบอร์เนียว กระรอกหน้ากระแตเป็นกระรอกที่มีข้อมูลทางวิชาการน้อยมาก ด้วยความที่เป็นกระรอกที่หาได้ยากมากที่สุดชนิดหนึ่ง ในประเทศไทย ถูกขึ้นชื่อเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 แต่ไม่พบการซื้อขายหรือเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเหมือนกระรอกชนิดอื่นแต่อย่างใ.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและกระรอกหน้ากระแต · ดูเพิ่มเติม »

กระรอกข้างลายท้องแดง

กระรอกข้างลายท้องแดง (Plantain squirrel) สัตว์ฟันแทะชนิดหนึ่ง จำพวกกระรอก กระรอกข้างลายท้องแดงที่พบในสิงคโปร์ เป็นกระรอกขนาดกลาง มีความยาวประมาณ 17-30 เซนติเมตร (7.9-12 นิ้ว) ส่วนหางยาว 16-23 เซนติเมตร (6-8 นิ้ว) มีลำตัวสีเทาหรือน้ำตาล มีจุดเด่น คือ ด้านข้างลำตัวมีแถบสีคล้ำและสีขาวตัดกันเห็นชัดเจน ที่มีขนสีเหลืองส้มหรือสีน้ำตาลส้ม หางมีจุดด่างสีดำและเขียวไพร ปลายหางมีสีแดง ซึ่งเห็นได้ชัดเจนเมื่อมองจากด้านล่าง กระจายพันธุ์ทั่วไปตั้งแต่คาบสมุทรมลายูลงไป จนถึงอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบได้ในภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป พบในป่าดิบชื้น มักชอบอยู่ตามชายป่าหรือตามป่ารุ่น ไม่ค่อยพบในป่าที่สมบูรณ์ นอกจากนี้ยังพบได้ในป่าชายเลน, สวนป่า และสวนผลไม้ เป็นกระรอกอีกชนิดหนึ่งที่พบบ่อยได้บ่อย หากินในเวลากลางวัน มีกิจกรรมมากในช่วงเช้ามืดและช่วงบ่ายแก่ ๆ อาศัยอยู่บนต้นไม้ในเรือนยอดระดับต่ำ ไม่จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองหรือสัตว์ป่าสงวนในประเทศไทยแต่อย่างใ.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและกระรอกข้างลายท้องแดง · ดูเพิ่มเติม »

กระจงควาย

กระจงควาย หรือ กระจงใหญ่ (Greater mouse-deer, Napu) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tragulus napu อยู่ในวงศ์ Tragulidae มีขาเล็กเรียว ซึ่งมีนิ้วเท้าข้างละ 4 นิ้ว ทั้งตัวผู้และตัวเมียไม่มีเขา แต่ตัวผู้จะมีเขี้ยวบนยาวเลยริมฝีปากบนลงมา เมื่อโตเต็มวัยมีน้ำหนักตัวประมาณ 5 กิโลกรัม ขนบนตัวสีน้ำตาลออกเทา มีจุดสีเข้มกว่ากระจายอยู่ทั่วไป ที่ใต้คอและบนหน้าอกมีลายพาดตามยาวสีขาว 5 ลาย ด้านใต้ท้องสีขาว หางค่อนข้างสั้นสีน้ำตาลอ่อนด้านบนและสีขาวด้านล่าง ปกติชอบอยู่โดดเดี่ยว นอกจากในฤดูผสมพันธุ์จึงจะอยู่เป็นคู่ ออกหากินในเวลากลางคืน กินอาหารได้แก่ หญ้าอ่อน ๆ, ผลไม้, ยอดไม้ และใบไม้อ่อน ในเวลากลางวันจะหลบพักนอนตามหลืบหินและโพรงไม้ ออกลูกครั้งละ 1 ตัว แต่บางครั้งก็พบออกลูกแฝด ระยะตั้งท้องนานประมาณ 5-6 เดือน พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนใต้ของประเทศพม่า, เทือกเขาตะนาวศรี ไปจนถึงแหลมมลายู, เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว นอกจากนี้แล้วยังพบได้ที่ภาคตะวันออกของไทยไปจนถึงตอนใต้ของกัมพูชาและเวียดนาม จัดเป็นกระจงอีกชนิดหนึ่ง ที่สามารถพบได้ในประเทศไทยนอกจาก กระจงเล็ก (T. kanchil) ที่มีขนาดตัวเล็กกว่า โดยมักอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ บางครั้งยังอาจพบได้ที่พื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น ป่าพรุหรือป่าชายเลนได้อีกด้วย จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 2 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและกระจงควาย · ดูเพิ่มเติม »

กระซู่

กระซู่, แรดสุมาตรา หรือ แรดขน (Sumatran RhinocerosWilson, D. E., and Reeder, D. M. (eds), ed (2005).; ชื่อวิทยาศาสตร์: Dicerorhinus sumatrensis) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคี่จำพวกแรด กระซู่เป็นแรดที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก และเป็นแรดเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Dicerorhinus มีลักษณะเด่นคือมี นอ 2 นอ เหมือนแรดแอฟริกา โดยนอจะไม่ตั้งยาวขึ้นมาเหมือนแรดชวา นอหน้าใหญ่กว่านอหลัง โดยทั่วไปยาว 15-25 ซม.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและกระซู่ · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพอำมหิต

อะโพคาลิปส์ นาว (Apocalypse Now) เป็นภาพยนตร์สงครามที่ออกฉายในปี..

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและกองทัพอำมหิต · ดูเพิ่มเติม »

กากหมากตาฤๅษี

กากหมากตาฤๅษี หรือขนุนดิน มีชื่อสามัญว่า Nutmeg tree เป็นพืชประเภทพืชเบียนหรือกาฝาก อยู่ในวงศ์ขนุนดิน (Balanophoraceae) ในประเทศไทยพบพรรณไม้วงศ์ขนุนดิน 1 สกุล คือ สกุล Balanophora มีทั้งหมด 5 ชนิด โดยหนึ่งในนั้นได้แก่ กากหมากตาฤๅษี.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและกากหมากตาฤๅษี · ดูเพิ่มเติม »

การเดินป่าในเพชรพระอุมา

การเดินป่าในเพชรพระอุมา พนมเทียนได้สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถ ทักษะและความรู้ในการเดินป่าของพรานป่าและพรานพื้นเมืองในเพชรพระอุมา ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการดำรงชีพภายในป่าของผู้ที่ประกอบอาชีพเป็นพรานนำทางหรือพรานล่าสัตว์ รวมทั้งนักเดินป่าหรือนักท่องเที่ยวที่นิยมการเดินป่าและผจญภัยในปัจจุบัน การเดินทางเข้าป่าในแต่ละครั้งใช้ระยะเวลายาวนาน มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้ถึงทักษะในการล่าสัตว์ เพื่อใช้เป็นอาหารสำหรับการดำรงชีพในป่า การสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัวรวมถึงทิศทางในการกำหนดจุดพักแรม ในเพชรพระอุมา พนมเทียนกำหนดให้รพินทร์ ไพรวัลย์ แงซาย พรานบุญคำ พรานจัน พรานเกิดและพรานเส่ย มีทักษะและประสบการณ์ในการเป็นพรานนำทางและพรานล่าสัตว์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะของความสำคัญในการดำรงชีพในป่า ได้แก.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและการเดินป่าในเพชรพระอุมา · ดูเพิ่มเติม »

การเปลี่ยนแปลงแทนที่ขั้นปฐมภูมิ

การเปลี่ยนแปลงแทนที่ขั้นปฐมภูมิ พื้นดินหนาตัวขึ้นจากการทับถมจากซากพืช และมีการเพิ่มขึ้นของจำนวนชนิดพืชและสัตว์ในระบบนิเวศ ตัวเลข I-VII ระบุถึงขั้นต่าง ๆ ในการเปลี่ยนแปลงแทนที่ขั้นปฐมภูมิ การเปลี่ยนแปลงแทนที่ขั้นปฐมภูมิบนเกาะแรงกิโทโท การเปลี่ยนแปลงแทนที่ขั้นปฐมภูมิ เป็นประเภทหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงแทนที่เชิงนิเวศ ซึ่งเกิดในพื้นที่ซึ่งไม่เคยมีสิ่งมีชีวิตมาก่อน อาทิ พื้นลาวาจากการปะทุของภูเขาไฟ.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและการเปลี่ยนแปลงแทนที่ขั้นปฐมภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

กิ้งก่าบินคอแดง

กิ้งก่าบินคอแดง หรือ กะปอมปีกคอแดง ในภาษาอีสาน (Blanford's flying lizard, Orange winged flying lizard, Banded winged flying lizard; 裸耳飞蜥) จัดเป็นกิ้งก่าบินชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Draco blanfordii อยู่ในวงศ์กิ้งก่า (Agamidae) มีเหนียงสีเหลืองอ่อน มีประสีดำบนพื้นสีแดงสด ปีกมีลายบั้งสีเข้มสลับกับสีส้มเหลือง อันเป็นที่มาของชื่อ ลำตัวสีเขียวปนเทา กินปลวกต้นไม้, หนอนขนาดเล็ก และมดไม้ยักษ์ เป็นอาหาร ตัวเมียวางไข่ในพื้นทราย หรือจอมปลวกบนต้นไม้ หรือโพรงไม้ ครั้งละ 5-6 ฟอง พบมากที่สุด คือ 10 ฟอง แพร่กระจายพันธุ์ได้กว้างไกลตั้งแต่อนุทวีปอินเดียจนถึงภูมิภาคอินโดจีน และประเทศจีนตอนล่าง เช่น มณฑลยูนนาน สำหรับในประเทศไทย พบได้ทางภาคเหนือลงมาจนถึงภาคใต้ตอนล่าง และมาเลเซีย จัดเป็นกิ้งก่าบินที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ มีความยาวตั้งแต่ปลายหัวจรดโคนหาง 4.75 นิ้ว และหางมีความยาว 9นิ้ว มักพบในป่าดิบชื้นที่ราบ หรือ ป่าดิบเขาระดับกลาง และป่าเบญจพรรณ กิ้งก่าบินคอแดง จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ตามกฎหมายในประเทศไท.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและกิ้งก่าบินคอแดง · ดูเพิ่มเติม »

กิ้งก่าดงคอสีฟ้า

กิ้งก่าดงคอสีฟ้า (Blue-crested Lizard,Indo-Chinese Forest Lizard,Indo-Chinese Bloodsucker) เป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งก่า ในวงศ์กิ้งก่า (Agamidae) ชนิดหนึ่ง จัดเป็นกิ้งก่าขนาดใหญ่ คล้ายคลึงกับกิ้งก่าหัวแดง แต่บริเวณท้ายทอยมีหนามเล็กๆยื่นออกมา 2 คู่ ในตัวเต็มวัย มีสีสันสวยงามมาก พื้นลำตัวสีน้ำตาลเข้มไล่ลงมาอ่อน ตัดกับจุดกลมสีครีม 3 จุด บริเวณข้างลำตัว ตั้งแต่หัวไล่ลงมาจนหลังมีสีฟ้าเข้มแกมเขียว หน้ามีคาดสีขาว เป็นสัตว์ที่มีอาณาเขต ต้นไม้หนึ่งต้นที่พบ อาจพบมีมากกว่า 1 ตัว โดยจะมีตัวผู้ ปกครอง อยู่เสมอ ถิ่นอาศัยค่อนข้างแตกต่างกับกิ้งก่าคอแดง กิ้งก่าวัยอ่อนมักอาศัยอยู่ตามโคนต้นไม้เล็กๆ หรือตามพุ่มไม้ ตัวเต็มวัยมักเกาะหากินตามลำต้นไม้ขนาดใหญ่ หรือ ระดับเรือนยอด โดยวิ่งกินแมลงขนาดใหญ่ตามเปลือกไม้ หรือ พื้น ได้ดี เช่น มด ด้วง แมลงสาบ กิ้งก่าวัยอ่อนชอบกิน ตัวอ่อนด้วง และ แมลงสาบป่า ขนาดเล็ก ช่วงฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะปกป้องอาณาเขตต้นไม้และตัวเมียอย่างดุร้าย ขุดหลุมวางไข่ครั้งละ 7-8 ฟอง มักพบในป่าที่ค่อนข้างแห้ง หรือ ตามต้นไม้ริมถนน พบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ตอนล่าง พบได้มากในป่าฮาลา-บาล.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและกิ้งก่าดงคอสีฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

กุหลาบลอเรนเซีย

กุหลาบลอเรนเซีย หรือ ช้างลอเรนเซีย เป็นกล้วยไม้ชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในสกุลกุหลาบ เป็นกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดที่ทิศตะวันออกของเกาะมินดาเนา ในหมู่เกาะฟิลิปปิน มีถิ่นที่อยู่เดียวกับแวนด้า แซนเดอเรียน่า (Euanthe sanderiana) โดยที่ โรเบลิน เป็นผู้สำรวจพบกล้วยไม้กุหลาบชนิดนี้ ได้ตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ เลดี้ลอเรนซ์ ภรรยาของนายกสมาคมพืชกรรมแห่งประเทศอังกฤษ ลักษณะของกุหลาบลอเรนเซีย มีความคล้ายคลึงกันกับกุหลาบกระเป๋าปิด (A. odoratum) ซึ่งเป็นกล้วยไม้สกุลเดียวกันที่พบทางภาคใต้ของประเทศไทยมาก แต่มีความแตกต่าง คือ ต้นและใบใหญ่กว่าเล็กน้อย ดอกมีขนาดใหญ่กว่าอย่างสังเกตได้ชัดเจน เดือยดอกของกุหลาบลอเรนเซียค่อนข้างเหยียดลง ไม่โค้งงอมา ปลายแผ่นปากมีริมซึ่งมีลักษณะเป็นฟันเล็กละเอียดเห็นได้ชัด นอกจากนั้นยังมีกลีบยาวอีกด้วย ถุงที่โคนเดือยดอกของกุหลาบลอเรนเซียนั้นใหญ่ของกุหลาบกระเป๋าปิดเกือบเท่าตัว นอกจากนั้นกุหลาบกระเป๋าปิดยังมีกลิ่นแรงกว่าอย่างสังเกตได้ชัดเจน อีกทั้งการออกดอก กุหลาบลอเรนเซียก็ยังมีการออกดอกที่ล่าช้ากว่าถึง 3 เดือน โดยจะออกดอกในช่วงกลางปี ราวเดือนสิงหาคม-กันยายน สำหรับในประเทศไทยแล้ว กุหลาบลอเรนเซียมีการนำเข้ามาปลูกกันเป็นเวลานานกว่า 30 ปีมาแล้ว โดยผสมข้ามสกุลกับกล้วยไม้สกุลแวนด้า หรือสกุลช้าง จนเกิดเป็นความหลากหลายทางสายพันธุ์ต่าง ๆ อาทิ A. l. var.amesiana ซึ่งมีช่อดอกยาวและดอกมีสีเหลืองส้ม ปลายกลีบมีแต้มสีม่วง และ A. l. var.sanderana มีช่อดอกยาวถึง 50 เซนติเมตร ปากมีสีอมเหลือง ส่วนกลีบมีสีขาวครีม และมีแต้มสีม่วงแดงที่ปลายกลีบทุกกลีบ สำหรับสถานภาพในธรรมชาติของกุหลาบลอเรนเซียในปัจจุบันนั้น ใกล้สูญพันธุ์เนื่องจากถิ่นที่อยู่ซึ่งเป็นป่าดิบชื้นนั้นถูกคุกคาม.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและกุหลาบลอเรนเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ฝาง

ฝาง (Caesalpinia sappan, suō, 苏木 (植物)) เป็นพืชสมุนไพรที่อยู่ในวงศ์ถั่ว (Fabaceae) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Caesalpinia sappan Linn ฝางจัดได้ว่าเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง พบได้ตลอดเขตร้อนในอินเดีย ศรีลังกา พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม และจีนตอนใต้ สำหรับประเทศไทยจะพบในพื้นที่ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าเขาหินปูนแห้งแล้ง นอกจากนี้ยังพบบริเวณป่าดงดิบอีกด้วย ส่วนในต่างประเทศพบได้ที่ทวีปอเมริกาใต้ ส่วนที่ใช้ทำสมุนไพรคือ แก่นไม้ของฝาง สรรพคุณทางสมุนไพรของฝางมีมากมาย เช่น บำรุงโลหิต ขับเสมหะ แก้อาการร้อนใน เป็นต้น และเมื่อนำส่วนต่าง ๆ ของฝางไปสกัดแล้วพบว่าให้สารเคมีที่มีประโยชน์ทางการแพทย์หลายชนิดอีกด้วย สืบค้นวันที่ 2 มีนาคม..

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและฝาง · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น

ูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าภูมิอากาศแบบเส้นศูนย์สูตร เป็นภูมิอากาศแบบร้อนชื้นมักพบบริเวณแถบบเส้นศูนย์สูตร ประเทศที่มีภูมิอากาศแบบนี้มักจะมีป่าดิบชื้น ในระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน เขตภูมิอากาศนี้แทนด้วยอักษร Af.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น · ดูเพิ่มเติม »

มังตาน

อกมังตาน ต้นมังตาน มังตาน เป็นชื่อไม้ต้นชนิด Schima wallichii (DC.) Korth.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและมังตาน · ดูเพิ่มเติม »

มดหนามกระทิงอกแดง

มดหนามกระทิงอกแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Polyrhachis rufipes Smith, 1858) เป็นมดป่า ขนาดประมาณ 10-12 มม.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและมดหนามกระทิงอกแดง · ดูเพิ่มเติม »

มดทหารศรีลังกา

มดทหารศรีลังกา เป็น มดทหาร สีน้ำตาลแดง พบในตอนใต้ของ อินเดีย, ศรีลังกา, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย ไม่มีตา ขนาดยาวประมาณ 3 mm หากินใต้ชั้น ใบไม้ถับถม ในป่าและบริเวณที่มีต้นไม้หนาแน่น หนวด มี 10 ปล้อง เหมือนกับ สกุลมดทหาร หลายชนิด ฐานหนวด ยาวมากเกินหัว หัวเรียบมัน สามารถมองเห็นช่องว่างระหว่างกรามทั้งสองและขอบด้านหน้าของริมฝีปากบนชัดเจน อก และหัวสีน้ำตาลเข้ม propodeum มีลักษณะเป็นมุมแหลม เอวปล้องที่1 และ 2 ใหญ่ รูปกรวย มันเงา ท้อง รี สีอ่อนกึ่งโปร่งแสง อกด้านหน้ากว้างและแคบด้านท้าย พบใน ป่าดิบชื้น และ ป่าเบญจพรรณ สร้างรังชั่วคราวบนพื้นดิน และในท่อนไม้ผุ มักเดินเป็นแถวยาวในป่า กินมดชนิดอื่น ต่อ และสัตว์ข้อปล้องอื่นเป็นอาหาร เหมือนกับมดทหารชนิดอื่นๆ ในประเทศไทย พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและมดทหารศรีลังกา · ดูเพิ่มเติม »

ยางน่องเถา

งน่องเถา หรือยางน่องเครือ เป็นไม้พุ่มเลื้อย ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงกันข้ามกัน แผ่นใบหนา สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดที่โคน สีขาว กางดอกสีเหลืองอ่อน ปลายกลีบดอกแผ่แยกเป็น 5 กลีบ ชื่อพื้นเมืองอื่น: เครืองน่อง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แม่ฮ่องสอน) ตะเกาะแบเวาะ (มลายู ภาคใต้) น่อง (ภาคกลาง นครราชสีมา) บานบุรีป่า (ภาคใต้) ยางน่องเครือ (อุบลราชธานี) ยางน่องเถา (จันทบุรี ปราจีนบุรี) เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและยางน่องเถา · ดูเพิ่มเติม »

ยุคหินกลาง (แอฟริกา)

ในสาขาบรรพมานุษยวิทยาและชีววิทยาวิวัฒนาการเป็นต้น ยุคหินกลาง (Middle Stone Age ตัวย่อ MSA) เป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์ของแอฟริการะหว่างยุคหินต้น (Early Stone Age) และยุคหินหลัง ๆ (Later Stone Age) โดยทั่วไปพิจารณาว่าเริ่มประมาณ 280,000 ปีก่อนและยุติประมาณ 50,000-25,000 ปีก่อน จุดเริ่มต้นของเครื่องมือหินแบบ MSA อาจเริ่มตั้งแต่ 550,000-500,000 ปีก่อน และดังนั้น นักวิจัยบางคนพิจารณาว่านั่นเป็นจุดเริ่มต้นของ MSA MSA บ่อยครั้งเข้าใจผิดว่าเท่ากับยุคหินเก่ากลาง (Middle Paleolithic) ของยุโรป เพราะมีระยะเวลาเกือบเหมือนกัน แต่ยุคหินเก่ากลางของยุโรปสัมพันธ์กับสปีชีส์มนุษย์ที่ต่างกัน ซึ่งก็คือ ''Homo neanderthalensis'' เปรียบเทียบกับแอฟริกาที่ไม่มีมนุษย์สปีชีส์นี้ในช่วง MSA นอกจากนั้นแล้ว งานโบราณคดีในแอฟริกายังได้ให้หลักฐานเป็นจำนวนมากที่แสดงว่า พฤติกรรมและลักษณะทางประชานของมนุษย์ปัจจุบันได้เริ่มพัฒนาขึ้นในแอฟริกาช่วง MSA ก่อนกว่าที่พบในยุโรปช่วงยุคหินเก่ากลางอย่างมาก อนึ่ง ราชบัณฑิตยสถานแปลคำว่า Mesolithic period (12,000-7,000 ปีก่อนในยุโรป และ 22,000-11,500 ปีก่อนในลิแวนต์) ว่า "ยุคหินกลาง" ซึ่งอาจซ้ำกับคำแปลของ Middle Stone Age (280,000-25,000 ปีก่อนในแอฟริกา) ได้เหมือนกัน แต่ให้สังเกตว่าคำแต่ละคำหมายเอาสิ่งที่ต่างกันแทบสิ้นเชิง MSA สัมพันธ์กับทั้งมนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน (anatomically modern humans) สปีชีส์ Homo sapiens และกับมนุษย์โบราณ (archaic Homo sapiens) ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่า Homo helmei ด้วย หลักฐานที่เป็นรูปธรรมยุคต้น ๆ ของ MSA มาจากโบราณสถานต่าง ๆ ใน Gademotta Formation ในเอธิโอเปีย, หมวดหินแคปธิวริน (Kapthurin Formation) ในประเทศเคนยา และ Kathu Pan ในแอฟริกาใต้ เครื่องมือยุคหินกลางแอฟริกา (MSA) จากถ้ำบลอมโบส์ แอฟริกาใต้.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและยุคหินกลาง (แอฟริกา) · ดูเพิ่มเติม »

ระบบนิเวศป่าไม้

ระบบนิเวศป่าไม้ ระบบนิเวศป่าไม้ (Forest ecosystem) ระบบนิเวศป่าไม้เป็นศูนย์รวมความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญที่สุดในโลก และเป็นปัจจัยหลักที่เกื้อกูลการดำรงชีวิตของประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ในบริเวณป่า ทั้งยังช่วยควบคุมสภาพอากาศให้เหมาะสม เนื่องจากเป็นแหล่งดูดซับและกักเก็บคาร์บอน การที่มนุษย์ตัดไม้ทำลายป่าการแบ่งป่าเป็นผืนเล็กผืนน้อย และทำให้ป่าเสื่อมสภาพลง ส่งผลให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของป่าไม้ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในป่าเขตร้อนที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและระบบนิเวศป่าไม้ · ดูเพิ่มเติม »

ลิงแสม

ลิงแสม (Long-tailed macaque, Crab-eating macaque) เป็นลิงชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macaca fascicularis จัดอยู่ในวงศ์ลิงโลกเก่า (Cercopithecidae).

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและลิงแสม · ดูเพิ่มเติม »

ลิงไลออนทามารินสีทอง

ลิงไลออนทามารินสีทอง หรือ ลิงมาโมเสทสีทอง (Golden lion tamarin, Golden marmoset) เป็นลิงขนาดเล็กอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นในทวีปอเมริกาใต้ มีลักษณะเด่นคือ มีขนยาวฟูสีทองตลอดทั้งตัว โดยเฉพาะส่วนหัวทำให้แลดูเหมือนสิงโตตัวผู้ จัดเป็นลิงที่ีมีความสวยที่สุดในบรรดาลิงไลออนทามารินทั้ง 4 ชนิด มีหางที่ยาวไว้ใช้เกาะเกี่ยวต้นไม้ มีอุปนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ เป็นลิงขนาดเล็กมีขนาดความยาวตั้งแต่ส่วนหัวและลำตัวประมาณ 7.5-8.75 นิ้ว (19-22 เซนติเมตร) ความยาวหาง 10.25-13.5 นิ้ว (26-34 เซนติเมตร) น้ำหนัก 14-29 ออนซ์ (400-800 กรัม) ลิงไลออนทามารินสีทอง เป็นลิงที่อาศัยอยู่กันเป็นฝูงและเป็นสังคมแบบครอบครัว ลิงตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลลูกลิงขนาดเล็ก โดยการให้ลูกลิงเกาะขึ้นหลัง และหาอาหารให้ด้วย ขณะที่ลิงที่ยังมีอายุน้อยมักจะให้กำเนิดลูกแฝด มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 15 ปี พฤติกรรมตามปกติอาศัยอยู่บนต้นไม้ นอนในโพรงในเวลากลางคืนและออกหาอาหารในเวลากลางวัน โดยมีพฤติกรรมไต่ตามกิ่งไม้ต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง มีนิ้วที่ยาวช่วยให้สามารถเกาะเกี่ยวและปีนป่ายต้นไม้่ได้สูง กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและสัตว์ เช่น ดอกไม้, ผลไม้, ยางไม้, แมลง หรือลูกนกตัวเล็ก ๆ แพร่กระจายพันธุ์ในป่าดิบชื้นของบราซิลทางฝั่งตะวันออกติดมหาสมุทรแอตแลนติก ปัจจุบันเป็นสัตว์ที่อยู่ในสถา่นะใกล้สูญพันธุ์เพราะถิ่นที่อยู่ถูกทำลายไปจากการนำไปเป็นพื้นที่เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม และถูกจับขายเป็นสัตว์เลี้ยง ซึ่งมีทั้งถูกกฏหมายและผิดกฏหม.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและลิงไลออนทามารินสีทอง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กบลูกศรพิษ

กบลูกศรพิษ (Poison dart frogs, Dart-poison frogs, Poison frogs, Poison arrow frogs) เป็นวงศ์ของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง ในอันดับกบ (Anura) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dendrobatidae.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและวงศ์กบลูกศรพิษ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กิ้งก่า

วงศ์กิ้งก่า (Dragon lizards, Old Wolrd lizards, ชื่อวิทยาศาสตร์: Agamidae) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับย่อยกิ้งก่า วงศ์หนึ่ง ที่มีจำนวนสมาชิกมากและมีความหลากหลายมาก ประมาณเกือบ 500 ชนิด จนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย (ดูในตาราง) มีลักษณะโดยรวม คือ มีขา 4 ข้างเห็นชัดเจน มีเกล็ดปกคลุมด้านหลังและด้านท้องของลำตัว เกล็ดมีขนาดเล็กเรียงตัวซ้อนเหลื่อมกันหรือต่อเนื่องกัน ไม่มีกระดูกในชั้นหนัง กระดูกหัวไหล่มีกระดูกอินเตอร์คลาวิเคิลเป็นรูปตัวอักษรที และกระดูกไหปลาร้ามีรูปร่างโค้ง มีหางยาว แต่โดยทั่วไปน้อยกว่า 1.4 เท่าของความยาวจากปลายจมูกถึงรูก้น ไม่สามารถสะบัดหางให้หลุดจากลำตัวได้ ยกเว้นในสกุล Uromystax พื้นผิวด้านบนของลิ้นมีตุ่ม ฟันที่ขากรรไกรเกาะติดกับพื้นผิวกระดูกโดยตรง กระดูกพเทอรีกอยด์ไม่มีฟัน พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในทวีปเอเชีย, แอฟริกา, ออสเตรเลีย ส่วนใหญ่ออกลูกเป็นไข่ มีเพียงบางสกุลเท่านั้นที่ตกลูกเป็นตัว สำหรับในประเทศไทย มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด อาทิ ตะกอง (Physignathus cocincinus) ซึ่งเป็นกิ้งก่าขนาดใหญ่ พบได้ในป่าดิบชื้นใกล้แหล่งน้ำในป่า เช่น น้ำตก ในภูมิภาคอินโดจีน, กิ้งก่าบินคอแดง (Draco blanfordii), กิ้งก่าสวน (Calotes mystaceus), หรือ แย้เส้น (Leiolepis belliana) ที่พบได้ทั่วไปตามพื้นดินภาคอีสาน.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและวงศ์กิ้งก่า · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยกิ้งก่า

วงศ์ย่อยกิ้งก่า (Agamid lizards, Old world arboreal lizards; ชื่อวิทยาศาสตร์: Agaminae) เป็นวงศ์ย่อยของกิ้งก่าในวงศ์ Agamidae เป็นวงศ์ย่อยที่มีจำนวนสมาชิกหลากหลายที่สุดของวงศ์นี้ มีประมาณ 52 สกุล 421 ชนิด มีลักษณะโดยรวม คือ มีช่องเปิดบริเวณแอ่งเบ้าตาใหญ่ และมีช่องเปิดบริเวณกล่องหูใหญ่ มีความยาวของลำตัวแตกต่างกันมากตั้งแต่เพียงไม่กี่เซนติเมตรจนถึง 1.1 เมตร บางชนิดก็มีส่วนหางที่ยาวมาก รูปร่างมีแตกต่างกันตั้งแต่อ้วนป้อมและขาสั้นในสกุล Moloch และเรียวยาวและขายาวในสกุล Sitana เกล็ดปกคลุมลำตัวในหลายชนิดเปลี่ยนสภาพเป็นโครงสร้างอื่น เช่น กิ้งก่าแผงคอ (Chlamydosaurus kingii) ที่เป็นแผงคอที่สามารถกางแผ่ออกได้เมื่อตกใจหรือขู่ศัตรูให้กลัว หรือเป็นหนามในสกุล Moloch และ Acanthosaura โครงสร้างเหล่านี้เป็นลักษณะแตกต่างระหว่างเพศของหลายชนิด ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนพื้นดินหรือบนต้นไม้หรือแม้แต่ใช้ชีวิตแบบครึ่งบกครึ่งน้ำ อย่าง ตะกอง (Physignathus cocincinus) ที่มีพฤติกรรมอาศัยในป่าดิบชื้นที่ใกล้แหล่งน้ำในป่า เช่น ลำธารหรือน้ำตก ว่ายน้ำเก่งมาก แต่ไม่มีชนิดใดที่อาศัยอยู่ในโพรงดิน ในสกุล Draco ที่พบในป่าดิบในแหลมมลายู ที่มีแผ่นหนังข้างลำตัวกางออกเพื่อร่อนได้ในอากาศ ส่วนใหญ่หากินในเวลากลางวัน และเปลี่ยนอุณหภูมิในร่างกายให้อบอุ่นขึ้นด้วยการนอนผึ่งแดด บางสกุล เช่น Agama มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นสังคม และมีการจัดลำดับในสังคมด้วย กินอาหารโดยเฉพาะสัตว์ขาปล้องเป็นอาหาร โดยรอให้เหยื่อเข้ามาหาเอง ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ในโพรงดินหรือทราย แต่ในสกุล Phrynocephalus ตกลูกเป็นตัว.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและวงศ์ย่อยกิ้งก่า · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยลิงโลกเก่า

วงศ์ย่อยลิงโลกเก่า (Old world monkey) เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับวานร (Primates) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Cercopithecinae จัดอยู่ในวงศ์ใหญ่ Cercopithecidae หรือ ลิงโลกเก่า ลิงที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้ั มีประมาณ 71 ชนิด 12 สกุล โดยจะปรับตัวให้อาศัยในแต่ละภูมิประเทศ ภูมิอากาศ บางชนิดมีหางยาวเหมาะกับการอาศัยบนต้นไม้ บางชนิดมีหางสั้นหรือกระทั่งไม่มีหางเลย แต่ทุกชนิดมีหัวแม่มือที่วิวัฒนาการมาเพื่อใช้สำหรับหยิบจับของต่าง ๆ และปีนป่าย รวมถึงบางชนิดสามารถเปลี่ยนสีตัวเองให้เข้มหรือสวยขึ้นได้ด้วยในฤดูผสมพันธุ์ อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง และมีลำดับชั้นในฝูงตามลำดับอาวุโส อาศัยอยู่ในหลายภูมิประเทศ หลายภูมิอากาศ ทั้งป่าดิบ, ป่าฝน, สะวันนา, ภูเขาสูง หรือกระทั่งพื้นที่เป็นหิมะหรือน้ำแข็งอันหนาวเย็นในประเทศญี่ปุ่น ส่วนใหญ่กินอาหารได้หลากหลายทั้ง ผลไม้, ใบไม้, เมล็ดพืช, เห็ด, แมลง ตลอดจนแมงมุมขนาดเล็กและสัตว์ขนาดเล็ก ทุกชนิดมีถุงที่ข้างแก้มใช้เก็บอาหาร ระยะเวลาตั้งท้องเป็นเวลาประมาณ 6-7 เดือน หย่านมเมื่ออายุได้ 3-12 เดือน และโตเต็มที่ภายใน 3-5 ปี อายุขัยโดยเฉลี่ยบางชนิดอาจสูงได้ถึง 50 ปี Groves, C. (2005).

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและวงศ์ย่อยลิงโลกเก่า · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยอึ่งอ่าง

วงศ์ย่อยอึ่งอ่าง เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำพวกกบในวงศ์ใหญ่ Microhylidae ใช้ชื่อวงศ์ว่า Microhylinae กะโหลกมีกระดูกเอธมอยด์หนึ่งคู่และมีกระดูกพรีโวเมอร์ขนาดเล็กหนึ่งชิ้น ไม่มีฟันที่กระดูกแมกซิลลา กระดูกสันหลังมีเซนทรัมเป็นแบบอย่างของโพรซีลัสและแบบไดพลาสิโอซีลัส กระดูกหัวไหล่มีกระดูกไหปลาร้าและกระดูกโพรโคราคอยด์ซึ่งมีขนาดแตกต่างกันตั้งแต่เล็ก-ใหญ่ ส่วนใหญ่อาศัยบนพื้นดินตั้งแต่พื้นที่แห้งแล้งของป่าหญ้า-ป่าดิบชื้นแต่ปีนป่ายต้นไม้ได้ดี ลูกอ๊อดส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำ ยกเว้นสกุล Myersiella ที่เอมบริโอเจริญภายในไข่และลูกอ๊อดออกจากไข่เป็นรูปร่างเหมือนตัวเต็มวัย และลูกอ๊อดของชนิด Synecope antenori ไม่กินอาหาร.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและวงศ์ย่อยอึ่งอ่าง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยงูแมวเซา

วงศ์ย่อยงูแมวเซา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Viperinae; Pitless viper, True viper, Old World viper, True adder) เป็นวงศ์ย่อยของงูในวงศ์ Viperidae มีรูปร่างโดยรวม คือ ไม่มีแอ่งรับรู้ถึงคลื่นอินฟราเรดเหมือนงูในวงศ์ย่อย Crotalinae กระดูกพาลาทีนไม่มีก้านกระดูกโคเอนัล กระดูกพรีฟอนทัลไม่มีก้านกระดูกออร์ไบทัล มีขนาดลำตัวปานกลาง โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 30 เซนติเมตร โดยในชนิด Bitis gabonica เป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ยาวได้มากกว่า 2 เมตร พบอาศัยในพื้นที่มีสภาพนิเวศกว้างขวางมากตั้งแต่ในป่าดิบชื้นจนถึงทะเลทราย แพร่กระจายพันธุ์ในพื้นที่ที่เป็นเส้นศูนย์สูตรจนถึงขั้วโลก ออกหากินทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน โดยช่วงเวลาที่หากินสัมพันธ์กับสภาวะอากาศและระดับอุณหภูมิในแต่ละพื้นที่ เช่น สกุล Vipera ที่พบในทวีปยุโรปออกหากินในเวลากลางวัน แต่สกุล Cerastes ที่พบในทะเลทรายออกหากินในเวลากลางคืน โดยมีพฤติกรรมทั้งหากินในระดับพื้นดินและบนต้นไม้ในระดับต่ำ เช่น สกุล Atheris เป็นต้น กินอาหารซึ่งได้แก่ สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก ขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบวางไข่และออกลูกเป็นตัว มีทั้งสิ้น 12 สกุล 65 ชนิด กระจายไปในทวีปยุโรป, แอฟริกา, เอเชีย สำหรับในประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียว คือ งูแมวเซา (Daboia russellii) ซึ่งเป็นงูที่มีพิษร้ายแรงมากในการทำลายระบบโลหิต และจัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Daboia.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและวงศ์ย่อยงูแมวเซา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์งูโบอา

วงศ์งูโบอา หรือ วงศ์งูเหลือมโบอา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Boidae; Boa, Anaconda) เป็นวงศ์ของงูที่ไม่มีพิษขนาดใหญ่วงศ์หนึ่ง มีรูปร่างคล้ายกับงูในวงศ์งูเหลือม (Pythonidae) จึงมักสร้างความสับสนให้อยู่เสมอ ๆ มีลักษณะโดยรวม คือ กระดูกพรีแมคซิลลาไม่มีฟัน กระดูกแมคซิลลาเรียงตัวตามยาวและมีฟัน ช่องเปิดตาอยู่ตรงรอยต่อระหว่างกระดูกฟรอนทัลกับกระดูกพาไรทัล กระดูกซูปราออคซิพิทัลมีสันใหญ่ ขากรรไกรล่างมีกระดูกโคโรนอยด์ มีกระดูกระยางค์ขาคู่หลังที่ยังลดรูปไม่หมดและเป็นแท่งขนาดเล็กที่มองเห็นได้ทางช่องเปิดทวารร่วม และมีกระดูกเชิงกรานขาคู่หลังที่ยังลดรูปไม่หมดฝังอยู่ในกล้ามเนื้อ ปอดข้างซ้ายค่อนข้างเจริญ มีท่อนำไข่ทั้งสองข้างเจริญเท่ากัน งูในวงศ์นี้ มีทั้งหมด 8 สกุล แบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย มีทั้งสิ้น 43 ชนิด กระจายพันธุ์ไปในหลายพื้นที่รอบโลก ทั้ง ทวีปเอเชีย, ทวีปแอฟริกา, ทวีปอเมริกาใต้ ทั้งที่เป็นแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะต่าง ๆ กลางทะเล เช่น ศรีลังกา, เกาะมาดากัสการ์, หมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ เช่น ฟิจิ, หมู่เกาะโซโลมอน, เมลานีเซีย และตองกา เป็นต้น โดยตัวอย่างงูในวงศ์นี้ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ งูอนาคอนดา คือ งูที่อยู่ในสกุล Eunectes ที่อยู่ในวงศ์ย่อย Boinae ซึ่งโตเต็มที่ยาวได้ถึง 11.5 เมตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนิด Eunectes murinus หรือ งูอนาคอนดาเขียว ที่เป็นงูที่มีน้ำหนักตัวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยอาจมีน้ำหนักได้ถึง 250 กิโลกรัม พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในป่าดิบชื้นของลุ่มแม่น้ำอเมซอน ทวีปอเมริกาใต้.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและวงศ์งูโบอา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์งูเหลือม

วงศ์งูเหลือม (Python) เป็นวงศ์ของงูไม่มีพิษขนาดใหญ่ นับเป็นงูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ใช้ชื่อวงศ์ว่า Pythonidae มีลักษณะโดยรวม คือ มีกระดูกพรีแมคซิลลามีฟันยกเว้นในสกุล Aspidites ที่ไม่มี กระดูกแมคซิลลาเรียงตัวกันตามยาว ช่องเปิดตาอยู่ตรงรอยต่อระหว่างกระดูกฟรอนทัลกับกระดูกพาไรทัล ขากรรไกรมีกระดูกโคโรนอยด์ มีกระดูกของรยางค์ต่อระหว่างกระดูกฟรอนทัลกับกระดูกพาไรทัล ขากรรไกรล่างมีกระดูกโคโรนอยด์ มีกระดูกของรยางค์ขาคู่หลังที่ยังลดรูปไม่หมดและเป็นแท่งขนาดเล็กที่มองเห็นได้ทางช่องเปิดทวารร่วม มีกระดูกเชิงกรานขนาดเล็กที่ยังลดรูปไม่หมดฝังอยู่ในกล้ามเนื้อของลำตัว มีปอดข้างซ้ายใหญ่ มีท่อนำไข่มั้งสองข้างเจริญเท่ากัน มีแอ่งรับคลื่นความร้อนกระจายอยู่บริเวณขอบปากบนและล่าง เป็นงูขนาดใหญ่และไม่มีพิษ จึงมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงและเรี่ยวแรงพละกำลังมาก จึงใช้วิธีการรัดเหยื่อจนกระดูกหักและขาดใจตายจึงกลืนกินเข้าไปทั้งตัว ล่าเหยื่อด้วยการรอให้เข้ามาใกล้แล้วจึงเข้ารัด มีการกระจายพันธุ์ในหลายภูมิประเทศทั้งป่าดิบชื้น, ทะเลทราย ไปจนเกาะแก่งต่าง ๆ กลางทะเล หรือในชุมชนเมือง ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ พบตั้งแต่ทะเลทรายซาฮาราในทวีปแอฟริกา, เอเชียใต้, เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงออสเตรเลีย มีขนาดตั้งแต่ 30 เซนติเมตร จนถึงกว่า 10 เมตร แต่มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 1 เมตร หากินทั้งบนบก, ในน้ำ และบนต้นไม้ โดยกินสัตว์เลือดอุ่นจำพวกสัตว์ปีกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นหลัก ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ ตัวเมียจะเป็นผู้ดูแลไข่ด้วยการกกจนกระทั่งฟักเป็นตัว ปริมาณไข่ขึ้นอยู่กับอายุและความแข็งแรงของตัวเมีย มีทั้งหมด 8 สกุล 26 ชนิด เป็นงูที่มนุษย์รู้จักและคุ้นเคยเป็นอย่างดี คือ งูหลาม (Python bivittatus) และงูเหลือม (P. reticulatus) ซึ่งเป็นงูที่มีขนาดใหญ่และยาวที่สุดในโลก ในประเทศไทยพบ 3 ชนิด คือ งูหลาม, งูเหลือม และงูหลามปากเป็ด (P. curtus) หลายชนิดนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง และมีราคาแพงอย่างยิ่งในตัวที่มีสีสันหรือลวดลายแปลกไปจากธรรมชาติ ซึ่งสามารถเพาะขยายพันธุ์กันได้ในที่เลี้ยง เช่น งูหลามบอล (P. regius) หลายชนิดใช้เนื้อ, กระดูกและหนังเป็นประโยชน์ได้ เช่น ใช้ทำเครื่องดนตรีบางประเภท หรือทำเป็นอุปกรณ์ใช้งาน เช่น กระเป๋า, รองเท้า, เข็มขัด หรือทำเครื่องรางของขลัง.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและวงศ์งูเหลือม · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาตะพัด

วงศ์ปลาตะพัด (Bonytongues fish, Arowana) วงศ์ปลาวงศ์หนึ่งในอันดับ Osteoglossiformes มีลักษณะสำคัญที่วิวัฒนาการจากปลาในยุคโบราณคือ มีส่วนกระดูกที่หัวแข็ง หรือลิ้นแข็งเป็นกระดูก คำว่า Osteoglossidae (/ออส-ที-โอ-กลอส-ซิ-ดี้/) เป็นภาษากรีกหมายถึง "ลิ้นกระดูก" อธิบายลักษณะของปลาในกลุ่มนี้.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและวงศ์ปลาตะพัด · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์นกปักษาสวรรค์

นกปักษาสวรรค์ หรือ นกการเวก หรือ นกวายุภักษ์ (Bird-of-paradise) เป็นวงศ์ของนกเกาะคอนวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Paradisaeidae เป็นนกที่มีสีสันสวยงามมาก โดยเฉพาะในตัวผู้จะมีขนตามตัวสีสันฉูดฉาดสวยงาม ขนหางเหยียดยาวเป็นเส้นโค้งอ่อนช้อย หรือม้วนเป็นรูปร่างแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิด จุดมุ่งหมายเพื่อดึงดูดตัวเมียที่มีความงามด้อยกว่า หรือบางกรณีก็เกิดพึงพอใจในตัวเมียต่างชนิดให้เข้ามาผสมพันธุ์ด้วย ขณะที่ตัวผู้บางชนิดจะเต้นไปบนพื้นดินเพื่อเกี้ยวพาราสีตัวเมีย นกปักษาสวรรค์กินลูกไม้ หรือแมลงบริเวณแหล่งอาศัยเป็นอาหาร นกปักษาสวรรค์ไม่ได้เป็นนกที่อยู่รวมกันเป็นฝูง หากแต่มักจะอยู่ตามลำพังตัวเดียว แต่ตัวผู้ทุกชนิดจะสนใจแต่เรื่องหาคู่ โดยจะเกี้ยวพาราสีตัวเมียเสมอ ๆ ตัวผู้จะมีพฤติกรรมผสมพันธุ์กับตัวเมียตัวเดิมตลอดช่วงของการเกี้ยวพาราสี หรือจะผสมพันธุ์ฺกับตัวเมียหลายตัว หรืออาจจะเป็นตัวเมียตัวเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีกในช่วงเวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ ขณะที่ตัวเมียจะไม่มีปัญหา เนื่องจากตัวเมียจะเป็นฝ่ายที่เลือกตัวผู้จากลีลาการเต้นเกี้ยวพาราสี โดยจะใช้เวลาหลายชั่วโมงในแต่ละวันเพื่อมองเฟ้นหาตัวผู้ที่เหมาะสม ซึ่งถือเป็นการคัดเลือกทางเพศที่มีมาตั้งแต่อดีต อีกทั้งยังมีการผสมข้ามสายพันธุ์จนได้เป็นนกพันทางอีกด้วย นกปักษาสวรรค์ กระจายพันธุ์อยู่ในป่าดิบชื้นของนิวกินี, หมู่เกาะโมลุกกะในอินโดนีเซีย และบางส่วนของออสเตรเลีย แบ่งออกได้เป็น 14 สกุล ประมาณ 40 ชนิด โดยกว่าครึ่งอยู่ในนิวกินี (บางข้อมูลจัดให้มี 15 สกุล) การศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่านกปักษาสวรรค์มีวิวัฒนาการเป็นของตัวเองมานานกว่า 24 ล้านปี จนมีความหลากหลายและความงามอย่างในปัจจุบัน วิวัฒนาการดังกล่าวเป็นการเดินทางทางชีววิทยาอันยาวนานกว่าจะแยกออกจากนกในวงศ์ใกล้เคียงกันที่สุด คือ อีกา (Corvidae) ซึ่งเป็นนกที่รู้จักเป็นอย่างดีว่าไม่สวย ในอดีต ขนของนกปักษาสวรรค์ถือเป็นเครื่องบรรณาการหรือสินค้ามีค่ามานานกว่า 2,000 ปี ขนนกใช้แทนเงินได้ การล่าจึงเกิดขึ้นอาจนับตั้งแต่การเริ่มมีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในถิ่นที่อยู่ของนกในวงศ์นี้ และได้กลายมาเป็นที่ต้องการของนักสะสมชาวยุโรป ภายหลังนกปักษาสวรรค์ตัวแรกเดินทางจากดินแดนหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิกไปพร้อมกับกองเรือของเฟอร์ดินันท์ แมกเจลเลน และเทียบท่าสเปนเมื่อปี ค.ศ. 1522 มีซากนกปักษาสวรรค์ที่ได้รับมอบเป็นบรรณาการกลับไปด้วย เมื่อชาวพื้นเมืองจับนกได้มักตัดขาทิ้ง ขณะนั้นชาวยุโรปยังไม่มีใครเคยเห็นนกปักษาสวรรค์ที่มีชีวิต จึงเล่าลือกันว่านกชนิดนี้ไม่มีขา คงต้องบินลงมาจากสวรรค์ อันเป็นที่มาของชื่อเรียกสามัญ ในยุคที่ตลาดค้านกปักษาสวรรค์เฟื่องฟู เพราะความต้องการขนของนกปักษาสวรรค์มาประดับตกแต่งหมวกสตรีชาวยุโรป ตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 ที่นิวกินีมียอดส่งออกนกชนิดนี้ถึงปีละ 80,000 ตัวต่อปี จนท้ายที่สุดมีกระแสอนุรักษ์ก็เกิดขึ้น มีการออกมาต่อต้านของสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ รวมทั้งอีกหลายประเทศในยุโรปห้ามซื้อขาย ต่อมามีการออกกฎหมายห้ามล่า เมื่อจักรวรรดิอังกฤษเป็นเจ้าอาณานิคมของนิวกินีในปี ค.ศ. 1908 ปัจจุบันรัฐบาลนิวกินีเองก็ได้ออกกฎหมายห้ามล่า ห้ามนำนกออกจากเกาะยกเว้นเพื่อการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ หรือเพื่อการเฉลิมฉลองในพิธีกรรมของชาวพื้นเมืองเท่านั้นและนกปักษาสวรรค์ยังได้ปรากฏบนมุมธงชาตินิวกินีและตราแผ่นดินของนิวกินีด้ว.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและวงศ์นกปักษาสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เม่นโลกใหม่

ม่นโลกใหม่ (New world porcupine, วงศ์: Erethizontidae) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) จำพวกเม่น ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Erethizontidae เม่นโลกใหม่มีสายการวิวัฒนาการเป็นของตัวเอง จึงมีลักษณะโดยทั่วไปแตกต่างจากเม่นในวงศ์เม่นโลกเก่า (Hystricidae) คือ เม่นโลกใหม่จะมีความยาวลำตัวที่สั้นกว่า คือ มีความยาวประมาณ 1 ฟุต มีส่วนหางยาวกว่า หนามแหลมตามลำตัวซึ่งเป็นเส้นขน มีความสั้นกว่า และซ่อนอยู่ใต้เส้นขนอ่อนตลอดทั้งลำตัว สามารถใช้หางนี้เกาะเกี่ยวต้นไม้ได้ มีพฤติกรรมการหากินบนต้นไม้เป็นหลัก โดยกินอาหารหลักได้แก่ ใบไม้และยอดไม้อ่อน ๆ หรือเปลือกไม้เป็นอาหาร นอกจากนี้แล้วยังกินแมลงได้อีกด้วย ลูกวัยอ่อนสามารถปีนต้นไม้ได้ตั้งแต่เกิดมาได้เพียง 2 วัน และอายุได้ราว 10 วัน ก็สามารถหาใบไม้กินเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาแม่ มีฟันที่เขียนเป็นสูตรได้ว่า พบกระจายพันธุ์ในป่าฝนของซีกโลกใหม่ คือ ทวีปอเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง และอเมริกาใต้.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและวงศ์เม่นโลกใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

สกุลกฤษณา

กุลกฤษณา (Aquilaria) เป็นสกุลหนึ่งของพืชวงศ์กฤษณา (Thymelaeaceae) มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ พบมากโดยเฉพาะในป่าดิบชื้นของอินโดนีเซีย, ไทย, กัมพูชา, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, อินเดียตอนเหนือ, ฟิลิปปินส์ และนิวกินี พรรณไม้ในสกุลนี้ปกติมีเนื้อไม้สีขาว เมื่อเกิดบาดแผล ต้นไม้จะหลั่งสารเคมีออกมาเพื่อรักษาบาดแผลนั้น แต่สารเคมีจะขยายวงกว้างออกไปอีก ก่อให้เกิดเนื้อไม้ซึ่งมีสีดำ กลิ่นหอม เรียกว่า "กฤษณา".

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและสกุลกฤษณา · ดูเพิ่มเติม »

สกุลกูดต้น

กุลกูดต้น (Cyathea) อยู่ในวงศ์เฟินต้น (Cyatheaceae) ลักษณะเป็นเฟินมีลำต้นขนาดใหญ่ ใบประกอบ 1-3 ชั้น เวียนหนาแน่นช่วงยอด ก้านใบสีน้ำตาลหรือดำ ส่วนมากมีเกล็ดและขน เส้นใบแตกเป็นง่าม ส่วนมากไม่เรียงจรดกัน กลุ่มอับสปอร์รูปกลมอยู่ด้านล่างใบ มีเยื่อคลุมรูปถ้วยบาง ๆ หรือไม่มี เซลล์ผนังหนาเบี้ยว สปอร์รูปพีระมิดสารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ), ราชันย์ ภู่มา และคณะ, หน้า 61,..

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและสกุลกูดต้น · ดูเพิ่มเติม »

สกุลดีอานีม่า

กุลดีอานีม่า เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ในวงศ์ปลาแพะ (Callichthyidae) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็งในอันดับปลาหนัง (Siluriformes) โดยใช้ชื่อสกุลว่า Dianema มีรูปร่างเรียวยาวเป็นทรงกระบอก ส่วนหัวแหลม ปากแบนเล็ก มีหนวดบนปากสองเส้นและข้างปากอีกสองเส้น และริมฝีปากอีก 4 เส้น ใช้ในการสัมผัสหาอาหาร ลำตัวมีผิวหนังที่พัฒนาเป็นเกราะแข็งใช้สำหรับป้องกันตัว ส่วนหัวมีจุดสีดำกระจัดกระจายไปทั่ว มีแถบสีดำในแนวนอนลากยาวตั้งแต่จมูกจรดแผ่นปิดเหงือก ดวงตาอยู่ตรงขนานกับปาก ปลาตัวผู้มีหนามแข็งเล็ก ๆ ที่ก้านครีบอก ปลาตัวเมียมีลักษณะอ้วนป้อมกว่าหากมองจากด้านบน ตัวเมียเมื่อไข่สุกท้องจะขยายใหญ่ วางไข่ได้ถึงครั้งละ 500 ฟอง โดยปลาตัวผู้จะเป็นผู้ดูแลไข่ที่วางในหลุมพื้นน้ำที่ขุดขึ้น เป็นปลาขนาดเล็ก มีขนาดประมาณ 10-12 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำที่มีกระแสน้ำไหลเอื่อย ๆ ไม่แรงเชี่ยว มีใบไม้หรือพืชน้ำทับถมกัน น้ำมีความเป็นกรดเล็กน้อย (pH ต่ำกว่า 7 ลงมาเล็กน้อย) ซึ่งมักเป็นแหล่งน้ำตื้น ๆ ไหลคดเคี้ยวในป่าดิบชื้น หากินเศษอาหารตามพื้นน้ำและสัตว์น้ำขนาดเล็ก แบ่งออกได้เป็น 2 ชน.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและสกุลดีอานีม่า · ดูเพิ่มเติม »

สกุลซิสทูรา

กุลซิสทูรา เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ในวงศ์ปลาค้อ (Balitoridae) ใช้ชื่อสกุลว่า Schistura (/ซิส-ทู-รา/) เดิมทีปลาในสกุลนี้เคยอยู่รวมอยู่ในสกุล Nemacheilus เป็นปลาที่มีเกล็ดเล็กละเอียด มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นต้องใช้แว่นขยาย ครีบหลังมีก้านครีบแขนง 8 ก้าน มีหนวด 3 คู่ ที่จะงอยปาก 2 คู่ และมุมปาก 1 คู่ มีลำตัวยาวและแบนข้าง หัวกลมมน จะงอยปากสั้นทู่ ปากเล็กอยู่ใต้จะงอยปาก ริมฝีปากล่างมีเอ็นคั่นตรงกลาง รูก้นอยู่ใกล้ครีบก้นมากกว่าครีบท้อง ตามีขนาดเล็ก ลำตัวมีลายเป็นปล้อง ๆ สีดำหรือสีน้ำตาล พื้นลำตัวมักมีสีเขียวหรือสีน้ำตาล มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 12 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำลำธารที่น้ำมีอุณหภูมิค่อนข้างเย็นประมาณ 18-26 องศาเซลเซียส เช่น น้ำตกบนภูเขาหรือป่าดิบชื้น หากินในเวลากลางคืน มีพฤติกรรมอยู่รวมเป็นฝูง หากินอาหารจำพวก แมลงน้ำและแทะเล็มตะไคร่น้ำ ปัจจุบันพบแล้วราว 200 ชนิด แต่จำนวนนี้ก็ยังไม่นิ่ง ด้วยการค้นพบใหม่ขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี กระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียจนถึงเวียดนาม, ตอนใต้ของเทือกเขาหิมาลัย จนถึงมาเลเซียภาคตะวันตก เช่น รัฐปะลิส พบในประเทศไทยราว 30 ชนิด ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วด้วยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและสกุลซิสทูรา · ดูเพิ่มเติม »

สมัยอีโอซีน

''Basilosaurus'' ''Prorastomus'', an early sirenian สมัยอีโอซีน (Eocene) เป็นสมัยหนึ่งของยุคพาลีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 56 ถึง 33.9 ล้านปีก่อนถึงปัจจุบัน สมัยอีโอซีนเป็นสมัยที่สองของยุคพาลีโอจีน ซึ่งเป็นยุคแรกของมหายุคซีโนโซอิก สมัยอีโอซีนต่อมาจากสมัยพาลีโอซีนและตามด้วยสมัยโอลิโกซีน ชื่อ Eocene มาจากกรีกโบราณἠώς (ēṓs, "รุ่งอรุณ") และκαινός (kainós, "ใหม่") และหมายถึง "รุ่งอรุณ" ของสัตว์สมัยใหม่ที่ปรากฏในช่วงยุคนี้.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและสมัยอีโอซีน · ดูเพิ่มเติม »

สมเสร็จภูเขา

มเสร็จภูเขา (Mountain Tapir) เป็นสมเสร็จที่มีขนาดเล็กที่สุด เป็นเป็นเพียงชนิดเดียวที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในป่าดิบชื้น ชื่อวิทยาศาสตร์มาจากคำว่า "La Pinchaque" ซึ่งเป็นสัตว์ร้ายในจินตนาการที่มีถิ่นอาศัยบริเวณเดียวกันกับสมเสร็จภู.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและสมเสร็จภูเขา · ดูเพิ่มเติม »

สวนพฤกษศาสตร์สากลภาคใต้ (ทุ่งค่าย)

นศึกษาเรือนยอดไม้ สวนพฤกษศาสตร์สากลภาคใต้ (ทุ่งค่าย) - Peninsular Botanical Garden (Thung Khai) เดิมชื่อ สวนรุกขชาติทุ่งค่าย ตั้งอยู่ในพื้นที่ 2,600 ไร่ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าทุ่งค่าย หมู่ที่ 2, 3 และ 9 ตำบลทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดตรังประมาณ 13 กิโลเมตร สวนรุกขชาติทุ่งค่าย เริ่มจัดตั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2529 โดยกรมป่าไม้ ตามนโยบายของนายชวน หลีกภัย (ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 และเป็นสถานที่อนุรักษ์พันธุ์ไม้ - สัตว์ป่า และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับประชาชนทั่วไป ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบและที่ราบบนเนินเขาเตี้ย ๆ สภาพป่าเป็นป่าดิบชื้น และป่าพรุ มีป่าพรุธรรมชาติที่เป็นแหล่งต้นน้ำของลำห้วยสายเล็ก ๆ ดินเป็นดินทรายและดินร่วนปนทราย ในปี..

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและสวนพฤกษศาสตร์สากลภาคใต้ (ทุ่งค่าย) · ดูเพิ่มเติม »

สะแล

แล เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกอยู่ในวงศ์ขนุน และเป็นไม้พุ่มพื้นถิ่นในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบในเขตป่าดิบชื้นหรือป่าดิบแล้ง.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและสะแล · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

ัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หรือที่นิยมเรียกทั่วไปว่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibians) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้น Amphibia อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก มีลักษณะเฉพาะ คือ ผิวหนังมีต่อมเมือกทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นตลอดเวลา ผิวหนังเปียกลื่นอยู่เสมอ ไม่มีเกล็ดตัวไม่แห้งหรือไม่มีขน หายใจด้วยเหงือก, ปอด, ผิวหนัง หรือผิวในปากในคอ โดยชั้นผิวหนังนั้นมีลักษณะพิเศษสามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้เนื่องจากมีโครงข่ายหลอดเลือดฝอยจำนวนมาก เพื่อใช้ในการหายใจ สืบพันธุ์โดยการผสมพันธุ์ภายนอกลำตัว สืบพันธุ์เมื่ออายุ 2–3 ปี ออกลูกเป็นไข่อยู่ในน้ำ ไม่มีเปลือก วางไข่เป็นกลุ่มในน้ำมีสารเป็นวุ้นหุ้ม ลูกอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างคล้ายปลาเรียกว่า "ลูกอ๊อด" อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วมีปอดหายใจ ขึ้นบกได้ แต่ต้องอยู่ใกล้น้ำ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทั้งภายนอกและภายในอย่างสิ้นเชิง ไปตามวงจรชีวิต ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือก เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนรูปร่างอาศัยอยู่บนบก หายใจด้วยปอดหรือผิวหนัง โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งในช่วงระหว่างฤดูหนาวถึงฤดูร้อน ส่วนใหญ่จะขุดรูจำศีล เพื่อหนีความแห้งแล้ง มิให้ผิวหนังแห้ง ถ้าผิวหนังแห้งจะหายใจไม่ได้และตายในที่สุด เพราะก๊าชจากอากาศต้องละลายไปกับน้ำเมือกที่ผิวหนัง แล้วจึงแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต ระยะนี้จะใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกายอย่างช้า ๆ นิวต์และซาลามานเดอร์ก็เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเหมือนกัน แต่แตกตางกันตรงที่นิวต์และซาลามานเดอร์จะยังคงหางของมันไว้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกถือเป็นสัตว์เลือดเย็นเช่นเดียวกับสัตว์พวกปลา หรือแมลง หรือสัตว์เลื้อยคลาน ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานสัตว์ในชั้นแล้วกว่า 6,500 ชน.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

สิงโต

งโต (Lion) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในวงศ์ Felidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับแมว สิงโตมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera leo มีขนาดลำตัวใหญ่ ขนาดไล่เลี่ยกับเสือโคร่งทั่วไป (P. tigris) ซึ่งเป็นสัตว์ในสกุล Panthera เหมือนกัน จัดเป็นสัตว์ในวงศ์ Felidae ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรองมาจากเสือโคร่งไซบีเรีย (P. t. altaica) พื้นลำตัวสีน้ำตาล ไม่มีลาย ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีขนสร้อยคอยาว ขนปลายหางเป็นพู่ ชอบอยู่เป็นฝูงตามทุ่งโล่ง มีน้ำหนักประมาณ 250 กิโลกรัม (550 ปอนด์) ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า มักทำหน้าที่ล่าเหยื่อ มีน้ำหนักประมาณ 180 กิโลกรัม (400 ปอนด์) มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาและประเทศอินเดีย ในป่าธรรมชาติ สิงโตมีอายุขัยประมาณ 10-14 ปี ส่วนสิงโตที่อยู่ในกรงเลี้ยงมีอายุยืนถึง 20 ปี.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและสิงโต · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น

รองเท้านารีปีกแมลงปอ หรือ รองเท้านารีสุขะกูล (''Paphiopedilum sukhakulii'') เป็นกล้วยไม้เฉพาะถิ่นที่พบได้เฉพาะภูเขาหินทรายในป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 1,000-1,500 เมตร ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเท่านั้น''กล้วยไม้เมืองไทย'', รศ.ดร. อบฉันท์ ไทยทอง, สำนักพิมพ์บ้านและสวน, หน้า 42-43 สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น หรือ สิ่งมีชีวิตถิ่นเดียว (Endemic species, Endemism) หมายถึง สิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ ชนิดที่แพร่กระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในบริเวณเขตภูมิศาสตร์เขตใดเขตหนึ่งของโลก และเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเขตกระจายพันธุ์ทางภูมิศาสตร์ค่อนข้างจำกัด ไม่กว้างขวางนัก เช่น อาจจะพบตามระบบนิเวศต่าง ๆ เช่น บนเกาะ, ยอดเขา, หน้าผาของภูเขาหินปูน, แอ่งพรุ เป็นต้น ถิ่นที่อยู่ดังกล่าวมีสภาพจำกัดของสิ่งแวดล้อมหรือมีสภาพดินฟ้าอากาศเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัว ที่เหมาะสมสำหรับการดำรงชีวิตอยู่ของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ พืชถิ่นเดียวและพืชหายากของประเทศไทย สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2543 และ หนังสือ พืชถิ่นเดียวและพืชหายากของประเทศไทย ของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช, 2547 ชาร์ล ดาร์วิน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้คิดค้นทฤษฎีวิวัฒนาการ ได้กล่าวถึงลักษณะของสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น เอาไว้ในหนังสือ The Origin of Species ของตนเอง ไว้ว่า ปัจจุบัน บริเวณพื้นผิวโลกทีพบว่ามีสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นสูงมาก มีทั้งสิ้น 18 แห่ง มีพื้นที่ประมาณ 746,400 ตารางกิโลเมตร หรือเพียงร้อยละ 0.5 ของพื้นผิวโลกที่เป็นพื้นดินเท่านั้น และมีพืชเฉพาะถิ่นอาศัยอยู่ถึงประมาณ 49,955 ชนิด หรือร้อยละ 20 ของพืชทั้งหมดที่พบในโลก และยังมีสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกอาศัยอีกอย่างน้อย 1,659 ชนิด หรือร้อยละ 15 ของสัตว์ทั้ง 2 กลุ่มในโลก ทั้งซีกโลกเก่า และซีกโลกใหม่ สถานที่ที่มีสัตว์เฉพาะถิ่นสูงในทวีปอเมริกาเหนือ 1 แห่ง, ทวีปอเมริกาใต้ 5 แห่ง, ทวีปแอฟริกา 4 แห่ง, ทวีปเอเชีย 6 แห่ง, ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย 2 แห่ง เฉพาะในทวีปเอเชีย ได้แก่ ป่าดิบชื้นในฟิลิปปินส์, เกาะบอร์เนียวทางตอนเหนือ, เทือกเขาหิมาลัยด้านตะวันออก, คาบสมุทรมลายู, เทือกเขาเวสเทิร์น เกทส์ ในอินเดีย และศรีลังกาบริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยที่ ๆ ขึ้นชื่ออย่างมากในเรื่องสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น คือ หมู่เกาะกาลาปาโกส กลางมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นส่วนหนึ่งของประเทศเอกวาดอร์ ที่มีสิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการของตนเองสูงมาก จนได้รับเลือกให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ด้วยพื้นที่อันจำกัด ทำให้สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นหลายชนิด ใกล้สูญพันธุ์หรือใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤต ในประเทศไทยมีรายงานพบพืชที่เป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นประมาณ 11,000 ชนิด ร้อยละ 30 เป็นพืชที่มีท่อลำเลียงน้ำและอาหาร ส่วนที่เป็นสัตว์ เช่น ปลาน้ำจืด 68 ชนิด, เป็นหอย 3 ชนิด, เป็นสัตว์จำพวกปูและกุ้งหรือกั้ง 5 ชนิด และเป็นนก 3 ชน.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

หมูหริ่ง

หมูหริ่ง, หมูหรึ่ง หรือ หมูดิน (hog badger, Indian badger) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลางชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Arctonyx collaris อยู่ในวงศ์ Mustelidae อันเป็นวงศ์เดียวกับเพียงพอนหรือวีเซล โดยที่หมูหริ่งอยู่ในสกุล Arctonyx นับเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุลนี้.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและหมูหริ่ง · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะญี่ปุ่น

มุมมองส่วนหนึ่งของหมู่เกาะญี่ปุ่นจากอวกาศ หมู่เกาะญี่ปุ่น (日本列島, นิฮงเรตโต; Japanese Archipelago) ตั้งอยู่ตะวันออกสุดของแผ่นเปลือกโลกยูเรเชีย ถัดจากคาบสมุทรเกาหลี และตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก เกิดจากการชนกันระหว่างแผ่นเปลือกโลก 4 แผ่น ได้แก่ แผ่นเปลือกโลกแปซิฟิก ยูเรเชีย ฟิลิปปินส์ และอเมริกาเหนือ เมื่อกว่า 25 ล้านปีก่อน เป็นที่ตั้งของประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน ด้วยจำนวนเกาะกว่า 7,000 เกาะ โดยมีเกาะหลัก ๆ ได้แก่ เกาะฮกไกโด เกาะฮนชู เกาะชิโกะกุ และเกาะคีวชู ซึ่งสภาพอากาศของเกาะญี่ปุ่นในตอนบน จะมีสภาพอากาศแบบป่าสนกึ่งขั้วโลก มีหิมะตกหนาทับถมกันหลายนิ้วในช่วงฤดูหนาว แต่ทว่าในตอนใต้ เช่น เกาะอิริโอะโมะเตะ มีสภาพอากาศที่อบอุ่นกว่าคล้ายป่าฝนเขตร้อน มีป่าโกงกาง ขณะที่ตอนกลางของเกาะฮนชูก็มีป่าแบบป่าดิบ อันเป็นผืนป่าดิบแห่งเดียวของโลกที่ตั้งอยู่ ณ เส้นรุ้งที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ 36 องศาเหนือ ในขณะที่พื้นที่ ๆ อื่น ๆ ของโลกที่ตั้งอยู่ ณ เส้นรุ้งพิกัดเดียวกันกลับไม่มี ทั้งนี้เป็นผลมาจากสภาพอากาศที่เกิดจากกระแสน้ำอุ่น 2 กระแสหลักรอบเกาะญี่ปุ่น คือ กระแสน้ำอุ่นกุโรชิโว และกระแสน้ำโอยาชิโว.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและหมู่เกาะญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะโมลุกกะ

หมู่เกาะโมลุกกะ (Moluccas) หรือ หมู่เกาะมาลูกู (Maluku Islands) เป็นหมู่เกาะในประเทศอินโดนีเซีย และเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเกาะมลายู ตั้งอยู่บนแผ่นเปลือกโลกออสเตรเลีย ทางด้านตะวันออกของเกาะซูลาเวซี (เซเลบีส) ทางด้านตะวันตกของเกาะนิวกินี และทางเหนือของติมอร์ ในอดีตนั้น ชาวจีนและชาวยุโรปเรียกหมู่เกาะนี้ว่า หมู่เกาะเครื่องเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะเป็นภูเขา บางส่วนยังเป็นภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นอยู่ และมีสภาพภูมิอากาศที่ชื้น พืชพรรณอุดมสมบูรณ์ แม้จะอยู่บนเกาะที่เล็ก แคบ และล้อมรอบด้วยทะเล อาทิ ป่าฝน สาคู ข้าว และเครื่องเทศต่าง ๆ (เช่น ลูกจันทน์เทศ กานพลู และดอกจันทน์เทศ) ถึงแม้ว่าชาวเมลานีเซียนจะเป็นประชากรส่วนใหญ่แต่เดิมโดยเฉพาะบนเกาะบันดา แต่ก็ถูกสังหารในช่วงศตวรรษที่ 17 การอพยพเข้ามาของชาวมลายูในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 ในช่วงที่ชาวดัตช์ปกครองอยู่ และต่อเนื่องมาจนถึงยุคที่เป็นประเทศอินโดนีเซียแล้ว ในทางการเมือง หมู่เกาะโมลุกกะเป็นจังหวัดหนึ่งในอินโดนีเซียตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 ถึงปี พ.ศ. 2542 มาลูกูเหนือและฮัลมาเฮรากลางถูกแยกออกเป็นอีกจังหวัดหนึ่ง ดังนั้น หมู่เกาะนี้จึงถูกแบ่งออกเป็น 2 จังหวัด คือ มาลูกู (Maluku) และมาลูกูเหนือ (North Maluku) ระหว่างปี 2542 ถึง 2545 เป็นช่วงที่เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวมุสลิมกับชาวคริสต์ แต่ก็เพิ่งกลับมาสงบสุขเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านม.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและหมู่เกาะโมลุกกะ · ดูเพิ่มเติม »

หมีเหม็น

หมีเหม็น, หมี่ หรือ หมูทะลวง (จันทบุรี) (ภาษาชอง: กำปรนบาย; ภาษามลายูปัตตานี: มือเบาะ) เป็นพืชในวงศ์ Lauraceae พบในป่าดงดิบตั้งแต่ อินเดีย เนปาล ไปจนถึงเกาะบอร์เนียว เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบเดี่ยว เรียงสลับ ดอกสีขาวอมเหลือง ออกตามง่ามใบ ผลอ่อนสีเขียวผลแก่สีแดง-ดำ รับประทานได้ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ทางยาสมุนไพรใช้ได้หลายส่วน เช่น ใช้รากแก้ปวดกล้ามเนื้อ เปลือกแก้ปวดมดลูก เมล็ดตำพอกฝี เป็นต้น.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและหมีเหม็น · ดูเพิ่มเติม »

หยาดน้ำค้าง (สกุล)

หยาดน้ำค้าง (Sundew) เป็นพืชกินสัตว์สกุลใหญ่สกุลหนึ่ง ในวงศ์หญ้าน้ำค้าง มีประมาณ 194 ชนิด สามารถล่อ จับ และย่อยแมลงด้วยต่อมเมือกของมันที่ปกคลุมอยู่ที่ผิวใบ โดยเหยื่อที่จับได้จะใช้เป็นสารเสริมทดแทนสารอาหารที่ขาดไป พืชในสกุลหยาดน้ำค้างมีหลายรูปแบบและหลายขนาดต่างกันไปในแต่ละชนิด สามารถพบได้แทบทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา ชื่อวิทยาศาสตร์ของหยาดน้ำค้าง คือ Drosera มาจากคำในภาษากรีก δρόσος: "drosos" แปลว่า "หยดน้ำ หรือ น้ำค้าง" รวมทั้งชื่อในภาษาอังกฤษ "sundew" กลายมาจาก ros solis ซึ่งเป็นภาษาละตินแปลว่า "น้ำตาพระอาทิตย์" โดยมีที่มาจากเมือกบนปลายหนวดแต่ละหนวดที่แวววาวคล้ายน้ำค้างยามเช้า ในประเทศไทยพบหยาดน้ำค้างอยู่ 3 ชนิดคือ จอกบ่วาย (Drosera burmannii Vahl), หญ้าน้ำค้าง (Drosera indica L.) และ หญ้าไฟตะกาด (Drosera peltata Sm.).

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและหยาดน้ำค้าง (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

หว้า

หว้า เป็นไม้ประเภทไม้ยืนต้น มีถิ่นกำเนิดจากอินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทยพบทั่วไปตามป่าดิบชื้นและป่าผลัดใบ ตั้งแต่ระดับใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับความสูง 1,100 เมตร เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำเพชรบุรี.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและหว้า · ดูเพิ่มเติม »

หนูเหม็น

ำหรับสาโทที่หมายถึงเครื่องดื่มประเภทสุรา ดูที่: สาโท หนูเหม็น หรือ สาโท (อังกฤษ: Moonrat) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Echinosorex gymnurus จัดอยู่ในวงศ์ Erinaceidae ซึ่งจัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Echinosorex หนูเหม็น มีรูปร่างลักษณะคล้ายหนูที่อยู่ในอันดับสัตว์ฟันแทะ แต่หนูเหม็นเป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับเฮดจ์ฮอกเช่นเดียวกับเฮดจ์ฮอก มีขนยาวปุกปุยรุงรังสีดำแซมขาว หัวมีขนสีขาวและมีแถบดำพาดผ่านตาเห็นได้ชัดเจน ปลายปากด้านบนและดั้งจมูกยาวเรียวยื่นออกไปมากกว่าปลายริมฝีปากล่าง หางมีเกล็ดเล็ก ๆ ปกคลุมคล้ายหางหนู มีสีดำและปลายหางสีขาว พบกระจายพันธุ์อยู่ในแถบเทือกเขาตะนาวศรีในเขตพม่า และภาคใต้ของไทยตั้งแต่คอคอดกระลงไปตลอดแหลมมลายู, เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว มีขนาดลำตัวยาว 26-45 เซนติเมตร หางยาว 20-21 เซนติเมตร มีน้ำหนัก 0.5-1.1 กิโลกรัม ถือว่าเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์และอันดับนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย คือ E.g.albus พบในตอนตะวันออกและตอนใต้ของเกาะบอร์เนียว และ E.g.cadidus พบในตอนตะวันตกของเกาะบอร์เนียว เป็นสัตว์ที่มีกลิ่นตัวเหม็นรุนแรงจึงเป็นที่มาของชื่อ ซึ่งกลิ่นตัวนี้คล้ายกับกลิ่นระเหยของแอมโมเนีย สามารถส่งกลิ่นออกไปได้ไกลเป็นระยะหลายเมตร ใช้สำหรับติดต่อกับหนูเหม็นตัวอื่น มักอาศัยอยู่ตามลำพัง ชอบอาศัยอยู่ในที่ชื้นแฉะตามป่าดิบชื้น เช่น ป่าโกงกาง, ป่าตามพื้นที่ราบเชิงเขา โดยเฉพาะตามหุบเขาที่มีป่ารกทึบ ติดกับลำธารที่มีน้ำไหลผ่าน ซึ่งเหมาะเป็นแหล่งในการหาอาหารได้สะดวก เป็นสัตว์ที่ออกหากินในเวลากลางคืน อาหาร ได้แก่ หนอน, ด้วง และแมลงต่าง ๆ, ไส้เดือนดิน สามารถที่จะล่าสัตว์เล็ก ๆ กิน เช่น ลูกกบ, เขียด, กุ้ง, ปู, ปลา และหอย ได้ด้วย กลางวันจะพักอาศัยหลบซ่อนอยู่ในรูดิน โพรงไม้และตามซอกใตัรากไม้ในป่าทั่วไป มีฤดูผสมพันธุ์ตลอดทั้งปี ๆ ละ 2 ครอก มีลูกครอกละ 2 ตัว มีนิสัยค่อนข้างดุร้าย ปัจจุบันเป็นสัตว์ที่หายาก มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากสภาพพื้นที่ ๆ อยู่อาศัยถูกทำลาย และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 หนูเหม็น มีความเชื่อมาแต่โบราณว่า หากเก็บกระดูกไว้จะสามารถแก้เสน่ห์ยาแฝดหรือมนต์ดำได้.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและหนูเหม็น · ดูเพิ่มเติม »

อันดับกิ้งก่าและงู

อันดับกิ้งก่าและงู (Lizard and Snake) เป็นอันดับของสัตว์เลื้อยคลานที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้ ใช้ชื่อว่า Squamata (/สะ-ควอ-มา-ตา/) นับเป็นอันดับที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดและพบได้หลากหลายกว้างขวางมากที่สุด โดยอันดับนี้แบ่งได้เป็น 2 อันดับย่อย คือ Lacertilia หรือ อันดับย่อยกิ้งก่า กับ Serpentes หรือ อันดับย่อยงู การที่รวมสัตว์เลื้อยคลานทั้ง 2 ประเภทนี้ไว้ด้วยกัน เหตุเพราะมีโครงสร้างบางอย่างที่ร่วมกันถึง 70 ประการ โดยงูนั้นมีวิวัฒนาการมาจากกิ้งก่าในวงศ์ Amphisbaenidae ที่มีการลดรูปของขา นอกจากนั้นแล้วยังมีกล้ามเนื้อ, กระดูก, กะโหลก, อวัยวะถ่ายอสุจิที่เป็นถุงพีนิสคู่ แต่มีความแตกต่างกันทางด้านสรีระ พฤติกรรม และการทำงานของโครงสร้างอวัยวะ ทั้งกิ้งก่าและงูมีเกล็ดปกคลุมลำตัว โดยมีปริมาณ ลักษณะ และจำนวนที่ปกคลุมอวัยวะแต่ละส่วนแตกต่างกันตามลักษณะทางอนุกรมวิธาน กิ้งก่าบางชนิดมีกระดูกในชั้นหนังซ้อนอยู่ใต้เกล็ดซึ่งไม่มีในงู พื้นผิวลำตัวของกิ้งก่ามีต่อมผิวหนังไม่มากแต่บริเวณด้านหน้าช่องเปิดทวารร่วมและทางด้านในของต้นขาหลังของกิ้งก่าหลายชนิดมีต่อมผิวหนังค่อนข้างมาก ซึ่งสังเคราะห์สารเคมีเพื่อใช้ในการกำหนดอาณาเขตและหน้าที่ประการต่าง ๆ ซึ่งจำนวนต่อมดังกล่าวนี้อีกทั้งตำแหน่งที่ตั้งแตกต่างกันระหว่างเพศ โดยตัวผู้จะมีมากกว่าและใหญ่กว่า ซึ่งต่อมดังกล่าวนี้ยังใช้เป็นลักษณะในการจำแนกประเภทอีกด้วย กิ้งก่าและงูหลายชนิดสามารถปล่อยท่อนหางให้หลุดจากลำตัวเพื่อหนีเอาตัวรอดจากศัตรูได้ เช่น ในวงศ์จิ้งเหลน (Scincidae) บางตัวอาจหลุดได้หลายครั้งในช่วงชีวิต เหตุที่หลุดและงอกใหม่ได้เนื่องจากลักษณะการเรียงตัวของกล้ามเนื้อกับเนื้อเยื่อที่เกี่ยวพันซึ่งอาจมีตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่ง เมื่อหางหลุดไปแล้วอาจงอกขึ้นมาใหม่สั้นกว่าเดิมหรือใช้เวลานานกว่าจะเท่าเดิม เพราะมีแกนเป็นแท่งกระดูกอ่อนทดแทนปล้องของกระดูกสันหลังแทน แต่ส่วนของงูแล้วเมื่อหลุดไปแล้วไม่อาจงอกใหม่ได้ กิ้งก่าในหลายวงศ์ ได้ลดรูปของขาลงจนหดเล็กสั้นจนดูเหมือนไม่มีขา รวมทั้งนิ้วด้วย เพื่อเป็นประโยชน์ในการอาศัยอยู่ในโพรงดิน เช่น จิ้งเหลนด้วง เป็นต้น อวัยวะถ่ายอสุจิของตัวผู้ของกิ้งก่าและงูจะมีลักษณะเป็นถุงพีนิสอยู่ทางด้านท้ายของช่องเปิดทวารร่วม พื้นผิวด้นนอกจะเป็นร่องเพื่อใช้เป็นเส้นทางในการลำเลียงตัวอสุจิเข้าสู่ช่องทวารร่วมของตัวเมียขณะผสมพันธุ์ ซึ่งถุงนี้มีลักษณะเป็นหนามและเป็นสันซึ่งอยู่ทางด้านหน้าของถุง ซึ่งลักษณะรูปร่างและหนามของถุงนี้จะแตกต่างกันไปตามวงศ์ เช่น กิ้งก่าในวงศ์เหี้ย (Varanidae) มีแท่งกระดูกอยู่ภายในถุงเพื่อเสริมให้มั่นคงขณะผสมพันธุ์ ขณะเดียวกันในตัวเมียก็มีกระดูกดังกล่าว แต่มีขนาดเล็กมาก ขยายพันธุ์ได้ด้วยการวางไข่และตกลูกเป็นตัว ซึ่งปริมาณและจำนวนที่ออกมาแตกต่างกันไปตามวงศ์, สกุล และชนิด แต่ในส่วนของกิ้งก่าแล้วมีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่ตกลูกเป็นตัว อีกทั้งยังมีบางส่วนที่เกิดได้โดยไม่ผ่านการผสมพันธุ์ด้วย เช่น ในวงศ์เหี้ย, Leiolepidinae หรือ แย้ หรืองูในวงศ์ Typhlopidae.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและอันดับกิ้งก่าและงู · ดูเพิ่มเติม »

อำเภออมก๋อย

อมก๋อย (30px) เป็นอำเภอหนึ่งใน 25 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ทางใต้สุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน และตาก อีกทั้งยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสวยงามหลายแห่ง เช่น ดอยม่อนจอง ดอยมูเซอ วัดแสนทอง ซึ่งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองอมก๋อย เป็นต้น.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและอำเภออมก๋อย · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติศรีพังงา

Plant in Thailand National Park-Sri Phang-Nga อุทยานแห่งชาติศรีพังงา อยู่ในเขตอำเภอคุระบุรี และอำเภอตะกั่วป่า ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เทือกเขานมสาว เนื้อที่ 153,800 ไร่ เป็นประเภทป่าดิบชื้น พันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น ไม้ยาง ตะเคียนทอง ปาล์ม กระพ้อหนู ยังสามารถพบสัตว์ป่าหลายชนิด เช่น สมเสร็จ เลียงผา เก้ง นกเงือก ประกาศเป็นอุทยานเมื่อ 16 เมษายน 2531 ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอ.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและอุทยานแห่งชาติศรีพังงา · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง

กาะช้าง เกาะช้างดูจากมุมมองหมู่เกาะรัง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 650 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ ที่มากถึง 52  เกาะ เรียงตัวกันตั้งแต่เขตอำเภอแหลมงอบ อำเภอเมือง และอำเภอคลองใหญ่ เกาะที่สำคัญที่สุด คือ เกาะช้าง นอกจากนี้ยังมีเกาะอื่น ๆ ที่ยังคงสภาพความสวยงามตามธรรมชาติ ได้แก่ เกาะคลุ้ม เกาะเหลายาใน เกาะง่าม เกาะไม้ซี้ใหญ่ เกาะหวาย เกาะง่าม บางแห่งมีปะการังใต้น้ำที่คงความสมบูรณ์ตามธรรมชาติ เช่น เกาะหวาย และหมู่เกาะรัง ฯลฯ ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเกาะช้างใกล้คลองธารมะยม บริเวณด้านหน้ามีท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ของอุทยานฯ นอกจากนี้ยังมีหน่วยพิทักษ์อุทยานอีก 3 จุด ซึ่งล้วนอยู่บนเกาะช้าง คือ บริเวณอ่าวคลองสน  บริเวณทางเข้าน้ำตกคลองพลู  และบริเวณหมู่บ้านสลักเพชร เกาะช้าง เดิมเป็นเกาะที่ไม่มีชุมชนตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัย แต่มีความสำคัญในฐานะที่เป็นท่าจอดเรือหลบลมมรสุม แหล่งเสบียงอาหาร และน้ำจืด โดยเฉพาะที่บริเวณอ่าวสลักเพชร หรืออ่าวสลัด เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่โจรสลัด ชาวจีนไหหลำ และชาวญวน ปัจจุบันบนเกาะช้างมีประชาชนอาศัยอยู่ 8 หมู่บ้าน เกาะช้างเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศรองจากเกาะภูเก็ต มีเนื้อที่ 429 ตารางกิโลเมตร   ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเขาสูงมีผาหินสลับซับซ้อน ยอดเขาที่สูงที่สุดได้แก่ เขาสลักเพชร มีความสูงประมาณ 744 เมตร สภาพป่าโดยทั่วไปมีอุดมสมบูรณ์ ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบเขา เป็นต้นกำเนิดของต้นน้ำลำธาร ทำให้มีน้ำตกหลายแห่งบนเกาะ ด้านฝั่งตะวันออกของเกาะนั้น มีชายฝั่งที่สวยงามอย่างมาก อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง เป็นพื้นที่ที่ถูกประกาศเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เมื่อปี..

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติทับลาน

อุทยานแห่งชาติทับลาน เป็นอุทยานแห่งชาติในภาคอีสาน มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอปักธงชัย อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอครบุรี อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี สภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์และมีป่าลาน ซึ่งหาดูได้ยากที่มีเฉพาะบางท้องที่เท่านั้น มีต้นลานขึ้นตามธรรมชาติ เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำ ลำธารต่างๆ และมีธรรมชาติที่สวยงาม เช่น หุบผา หน้าผา น้ำตก นับว่าเป็นอุทยานแห่งชาติที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับสองของประเทศไทย รองจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ทับลาน ปางสีดา ตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ได้รับการประกาศให้เป็น "มรดกโลกทางธรรมชาติ" จากองค์การยูเนสโก ภายใต้ชื่อกลุ่ม "ดงพญาเย็น-เขาใหญ่".

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและอุทยานแห่งชาติทับลาน · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติดอยหลวง

อุทยานแห่งชาติดอยหลวง มีพื้นที่ทั้งหมด 731,250 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำวังและน้ำแม่ลาวในจังหวัดเชียงราย สภาพป่าเป็นป่าเบญจพรรณ ป่าดิบชื้น และป่าเต็งรัง มีสถานที่ท่องเที่ยว เช่น น้ำตกปูแกง น้ำตกวังแก้ว ซึ่งเป็นน้ำตกที่ใหญ่ที่สุด นอกจากนี้ อุทยานแห่งชาติดอยหลวงยังมีเส้นทางเดินเท้าศึกษาธรรมชาติ โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวเมื่ออยู่บนดอยหนอก (เป็นดอยที่สูงที่สุดของดอยหลวง) สามารถมองเห็นทะเลหมอกและทิวทัศน์ที่สวยงาม มีศูนย์บริการท่องเที่ยวให้ความรู้และเข้าใจแก่นักท่องเที่ยว มีร้านค้าไว้บริการ สถานที่กางเต็นท์ และมีเต็นท์ให้เช่า อุทยานดอยหลวงได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 61 ของประเทศไทยเมื่อวันที่ 16 เมษายน..

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและอุทยานแห่งชาติดอยหลวง · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติคลองพนม

100px อุทยานแห่งชาติคลองพนม อยู่ในท้องที่ตำบลคลองสก ตำบลพนม และตำบลพลูเถื่อน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 460 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 290,000 ไร่ ได้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2543.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและอุทยานแห่งชาติคลองพนม · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติปางสีดา

อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติปางสีดา ประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 41 ของประเทศไทย ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอตาพระยา อำเภอวัฒนานคร อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว และอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี รวมครอบคลุมเนื้อที่ประมาณ 527,500 ไร่ หรือประมาณ 844 ตารางกิโลเมตร ประกอบไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะเป็นที่ศึกษาเรื่องสัตว์ป่าที่สำคัญ เพราะมีสัตว์ป่าหายากและนก กว่า 300 ชนิด เช่น นกเงือก นกยูง ฯลฯ รวมถึงมีแหล่งจระเข้น้ำจืด ซึ่งเชื่อว่าเหลือเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ทับลาน ปางสีดา ตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ได้รับการประกาศให้เป็น "มรดกโลกทางธรรมชาติ" จากองค์การยูเนสโก ภายใต้ชื่อ “ดงพญาเย็น-เขาใหญ่”.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและอุทยานแห่งชาติปางสีดา · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้ว

อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้ว ตั้งอยู่ในเขตตำบลหนองบอน ตำบลช้างทูน ตำบลบ่อพลอย ตำบลนนทรีย์ และตำบลด่านชุมพล อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ก่อนได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานมีฐานะเป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาสมิง (ป่าคลองใหญ่และป่าเขาไฟไหม้) โดยได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติอย่างไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดตร.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและอุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอเมืองปาน อำเภอแจ้ห่ม อำเภอวังเหนือ และอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีสภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีสัตว์ป่านานาชนิด และมีทรัพยากรทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตก แอ่งน้ำอุ่น บ่อน้ำร้อน ซึ่งสามารถเป็นหลักฐานหนึ่งที่แสดงว่าใต้พื้นโลกเรายังมีความร้อนระอุอยู.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น

right อุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็นมีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่ อำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอบ้านนาสาร และ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบชื้น มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด และมีจุดเด่นตามธรรมชาติที่สวยงาม เช่น หน้าผา ถ้ำ น้ำตก ตลอดจนมีหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์การสู้รบที่เหลืออยู่ เช่น ค่าย บังเกอร์ อุโมงค์ มีเนื้อที่ประมาณ 265,625 ไร่ ได้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม..

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติโลเรินตส์

อุทยานแห่งชาติโลเรินตส์ (Taman Nasional Lorentz) คือพื้นที่อนุรักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังเป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่มีสภาพแวดล้อมหลากหลายมากที่สุดในโลก ตั้งแต่แหล่งชุ่มน้ำริมทะเล ป่าฝนเขตร้อนจนถึงภูเขาหิมะ นอกจากนั้นยังได้ขุดพบซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ซึ่งเป็นหลักฐานอย่างดีเยี่ยมที่แสดงถึงความหลายหลายทางชีวภาพตั้งแต่ยุคบรรพกาล.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและอุทยานแห่งชาติโลเรินตส์ · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง

อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในอำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา มีถนนเพชรเกษมตัดผ่าน แบ่งอุทยานแห่งชาติออกเป็นสองส่วนคือ เขาลำปีทางฝั่งตะวันออก และหาดท้ายเหมืองทางฝั่งตะวันตก.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติเขาสก

อุทยานแห่งชาติเขาสก มีพื้นที่อยู่ในท้องที่อำเภอพนมและอำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีสภาพพื้นที่เป็นธรรมชาติอันกว้างใหญ่ปกคลุมไปด้วยป่าดิบชื้น ครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดของเขตอุทยานแห่งชาติ ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงต่ำสลับซับซ้อน พื้นที่ราบมีน้อย พื้นที่ส่วนหนึ่งด้านทิศเหนือบริเวณคลองพระแสงเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เกิดขึ้นเนื่องจากการก่อสร้างเขื่อนรัชชประภา (เชี่ยวหลาน) ประกอบไปด้วยพรรณไม้และสัตว์ป่านานาชนิด อุทยานแห่งชาติเขาสกมีเนื้อที่ประมาณ 741.01 ตารางกิโลเมตร หรือ 463,131.43 ไร่ ได้มีการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2523.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและอุทยานแห่งชาติเขาสก · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติเขานัน

อุทยานแห่งชาติเขานัน มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอสิชล อำเภอนบพิตำ และอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีลักษณะภูมิประเทศเป็นทิวเขาสูงทอดยาวตามแนวเหนือ-ใต้ สลับซับซ้อน โดยเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขานครศรีธรรมราช สภาพป่าเป็นป่าดงดิบชื้นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของจังหวัดนครศรีธรรมราช และประกอบไปด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญ และมีค่า มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตกสุนันทา (น้ำตกเขานัน) น้ำตกกรุงนาง น้ำตกคลองเผียน ถ้ำกรุงนาง น้ำตกเขาใด เป็นต้น มีเนื้อที่ประมาณ 272,500 ไร่ หรือ 436 ตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและอุทยานแห่งชาติเขานัน · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง

อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง มีพื้นที่อยู่ในอำเภอนาทวีและอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา มีสภาพป่าและทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วยจุดเด่นที่น่าสนใจสวยงาม เช่น น้ำตกจำนวนหลายแห่ง ทั้งยังเป็นพื้นที่ ประวัติศาสตร์ฐานที่มั่นและของการสู้รบกับโจรจีนคอมมิวนิสต์ ที่เป็นหลักฐานให้ศึกษาถึงสถานที่และวัตถุทางประวัติศาสตร์ของการสู้รบอันยาวนานได้ อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้างมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 220 ตารางกิโลเมตร หรือ 137,800 ไร่ ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2534 โดยมีผลบังคับใช้ในวันถัดไป.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและอุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์

อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี มีเนื้อที่กว้างขวางถึง 1,532 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ มีน้ำตกที่มีชื่อเสียง เช่น น้ำตกห้วยแม่ขมิ้น อำเภอศรีสวัสดิ์, น้ำตกผาตาด อำเภอทองผาภูมิ เป็นต้น สภาพป่าในเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ แบ่งเป็น 3 ประเภท.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

อีเห็นข้างลาย

อีเห็นข้างลาย หรือ อีเห็นธรรมดา หรือ มูสังหอม ในภาษาใต้ (Asian palm civet) เป็นอีเห็นขนาดเล็ก สีขนตามลำตัวเป็นสีเทาเข้มจนเกือบดำ ยกเว้นบริเวณรอบจมูก หู ขา และปลายหางมีสีดำมีลายสีขาวพาดขวางบริเวณหน้าผาก หลังมีจุดเล็ก ๆ สีดำเรียงตัวเป็นแนวยาว 3 เส้น จากไหล่ถึงโคนหาง หางมีความยาวพอ ๆ กับลำตัว ขนปลายหางบางตัวอาจมีสีขาว มีต่อมน้ำมันและจะส่งกลิ่นออกมาเมื่อเวลาตกใจ ซึ่งต่อมน้ำมันนี้จะแตกต่างจากชะมดหรืออีเห็นชนิดอื่น ๆ ตัวเมียมีเต้านม 3 คู่ มีความยาวลำตัวและหัว 43–71 เซนติเมตร ความยาวหาง 40.6–66 เซนติเมตร น้ำหนัก 2–5 กิโลกรัม อีเห็นข้างลายมีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวางมาก โดยพบตั้งแต่รัฐชัมมูและกัศมีร์ และภาคใต้ของอินเดีย, ศรีลังกา, เนปาล, รัฐสิกขิม, ภูฏาน, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, เกาะสุมาตรา, เกาะชวา, เกาะบอร์เนียว, เกาะซูลาเวซี และหมู่เกาะซุนดาน้อย และมีชนิดย่อยมากถึง 30 ชนิด (ดูในตาราง) มีพฤติกรรมมักอาศัยและหากินตามลำพัง สามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายได้ ตั้งแต่ ป่าดิบชื้น, ป่าดิบแล้ง ไปจนถึงชายป่าที่ใกล้กับพื้นที่เกษตรกรรมของมนุษย์ กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ เช่น สัตว์ขนาดเล็กจำพวกแมลง และน้ำหวานของเกสรดอกไม้ ออกหากินในเวลากลางคืน นอนหลับในเวลากลางวัน ใช้เวลาส่วนมากตามพื้นดินและจะใช้เวลาน้อยมากอยู่บนต้นไม้ ออกลูกครั้งละ 2–4 ตัว โดยจะเลี้ยงลูกอ่อนไว้ตามโพรงไม้หรือโพรงหิน อีเห็นข้างลายไม่ได้ถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2546 ปัจจุบันทางสวนสัตว์เชียงใหม่ได้มีโครงการในการเพาะเลี้ยงอีเห็นข้างลาย เพื่อผลิต "กาแฟขี้ชะมด" ซึ่งเป็นกาแฟที่ได้จากมูลของอีเห็นข้างลาย มีราคาซื้อขายที่สูงมาก และในการเพาะเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์ในการนี้ที่จังหวัดตรังโดยเอกชนด้วยหน้า 27, อะเมซซิง..."กาแฟขี้ชะมดตรัง" โดย มนตรี สังขาว.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและอีเห็นข้างลาย · ดูเพิ่มเติม »

ฮิปโปโปเตมัสแคระ

ปโปโปเตมัสแคระ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ฮิปโปแคระ (Pygmy hippopotamus; หรือ Hexaprotodon liberiensis) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกินพืชชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ฮิปโปโปเตมัส (Hippopotamidae) ฮิปโปโปเตมัสแคระ จัดเป็นสัตว์เพียง 1 ใน 2 ชนิดเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์นี้ ที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน อีกชนิดหนึ่งนั้นคือ ฮิปโปโปเตมัส (Hippopotamus amphibius) ซึ่งถือเป็นญาติสนิท ฮิปโปโปเตมัสแคระมีรูปร่างทั่วไปคล้ายฮิปโปโปเตมัส แต่ว่ามีรูปร่างแตกต่างกันมากทีเดียว โดยมีขนาดเพียง 1 ใน 10 ของฮิปโปโปเตมัสเท่านั้น มีความสูงจากกีบเท้าจนถึงหัวไหล่ไม่เกิน 1 เมตร (3 ฟุต) มีความยาวลำตัวประมาณ 75–100 เซนติเมตร (2.46–3.28 ฟุต) และน้ำหนักประมาณ 180–275 กิโลกรัม (397–606 ปอนด์) อายุขัยไม่เป็นที่ทราบแน่นอน แต่อายุในที่เลี้ยงสูงสุด 30–55 ปี เชื่อว่าในธรรมชาติไม่น่าจะมีอายุได้ยาวนานขนาดนี้ มีสีผิวที่เข้มกว่าฮิปโปโปเตมัส คือ มีสีเขียวเข้มหรือน้ำตาลเข้ม ส่วนหัวกลมกว่าฮิปโปโปเตมัส ส่วนหลังโค้งขึ้นและลาดต่ำลงมาทางก้น ผิวหนังเรียบลื่น ตามลำตัวแทบไม่มีขน ยกเว้นขนเพียงไม่กี่เส้น ที่บริเวณริมฝีปากและหาง เบ้าตาอยู่ด้านข้างของหัว และมีเหงื่อใส ไม่เข้มเป็นสีแดงเหมือนเลือดแบบฮิปโปโปเตมัส อีกทั้งฮิปโปโปเตมัสแคระ ยังมีอุปนิสัยและพฤติกรรมต่างจากฮิปโปโปเตมัสอีกด้วย กล่าวคือ เป็นสัตว์ที่รักสันโดษ อยู่ตามลำพังเพียงตัวเดียว ขี้อาย และหวาดกลัวมนุษย์ เป็นสัตว์ที่แม้ประสาทการมองเห็นไม่ดี แต่ประสาทการดมกลิ่นนั้นดีเยี่ยม กินอาหารจำพวก พืชผักชนิดต่าง ๆ เช่น มันเทศ, ผลไม้ที่หล่นตามพื้น, หญ้า รวมถึงกินดินโป่งเพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ร่างกายเหมือนกับสัตว์กินพืชชนิดอื่นด้วย โดยจะพบกระจายพันธุ์ได้เฉพาะในพื้นที่ชุ่มน้ำในป่าดิบชื้นของภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกเท่านั้น คือ แถบประเทศไลบีเรีย, กินี, เซียร์ราลีโอน และโกตดิวัวร์ พฤติกรรมโดยทั่วไปยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด รวมถึงมีภาพบันทึกความเป็นอยู่ในธรรมชาติทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวเพียงไม่กี่ภาพเท่านั้น เท่าที่ทราบ คือ เป็นสัตว์หากินกลางคืน ในเวลากลางวันจะหลบซ่อนตัวหรือแช่น้ำ จะรวมตัวกันเฉพาะในฤดูผสมพันธุ์ มีแหล่งอาศัยโดยใช้เขี้ยวคู่หน้าที่แหลมยาวขุดโพรงดินริมตลิ่งน้ำใช้เป็นที่อยู่อาศัย ในที่ ๆ มีกิ่งไม้หรือรากไม้หรือวัสดุธรรมชาติต่าง ๆ มาปกปิดไว้ ความยาวของโพรงอาจยาวได้ถึง 9 เมตร นับว่าใหญ่กว่าขนาดตัวของฮิปโปโปเตมัสแคระมาก และอาจมีทางเข้ามากกว่าหนึ่งทาง โดยจะดำน้ำเข้าไป และเชื่อว่าใช้เป็นที่เลี้ยงดูลูกอ่อนด้วย ลักษณะของหัวกะโหลก ฮิปโปโปเตมัสแคระคู่ แม้ฮิปโปโปเตมัสแคระจะเป็นสัตว์ที่สันโดษ อยู่อาศัยและหากินเพียงตัวเดียว แต่จากการศึกษาก็พบว่า ฮิปโปโปเตมัสแคระสามารถใช้เส้นทางการหากินร่วมกันมากกว่าหนึ่งตัวได้ ทั้งตัวผู้และตัวเมีย แม้จะไม่ใช่ฤดูผสมพันธุ์ ฮิปโปโปเตมัสแคระมีการประกาศอาณาเขตด้วยการถ่ายปัสสาวะและมูลโดยใช้หางสะบัดใส่ตามโคนต้นไม้หรือตามทางเดินหาอาหาร และมีทฤษฎีว่า ฮิปโปโปเตมัสแคระมีพฤติกรรมในการปล่อยฟีโรโมนคล้ายแมว เมื่อฮิปโปโปเตมัสแคระตัวเดิมเดินมาพบกับฟีโรโมนของตัวเอง จะเป็นแรงกระตุ้นให้รู้สึกสดชื่นและคึกคัก ปัจจุบัน สถานะในธรรมชาติของฮิปโปโปเตมัสแคระจัดว่าเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากถูกคุกคามถิ่นที่อยู่อาศัยเพราะการตัดไม้ทำลายป่า อีกทั้งยังถูกล่าเพื่อเอาเนื้อมาบริโภค และนำหนังมาทำเป็นแส้ของชาวพื้นเมืองแอฟริกาด้วย โดยฮิปโปโปเตมัสแคระมีการคุ้มครองที่อุทยานแห่งชาติตาอีในโกตดิวัวร์ แต่ในไลบีเรียที่อยู่ติดกันกลับไม่มีกฎหมายคุ้มครอง เนื้อของฮิปโปโปเตมัสแคระนั้นมีรสชาติอร่อยเหมือนเนื้อหมูป่า จึงนิยมซื้อขายกันในตลาดค้าสัตว์ป่าเถื่อน ฮิปโปโปเตมัสแคระ ในธรรมชาติปัจจุบันเหลือเพียงไม่เกิน 3,000 ตัว แต่ส่วนที่เลี้ยงในสวนสัตว์ทั่วทั้งโลกมีประมาณ 350 ตัว และมีการคลอดลูก ในประเทศไทยมีเลี้ยงเช่นที่ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว และสวนสัตว์เชียงใหม่ โดยชื่อเรียกสามัญในภาษาอังกฤษคล้ายกับวัว คือ ตัวผู้เรียกว่า bull ตัวเมียเรียกว่า cow ขณะที่ลูกฮิปโปโปเตมัสแคระเรียกว่า calf ส่วนฝูงฮิปโปโปเตมัสแคระเรียกว่า herd หรือ bloa.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและฮิปโปโปเตมัสแคระ · ดูเพิ่มเติม »

ผีเสื้อหนอนม้วนใบเขานัน

ผีเสื้อหนอนม้วนใบเขานัน (ชื่อสามัญ: Khao Nan Leaf Rollers) เป็นสัตว์จัดเป็นผีเสื้อกลางคืน หรือ มอสขนาดเล็ก (Microlepidoptera) ในวงศ์ผีเสื้อหนอนม้วนใบ (Family Tortricidae) ที่พบเฉพาะประเทศไทย ซึ่งถูกค้นพบโดย ผศ.ดร.นันทศักดิ์ ปิ่นแก้ว.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและผีเสื้อหนอนม้วนใบเขานัน · ดูเพิ่มเติม »

จระเข้แคระ

ระเข้แคระ (Dwarf crocodile) เป็นจระเข้ที่พบในทวีปแอฟริกา และเป็นชนิดของจระเข้ที่เล็กที่สุดในโลก ปัจจุบันจากการสุ่มตัวอย่างตรวจพบถึงการระบุประชากรที่แตกต่างกันสามกลุ่มพันธุกรรม ซึ่งการค้นพบนี้อาจยกชนิดย่อยขึ้นเป็นชน.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและจระเข้แคระ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอินคา

ักรวรรดิอินคา (Inca Empire; Imperio Incar) (ค.ศ. 1438-1533) เป็นจักรวรรดิโบราณที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ในยุคก่อนโคลัมบัส จักรวรรดิอินคามีอำนาจขึ้นบริเวณที่ราบสูงของประเทศเปรูในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 ช่วงปี..

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและจักรวรรดิอินคา · ดูเพิ่มเติม »

จิ้งเหลนจระเข้ตาแดง

้งเหลนจระเข้ตาแดง หรือ จิ้งเหลนจระเข้ตาส้ม หรือ จิ้งเหลนจระเข้ตาเหลือง (ตัวย่อ: Trib) เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tribolonotus gracilis อยู่ในวงศ์ Scincidae หรือจิ้งเหลน มีผิวลำตัวเรียบลื่นเหมือนจิ้งเหลนทั่วไป แต่มีหนามแข็งคล้ายจระเข้ทั่วทั้งตัวจรดหาง หัวมีขนาดใหญ่ เป็นรูปทรงสามเหลี่ยม ลำตัวคล้ายทรงสี่เหลี่ยม มีสีน้ำตาลเข้มจนถึงสีดำ ดวงตามีขนาดกลมโต มีจุดเด่น คือ มีวงแหวนสีส้มหรือแดงรอบดวงตา บางตัวอาจเป็นสีน้ำตาลทอง ที่บริเวณใบหน้าและเท้า อันเป็นที่มาของชื่อเรียกในภาษาอังกฤษ มีความยาวเต็มที่ประมาณ 7-10 นิ้ว โดยเป็นส่วนหัวและลำตัวประมาณ 3 นิ้ว และส่วนหาง 2 นิ้วเท่านั้น ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ซึ่งแตกต่างไปจากจิ้งเหลนชนิดอื่น ๆ ที่มักออกลูกเป็นตัว เมื่อแรกเกิดที่ฟักออกจากไข่จะมีขนาดราว 2 นิ้ว โตเต็มวัยเมื่อมีอายุประมาณ 6-8 เดือน ตั้งท้องนานประมาณ 20 วัน มีอายุยืนประมาณ 10-15 ปี มีถิ่นกระจายพันธุ์อยู่ที่นิวกินี ในป่าดิบชื้น ที่มีความชื้นพอสมควร หากินตามพื้นดินไม่ค่อยขึ้นต้นไม้ โดยกินสัตว์ขนาดเล็ก เช่น จิ้งหรีด, ทาก, ลูกกบ, หนอน, ตั๊กแตน, ไส้เดือน, หนู หรือแมลงปีกแข็ง เป็นต้น ปัจจุบัน นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง สำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลี้ยงแปลก ๆ หรือสัตว์เลื้อยคลาน เป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย นิสัยไม่ดุร้าย ซึ่งนิยมเลี้ยงกันในตู้กระจก โดยจัดสภาพแวดล้อมให้คล้ายกับถิ่นที่อยู่ในธรรมชาติจริง.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและจิ้งเหลนจระเข้ตาแดง · ดูเพิ่มเติม »

จงโคร่ง

และวงศ์หมาน้ำ จงโคร่ง หรือ หมาน้ำ หรือ กง หรือ กระทาหอง หรือ กระหอง (ปักษ์ใต้) (อังกฤษ: Giant jungle toad, Asian giant toad; ชื่อวิทยาศาสตร์: Phrynoidis aspera) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกคางคกขนาดใหญ่ที่พบในประเทศไทยชนิดหนึ่ง จงโคร่งนับเป็นคางคกชนิดที่ใหญ่ที่สุดที่พบได้ในประเทศไทย บริเวณหลังมีน้ำพิษเห็นเป็นปุ่มชักเจน ตาใหญ่ ตัวมีสีน้ำตาลดำ ตัวผู้มักปรากฏลายสีเข้มเป็นแถบทั้งขาหน้า และขาหลัง บริเวณใต้ท้องมีสีขาวหม่น ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 22 เซนติเมตร ขายาว 6-8 นิ้ว ขาหน้าสั้นกว่าขาหลัง นิ้วเท้ามี 4 นิ้ว สามารถเปลี่ยนสีลำตัวได้ตามสภาพแวดล้อม โดยตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ จงโคร่งเป็นสัตว์ที่พบได้เฉพาะในป่าดิบชื้น โดยจะอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำในป่า เช่น ลำธารน้ำตกหรือลำห้วย โดยมักใช้ชีวิตอยู่ในน้ำมากกว่าอยู่บนบก มักหลบอยู่ตามขอนไม้หรือก้อนหินขนาดใหญ่ หากินในเวลากลางคืน อาหารหลักได้แก่ แมลงและสัตว์น้ำขนาดเล็ก มีเสียงร้องคล้ายสุนัขเห่า จึงได้อีกชื่อหนึ่งว่า "หมาน้ำ" โดยมีพฤติกรรมร้องเป็นจังหวะ ๆ ละ 6-10 วินาที ลักษณะไข่เป็นฟองกลม ๆ อาจติดอยู่ตามขอบแหล่งน้ำที่อาศัย โดยฤดูกาลผสมพันธุ์อยู่ในช่วงฤดูฝนจนถึงต้นฤดูหนาว พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในป่าดิบชื้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทย พบได้ในภาคเหนือ, ภาคตะวันตกและภาคใต้ ในความเชื่อของคนปักษ์ใต้ จงโคร่งหรือกงเป็นสัตว์นำโชค หากเข้าบ้านใครถือเป็นลางมงคล แต่ในบางท้องถิ่นมีการเอาหนังของจงโคร่งมาตากแห้งแล้วมวนผสมกับใบยาสูบสูบเหมือนยาสูบทั่วไป มีฤทธิ์แรงกว่ายาสูบหรือบุหรี่ทั่วไป โดยมีความแรงเทียบเท่ากับกัญชา ในฟิลิปปินส์ก็นิยมทำเช่นเดียวกัน ปัจจุบัน มีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและจงโคร่ง · ดูเพิ่มเติม »

ธารน้ำ

ลำธารน้ำตก ลำธาร (Brook, Stream) เป็นแหล่งน้ำประเภทหนึ่ง ที่เป็นทางน้ำที่จัดได้ว่าเป็นแหล่งกำเนิดของน้ำ ลำธารจะเป็นแหล่งน้ำที่ตาน้ำพุดน้ำไหลมาบนผิวดินหรือซึมออกจากดินให้ระบายลงสู่ลำน้ำและไหลไปเรื่อย ๆ จนกลายเป็นทางน้ำที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เช่น คลอง ไปจนถึงเป็นแม่น้ำ โดยมากแล้ว ลำธารมักจะอยู่บนภูเขาในพื้นที่ ๆ เป็นป่าดิบชื้นหรือไหลลงมาจากน้ำตก โดยคุณภาพของน้ำในลำธารจะใส มีอุณหภูมิที่เย็น และมีปริมาณออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำในอัตราที่สูง ในประเทศไทย พื้นที่เป็นที่ลำธารเหนือลุ่มแม่น้ำปิงมีพื้นที่รวมประมาณ 26,390 ตารางกิโลเมตร เมื่อมีฝนตกภายในพื้นที่ลุ่มน้ำดังกล่าว น้ำที่ไหลอยู่บนผิวดินรวมกับน้ำที่ไหลซึมออกจากดินก็จะไหลลงลำธาร และไหลลงสู่แม่น้ำปิงไปยังอ่างเก็บน้ำของเขื่อนภูมิพล เป็นต้น.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและธารน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาใต้

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้ แผนที่ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและทวีปอเมริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ที่ราบ

ูเขาอารารัตในคอเคซัส โดยมีที่ราบอารารัตอยู่ด้านหน้า ในวิชาภูมิศาสตร์ ที่ราบ หรือ พื้นราบ เป็นแผ่นดินเรียบกวางใหญ่ซึ่งปกติมีการเปลี่ยนแปลงระดับความสูงไม่มาก ที่ราบเกิดเป็นที่ลุ่มตามก้นของหุบเขาหรือเป็นประตูสู่ภูเขา เป็นที่ราบชายฝั่ง และที่ราบสูงหรือที่ดอน ในหุบเขาที่ราบจะถูกขนาบทั้งสองด้นา แต่บางทีที่ราบอาจแสดงขอบเขตโดยวงแหวนเขาครบวงหรือไม่ครบวง โดยภูเขาหรือหน้าผา เมื่อบริเวณภูมิศาสตร์หนึ่งมีที่ราบมากกว่าหนึ่งแห่ง ที่ราบทั้งหลายอาจเชื่อมกันโดยช่องเขา (pass หรือ gap) ที่ราบชายฝั่งส่วนใหญ่สูงกว่าระดับน้ำทะเลจนไปบรรจบภูเขาหรือที่ราบสูง ที่ราบเป็นธรณีสัณฐานหลักอย่างหนึ่งของโลก โดยปรากฏอยู่ในทุกทวีป และกินอาณาบริเวณกว่าหนึ่งในสามของพื้นที่ดินของโลก ที่ราบอาจเกิดขึ้นระหว่างลาวาไหล มีการทับถมโดยน้ำ น้ำแข็งหรือลม หรือเกิดจากการกร่อนด้วยตัวการดังกล่าวจากเขาและภูเขา ปกติที่ราบอยู่ภายใต้ชีวนิเวศทุ่งหญ้า (เขตอบอุ่นหรือกึ่งเขตร้อน) สเตปป์ (กึ่งแห้งแล้งจัด) สะวันนา (เขตร้อน) หรือทันดรา (ขั้วโลก) ในบางกรณี บริเวณแห้งแล้งและป่าฝนก็เป็นที่ราบได้ ที่ราบในหลายพื้นที่มีความสำคัญต่อเกษตรกรรมเพราะดินมีการทับถมเป็นตะกอนที่อาจลึกและอุดมสมบูรณ์ และความราบช่วยเอื้อต่อการผลิตพืชผลโดยใช้เครื่องจักร หรือเพราะเอื้อต่อทุ่งหญ้าซึ่งเป็นแหล่งอาหารอย่างดีสำหรับปศุสัตว.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและที่ราบ · ดูเพิ่มเติม »

ขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า 4: อาณาจักรกะโหลกแก้ว

มทรัพย์สุดขอบฟ้า 4: อาณาจักรกะโหลกแก้ว (Indiana Jones and the Kingdom of the Crystal Skull) เป็นภาพยนตร์ภาคที่ 4 ในซีรีส์ของ อินเดียน่า โจนส์ เป็นภาพยนตร์แอ็คชั่น ออกฉายวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 กำกับโดย สตีเวน สปีลเบิร์ก และร่วมเขียนเรื่องโดย จอร์จ ลูคัส อำนวยการสร้างโดย แฟรงก์ มาร์แชล เดนิส แอล. สจ๊วต จอร์จ ลูคัส แคธรีน เคนเนดี ภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทำที่เกาะฮาวาย โดยเซ็ตฉากขึ้นมาให้เป็นป่าดงดิบในประเทศเปรู และอีกส่วนหนึ่งของการถ่ายทำคือที่ลอสแอนเจล.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า 4: อาณาจักรกะโหลกแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

ดองดึง

องดึง (Climbing Lily, Turk's cap, Superb Lily) หรือ ดาวดึง, หัวฟาน, หัวขวาน, พันมหา (อีสาน) เป็นพืชชนิดหนึ่งจำพวกหัว ต้นมีลักษณะเป็นเถาปลายตั้ง ใบเดี่ยวรูปหอก ส่วนปลายแหลมยาวบิดม้วนช่วยยึดเกาะ ลักษณะของดอกเป็นดอกเดี่ยว กลีบเรียวยาว ขอบของดอกบิดเป็นคลื่นปลายกลีบมีสีแดง ที่โคนหากบานใหม่ ๆ จะมีสีเหลือง แต่เมื่อแก่จะมีสีส้ม ผลเป็นรูปกระสวยเมื่อแก่จะแตกออก เมล็ดมีสีส้ม หัวกลมเรียวมีหงอนเหมือนขวาน มักขึ้นตามป่าดงดิบเขาชื้น หรือที่รกร้างว่างเปล่าที่มีความชุ่มชื้นสูง ขยายพันธ์ด้วยเมล็ดหรือแยกเหง้.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและดองดึง · ดูเพิ่มเติม »

ด้วงกว่างเฮอร์คิวลีส

้วงกว่างเฮอร์คิวลีส เป็นด้วงกว่างที่มีความยาวและความใหญ่ที่สุดในโลก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dynastes hercules อยู่ในวงศ์ Scarabaeidae พบกระจายพันธุ์ในป่าดิบชื้นตั้งแต่ภูมิภาคอเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้ นับเป็นด้วงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุล Dynastes ที่มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 6 ชนิด เป็นด้วงที่มีความแตกต่างระหว่างตัวผู้กับตัวเมียมาก ตัวผู้มีเขายาว และมีความยาวตั้งแต่ปลายเขาจรดลำตัว 45-178 มิลลิเมตร ขณะที่ตัวเมียไม่มีเขา และมีความยาวเพียงครึ่งหนึ่งของตัวผู้ คือ 50-80 มิลลิเมตร ด้วงกว่างเฮอร์คิวลีส มีชนิดย่อยทั้งหมด 13 ชนิด โดยชนิดที่มีความยาวที่สุด คือ D. h. hercules พบในเฟรนซ์ กัวดาลูเป้และดอมินีกา ที่ตัวผู้ยาวได้ถึง 178 มิลลิเมตร และมีบันทึกไว้ว่ายาวที่สุดคือ 190 มิลลิเมตร ตัวหนอนกินซากผุของต้นไม้เป็นอาหาร และมีระยะการเป็นตัวหนอนยาวนานถึง 16 เดือน ด้วงกว่างเฮอร์คิวลีสนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงในต่างประเทศมาอย่างยาวนาน เช่นที่ ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ได้รับความนิยมโดยเฉพาะในหมู่เด็ก ๆ สำหรับในประเทศไทย ผู้ที่จะเลี้ยงยังต้องนำสั่งเข้ามาจากต่างประเทศแต่ในกลางเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 สามารถเพาะขยายพันธุ์เป็นผลสำเร็จครั้งแรกที่สวนแมลงสยาม ที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและด้วงกว่างเฮอร์คิวลีส · ดูเพิ่มเติม »

ความหลากหลายทางชีวภาพ

วามหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) หมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตน้อยนิด พันธุ์ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก หรือง่ายๆ คือ การที่มีชนิดพันธุ์ (Species) สายพันธุ์ (Genetic) และระบบนิเวศ (Ecosystem.) ที่แตกต่างหลากหลายบนจักรวาล ความหลากหลายทางชีวภาพสามารถพิจารณาได้จากความหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ระหว่างชนิดพันธุ์ และระหว่างระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างสายพันธุ์ ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ ความแตกต่างระหว่างพันธุ์พืชและสัตว์ต่างๆ ที่ใช้ในการเกษตร ความแตกต่างหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ทำให้สามารถเลือกบริโภคข้าวเจ้า หรือข้าวเหนียว ตามที่ต้องการได้ หากไม่มีความหลากหลายของสายพันธุ์ต่างๆ แล้ว อาจจะต้องรับประทานส้มตำปูเค็มกับข้าวจ้าวก็เป็นได้ ความแตกต่างที่มีอยู่ในสายพันธุ์ต่างๆ ยังช่วยให้เกษตรกรสามารถเลือกสายพันธุ์ปศุสัตว์ เพื่อให้เหมาะสมตามความต้องการของตลาดได้ เช่น ไก่พันธุ์เนื้อ ไก่พันธุ์ไข่ดก วัวพันธุ์นม และวัวพันธุ์เนื้อ เป็นต้น ความหลากหลายระหว่างชนิดพันธุ์ สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปถึงความแตกต่างระหว่างพืชและสัตว์แต่ละชนิด ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่อยู่ใกล้ตัว เช่น สุนัข แมว จิ้งจก ตุ๊กแก กา นกพิราบ และนกกระจอก เป็นต้น หรือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในป่าเขาลำเนาไพร เช่น เสือ ช้าง กวาง กระจง เก้ง ลิง ชะนี หมี และวัวแดง เป็นต้น พื้นที่ธรรมชาติเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างหลากหลาย แต่ว่ามนุษย์ได้นำเอาสิ่งมีชีวิตมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร และอุตสาหกรรม น้อยกว่าร้อยละ 5 ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ในความเป็นจริงพบว่ามนุษย์ได้ใช้พืชเป็นอาหารเพียง 3,000 ชนิด จากพืชมีท่อลำเลียง (vascular plant) ที่มีอยู่ทั้งหมดในโลกถึง 320,000 ชนิด ทั้งๆ ที่ประมาณร้อยละ 25 ของพืชที่มีท่อลำเลียงนี้สามารถนำมาบริโภคได้ สำหรับชนิดพันธุ์สัตว์นั้น มนุษย์ได้นำเอาสัตว์เลี้ยงมาเพื่อใช้ประโยชน์เพียง 30 ชนิด จากสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมดที่มีในโลกประมาณ 50,000 ชนิด (UNEP 1995) ความหลากหลายระหว่างระบบนิเวศเป็นความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งซับซ้อน สามารถเห็นได้จากความแตกต่างระหว่างระบบนิเวศประเภทต่างๆ เช่น ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า ป่าชายเลน ทะเลสาบ บึง หนอง ชายหาด แนวปะการัง ตลอดจนระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ทุ่งนา อ่างเก็บน้ำ หรือแม้กระทั่งชุมชนเมืองของเราเอง ในระบบนิเวศเหล่านี้ สิ่งมีชีวิตก็ต่างชนิดกัน และมีสภาพการอยู่อาศัยแตกต่างกัน ความแตกต่างหลากหลายระหว่างระบบนิเวศ ทำให้โลกมีถิ่นที่อยู่อาศัยเหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ระบบนิเวศแต่ละประเภทให้ประโยชน์แก่การดำรงชีวิตของมนุษย์แตกต่างกัน หรืออีกนัยหนึ่งให้ 'บริการทางสิ่งแวดล้อม' (environmental service) ต่างกันด้วย อาทิเช่น ป่าไม้ทำหน้าที่ดูดซับน้ำ ไม่ให้เกิดน้ำท่วมและการพังทลายของดิน ส่วนป่าชายเลนทำหน้าที่เก็บตะกอนไม่ให้ไปทบถมจนบริเวณปากอ่าวตื้นเขิน ตลอดจนป้องกันการกัดเซาะบริเวณชายฝั่งจากกระแสลมและคลื่นด้วย เป็นต้น.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและความหลากหลายทางชีวภาพ · ดูเพิ่มเติม »

คาลาโนโร่

ลาโนโร่ (Kalanoro) เป็นชื่อสัตว์ประหลาดชนิดหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในป่าทึบบนเกาะมาดากัสการ์ คาลาโนโร่เชื่อว่ามีลักษณะคล้ายมนุษย์ แต่มีความสูงเพียง 3 ฟุต มีขนยาวสีน้ำตาลแดง มีกรงเล็บที่แหลมคม มีพละกำลังที่มากมายเกินกว่าขนาดตัว แต่มีเท้าที่หันหลังเข้าไปด้านหลัง คาลาโนโร่มีนิสัยที่ดุร้าย สามารถทำร้ายและฆ่ามนุษย์ได้ด้วยการใช้กรงเล็บมือที่ทรงพลังควักไส้ มีผู้อ้างว่าพบเห็นสิ่งที่เชื่อว่าเป็นคาลาโนโร่มากมาย ทั้งชาวพื้นเมืองที่บอกว่าเคยถูกคาลาโนโร่ทำร้าย และนักวิชาการชาวตะวันตก นักชีววิทยาชาวตะวันตกผู้หนึ่งอ้างว่า เขาเคยพบกับคาลาโนโร่ และเขาจึงเชื่อว่ามันไม่ใช่แค่เรื่องเล่าขานหรือตำนาน เมื่อเขาได้สำรวจป่ามาดากัสการ์ด้วยการติดตาข่ายดักนก ที่ตาข่าย เขาเห็นสัตว์อะไรบางอย่างที่สันเขา เห็นว่ามันยืนด้วยสองขาหลังเหมือนมนุษย์ แต่มีความสูงเพียง 3 ฟุตหรือ 3 ฟุตครึ่ง ขนรุงรัง ไม่ใส่เสื้อผ้า และแววตาของมันดูน่ากลัวมาก เรื่องราวเกี่ยวกับคาลาโนโร่เป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี ค.ศ. 1889 เมื่อสมาคมภูมิศาสตร์ของบริติชราช ได้ทำการสำรวจทั่วเกาะ แต่ก็ไม่สามารถพบตัวอย่างเลยแม้สักตัว ทั้งนี้เชื่อกันว่าคาลาโนโร่อาจเชื่อมโยงกับลีเมอร์ หรืออาย-อาย ซึ่งเป็นสัตว์เฉพาะถิ่นที่พบได้บนเกาะมาดากัสการ์นี้เท่านั้น.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและคาลาโนโร่ · ดูเพิ่มเติม »

คางคกต้นไม้

งคกต้นไม้ (Tree toad, House's tree toad) สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดหนึ่ง ในวงศ์คางคก (Bufonidae) เป็นคางคกที่มีขนาดใหญ่ หนังเรียบ ลำตัวบึกบึน แผ่นปิดหูปรากฏชัดเจน ไม่มีต่อมพาโรตอยด์ นิ้วตีนหน้ามีแผ่นพังผืด แต่บริเวณโคนนิ้วนิ้วตีนมีพังผืดเต็มนิ้วยกเว้นนิ้วที่สี่ ซึ่งจะยาวที่สุดและปลายนิ้วค่อนข้างจะแผ่กว้าง ด้านบนของหัวเรียบ ส่วนบนหลังมีต่อมกระจายประปราย ตัวเมียใหญ่กว่าตัวผู้ประมาณ 2 เท่า ตัวเมียมีสีน้ำตาลทั้งตัวขณะที่ตัวผู้จะมีจุดสีเหลืองกระจาย มีความยาวจากปลา่ยปากจนถึงก้นประมาณ 64 เซนติเมตร อาศัยอยู่ตามกองใบไม้ใกล้ลำธารในป่าดิบชื้นทางภาคใต้ของประเทศไทย พบตามแถบภูเขาเช่น จังหวัดพัทลุง, ยะลา และนราธิวาส ในต่างประเทศพบได้ตลอดคาบสมุทรมลายู จนถึงอินโดนีเซีย กินสัตว์ขนาดเล็กจำพวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นอาหาร มีสถานภาพเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามประกาศของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พื.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและคางคกต้นไม้ · ดูเพิ่มเติม »

ค้างคาวสเปกตรัม

ำหรับค้างคาวแวมไพร์แปลงอย่างอื่น ดูที่: ค้างคาวแวมไพร์แปลง ค้างคาวสเปกตรัม หรือ ค้างคาวแวมไพร์แปลง (Spectral bat, False vampire bat; – แวมไพรัม สเปกตรัม) เป็นค้างคาวขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง เป็นค้างคาวชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Vampyrum.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและค้างคาวสเปกตรัม · ดูเพิ่มเติม »

ค้างคาวแม่ไก่ภาคกลาง

้างคาวแม่ไก่ภาคกลาง (Lyle's flying fox) เป็นค้างคาวขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ค้างคาวผลไม้ (Pteropodidae) มีลักษณะเหมือนค้างคาวแม่ไก่ชนิดอื่น ๆ มีขนาดใหญ่กว่าค้างคาวแม่ไก่เกาะแต่เล็กกว่าค้างคาวแม่ไก่ป่าฝน ขนส่วนท้องและหลังสีน้ำตาลทอง ปลายหูแหลม มีความยาวแขนถึงศอกประมาณ 14.5-16 เซนติเมตร มีน้ำหนักตัว 390-480 กรัม พบกระจายพันธุ์ในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง, ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ของประเทศไทย โดยพบตั้งแต่พื้นที่อ่าวไทยตอนในจรดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และพบได้ที่กัมพูชาและเวียดนาม โดยอาศัยรวมกันเป็นฝูงใหญ่ เกาะบนต้นไม้ จากการศึกษาพบว่า ค้างคาวแม่ไก่ภาคกลางในประเทศไทย มีพื้นที่อาศัยเกาะนอน 16 แห่ง โดยมักอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นหรือพื้นที่ใกล้สวนผลไม้ ในแต่ละคืน กินพืชเป็นอาหารประมาณ 3.38-8.45 ตัน ซึ่งถือว่ามีปริมาณที่ค่อนข้างมากและยากที่เกษตรกรจะยอมรับได้ โดยเป็นพืชเศรษฐกิจเสียส่วนใหญ่ ปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและค้างคาวแม่ไก่ภาคกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ค้างคาวแม่ไก่ป่าฝน

้างคาวแม่ไก่ป่าฝน (Large flying fox, Greater flying fox, Malayan flying fox, Malaysian flying fox, Large fruit bat) เป็นค้างคาวชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pteropus vampyrus อยู่ในวงศ์ Pteropodidae หรือค้างคาวผลไม้ เป็นค้างคาวขนาดใหญ่ มีหัวคล้ายหมาจิ้งจอก มีดวงตาโต จมูกและใบหูเล็ก ขนสีน้ำตาลแกมแดง และมีเล็บที่แหลมคมสามารถเกาะกิ่งไม้ได้ โดยจะใช้เล็บของนิ้วที่ 2 ที่เหมือนตะขอเป็นหลักในการป่ายปีนและเคลื่อนไหว มีฟันทั้งหมด 36 ซี่ ที่เขียนเป็นสูตรได้ว่า Lekagul B., J. A. McNeely.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและค้างคาวแม่ไก่ป่าฝน · ดูเพิ่มเติม »

งูอนาคอนดายักษ์

งูยักษ์ในแม่น้ำบนเกาะบอร์เนียว ที่เชื่อว่าเป็นภาพตกแต่ง งูอนาคอนดายักษ์ (Giant Anaconda) เป็นสิ่งมีชีวิตลึกลับที่เชื่อกันว่าว่ามีอยู่ในป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้ โดยเป็นงูอนาคอนดาขนาดใหญ่ที่ใหญ่กว่างูอนาคอนดาธรรมดามาก ซึ่งชื่อในภาษาท้องถิ่นเรียกว่า "คอบร้าแกรนดี" แปลว่า "งูยักษ์" โดยที่งูอนาคอนดาสายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดนั้น คือ งูอนาคอนดาเขียว (Eunectes murinus) ที่โตเต็มที่จะยาวได้ประมาณ 17 ฟุต (แต่อาจยาวได้ถึง 29 ฟุต) และงูใหญ่จำพวกอื่น คือ งูเหลือม (Python reticulatus) ที่พบในทวีปเอเชีย ก็อาจยาวได้มากกว่า 20 ฟุต เรื่องราวของงูอนาคอนดายักษ์นั้น ปรากฏอยู่ในเรื่องเล่าและนิทานพื้นบ้านของชนพื้นเมืองมานานแล้ว จนกระทั่งมีการเข้าไปสำรวจทวีปอเมริกาใต้ของชาวตะวันตกในยุคล่าอาณานิคม โดยชาวสเปนและชาวโปรตุเกสได้รายงานมาว่า มีงูขนาดใหญ่ที่เรียกว่า "มาตาโตโร่" ที่แปลได้ว่า "งูกินวัว" โดยรายงานว่ามันมีความยาวกว่า 80 ฟุต ต่อมาในปี ค.ศ. 1906 พันเอกเพอร์ซี ฟาลเคตต์ ซึ่งเป็นนักสำรวจผู้เขียนแผนที่ป่าอเมซอนได้เขียนลงในบันทึกของเขาว่าเขามีหนังงูที่มีความยาว 62 ฟุต และกล่าวว่า เขาได้สังหารงูตัวนี้ด้วยปืนไรเฟิลด้วยกระสุนขน.44 ในกระดูกสันหลังของมัน ซึ่งมันโจมตีใส่เรือของคณะเขา เส้นผ่าศูนย์กลางของลำตัวมันเกินกว่า 12 นิ้ว และอาจจะใหญ่ได้มากกว่านี้ถ้าได้กินอาหารเข้าไป ในปี ค.ศ. 1925 สาธุคุณวิคเตอร์ไฮนซ์ เห็นงูขนาดใหญ่ที่แม่น้ำริโอเนโกรซึ่งสาขาของแม่น้ำอเมซอน ท่านกล่าวว่าลำตัวของมันที่มองเห็นได้อย่างน้อยยาวกว่า 80 ฟุต และร่างกายมีความหนาเหมือนหนังกลอง ต่อมาหนังสือพิมพ์เปอร์นัมบูโก ในบราซิลประจำวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1948 ตีพิมพ์ภาพและพาดหัวว่า พบงูอนาคอนดาที่มีน้ำหนักกว่า 5 ตัน ขณะที่กำลังกินวัวไปครึ่งตัว โดยภาพส่วนหนึ่งแสดงให้เห็นซากงูที่ถูกชำแหละโดยชาวอินเดียนพื้นเมือง วัดความยาวได้ 113 ฟุต 4 เดือนต่อมาหนังสือพิมพ์นูตี อิลลัสตราดา ของริโอเดอจาเนโร ได้ลงภาพถ่ายของงูอนาคอนดาตัวหนึ่งที่ถูกฆ่าโดยทหารบก มีความยาวทั้งสิ้น 115 ฟุต นอกจากนี้แล้วการรายงานพบเห็นงูขนาดใหญ่ยังมีในทวีปอื่นด้วย ในทวีปแอฟริกา เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 7 มีเรื่องเล่าของนักสำรวจว่า ในประเทศแอฟริกาใต้ บริเวณแม่น้ำออเรนจ์ มีถ้ำที่มีอัญมณีซุกซ่อนอยู่ โดยมีงูยักษ์ชื่อ กรูสสแลง เฝ้าอยู่ปากถ้ำ งูนี้มีลำตัวยาว 13 เมตร และเส้นผ่านศูนย์กลางลำตัวกว้าง 1 เมตร และมีความเชื่อของชนพื้นเมืองแถบน้ำตกอูกราบีส์ ซึ่งเป็นน้ำตกของแม่น้ำออเรนจ์ว่า ใต้น้ำตกเป็นที่อยู่ของงูใหญ่ที่เฝ้าสมบัติอยู่ในนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังฝนตก เมื่อปรากฏรุ้งขึ้น นั่นคือ ลำตัวของงูที่มานอนอาบแดด ซึ่งมีผู้อ้างว่าเคยพบเห็นงูตัวนี้ โดยอ้างว่ามีสีดำสนิททั้งตัว พันเอกเรเน่ เลียร์ด ได้ขับเฮลิคอปเตอร์ของเขาจากเมืองกาตังกาในเบลเยียมคองโก ทันใดนั้นมีงูขนาดใหญ่ตัวหนึ่งได้โจมตีเฮลิคอปเตอร์ของเขา แต่เขาเอาตัวรอดพ้นได้และถ่ายรูปงูนั้นได้หลายรูป ประมาณความยาวได้กว่า 40–50 ฟุต ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 ปรากฏเป็นข่าวฮือฮาจากชาวพื้นเมือง บนเกาะบอร์เนียวของอินโดนีเซียว่าได้พบเห็นงูขนาดยักษ์ตัวหนึ่งแหวกว่ายอยู่ในแม่น้ำบนเกาะและถูกบันทึกภาพไว้ได้ ซึ่งน่าจะยาวกว่า 100 ฟุต แต่รูปนี้ก็ยังเป็นที่สงสัยอยู่ว่าเป็นการตกแต่งหรือไม่ และในเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกัน ที่เมืองกูผิง มณฑลเจียงซี ประเทศจีน ขณะมีการก่อสร้างถนนผ่านพื้นที่ป่า คนงานก่อสร้างก็พบกับงูขนาดใหญ่ยาวถึง 16.7 เมตร หนักถึง 300 กิโลกรัม อายุคาดว่าน่าจะอยู่ที่ 140 ปี ถึง 2 ตัว และหนึ่งในสองตัวนั้นก็ได้รับบาดเจ็บจากการถูกรถแบ็คโฮขุดถนนขุดถูกทำให้บาดเจ็บและตายลงในที่สุด อีกตัวก็หนีเข้าป่าไป ซึ่งซากงูตัวที่ตายนั้นได้ถูกถ่ายภาพและเป็นภาพที่แพร่หลายกันในประเทศจีน เรื่องราวของงูอนาคอนดายักษ์ได้ถูกอ้างอิงในวัฒนธรรมสมัยนิยมหลายประการ เช่น ภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด 3 ภาค เรื่อง Anaconda ในปี ค.ศ. 1997 Anacondas: The Hunt for the Blood Orchid ในปี ค.ศ. 2004 และ Anaconda 3: The Offspring ในปี ค.ศ. 2008 และเป็นสารคดีทางโทรทัศน์ของดิสคัฟเวอรี่ แชนนอลชุด Lost Tapes ในปี ค.ศ. 2009 ชื่อตอน Megaconda.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและงูอนาคอนดายักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

งูเขียวหางไหม้

ำหรับงูเขียวจำพวกอื่น ดูที่: งูเขียว งูเขียวหางไหม้ (Green pit vipers, Asian pit vipers Mehrtens JM.) เป็นงูที่อยู่ในสกุล Trimeresurus ในวงศ์งูพิษเขี้ยวพับ (Viperidae) มีรูปร่างโดยรวม คือ มีหัวยาวมนใหญ่เป็นรูปสามเหลี่ยม คอเล็ก ตัวอ้วนสั้น ปลายหางมีสีแดง ลำตัวมีสีเขียวอมเหลืองสด บางตัวมีสีเขียวอมน้ำเงิน หางสีแดงสด บางตัวมีหางสีแดงคล้ำเกือบเป็นสีน้ำตาล อันเป็นที่มาของชื่อ จัดเป็นงูพิษอ่อน ผิดไปจากงูสกุลหรือชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน โดยผู้ที่ถูกกัดจะไม่ถึงกับเสียชีวิต นอกจากเสียแต่ว่ามีโรคหรืออาการอื่นแทรกแซง โดยผู้ที่ถูกกัดจะมีอาการปวดอย่างรุนแรงทันทีที่ถูกกัด แล้วค่อย ๆหายใน 5-6 ชั่วโมง บริเวณที่ถูกกัดจะบวมอย่างรวดเร็วในระยะ 3-4 วันแรก จากนั้นจะค่อย ๆ ยุบบวมในเวลา 5-7 วัน อาจจะมีเลือดออกจากรอยเขี้ยว แต่ไม่มาก หากมีอาการมากกว่านี้ถือว่าเป็นอาการหนัก เป็นงูที่เลื้อยช้า ๆ ไม่รวดเร็ว มีนิสัยดุและฉกกัดเมื่อเข้าใกล้ ชอบอาศัยตามซอกชายคา, กองไม้, กระถางต้นไม้, กอหญ้า ออกหากินในเวลากลางคืนทั้งบนต้นไม้ และตามพื้นดินที่มีหญ้ารก ๆ โดยกิน นก, จิ้งจก, ตุ๊กแก, สัตว์ฟันแทะ รวมถึงสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำต่าง ๆ เป็นอาหาร ขณะเกาะนอนบนกิ่งไม้ จะใช้ลำตัวและหางรัดพันยึดกับกิ่งไม้ไว้ โดยปกติ เป็นงูที่ออกลูกเป็นตัวครั้งละประมาณ 8-12 ตัว แต่ก็มีบางชนิดเหมือนกันที่ออกลูกเป็นไข่ พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงหมู่เกาะแปซิฟิก พบประมาณ 35 ชนิด ในประเทศไทย พบชุกชุมในภาคกลางและภาคตะวันออก เช่น งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง (T. trigonocephalus), งูเขียวหางไหม้ลายเสือ (T. purpureomaculatus), งูหางแฮ่มกาญจน์ (T. kanburiensis), งูปาล์ม (T. puniceus) เป็นต้น โดยมีชนิดที่ค้นพบใหม่ คือ งูเขียวหางไหม้ภูเก็ต (T. phuketensis) ที่พบในป่าดิบชื้น ในจังหวัดภูเก็ต เมื่อเดือนตุลาคม..

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและงูเขียวหางไหม้ · ดูเพิ่มเติม »

ตั๊กแตนตำข้าวกล้วยไม้สีชมพู

ตั๊กแตนตำข้าวกล้วยไม้สีชมพู หรือ ตั๊กแตนต่อยมวยกล้วยไม้สีชมพู (Walking flower mantis, Pink orchid mantis) เป็นแมลงจำพวกตั๊กแตนตำข้าวชนิดหนึ่ง ได้ชื่อว่าเป็นตั๊กแตนตำข้าวที่มีสีสันและลักษณะสวยที่สุด โดยมีสีตลอดลำตัวเป็นสีชมพูหรือชมพูอ่อนเหลือบกับสีขาว บางตัวมีสีขาวล้วน และมีลักษณะพิเศษคือ สามารถเปลี่ยนสีได้ในระหว่างวัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เช่น ความชื้นและความเข้มของแสง ตั๊กแตนตำข้าวกล้วยไม้มีส่วนขาขยายออกเพื่อเลียนแบบกลีบดอกไม้ ชอบอยู่อาศัยตามธรรมชาติที่มีไม้ดอกไม้ประดับสีขาวหรือสีชมพู หรือเป็นไม้พุ่ม สามารถซ่อนตัวจากศัตรูได้อย่างแนบเนียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยไม้ มักจะนิ่ง ๆ เพื่อรอเหยื่อที่หลงทาง หรือทำตัวเป็นนักล่า เมื่อพบว่าเหยื่อเห็น ตัวผู้จะว่องไว เคลื่อนไหวรวดเร็ว และในช่วงผสมพันธุ์หากตัวเมียไม่พร้อม ตัวผู้อาจถูกตัวเมียจับกินเป็นอาหารได้ ตัวเมียจะมีความยาวประมาณ 6-7 เซนติเมตร ขณะที่ตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าคือ 2.5 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในป่าดิบชื้นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ส่วนหัวของตั๊กแตนตำข้าวกล้วยไม้สีชมพู ตัวเมียในวัยกึ่งโตเต็มวั.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและตั๊กแตนตำข้าวกล้วยไม้สีชมพู · ดูเพิ่มเติม »

ตามันเนอการา

ตามันเนอการา (Taman Negara, "อุทยานแห่งชาติ") ตั้งอยู่ในเขตรัฐปะหัง รัฐกลันตัน และรัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย มีพื้นที่ประมาณ 4,343 ตารางกิโลเมตร มีอายุกว่า 130 ล้านปี เป็นป่าดิบชื้นที่เก่าแก่มากที่สุดของโลก ได้เป็นอุทยานแห่งชาติในปี ค.ศ. 1938 สภาพของพื้นที่ส่วนใหญ่ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ มีสัตว์ป่าหายากมากมายเช่น สมเสร็จ (Tapirus indicus), กระซู่ (Dicerorhinus sumatrensis), เสือโคร่งมลายู (Panthera tigris jacksoni), ปลาพลวง (Neolissochilus spp.), ปลาอะโรวาน่า (Scleropages formosus) มีไม้ยืนต้นกว่า 2,000 ชนิด ดอกไม้กว่า 5,000 ชนิด แมลงราว 3,000,000 ชน.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและตามันเนอการา · ดูเพิ่มเติม »

ตุ๊กแกบินหางเฟิน

ตุ๊กแกบินหางเฟิน (Smooth-backed gliding gecko, Burmese flying gecko; ชื่อวิทยาศาสตร์: Ptychozoon lionotum) เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่งจำพวกตุ๊กแกและจิ้งจก อยู่ในวงศ์ Gekkonidae มีรูปร่างและสีสันคล้ายจิ้งจกบ้านทั่วไป แต่มีขนาดใหญ่กว่า สามารถโตเต็มที่ได้ 8 นิ้ว ลำตัวแบนราบ ที่นิ้วเท้ามีลักษณะแบนราบและมีพังผืดต่อติดกันไปตลอดทั้งลำตัว ใช้ในการร่อนจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ หางมีลักษณะแบนยาวและมีแขนงแตกออกเป็นหยัก ๆ แลดูคล้ายใบของต้นเฟิน อันเป็นที่มาของชื่อ สามารถปรับสีสันของลำตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างดี เมื่อถูกรบกวนมักจะมุดหนีเข้าไปในซอกไม้หรือโพรงไม้ แล้วขดหางเป็นวงกลมแนบไว้กับลำตัว และหากถูกรบกวนอีกก็จะมุดลงไปลึกขึ้นอีก หากินในเวลากลางคืน มีความว่องไวมาก ในประเทศไทย พบเฉพาะในป่าดงดิบชื้นในชายแดนภาคตะวันตกติดกับพม่าและภาคใต้ติดกับมาเลเซียเท่านั้น สถานภาพในปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 แต่กระนั้น ตุ๊กแกบินหางเฟิน ก็ยังเป็นที่นิยมของผู้ที่ชื่นชอบการเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลานอีกด้วย ตุ๊กแกบินหางเฟิน ยังมีชื่อเรียกอื่นอีก เช่น "ตุ๊กแกบินหางหยัก" เป็นต้น.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและตุ๊กแกบินหางเฟิน · ดูเพิ่มเติม »

ตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิค

ตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิค (Satanic leaf-tailed gecko) สัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง จำพวกตุ๊กแก จัดเป็นตุ๊กแกหางใบไม้ชนิดหนึ่ง ตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิค พบกระจายพันธุ์เฉพาะบนเกาะมาดากัสการ์เท่านั้น เป็นตุ๊กแกที่มีลักษณะพิเศษ คือ สามารถพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างดีเยี่ยม มีร่างกายที่บิดงอ ผิวหนังที่มีเส้นเลือดโปดปูน และส่วนหางที่แบนราบแลดูคล้ายใบไม้แห้งอย่างมาก ทำให้สามารถพรางตัวเป็นใบไม้แห้งได้อย่างแนบเนียน ผิวหนังมีหลายสีด้วยกัน เช่น สีเขียวมะกอก หรือสีน้ำตาลมีจุดดำกระจายอยู่ตามตัว ขนาดโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 10-13 นิ้ว มีดวงตากลมใหญ่ไร้เปลือกตา โดยจะมีเพียงเยื่อใส ๆ ห่อหุ้มป้องกันดวงตาเท่านั้น ดวงตาสีน้ำตาลอมชมพู มีจุดสีแดงตรงกลาง ตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิค เป็นสัตว์หากินในเวลากลางคืน โดยพฤติกรรมจะซุ่มอยู่นิ่ง ๆ เกาะอยู่ตามต้นไม้หรือใบไม้หรือมอสในพื้นที่ป่าดิบชื้นทางภาคตะวันออกของเกาะมาดากัสการ์ กินแมลง และแมงหลายชนิดเป็นอาหาร ในตัวที่มีขนาดลำตัวใหญ่อาจกินสัตว์ที่มีขนาดใหญ่เช่น หนู หรือนกขนาดเล็กได้ด้วย ทำตัวกลมกลืนกับธรรมชาติ จำแนกเพศได้โดยการพิจารณาจากสีผิว ตัวเมียจะมีลำตัวสีเทา ขณะที่ตัวผู้จะเป็นสีน้ำตาลแกมเหลือง และมีปุ่มสองปุ่มคล้ายไข่บริเวณโคนหาง ตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิค นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์แปลก โดยทำการเลี้ยงในตู้กระจกและปรับสภาพแวดล้อมเลียนแบบธรรมชาติเช่นเดียวกับสัตว์เลื้อยคลานลักษณะคล้ายกัน จัดเป็นตุ๊กแกที่เลี้ยงง่าย ไม่มีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว ผู้เลี้ยงสามารถป้อนอาหารให้กินด้วยมือได้ และสามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้ในที่เลี้ยง โดยไข่ใช้เวลาฟักประมาณ 30 วัน และนานที่สุด คือ 90-120 วัน โดยสถานที่แรกที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ คือ สวนสัตว์ซานดิเอโก ด้วยความแปลกทางรูปร่างตลอดจนพฤติกรรม ทำให้ตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิคได้กลายเป็นอินเทอร์เน็ตมีม โดยถูกตั้งข้อสังเกตว่ามีลักษณะคล้ายกับมังกร ซึ่งเป็นสัตว์ในจินตนาการไม่มีอยู่จริง และถูกตัดต่อภาพให้มีปีกเหมือนกับมังกร.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิค · ดูเพิ่มเติม »

ตีกัล

ตีกัล (Tikal หรือ Tik’al) คือซากเมืองโบราณขนาดใหญ่ที่สุดของอารยธรรมมายา ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตเอลเปเตน ประเทศกัวเตมาลา (พิกัด) ปัจจุบันได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของยูเนสโก และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมอีกด้วย ตีกัลคือเมืองที่สำคัญเมืองหนึ่งในอารยธรรมมายา สถาปัตยกรรมที่ตั้งอยู่ภายในที่เก่าแก่ที่สุดมีอายุตั้งแต่ 400 ปีก่อนคริสตกาล ช่วงเวลาที่เมืองเจริญถึงขีดสุดคือช่วงยุคคลาสสิก คือ..

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและตีกัล · ดูเพิ่มเติม »

ซาวลา

ซาวลา หรือ วัวหวูกว่าง (sao la; Vu Quang ox; ลาว: ເສົາຫຼາ, ເສົາຫລາ) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ชนิดใหม่ที่เพิ่งค้นพบในปี ค.ศ. 1992 มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pseudoryx nghetinhensis มีรูปร่างคล้ายแพะผสมกับเลียงผา จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับวัว (Bovidae) จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Pseudoryx โดยที่ชื่อนี้ (รวมถึงชื่อวิทยาศาสตร์ทั้งหมด) มาจากภาษากรีกแปลว่า "ออริกซ์ปลอมแห่งเหงะติ๋ง" เนื่องจากมีเขาที่ดูคล้ายออริกซ์ แอนทิโลปเขาตรงที่พบในทวีปแอฟริกา โดย "ซาวลา" ซึ่งเป็นชื่อสามัญในภาษาเวียดนาม มาจากภาษาไต แปลว่า "เขาบิดเกลียว" อีกทั้งยังแฝงความหมายว่า "ล้ำค่าดุจเดือนและดาว" และยังได้สมญาว่าเป็น "ยูนิคอร์นแห่งเอเชีย".

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและซาวลา · ดูเพิ่มเติม »

ซุนดาแลนด์

แม่น้ำคาปัวส์ในภาคตะวันออกของเกาะบอร์เนียว อินโดนีเซีย ซุนดาแลนด์ (Sundaland, Sundaic region) เป็นชื่อเรียกการแบ่งเขตภูมิศาสตร์ทางชีวภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเรียกบริเวณตั้งแต่ภาคใต้ของประเทศไทยลงไปถึงมาเลเซีย, อินโดนีเซีย, เกาะบอร์เนียว, เกาะสุมาตรา, เกาะชวา และเกาะบาหลี โดยสภาพอากาศของซุนดาแลนด์นั้น มีความชื้นสูง ในบางพื้นที่ฝนอาจตกติดต่อกันหลายวันจนเป็นสัปดาห์ ความแตกต่างของแต่ละฤดูกาลมีไม่มากนัก พรรณพืชที่ขึ้นนั้นโดยมากเป็นพืชที่ไม่ต้องใช้แสงอาทิตย์ในการเติบโต ลักษณะป่าเป็นป่าดิบชื้นมีต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นหนาแน่น สัตว์ป่าที่อยู่อาศัย มักเป็นสัตว์ที่หากินตามพื้นหรือสามารถอาศัยหากินได้บนต้นไม้สูง เช่น บ่าง (Cynocephalus variegatus), เซียแมง (Symphalangus syndactylus), แมวป่าหัวแบน (Prionailurus planiceps) เป็นต้น.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและซุนดาแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ (Philippines; Pilipinas) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines; Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน, วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก ฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ในแถบวงแหวนไฟและใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีแนวโน้มสูงที่จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและไต้ฝุ่น แต่ก็ทำให้มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่งเช่นกัน ฟิลิปปินส์มีเนื้อที่ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก นอกจากนี้ ณ ปี..

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและประเทศฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศตองงา

ตองงา (อังกฤษและTonga) มีชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรตองงา (Kingdom of Tonga; Puleʻanga Fakatuʻi ʻo Tonga ปูเลอางา ฟากาตูอีโอโตงา) เป็นประเทศหมู่เกาะในภูมิภาคพอลินีเชีย ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ระหว่างประเทศนิวซีแลนด์กับรัฐฮาวายของสหรัฐอเมริกา โดยทะเลอาณาเขตทางตะวันตกติดกับประเทศฟิจิ ส่วนทางตะวันออกติดกับหมู่เกาะคุก นีวเว และอเมริกันซามัว ในขณะที่ทางทิศเหนือติดกับหมู่เกาะวาลิสและฟูตูนา ประเทศซามัว และอเมริกันซามัว ชื่อประเทศในภาษาตองงาแปลว่าทิศใต้ นอกจากนี้ประเทศนี้ได้รับฉายาว่า หมู่เกาะมิตรภาพ จากกัปตันเจมส์ คุก ประเทศตองงาเป็นประเทศขนาดเล็กมีเนื้อที่เพียง 747 ตารางกิโลเมตร นับเป็นอันดับที่ 189 ของโลก หมู่เกาะตองงาประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่ประมาณ 169 เกาะ โดยมีเพียง 36 เกาะเท่านั้นที่มีผู้อยู่อาศัย เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือเกาะโตงาตาปู ซึ่งเป็นที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองคือนูกูอาโลฟา เกาะส่วนใหญ่ของตองงาเป็นเกาะที่เกิดจากการทับถมของปะการัง ประชากรของตองงามีทั้งสิ้น 103,036 คน นับเป็นอันดับที่ 192 ของโลก สันนิษฐานว่ามนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยในตองงาครั้งแรกเมื่อ 826 ± 8 ปีก่อนคริสตกาล ตองงาเริ่มก่อตั้งอาณาจักรเป็นของตนเองในปี..

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและประเทศตองงา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเปรู

ประเทศเปรู (Perú) มีชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเปรู เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ มีพรมแดนทางทิศเหนือติดกับประเทศเอกวาดอร์และประเทศโคลอมเบีย ทิศตะวันออกติดกับประเทศบราซิลและประเทศโบลิเวีย ทางทิศใต้ติดกับประเทศชิลี และทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ประเทศเปรูเป็นที่ตั้งของอารยธรรมการัล ซึ่งเป็นอารยธรรมเก่าแก่อันหนึ่งของโลก และอาณาจักรอินคา จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาก่อนยุคโคลัมบัส ต่อมาภูมิภาคนี้ตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิสเปน และได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2364 ชื่อเปรูมาจากคำว่า "บีรู" (Birú) ซึ่งเป็นชื่อของผู้ปกครองท้องถิ่นบริเวณอ่าวซานมีเกลในปานามา โดยบริเวณนี้เป็นจุดใต้สุดที่ชาวยุโรปรู้จักเมื่อครั้งนักสำรวจชาวสเปนมาถึงในปี พ.ศ. 2065 ดังนั้นเมื่อฟรันซิสโก ปีซาร์โรเดินทางสำรวจต่อไปทางใต้ จึงเรียกภูมิภาคเหล่านั้นว่า บีรูหรือเปรูด้วย จักรวรรดิสเปนรับรองชื่อนี้ในปี..

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและประเทศเปรู · ดูเพิ่มเติม »

ปลาบ้า

ปลาบ้า ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ มีรูปร่างยาว ลำตัวค่อนข้างกลม หัวโต นัยน์ตาค่อนข้างโต ปากกว้างมีหนวดขนาดเล็ก 2 คู่ เกล็ดมีขนาดใหญ่ ลำตัวมีสีน้ำตาลอมเหลือง ส่วนของหลังสีดำปนเทา ท้องสีขาวจาง ครีบหางสีแดงสดหรือชมพู ครีบอื่นสีแดงจาง ๆ มีขนาดความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 80 เซนติเมตร อาหารได้แก่ เมล็ดพืช, แมลง และสัตว์น้ำขนาดเล็ก ปลาบ้าอาศัยอยู่ตามแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ทั่วประเทศ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำท่าจีน, แม่น้ำโขง, แม่น้ำน่าน, แม่น้ำมูล รวมถึงลำธารในป่าดงดิบ มักอยู่รวมเป็นฝูง โดยปลาชนิดนี้จะกินลูกลำโพงหรือลูกกระเบาเข้าไป แล้วสะสมพิษในร่างกาย เมื่อมีผู้นำไปกินจึงมีอาการมึนเมา อันเป็นที่มาของชื่อ จึงไม่เป็นที่นิยมรับประทานมากนัก แต่ที่มาเลเซียนิยมรับประทานมาก จนได้ชื่อว่า "ปลาสุลต่าน" มีฤดูวางไข่ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 15-18 ชั่วโมง ปลาบ้ายังมีชื่อเรียกที่ต่างออกไป เช่น "ปลาอ้ายบ้า", "ปลาพวง" ในภาษาอีสานเรียกว่า "ปลาโพง" นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยมีชื่อเรียกเฉพาะในแวดวงว่า "ปลาแซมบ้า".

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและปลาบ้า · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหลด

ปลาหลด (spiny eel) เป็นชื่อปลานํ้าจืดทุกชนิดในสกุลปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Macrognathus จัดอยู่ในอันดับปลาไหลนา (Synbranchiformes) วงศ์ปลากระทิง (Mastacembelidae) ปลาหลดมีรูปร่างเพรียวยาว ลำตัวแบนข้าง หัวและตามีขนาดเล็ก มีจุดเด่นคือ ปากเล็กและมีจะงอยปากแหลมยาว มีลักษณะทั่วไปคล้ายปลาในสกุล Mastacembelus หรือปลากระทิง แต่ทว่ามีขนาดและรูปร่างเล็กกว่ากันมาก มีสีสันและลวดลายน้อยกว่า โดยเฉลี่ยแล้วจะมีความยาวประมาณไม่เกิน 1 ฟุต และมีครีบหางแยกออกจากครีบหลังและครีบท้องชัดเจน ก้านครีบเดี่ยวของครีบหลังเป็นหนามสั้น ๆ ปลายแหลมประมาณ 12-31 ก้าน ปลายจะงอยปากที่จมูกคู่หน้าแยกออกเป็นติ่งเนื้อเล็ก ๆ 4 หรือ 6 ติ่ง เกล็ดมีขนาดเล็กมากมีพฤติกรรมความเป็นอยู่และการหากินคล้าย ๆ กัน โดยอาจจะพบได้ในลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบชื้นด้วย พบกระจายพันธุ์ในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการเป็นอาหาร ตกปลา และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและปลาหลด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาอะโรวาน่าเอเชีย

ปลาอะโรวาน่าเอเชีย หรือ ปลาตะพัดเอเชีย (Asian arowana) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่งในสกุล Scleropages (/สะ-เคอ-โอ-พา-กิส/) ในวงศ์ Osteoglossidae ถือเป็นปลาโบราณที่สืบเผ่าพันธุ์มาจากปลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยมีลักษณะรูปร่างไม่ต่างจากบรรพบุรุษในยุคก่อนประวัติศาสตร์มากนัก เป็นปลาที่มีวิวัฒนาการแยกออกจากปลาสกุลอื่นในวงศ์เดียวกัน เมื่อกว่า 140 ล้านปีก่อน ในยุคครีเตเชียสตอนต้น.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและปลาอะโรวาน่าเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาผีเสื้อติดหินน่าน

ปลาผีเสื้อติดหินน่าน ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemimyzon nanensis อยู่ในวงศ์ปลาค้อ (Balitoridae) มีส่วนหัวและลำตัวตอนบนแบนราบ ปากเล็กมากอยู่ด้านล่างของจะงอยปาก ครีบอกและครีบท้องกว้าง ด้านหลังมีสีกากีหรือน้ำตาลอ่อนและมีแต้มกลมสีคล้ำ ท้องสีจาง ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 4-7 เซนติเมตร ปลาผีเสื้อติดหินน่าน สามารถใช้ครีบอกที่กว้างแกะแนบติดกับแก่งหินที่มีกระแสน้ำไหลเชี่ยว โดยกินอาหารจำพวกตัวอ่อนของแมลงน้ำและสัตว์หน้าดินขนาดเล็ก โดยการกระจายพันธุ์พบเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบชื้นที่เป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำน่านแห่งเดียวเท่านั้น เป็นปลาที่เพิ่งได้รับการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์และอนุกรมวิธานเมื่อปี ค.ศ. 1998.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและปลาผีเสื้อติดหินน่าน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาดุกลำพัน

ปลาดุกลำพัน (Slender walking catfish, Nieuhof's walking catfish) เป็นปลาน้ำจืดจำพวกปลาดุกชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาดุก (Clariidae).

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและปลาดุกลำพัน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาคาร์ดินัล

ปลาคาร์ดินัล หรือ ปลาคาร์ดินัลเตตร้า หรือ ปลานีออนแดง (อังกฤษ: Cardinal, Red neon; ชื่อวิทยาศาสตร์: Paracheirodon axelrodi) เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาคาราซินของอันดับปลาคาราซิน มันเป็นสัตว์ประจำถิ่นทางเหนือของแม่น้ำโอริโนโคและแม่น้ำนิโกรของอเมริกาใต้ เมื่อโตเต็มที่จะยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ลักษณะของปลาคาร์ดินัลจะมีเส้นเหลือบสีน้ำเงินสดใสอันลักษณะประจำปลาในสกุล Paracheirodon ซึ่งเป็นปลาที่มีเส้นแบ่งด้านข้าง ร่างกายส่วนร่างเส้นนี้จะเป็นสีแดงสดดังนั้นจึงได้ชื่อว่า คาร์ดินัลเตตร้า คาร์ดินัลมองดูคล้ายญาติสนิทคือ ปลานีออนเตตร้า ซึ่งมักทำให้สับสนกันเป็นประจำ อย่างไรก็ตามสีแดงของปลานีออนจะมีแค่ครึ่งหนึ่งของลำตัวและเส้นสีน้ำเงินจะเปล่งประกายน้อยกว่า ลักษณะสะท้อนแสงของปลาชนิดนี้และปลานีออนเป็นสีทางโครงสร้างเกิดจากการสะท้อนแสงภายในผลึกguanineซึ่งพัฒนามาจากเซลล์พิเศษที่เรียกว่าiridocytesในชั้นใต้ผิวหนัง สีน้ำเงินที่มองเห็นนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นกับมุมที่มองถ้ามองจากล่างขึ้นบนกลายเป็นสีน้ำเงินเข้มจนกระทั่งเป็นสีคราม อย่างไรก็ตามถ้าเปลี่ยนมามองจากข้างบนตัวปลาสีก็จะกลายเป็นสีเขียว ปลาคาร์ดินัลเป็นปลาตู้ที่คนนิยมอย่างมากแต่ว่าแพร่หลายน้อยกว่าปลานีออนเพราะว่าจนเมื่อไม่นานมานี้มันเป็นการยากที่จะเพาะพันธุ์ในที่เลี้ยง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน นักเพาะพันธุ์หลายรายก็สามารถที่จะเพาะพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว แต่ก็มีประเด็นที่น่าสนใจอย่างหนึ่งในการตัดสินใจว่าเราควรซื้อปลาคาร์ดินัลที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงหรือปลาที่ครีบขาด ๆ จากการจับจากธรรมชาติ โดยปกตินักเลี้ยงปลามักซื้อปลาเพาะแต่นักวิชาการชาวบราซิลเชื่อว่านักสะสมปลาควรที่จะสนับสนุนการจับปลาคาร์ดินัลของลุ่มน้ำอเมซอนต่อไป เพราะนับตั้งแต่คนหลายพันในท้องถิ่นถูกจ้างให้จับปลาเพื่ออุตสาหกรรมปลาตู้ มันมีข้อบ่งชี้ว่าถ้าชาวประมงเหล่านั้นสูญเสียวิถีชีวิตของพวกเขาในการจับปลาคาร์ดินัลและปลาเขตร้อนอื่นๆ พวกเขาอาจกลับไปตั้งหน้าตั้งตาตัดไม้ทำลายป่าต่อ ปลาเป็นสัตว์จำพวกที่รอบปีมีผลกับมันด้วยและช่วงชีวิตของมันจะมีเพียงแค่ปีเดียวในธรรมชาติ แต่ในที่เลี้ยงมันจะมีชีวิตอยู่ได้ถึงเจ็ดปี อุตสาหกรรมทั้งหมดที่บาร์เซลอสบนฝั่งของแม่น้ำริโอเนรโกของบราซิลที่ซึ่งชาวบ้านจับปลาสำหรับอุตสาหกรรมปลาตู้ การจับปลาคาร์ดินัลนั้นถูกประเมิณราคาไว้สูงมากโดยชาวบ้านที่สวมบทบาทเป็นผู้พิทักษ์สิ่งแวดล้อม มันอาจกล่าวได้ว่าพวกชาวบ้านจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมที่มีความเป็นไปได้ที่จะทำลายธรรมชาติ เช่นการตัดไม้ทำลายป่าเพราะว่าพวกเขาสามารถเลี้ยงชีพอยู่ได้ด้วยการประมง บางทีระหว่างที่พวกเขาจับจากแหล่งกำเนิด คาร์ดินัลมีแนวโน้มว่าจะเป็นสิ่งที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนในการจับ ในธรรมชาติปลาเหล่านี้อาศัยอยู่ในน้ำอ่อนสุดๆ มีความเป็นกรดแต่ดูเหมือนมันก็จะทนทานกับน้ำที่มีภาวะกระด้าง เป็นด่าง สิ่งที่ต้องกังวลที่สุดก็คือน้ำในตู้ที่มีมลพิษ(รวมทั้งน้ำที่มีไนเตรทในระดับสูง) พวกมันพอใจน้ำที่อุ่นสักหน่อย และยอมรับกับอาหารแห้งส่วนใหญ่ได้เร็วมาก ปลาคาร์ดินัลเพาะมีแนวโน้มที่จะปรับตัวเข้ากับน้ำกระด้างได้ดีกว่าปลาคาร์ดินัลที่จับจากธรรมชาติ P. axelrodi มักถูกเรียกว่าปลานีออนแดงอีกด้วย Cheirodon axelrodi (ชื่อดั้งเดิม)และ Hyphessobrycon cardinalisเป็นชื่อเรียกที่เลิกใช้ไปแล้ว ชื่อสามัญของมัน(คาร์ดินัลเตตร้า)มาจากการที่สีแดงแวววาวของมันชวนให้นึกถึงเสื้อคลุมยาวของพระคาร์ดินัลส่วนชื่อรองของมันตั้งให้เป็นเกียรติแก่นักสัตววิทยา Herbert R. Axelrod.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและปลาคาร์ดินัล · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะพาก

ปลาตะพาก เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ในสกุล Hypsibarbus (/ฮีป-ซี-บาร์-บัส/) จัดเป็นปลาขนาดกลางในวงศ์นี้ มีรูปร่างลักษณะทั่วไปคล้ายปลาตะเพียนในสกุล Barbonymus ซึ่งอยู่วงศ์เดียวกัน แต่ปลาตะพากจะมีลำตัวที่ยาวกว่า และขนาดจะใหญ่ได้มากกว่า แพร่กระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์และทางตอนใต้ของประเทศจีน พบอาศัยในแม่น้ำสายใหญ่รวมถึงลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือป่าดิบชื้น โดยมีขนาดลำตัวประมาณ 60-80 เซนติเมตร มีทั้งหมด 11 ชนิด (สูญพันธุ์ไปแล้ว 1 ชนิด ดูในตาราง) โดยมีชนิดที่รู้จักกันดีที่สุดคือ ปลาตะพากเหลือง (H. wetmorei) โดยปลาในสกุลนี้ถูกแยกออกมาจากสกุล Puntius ในปี ค.ศ. 1996 โดยวอลเตอร์ เรนโบธ โดยมีลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากปลาในสกุลอื่น คือ มีก้านครีบเดี่ยวของครีบหลังมีขอบจักเป็นฟันเลื่อย ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 8 ก้าน ใต้คางมีร่องแยกระหว่างขากรรไกรล่างและคาง ฐานครีบก้นยาวคิดเป็นร้อยละ 60 ของความยาวหัว ขอบเกล็ดแต่ละเกล็ดมีลายสีดำติดต่อกันเป็นร่างแห ปลาตะพากมีชื่อเรียกรวมกันแบบอื่นอีก อาทิ "ปลากระพาก" (ประพาสไทรโยค), "ปลาปากหนวด", "ปลาปีก" (ภาษาอีสาน), "ปลาปากคำ" หรือ "ปลาสะป๊าก" (ภาษาเหนือ) เป็นต้น โดยที่ชื่อวิทยาศาสตร์ Hypsibarbus มาจากภาษากรีกโบราณคำว่า "ὕψι" (ฮิปซี) และ barbus (บาร์บัส) ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ทั่วไปของปลาในวงศ์ปลาตะเพียน โดยมีความหมายถึง สันฐานที่มีความแบนข้าง.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและปลาตะพาก · ดูเพิ่มเติม »

ปลานางอ้าว

ปลานางอ้าว หรือ ปลาน้ำหมึก เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Opsarius (/ออพ-ซา-เรียส/) จัดอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เดิมทีปลาในสกุลนี้ ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ ได้รวมให้อยู่ในสกุล Barilius และได้ทำการอนุกรมวิธานไว้ด้วยกัน 2 ชนิด แต่ต่อมา ไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์ ได้ทำการปรับปรุงใหม่โดยให้กลับมาใช้สกุลเช่นในปัจจุบัน ในปี ค.ศ. 1989 โดยลักษณะสำคัญของปลาในสกุลนี้ คือ บนลำตัวมีแถบสีดำขวางเรียงกันเป็นแถว เส้นข้างลำตัวโค้งใกล้กับแนวท้อง และไปสิ้นสุดที่โคนหางส่วนล่าง หนวดมีขนาดเล็กมาก และบางชนิดไม่มีหนวด เป็นปลาขนาดเล็ก ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 10 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง มีความปราดเปรียวว่องไวมาก อาศัยอยู่ตามลำธารน้ำตกในป่าดิบชื้น กินแมลงน้ำและสัตว์น้ำต่าง ๆ เป็นอาหาร ไข่มีเส้นผ่าศูนย์กลางราว 2.8-2.9 เซนติเมตร มีสีเหลืองหรือเขียวอมเทา มีทั้งแบบลอยและแบบจมและกึ่งจมกึ่งลอย ปัจจุบัน พบแล้ว 3 ชนิด มีอยู่ 2 ชนิดที่พบบ่อยและนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ได้แก่ O. koratensis และ O. pulchellusสมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์, หน้า 117 สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑ (พ.ศ. 2547) ISBN 974-00-8701-9.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและปลานางอ้าว · ดูเพิ่มเติม »

ปลานีออน

ปลานีออน หรือ ปลานีออนเตตร้า (อังกฤษ: Neon, Neon tetra; ชื่อวิทยาศาสตร์: Paracheirodon innesi) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาคาราซิน.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและปลานีออน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาใบไม้อเมริกาใต้

ปลาใบไม้อเมริกาใต้ หรือ ปลาใบไม้อเมซอน (Amazon leaffish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Monocirrhus polyacanthus ในวงศ์ปลาใบไม้อเมริกาใต้ (Polycentridae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวกันที่อยู่ในสกุล Monocirrhus ปลาใบไม้อเมริกาใต้ เป็นปลาที่เป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีว่าสามารถพรางตัวให้กับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยได้อย่างดีเยี่ยม โดยมีรูปร่างเหมือนใบไม้ที่มีทั้งก้านและแขนงจริง ๆ ด้วยว่าที่ปลายปากมีติ่งเล็ก ๆ อยู่ด้วย มีถิ่นที่อยู่ในแม่น้ำสาขาของแม่น้ำอเมซอนในทวีปอเมริกาใต้ เป็นที่รู้จักครั้งในปี ค.ศ. 1840 จากการบรรยายของ โจฮานน์ จาคอบ เฮกเคล นักชีววิทยาชาวออสเตรีย โดยได้บรรยายลักษณะทางกายภาพเกี่ยวกับปลาชนิดนี้ไว้ว่า มีสีเหลืองหรือสีแดง ส่วนหัวมีรูปทรงแบนข้าง ตอนปลายแหลม ด้านหน้ามีสัณฐานเว้า ตามีขนาดเล็ก ปากใหญ่ ก้านครีบอกทุกก้านสั้น ปรากฏแถบเล็กสีน้ำตาล 3 แถบ เริ่มต้นจากตา แถบนึงลงข้างล่าง อีก 2 แถบแตกไปทางด้านหลัง ปรากฏแถบหนากลางลำตัว และปรากฏแถบที่ตอนล่างของครีบหาง ก้านครีบอกเป็นก้านครีบอ่อนที่แตกแขนง 20 ก้านครีบ ครีบท้องประกอบด้วยก้านครีบแข็ง 1 ก้านครีบต่อด้วยก้านครีบอ่อนที่แตกแขนง 4 ก้านครีบ ครีบหลังประกอบด้วยก้านครีบแข็ง 17 ก้านครีบต่อด้วยก้านครีบอ่อนที่แตกแขนง 12 ก้านครีบ ก้านครีบก้นประกอบก้วยก้านครีบแข็ง 13 ก้านครีบต่อด้วยก้านครีบอ่อนที่แตกแขนง 12 ก้านครีบ และเป็นปลาที่ไม่มีเส้นข้างลำตัว จากนั้นในปี ค.ศ. 1921 คาร์ล เอ.อีเกนแมนน์ และ วิลเลียม เรย์ อัลเลน ได้สำรวจป่าดิบชื้นในอเมริกาใต้ ได้เก็บตัวอย่างที่มีชีวิตของปลาชนิดนี้ไว้ 3 ตัว โดยพบเห็นครั้งแรกด้วยความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นใบไม้ที่ลอยน้ำจริง ๆ ปลาใบไม้อเมริกาใต้ มีพฤติกรรมมักลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ บริเวณผิวน้ำหรือบริเวณตอนบนของผิวน้ำ เพื่อรอดักอาหาร ได้แก่ ลูกปลาหรือกุ้งขนาดเล็ก มักจะอยู่รวมกันเป็นฝูง และอาศัยอยู่ในสภาพน้ำที่มีความเป็นกรด (ประมาณ 5-6 pH) ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 8 เซนติเมตร ปลาตัวเมียวางไข่ประมาณ 300 ฟอง และไข่จะฟักเป็นตัวในเวลาประมาณ 3 วัน โดยที่ปลาตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าปลาตัวผู้ ปัจจุบันนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วยความแปลกและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและปลาใบไม้อเมริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ปีสากลแห่งป่าไม้

..

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและปีสากลแห่งป่าไม้ · ดูเพิ่มเติม »

ป่าพรุ

ป่าพรุ ป่าพรุ (Swamp forest, Peat swamp forest) เป็นประเภทของป่าดิบชื้นประเภทหนึ่ง ที่อยู่ในพื้นที่ราบลุ่ม เกิดจากแอ่งน้ำจืดเกิดขังตัวติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน มีการสะสมของชั้นดินอินทรีย์วัตถุ เช่น ซากพืช, ซากสัตว์, เศษซากของต้นไม้ ใบไม้ ต่าง ๆ จนย่อยสลายช้า ๆ กลายเป็นดินพีตหรือดินอินทรีย์ที่มีลักษณะหยุ่นยวบเหมือนฟองน้ำที่มีความหนาแน่นน้อยอุ้มน้ำได้มาก และพบว่ามีการสะสมระหว่างดินพีตกับดินตะกอนทะเลสลับกันชั้นกัน 2-3 ชั้น เนื่องจากน้ำทะเลเคยมีระดับสูงขึ้นจนท่วมป่าพรุ เกิดการสะสมของตะกอนน้ำทะเลถูกขังอยู่ด้านใน พันธุ์ไม้ในป่าพรุตายลงไป และเกิดเป็นป่าชายเลนขึ้นมาแทนที่ เมื่อระดับน้ำทะเลลดลง และมีฝนตกลงมาสะสมน้ำที่ขังอยู่จึงจืดจางลง และเกิดป่าพรุขึ้นมาอีกครั้ง ดินพรุชั้นล่างมีอายุถึง 6,000-7,000 ปี ส่วนดินพรุชั้นบนอยู่ระหว่าง 700-1,000 ปี สภาพโดยทั่วไปของป่าพรุ นั้น คือ พื้นด้านล่างจะเป็นพรุมีน้ำขังตลอดทั้งปี น้ำจะมีสีเขียวหรือน้ำตาลเข้ม อันเกิดจากการหมักหมมตัวมาอย่างยาวนานของซากพืช ซากสัตว์ น้ำจะมีสภาพเป็นกรดมากกว่าค่าของน้ำปกติ (pH ต่ำกว่า 7) ระบบนิเวศในป่าพรุนั้นมีความหลากหลาย และเกี่ยวเนื่องเกี่ยวพันกัน ไม้ยืนต้นจะมีระบบรากแขนงแข็งแรงแผ่ออกไปเกาะเกี่ยวกันเพื่อจะได้ช่วยพยุงลำต้นของกันและกัน และให้ยืนตัวทรงอยู่ได้ ดังนั้นต้นไม้ในป่าพรุจึงอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หากต้นใดต้นหนึ่งล้ม ต้นอื่นจะล้มตามไปด้วย สำหรับในประเทศไทย พื้นที่ที่มีป่าพรุเกิดขึ้นนั้น มักจะเป็นที่ภาคตะวันออกและภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป และพบในบางส่วนบ้างของภาคกลาง ในปัจจุบัน พื้นที่ป่าพรุที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ ป่าพรุสิรินธร หรือป่าพรุโต๊ะแดง ในจังหวัดนราธิวาส มีเนื้อที่กว่า 125,625 ไร่ ในอดีต เคยมีป่าพรุในประเทศไทยมากถึงกว่า 400,000 ไร่ กินเนื้อที่กว่า 50 ล้านไร่ แต่ได้ค่อย ๆ ลดปริมาณลงจากการถูกบุกรุกแผ้วถางทำการเกษตร จนปัจจุบันเหลือไม่ถึง 60,000 ไร.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและป่าพรุ · ดูเพิ่มเติม »

ป่าดิบชื้นแอมะซอน

ป่าดิบชื้นแอมะซอนในประเทศบราซิล ป่าดิบชื้นแอมะซอน เป็นป่าใบกว้างชื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของแอ่งแอมะซอนในทวีปอเมริกาใต้ แอ่งนี้กินพื้นที่ 7 ล้านตารางกิโลเมตร ซึ่งป่าดิบชื้นแอมะซอนกินพื้นที่ไป 5.5 ล้านตารางกิโลเมตร ภูมิภาคนี้รวมดินแดนที่เป็นของ 9 ประเทศ พื้นที่ป่าส่วนใหญ่ราวร้อยละ 60 อยู่ในประเทศบราซิล รองลงมา คือ เปรู ร้อยละ 13 และโคลอมเบีย ร้อยละ 10 และมีปริมาณเล็กน้อยในเวเนซุเอลา เอกวาดอร์ โบลิเวีย กายอานา ซูรินาม และเฟรนช์เกียนา ป่าแอมะซอนเป็นเนื้อที่กว่าครึ่งของป่าดิบชื้นที่ยังเหลืออยู่บนโลก และเป็นป่าดิบชื้นเขตร้อนขนาดใหญ่ที่สุดและมีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก มีต้นไม้ประมาณ 390 พันล้านต้นและมีพันธุ์ไม้ประมาณ 16,000 ชน.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและป่าดิบชื้นแอมะซอน · ดูเพิ่มเติม »

ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่

ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ เป็นมรดกโลกแหล่งที่ 5 และเป็นอันดับที่ 2 ของมรดกทางธรรมชาติของไทย ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 10-17 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ป่าไม้เขตร้อน

ป่าไม้เขตร้อนคือ ป่าไม้ที่ขึ้นปกคลุมในบริเวณเขตร้อนของโลก สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท 1.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและป่าไม้เขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

นกพรานผึ้ง

นกพรานผึ้ง (Malaysian honeyguide) เป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกพรานผึ้ง (Indicatoridae) เป็นนกขนาดเล็ก (จะงอยปากถึงปลายหาง 17 เซนติเมตร) ลักษณะคล้ายนกปรอดมาก แต่จะงอยปากหนาและอวบกว่า จะงอยปากสีคล้ำแต่ปากล่างสีจางกว่า ลำตัวด้านบนสีเทาแกมเขียว ลำตัวด้านล่างขาว อกสีเทาแกมขาว ข้างลำตัวมีลายขีดดำ ตาสีน้ำตาลแดงหรือสีน้ำตาลในนกวัยอ่อน ตัวผู้ที่หัวไหล่มีแถบเหลืองเล็ก ๆ ตัวเมียลักษณะคล้ายตัวผู้แต่ไม่มีแถบเหลือง มีเสียงร้องคล้ายแมว คือ "เมี้ยว" นกพรานผึ้ง เป็นนกที่กินผึ้ง, ตัวอ่อนของผึ้ง และขี้ผึ้งเป็นอาหาร รวมถึงตัวต่อ ถึงขนาดบุกเข้าไปกินถึงในรวงผึ้ง โดยที่ไม่ได้รับอันตรายจากเหล็กไนของผึ้ง ทั้งนี้เป็นเพราะมีปีกที่หนาที่เหล็กไฟผึ้งทำอันตรายไม่ได้ และมีผู้เชื่อว่ามีกลิ่นตัวแรงจนผึ้งไม่กล้าเข้าใกล้ แต่เรื่องนี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ นกพรานผึ้ง เป็นนกที่มีพฤติกรรมอยู่ลำพังเพียงตัวเดียว นานครั้งจึงเห็นอยู่เป็นคู่ เป็นนกที่บินได้เก่งและเร็ว และเป็นนกประจำถิ่น จะอยู่ในถิ่นใดถิ่นหนึ่งไปตลอด ต่อเมื่อนกตัวเก่าตายไป นกตัวใหม่ถึงเข้ามาอยู่แทน ในประเทศไทยมีรายงานพบเห็นเพียงไม่กี่ครั้ง ในป่าในเขตชายแดนภาคใต้ที่ติดกับมาเลเซีย นอกจากนี้ยังมีรายงานพบในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จังหวัดตาก ในป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้ง ทั้งในพื้นที่ราบและที่สูงจากระดับน้ำทะเล 900 เมตร จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไท.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและนกพรานผึ้ง · ดูเพิ่มเติม »

นกทึดทือมลายู

นกทึดทือมลายู หรือ นกเค้าแมวมลายู หรือ นกฮูกมลายู หรือ นกพิทิดพิที ในภาษาใต้ (Buffy fish owl, Malay fish owl; หรือ Bubo ketupa) นกล่าเหยื่อชนิดหนึ่ง จำพวกนกเค้าแมว เป็นนกเค้าแมวขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 49-50 เซนติเมตร ปีกสั้นกว่า 40 เซนติเมตร ดวงตาสีเหลืองจนถึงเหลืองแกมทอง มีขนเหนือคิ้วเป็นแผงยาวออกไปด้านข้างทั้งสองด้าน ส่วนขนบริเวณเหนือโคนปากเป็นสีขาว ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลมีลายสีจางกระจาย ด้านล่างสีเนื้อแกมน้ำตาลเหลือง มีลายขีดสีดำ เมื่อหุบปีกจะเห็นลายแถบสีน้ำตาลจางสลับสีเข้มบริเวณปลายปีก ขาสีเขียว มีเล็บโค้งแหลม และมีปากงุ้มแหลม มีฤดูผสมพันธุ์ในช่วงฤดูหนาวต่อฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเมษายน ทำรังอยู่ในโพรงไม้ หรือใช้รังเก่าของนกอื่น ๆ เป็นรัง ออกไข่ครั้งละ 1-3 ฟอง ลักษณะไข่มีเปลือกสีขาวและทรงกลม ตัวผู้จะเป็นฝ่ายส่งเสียงร้องเรียกตัวเมีย มักอาศัยอยู่ตามป่าดิบแล้ง, ป่าดิบชื้น ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนกระทั่งความสูง 800 เมตรจากระดับน้ำทะเล ใกล้แหล่งน้ำหรือลำธารในป่า และบริเวณใกล้ชายฝั่ง ส่วนใหญ่หากินในเวลากลางคืน จับสัตว์ขนาดเล็กกินเป็นอาหาร ซึ่งได้แก่ ปลา, กบ, ปู, ค้างคาว, นกชนิดอื่น และสัตว์เลื้อยคลานเกือบทุกชนิด เมื่อเวลาบินล่าเหยื่อจะบินได้เงียบกริบมาก พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคใต้ตอนล่างของไทยเช่น จังหวัดนราธิวาส พบไปตลอดแหลมมลายูจนถึงประเทศอินโดนีเซีย, เกาะชวา และหมู่เกาะซุนดา ซึ่งนกทึดทือมลายู เป็นนกที่ถูกอ้างอิงถึงในนวนิยายสำหรับเด็กเรื่อง แฮร์รี่ พ็อตเตอร์ ด้วยเป็นนกของแฮร์รี่ พ็อตเตอร์ ตัวละครเอก เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2546.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและนกทึดทือมลายู · ดูเพิ่มเติม »

นกตะขาบทุ่ง

นกตะขาบทุ่ง หรือ นกขาบ (Indian roller, Blue jay) เป็นนกประจำถิ่นที่พบในทวีปเอเชีย บริเวณตั้งแต่ประเทศอิรัก อนุทวีปอินเดีย จนถึงคาบสมุทรอินโดจีน พบได้ทั่วไปตามต้นไม้ริมทางหรือสายไฟ ทุ่งนา ป่าโปร่ง ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคยกเว้นภาคใต้ฝั่งอันดามัน นกตะขาบทุ่งเป็นนกหนึ่งในสองชนิดของวงศ์นกตะขาบ (Coraciidae) ที่พบในประเทศไทย ซึ่งอีกชนิดคือ นกตะขาบดง (Eurystomus orientalis) นกตะขาบทุ่งมีขนาดใกล้เคียงกับนกพิราบ อาหารคือแมลง สัตว์ตัวเล็ก ๆ หรือกิ้งก่าในบางครั้ง.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและนกตะขาบทุ่ง · ดูเพิ่มเติม »

นกแคสโซแวรี

รงในหงอนของนกแคสโซแวรี นกแคสโซแวรี (Cassowary) เป็นนกบินไม่ได้ขนาดใหญ่สกุลหนึ่ง อาศัยอยู่ในแถบซีกโลกใต้ (โอเชียเนีย) จัดอยู่ในสกุล Casuarius ในวงศ์ Casuariidae.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและนกแคสโซแวรี · ดูเพิ่มเติม »

นกแซงแซวสีเทา

นกแซงแซวสีเทา (Ashy Drongo) เป็นนกประจำถิ่นและนกอพยพ พบได้ในแถบเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยเป็นนกประจำถิ่นของภาคเหนือ ภาคตะวันตก ส่วนนกอพยพนอกฤดูผสมพันธุ์พบที่ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและนกแซงแซวสีเทา · ดูเพิ่มเติม »

นกเขียวก้านตอง

นกเขียวก้านตอง (Leafbird) เป็นชื่อของสกุลและวงศ์ ของนกขนาดเล็กประเภทหนึ่งในตระกูลนกเกาะคอน มีถิ่นที่อยู่ในอินเดียและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นนก 1 ใน 2 วงศ์ซึ่งเป็นนกเฉพาะถิ่นของเขตนิเวศวิทยาอินโดมาลายัน โดยอีกวงศ์หนึ่งคือนกแว่นตาขาว เดิมสกุลนกเขียวก้านตอง อยู่ในวงศ์นกเขียวคราม ร่วมกับสกุลนกแว่นตาขาว แต่ภายหลังได้แยกวงศ์ออกมาทั้งสองสกุล ตั้งเป็นวงศ์ใหม่คือ วงศ์นกเขียวก้านตอง และวงศ์นกแว่นตาขาว นกเขียวก้านตองมีลักษณะคล้ายนกในวงศ์นกปรอดซึ่งเป็นวงศ์ใกล้เคียงกัน หากแต่มีสีสันสดใสกว่า นอกจากนี้ นกเขียวก้านตองเป็นนกที่มีลักษณะแตกต่างระหว่างเพศ โดยที่ตัวผู้จะมีสีสันสดใสกว่า และ/หรือ มีสีสันมากกว่า นกเขียวก้านตองวางไข่ 2-3 ฟองต่อครั้ง ในรังบนคาคบต้นไม้.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและนกเขียวก้านตอง · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าแคระ

นกเค้าแคระ (Collared owlet, Collared pygmy owl) เป็นนกเค้าแมวขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ Strigidae สามารถพบได้ในอัฟกานิสถาน, บังกลาเทศ, ภูฏาน, บรูไน, กัมพูชา, จีน, อินเดีย, อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, เนปาล, ปากีสถาน, ไต้หวัน, ไทย และเวียดนาม ที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ คือ ป่าหนาว และจัดได้ว่าเป็นนกเค้าแมวที่มีขนาดเล็กที่สุดที่พบในทวีปเอเชีย ที่ขนาด 15 เซนติเมตร (6 นิ้ว) น้ำหนัก 60 กรัม (2.1 ออนซ์) โดยจะพบบ่อยที่สุดในบริเวณป่าดิบชื้น ตั้งแต่พื้นราบไปจนถึงระดับความสูง 3,050 เมตร จากระดับน้ำทะเล ในประเทศไทยจะพบบ่อยขึ้นที่ระดับสูงเกิน 600 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป บริเวณภาคใต้และคาบสมุทรมลายู จะพบได้บ่อยมากในระดับสูง 395 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป มีทั้งหมด 4 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) นกเค้าแคระจัดเป็นนกเค้าแมวที่บินได้ไม่เงียบเหมือนนกเค้าแมวหรือนกแสกส่วนมาก และยังเป็นนกที่หากินในเวลากลางวัน มีรูปร่างอ้วนกลม มีขนหนานุ่มปกคลุมอย่างหนาแน่น มีสีและลวดลายที่กลมกลืนไปกับต้นไม้ บริเวณคอก็มีขนอยู่อย่างหนาแน่นทำให้ดูเหมือนหัวอยู่ติดกับตัวโดยไม่มีคอ และมีหัวที่กลมโต หน้าแบน ตากลมโตสีเหลืองอยู่ด้านหน้าของใบหน้า ปากสั้นและปากบนโค้งงุ้มแหลมลง มีขนเส้นเล็ก ๆ คล้ายหนวดแมวอยู่รอบ ๆ โคนปากทำหน้าที่เป็นเครื่องนำทาง มีปีกกว้างแต่ปลายปีกมน ขนหางยาวกว่านกเค้าแม้วชนิดอื่น ๆ มีขาสั้นแต่เข็งแรงสีเหลืองนิ้วเท้าค่อนข้างใหญ่และแข็งแรง มีนิ้วตีน 4 นิ้วเวลาเกาะกิ่งจะอยู่ด้านหน้า 2 ด้านหลัง 2 นิ้ว เล็บสีดำ ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน จับอาหารจำพวกสัตว์ต่าง ๆ ขนาดเล็ก เช่น กิ้งก่า, หนู, สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก, จักจั่น, ด้วง และตั๊กแตน รวมถึงนกด้วยกันชนิดอื่นที่มีขนาดเล็ก เมื่อจะล่านก นกเค้าแคระมักจะซ่อนตัวตามพุ่มไม้ ไม่เช่นนั้นแล้วจะถูกฝูงนกเล็ก ๆ เหล่านี้ไล่จิกตี แต่นกเค้าแคระก็สามารถจับเหยื่อที่มีขนาดตัวพอ ๆ กันหรือโตกว่าเล็กน้อยได้ด้วยกรงเล็บที่แข็งแรง หากจะหากินในเวลากลางคืน มักจะเป็นในคืนวันเพ็ญ ทำรังวางไข่ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม โดยใช้โพรงไม้ธรรมชาติ หรือรังของนกอื่นที่ทำรังในโพรงไม้เหมือนกัน โดยโพรงอาจเป็นรังเก่า หรืออาจมาจากการแย่งชิงมาก็ได้ ในบางครั้งอาจเป็นการฆ่ากินและปล้นชิงจากนกตัวอื่นเลยก็ได้ โพรงรังที่เลือกมักอยู่สูงจากพื้นราว 2-10 เมตร วางไข่ครั้งละ 3-5 ฟอง ลูกนกจะออกจากไข่ในช่วงต้นฤดูฝนที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์พอดีซึ่งจะเป็นผลดีต่อการรอดชีวิตของลูกนก เนื่องจากแม่นกจะกกไข่ตั้งแต่ออกไข่ฟองแรกทันที ในขณะเดียวกันก็จะออกไข่ใบอื่น ๆ ไปด้วย ดังนั้นในแต่ละรังลูกนกเค้าแคระจะมีอายุต่างกันพอสมควร ถ้าอาหารมีไม่พอเพียง ตัวที่ออกมาทีหลังตัวเล็กกว่าก็จะแย่งอาหารตัวอื่น ๆ ไม่ทันและตายไปในที่สุด จัดเป็นนกเค้าแมวอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง และมีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไท.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและนกเค้าแคระ · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าใหญ่แวโร

นกเค้าใหญ่แวโร หรือ นกเค้าใหญ่ยักษ์ (Verreaux's eagle-owl, Giant eagle owl) นกล่าเหยื่อชนิดหนึ่ง จำพวกนกเค้าแมว จัดอยู่ในวงศ์นกเค้าแมว (Strigidae) นกเค้าใหญ่แวโร ได้ชื่อมาจากนักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส ฌูล แวโร จัดเป็นนกเค้าขนาดใหญ่ และเป็นนกเค้าแมวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับสองรองมาจากนกเค้าใหญ่ยูเรเชีย (B. bubo) มีลำตัวยาวประมาณ 66 เซนติเมตร น้ำหนักกว่า 3.11 กิโลกรัม เมื่อกางออกปีกออกแล้วยาวได้กว่า 140 เซนติเมตร ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย, Arkive มีใบหน้าที่มีลักษณะกับใบหน้ามนุษย์มากที่สุด พบกระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา ตั้งแต่ซับสะฮารา พบได้ในทะเลทรายนามิบ ในประเทศนามิเบีย พบได้ในป่าฝน พบได้ในเขตอนุรักษ์แห่งชาติแซมบูรู ในประเทศเคนยา และพบได้ในที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 3,000 เมตร (9,800 ฟุต) เป็นนกที่หากินในเวลากลางคืน โดยล่าเหยื่อเช่น นกและหนูขนาดเล็ก, กิ้งก่า, กบ, แมลงปีกแข็ง และแมลงชนิดต่าง ๆ มีเสียงร้อง กว๊อก, กว๊อก, กว๊อก-กว๊อกกกกกกกก กว๊อกกกกกกกก กว๊อน ในขณะที่ตัวเมียก็ส่งเสียงร้องคล้ายกันแต่มีเสียงที่แหลมสูงกว.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและนกเค้าใหญ่แวโร · ดูเพิ่มเติม »

นกเงือกปากเหลืองถิ่นใต้

นกเงือกปากเหลืองถิ่นใต้ (Southern yellow-billed hornbill) เป็นนกจำพวกนกเงือก (Bucerotidae) ชนิดหนึ่ง นกเงือกปากเหลืองถิ่นใต้ เป็นนกเงือกที่พบแพร่กระจายพันธุ์เฉพาะที่ทวีปแอฟริกาตอนใต้ ถือเป็นนกเงือกปากเหลืองแอฟริกาชนิดหนึ่ง นอกจากนกเงือกปากเหลืองถิ่นเหนือ (T. flavirostris) ซึ่งเป็นนกเงือกปากเหลืองอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ในทวีปแอฟริกา ขณะหากินบนพื้นที่ทะเลทรายคาลาฮารี นกเงือกปากเหลืองถิ่นใต้ มีจุดเด่น คือ ลักษณะจะงอยปากที่มีสีเหลือง มีพฤติกรรมความเป็นอยู่แตกต่างจากนกเงือกที่อาศัยอยู่ในทวีปเอเชียอย่างสิ้นเชิง โดยจะอาศัยอยู่ในพื้นที่เปิดโล่ง เช่น ป่าละเมาะ หรือทุ่งหญ้า หรือทะเลทราย ผิดกับนกเงือกที่อาศัยอยู่ในทวีปเอเชียที่จะอาศัยอยู่เฉพาะในป่าดิบชื้นเท่านั้น กินแมลงเป็นอาหารหลัก ซึ่งในพื้นที่ ๆ เปิดโล่งนั้นสามารถหาอาหารได้ง่ายและมากกว่า แต่ก็ทำรังและหลับนอนบนต้นไม้.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและนกเงือกปากเหลืองถิ่นใต้ · ดูเพิ่มเติม »

นากยักษ์

นากยักษ์ (Giant otter;; ชื่อพื้นเมือง: lobo de río แปลว่า "หมาป่าแม่น้ำ") เป็นนากชนิดหนึ่ง จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Pteronura แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย (ดูในตาราง).

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและนากยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำตกเอนเจล

right น้ำตกเอนเจล (Angel Falls; Salto Angel) เป็นน้ำตกที่ตั้งอยู่กลางป่าดงดิบในประเทศเวเนซุเอลา เป็นน้ำตกที่สูงที่สุดในโลก โดยสูงกว่าน้ำตกไนแอการา ถึง 18 เท่า มีความสูงกว่า 979 เมตร ซึ่งผู้ที่จะเข้าชมน้ำตกสามารถเข้าไปโดยทางเรือและเครื่องบินเท่านั้น ซึ่งชื่อน้ำตกมาจากนักบินชาวอเมริกัน จิมมี เอนเจล ผู้ค้บพบน้ำตกเป็นคนแรก เมื่อ ค.ศ. 1935 น้ำตกแห่งนี้มีชื่อเรียกในภาษาเปมอน ภาษาของคนพื้นเมืองเวเนซุเอลาว่า "ปาราคุปา-เวนา" (Parakupa-vena แปลว่า น้ำที่ตกจากจุดที่สูงที่สุด) หรือ "เคเรปาคุปาอิ เมรู" (Kerepakupai merú แปลว่า น้ำตกแห่งสถานที่ที่ลึกที่สุด) หรือ "ชูรุน เมรู" (Churun-meru แปลว่า น้ำตกสายฟ้า) เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ประธานาธิบดีฮูโก ชาเวซแห่งเวเนซุเอลาได้ประกาศเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการของน้ำตกนี้เป็นชื่อพื้นเมืองดั้งเดิม คือ เคเรปาคุปาอิ เมรู โดยให้เหตุผลว่า "น้ำตกนี้เป็นของชาวเวเนซุเอลามานมนานก่อนที่ชาวอเมริกัน จิมมี แองเจิล จะมาพบ" น้ำตกนี้มีลักษณะประหลาดคือ น้ำไม่สามารถตกถึงพื้นได้ เนื่องจากความสูงของน้ำตกสูงมากทำให้กว่าน้ำตกถึงพื้นมันจะกลายเป็นหมอกไปซะก่อน ทำให้พื้นที่บริเวณนี้มีหมอกหนาปกคลุมตลอดเวล.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและน้ำตกเอนเจล · ดูเพิ่มเติม »

แมงมุมทารันทูล่า

แมงมุมทารันทูล่า (Tarantula; ภาษาไทยถิ่นอีสาน: เบิ้ง) เป็นสัตว์ขาปล้องจำพวกแมงมุมกลุ่มหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ Theraphosidae เป็นแมงมุมที่มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ยุคโบราณกว่า 350 ล้านปีมาแล้ว โดยมีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างร่างกายน้อยมาก มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับแมงมุมท้องปล้อง แต่ทารันทูล่าจะไม่เหลือปล้องบริเวณท้องอีกแล้ว ทารันทูล่าทั่วไปเป็นแมงมุมขนาดใหญ่ มีขายาว และมีลักษณะเด่นคือ มีเส้นขนจำนวนมากขึ้นอยู่ตามตัวและขา เห็นได้ชัดเจน ส่วนมากมีสีสันหรือลวดลายที่สดใส พบได้ทั่วไปทุกมุมโลก ไม่เว้นแม้แต่ทะเลทราย, ทุ่งหญ้า หรือในถ้ำที่มืดมิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบร้อนชื้น หรืออุณหภูมิแบบป่าดิบชื้น ยกเว้นขั้วโลกเท่านั้น.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและแมงมุมทารันทูล่า · ดูเพิ่มเติม »

แคพิบารา

แคพิบารา (capybara) เป็นหนูที่ใหญ่ที่สุดในโลก ชื่อวิทยาศาสตร์ของมันคือ Hydrochaeris hydrochaeris เป็นสมาชิกของสกุล Hydrochoerus และมีสมาชิกที่อยู่ในสกุลเดียวกันที่หลงเหลืออยู่นั้นคือ Hydrochoerus isthmius ญาติใกล้ชิดของแคพิบาราคือหนูตะเภามีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้และที่อาศัยอยู่ในหุบเขาที่มีป่าหนาทึบและอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ มันเป็นสัตว์สังคมที่มีจำนวนในฝูงเยอะมากและในฝูงของพวกมันอาจพบได้มากถึง100ตัว แต่ส่วนมากพวกมันจะอยู่เป็นฝูงแค่ 10-20 ตัวเท่านั้น พวกมันไม่ได้ถูกล่าเพื่อเอาเนื้อเอาหนังจากมนุษย์เท่าไหร่นัก จึงทำให้พวกมันไม่มีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ แต่ถึงอย่างนั้นไขมันของพวกนั้นสามารถเอามาทำยาได้.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและแคพิบารา · ดูเพิ่มเติม »

โลก (ดาวเคราะห์)

ลก (Earth) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สามจากดวงอาทิตย์ และเป็นวัตถุทางดาราศาสตร์เพียงหนึ่งเดียวที่ทราบว่ามีสิ่งมีชีวิต จากการวัดอายุด้วยกัมมันตรังสีและแหล่งหลักฐานอื่นได้ความว่าโลกกำเนิดเมื่อประมาณ 4,500 ล้านปีก่อน โลกมีอันตรกิริยะเชิงโน้มถ่วงกับวัตถุอื่นในอวกาศโดยเฉพาะดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ซึ่งเป็นดาวบริวารถาวรหนึ่งเดียวของโลก โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365.26 วัน เรียกว่า ปี ซึ่งระหว่างนั้นโลกโคจรรอบแกนตัวเองประมาณ 366.26 รอบ แกนหมุนของโลกเอียงทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ บนผิวโลก อันตรกิริยาความโน้มถ่วงระหว่างโลกกับดวงจันทร์ก่อให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร ทำให้การหมุนบนแกนของโลกมีเสถียรภาพ และค่อย ๆ ชะลอการหมุนของโลก โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นสูงสุดในระบบสุริยะและใหญ่สุดในดาวเคราะห์คล้ายโลก 4 ดวง ธรณีภาคของโลกแบ่งออกได้เป็นหลาย ๆ ส่วน เรียกว่าแผ่นธรณีภาค ซึ่งย้ายที่ตัดผ่านพื้นผิวตลอดเวลาหลายล้านปี ร้อยละ 71 ของพื้นผิวโลกปกคลุมด้วยน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาสมุทร อีกร้อยละ 29 ที่เหลือเป็นแผ่นดินประกอบด้วยทวีปและเกาะซึ่งมีะเลสาบ แม่น้ำและแลห่งน้ำอื่นจำนวนมากกอปรเป็นอุทกภาค บริเวณขั้วโลกทั้งสองปกคลุมด้วยน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก และน้ำแข็งทะเลของแพน้ำแข็งขั้วโลก บริเวณภายในของโลกยังคงมีความเคลื่อนไหวโดยมีแก่นชั้นในซึ่งเป็นเหล็กในสถานะของแข็ง มีแก่นเหลวชั้นนอกซึ่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก และชั้นแมนเทิลพาความร้อนที่ขับเคลื่อนการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค ภายในพันล้านปีแรก สิ่งมีชีวิตปรากฏขึ้นในมหาสมุทรและเริ่มส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศและผิวดาว เกื้อหนุนให้เกิดการแพร่ขยายของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ออกซิเจนเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช้ออกซิเจน หลักฐานธรณีวิทยาบางส่วนชี้ว่าชีวิตอาจกำเนิดขึ้นเร็วสุด 4.1 พันล้านปีก่อน นับแต่นั้นตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะ คุณสมบัติทางกายภาพของโลก และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยาของโลกประกอบกันทำให้สิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการและแพร่พันธุ์ได้ Early edition, published online before print.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและโลก (ดาวเคราะห์) · ดูเพิ่มเติม »

โอรังเป็นเดะก์

วาดของโอรังเป็นเดะก์ตามจินตนาการของจิตรกร และความสูงเทียบกับมนุษย์ โอรังเป็นเดะก์ (orang pendek) เป็นสิ่งมีชีวิตลึกลับชนิดหนึ่งที่มีรูปร่างคล้ายมนุษย์หรือเอป เหมือนกับบิ๊กฟุตหรือแซสแควตช์ที่พบในอเมริกาเหนือ หรือเยติในเทือกเขาหิมาลัย "โอรังเป็นเดะก์" ในภาษาอินโดนีเซียมีความหมายว่า "คนเตี้ย" พบในป่าดิบชื้นใกล้ภูเขาหรือภูเขาไฟบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ชาวพื้นเมืองของสุมาตรารู้จักโอรังเป็นเดะก์มาเป็นเวลาหลายศตวรรษแล้ว อย่างน้อยตั้งแต่ยุคของมาร์โคโปโล จนถึงกระทั่งยุคของอาณานิคมดัตช์ แต่เป็นที่รับรู้กันอย่างกว้างขวางมากขึ้นเมื่อต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 โดยชาวตะวันตกที่เข้าไปสำรวจในพื้นที่ มีความเชื่อของชาวพื้นเมืองว่า โอรังเป็นเดะก์นั้นเป็นเจ้าแห่งป่า ยิ่งใหญ่กว่าเสือโคร่ง เพราะมีความสัมพันธ์กับป่าในเชิงวัฒนธรรมของชาวสุมาตรา ผู้ที่เคยพบเห็นโอรังเป็นเดะก์ต่างบอกว่า มันมีความสูงราว 3-4 ฟุต ซึ่งนับว่าเตี้ยกว่าสัตว์ประหลาดประเภทเดียวกันที่พบกันในส่วนอื่นของโลกมาก มีขนตามลำตัวสีอ่อน เช่น สีเทา ใบหน้ามีขนสีเทาเงิน และหลังมือมีขนสีขาว แม้จะมีความสูงไม่มาก แต่โอรังเป็นเดะก์ก็เป็นสัตว์ที่มีพละกำลังมาก มีช่วงบ่าที่กว้าง หน้าอกใหญ่ บึกบึน ขนาดแขนใหญ่เท่ากับขามนุษย์ มีแรงมากถึงขนาดที่จะถอนต้นไม้ออกจากพื้นทั้งต้นได้ และส่งเสียงร้องดังและยาว พฤติกรรมของโอรังเป็นเดะก์คล้ายคลึงกับบิ๊กฟุต คือ ชอบที่จะเข้าไปขโมยผลิตผลทางการเกษตรหรือข้าวของของมนุษย์ที่เข้าไปทำเกษตรกรรมใกล้กับถิ่นที่อยู่ของมัน โอรังเป็นเดะก์เป็นสัตว์ที่ขี้ตื่นตกใจ เมื่อเผชิญหน้ากับมนุษย์จะวิ่งหนีเข้าป่าไปอย่างรวดเร็ว โดยจะเอาแขนทั้ง 2 ข้าง ชูไว้เหนือหัว เป็นพฤติกรรมที่เชื่อกันโดยนักสัตว์ประหลาดวิทยาว่า ทำไปเพื่อป้องกันส่วนหัวจากการถูกทำร้ายจากข้างหลังหรือข้างบน หรือเป็นการทำให้ตัวแลดูใหญ่ขึ้น ผู้ที่พบโอรังเป็นเดะก์พบในเวลากลางวันเท่านั้น ยังไม่มีรายงานพบในเวลากลางคืน โอรังเป็นเดะก์เป็นสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารหลัก โดยหากินตามพื้นดินและขุดหาสัตว์เล็ก ๆ เช่น แมลงหรือสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กในพื้นดิน กินเป็นอาหารด้วย แต่ไม่พบว่าล่าหรือกินสัตว์ขนาดใหญ่ โอรังเป็นเดะก์เป็นสัตว์ที่หากินตามลำพัง เพราะยังไม่เคยมีใครพบโอรังเป็นเดะก์อยู่เป็นคู่หรือมากกว่าหนึ่งตัว ซึ่งพฤติกรรมนี้แตกต่างจากบิ๊กฟุตที่พบในอเมริกาเหนือ เมื่อโอรังเป็นเดะก์บุกรุกแปลงผัก นอกจากจากขโมยกินแล้ว จะหยิบเอาผักติดมือไปด้วย แม้แต่วิ่งหนีก็จะยังหยิบผักติดตัวไป รวมถึงเชื่อว่าชอบที่จะกินทุเรียน และมีผู้เคยพบเห็นโอรังเป็นเดะก์นอนกลางพื้นในไร่เหมือนกับการอาบแดดด้ว.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและโอรังเป็นเดะก์ · ดูเพิ่มเติม »

โคล่า

ล่า (Cola) เป็นพืชไม่ผลัดใบสกุลหนึ่ง มีด้วยกันประมาณ 125 สปีชีส์ เป็นพืชพื้นเมืองในเขตป่าดงดิบของทวีปแอฟริกา จำแนกอยู่ในวงศ์ Malvaceae วงศ์ย่อย Sterculioideae (หรืออาจแยกเป็นวงศ์ Sterculiaceae ต่างหาก ก็มี) ถือว่ามีความสัมพันธ์กับพืชสกุล Theobroma (โกโก้) ในทวีปอเมริกาใต้ ต้นโคล่านั้นมีความสูงเต็มที่ 20 เมตร มีใบมันวาว คล้ายรูปไข่ ยาวเต็มที่ 30 เซนติเมตร;สปีชีส์อื่น.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและโคล่า · ดูเพิ่มเติม »

โตเกียวดิสนีย์รีสอร์ต

ตเกียวดิสนีย์รีสอร์ต (Tokyo Disney Resort) เป็นสวนสนุกและสถานพักตากอากาศที่อุระยะซุ จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น เจ้าของและดำเนินการโดยบริษัทเดอะโอเรียนเต็ลแลนด์ ที่มีใบอนุญาตจากบริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์ เปิดบริการเมื่อวันที่ 15 เมษายน..

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและโตเกียวดิสนีย์รีสอร์ต · ดูเพิ่มเติม »

โตเกียวดิสนีย์ซี

ตเกียวดิสนีย์ซี (東京ディズニーシー, Tokyo Disney Sea) เป็นโครงการที่เกิดขึ้นครั้งแรกในส่วนต่อขยายของโตเกียวดิสนีย์แลนด์รีสอร์ต ตั้งอยู่ในเขตชิบะ ประเทศญี่ปุ่น เปิดเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2544 ในพื้นที่รวมที่เรียกว่าโตเกียวดิสนีย์รีสอร์ท มีแนวคิดหลักของพื้นที่เกี่ยวกับน้ำ เช่น เมืองเวนีส ลำธารน้ำ ทะเล เรือไททานิก ถ้ำใต้น้ำในปล่องภูเขาไฟ เมืองในป่าดิบชื้นแถบอเมริกากลาง เงือกและเมืองบาดาล เป็นต้น.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและโตเกียวดิสนีย์ซี · ดูเพิ่มเติม »

ไก่จุก

ก่จุก (Crested wood partridge, Crested partridge, Roul-roul, Red-crowned wood partridge, Green wood partridge) เป็นนกในวงศ์ Phasianidae และเป็นชนิดเดียวในสกุล Rollulus.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและไก่จุก · ดูเพิ่มเติม »

ไฮแรกซ์หิน

แรกซ์หิน (Rock hyrax, Cape hyrax, Rock rabbit, Dassie) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในอันดับไฮแรกซ์ (Hyracoidea) และวงศ์ Procaviidae จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Procavia มีรูปร่างคล้ายหนูตัวใหญ่ ๆ หรือกระต่าย มีหางสั้น มีขนหนานุ่มสีน้ำตาลเพื่อควบคุมอุณหภูมิร่างกาย เมื่อโตเต็มที่มีขนาดลำตัวตั้งแต่ 30–70 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 2–5 กิโลกรัม กินพืชเป็นอาหาร ทั้ง ใบไม้, หญ้า และเมล็ดพืชชนิดต่าง ๆ และสามารถกินพืชที่มีหนามและมีพิษได้ด้วย ไฮแรกซ์หินพบทั่วไปในทวีปแอฟริกา ในหลากหลายภุมิประเทศทั้งทะเลทราย, ป่าฝน และป่าสน และพบไปถึงบางส่วนในตะวันออกกลาง เช่น ซาอุดิอาระเบีย, โอมาน มีระยะเวลาตั้งท้องนาน 7–8 เดือน ออกลูกได้ครั้งละ 1–2 ตัว อายุ 5 เดือนจึงหย่านม มีอายุเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ประมาณ 17–18 เดือน อาศัยอยู่เป็นฝูงหรือครอบครัวเล็ก ๆ โดยมีตัวผู้ 1 ตัว เป็นผู้นำ และตัวเมียหลายตัว มีพฤติกรรมปีนป่ายโขดหิน และอาศัยอยู่ในโพรงหินหรือถ้ำขนาดเล็ก อันเป็นที่มาของชื่อ ชอบที่จะนอนอาบแดดในเวลาเช้า ก่อนจะออกหาอาหาร กับถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ ไฮแรกซ์หิน เป็นสัตว์ที่มีความตื่นตัวระแวดระวังภัยสูง เนื่องด้วยเป็นสัตว์ที่ตกเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่เสมอ ๆ รวมถึงนกล่าเหยื่อด้วย เช่น เหยี่ยวหรืออินทรี แต่เป็นสัตว์ที่ไม่ตื่นกลัวมนุษย์ มักจะเข้ามาหาอาหารในชุมชนของมนุษย์อยู่เสมอ ๆ ในประเทศไทย มีไฮแรกซ์หินแสดงที่สวนสัตว์เชียงใหม.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและไฮแรกซ์หิน · ดูเพิ่มเติม »

ไผ่กวนอิม

ผ่กวนอิม (Ribbon dracaena, Lucky bamboo, Belgian evergreen, Ribbon plant) เป็นไม้ประดับประเภทไม้พุ่มที่ได้รับความนิยมในการปลูกเลี้ยงเป็นงานอดิเรก ไผ่กวนอิม มีถิ่นกำเนิดในป่าดิบชื้นของประเทศแคเมอรูนและคองโก มีลักษณะลำต้นขนาดเล็ก เนื้อไม้อ่อน ลำต้นตรงเล็ก เป็นข้อ ๆ สีเขียว ไม่มีกิ่งก้านสาขา มีการเจริญเติบโตจากการยืดตัวของข้อใบ เป็นใบเดี่ยวแตกออกจากส่วนยอดของลำต้น มีกาบใบห่อหุ้มลำต้นสลับกันเป็นชั้น ๆ ตามข้อของลำต้น ส่วนใบแคบเรียวยาวปลายใบแหลม โคนใบสอบลงมาถึงกาบใบ ใบมีสีเขียวและสีขาวพาดยาวตามใบ ใบค่อนข้างป้อม ปลายแหลม ก้านยาวโคนใบเป็นกาบใบหุ้มรอบลำ โตเต็มที่สูงได้ถึง 1.5 เมตร ขนาดกว้างของใบ 2–3 เซนติเมตร ยาว 6–8 เซนติเมตร ไผ่กวนอิม เป็นที่นิยมในการเลี้ยงปลูก รวมถึงบูชาพระหรือเจ้าที่ โดยมีความเชื่อในเรื่องโชคลาภว่า จะนำพาในเรื่องความมั่งคั่ง โดยเป็นพืชที่ปลูกง่าย สามารถปลูกเลี้ยงในกระถางดินเผา หรือแม้แต่จะนำต้นไปแช่น้ำในแจกันก็ได้ นอกจากนี้ ไผ่กวนอิมนั้นยังสามารถช่วยบำบัดสารเคมีในกลุ่ม BTEX ได้ ตัวอย่างเช่น ไผ่กวนอิมสามารถลดความเป็นพิษของเบนซีนได้.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและไผ่กวนอิม · ดูเพิ่มเติม »

ไทรย้อยใบทู่

ทรย้อยใบทู่ หรือ ไทรย้อย (Chinese banyan, Malayan banyan; 細葉榕) เป็นไม้ประเภทบันยัน ในสกุล Ficus ในวงศ์ Moraceae เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงได้ประมาณ 12-25 เมตร และสูงได้ถึง 30 เมตร บางครั้งอาจรอเลื้อยกับพื้นดินหรือกึ่งอาศัยกับไม้อื่น ๆ มีรากอากาศอยู่ตามกิ่งไม้เป็นเส้นเรียงยาวจำนวนมาก เปลือกมีสีเทา ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตัวแบบเวียน มีลักษณะรูปไข่หรือรูปวงรี ขนาดกว้าง 2.5 เซนติเมตร ยาว 4-10 เซนติเมตร ปลายใบแหลมถึงเป็นติ่งทู่เกือบแหลม หรือเป็นติ่งสั้น และเรียวแหลม ไม่ค่อยพบแบบเว้า ฐานใบสอบรูปลิ่ม ขอบใบเรียว ผิวใบมัน เนื้อใบบางเหนียวคล้ายผิวหนัง ออกดอกตามง่ามใบ เป็นดอกเดี่ยวหรือน้อยมากที่จะเป็นดอกคู่ ตาดอกสีแดงแกมชมพู ก้านดอกยาว 0.5-1.5 เซนติเมตร วงกลีบเลี้ยงรูประฆัง จำนวน 6 กลีบ ยาว 3-7 กลีบ กลีบดอกแบบอิสระ 6 กลีบ รูปไข่มน ยาว 3-8 มิลลิเมตร มีลักษณะย่น เกสรตัวผู้ 12 อัน ขดเป็นวง ผลเป็นรูปไข่กลับหรือกระสวยรี มีกลีบเลี้ยงเป็นท่อหุ้ม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-10 มิลลิเมตร ผลเกลี้ยง ผลแก่แตกออก มีเมล็ดจำนวนมาก มีปีกยาว รูปลิ่มแกมไข่กลับ มีการกระจายพันธุ์ที่กว้าง โดยพบได้ที่ปากีสถาน, อินเดีย, เนปาล, ศรีลังกา, จีนตอนใต้, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, พม่า, ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย จนถึงฟิลิปปินส์และออสเตรเลีย ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ขึ้นกระจายในป่าดิบแล้ง, ป่าดิบชื้น และป่าเบญจพรรณ บางครั้งพบตามป่าเสื่อมโทรม, ชายทะเล, ป่าชายเลน หรือเขาหินปูน จนถึงระดับความสูงประมาณ 1,100 เมตร จากระดับน้ำทะเล ใบของไทรย้อยใบทู่ เป็นไม้ที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงา ออกดอกและออกผลตลอดทั้งปี รากอากาศใช้ต้มดื่มขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา แก้นิ่ว บำรุงน้ำนม รากสมานลำไส้ แก้ท้องเสียได้.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและไทรย้อยใบทู่ · ดูเพิ่มเติม »

ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิส

ททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิส (ชื่อย่อ: ไททันโอโบอา (Titanoboa)) เป็นชื่องูขนาดใหญ่ที่ไม่มีพิษ ในวงศ์ Boidae ซึ่งปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปแล้ว ถูกค้นพบโดยคณะนักวิทยาศาสตร์สาขาบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยโทรอนโต ไททันโอโบอาเป็นงูที่อยู่ในวงศ์เดียวกับงูไม่มีพิษจำพวกโบอา ที่คล้ายกับงูเหลือมหรืองูหลาม ที่พบได้ในทวีปอเมริกากลางและเกาะมาดากัสการ์ในปัจจุบัน นักบรรพชีวินวิทยาเชื่อว่า ไททันโอโบอา มีรูปร่างลักษณะและมีพฤติกรรมคล้ายงูอนาคอนดาซึ่งปัจจุบันพบในป่าดิบชื้นทวีปอเมริกาใต้ โดยหากินในน้ำ ซึ่งอาหารได้แก่ จระเข้และปลาขนาดใหญ่ แต่ทว่ามีความยาวกกว่ามาก โดยมีความยาวเฉลี่ยประมาณ 13.5 เมตร และอาจยาวได้ถึง 15 เมตร หนักถึง 2.6 ตัน โดยชื่อของมันเป็นภาษาลาติน แปลได้ว่า "งูยักษ์จากแซร์อาโฮน" (Titanic boa from Cerrejon) ซึ่งมาจากชื่อเมืองแซร์อาโฮน ซึ่งเป็นเหมืองแร่ ในประเทศโคลอมเบีย ซึ่งเป็นที่ ๆ ค้นพบซากฟอสซิลของมันเป็นครั้งแรก ซากฟอสซิลของไททันโอโบอา ที่ค้นพบเป็นกระดูกสันหลัง จำนวน 180 ชิ้น คาดว่าน่าจะเป็นของงูทั้งหมด 12 ตัว ค้นพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2007 ซึ่งกระดูกสันหลังนั้นมีขนาดใหญ่กว่ากระดูกสันหลังของงูอนาคอนดามากนัก จากการวิเคราะห์และคำนวณด้วยเครื่องมือต่าง ๆ พบว่า ไททันโอโบอามีชีวิตอยู่ในยุคพาลีโอซีน (56-60 ล้านปีก่อน) ซึ่งมีสภาพเป็นป่าดิบชื้น มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 30-34 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของป่าดิบชื้นในยุคราว 3-4 องศาเซลเซียส และสอดคล้องกับสภาพอากาศในยุคพาลีโอซีนที่คาดว่ามีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศปริมาณมาก.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิส · ดูเพิ่มเติม »

เพชรพระอุมา

รพระอุมา เป็นนวนิยายแนวผจญภัยที่มีขนาดความยาวมากที่สุดในประเทศไทย และนับว่าเป็นนวนิยายที่มีความยาวมากที่สุดในโลกรักษ์ชนก นามทอน, เจาะลึกเบื้องหลังเพชรพระอุมา คำนิยมจากบรรณาธิการ, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544 บทประพันธ์โดย พนมเทียน ซึ่งเป็นนามปากกาของนายฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ ตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ และตีพิมพ์ต่อเนื่องในหนังสือพิมพ์รายวัน ใช้ระยะเวลาในการประพันธ์ยาวนานกว่า 25 ปี โดยพนมเทียนเริ่มต้นการประพันธ์เพชรพระอุมาในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 และสิ้นสุดเนื้อเรื่องทั้งหมดในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2533 รวมระยะเวลาในการประพันธ์ทั้งสิ้น 25 ปี 7 เดือน กับ 2 วัน เพชรพระอุมาถูกนำมาตีพิมพ์ฉบับรวมเล่มซ้ำใหม่หลาย ๆ ครั้งในรูปแบบของพ็อกเก็ตบุ๊ค จำนวน 48 เล่ม โดยสำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม ลิขสิทธิ์โดยพนมเทียน (เดิมเป็นชนิดปกแข็งจำนวน 53 เล่ม แต่ละเล่มมีความหนาประมาณ 33 ยก หรือ 16 หน้ายก และเมื่อนำมารวมกันทั้งหมดจะมีความหนาประมาณ 1,749 ยก แบ่งเป็นสามภาคได้แก่ ภาคแรก จำนวน 24 เล่ม ภาคสอง จำนวน 15 เล่ม และ ภาคสาม จำนวน 14 เล่ม แต่ปัจจุบันได้รวบรวมเนื้อหาในแต่ละภาคและลดลงคงเหลือเพียงแค่ 48 เล่ม) แบ่งเป็นสองภาคคือภาคแรก จำนวน 24 เล่ม 6 ตอน และภาคสมบูรณ์ จำนวน 24 เล่ม 6 ตอน ตีพิมพ์ฉบับรวมเล่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2538 ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2541 และทำการปรับปรุงต้นฉบับเดิมพร้อมกับตีพิมพ์ครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2544 และตีพิมพ์ครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2547 อีกทั้งยังมีการทำเป็น eBook โดยสำนักพิมพ์อมรินทร์ในปี พ.ศ. 2556 โดยเนื้อเรื่องต่าง ๆ ของเพชรพระอุมานั้น พนมเทียนได้นำเค้าโครงเรื่องมาจาก คิง โซโลมอน'ส มายน์ส (King Solomon's Mines) หรือ สมบัติพระศุลี นวนิยายของเซอร์เฮนรี่ ไรเดอร์ แฮกการ์ด (H. Rider Haggard) ที่ผจญภัยในความลี้ลับของป่าดงดิบภายในทวีปแอฟริกาพนมเทียน, เจาะลึกเบื้องหลังเพชรพระอุมา เค้าโครงเรื่องจากคิง โซโลมอน'ส มายน์ส (King Solomon's Mines), สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2546 หน้า 11.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและเพชรพระอุมา · ดูเพิ่มเติม »

เมกะลาเนีย

มกะลาเนีย (Megalania; ชื่อวิทยาศาสตร์: Varanus priscus) เป็นสัตว์เลื้อยคลานกินเนื้อขนาดใหญ่ในวงศ์เดียวและสกุลเดียวกับเหี้ยในปัจจุบัน ซึ่งเมกะลาเนียได้สูญพันธุ์ไปแล้ว แต่ทว่า เมกะลาเนีย นั้นมีขนาดใหญ่ได้มากถึง 5.5 เมตร และหนักได้ถึง 600 กิโลกรัม ซึ่งเท่ากับว่าใหญ่กว่ามังกรโคโมโด สัตว์ในวงศ์เหี้ยขนาดใหญ่ที่สุดที่ยังสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้ถึง 2 เท่า เมกะลาเนีย อาศัยอยู่บริเวณที่เป็นทวีปออสเตรเลียในปัจจุบัน และได้สูญพันธุ์ไปเมื่อ 45,000-50,000 ปีก่อน ในปลายยุคเพลสโตซีน หรือ ยุคสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยุคน้ำแข็ง เชื่อว่าเมกะลาเนีย มีพฤติกรรมและมีพิษในน้ำลายเช่นเดียวกับมังกรโคโมโดในปัจจุบัน และเชื่อว่าเมกะลาเนียยังเป็นสัตว์นักล่าที่น่ากลัวมากอีกด้วย เนื่องจากมีกรามที่ใหญ่และฟันที่แหลมคมมากในปากและอาหารโปร่ดเมกะลาเนียคือ ไดโปรโตดอนสึงมันยังมีคู่แข่งอย่า สิงโตมาซูเพียล หรือ สิงโตมีกระเป๋าหน้าท้อง อีกด้วย สำหรับคำว่าเมกะลาเนียนั้นตั้งโดย เซอร์ริชาร์ด โอเวน นักบรรพชีวินวิทยาชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นผู้ที่ศึกษามัน และตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้แก่มันด้วย โดยมาจากภาษากรีก ที่มีความหมายว่า "ผู้เดินทางที่ยิ่งใหญ่ในอดีต".

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและเมกะลาเนีย · ดูเพิ่มเติม »

เม่นต้นไม้

ม่นต้นไม้ หรือ เม่นบราซิล (Brazilian porcupine) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coendou prehensilis เป็นสัตว์ฟันแทะจำพวกเดียวกับเม่น มีถิ่นกำเนิดอยู่ในป่าดิบชื้นในทวีปอเมริกาใต้ แถบประเทศโบลิเวีย, บราซิล, ตรินิแดดและโตเบโก, ตอนเหนือของอาร์เจนตินา, เวเนซุเอลา, กายอานา และมีรายงานพบในเอกวาดอร์ด้วย มีลักษณะจมูกและปากเล็กแหลม ฟันแหลมคม สำหรับขบเคี้ยวอาหารและใช้เป็นอาวุธสำหรับต่อสู้ป้องกันตัวในบางครั้ง ดวงตากลมโตสีดำ ใบหูขนาดเล็ก รับฟังเสียงรอบข้างได้ดี ทั่วทั้งร่างกายปกคลุมด้วยหนามสั้นหนา ปลายหนามด้านบนสีขาวหรือสีเหลืองเข้มผสม ส่วนโคนหนามซึ่งติดกับผิวหนังเป็นสีเทา ขาคู่หน้า ยาวกว่าคู่หลังเล็กน้อย แต่ละข้างมี 4 นิ้ว และเล็บที่แหลมคมสำหรับแกะเปลือกไม้และขุดรากพืชบางชนิด กิ่งไม้ขนาดเล็กรวมทั้งผลไม้สดเป็นอาหาร ส่วนหางยาวและค่อนข้างแข็งแรงจะใช้จับกิ่งก้านขณะเคลื่อนไหว ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่บนต้นไม้ มีนิสัยขี้อาย ชอบใช้ชีวิตอยู่ตามลำพังตัวเดียว ออกหากินในเวลากลางคืน กลางวันจะพักผ่อนหลับนอนอยู่ตามโพรงไม้ บางครั้งอาจพบอยู่ตามโพรงดินที่ขุดลึกไป 6-10 เมตร ขนาดโตเต็มที่ขนาดลำตัวมีความยาว 300-600 มิลลิเมตร และหางจะมีความยาวเกือบเท่าขนาดลำตัวหรือยาวเพิ่มอีก 330-485 มิลลิเมตร น้ำหนักตัวเฉลี่ย 2-5 กิโลกรัม ตกลูกครั้งละตัวเดียว เม่นต้นไม้แรกเกิดถูกปกคลุมด้วยเส้นขนสีแดงและหนามเล็ก ๆ ที่จะแข็งตัวเร็วหลังจากเกิด มักส่งเสียงร้องเมื่อพบอันตรายใกล้ตัวคล้ายเสียงร้องไห้ เมื่อพบกับศัตรูจะขดตัวกลมคล้ายลูกบอลคล้ายตัวลิ่น ในประเทศไทย เม่นต้นไม้ถูกนำเข้ามาแสดงครั้งแรกในวันปลาสวยงามแห่งชาติ ที่ห้างเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม จนถึง 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและเม่นต้นไม้ · ดูเพิ่มเติม »

เรณูวิทยา

ละอองเรณูของสนไพน์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ doi.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและเรณูวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

เสือดาวอินโดจีน

ือดาวอินโดจีน หรือ เสือดาวจีนใต้ (Indochinese leopard, South-Chinese leopard) เป็นชนิดย่อยของเสือดาว (P. pardus) ชนิดหนึ่ง โดยชื่อวิทยาศาสตร์ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ ฌ็อง เตออดอร์ เดอลากูร์ นักปักษีวิทยาชาวฝรั่งเศส-อเมริกัน เสือดาวอินโดจีนมีรูปร่างและลักษณะคล้ายกับเสือดาวอินเดีย (P. pardus fusca) ที่พบในภูมิภาคอนุทวีปอินเดีย แต่มีขนาดลำตัวใหญ่กว่าเล็กน้อย โดยมีสีขนออกเป็นสีแดงเข้ม แต้มจุดรอบนอกของลายขยุ้มตีนหมาค่อนข้างหนา ขนาดของลายขยุ้มตีนหมาโดยเฉลี่ยเล็กกว่าของเสือดาวอามูร์ (P. pardus orientalis) และเสือดาวจีนเหนือ (P. pardus japonensis) พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคใต้ของจีน ภาคตะวันออกของอินเดีย และหลายประเทศในภูมิภาคอินโดจีนรวมถึงประเทศไทย เสือดาวอินโดจีนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าชะตี้นของพม่ามีปริมาณลดลงอย่างมากในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940–1980 จนกระทั่งมีสถานะเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ในท้องถิ่นเมื่อถึงปี..

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและเสือดาวอินโดจีน · ดูเพิ่มเติม »

เสือโคร่งมลายู

ือโคร่งมลายู หรือ เสือโคร่งมาเลเซีย (Harimau Malaya) เสือโคร่งสายพันธุ์ย่อยสายพันธุ์หนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris jacksoni ในวงศ์ Felidae เป็นเสือโคร่งสายพันธุ์ใหม่ที่เพิ่งถูกอนุกรมวิธานแยกออกจากเสือโคร่งอินโดจีน (P. t. corbetti) เมื่อปี ค.ศ. 2004 อันเนื่องจากดีเอ็นเอที่ต่างกันKhan, M.K.M. (1986).

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและเสือโคร่งมลายู · ดูเพิ่มเติม »

เสือโคร่งสุมาตรา

ำหรับเสือสุมาตราที่หมายถึงปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ดูที่: ปลาเสือสุมาตรา เสือโคร่งสุมาตรา (Sumatran tiger) เสือโคร่งสายพันธุ์ย่อยสายพันธุ์หนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris sumatrae ในวงศ์ Felidae จัดเป็นเสือโคร่งขนาดเล็กที่สุดในโลกที่ยังคงพบได้จนถึงทุกวันนี้.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและเสือโคร่งสุมาตรา · ดูเพิ่มเติม »

เสือโคร่งอินโดจีน

ือโคร่งอินโดจีน (Indochinese tiger, Corbett's tiger) เสือโคร่งชนิดย่อยชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris corbetti อยู่ในวงศ์เสือและสิงโต (Felidae) รูปร่างเหมือนเสือโคร่งทั่วไป แต่มีลายเส้นที่เล็กกว่าเสือโคร่งเบงกอล (P. t. tigris) และขนาดลำตัวก็เล็กกว่า โดยตัวผู้มีความยาวจากหัวถึงหางประมาณ 2.7 เมตร หนักประมาณ 180 กิโลกรัม ตัวเมีย ยาวประมาณ 2.4 เมตร หนักประมาณ 115 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ในประเทศไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, พม่า และมาเลเซีย โดยถูกอนุกรมวิธานแยกออกมาจากเสือโคร่งเบงกอลในปี พ.ศ. 2511 โดยเฉพาะที่พม่าจะมีเสือโคร่งทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ โดยแบ่งตามภูมิศาสตร์โดยถือเอาแม่น้ำอิรวดีเป็นเกณฑ์ คือ เสือโคร่งสายพันธุ์เบงกอลจะอาศัยอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำอิรวดี ส่วนเสือโคร่งสายพันธุ์อินโดจีนจะอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ นอกจากนี้ในอดีตเคยมีในจีนด้วย เสือโคร่งอินโดจีนในจีนตัวสุดท้ายตายลงเมื่อปลายปี พ.ศ. 2552 ที่เมืองลา มณฑลยูนนาน เนื่องจากชาวบ้านคนหนึ่งฆ่า เสือโคร่งอินโดจีนอาศัยและหากินอยูในป่าที่ราบต่ำใกล้แหล่งน้ำ มีอาหารอุดมสมบูรณ์ สามารถอยู่ได้ในหลากหลายสภาพป่า เช่น ป่าดิบชื้น, ป่าผลัดใบ ล่าสัตว์ที่มีขนาดใหญ่และกลาง เช่น วัว, ควายป่า, กวาง, กระทิง เป็นอาหาร โดยมักจะกินเนื้อบริเวณตะโพกก่อน เมื่อเหลือจะนำไปซ่อน แล้วจะกลับมากินใหม่จนหมด ในบางครั้งเมื่อมีลูกเสือที่อ่อนแอ แม่เสืออาจกินลูกด้วยถ้าหากปกป้องหรือเลี้ยงต่อไปไม่ได้ เสือโคร่งเป็นเสือที่ชอบเล่นน้ำและว่ายน้ำเก่ง เคยมีรายงานว่าสามารถว่ายน้ำข้ามไปมาระหว่างเกาะและชายฝั่งทะเลได้ เสือตัวผู้จะแสดงความเป็นเจ้าของพื้นที่ โดยการใช้เล็บตะกุยดินหรือปัสสาวะรดต้นไม้ ในฤดูผสมพันธุ์เสือตัวผู้จะรับรู้ถึงความต้องการของเสือตัวเมียจากเสียงร้องที่ดังขึ้นบ่อยขึ้น เมื่อได้ผสมพันธุ์แล้วเสือตัวผู้จะจากไป และอาจไปผสมพันธุ์กับเสือตัวเมียอื่น ๆ ได้อีก เสือโคร่งอินโดจีนมีระยะตั้งท้อง 3 เดือน และจะออกลูกในที่ปลอดภัย ออกลูกครั้งละ 1–7 ตัว ลูกเสือที่เกิดใหม่จะยังไม่ลืมตา ลูกเสือที่ไม่แข็งแรงจะตายไป ตัวที่เหลือจะได้รับการเลี้ยงดูและฝึกสอนให้หาอาหารจากแม่ต่อไป เมื่อลูกเสือโตพอที่จะล่าเหยื่อได้เอง ก็จะแยกตัวออกไปหากินตามลำพัง สถานะของเสือโคร่งอินโดจีนในธรรมชาติในประเทศไทย เหลือเพียง 2 ที่ คือ ป่าเขาใหญ่และป่าผืนภาคตะวันตกซึ่งติดกับชายแดนพม่าเท่านั้น จากการศึกษาพบว่า เสือโคร่งอินโดจีนที่พบในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้งมีพฤติกรรมล่าเหยื่อสัตว์จำพวกสัตว์กีบมากที่สุด โดยสัตว์ที่ถูกล่าเป็นเพื่อเป็นอาหารมากที่สุด คือ วัวแดง --> สำหรับประเทศพม่าผู้เชี่ยวชาญรายงานว่า ทางรัฐบาลทหารพม่านับจำนวนประชากรเสือในป่าได้ทั้งหมด 85 ตัว ในปี 2553 ตัวเลขนี้ไม่สามารถนับเป็นข้อมูลสถิติได้ เนื่องจากข้อมูลการนับดังกล่าวไม่ได้ระบุวันเวลาและข้อมูลอื่นๆไว้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม เชื่อได้ว่ายังมีเสือโคร่งอินโดจีนจำนวนหนึ่งอาศัยอยู่ตามป่าแถบตะวันออกบริเวณรอยต่อชายแดนไทย ในภูมิภาคอินโดจีน เสือโคร่งถูกล่าอย่างหนักจนสูญพันธุ์จากพื้นที่แถบนี้ทั้งหมด ที่ประเทศเวียดนาม ปี..

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและเสือโคร่งอินโดจีน · ดูเพิ่มเติม »

เสือไฟ

ือไฟ (หรือ Catopuma temminckii) เป็นแมวป่าขนาดกลาง มีขนาดเล็กกว่าเสือลายเมฆ แต่ใหญ่กว่าแมวลายหินอ่อน โดยชื่อวิทยาศาสตร์ temminckii ถูกตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่กุนราด ยาโกบ แต็มมิงก์ นักสัตววิทยาชาวดัตช์ซึ่งเป็นผู้บรรยายลักษณะทางวิทยาศาสตร์ของเสือไฟแอฟริกาเมื่อปี..

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและเสือไฟ · ดูเพิ่มเติม »

เห่าช้าง

ห่าช้าง (Roughneck monitor lizard) เป็นสัตว์เลื้อยคลานในวงศ์เหี้ย (Varanidae) และ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและเห่าช้าง · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงสีชมพู

้าหญิงสีชมพู หรือ เจ้าสาวสีชมพู (Pink flowered doughwood, Pink euodia) ไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ส้ม (Rutaceae) เจ้าหญิงสีชมพู เป็นไม้พื้นเมืองของประเทศออสเตรเลีย แถบนิวเซาท์เวลส์และควีนส์แลนด์ และยังพบได้ที่ปาปัวนิวกินี และหมู่เกาะโซโลมอน โดยพบได้ในป่าดิบชื้น ที่พบในธรรมชาติมีความสูงได้ถึง 25 เมตร เจ้าหญิงสีชมพู มีจุดเด่น คือ ดอกเป็นช่อสีชมพู ออกดอกนานถึง 3 เดือน ในช่วงฤดูร้อน แต่ไม่มีกลิ่นหอม ใบเป็นรูปไข่มีลักษณะมันเงา เป็นไม้ที่ปลูกง่าย ดูแลรักษาง่าย จึงนิยมปลูกกันเป็นไม้ประดับ ความสูงของต้นที่นำมาปลูกอยู่ระหว่าง 6-10 เมตร ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เมล็ดมีความยาว 7-8 มิลลิเมตร สีเทาน้ำตาล เปลือกด้านนอกสีดำเป็นเงา ต้นกล้.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและเจ้าหญิงสีชมพู · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาอันนัม

ทือกเขาอันนัม เทือกเขาอันนัม (Annamite Range, Annamese Mountains, Annamese Range, Annamese Cordillera, Annamite Mountains, Annamite Cordillera) เป็นเทือกเขาในภูมิภาคอินโดจีน มีความยาวประมาณ 1,100 กิโลเมตร (680 ไมล์) เป็นชายแดนตลอดแนวทิศตะวันตกของประเทศเวียดนามต่อกับลาวและทางตอนเหนือของกัมพูชา มีชื่อเรียกในภาษาเวียดนามว่า "สายเจื่องเซิน" (Dãy Trường Sơn) และ "สายภูหลวง" (ພູຫລວງ) ในภาษาลาว เทือกเขาอันนัมประกอบด้วยภูเขาและยอดเขาเป็นจำนวนมาก โดยยอดเขาที่สูงที่สุด คือ ภูเบี้ย ที่ความสูง 2,819 เมตร และยังเป็นถิ่นที่อยู่ของชนพื้นเมืองต่าง ๆ รวมทั้งเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย ทางด้านชีววิทยา เทือกเขาอันนัมเป็นที่อยู่ของสัตว์ป่าและพรรณไม้ชนิดต่าง ๆ ซึ่งหลายชนิดเป็นการค้นพบใหม่หรือไม่ได้มีศึกษาทางสัตววิทยามาก่อนจำนวนมาก อาทิ ซาวลา (Pseudoryx nghetinhensis), เก้งยักษ์ (Muntiacus vuquangensis), เก้งเจื่องเซิน (M. truongsonensis), หมูป่าอินโดจีน (Sus bucculentus) เป็นต้น โดยตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา มีการค้นพบผีเสื้อ 2 ชนิด, งู 1 ชนิด, กล้วยไม้ 5 ชนิด และพืชชนิดอื่น ๆ อีก 3 ชนิด โดยเฉพาะกล้วยไม้ที่พบนี้ไม่มีสีเขียวหรือไม่มีคลอโรฟิลล์สังเคราะห์ด้วยแสงแต่ดำรงชีพด้วยการกินอินทรีย์สารที่เน่าเปื่อยเป็นอาหารคล้ายพวกฟังไจแทน โดยทางกองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF) เชื่อว่า เป็นเพราะป่าดิบชื้นแถบนี้ไม่เคยถูกรบกวนจากมนุษย์มาเป็นเวลานานหลายพันปีแล้ว และเชื่อว่ายังมีอีกหลายชนิดที่ยังไม่ได้ถูกค้น.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและเทือกเขาอันนัม · ดูเพิ่มเติม »

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา

ตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา เป็นพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งหนึ่งในประเทศไทย ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของประเทศ เป็นผืนป่าที่ประกอบไปด้วยผืนป่าสองผืน คือ ป่าฮาลา ในพื้นที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา และอำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส และ ป่าบาลา ในพื้นที่อำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส แม้ป่าทั้งสองผืนนี้จะไม่ได้ติดเป็นป่าผืนเดียวกัน แต่ทว่าในปี..

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา · ดูเพิ่มเติม »

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองพระยา

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดบริเวณที่ดินคลองพระยา ในท้องที่ตำบลปลายพระยา อำเภอปลายพระยา และตำบลคลองหิน อำเภออ่าวลึก ตำบลเขาดิน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป..

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองพระยา · ดูเพิ่มเติม »

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง

ตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง ประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเมื่อ..

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง · ดูเพิ่มเติม »

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน

ตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน ตั้งเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เมื่อวันที่ 28 กันยายน..

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน · ดูเพิ่มเติม »

เต่าปูลู

ต่าปูลู เป็นเต่าน้ำจืดกินเนื้อเป็นอาหารชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Platysternon megacephalum (เป็นภาษาละตินแปลว่า "หัวโต อกแบน") ในสกุล Platysternon วงศ์ Platysternidae ซึ่งมีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์และสกุลนี้ มีรูปร่างที่แปลกไปจากเต่าชนิดอื่น ๆ กล่าวคือ มีหัวที่โต ปากงุ้มแหลม เล็บที่ทั้ง 4 ข้างแหลมคมมาก มีหางที่ยาวมาก และไม่สามารถหดหัวเข้ากระดองที่เรียวยาวได้ เป็นเต่าที่พบในลำธารน้ำตกบนภูเขาสูงหรือป่าดิบชื้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอนบนที่ติดกับตอนใต้ของประเทศจีน.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและเต่าปูลู · ดูเพิ่มเติม »

เต่าเดือย

ต่าเดือย หรือ เต่าควะ (Impressed tortoise) เต่าประเภทเต่าบกชนิดหนึ่ง เต่าเดือย นับเป็นเต่าบกที่พบได้ในป่าทวีปเอเชียที่มีกระดองสวยงามมากชนิดหนึ่ง โดยมีแผ่นเกล็ดที่กระดองหลังบางแผ่นที่โปร่งแสง แผ่นเกล็ดสันหลังและแผ่นเกล็ดชายโครงยุบลงมาเล็กน้อย แผ่นเกล็ดเหนือต้นคอมีขนาดใหญ่ ตอนปลายแยกออกเป็น 2 ส่วน โคนขาหน้าหุ้มด้วยเกล็ดที่มีลักษณะแหลมคล้ายหนาม ขาหลังคล้ายเท้าช้าง มีเดือยรูปวงกลมและเดือยคล้ายไก่ 1 เดือย ระหว่างโคนขาหลังและโคนหาง แผ่นเกล็ดใต้คอมีขนาดเล็ก แผ่นเกล็ดท้องมีขนาดใหญ่ มีขนาดใหญ่โตเต็มที่ประมาณ 28 เซนติเมตร ความยาวของกระดองท้อง 27 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 2.5 กิโลกรัมหรือมากกว่า กระดองหลังเป็นสีเหลืองส้ม ขอบกระดองเป็นสีเหลือง มีจุดสีน้ำตาลกระจายอยู่ประปราย ตัวผู้และตัวเมียมีสีที่แตกต่างกัน และมีน้ำหนักที่ต่างกันอีกด้วย เต่าเดือย เป็นเต่าที่อาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงจีนตอนใต้ อาจพบได้บนที่สูงถึง 2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นเต่าที่กินอาหารจำพวกพืช เช่น หน่อไม้, เห็ดรา เป็นอาหารหลัก โดยมักหากินตามพื้นที่มีความชื้นสูงและมีหญ้าขึ้นรกชัฎ เป็นเต่าที่ใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติมากแล้วชนิดหนึ่ง ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ พุทธศักราช 2535 เต่าเดือย เป็นเต่าอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์แปลก ๆ โดยในอดีต มีชื่อเรียกเฉพาะในแวดวงผู้ค้าสัตว์เลี้ยงซึ่งเป็นสัตว์ป่าว่า "เต่าหกพม่า" มีราคาขายเพียงตัวละ 50-100 บาทเท่านั้น ในปี พ.ศ. 2516 โดยจะเป็นเต่าที่ถูกจับมาจากทางพม่า ผ่านทางอำเภอแม่สอด แต่ทว่าก็เป็นเต่าที่เลี้ยงให้รอดยากมากในที่เลี้ยง โดยมากเต่าที่ถูกจับมาขายนั้นมักไม่กินอาหาร หรือเลือกกินเป็นอย่างยิ่ง และในปัจจุบัน ได้มีการค้นพบเต่าเดือยอีกจำพวกหนึ่ง ที่มีขนาดเล็กกว่าเต่าเดือยขนาดปกติ โดยตัวผู้มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 22 เซนติเมตร น้ำหนักไม่ถึง 2 กิโลกรัม ตัวเมียมีขนาดยาวประมาณ 25 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 2.5 กิโลกรัม พบได้ในป่าตั้งแต่ชายแดนของประเทศไทยแถบจังหวัดตราดต่อเนื่องไปตามแนวเทือกเขาในประเทศกัมพูชาภาคตะวันตก และมีรายละเอียดที่แตกต่างจากเต่าเดือยปกติพอสมควร เช่น ตัวผู้และตัวเมียมีสีสันที่คล้ายกันและลำตัวไล่เลี่ยกัน, ตัวผู้มีเกลล็ดสีแดงที่ขาหลัง, มีสีสันที่สดใสน้อยกว่า และสามารถปรับตัวได้ดีในที่เลี้ยง โดยไม่เลือกอาหารที่จะกินมากนัก ซึ่งยังไม่ได้มีการศึกษาทางวิชาการ จึงอาจเป็นไปได้ว่าเป็นเต่าชนิดใหม่ หรือเป็นชนิดย่อยของเต่าเดือ.

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและเต่าเดือย · ดูเพิ่มเติม »

เซรัง

ซรัง (Serang) เป็นเมืองหลักของจังหวัดบันเติน ประเทศอินโดนีเซีย มีภูมิอากาศแบบป่าดงดิบชื้น เมืองมีประชากร 576,961 คนในปี..

ใหม่!!: ป่าดิบชื้นและเซรัง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Rainforestป่าฝนป่าฝนเขตร้อนป่าดงดิบป่าดงดิบชื้น

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »