โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประเทศยูกันดา

ดัชนี ประเทศยูกันดา

ูกันดา (Uganda) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐยูกันดา (Republic of Uganda) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออก มีอาณาเขตทางตะวันออกจดประเทศเคนยา ทางเหนือจดประเทศซูดานใต้ ทางตะวันตกจดสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ซาอีร์เดิม) ทางตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศรวันดา และทางใต้จดประเทศแทนซาเนีย ทางใต้ของประเทศรวมถึงบางส่วนของทะเลสาบวิกตอเรีย ซึ่งมีพรมแดนติดกับเคนยาและแทนซาเนียด้วย ยูกันดาได้ชื่อมาจากอาณาจักรบูกันดาซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมทางใต้ของประเทศ รวมถึงเมืองหลวง กัมปาลา นอกจากนี้ยังมีอาณาจักรอื่นคือ อาณาจักรโตโร อาณาจักรบุนโยโร-กิตารา อาณาจักรบูโซกา อาณาจักรอันโกเล อาณาจักรรเวนซูรูรู เมืองหลวงเก่าของประเทศนี้คือเอนเทบบี อันเป็นที่ตั้งของสนามบินแห่งชาติยูกันดาด้ว.

173 ความสัมพันธ์: ชวลิต อ่อนฉิมฟอเรสต์ วิตเทกเกอร์ฟุตบอลทีมชาติยูกันดาพ.ศ. 2505พ.ศ. 2519พ.ศ. 2535พ.ศ. 2542พ.ศ. 2552พ.ศ. 2553พระเจ้าคาบาคาโรนัลด์ มูเวนดา มูเตบิที่ 2พระเจ้าโอกูมากาโซโลมอน กาฟาบูซา อิกูรูที่ 1พระเจ้าโอมูกามาโอโย อึนยิมบา กาบามบา อิกูรู รูกิดีที่ 4พระเจ้าโอมูกาเบอึนตาเรที่ 6พระเจ้าโอมูซิงกา ชาร์ล เวสลีย์ มุมเบเรพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด วัมบูซิ มูโลกิพิธีปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2012กอริลลาภูเขากองทัพประชาชนยูกันดากัมปาลากามาลา (นักมวยปล้ำ)การร้องทุกข์ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศการลงประชามติแยกเซาท์ซูดานเป็นเอกราช พ.ศ. 2554การสำรวจการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดาการไม่มีศาสนาการเลิกล้มราชาธิปไตยการเลือกตั้งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ พ.ศ. 2553การเข้าเมืองกับอาชญากรรมกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549ภาพตราแผ่นดินของประเทศต่าง ๆภาษาสวาฮีลีภาษาอังกฤษภาษาคุชราตภาษาโภชปุรีภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้นมาร์วิน แฮ็กเลอร์มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล 2013มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล 2014มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล 2015มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล 2016มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล 2017มิสเวิลด์ 2017มีนาคม พ.ศ. 2549ยู ชิน ฮองยูกันดา (ราชอาณาจักรเครือจักรภพ)รายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่รายชื่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอนรายชื่อสนามฟุตบอลเรียงตามความจุรายชื่อสนธิสัญญารายชื่อทุพภิกขภัย...รายชื่อประเทศ ดินแดน และเมืองหลวงรายชื่อประเทศตามอัตราการเติบโตของการผลิตภาคอุตสาหกรรมรายชื่อประเทศในภาษาต่าง ๆ (Q–Z)รายชื่อประเทศเรียงตามตัวอักษรภาษาไทยรายชื่อปีในประเทศยูกันดารายชื่อแม่น้ำของยูกันดารายชื่อแหล่งมรดกโลกที่กำลังตกอยู่ในภาวะอันตรายรายพระนามพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งทวีปแอฟริการายพระนามพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบันเรียงตามรัชกาลรายการภาพธงชาติรีดบักโบฮอร์ลิ่นยักษ์วอลเลย์บอลชายชิงแชมป์โลก 2014 รอบคัดเลือก โซนแอฟริกาวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์โลก 2014 รอบคัดเลือก โซนแอฟริกาวันชาติวันมือแดงวันแม่วิทยาศาสตรบัณฑิตศาลอาญาระหว่างประเทศสกุลชิมแปนซีสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกสิงโตซาโวสุริยุปราคา 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556สถาบันการศึกษานานาชาติบริดจ์สงครามยูกันดา-แทนซาเนียหน่อไม้อุทยานแห่งชาติควีนเอลิซาเบธอูมาร์ เซมาตาอีดี อามินอีแลนด์ธรรมดาอนุสัญญาแรมซาร์จระเข้แม่น้ำไนล์จุดหมายปลายทางของบริติช แอร์เวย์จุดหมายปลายทางของสายการบินเอธิโอเปียนแอร์ไลน์จปาตีธงชาติยูกันดาทวีปแอฟริกาทะเลสาบวิกตอเรียทิวเขารูเวนโซรีทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554ขนุนข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรมข้าวฟ่างข้าวฟ่างสามง่ามดอริส เลสซิงดาวเทียมไทยคมคริสต์สหัสวรรษที่ 3ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านคัตคำขวัญประจำชาติคำนำหน้าสัญญาณเรียกขานของประเทศตราแผ่นดินของเซาท์ซูดานซี-130 เฮอร์คิวลิสประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1956ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1960ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1964ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1965ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1968ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1972ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1973ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1978ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1980ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1984ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1987ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1988ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1991ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1992ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1995ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1996ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1999ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 2000ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 2003ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 2004ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 2007ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 2008ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 2011ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 2012ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 2015ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 2016ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 2019ประเทศยูกันดาในโอลิมปิกประเทศรวันดาประเทศอิสราเอลประเทศซูดานประเทศแทนซาเนียประเทศเคนยาปลานิลนกกระเรียนมงกุฎเทานางงามนานาชาติ 2010น้ำตกเมอร์ชิสันแมรี-หลุยส์ ปาร์กเกอร์แม่น้ำไนล์แรดขาวแหล่งปลูกกาแฟที่มีชื่อเสียงแอฟริกัน ทริปาโนโซมิเอซิสแอฟริกาตะวันออกแจ๊คสัน อาซิคูโยเวรี มูเซเวนีโรคเท้าช้างโอยูกันดา แลนด์ออฟบิวทีโจเซฟ กาบีลาโจเซฟ โคนีโปเกมอน โกไก่ต๊อกหมวกเหล็กไวรัสซิกาไฮแรกซ์จุดเหลืองไทยทีวีโกลบอลเน็ตเวิร์กไดแอน ฟอสซีย์เกรตริฟต์แวลลีย์เวลาสากลเชิงพิกัดเสือไฟแอฟริกาเหตุการณ์ฟาโชดาเหตุระเบิดในโมกาดิชู 14 ตุลาคม พ.ศ. 2560เผด็จการแผ่นดินเลือดเทือกเขาวีรูงกาเซอร์วัลCYP3A5ISO 4217UTC+03:001 มีนาคม11 กรกฎาคม27 มิถุนายน9 ตุลาคม ขยายดัชนี (123 มากกว่า) »

ชวลิต อ่อนฉิม

วลิต อ่อนฉิม (Chawalit On-Chim) เกิดเมื่อ 29 กันยายน..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและชวลิต อ่อนฉิม · ดูเพิ่มเติม »

ฟอเรสต์ วิตเทกเกอร์

ฟอเรสต์ สตีเวน วิตเทกเกอร์ (Forest Steven Whitaker) เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1961 เป็นนักแสดงชาวอเมริกัน โปรดิวเซอร์ ผู้กำกับ วิตเทกเกอร์ได้รับรางวัลออสการ์ในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม จากการแสดงในบทเผด็จการชาวอูกันดา อีดี้ อามิน ในภาพยนตร์ปี 2006 เรื่อง The Last King of Scotland เขายังได้รับรางวัลลูกโลกทองคำ และรางวัลบาฟต้า เขากลายเป็นชาวแอฟริกัน-อเมริกัน คนที่ 4 ที่ได้รับรางวัลออสการ์ในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ตามหลัง ซิดนีย์ ปอยติเอร์, เดนเซล วอชิงตัน และเจมี่ ฟ็อกซ.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและฟอเรสต์ วิตเทกเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟุตบอลทีมชาติยูกันดา

ฟุตบอลทีมชาติยูกันดา เป็นทีมฟุตบอลประจำประเทศยูกันดา อยู่ภายใต้การควบคุมของสหพันธ์แห่งสมาคมฟุตบอลยูกันดา เคยจบอันดับที่สองในสหพันธ์แห่งสมาคมฟุตบอลยูกันดา เมื่อปี..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและฟุตบอลทีมชาติยูกันดา · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2505

ทธศักราช 2505 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1962 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและพ.ศ. 2505 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2519

ทธศักราช 2519 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1976 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและพ.ศ. 2519 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2535

ทธศักราช 2535 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1992 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและพ.ศ. 2535 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2542

ทธศักราช 2542 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1999 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน และสหประชาชาติกำหนดให้เป็น ปีสากลแห่งผู้สูงอายุและเป็นปีมหามงคลในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ (พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒).

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและพ.ศ. 2542 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2552

ทธศักราช 2552 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2009 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีสุดท้ายในคริสต์ทศวรรษ 2000.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและพ.ศ. 2552 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2553

ทธศักราช 2553 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2010 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีแรกในคริสต์ทศวรรษที่ 2010.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและพ.ศ. 2553 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าคาบาคาโรนัลด์ มูเวนดา มูเตบิที่ 2

ระเจ้าคาบาคาโรนัลด์ มูเวนดา มูเตบิที่ 2 เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรบูกันดา ซึ่งเป็นอาณาจักรหนึ่งในเจ็ดอาณาจักรของประเทศยูกันดา พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ตามพระราชประเพณีการสืบทอดตำแหน่งผู้ปกครองอาณาจักรของยูกันดา พระบรมราชสมภพเมื่อ 13 เมษายน พ.ศ. 2498 เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าวาลูเก็มเบ มูเตบิ ลูวันกูลา มูเตซาที่ 2กับสมเด็จพระราชินีนามาโซเล ซาราห์ นาลูเล พระองค์ขึ้นครองราชย์เมื่อ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 พระเจ้าคาบาคาโรนัลด์ มูเวนดา มูเตบิที่ 2 ทรงราชาภิเษกสมรสกับสมเด็จพระราชินีซิลเวีย นักจินดา มีพระราชโอรส-ธิดาด้วยกัน 5 พระองค์ หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ยูกัน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและพระเจ้าคาบาคาโรนัลด์ มูเวนดา มูเตบิที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าโอกูมากาโซโลมอน กาฟาบูซา อิกูรูที่ 1

พระเจ้าโอกูมากาโซโลมอน กาฟาบูซา อิกูรูที่ 1 เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 27 แห่งอาณาจักรบุนโยโร-กิตารา ประเทศยูกันดา พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ตามประเพณีการสืบตำแหน่งผู้ปกครองอาณาจักรของยูกันดา ประสูติเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2491 เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าติโต กาฟาบูซา วินยีที่ 4กับพระราชินีเกตรูเด คอมเวรู กาฟาบูซา อาทีนยี เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2537 พระเจ้าโอกูมากาโซโลมอน กาฟาบูซา อิกูรูที่ 1 ทรงอภิเษกสมรสกับพระราชินีโอมูโก มาร์กาเร็ท คารูนกา หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ยูกันดา.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและพระเจ้าโอกูมากาโซโลมอน กาฟาบูซา อิกูรูที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าโอมูกามาโอโย อึนยิมบา กาบามบา อิกูรู รูกิดีที่ 4

มเด็จพระเจ้าโอมูกามาโอโย อึนยิมบา กาบามบา อิกูรู รูกิดีที่ 4 (His Royal Highness Omukama Oyo Nyimba Kabamba Iguru Rukidi IV) พระบรมราชสมภพในวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2535 หลังจากนั้น 3 ปีต่อมา ในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2538 ทรงขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรโตโร ในประเทศยูกันดา (โอมูกามา) ทำให้พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระชนมพรรษาน้อยที่สุดในโลก ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป พระองค์จะมีพระราชอำนาจทางราชการงานเมือง ปกครองประชาชนชาวโตโรอย่างสมบูรณ์ ซึ่งผ่านต่อมาจากสมเด็จพระราชินีนาถเบสต์ ผู้เป็นพระราชมารดาที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยมีพิธีนี้ได้มีการจัดงานฉลองขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ถึง 4 วัน 4 คืนติดต่อกัน ที่พระราชวังบนเขาของพระองค์ในเมืองฟอร์ต พอร์ทอล ซึ่งเป็นเมืองหลวงของโตโร โดยมีผู้นำจากมิตรประเทศหลายชาติร่วมเป็นสักขีพยานในครั้งนี้ อาทิ โตกเบ อาเฟเดที่ 14 ทำหน้าที่เป็นประธานในพิธี และมีสักขีพยานคือ 4 ผู้นำจากสาธารณรัฐกานา, มามา อักบลาตสุที่ 3 ราชินีแห่งโฮ บันโค, ชิยิเว มันต์ฟอมบี ราชินีแห่งเผ่าซูลูในแอฟริกาใต้ในพระนามของกษัตริย์สวาติแห่งสวาซิแลนด์ นอกจากนี้ยังมีบรรดาผู้แทนจากสาธารณรัฐเบนิน โกตดิวัวร์ คองโก มาลี มอริเตเนีย ซิมบับเว และอียิปต์ เข้าร่วมเป็นสักขีพยานอีกเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและพระเจ้าโอมูกามาโอโย อึนยิมบา กาบามบา อิกูรู รูกิดีที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าโอมูกาเบอึนตาเรที่ 6

พระเจ้าโอมูกาเบอึนตาเรที่ 6 เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอันโกเล ประเทศยูกันดา พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ตามประเพณีการสืบตำแหน่งผู้ปกครองอาณาจักรของยูกันดา พระบรมราชสมภพเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2483 เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 พระเจ้าโอมูกาเบอึนตาเรที่ 6 ทรงราชาภิเษกสมรสกับสมเด็จพระราชินีเดนนิส คเวซิ หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2483 หมวดหมู่:บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ยูกันดา.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและพระเจ้าโอมูกาเบอึนตาเรที่ 6 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าโอมูซิงกา ชาร์ล เวสลีย์ มุมเบเร

ระเจ้าโอมูซิงกา ชาร์ล เวสลีย์ มุมเบเร เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรรเวนซูรูรู ซึ่งเป็นอาณาจักรหนึ่งในเจ็ดอาณาจักรของประเทศยูกันดา พระบรมราชสมภพเมื่อปี พ.ศ. 2496 เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอิซายา มูคิราเนีย คิบันซางกา พระองค์ทรงครองราชย์สองครั้ง เสด็จขึ้นครองราชย์แรกเมื่อพ.ศ. 2509 - พ.ศ. 2525 ครั้งที่สองเมื่อ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน ในอดีตพระองค์และพระราชบิดาเคยนำกองทัพอาณาจักรเข้ารบกับกองทัพอาณาจักรโตโร เมื่อพระราชบิดาของพระองค์เสด็จสวรรคตพระองค์จึงขึ้นครองราชย์แทน เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์พระองค์ก็ทรงประกาศวางอาวุธ ยุติการทำสงคราม และเดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อไปศึกษาต่อ หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงเป็นผู้ช่วยพยาบาล ก่อนที่จะกลับมาครองราชย์ครั้งที่สอง.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและพระเจ้าโอมูซิงกา ชาร์ล เวสลีย์ มุมเบเร · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ด วัมบูซิ มูโลกิ

ระเจ้าเอ็ดเวิร์ด วัมบูซิ มูโลกิ เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรบูโซกา ประเทศยูกันดา ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดอาณาจักรของประเทศยูกันดาองค์ปัจจุบัน พระบรมราชสมภพเมื่อ16 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าเฮนรี่ วาโก มูโลกิกับสมเด็จพระราชินีอลิซ มูโลกิ เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อ31 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ต่อจากพระร.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด วัมบูซิ มูโลกิ · ดูเพิ่มเติม »

พิธีปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2012

"เพลงซิมโฟนีของชาวบริติช" (A Symphony of British Music) คือแนวคิดหลักของพิธีปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 พิธีปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ของกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน หรือทราบกันดีในชื่อ "เพลงซิมโฟนีของชาวบริติช" (A Symphony of British Music) ถูกจัดขึ้นในวันที่ 12 สิงหาคม..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและพิธีปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 · ดูเพิ่มเติม »

กอริลลาภูเขา

กอริลลาภูเขา (Mountain gorilla) เป็นชนิดย่อยของกอริลลาตะวันออก (G. ฺberingei) ชนิดหนึ่ง กอริลลาภูเขาเป็นสัตว์เฉพาะถิ่นพบกระจายพันธุ์อยู่ในเขตเทือกเขาวีรูงกาในเขตแดน 3 ประเทศเท่านั้น คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก, รวันดา และอูกันดา โดยแบ่งออกได้เป็นฝูงทั้งหมด 3 ฝูง ฝูงแรกมีชื่อเรียกว่า "วีรูงกา" มีจำนวนประมาณ 480 ตัว อาศัยอยู่ในเทือกเขาวีรูงกาและภูเขาไฟในอุทยานแห่งชาติทางตอนเหนือของรวันดา ในป่ามงตาน ซึ่งเป็นป่าไผ่ ในระดับความสูงจากน้ำทะเล 2,500–4,000 เมตร, ฝูงที่สองมีชื่อเรียกว่า "มจาฮิงจา" พบทางตอนใต้ของอูกันดา และ "บวินดี" พบในอุทยานแห่งชาติบวินดี ในอูกันดา อาศัยอยู่ในเทือกเขาสูงจากระดับน้ำทะเล 1,500–2,300 เมตร มีประมาณ 400 ตัว โดยถือเป็นสถานที่ ๆ มีชื่อเสียงที่พบได้มากที่สุดอีกด้วย โดยจำนวนกอริลลาภูเขาในปัจจุบันในธรรมชาติมีประมาณ 880 ตัว กอริลลาภูเขา มีพฤติกรรมเหมือนกับกอริลลาชนิดอื่น ๆ คือ อาศัยอยู่เป็นครอบครัว ประกอบด้วยตัวผู้จ่าฝูงที่มีหลังขนหลังสีหงอกเทาหรือสีเงิน หรือที่เรียกว่า "หลังเงิน" (Silverback) ตัวเมียและลูก ๆ จัดเป็นกอริลลาที่มีขนาดใหญ่มากอีกชนิดหนึ่ง โดยเป็นกอริลลาที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากกอริลลาที่ลุ่มตะวันออก (G. b. graueri) ซึ่งถือเป็นกอรริลาตะวันออกอีกชนิดหนึ่งเท่านั้น ตัวผู้ที่โตเต็มที่หนักได้ถึง 195 กิโลกรัม (430 ปอนด์) และสูงเมื่อยืนด้วยสองขาหลังประมาณ 150 เซนติเมตร (59 นิ้ว) และน้ำหนักในตัวเมีย 100 กิโลกรัม (220 ปอนด์) และสูงประมาณ 130 เซนติเมตร (51 นิ้ว)ช่วงแขนที่วัดจากปลายนิ้วข้างหนึ่งถึงอีกข้างหนึ่งอาจยาวถึง 2 เมตร อาศัยอยู่ในป่าดิบทึบและป่าเมฆที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 2,200–4,300 เมตร (7,200–14,100 ฟุต) ในพื้นที่ ๆ อุณหภูมิมีความหนาวเย็นประมาณ 10 องศาเซลเซียสและชื้นแฉะ กอริลลาภูเขา เป็นสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารหลัก โดยมีชนิดพืชที่กินได้หลากหลาย เมื่อกินแล้วจะถ่ายมูลซึ่งมีลักษณะคล้ายกับอุจจาระของมนุษย์ตามสุมทุมพุ่มไม้ต่าง ๆ หรีอบางครั้งอาจถ่ายทิ้งไว้ที่ระหว่างทาง มีพฤติกรรมย้ายที่หากินไปเรื่อย ๆ ไม่มีหลักแหล่งที่แน่นอน ตัวผู้ในวัยโตเต็มที่จะกินอาหารมากถึงวันละ 30 กิโลกรัม ขณะที่ในตัวเมีย 18 กิโลกรัม ในฝูง ๆ หนึ่งประกอบไปด้วยตัวผู้ที่เป็นจ่าฝูง โดยมีตัวเมียประมาณ 3 ตัว และมีกอริลลาที่ยังไม่โตเต็มวัยซึ่งเป็นลูก ๆ อีกราว 3 ตัว ซึ่งแต่ละฝูงจะมีอาณาเขตเป็นของตัวเองชัดเจน โดยตัวผู้จ่าฝูงจะทำหน้าที่ปกป้องดูแลอาณาเขตของตัวเอง อีกทั้งยังมีพฤติกรรมคล้ายกับมนุษย์มาก กล่าวคือ จับคู่เพียงตัวเดียวตลอดชีวิต, มีการแข่งขันกันเองในหมู่พี่น้อง, ลูกตัวผู้มีการต่อสู้กับพ่อ หรือการที่จ่าฝูงที่อายุมากแล้วส่งมอบการเป็นจ่าฝูงให้แก่ตัวที่แข็งแรงกว่าตัวใหม่ขึ้นเป็นจ่าฝูงแทน เป็นต้นหน้า 7 จุดประกาย, Mountain Gorilla ออกเดินทางตามหากอริลลาภู.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและกอริลลาภูเขา · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพประชาชนยูกันดา

กองทัพประชาชนยูกันดา เป็นกองทัพของประเทศยูกันดา ก่อตั้งขึ้นในเดือนตุลาคม 2505.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและกองทัพประชาชนยูกันดา · ดูเพิ่มเติม »

กัมปาลา

กัมปาลา (Kampala) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศยูกันดา ตั้งอยู่ใกล้ทะเลสาบวิกตอเรีย มีอุตสาหกรรมสิ่งทอและการแปรรูปอาหาร จากข้อมูลปี..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและกัมปาลา · ดูเพิ่มเติม »

กามาลา (นักมวยปล้ำ)

มส์ ฮาร์ริส หรือที่รู้จักกันดีในสังเวียนมวยปล้ำ กามาลา เกิดวันที่ 28 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและกามาลา (นักมวยปล้ำ) · ดูเพิ่มเติม »

การร้องทุกข์ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ

ตราสัญลักษณ์ศาลอาญาระหว่างประเทศ ตามความในธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (Rome Statute of the International Criminal Court) อันเป็นสนธิสัญญาจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศนั้น บุคคลหรือองค์กรจะแจ้งความดำเนินคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศต่อศาลนั้นก็ได้ ถ้าบุคคลเป็นผู้ยื่น เรียกว่า "ร้องทุกข์" (complain) ถ้ารัฐภาคีศาลก็ดี หรือเลขาธิการสหประชาชาติก็ดี เป็นผู้ยื่น เรียกว่า "เสนอข้อหา" (refer) และเรียกรวมกันว่า "กล่าวโทษ" (communicate)International Criminal Court.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและการร้องทุกข์ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

การลงประชามติแยกเซาท์ซูดานเป็นเอกราช พ.ศ. 2554

การลงประชามติแยกเซาท์ซูดานเป็นเอกร..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและการลงประชามติแยกเซาท์ซูดานเป็นเอกราช พ.ศ. 2554 · ดูเพิ่มเติม »

การสำรวจ

นักสำรวจ คาซิเมียร์ โนวัก การสำรวจ (Exploration) คือการค้นหาเพื่อบรรลุเป้าหมายของการค้นพบหรือทรัพยากร การสำรวจเกิดขึ้นในทุกสิ่งมีชีวิตที่มีการเคลื่อนไหวรวมถึงมนุษย์ ในประวัติศาสตรของมนุษย์การสำรวจที่มีอิทธิพลมากที่สุดอยู่ในช่วงยุคแห่งการค้นพบเมื่อนักสำรวจชาวยุโรปแล่นเรือและเขียนแผนที่ในพื้นที่ส่วนที่เหลือของโลกด้วยเหตุผลหลายประการ ตั้งแต่นั้นมาการสำรวจครั้งใหญ่หลังยุคแห่งการสำรวจเกิดขึ้นจากการค้นพบข้อมูลสำคัญเป็นเหตุผลส่วนใหญ่ ในระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ การสำรวจเป็นหนึ่งในสามวัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงประจักษ์ (อีกสองอย่างคือการพรรณาและการอธิบาย).

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและการสำรวจ · ดูเพิ่มเติม »

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดาเป็นการสังหารหมู่พันธุฆาตทุตซี (Tutsi) และฮูตู (Hutu) สายกลางในประเทศรวันดา โดยสมาชิกรัฐบาลฝ่ายข้างมากฮูตู ระหว่างสมัยประมาณ 100 วันตั้งแต่วันที่ 7 เมษายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม 2537 มีชาวรวันดาประมาณ 501,000–1,000,000 คนเสียชีวิต ซึ่งเป็น 70% ของชาวทุตซี และ 20% ของประชากรรวมของรวันดา สมาชิกอภิชนการเมืองแกนกลางที่เรียก อะคะซุ (akazu) วางแผนพันธุฆาตนี้ ซึ่งหลายคนนั่งตำแหน่งระดับสูงสุดของรัฐบาลแห่งชาติ ผู้ก่อการมาจากทหารในกองทัพรวันดา ตำรวจแห่งชาติ (ก็องดาร์เมอรี) ทหารอาสาสมัครที่รัฐบาลสนับสนุน ซึ่งมีอินเตราฮัมเว (Interahamwe) และอิมปูซูมูกัมบิ (Impuzamugambi) และประชากรพลเรือนฮูตู พันธุฆาตดังกล่าวเกิดในบริบทสงครามกลางเมืองรวันดา ความขัดแย้งที่กำลังดำเนินซึ่งเริ่มในปี 2533 ระหว่างรัฐบาลที่มีฮูตูนำกับแนวร่วมรักประเทศชาติรวันดา (Rwandan Patriotic Front, RDF) ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยผู้ลี้ภัยทุตซีซึ่งครอบครัวของพวกเขาหลบหนีไปประเทศยูกันดาให้หลังระลอกความรุนแรงต่อทุตซีของฮูตู การกดดันระหว่างประเทศต่อรัฐบาลที่มีฮูตูนำของจูเวนัล ไฮเบียรีมานา (Juvénal Habyarimana) ส่งผลให้มีการหยุดยิงในปี 2536 โดยแผนการนำข้อตกลงอารูชา (Arusha Accords) ไปปฏิบัติซึ่งจะสร้างรัฐบาลที่แบ่งอำนาจกับ RDF ความตกลงนี้ทำให้ฮูตูอนุรักษนิยมจำนวนมากไม่พอใจ ซึ่งมีสมาชิกอะคะซุด้วย ซึ่งมองว่าเป็นการยอมรับข้อเรียกร้องของศัตรู ในหมู่ประชากรฮูตูทั่วไป การทัพของ RDF ยังเร่งเร้าการสนับสนุนอุดมการณ์ที่เรียก "พลังฮูตู" ซึ่งพรรณา RDF ว่าเป็นกำลังต่างด้าวที่เจตนาฟื้นฟูพระมหากษัตริย์ทุตซีและจับฮูตูเป็นทาส เป็นความเชื่อที่ทำให้เกิดการต่อต้านอย่างสุดขั้ว วันที่ 6 เมษายน 2537 เครื่องบินที่บรรทุกไฮเบียรีมานา และประธานาธิบดีบุรุนดี ไซเปรียน ทายามิรา (Cyprien Ntaryamira) ถูกยิงตกระหว่างลงจอดสู่กรุงคิกาลี ทำให้ทุกคนบนเครื่องเสียชีวิต การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เริ่มในวันต่อมา ทหาร ตำรวจและทหารอาสาสมัครประหารชีวิตผู้นำทุตซีและฮูตูสายกลางคนสำคัญอย่างรวดเร็ว แล้วตั้งจุดตรวจและสิ่งกีดขวางและใช้บัตรประจำตัวประชาชนชาวรวันดาเพื่อฆ่าทุตซีอย่างเป็นระบบ กำลังเหล่านี้เกณฑ์หรือกดดันพลเรือนฮูตูให้ติดอาวุธตนเองด้วยพร้า กระบอง วัตถุทื่อ และอาวุธอื่นเพื่อข่มขืนกระทำชำเรา ทำร้ายอวัยวะและฆ่าเพื่อนบ้านทุตซีของตนและทำลายหรือขโมยทรัพย์สินของพวกเขา การละเมิดความตกลงสันติภาพทำให้ RDF เริ่มการบุกใหม่และยึดการควบคุมส่วนเหนือของประเทศอย่างรวดเร็วก่อนยึดกรุงคิกาลีในกลางเดือนกรกฎาคม ทำให้การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สิ้นสุด ระหว่างเหตุการณ์และผลลัพธ์ สหประชาชาติและประเทศอย่างสหรัฐ สหราชอาณาจักร และเบลเยียมถูกวิจารณ์ว่าอยู่เฉย ซึ่งรวมความล้มเหลวในการเสริมกำลังและอาณัติของทหารรักษาสันติภาพคณะผู้แทนช่วยเหลือแก่รวันดาของสหประชาชาติ (United Nations Assistance Mission for Rwanda, UNAMIR) ส่วนผู้สังเกตการณ์วิจารณ์รัฐบาลฝรั่งเศสโดยกล่าวหาว่าสนับสนุนรัฐบาลที่ฮูตูนำหลังการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เริ่มแล้ว พันธุฆาตนี้มีผลกระทบยาวนานล้ำลึกต่อประเทศรวันดาและประเทศเพื่อนบ้าน การใช้การข่มขืนกระทำชำเรายามสงครามอย่างแพร่หลายทำให้มีการติดเชื้อเอชไอวีพุ่งสูงขึ้น ซึ่งรวมเด็กทารกที่เกิดจากการข่มขืนกระทำชำเรามารดาที่ติดเชื้อใหม่ หลายครัวเรือนมีเด็กกำพร้าหรือหญิงหม้ายเป็นหัวหน้าครอบครัว การทำลายโครงสร้างพื้นฐานและการลดประชากรของประเทศอย่างรุนแรงทำให้เศรษฐกิจเป็นอัมพาต เป็นความท้าทายแก่รัฐบาลใหม่ที่จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วและสร้างเสถียรภาพ ชัยทางทหารของ RDF และการตั้งรัฐบาลที่ RDF ครอบงำทำให้ฮูตูหลายคนหนีไปประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนตะวันออกของประเทศซาเอียร์ (ปัจจุบันคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก) ที่ที่ฮูตูผู้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เริ่มรวมกลุ่มใหม่ในค่ายผู้ลี้ภัยตามชายแดนกับประเทศรวันดา รัฐบาลที่มี RDF นำประกาศความจำเป็นต่อป้องกันมิให้เกิดพันธุฆาตอีก จึงนำการบุกเข้าประเทศซาเอียร์ ได้แก่ สงครามคองโกครั้งที่หนึ่ง (2539–2540) และครั้งที่สอง (2542–2546) การต่อสู้ด้วยอาวุธระหว่างรัฐบาลรวันดากับศัตรูในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกยังดำเนินต่อผ่านทหารอาสาสมัครตัวแทนในภูมิภาคโกมา ซึ่งรวมการกบฏเอ็ม23 (2546–2556) ประชากรฮูตูและทุตซีรวันดาขนาดใหญ่ยังอาศัยแบบผู้ลี้ภัยทั่วภูมิภาค ปัจจุบัน ประเทศรวันดามีวันหยุดราชการสองวันเพื่อระลึกถึงพันธุฆาตดังกล่าว ช่วงรำลึกแห่งชาติเริ่มด้วยวันอนุสรณ์พันธุฆาตในวันที่ 7 เมษายนและสิ้นสุดด้วยวันปลดปล่อยในวันที่ 4 กรกฎาคม สัปดาห์ถัดจากวันที่ 7 เมษายนกำหนดให้เป็นสัปดาห์ไว้ทุกข์อย่างเป็นทางการ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดาเป็นเหตุผลสนับสนุนให้สร้างศาลอาญาระหว่างประเทศเพื่อกำจัดความจำเป็นสำหรับศาลชำนัญพิเศษเฉพาะกิจเพื่อฟ้องดำเนินคดีต่อผู้ที่ถูกกล่าวหาในเหตุพันธุฆาต อาชญากรรมต่อมนุษยชาติและอาชญากรรมสงครามในอนาคต.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา · ดูเพิ่มเติม »

การไม่มีศาสนา

การแบ่งประเทศตามร้อยละของการให้ความสำคัญแก่ศาสนา ตามผลสำรวจของสำนักวิจัยพิว ใน พ.ศ. 2545 การไม่มีศาสนา (Irreligion หรือ No religion) หมายความว่า ภาวะที่ไม่นับถือศาสนา ไม่แบ่งแยกศาสนา หรือเป็นปรปักษ์ต่อศาสนา ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสนา ว่ากันตามแต่ละนิยามหรือความเข้าใจของบุคคล การไม่มีศาสนาอาจเข้าใจได้ว่าหมายถึง อเทวนิยม (atheism), อไญยนิยม (agnosticism), ศาสนวิมตินิยม (religious skepticism) หรือ มนุษยนิยมแบบฆราวาส (secular humanism) เป็นต้น สำหรับในบางสังคมอาจไม่ยอมรับการไม่มีศาสนา หรืออาจมีอคติต่อผู้ที่ไม่มีศาสนา เช่นการเหมารวมว่าคนที่ไม่มีศาสนาทั้งหมดคือคนที่ชั่วร้าย เป็นต้น บ่อยครั้งที่มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่าผู้ก่อเหตุอาชญากรรมหรือผู้ก่อการร้ายเป็นผู้ที่ไม่มีศาสนา แม้ว่าผู้ก่อเหตุจะแสดงตัวว่ามีศาสนาก็ตาม ผู้ที่ไม่มีศาสนาอาจเข้าใจการไม่มีศาสนาเท่า ๆ กับศาสนิกชน เช่น ผู้นับถือลัทธิมนุษยนิยมมีความเชื่ออย่างลึกซึ้งยิ่งในวัตรปฏิบัติของตนเองพอ ๆ กับความลึกซึ้งของความเชื่อที่ศาสนิกชนมีต่อศาสนาของตน เป็นต้น ถึงแม้ว่าคนที่ระบุว่าตนเองเป็นผู้ที่ไม่มีศาสนาจะมิได้รับนับถือศาสนาใด ๆ แต่ผู้ที่ไม่มีศาสนาบางกลุ่มยังคงเชื่อถือในเทวะหรือผีสางนางไม้เป็นต้น เช่น คนที่นับถือผีหรือเชื่อโชคลาง แต่ไม่ได้ประกอบพิธีกรรมใด ๆ หรือไม่ได้เป็นศาสนิก เป็นต้น พึงทราบว่า ในบางประเทศ เช่น ซาอุดีอาระเบีย บังคับให้พลเมืองต้องเป็นศาสนิกชน หรือประเทศไทย ผู้ที่ไม่มีศาสนาอาจถูกระบุโดยบุคคลอื่นว่าเป็นพุทธศาสนิกชน หรือในบางสังคมที่ไม่ยอมรับการไม่มีศาสนาอาจมีผู้ที่ไม่เปิดเผยว่าตนเป็นผู้ที่ไม่มีศาสนาในการสำรวจข้อมูลหรือการทำสำมะโนประชากร ดังนั้น จำนวนของผู้ที่ไม่มีศาสนาในโลกนี้จึงยังไม่อาจระบุให้เป็นที่แน่นอนได้ แต่คาดว่าอาจมีมากกว่า 900 ล้านคนทั่วโลก.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและการไม่มีศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

การเลิกล้มราชาธิปไตย

ในประวัติศาสตร์โลก มีการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ในหลายประเทศทั่วโลก สาเหตุการล่มสลายของราชวงศ์อาจเป็นผลมาจากการปฏิวัติ, การตั้งสาธารณรัฐ, การลงประชามติของประชาชน, การรัฐประหาร หรือจากสงคราม.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและการเลิกล้มราชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

การเลือกตั้งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ พ.ศ. 2553

การเลือกตั้งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาต..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและการเลือกตั้งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ พ.ศ. 2553 · ดูเพิ่มเติม »

การเข้าเมืองกับอาชญากรรม

การเข้าเมืองกับอาชญากรรมหมายความถึงความสัมพันธ์ที่รับรู้หรือเป็นจริงระหว่างอาชญากรรมกับการเข้าเมือง เอกสารข้อมูลวิชาการให้ข้อค้นพบคละกันสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าเมืองและอาชญากรรมทั่วโลก การนำเสนอเกินของผู้เข้าเมืองในระบบยุติธรรมทางอาญาของหลายประเทศอาจเป็นเนื่องจากปัจจัยทางสังคมเศรษฐกิจ การจำคุกสำหรับโทษการย้ายถิ่น และการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติโดยตำรวจและระบบยุติธรรม การวิจัยเสนอว่าบุคคลมีแนวโน้มประเมินความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าเมืองและอาชญากรรมสูงเกินจริง.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและการเข้าเมืองกับอาชญากรรม · ดูเพิ่มเติม »

กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 · ดูเพิ่มเติม »

ภาพตราแผ่นดินของประเทศต่าง ๆ

ระเบียงภาพตราแผ่นดินของประเทศต่าง ๆ แสดงตราแผ่นดินของประเทศต่าง ๆ ที่มีในรายชื่อประเท.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและภาพตราแผ่นดินของประเทศต่าง ๆ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสวาฮีลี

ษาสวาฮีลี (หรือ คิสวาฮีลี) เป็นภาษากลุ่มแบนตูที่พูดอย่างกว้างขวางในแอฟริกาตะวันออก ภาษาสวาฮีลีเป็นภาษาแม่ของชาวสวาฮีลี ซึ่งอาศัยอยู่แถบชายฝั่งของแอฟริกาตะวันออกระหว่างประเทศโซมาเลียตอนใต้ ประเทศโมแซมบิกตอนเหนือ มีคนพูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 5 ล้านคนและคนพูดเป็นภาษาที่สองประมาณ 30-50 ล้านคน ภาษาสวาฮีลีได้กลายเป็นภาษาที่ใช้โดยทั่วไปในแอฟริกาตะวันออกและพื้นที่รอบ ๆ คำว่า Swahili มาจากรูปพหูพจน์ของคำภาษาอาหรับ sahel ساحل (เอกพจน์) คือ sawahil سواحل แปลว่า "ขอบเขต" และ "ชายฝั่ง" (ใช้เป็นคำวิเศษณ์ที่แปลว่า "คนที่อาศัยอยู่ชายฝั่ง" หรือ "ภาษาชายฝั่ง") นอกจากนี้ คำว่า sahel ใช้เรียกพื้นที่พรมแดนของทะเลทรายซาฮารา การเพิ่ม "i" ตรงท้ายน่าจะมาจาก nisba ของภาษาอาหรับ (ของชายฝั่ง سواحلي) บ้างก็ว่าเป็นเหตุผลทางสัทศาสตร.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและภาษาสวาฮีลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาคุชราต

ษาคุชราต (ગુજરાતી คุชราตี) คือภาษากลุ่มอินโด-อารยัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตระกูลอินโด-ยุโรเปียน เป็นหนึ่งใน 22 ภาษาทางการ และ 14 ภาษาภูมิภาคของอินเดีย และเป็นหนึ่งในภาษาชนกลุ่มน้อยของปากีสถาน มีผู้พูดภาษาคุชราตประมาณ 46 ล้านคนทั่วโลก มากเป็นอันดับที่ 23 ของโลก โดยที่ 45.5 ล้านคนอาศัยอยู่ในอินเดีย 150,000 คนในยูกันดา 100,000 คนในปากีสถาน 250,000 คนในแทนซาเนีย และ 50,000 คนในเคนยา ภาษาคุชราต คือภาษาหลักของรัฐคุชราตในอินเดีย รวมถึงพื้นที่สหภาพที่ติดกันคือ ดามานและดีอู และ ดาดราและนครหเวลี และยังเป็นภาษาของชุมชนชาวคุชราตในเมืองมุมไบ (บอมเบย์เดิม) นอกจากนี้ยังปรากฏประชาการจำนวนหนึ่งที่พูดภาษาคุชราตได้ในอเมริกาเหนือ และสหราชอาณาจักร คุชราตเป็นภาษาแม่ของมหาตมะ คานธี "บิดาของอินเดีย" มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ "บิดาของปากีสถาน" และซาร์ดาร์ วัลลัภภัย ปาเทล "บุรุษเหล็กแห่งอินเดีย".

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและภาษาคุชราต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโภชปุรี

ษาโภชปุรีเป็นภาษาที่พูดกันแพร่หลายทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย คือทางตะวันตกของรัฐพิหาร ตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐฌารขัณฑ์ และบริเวณปุรวัณฉัลของอุตรประเทศรวมถึงทางใต้ของเนปาล ภาษาโภชปุรีมีผู้พูดในกายอานา ซูรินาม ฟิจิ ทรินิแดดฯ และมอริเชียสด้วย ภาษานี้ถือว่าไม่ใช่ภาษาถิ่นของภาษาฮินดี เตรียมจะรับรองสถานะเป็นภาษาประจำชาติอีกภาษาหนึ่ง ภาษาโภชปุรีมีคำศัพท์คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ภาษาฮินดี ภาษาอูรดู และภาษาตระกูลอินโด-อารยันอื่นๆในภาคเหนือของอินเดีย ภาษาโภชปุรีและภาษาใกล้เคียงได้แก่ ภาษาไมถิลีและภาษามคธีเป็นที่รู้จักโดยรวมว่าภาษาพิหาร ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มภาษาอินโด-อารยันตะวันออกเช่นเดียวกับภาษาเบงกาลีและภาษาโอริยา ภาษาถิ่นของภาษาโภชปุรีมีราว 3-4 ภาษาในภาคตะวันออกของรัฐอุตรประเท.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและภาษาโภชปุรี · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น

ูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าภูมิอากาศแบบเส้นศูนย์สูตร เป็นภูมิอากาศแบบร้อนชื้นมักพบบริเวณแถบบเส้นศูนย์สูตร ประเทศที่มีภูมิอากาศแบบนี้มักจะมีป่าดิบชื้น ในระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน เขตภูมิอากาศนี้แทนด้วยอักษร Af.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น · ดูเพิ่มเติม »

มาร์วิน แฮ็กเลอร์

มาร์วิน แฮ็กเลอร์ (Marvin Hagler) เจ้าของแชมป์โลกมิดเดิลเวท 3 สถาบันหลักในปี ค.ศ. 1980 - ค.ศ. 1987 1 ใน 4 ยอดนักชกรุ่นกลางแห่งทศวรรษที่ 80 ร่วมกับ ชูการ์ เรย์ เลนเนิร์ด, โธมัส เฮิร์นส์ และ โรแบร์โต้ ดูรัน แฮ็กเลอร์มีชื่อจริงแต่กำเนิดว่า มาร์วิน นาธาเนียล แฮ็กเลอร์ (Marvin Nathaniel Hagler) เกิดเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1954 ที่เมืองนิวอาร์ก รัฐนิวเจอร์ซีย์ แฮ็กเลอร์เริ่มการชกมวยจากมวยสากลสมัครเล่นมาก่อน ก่อนจะหันมาชกมวยสากลอาชีพในปี ค.ศ. 1973 ทำสถิติชนะทั้งหมด 46 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการชนะน็อกและชนะที.เค.โอ. มีเสมอเพียงครั้งเดียวและสะดุดแพ้เพียง 2 ครั้ง ขึ้นชิงแชมป์โลกรุ่นมิดเดิลเวทพร้อมกันถึง 2 สถาบัน คือ WBA และ WBC กับ วิโต อันตูโอเฟอร์โม นักมวยชาวอิตาเลียน เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1979 ที่ลาสเวกัส ผลปรากฏว่าทั้งคู่เสมอกันในการยกครบ 15 ยก จากนั้นแฮ็กเลอร์จึงชกทำฟอร์มชนะรวดอีก 3 ครั้ง ก็ได้ขึ้นชิงแชมป์โลกอีกครั้งใน 2 สถาบันเดิม กับ อลัน มินเธอร์ นักมวยชาวอังกฤษเจ้าของตำแหน่งเดิม ที่สนามเวมบลีย์ มหานครลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในถิ่นของมินเธอร์เอง ซึ่งผลการชก แฮ็กเลอร์สามารถเอาชนะที..โอ.มินเธอร์ได้เพียงแค่ยกที่ 3 กลายเป็นแชมป์โลกมิดเดิลเวทของ WBA และ WBC ไปเลยทันที จากนั้นแฮ็กเลอร์ก็เดินหน้าป้องกันตำแหน่งแชมป์โลกได้ถึง 12 ครั้ง โดยได้แชมป์โลกสถาบันใหม่คือ IBF ที่เพิ่งก่อตั้งมาด้วย โดยที่ IBF ได้มอบตำแหน่งให้แก่แฮ็กเลอร์ไปเลยโดยดุษฎี และการป้องกันตำแหน่งของแฮ็กเลอร์นั้น ได้ผ่านนักมวยดี ๆ หลายคนซึ่งแฮ็กเลอร์ก็สามารถเอาชนะได้อย่างงดงามทุกครั้ง เช่น วิโต อันตูโอเฟอร์โม คู่ปรับเก่าที่เคยเสมอกันมาก่อน, มุสตาฟา แฮมโช่ นักมวยชาวซีเรียน, จอห์น มูกาบี้ นักมวยชาวอูกันดา, ฮวน โดมิงโก โรดัล นักมวยชาวอาร์เจนไตน์, โรแบร์โต้ ดูรัน รวมทั้ง โธมัส เฮิร์นส์ ด้วย จนกระทั่งถึงการป้องกันตำแหน่งครั้งที่ 13 แฮ็กเลอร์ ต้องพบกับ ชูการ์ เรย์ เลนเนิร์ด ที่แขวนนวมไปนานถึง 3 ปี และหวนกลับคืนมาอีกครั้งโดยที่ไม่ได้อุ่นเครื่องชกกับใครอีกเลย ก่อนชกแฮ็กเลอร์ได้ประกาศว่าถ้าเขาแพ้เลนเนิร์ด เขาจะแขวนนวมทันที ซึ่งผลการชกออกมาก็ปรากฏว่า แฮ็กเลอร์สามารถทำได้ดีกว่า แต่เมื่อรวมคะแนน 12 ยกกันแล้ว กรรมการตัดสินให้เลนเนิร์ดเป็นฝ่ายชนะ หลังจากนั้นแฮ็กเลอร์ก็ได้แขวนนวมเลิกชกไปทันทีดังที่ได้ลั่นวาจาไว้ และไม่กลับมายุ่งเกี่ยวกับวงการมวยในฐานะใด ๆ อีกเลย มาร์วิน แฮ็กเลอร์ เป็นนักมวยที่ถนัดซ้าย มีพลังกำปั้นที่หนักหน่วง มีเอกลักษณ์คือ ศีรษะที่โล้นเลี่ยน ซึ่งแฟนมวยชาวไทยให้ฉายาว่า "ไอ้โล้นซ่า" ส่วนในฉายาภาษาอังกฤษคือ " Marvelous" หลังแขวนนวมแฮ็กเลอร์ได้ไปใช้ชีวิตอยู่ในประเทศอิตาลี เปิดร้านขายอาหารอิตาเลียน และหันไปเป็นนักแสดงประกอบตามภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ ของอิตาลี พร้อมกับได้เปลี่ยนชื่อจริงของตัวเองเป็น มาร์เวลัส มาร์วิน แฮ็กเลอร์ (Marvelous Marvin Hagler) ตามชื่อที่ใช้เรียกในสมัยที่ยังชกมวย ปัจจุบัน แฮ็กเลอร์ได้อาศัยอยู่ที่เมืองบล็อกตัน รัฐแมสซาชูเซต.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและมาร์วิน แฮ็กเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล 2013

มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล 2013 (Miss Grand International 2013.) เป็นการประกวดมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลครั้งที่ 1 กำหนดจัดประกวดรอบตัดสินในวันที่ 19 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล 2013 · ดูเพิ่มเติม »

มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล 2014

มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล 2014 (Miss Grand International 2014.) เป็นการประกวดมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลครั้งที่ 2 กำหนดจัดกิจกรรมกองประกวด ณ จังหวัดสุโขทัย และประกวดรอบตัดสินในวันที่ 7 ตุลาคม..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล 2014 · ดูเพิ่มเติม »

มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล 2015

มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล 2015 (Miss Grand International 2015) เป็นการประกวดมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลครั้งที่ 3 ซึ่งการประกวดรอบสุดท้ายถูกจัดขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคม..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล 2015 · ดูเพิ่มเติม »

มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล 2016

มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล 2016 (Miss Grand International 2016) เป็นการประกวดมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล ครั้งที่ 4 ซึ่งการประกวดรอบสุดท้ายกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคม..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล 2016 · ดูเพิ่มเติม »

มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล 2017

มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล 2017 (Miss Grand International 2017) เป็นการประกวดมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล ครั้งที่ 5 ซึ่งการประกวดรอบสุดท้ายกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคม..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล 2017 · ดูเพิ่มเติม »

มิสเวิลด์ 2017

มิสเวิลด์ 2017 ครั้งที่ 67 ของการประกวดมิสเวิลด์ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและมิสเวิลด์ 2017 · ดูเพิ่มเติม »

มีนาคม พ.ศ. 2549

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและมีนาคม พ.ศ. 2549 · ดูเพิ่มเติม »

ยู ชิน ฮอง

ู ชิน ฮอง (You Chin Hong) นักมวยสากลสมัครเล่นชาวกัมพูชา เกิดเมื่อ 4 มิถุนายน..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและยู ชิน ฮอง · ดูเพิ่มเติม »

ยูกันดา (ราชอาณาจักรเครือจักรภพ)

ราชอาณาจักรเครือจักรภพแห่งยูกันดา (The Commonwealth realm of Kenya หรือ "ยูกันดา" คืออดีตรัฐที่ดำรงสถานะก่อนหน้าสาธารณรัฐยูกันดา, ระหว่าง ค.ศ. 1962 ถึง ค.ศ. 1963. ภายหลังจากที่สิ้นสุดการปกครองของสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1962, the พระราชบัญญัติว่าด้วยการประกาศอิสรภาพยูกันดา ค.ศ. 1963 ส่งผลให้ยูกันดาในอารักขาที่มีสถานะเป็นอาณาจักรในเครือจักรภพ ปกครองภายใต้ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีพระมหากษัตริย์ (สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร พระประมุข เป็นไปตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ค.ศ. 1701. ตำแหน่งพระนามสมเด็จพระราชินีแห่งยูกันดา นั้นแยกออกจากพระประมุขในประเทศอื่น ๆ ของเครือจักรภพ. พระนามสมเด็จพระราชินีนาถในฐานะ'พระราชินีแห่งยูกันดา': Her Majesty Elizabeth the Second, by the Grace of God, Queen of Uganda and of Her other Realms and Territories, Head of the Commonwealth. โดยมี ข้าหลวงต่างพระองค์. เป็นผู้สำเร็จราชการแทน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและยูกันดา (ราชอาณาจักรเครือจักรภพ) · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่

นี่คือ รายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ที่ใช้เป็นภาษาแม.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและรายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอน

แผนที่แสดงมหาวิทยาลัยในยุโรปยุคกลาง รายชื่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอน ในบทความนี้ต้องเป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณสมบัติตรงตามนิยามมหาวิทยาลัย ณ วันที่ก่อตั้ง และจะต้องก่อตั้งก่อน พ.ศ. 2043 (ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 หลังสถาปนากรุงศรีอยุธยามาแล้ว 150 ปี) และจะต้องมีการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องโดยไม่ได้หยุดกิจกรรมอย่างสำคัญมาถึงปัจจุบัน เนื่องจากการให้ปริญญาสำหรับการศึกษาขั้นสูงในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเกิดขึ้นในยุโรปและตะวันออกกลางเป็นส่วนใหญ่ และนิยามมหาวิทยาลัยสมัยใหม่หมายถึงสถานศึกษาที่มีความสามารถในการให้ปริญญา มหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีคุณสมบัติตรงนิยามสมัยใหม่ดังกล่าวจึงอยู่ในยุโรปหรือ ตะวันออกใกล้ แต่หากขยายนิยามให้กว้างขึ้นรวมไปถึงมหาวิทยาลัยโบราณที่เดิมไม่ได้มีการให้ปริญญาในขณะนั้นแต่ให้ในปัจจุบันด้วยแล้ว รายชื่อนี้อาจมีมากขึ้นโดยรวมไปถึงสถาบันอื่นๆ ทั้งในยุโรปและส่วนอื่นของโลกอีกหลายมหาวิทยาลัย สุดท้าย แม้ด้วยบทบัญญัติของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในยุโรปก็ยังมีข้อโต้เถียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับการกำหนดว่ามหาวิทยาลัยใดกันแน่ที่เป็นมหาวิทยาลัยของแผ่นดินใหญ่ยุโรป มหาวิทยาลัยโบโลญญาที่เกิดก่อน มหาวิทยาลัยปารีสเป็นมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งโดยนักศึกษาที่รวมตัวกันหาครูผู้สอน ในขณะที่มหาวิทยาลัยปารีสก่อตั้งโดยคณะผู้สอนแล้วจึงหานักศึกษามาเรียน บางแห่ง (โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยปารีส) ก็ยังพยามยามอ้างว่าตนเองเริ่มต้นด้วยการเป็นมหาวิทยาลัยแท้มาแต่ต้น แต่ก็ยังเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่ามหาวิทยาลัยโบโลนาตั้งขึ้นก่อนมหาวิทยาลัยปารีส การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้พบว่ามีกิจกรรมต่างๆ ในลักษณะของมหาวิทยาลัยได้มีมาแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 1621 (ก่อนสถาปนากรุงสุโขทัย 170 ปี) ซึ่งหมายความว่ามหาวิทยาลัยแห่งแรกของยุโรปอาจเป็นมหาวิทยาลัยซาลามังกา (University of Salamanca) ซึ่งเก่าแก่มากกว่าทั้งสองมหาวิทยาลัยที่กล่าวมาแล้ว.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและรายชื่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอน · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสนามฟุตบอลเรียงตามความจุ

รายชื่อสนามกีฬาฟุตบอลเรียงตามความจุ นับตามจำนวนเก้าอี้ ตามข้อกำหนดฟีฟ่าขั้นต่ำ 40,000 ที่นั่ง ที่สามารถจัดการแข่งขันรายการระดับฟุตบอลโลกได้ จำนวนรายชื่อดังกล่าวมีทั้งสนามกีฬาแห่งชาติ และสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอล ส่วนใหญ่จะเป็นสนามกีฬาอเนกประสงค์และสนามฟุตบอล.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและรายชื่อสนามฟุตบอลเรียงตามความจุ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสนธิสัญญา

การลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายในห้องกระจกของพระราชวังแวร์ซายในฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919เพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รายชื่อสนธิสัญญา เป็นรายชื่อข้อตกลงทางประวัติศาสตร์ฉบับที่สำคัญ ระหว่างรัฐ กองทัพ รัฐบาล และกลุ่มชน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและรายชื่อสนธิสัญญา · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อทุพภิกขภัย

แสดงผู้ประสบกับทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1845 ถึงปี ค.ศ. 1849 รายชื่อทุพภิกขภัยข้างล่างเป็นรายการที่ไม่สมบูรณ์ เป็นรายชื่อของเหตุการณ์ทุพภิกขภัยที่ถือว่าเป็นครั้งสำคัญๆ ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์เท่านั้น.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและรายชื่อทุพภิกขภัย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อประเทศ ดินแดน และเมืองหลวง

ปัจจุบันทั่วโลกมีรัฐเอกราชซึ่งเป็นที่ยอมรับจากนานาชาติส่วนใหญ่ 196 รัฐ (ทั้งหมดเป็นรัฐสมาชิกสหประชาชาติ ยกเว้นนครรัฐวาติกัน ปาเลสไตน์ และคอซอวอ) และมีรัฐอีก 8 แห่งที่ยังไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติส่วนใหญ.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและรายชื่อประเทศ ดินแดน และเมืองหลวง · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อประเทศตามอัตราการเติบโตของการผลิตภาคอุตสาหกรรม

รายชื่อประเทศตามอัตราการเติบโตของการผลิตภาคอุตสาหกรรม จากเดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและรายชื่อประเทศตามอัตราการเติบโตของการผลิตภาคอุตสาหกรรม · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อประเทศในภาษาต่าง ๆ (Q–Z)

รายชื่อประเทศในภาษาต่างๆ ประเทศส่วนใหญ่ของโลกมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปในแต่ละภาษาที่แตกต่างกัน บางประเทศยังได้เกิดการเปลี่ยนแปลงชื่อด้วยเหตุผลทางการเมืองหรืออื่น ๆ บทความนี้พยายามที่จะให้ทางเลือกชื่อทั้งหมดที่รู้จักกันสำหรับทุกประเทศและรัฐอธิปไตย บทความอื่นๆในหมวดหมู่นี้.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและรายชื่อประเทศในภาษาต่าง ๆ (Q–Z) · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อประเทศเรียงตามตัวอักษรภาษาไทย

รายชื่อประเทศ (อย่างสั้น) เรียงตามลำดับตัวอักษรภาษาไท.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและรายชื่อประเทศเรียงตามตัวอักษรภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อปีในประเทศยูกันดา

้านล่างนี้เป็นรายชื่อปีในประเทศยูกัน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและรายชื่อปีในประเทศยูกันดา · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อแม่น้ำของยูกันดา

รายชื่อต่อไปนี้เป็นรายชื่อแม่น้ำและลำธารในประเทศยูกัน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและรายชื่อแม่น้ำของยูกันดา · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อแหล่งมรดกโลกที่กำลังตกอยู่ในภาวะอันตราย

โบสถ์พระคริสตสมภพ ซึ่งถือกันว่าเป็นสถานที่ประสูติของพระเยซู เป็นหนึ่งในสถานที่ที่ถูกกำหนดให้เป็นแหล่งมรดกโลก และเป็นแหล่งมรดกโลกที่กำลังตกอยู่ในภาวะอันตราย ในปีเดียวกัน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและรายชื่อแหล่งมรดกโลกที่กำลังตกอยู่ในภาวะอันตราย · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งทวีปแอฟริกา

นี่คือรายพระนามพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งทวีปแอฟริก.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและรายพระนามพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งทวีปแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบันเรียงตามรัชกาล

นี่คือ รายพระนามของพระมหากษัตริย์ที่ยังทรงครองราชย์อยู่ในปัจจุบัน เรียงตามลำดับปีที่ขึ้นครองราชสมบัติ รายพระนามนี้ ไม่ได้จำกัดเฉพาะประมุขของรัฐ ตัวอย่างเช่น สุลต่าน อับดุล เฮลิม มูอาดซัม ชา ไม่ได้เป็นประมุขที่มีอำนาจอธิปไตยของรัฐ, รายพระนามดังกล่าวลำดับไม่นับรวมถึงผู้ปกครองที่สถานะความเป็นพระมหากษัตริย์ยังคงพิสูจน์ไม่ได้ อย่างเช่น ดาไล ลามะ เทนซิน กัทโซ และพระมหากษัตริย์ที่ถูกขับออกจากราชสมบัติ อย่างเช่น สมเด็จพระจักรพรรดิออตโตที่ 1 แห่งออสเตรีย ซึ่งอ้างว่าเป็นกษัตริย์แห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี นับตั้งแต่เดือนเมษายน..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและรายพระนามพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบันเรียงตามรัชกาล · ดูเพิ่มเติม »

รายการภาพธงชาติ

นื้อหาในหน้านี้เป็นรายการภาพธงชาติของประเทศต่าง ๆ ซึ่งแบ่งตามทวีป โดยยึดตามรายชื่อที่ปรากฏในหน้าบทความ รายชื่อประเทศ ดินแดน และเมืองหลวง (อ้างอิงตามการบัญญัติของราชบัณฑิตยสถานของไทย) ทั้งนี้รายชื่อดังกล่าวได้มีการเรียงลำดับใหม่ตามพจนานุกรม โดยยึดตามชื่อสามัญของแต่ละประเทศในภาษาไทยเป็นหลัก ทั้งนี้ สำหรับประเทศที่ไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐเอกราช หรือได้รับการยอมรับบางส่วนได้แยกเป็นหัวข้อย่อยอีกกลุ่มหนึ่งในบทความนี้ โดยแสดงรายชื่อด้วยอักษรตัวเอนและเรียงลำดับตามชื่อสามัญเช่นเดียวกับกลุ่มประเทศที่เป็นรัฐเอกร.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและรายการภาพธงชาติ · ดูเพิ่มเติม »

รีดบักโบฮอร์

รีดบักโบฮอร์ (Bohor reedbuck) เป็นแอนทิโลปขนาดกลาง ที่พบได้ในแอฟริกากลาง ตัวผู้มีน้ำหนักตัวประมาณ 45–60 กิโลกรัม ตัวเมีย 35–45 กิโลกรัม ความสูงตั้งแต่กีบเท้าจนถึงหัวไหล่ 75–85 เซนติเมตร ความยาวลำตัว 1.2–1.4 เมตร อายุโดยเฉลี่ย 10 ปี มีเขาเฉพาะตัวผู้ที่โง้งงุ้มไปทางด้านหน้าของส่วนหัว ตัวเมียไม่มีเขา มีจุดเด่น คือ มีต่อมกลิ่นเป็นแผ่นหนังสีดำที่ใต้หูทั้งสองข้างเห็นได้ชัดเจน อาศัยอยู่ในภูมิประเทศที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น ดงกก, ดงอ้อ, ริมหนองหรือบึง หรือแม่น้ำที่ติดกับทุ่งหญ้า กินใบไม้, หญ้า รวมถึงดอกไม้ตูมในฤดูแล้ง เมื่อสะสมความชื้นจากพืชที่กินเข้าไปแล้วก็จะสามารถอดน้ำได้เป็นเวลานาน รีดบักโบฮอร์ ที่โตเต็มวัยแล้วมักตกเป็นเหยื่อของสิงโตและฝูงไฮยีนา ส่วนในวัยที่ยังไม่โตเต็มที่ก็จะถูกเสือดาว, เสือชีตาห์, ไฮยีนา, แมวป่า, อินทรีขนาดใหญ่ และงูเหลือมล่าเป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในป่าแอฟริกาตอนกลางจนถึงแอฟริกาตะวันออกไปจนถึงตะวันตก แบ่งออกเป็นชนิดย่อยได้ 5 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและรีดบักโบฮอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ลิ่นยักษ์

ลิ่นยักษ์ (giant pangolin) เป็นลิ่นชนิดหนึ่ง มีถิ่นอาศัยในทวีปแอฟริกา กระจายพันธุ์ตามแนวเส้นศูนย์สูตรจากแอฟริกาตะวันตกถึงประเทศยูกันดา เป็นลิ่นขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์ลิ่น กินมดและปลวกเป็นอาหาร จัดจำแนกโดยโยฮันน์ คาร์ล วิลเฮล์ม อินลินเกอร์ (Johann Karl Wilhelm Illiger) ในปี..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและลิ่นยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

วอลเลย์บอลชายชิงแชมป์โลก 2014 รอบคัดเลือก โซนแอฟริกา

วอลเลย์บอลชายชิงแชมป์โลก 2014 รอบคัดเลือก (ซีเอวีบี) เป็นการแข่งขันวอลเลย์บอลชายชิงแชมป์โลกเพื่อหาสมาชิก 4 ประเทศ เข้าร่วมการแข่งขัน ที่ประเทศโปแลน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและวอลเลย์บอลชายชิงแชมป์โลก 2014 รอบคัดเลือก โซนแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์โลก 2014 รอบคัดเลือก โซนแอฟริกา

วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์โลก 2014 รอบคัดเลือก (ซีเอวีบี) เป็นการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์โลกเพื่อหาสมาชิก 2 ประเทศ เข้าร่วมการแข่งขัน ที่ประเทศอิตาลี.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์โลก 2014 รอบคัดเลือก โซนแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

วันชาติ

วันชาติ คือวันที่กำหนดเป็นวาระเฉลิมฉลองความเป็นชาติของประเทศนั้นๆ โดยมากมักจะถือเป็นวันหยุดประจำชาติด้วย วันชาตินั้นมักจะเป็นวันก่อตั้งรัฐ หรือดินแดน หรือเป็นวันสถาปนาประเทศ หรือวันที่มีเอกราชในรัฐ (หรือได้รับเอกราชคืนจากผู้ยึดครอง) นอกจากนี้ยังอาจใช้วันที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ หรือศาสนา เป็นวันชาติก็ได้ บางรัฐถือวันเกิดของประมุขแห่งรัฐเป็นวันชาติ โดยเฉพาะรัฐที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในกรณีที่เปลี่ยนพระประมุขวันชาติก็เปลี่ยนด้วย หรืออาจจะเป็นวันที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อื่นๆ โดยทั่วไป ประเทศส่วนใหญ่จะมีวันชาติเพียงวันเดียวในหนึ่งปี แต่บางชาติ เช่น ปากีสถาน มีวันชาติมากกว่า 1 วัน นอกจากนี้เขตบริหารพิเศษของจีน เช่น ฮ่องกง และมาเก๊า จะฉลองวันที่ก่อตั้งเขตบริหารพิเศษ และฉลองในวันชาติของจีนด้วย ความสำคัญของวันชาติในแต่ละประเทศนั้นย่อมแตกต่างกันไป บ้างก็เห็นว่ามีความสำคัญมาก บ้างก็ไม่เน้นความสำคัญมากนัก เช่น ในประเทศฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา จะมีการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ ขณะที่ประเทศอังกฤษไม่สู้จะฉลองอย่างเอิกเกริกมากนัก นอกจากนี้วันชาติในบางประเทศอาจเปลี่ยนได้ตามเหตุการณ์สำคัญ.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและวันชาติ · ดูเพิ่มเติม »

วันมือแดง

ตราสัญลักษณ์ของวันมือแดง วันมือแดง (Red Hand Day) ตรงกับวันที่ 12 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันรำลึกประจำปีซึ่งมีการร้องขอผู้นำทางการเมืองและมีการจัดงานขึ้นทั่วโลกเพื่อให้ความสนใจแก่ชะตากรรมของทหารเด็ก เด็กผู้ซึ่งถูกบังคับให้เป็นทหารในช่วงสงครามและความขัดแย้งกันด้วยกำลังอาวุธเป้าหมายของวันมือแดงคือเรียกร้องให้มีการดำเนินการกับวิธีปฏิบัติดังกล่าว และสนับสนุนเด็กที่ได้รับผลกระทบจากวิธีปฏิบัตินี้ เด็กได้รับรายงานว่าถูกใช้เป็นทหารหลายครั้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รวมทั้งความขัดแย้งกันด้วยกำลังอาวุธในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก รวันดา ยูกันดา ซูดาน โกตดิวัวร์ พม่า ฟิลิปปินส์ โคลัมเบีย และปาเลสไตน์ การฟื้นฟูสภาพของทหารเด็กที่กลับคืนสู่ชุมชนนั้นมีแตกต่างกันตั้งแต่ไม่เพียงพอไปจนถึงไม่ปรากฏเลย วันมือแดงได้รับการริเริ่มขึ้นใน..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและวันมือแดง · ดูเพิ่มเติม »

วันแม่

ในประเทศไทย เดิมมีการจัดงานวันแม่ โดยสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 15 เมษายน ของทุกปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2493 ตามมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 23 กุมภาพัน..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและวันแม่ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตรบัณฑิต

วิทยาศาสตรบัณฑิต (Baccalaureus Scientiae หรือ Scientiae Baccalaureus Bachelor of Science, ตัวย่อ วท.บ., B.S., BS, B.Sc., BSc, B.Sc หรือ S.B., SB, Sc.B. เป็นส่วนน้อย) คือปริญญาทางวิชาการในระดับปริญญาตรีที่ได้รับสำหรับการจบหลักสูตรซึ่งโดยทั่วไปใช้เวลาสามปีเป็นอย่างน้อยถึงห้าปี หรือบุคคลที่ถือครองปริญญาดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาจากสาขาวิชาใด ๆ อาจได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตหรือปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิตแตกต่างกันไปในแต่ละมหาวิทยาลัย ตัวอย่างเช่น ปริญญาทางเศรษฐศาสตร์อาจได้รับเป็นศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) จากมหาวิทยาลัยหนึ่งแต่ได้เป็นวิทยาศาสตรบัณฑิตในมหาวิทยาลัยอื่น ๆ และบางมหาวิทยาลัยมีการเสนอตัวเลือกว่าจะรับปริญญาประเภทใด วิทยาลัยศิลปศาสตร์บางแห่งในสหรัฐมอบให้เฉพาะศิลปศาสตรบัณฑิตเท่านั้นแม้ว่าจะเป็นสาขาทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ในขณะที่บางมหาวิทยาลัยมอบให้เฉพาะวิทยาศาสตรบัณฑิตแม้แต่ในสาขาที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ โรงเรียนการรับรองต่างประเทศของมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์มอบปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการรับรองต่างประเทศให้กับบัณฑิตปริญญาตรีทั้งหมด แม้ว่าจะมีสาขาวิชาเอกจำนวนมากที่มุ่งเน้นทางมนุษยศาสตร์ เช่น ประวัติศาสตร์ระหว่างประเทศ วัฒนธรรม และการเมือง สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์ลอนดอนมอบปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตในทุกสาขาวิชาแม้ว่าจะมีสาขาเกี่ยวข้องทางศิลปศาสตร์ ขณะที่มหาวิทยาลัยออกซบริดจ์เกือบทุกสาขาวิชามอบคุณวุฒิทางศิลปศาสตร์ ทั้งสองกรณีมีเหตุผลจากประวัติศาสตร์และจารีตประเพณีดั้งเดิม สำนักวิชาการสื่อสารของมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์นมอบปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตในทุกสาขาวิชาที่ทำการเรียนการสอนตลอดจนสาขาการละคร เต้นรำ และวิทยุ โทรทัศน์ และภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์มอบปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสิ่งแวดล้อมในวิทยาลัยทรัพยากรธรรมชาติ ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาบริหารธุรกิจในสำนักวิชาธุรกิจแฮสและปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสิ่งแวดล้อมในวิทยาลัยอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์มอบปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์จากวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์จากวิทยาลัยศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแรกที่รับนักศึกษาเข้าศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตคือมหาวิทยาลัยลอนดอนใน..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและวิทยาศาสตรบัณฑิต · ดูเพิ่มเติม »

ศาลอาญาระหว่างประเทศ

ลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court: ICC/ICCt; Cour Pénale Internationale) เป็นศาลระหว่างประเทศซึ่งมีที่ทำการอยู่ในกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีเขตอำนาจดำเนินคดีผู้กระทำความผิดอาญาระหว่างประเทศ 3 ฐาน คือ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, อาชญากรรมต่อมนุษนชาติ, และอาชญากรรมสงคราม ก่อตั้งขึ้นโดยประสงค์จะให้เป็นส่วนเสริมของระบบยุติธรรมที่แต่ละประเทศมีอยู่ จึงมีเขตอำนาจเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขเท่านั้น เช่น เมื่อศาลระดับประเทศไม่สามารถหรือไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแล้ว หรือเมื่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติหรือรัฐหนึ่ง ๆ เสนอคดีมาให้พิจารณา ศาลนี้เริ่มปฏิบัติงานในวันที่ 1 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและศาลอาญาระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

สกุลชิมแปนซี

กุลชิมแปนซี (Chimpanzee, Bonobo, Chimp) เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีวิวัฒนาการสูง ใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด ในอันดับวานร เป็นลิงไม่มีหาง ใช้ชื่อสกุลว่า่ Pan มีถิ่นที่อยู่ในแถบทวีปแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกากลางระดับเส้นศูนย์สูตร ตัวผู้จะหนักราว 110 ปอนด์ มีส่วนสูงเฉลี่ย 5 ฟุต ส่วนตัวเมียหนักราว 88 ปอนด์และสูงเฉลี่ย 4 ฟุต สามารถปีนป่ายต้นไม้ได้เป็นอย่างดี แต่ชอบที่จะหากินและอาศัยอยู่้บนพื้นดินมากกว่า ขนตามลำตัวสั้นสีน้ำตาลดำหรือเทาเข้ม แต่ที่มือและเท้าไม่มีขน รวมทั้งบริเวณใบหน้าและใบหู มีลักษณะเด่น คือ ไม่มีดั้งจมูก ขากรรไกรค่อนข้างยื่นออกมา มีฟันกรามที่พัฒนาใช้การได้ดี มีปริมาตรสมองราว 400 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีโครโมโซมจำนวน 24 คู่ และมีดีเอ็นเอร่วมกับมนุษย์ถึงร้อยละ 99.4 เนื่องจากมีบรรพบุรุษร่วมกันมา แต่ได้แยกวิวัฒนาการออกจากกันเมื่อราว 5-6 ล้านปีก่อน มีพฤติกรรมกินพืชเป็นอาหารหลัก โดยปกติเป็นสัตว์ที่รักสงบ แต่ก็มีบางครั้งที่ตัวผู้จะมีพฤติกรรมดุร้าย มักยกพวกเข้าโจมตีกัน และยังมีพฤติกรรมล่าลิงชนิดอื่น ได้แก่ ลิงโลกเก่ากินเป็นอาหารอีกด้วย เป็นสัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นครอบครัว มีความสัมพันธ์เป็นเครือญาติกัน โดยมีตัวผู้เป็นจ่าฝูง ออกลูกครั้งละเพียง 1 ตัว อายุขัยโดยเฉลี่ย 40 ปี เป็นสัตว์ที่มีความเฉลียวฉลาด มีการแสดงออกทางอารมณ์คล้ายคลึงและใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด รวมทั้งกล้ามเนื้อและสรีระ ทั้งนี้เพราะระบบกล้ามเนื้อของมนุษย์และชิมแปนซีนั้นคล้ายกันมาก แต่ถึงอย่างนั้นเมื่อเปรียบเทียบกันต่อหน่วยน้ำหนักแล้ว ชิมแปนซีมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงกว่ามนุษย์ 2-3 เท่า โดยมีการศึกษาพบว่า ชิมแปนซีมีความทรงจำดีัเสียยิ่งกว่ามนุษย์ที่เป็นผู้ใหญ่เสียอีก และจดจำคำศัพท์ของมนุษย์ได้ถึง 125 คำ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและสกุลชิมแปนซี · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก

รณรัฐประชาธิปไตยคองโก (République Démocratique du Congo) หรือบางครั้งมีผู้เรียกว่า คองโก (Congo) และ คองโก-กินชาซา (Congo-Kinshasa) เป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคแอฟริกากลางและเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่อันดับที่ 2 ของทวีป สาธารณรัฐประชาธิปไตยมีอาณาเขตจรดสาธารณรัฐแอฟริกากลางและซูดานทางทิศเหนือ จรดยูกันดา รวันดา บุรุนดี และแทนซาเนียทางทิศตะวันออก จรดแซมเบียและแองโกลาทางทิศใต้ และจรดสาธารณรัฐคองโกทางทิศตะวันตก โดยมีทางออกสู่ทะเลตามแม่น้ำคองโกไปสู่อ่าวกินี ชื่อ คองโก (หมายถึง "นักล่า") มาจากกลุ่มชาติพันธุ์บาคองโก (Bakongo) ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณลุ่มน้ำคองโก ในอดีตสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเคยเป็นอาณานิคมของเบลเยียม โดยมีชื่อว่า เบลเจียน คองโก (Belgian Congo) ในปี พ.ศ. 2514 หลังจากได้รับเอกราช 11 ปี ก็ได้เปลี่ยนชื่อประเทศจากคองโก-กินชาซา (ใส่ชื่อเมืองหลวงไว้ข้างหลัง เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างประเทศนี้กับ สาธารณรัฐคองโก หรือ (คองโก-บราซาวีล) เป็นสาธารณรัฐซาอีร์ จนถึงปี พ.ศ. 2540 จึงได้เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น "คองโก" ตามเดิม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกต้องเผชิญกับความทุกข์ยากอย่างใหญ่หลวงจากสงครามคองโกครั้งที่ 2 (Second Congo War) อันเป็นความขัดแย้งที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 บางครั้งจึงมีผู้เรียกว่า "สงครามโลกแอฟริกา" (African World War).

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก · ดูเพิ่มเติม »

สิงโตซาโว

งโตซาโวตัวผู้ สิงโตซาโว (Tsavo lion) เป็นสิงโตที่เป็นความหลากหลายทางชีวภาพของสิงโตมาไซ (Panthera leo nubica) อย่างหนึ่ง มีการกระจายพันธุ์อยู่รอบ ๆ แม่น้ำซาโว บริเวณอุทยานแห่งชาติซาโวในเคนยา ซึ่งสิงโตชนิดนี้ในเพศผู้มีความแตกต่างไปสิงโตชนิดอื่น ๆ คือ มีส่วนร่วมในการล่าเหยื่อด้วย และไม่มีแผงคอ หรือมีแต่เพียงสั้น ๆ ซึ่งขนบริเวณคอนี้จะมีสีและความหนาแตกต่างกันออกไปตามแต่ละตัว ซึ่งสันนิษฐานว่าพฤติกรรมนี้เกิดจากความขาดแคลนอาหารในพื้นที่ ๆ อาศัย เนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่แห้งแล้ง และแผงคอเป็นอุปสรรคเพราะมีพืชที่มีหนามแหลมขึ้นอยู่ สิงโตชนิดนี้ขึ้นชื่อว่ามีความโหดร้าย เนื่องจากเคยมีประวัติจู่โจมใส่มนุษย์มาแล้ว ที่ขึ้นชื่อที่สุด คือ เรื่องราวของสิงโตคู่หนึ่งที่เข้าโจมตีใส่มนุษย์ ระหว่างที่มีการสร้างทางรถไฟและสะพานข้ามแม่น้ำซาโว จากเคนยาไปอูกันดา ระหว่างเดือนมีนาคม-ธันวาคม ค.ศ. 1898 โดยจักรวรรดิอังกฤษขณะที่ปกครองทวีปแอฟริกาในฐานะเจ้าอาณานิคม สิงโตที่ซาโว ได้คาบเอาคนงานก่อสร้างไปกินหลายต่อหลายครั้ง ทั้งกลางวันและกลางคืน ซึ่งผิดไปจากพฤติกรรมของสิงโตและสัตว์ป่าทั่วไป ทำให้เกิดความหวาดกลัวและวุ่นวายไปทั่วไซส์งานก่อสร้าง บ้างก็เชื่อว่ามันคือ สิงโตปีศาจ ซึ่งนายทหารผู้คุมการก่อสร้าง คือ พันตรี จอห์น เฮนรี แพตเตอร์สัน ต้องหยุดการก่อสร้างและตามล่าสิงโตคู่นี้อย่างจริงจัง ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนธันวาคม ในที่สุดเขาก็สามารถสังหารสิงโตตัวแรกได้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและสิงโตซาโว · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคา 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ริยุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นในวันที่ 3 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและสุริยุปราคา 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันการศึกษานานาชาติบริดจ์

ันการศึกษานานาชาติบริดจ์ สถาบันการศึกษานานาชาติบริดจ์ เป็นเครือข่ายโรงเรียนอนุบาลและประถม มีสาขาแรกที่ประเทศเคนยา และต่อมาได้ขยายสาขาไปอีก 4 ประเทศ ได้แก่ ไลบีเรีย, ไนจีเรีย, อูกานดา, และอินเดีย ปัจจุบันบริดจ์มีสาขาประมาณ 500 สาขา และมีนักเรียนกว่า 80,000 คน ก่อตั้งโดยแชนอน เมย์, จิม คิมเมลแมน, และฟิล เฟรย์ เมื่อปี 2008 วิสัยทัศน์ของบริดจ์คือการแก้ไขปัญหาระบบการศึกษาของประเทศด้อยพัฒนา ซึ่งหมายถึงการแก้ไขผู้สอนที่ไร้ประสิทธิภาพ ห้องเรียนที่ขาดอุปกรณ์การเรียน หรือการฉ้อฉลเป็นต้น ค่าเรียนของบริดจ์สำหรับนักเรียน 1 คนอยู่ที่ 6 ดอลลาร์ต่อเดือน ผลวิจัยรายงานว่าการขาดสอนของครูในบริดจ์อยู่ที่ต่ำกว่าร้อยละ 1 ส่วนโรงเรียนรัฐบาลในเคนยามีผู้ขาดสอนอยู่ที่ร้อยละ 47.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและสถาบันการศึกษานานาชาติบริดจ์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามยูกันดา-แทนซาเนีย

งครามยูกันดา-แทนซาเนีย (ในยูกันดาถูกอ้างถึงในชื่อสงครามปลดแอก) เป็นสงครามระหว่างประเทศยูกันดาและประเทศแทนซาเนียระหว่างปี..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและสงครามยูกันดา-แทนซาเนีย · ดูเพิ่มเติม »

หน่อไม้

หน่อไม้ เป็นคำที่ใช้เรียกหน่ออ่อนของไผ่ที่รับประทานได้ที่แตกจากเหง้าใต้ดิน โดยมาจากสปีชีส์ Bambusa vulgaris และ Phyllostachys edulis นิยมรับประทานในทวีปเอเชียหลายประเทศ และมีวิธีการปรุงที่หลากหล.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและหน่อไม้ · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติควีนเอลิซาเบธ

ทะเลสาบในอุทยานแห่งชาติควีนเอลิซาเบธ อุทยานแห่งชาติควีนเอลิซาเบธ (Queen Elizabeth National Park; ชื่อย่อ: QENP) เป็นอุทยานแห่งชาติในประเทศยูกันดา ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศ มีพื้นที่เกือบ 2,000 ตารางกิโลเมตร สถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2497 โดยตั้งชื่อตามพระนามของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร เป็นอีกแห่งหนึ่งที่มีความหลากหลายของสัตว์ป่าจำนวนมาก.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและอุทยานแห่งชาติควีนเอลิซาเบธ · ดูเพิ่มเติม »

อูมาร์ เซมาตา

อูมาร์ เซมาตา (Umar Semata; 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1987 —) เป็นนักมวยไทยรุ่นเวลเตอร์เวท, มิดเดิลเวท และซูเปอร์มิดเดิลเวทชาวยูกันดา ผู้ซึ่งเป็นแชมป์ระดับนานาชาติรุ่นซูเปอร์มิดเดิลเวทของมวยไทยสภามวยโลก โดยเขาเป็นผู้ชนะรายการแข่งดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและอูมาร์ เซมาตา · ดูเพิ่มเติม »

อีดี อามิน

อีดี้ อามิน (พ.ศ. 2468 - 16 สิงหาคม พ.ศ. 2546) เป็นเผด็จการทหาร และประธานาธิบดีของประเทศยูกันดาตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและอีดี อามิน · ดูเพิ่มเติม »

อีแลนด์ธรรมดา

อีแลนด์ธรรมดา หรือ อีแลนด์ใต้ หรือ อีแลนด์แอนทีโลป (Common eland, Eland, Southern eland, Eland antelope) สัตว์กีบคู่ชนิดหนึ่ง เป็นแอนทีโลปจำพวกวัวและควาย จัดเป็นอีแลนด์ชนิดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นแอนทีโลปขนาดใหญ่ที่สุดที่พบได้ในทวีปแอฟริกา แพร่กระจายพันธุ์ทั่วไปในอุทยานแห่งชาติและเขตอนุรักษ์แห่งชาติในเคนยา, แทนซาเนีย, รวันดา, อูกันดา, นามิเบีย และแอฟริกาใต้ มีรูปร่างใหญ่บึกบึน ตัวผู้มีน้ำหนักตัวประมาณ 500-900 กิโลกรัม หรือมากกว่า 1 ตัน ตัวเมีย 330-500 กิโลกรัม มีความสูงเฉลี่ย 1.4-1.8 เมตร ความยาวลำตัวประมาณ 2.4-3.4 เมตร อายุขัยเฉลี่ยตั้งแต่ 5-20 ปี อีแลนด์ธรรมดา มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย แต่ตัวผู้จะมีเขาใหญ่กว่า ขณะที่ตัวเมียเขาจะยาวกว่าเล็กน้อย อาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้าที่โล่งกว้างและป่าละเมาะที่ไม่หนาทึบมากนัก มักเคลื่อนย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยไปเรื่อย ๆ เพื่อหาหญ้า, ใบไม้, กิ่งไม้ และผลไม้ กินเป็นอาหาร ความชื้นจากอาหารเหล่านี้ช่วยหล่อเลี้ยงให้อีแลนด์ธรรมดาอดน้ำได้เป็นเวลานาน แม้จะมีรูปร่างที่ใหญ่ แต่ลูกอีแลนด์ธรรมดาหรืออีแลนด์ธรรมดาตัวเมียก็ยังตกเป็นอาหารของสิงโต และไฮยีน่า ที่ล่าเป็นฝูง.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและอีแลนด์ธรรมดา · ดูเพิ่มเติม »

อนุสัญญาแรมซาร์

ปสเตอร์การประชุมอนุสัญญาแรมซาร์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2514 ที่เมืองแรมซาร์ ประเทศอิหร่าน อนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) คือสนธิสัญญาระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์และเพื่อการใช้พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืน เช่น เพื่อการสกัดกั้นและยับยั้งการบุกรุกเข้าครอบครองและการลดถอยของพื้นที่ชุ่มน้ำทั้งในปัจจุบันและในอนาคต และเป็นการเพื่อรับรู้และรับรองความสำคัญพื้นฐานของพื้นที่ชุ่มน้ำในเชิงหน้าที่ทางนิเวศ ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ตลอดจนคุณค่าทางนันทนาการ.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและอนุสัญญาแรมซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

จระเข้แม่น้ำไนล์

ระเข้แม่น้ำไนล์ (Nile crocodile) เป็นจระเข้ชนิดหนึ่ง ที่มีขนาดใหญ่ จระเข้แม่น้ำไนล์ เป็นจระเข้ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สองรองมาจากจระเข้น้ำเค็ม (C. porosus) ตัวผู้มีความยาวเฉลี่ย 3-5 เมตร แต่ตัวที่ยิ่งมีอายุมากจะยาวได้มากกว่านั้น ขณะที่ตัวเมียจะมีความยาวได้ตั้งแต่ 2.4-4 เมตร น้ำหนักตั้งแต่ 225-500 กิโลกรัม แต่ตัวผู้ที่ใหญ่อาจหนักได้ถึง 750 กิโลกรัม มีรายงานพบตัวที่ยาวที่สุดในแทนซาเนียมีความยาว 6.47 เมตร น้ำหนักประมาณ 1,090 กิโลกรัมWood, The Guinness Book of Animal Facts and Feats.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและจระเข้แม่น้ำไนล์ · ดูเพิ่มเติม »

จุดหมายปลายทางของบริติช แอร์เวย์

รายชื่อต่อไปนี้เป็นจุดหมายปลายของสายการบินบริติช แอร์เวย์ โดยที่ไม่ได้รวมจุดหมายปลายทางของสายการบินลูก และสายการบินแฟรนไชส์ (บีเอ คอนเนคท์, จีบีแอร์เวย์, บริติชเมดิเตอร์เรเนียน แอร์เวย์).

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและจุดหมายปลายทางของบริติช แอร์เวย์ · ดูเพิ่มเติม »

จุดหมายปลายทางของสายการบินเอธิโอเปียนแอร์ไลน์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและจุดหมายปลายทางของสายการบินเอธิโอเปียนแอร์ไลน์ · ดูเพิ่มเติม »

จปาตี

ปาตี (ซ้าย) และจปาตีแบบม้วน (ขวา) จปาตี (चपाती; சப்பாதி; چپاتی; ਛਪਤਿ) เป็นขนมปังแผ่นแบนแบบอินเดีย ทำจากแป้งสาลี มีถิ่นกำเนิดจากเอเชียใต้ Ain-i-Akbari, by Abu'l-Fazl ibn Mubarak.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและจปาตี · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติยูกันดา

งชาติยูกันดา เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ภายในประกอบด้วยแถบแบ่งตามแนวนอน 6 แถบ เรียงเป็นแถบสีดำ-เหลือง-แดง-ดำ-เหลือง-แดง ตามลำดับจากบนลงล่าง กลางธงมีวงกลมสีขาวความกว้างเท่ากับ 2 ใน 6 ของความกว้างธง ภายในมีรูปนกกระเรียนลำตัวสีเทาดำ หางสีแดง หงอนสีแดง-เหลือง-แดง ซึ่งเป็นนกกระเรียนชนิดที่เรียกว่า Grey Crowned Crane หรือนกกระเรียนมงกุฎเทา นกนี้หันหน้าไปทางด้านคันธง ธงนี้ออกแบบโดยนายเกรซ อิบิงกิรา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของยูกันดาในขณะนั้น และเริ่มใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2515 อันเป็นวันที่ประเทศได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร สีในธงชาติทั้งสามสี (ดำ-เหลือง-แดง) มาจากสีของธงประจำพรรคคองเกรสประชาชนยูกันดา (Uganda People's Congress) มีความหมายถึงประชาชนชาวแอฟริกา (แทนด้วยสีดำ) แสงอาทิตย์ที่สาดส่องเหนือแผ่นดิน (แทนด้วยสีเหลือง) และภราดรภาพของชาวแอฟริกา (แทนด้วยสีแดง ซึ่งเป็นสีแห่งเลือดที่เชื่องโยงชาวแอฟริกาไว้ด้วยกัน) ส่วนรูปนกกระเรียนนั้นเป็นรูปสัญลักษณ์ถึงธรรมชาติอันอ่อนโยนของยูกันดา ซึ่งใช้เป็นสัญลักษณ์แทนประเทศยูกันดามาตั้งแต่สมัยอาณานิคม.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและธงชาติยูกันดา · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอฟริกา

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปแอฟริกา ภาพถ่ายทวีปแอฟริกาจากนอกโลก แอฟริกา (Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมดSayre, April Pulley.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและทวีปแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบวิกตอเรีย

right ทะเลสาบวิกตอเรีย (Lake Victoria) อยู่ในเขตติดต่อสามประเทศได้แก่ เคนยา แทนซาเนีย และยูกันดา เป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา มีเนื้อที่ 68,800 ตารางกิโลเมตร ทะเลสาบวิกตอเรียเป็นทะเลสาบที่มีอายุน้อยที่สุดในแถบนี้ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างหุบเขาทรุดเกรตริฟต์แวลลีย์ และเป็นแหล่งน้ำจืดที่สำคัญของทวีปแอฟริกา ทะเลสาบวิกตอเรียเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำไนล์ โดยมีแม่น้ำคาเกรา ไหลเข้ามายังทะเลสาบ วิกตอเรีย หมวดหมู่:ประเทศเคนยา หมวดหมู่:ประเทศแทนซาเนีย หมวดหมู่:ประเทศยูกันดา.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและทะเลสาบวิกตอเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ทิวเขารูเวนโซรี

right ทิวเขารูเวนโซรี (Ruwenzori Range) ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อพรมแดนระหว่างประเทศยูกันดากับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (เดิมคือประเทศซาเอียร์) ทิวเขารูเวนโซรีทอดตัวเป็นแนวยาวจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ตามแนวชายแดนระหว่างยูกันดากับสาธารณรัฐฯ คองโก เป็นแนวยาวประมาณ 120 กิโลเมตร กว้าง 65 กิโลเมตร บริเวณทิวเขาเป็นหินแกรนิตที่ถูกแรงกดดันทำให้ถูกยกตัวขึ้นมาเมื่อหลายล้านปีที่แล้วและมีการทรุดลงอีกทำให้เกิดหุบเขาทรุด พิกัดทิวเขาแห่งนี้อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นมาเพียง 48 กิโลเมตร แต่บนยอดเขากลับมีหิมะตลอดทั้งปีและปกคลุมไปด้วยธารน้ำแข็ง ทิวเขาแห่งนี้มียอดเขาที่สูงกว่าระดับ 4,877 เมตร ถึง 9 ลูก เขาสแตนลีย์เป็นเขาที่สูงที่สุดในทิวเขารูเวนโซรี มียอดเขามาร์เกรีตาเป็นยอดที่สูงสุด สูงกว่า 5,109 เมตร คำว่า "รูเวนโซรี" เป็นภาษาถิ่นแอฟริกาแปลว่า "ผู้บันดาลฝน" ซึ่งก็เป็นความจริงตามชื่อ เพราะว่ากระแสลมทางตะวันตกจะพัดความชื้นจากลุ่มน้ำคองโก พาดผ่านภูเขา แล้วถูกยกตัวสูงขึ้นตามภูเขาทำให้ไอน้ำถูกกลั่นตัวเป็นเกร็ดน้ำแข็งบริเวณยอดเขาและกลั่นตัวเป็นฝนบริเวณเชิงเขา ทำให้ภูเขามีเมฆปกคลุมอยู่ตลอดปี.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและทิวเขารูเวนโซรี · ดูเพิ่มเติม »

ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554

ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริก..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554 · ดูเพิ่มเติม »

ขนุน

นุน (หรือ A. heterophylla) ภาคอีสานเรียกบักมี่ ภาคเหนือเรียกบ่าหนุน สิบสองปันนาเรียกหมากมี่ หรือ หมากหนุน กาญจนบุรีเรียกกระนู ภาษาไทใหญ่เรียก ลาง เป็นไม้ผลยืนต้นในวงศ์ Moraceae มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้และแพร่หลายมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และได้รับความนิยมมากในคาบสมุทรมลายู ไม่ปรากฏว่าเข้ามายังประเทศไทยเมื่อใด แต่มีกล่าวถึงในเอกสารโบราณตั้งแต่สมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา ชื่อสามัญของขนุนในภาษาอังกฤษคือ jackfruit มาจากภาษาโปรตุเกส jaka ที่เพี้ยนมาจากภาษามลายู chakka นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและขนุน · ดูเพิ่มเติม »

ข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม

้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม (Genetically modified food controversies) เป็นความขัดแย้งกันในเรื่องการบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์อย่างอื่น ๆ ที่ทำมาจากพืชดัดแปรพันธุกรรม ไม่ใช่จากพืชปลูกโดยวิธีตามที่เคยทำมาก่อน (คือแบบธรรมดา) และในเรื่องการใช้พันธุวิศวกรรมแบบอื่น ๆ ในกระบวนการผลิตอาหาร เป็นความขัดแย้งกันระหว่างผู้บริโภค เกษตรกร บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ องค์กรควบคุมของรัฐ องค์การนอกภาครัฐ และนักวิทยาศาสตร์ ข้อโต้เถียงสำคัญรวมทั้ง.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวฟ่าง

้าวฟ่าง, ข้าวฟ่างหางช้าง หรือ ข้าวฟ่างสมุทรโคดม เป็นพืชปลูกในสกุลข้าวฟ่างและมีชื่อสามัญว่า sorghum เป็นพืชในวงศ์หญ้า อายุปีเดียว ต้นเดี่ยวหรือแตกกอที่โคน มีรากพิเศษเป็นรากฝอย ต้นตั้ง แห้งหรือฉ่ำน้ำ จืดหรือหวาน ส่วนกลางลำต้นมีลักษณะคล้ายฟองน้ำ มีช่วงว่างในส่วนพิธ ใบเรียงสลับ กาบล้อมลำต้นโดยส่วนของกาบซ้อนเหลื่อมกัน มีไขนวลปกคลุม ลิ้นใบสั้น มีขนปกคลุมตามขอบด้านบน มีปากใบทั้งสองด้าน ดอกช่อ ผลแบบธัญพืชกลมหรือปลายมน แหลม ใช้เป็นอาหารทั้งมนุษย์และสัตว์ และใช้เป็นพืชเชื้อเพลิง ข้าวฟ่างหวานเป็นสายพันธุ์ที่ใช้ปลูกเพื่อผลิตน้ำตาลและเอทานอล ต้นสูงกว่าพันธุ์กินเมล็.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและข้าวฟ่าง · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวฟ่างสามง่าม

ทุ่งปลูกข้าวฟ่างสามง่ามในเนปาล ข้าวฟ่างสามง่าม เป็นพืชในวงศ์หญ้า เป็นหญ้ากอขนาดใหญ่ ลำต้นตั้งตรงแบบข้าว ผิวลำต้นเกลี้ยง เขียวอ่อนเป็นมัน มีใบมาก กาบใบแบน ผิวเกลี้ยง มีขนเล็กน้อยตามขอบใบ ลิ้นใบสั้นเป็นชายครุย ใบมักโค้งลง มีขนสาก ดอกช่อเป็นกระจุกที่ปลาย ผลแบบกระเปาะ มีหลายสี ข้าวฟ่างสามง่ามเป็นพืชที่มีความหลากหลายและแบ่งเป็นพันธุ์จำนวนมาก พืชชนิดนี้สามารถผสมข้ามพันธุ์กับ Eleusine africana ได้และมีลักษณะทางพันธุกรรมใกล้เคียงกัน ลูกผสมที่ได้ไม่เป็นหมัน จึงรวมเป็นสปีชีส์เดียวกัน และแบ่งเป็นสปีชีส์ย่อยคือ subsp.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและข้าวฟ่างสามง่าม · ดูเพิ่มเติม »

ดอริส เลสซิง

อริส เมย์ เลสซิง (Doris Lessing, CH, OBE) (22 ตุลาคม ค.ศ. 1919 – 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013) ดอริส เลสซิงเป็นนักเขียนคนสำคัญชาวอังกฤษผู้เกิดในเปอร์เชียผู้เขียนนวนิยายเช่น The Grass is Singing และ The Golden Notebook.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและดอริส เลสซิง · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเทียมไทยคม

วเทียมไทยคม เป็นโครงการ ดาวเทียมสื่อสาร เพื่อให้บริการสื่อสารผ่านช่องสัญญาณดาวเทียม ซึ่งกระทรวงคมนาคม (ในขณะนั้น) ต้องการจัดหาดาวเทียมเพื่อรองรับการขยายตัวด้านการสื่อสารของประเทศอย่างรวดเร็ว แต่ในเวลานั้นประเทศไทยยังไม่มีดาวเทียมเป็นของตนเอง และต้องทำการเช่าวงจรสื่อสารจากดาวเทียมของประเทศต่างๆ ทำให้ให้เกิดความไม่สะดวกและสูญเสียเงินออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากการจัดสร้างดาวเทียมต้องใช้เงินลงทุนสูงมากจึงได้มีการเปิดประมูลเพื่อให้สัมปทานแก่บริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการแทนการใช้งบประมาณจากภาครัฐ และ บริษัท ชินวัตร แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้รับสัมปทานเมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา เป็นระยะเวลา 30 ปี (ปัจจุบันอำนาจการดูแลสัญญาโอนไปที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) ชื่อ "ไทยคม" (Thaicom) เป็นชื่อพระราชทาน ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน โดยย่อมาจาก Thai Communications ในภาษาอังกฤษ.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและดาวเทียมไทยคม · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์สหัสวรรษที่ 3

ในประวัติศาสตร์ร่วมสมัย คริสต์สหัสวรรษที่ 3 เป็นช่วงเวลาที่เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและคริสต์สหัสวรรษที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน

วามยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional Justice) เป็นการผสานแนวคิดสองประการเข้าด้วยกัน คือ "การเปลี่ยนผ่าน" (transition) กับ "ความยุติธรรม" (justice) โดยการเปลี่ยนผ่าน คือ สภาวะที่สังคมได้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงระบอบทางการเมือง (political transformation/regime change) จากรูปแบบหนึ่งไปสู่รูปแบบใหม่อย่างมีนัยสำคัญ เช่น จากระบอบอำนาจนิยม (authoritarian) หรือการปกครองแบบกดขี่ (repressive rule) ไปสู่ระบอบประชาธิปไตย (democracy) หรือใช้ในความหมายของการเปลี่ยนผ่านจากความขัดแย้งของคนในสังคมไปสู่สันติภาพและความมั่นคง ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน จะหมายรวมถึง กระบวนการที่รัฐใช้ในการค้นหาความจริงจากการที่บุคคลหรือองค์กรของรัฐ หรือ องค์กรที่รัฐให้การสนับสนุนใช้กำลังเข้าสังหารหรือก่อความรุนแรงต่อพลเมืองของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นในรูปของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การสังหารหมู่ การทรมาน การลักพาตัว (Kurian, 2011: 1679-1680) อย่างไรก็ตาม การค้นหาความจริงดังกล่าวจะเกิดขึ้นภายหลังที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเก่ามาสู่รัฐบาลใหม่ หรือ เปลี่ยนจากรัฐบาลในระบอบเผด็จการมาสู่ระบอบประชาธิปไตย สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจากรัฐบาลเก่าเป็นผู้ใช้ความรุนแรงจึงไม่มีความจำเป็นที่จะค้นหาความผิดที่ตนเองเป็นผู้กระทำ หรือในบางครั้งรัฐบาลเก่าก็พยายามที่จะตั้งกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อทำการฟอกตัวให้กับรัฐบาลเอง ยกตัวอย่างเช่น ในสมัยของ อิดี้ อามิน (Idi Amin) ผู้นำของยูกานดาที่ใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามประชาชน แต่เมื่อมีการกดดันจากนานาชาติ อิดี้ อามิน ตั้งกรรมการขึ้นมาตรวจสอบแต่สุดท้ายก็ไม่ได้ข้อสรุปอะไร ด้วยเหตุนี้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลมาสู่รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลใหม่จึงจำเป็นต้องมีภาระในการที่จะตรวจสอบเหตุการณ์ย้อนหลัง การตรวจสอบดังกล่าวจะเป็นการสถาปนาความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน คือเปลี่ยนจากระบอบหนึ่งมาเป็นอีกระบอบหนึ่ง หรือเปลี่ยนจากรัฐบาลที่โหดร้ายมาสู่รัฐบาลอื่นๆ (ประจักษ์, 2533) ซึ่งบางครั้งในกระบวนการตรวจสอบย้อนหลังดังกล่าวก็อาจนำไปสู่การจัดให้มีการนิรโทษกรรมทางการเมืองขึ้นก็เป็นได้ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะสามารถทำให้กระบวนการเปลี่ยนผ่านของประเทศนั้นสามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างราบรื่น และสมานฉันท์ สำหรับจุดมุ่งหมายของหลักการความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านนั้นก็คือ ความพยายามของสังคมในการป้องกันไม่ให้เหตุการณ์อันโหดร้ายกลับมาเกิดขึ้นอีกครั้ง นอกจากนี้ยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อคืนความยุติธรรมให้กับผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการใช้ความรุนแรง ตลอดจนยังเป็นการสถาปนาหลักนิติรัฐและหลักสิทธิมนุษยชนให้ลงหลักปักฐานในสังคมด้วย อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันแนวคิดในเรื่องความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านได้กลายมาเป็นแนวทางการศึกษา (approach) ที่สำคัญแนวทางหนึ่ง ภายใต้ทฤษฎีการสร้างประชาธิปไตย (democratization theory).

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน · ดูเพิ่มเติม »

คัต

ัต หรือ แกต (khat, qat) เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในจงอยแอฟริกาและคาบสมุทรอาหรับ พืชชนิดนี้มีความสำคัญในทางสังคมของบริเวณดังกล่าวมาหลายพันปี ชาวแอฟริกาและชาวเยเมนนิยมนำใบมาเคี้ยว ในใบมีสารที่ทำให้เกิดอาการประสาทหลอนอย่างอ่อน ทำให้รู้สึกสนุกสนาน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและคัต · ดูเพิ่มเติม »

คำขวัญประจำชาติ

ำขวัญประจำชาติ (state motto) คือ สิ่งที่ใช้อธิบายประเทศต่างๆ โดยใช้วลีที่สั้น และกระชับ โดยเนื้อหาจะเกี่ยวกับ แนวความคิด แรงจูงใจ การปลุกใจ เอกลักษณ์ หรือความภาคภูมิใจสำหรับชาตินั้น.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและคำขวัญประจำชาติ · ดูเพิ่มเติม »

คำนำหน้าสัญญาณเรียกขานของประเทศ

หภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU ได้กำหนดคำนำหน้าสัญญาณเรียกขาน หรือ Prefix สำหรับสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ทุกชนิด ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่จะเข้าใจได้อย่างตรงกัน สัญญาณเรียกขานนั้นเป็นการผสมกันระหว่างตัวหนังสือและตัวเลข ซึ่งแต่ละประเทศต้องกำหนดให้ขึ้นต้นด้วยคำนำหน้าสัญญาณเรียกขานที่กำหนดมาสำหรับประเทศนั้นๆ และในแต่ละประเทศก็อาจมีวิธีการกำหนดสัญญาณเรียกขานให้กับผู้ใช้ที่อาจแตกต่างกันออกไป เช่น ประเทศไทย มีคำนำหน้าสัญญาณเรียกขานคือ HS และ E2 โดยมีข้อกำหนดว่า ตัวหนังสือที่ตามมาจะเป็นเลขบอกเขต 0 - 9 และตัวหนังสือต่อจากตัวเลขถ้ากำหนดให้เป็นตัวหนังสือตัวเดียวจะใช้สำหรับุคคลสำคัญของประเทศ หรือถ้ากำหนดให้มีตัวหนังสือตาม 2 ตัวและขึ้นต้นด้วยตัวอักษร A เช่น HS0AC จะสำรองให้สถานีกรณีพิเศษ เช่น สถานนีควบคุมข่ายประจำจังหวัด สถานีของชมรมหรือสมาคม (Club Station) และสถานีชั่วคราวเฉพาะก.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและคำนำหน้าสัญญาณเรียกขานของประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของเซาท์ซูดาน

ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐเซาท์ซูดาน มีการประกาศใช้ในเดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและตราแผ่นดินของเซาท์ซูดาน · ดูเพิ่มเติม »

ซี-130 เฮอร์คิวลิส

ซี-130 เฮอร์คิวลิส (Lockheed C-130 Hercules) เป็นเครื่องบินลำเลียงใช้เครื่องยนต์เทอร์โบใบพัด 4 เครื่องยนต์ ได้ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายและยาวนานที่สุด เครื่องเฮอร์คิวลิสบินครั้งแรกเมื่อ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2497 เริ่มประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐ เมื่อ..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและซี-130 เฮอร์คิวลิส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1956

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ประเทศยูกัน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1956 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1960

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ประเทศยูกัน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1960 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1964

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ประเทศยูกัน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1964 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1965

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศยูกัน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1965 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1968

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ประเทศยูกัน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1968 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1972

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ประเทศยูกัน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1972 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1973

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศยูกัน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1973 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1978

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศยูกัน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1978 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1980

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ประเทศยูกัน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1980 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1984

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ประเทศยูกัน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1984 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1987

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศยูกัน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1987 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1988

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ประเทศยูกัน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1988 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1991

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศยูกัน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1991 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1992

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ประเทศยูกัน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1992 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1995

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศยูกัน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1995 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1996

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ประเทศยูกัน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1996 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1999

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศยูกัน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 1999 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 2000

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ประเทศยูกัน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 2000 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 2003

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศยูกัน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 2003 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 2004

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ประเทศยูกัน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 2004 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 2007

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศยูกัน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 2007 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 2008

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ประเทศยูกัน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 2008 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 2011

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศยูกัน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 2011 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 2012

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ประเทศยูกัน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 2012 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 2015

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศยูกัน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 2015 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 2016

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ประเทศยูกัน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 2016 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 2019

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศยูกัน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและประเทศยูกันดาใน ค.ศ. 2019 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูกันดาในโอลิมปิก

ประเทศยูกันดา เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ยูกันดา หมวดหมู่:ประเทศยูกันดา.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและประเทศยูกันดาในโอลิมปิก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศรวันดา

รวันดา (กิญญาร์วันดา, อังกฤษ และRwanda) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐรวันดา (กิญญาร์วันดา: Republika y'u Rwanda; Republic of Rwanda; République du Rwanda) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลแต่อยู่ติดกับทะเลสาบเกรตเลกส์ (Great Lakes) ทางตะวันออกของประเทศ รวันดาเป็นประเทศเล็ก ๆ ที่อยู่ทางระหว่างตอนกลางและตะวันออกของทวีปแอฟริกา มีประชากรร่วม ๆ 8 ล้านคน รวันดามีอาณาเขตติดต่อกับยูกันดาทางตอนเหนือ บุรุนดีทางตอนใต้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกทางตะวันตกเฉียงเหนือมาจนถึงตะวันตก และแทนซาเนียที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ไล่ขึ้นมาถึงทางตะวันออก รวันดามีลักษณะทางภูมิประเทศที่เป็นเนินเขาที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้ได้สมญานามจากเบลเยียม เจ้าอาณานิคมเก่าว่าเป็น ดินแดนแห่งเขาพันลูก (Pays des Mille Collines เป็นภาษาฝรั่งเศส หรือ Igihugu cy'Imisozi Igihumbi เป็นภาษากิญญาร์วันดา) รวันดายังถือเป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในแอฟริกาส่วนภูมิภาค (ไม่นับเกาะเล็ก ๆ) เหตุการณ์ที่โด่งดังที่สุดของประเทศรวันดาในระดับสากลคือเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวทุตซีในปี พ.ศ. 2537 (1994) ซึ่งส่งผลให้ประชากรเกือบล้านคนต้องเสียชีวิตไป เศรษฐกิจของรวันดาล้วนมาจากการเกษตรกรรม แต่เกือบทั้งหมดเป็นเกษตรกรรมเพื่อการเลี้ยงชีพ มิใช่เพื่อการค้า ในปัจจุบันที่ความหนาแน่นและจำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่คุณภาพดินที่เสื่อมลงและสภาพอากาศที่ไม่แน่นอนทำให้รวันดาเป็นประเทศที่มีปัญหาร้ายแรงด้านการขาดสารอาหารของประชาชนที่เป็นไปอย่างกว้างขวาง รวมถึงประสบกับปัญหาความยากจนอย่างต่อเนื่อง หมวดหมู่:ประเทศรวันดา ร หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2505 หมวดหมู่:อดีตอาณานิคมของเบลเยียม.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและประเทศรวันดา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิสราเอล

ประเทศอิสราเอล (Israel; יִשְׂרָאֵל; إِسْرَائِيل) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐอิสราเอล (State of Israel; מְדִינַת יִשְׂרָאֵל; دَوْلَة إِسْرَائِيل) เป็นประเทศในตะวันออกกลางบนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและชายฝั่งเหนือของทะเลแดง มีเขตแดนทางบกติดต่อกับประเทศเลบานอนทางทิศเหนือ ประเทศซีเรียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศจอร์แดนทางทิศตะวันออก ดินแดนเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาของปาเลสไตน์ทางทิศตะวันออกและตะวันตกตามลำดับ และประเทศอียิปต์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศอิสราเอลมีภูมิลักษณ์หลากหลายแม้มีพื้นที่ค่อนข้างเล็ก เทลอาวีฟเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศ ส่วนที่ตั้งรัฐบาลและเมืองหลวงตามประกาศคือ เยรูซาเลม แม้อำนาจอธิปไตยของรัฐเหนือเยรูซาเลมยังไม่มีการรับรองในระดับนานาประเทศThe Jerusalem Law states that "Jerusalem, complete and united, is the capital of Israel" and the city serves as the seat of the government, home to the President's residence, government offices, supreme court, and parliament.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและประเทศอิสราเอล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศซูดาน

ซูดาน (Sudan; السودان) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐซูดาน (Republic of the Sudan; جمهورية السودان) เป็นประเทศที่ในอดีตมีพื้นที่มากที่สุดในทวีปแอฟริกา ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีป มีเมืองหลวงชื่อคาร์ทูม มีพรมแดนทางทิศเหนือติดกับประเทศอียิปต์ ทิศใต้ติดต่อกับเซาท์ซูดาน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทะเลแดง ทิศตะวันออกติดกับเอริเทรียและเอธิโอเปีย ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับเคนยาและยูกันดา ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับคองโกและสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ทิศตะวันตกติดกับประเทศชาด และทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับลิเบีย ชื่อของประเทศมาจากภาษาอาหรับว่า Bilad-al-Sudan ซึ่งแปลว่าดินแดนของคนผิวดำ ปัจจุบันซูดานกลายเป็นประเทศที่ขาดความมั่นคงตามดัชนีความเสี่ยงของการเป็นรัฐที่ล้มเหลว เพราะการปกครองแบบเผด็จการทหารและสงครามดาร์ฟูร.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและประเทศซูดาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแทนซาเนีย

แทนซาเนีย หรือชื่อทางการ สหสาธารณรัฐแทนซาเนีย (United Republic of Tanzania; Jamhuri ya Muungano wa Tanzania) เป็นประเทศที่อยู่บนชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกา มีอาณาเขตทางเหนือจดเคนยาและยูกันดา ทางตะวันตกจดรวันดา บุรุนดี และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และทางใต้จดแซมเบีย มาลาวี และโมซัมบิก ส่วนทางตะวันออกจดมหาสมุทรอินเดีย ประเทศตั้งชื่อมาจากแผ่นดินใหญ่แทนกันยีกาและเกาะแซนซิบาร์ที่อยู่นอกจากชายฝั่งตะวันออก แทนซาเนียเป็นสมาชิกของเครือจักรภพแห่งชาติ ตั้งแต่ประกาศเอกราชเมื่อ พ.ศ. 2504 เมื่อ พ.ศ. 2507 แทนกันยีกาได้รวมกับแซนซีบาร์ กลายเป็นสหสาธารณรัฐแทนแกนยิกาและแซนซิบาร์ และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสหสาธารณรัฐแทนซาเนีย เมื่อพ.ศ. 2539 เมืองหลวงของแทนซาเนียย้ายจากดาร์เอสซาลามไปโดโดมา อย่างไรก็ดี สำนักงานของรัฐบาลหลายแห่งยังคงตั้งอยู่ในเมืองหลวงเดิม.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและประเทศแทนซาเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเคนยา

นยา (อังกฤษและKenya) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเคนยา (Republic of Kenya; Jamhuri ya Kenya) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออก มีอาณาเขตจรดประเทศเอธิโอเปีย (ทางเหนือ) ประเทศโซมาเลีย (ทางตะวันออกเฉียงเหนือ) ประเทศแทนซาเนีย (ทางใต้) ประเทศยูกันดา (ทางตะวันตก) ประเทศเซาท์ซูดานและทะเลสาบวิกตอเรีย (ทางตะวันตกเฉียงเหนือ) และมหาสมุทรอินเดีย มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดคือ ไนโรบี.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและประเทศเคนยา · ดูเพิ่มเติม »

ปลานิล

ปลานิล เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oreochromis niloticus เป็นปลาเศรษฐกิจ แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและปลานิล · ดูเพิ่มเติม »

นกกระเรียนมงกุฎเทา

thumb นกกระเรียนมงกุฎเทา หรือ นกกระเรียนหงอนพู่ (Grey crowned crane) เป็นนกในวงศ์นกกระเรียน พบในทุ่งหญ้าสะวันนาในทวีปแอฟริกาทางใต้ของทะเลทรายซาฮารา ทำรังในพื้นที่เปียกชื้น ไม่ใช่นกอ.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและนกกระเรียนมงกุฎเทา · ดูเพิ่มเติม »

นางงามนานาชาติ 2010

นางงามนานาชาติ 2010 (Miss International 2010) จะเป็นการประกวดนางงามนานาชาติครั้งที่ 50 จัดเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 (ตามเวลาในประเทศไทย) โดยจะจัดขึ้นที่เมืองเฉิงตู ประเทศจีน โดย อนากาเบลล่า เอสปิโนซ่า นางงามนานาชาติ 2009 มอบมงกุฎให้แก่ อลิซเบธ มอสเควร่า สาวงามจากเวเนซุเอลา วัย 19 ปี ครองตำแหน่งนางงามนานาชาติ 2010.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและนางงามนานาชาติ 2010 · ดูเพิ่มเติม »

น้ำตกเมอร์ชิสัน

น้ำตกเมอร์ชิสัน (Murchison falls) เป็นน้ำตกขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในทวีปแอฟริกา เป็นน้ำตกที่ได้รับน้ำจากแม่น้ำไนล์ ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกเมอร์ชิสัน ประเทศยูกันดา อยู่ระหว่างตอนเหนือของทะเลสาบวิกตอเรียและทะเลสาบไคโอกา และเหนือสุดของทะเลสาบอัลเบิร์ต และอยู่ทางตะวันตกของแอฟริการิฟต์ตะวันตก ด้านล่างของน้ำตกเป็นที่ ๆ น้ำเชี่ยวและไหลวนรุนแรงมาก จนเกิดเป็นฟองขาวเต็มไปหมด จนได้ชื่อว่าเป็น "หม้อต้มน้ำของปีศาจ" เนื่องจากมีปริมาณน้ำไหลผ่านถึง 300 ตัน/วินาที.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและน้ำตกเมอร์ชิสัน · ดูเพิ่มเติม »

แมรี-หลุยส์ ปาร์กเกอร์

แมรี-หลุยส์ ปาร์กเกอร์ (อังกฤษ: Mary-Louise Parker; เกิดวันที่ 2 เดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 1964) เป็นนักแสดงและนักเขียนชาวอเมริกัน เธอสร้างขื่อเสียงเริ่มแรกจากบทบาทของ Rita ในการแสดงละครเวทีบรอดเวย์ Prelude to a Kiss ของผู้กำกับ Craig Lucas ในปี 1990 (ซึ่งเธอได้รับการเสนอขื่อเข้ารับรางวัลโทนี่) ปาร์กเกอร์สร้างชื่อจากบทบาทในภาพยนตร์ Grand Canyon (1991), Fried Green Tomatoes (1991), The Client (1994), Bullets over Broadway (1994), The Portrait of a Lady (1995), Bullets over Broadway (1996) และ The Maker (1997) ในด้านละครเวทีและภาพยนตร์อิสระ เธอได้รับรางวัลโทนี่สำหรับนักแสดงยอดเยี่ยม (ในละครเวที) จากบทของ Catherine Llewellyn ในละคร Proof  ปี 2001 ของผู้เขียนและกำกับ David Auburn ในจำนวนรางวัลเกียรติยศอิ่นๆ  ระหว่างปี 2001 และ 2006 เธอรับบทต่อเนื่องเป็น Amy Gardner ในซีรีส์โทรทัศน์ The West Wing ของ NBC ซึ่งเธอก็ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Primetime Emmy ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (ละครซีรีส์) ในปี 2002 หลังจากได้รับทั้งลูกโลกทองคำ และรางวัล Primetime จากบทบาท Harper Pitt ในมินิซีรีส์ Angels in America (2003) ของ HBO ปาร์กเกอร์ได้รับความสำเร็จครั้งใหญ่ แสดงนำเป็น Nancy Botwin ในซีรีส์โทรทัศน์ Weeds จากปี 2005 ไปถึงปี 2012  ซึ่งเธอได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง 3 รางวัล คือ Primetime Emmy Award ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (ประเภทซีรีส์คอมเมดี้) ระหว่างปี 2007 และ 2009 และรางวัลลูกโลกทองคำ ผู้แสดงนำหญิงยอดยี่ยม (รายการโทรทัศน์ซีรีส์ แนวมิวสิคัลหรือ คอมเมดี้) ในปี 2006 งานแสดงล่าสุดของเธอ ได้แก่ ภาพยนตร์ The Spiderwick Chronicles (2008), Red (2010), R.I.P.D. (2013) และ Red 2 (2013) เธอมีงานละครเวทีและโทรทัศน์ต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2007 ปาร์กเกอร์เขียนบทความให้กับนิตยสาร Esquire  และตีพิมพ์บันทึกความทรงจำของเธอเรื่อง Dear Mr.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและแมรี-หลุยส์ ปาร์กเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำไนล์

แผนที่แสดงเส้นทางการไหลของแม่น้ำไนล์ แม่น้ำไนล์ ในบริเวณอียิปต์ แม่น้ำไนล์ และ กรุงไคโรด้านหลัง แม่น้ำไนล์ (النيل อันนีล; Nile) เป็นแม่น้ำใน ทวีปแอฟริกา เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในโลก โดยถูกค้นพบแหล่งต้นน้ำใหม่ที่ทำให้มีความยาวกว่าเดิมเมื่อไม่นานมานี้ โดยแม่น้ำไนล์มีความยาวทั้งสิ้น 6,695 กิโลเมตร^~^.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและแม่น้ำไนล์ · ดูเพิ่มเติม »

แรดขาว

แรดขาว (White rhinoceros, White rhino, Square-lipped rhinoceros) เป็นแรดชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ceratotherium simum จัดว่าเป็นสัตว์บกที่ใหญ่ที่สุดในโลกรองลงมาจากช้าง เพราะแรดขาวสามารถที่จะมีความยาวลำตัวได้ถึง 3.6-5 เมตร ความสูงของไหล่ 1.6-2 เมตร น้ำหนัก 2.3-3.6 ตัน มีผิวสีน้ำตาลอมเทาหรือเหลือง จนได้ชื่อว่า "แรดขาว" มีนอ 2 นอ ความยาวของนอที่ใหญ่ที่สุดอาจยาวได้ถึง 1.5 เมตร ริมฝีปากบนของแรดขาวจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมไม่มีติ่งยื่นแหลมออกมาเหมือนแรดชนิดอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะแรดขาวชอบที่จะกินหญ้าหรือพืชที่อยู่ตามพื้นดินหรือพุ่มไม้เตี้ย ๆ มากกว่าใบไม้ มีหูที่ยาวและปลายแหลม หน้าผากลาดและมน หัวไหล่นูนเป็นก้อน ผิวหนังเป็นตุ่มนูนเล็กน้อย ตามลำตัวไม่มีขน ยกเว้นที่ปลายหูและหาง กีบเท้ามีทั้งหมด 3 กีบ แรดขาวมีการกระจายพันธุ์บริเวณทวีปแอฟริกาตอนใต้ พบตั้งแต่ซูลูแลนด์ ถึงอุทยานแห่งชาติครูเกอร์ในแอฟริกาใต้ และยังพบได้ใน ซูดานตอนใต้, ยูกันดา และบริเวณใกล้ ๆ คองโก มีทั้งหมด 2 ชนิดย่อย คือ แรดขาวเหนือ (C. s. simum) และแรดขาวใต้ (C. s. cottoni) แรดขาวมักอยู่เป็นครอบครัวเล็ก ๆ ประกอบด้วยสมาชิกประมาณ 3-4 ในพื้นที่มีมีอาหารอุดมสมบูรณ์อาจพบอยู่หลายครอบครัวหากินอยู่ด้วยกัน บางครั้งอาจพบมากถึง 18 ตัว โดยมีตัวผู้คุมฝูงตัวเดียว นอกนั้นเป็นตัวเมียและลูก แรดขาวมีการกระจายถิ่นหากินกว้าง โดยใช้กองอุจจาระและปัสสาวะเป็นการบอกอาณาเขตของมัน ตัวเมียที่มีลูกจะยอมให้ตัวผู้เข้าใกล้เฉพาะตอนที่เป็นสัดเท่านั้น หลังจากผสมพันธุ์แล้ว ตัวเมียจะต่อสู้ไล่ตัวผู้ไปทันที ในฤดูร้อนชอบหลบร้อนตามร่มไม้หรือแช่ปลัก บางครั้งอาจแช่ปลักทั้งคืนเพื่อบรรเทาความร้อนและกำจัดแมลง ในฤดูหนาวจะนอนอาบทรายแทนการแช่ปลัก แรดขาวโตเต็มที่พร้อมจะผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 7-10 ปี ฤดูผสมพันธุ์ ในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน ระยะการตั้งท้องนานประมาณ 18 เดือน มีอายุประมาณ 40-50 ปี ลูกแรดขาวจะอยู่ร่วมกับแม่จนอายุประมาณ 3-5 ปี โดยแรดตัวเมียจะออกลูกเพียงครั้งละตัว ในอดีตแรดขาวจะถูกล่าอย่าหนักเพื่อเอานอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคล่าอาณานิคม จนทำให้ประชากรของแรดขาวเกือบสูญพันธุ์ แต่ปัจจุบันได้มีกฎหมายคุ้มครองแรดขาวและห้ามการล่าและค้าขายนอแรดอย่างเด็ดขาด รวมถึงแรดชนิดอื่น ๆ ด้วย ทำให้ประชากรของแรดขาวมีเพิ่มมากขึ้นจากการอนุรักษ์ แต่กระนั้นก็คงมีการลักลอบอยู่เป็นร.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและแรดขาว · ดูเพิ่มเติม »

แหล่งปลูกกาแฟที่มีชื่อเสียง

แหล่งผลิตกาแฟของโลกr: แหล่งปลูก ''Coffea canephora'' m: แหล่งปลูก ''Coffea canephora'' และ ''Coffea arabica''. a: แหล่งปลูก ''Coffea arabica''.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและแหล่งปลูกกาแฟที่มีชื่อเสียง · ดูเพิ่มเติม »

แอฟริกัน ทริปาโนโซมิเอซิส

แอฟริกัน ทริปาโนโซมิเอซิส (ภาษาอังกฤษ African trypanosomiasis) หรือ โรคเหงาหลับ เป็นโรคที่เกิดจากปรสิตในคนหรือสัตว์อื่น ๆ โรคนี้เกิดจากปรสิตชนิด ทริปาโนโซมา บรูเซีย ซึ่งมีอยู่สองชนิดที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อในมนุษย์ ได้แก่ ทริปาโนโซมา บรูเซีย แกมเบียนส์ (T.b.g) และ ทริปาโนโซมา บรูเซีย โรดเซียนส์ (T.b.r.). T.b.g เป็นสาเหตุของผู้ป่วยที่ได้รับรายงานกว่า 98% โรคเหงาหลับทั้งสองชนิดมักถูกส่งผ่านโดยการกัดของแมลงวันเซตซีที่ติดเชื้อและมักจะแพร่หลายในพื้นที่ชนบท  ในขั้นต้น ในระยะแรกของโรค ผู้ป่วยมักมีอาการไข้ ปวดศีรษะ มีอาการคันและปวดตามข้อ อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นในช่วงหนึ่งถึงสามสัปดาห์หลังถูกกัด หลายสัปดาห์ถึงหลายเดือนต่อมา ระยะที่สองของโรคเริ่มขึ้นด้วยอาการสับสน มือไม้ทำงานไม่ประสานกัน อาการชา และปัญหาในการนอนหลับ การวินิจฉัยทำได้โดยการหาพยาธิในสเมียร์เลือด หรือในของเหลวในต่อมน้ำเหลือง มักมีความจำเป็นต้องใช้การเจาะน้ำไขสันหลังเพื่อบอกความแตกต่างระหว่างระยะแรกและระยะที่สองของโรค การป้องกันโรคที่รุนแรงทำได้โดยการตรวจคัดประชากรที่มีความเสี่ยงโดยการตรวจเลือดเพื่อหา T.b.g. การรักษาสามารถทำได้ง่ายกว่าหากสามารถตรวจพบโรคอย่างรวดเร็วก่อนที่จะเกิดอาการทางระบบประสาท การรักษาอาการระยะแรกทำได้โดยการใช้ยาเพนทามิดินหรือซูรามิน ส่วนการรักษาอาการระยะที่สองทำได้โดยการใช้อีฟลอนิธินหรือส่วนผสมของไนเฟอไทมอกกับ อีฟลอนิธิน สำหรับ T.b.g. แม้ว่าเมลาร์โซโพรลจะใช้ได้กับเชื้อทั้งสองชนิด ยานี้มักถูกใช้เฉพาะกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ T.b.r. เนื่องจากมีผลข้างเคียงที่รุนแรง โรคนี้เกิดขึ้นเป็นประจำในบางพื้นที่ของแอฟริกาใต้สะฮารา โดยมีประชากรที่มีความเสี่ยงประมาณ 70 ล้านคนใน 36 ประเทศ ในปี 2553 โรคนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 9,000 ราย ซึ่งถือว่าลดน้อยลงจากจำนวน 34,000 รายในปี 2533 ปัจจุบันคาดว่ามีผู้ติดเชื้อประมาณ 30,000 ราย โดยเป็นผู้ติดเชื้อใหม่ 7,000 รายในปี 2555 กว่า 80% ของผู้ติดเชื้ออาศัยอยู่ใน สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เกิดการระบาดครั้งใหญ่ขึ้นสามครั้งในประวัติศาสตร์: ครั้งแรกในปี 2439 ถึงปี 2449 โดยเริ่มในประเทศยูกันดาและลุ่มแม่น้ำคองโก และอีกสองครั้งในปี 2463 และปี 2513 ในหลายประเทศในทวีปแอฟริกา สัตว์อื่น ๆ เช่น โค สามารถเป็นพาหะของโรคและติดเชื้อได้.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและแอฟริกัน ทริปาโนโซมิเอซิส · ดูเพิ่มเติม »

แอฟริกาตะวันออก

นแดนแอฟริกาตะวันออก แอฟริกาตะวันออก เป็นภูมิภาคที่อยู่ทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา ซึ่งประกอบไปด้วย 18 ประเทศคือ.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและแอฟริกาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

แจ๊คสัน อาซิคู

แจ๊คสัน อาซิคู (Jackson Asiku) นักมวยสากลชาวออสเตรเลีย เกิดเมื่อ 21 ตุลาคม..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและแจ๊คสัน อาซิคู · ดูเพิ่มเติม »

โยเวรี มูเซเวนี

โยเวรี มูเซเวนี (Yoweri Museveni, เกิด 15 กันยายน c. 1944) เป็นนักการเมืองชาวยูกันดาและประธานาธิบดีแห่งยูกันดาตั้งแต่ 29 มกราคม 1986 มูเซเวนีมีส่วนร่วมในการก่อกบฎโค่นล้มอดีตผู้นำยูกันดา อีดี้ อามิน (1971–79) และ มิลตัน โอโบเต้ (1980–85) มูเซเวนีได้นำเสถียรภาพและการเติบโตทางเศรษฐกิจมายังประเทศที่เคยเผชิญกับการก่อกบฏและสงครามกลางเมืองมาหลายทศวรรษ (ยกเว้นแต่ทางเหนือของยูกันดา) ภายใต้การปกครองของเขา ยูกันดาเป็นหนึ่งในประเทศที่จัดการกับโรคเอดส์อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดในแอฟริกา ในกลางถึงปลายทศวรรษ 1990s มูเซเวนีได้รับการยกย่องจากตะวันตกในฐานะที่เป็นผู้นำแอฟริการุ่นใหม่ อย่างไรก็ตามการปกครองของเขาถูกทำให้เสื่อมเสียจากการที่ยูกันดาได้เข้าร่วมในสงครามคองโกครั้งที่สองและความขัดแย้งอื่นๆใน Great Lakes region การก่อกบฏทางเหนือโดย Lord's Resistance Army ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมที่รุนแรงอย่างต่อเนื่อง การปราบปรามฝ่ายค้านทางการเมืองและการทำประชามติและการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญในปี 2005 ขยายวาระประธานาธิบดีออกไปทำให้เกิดความกังวลจากนักวิจารณ์ในประเทศและนอกประเทศ หมวดหมู่:ประธานาธิบดียูกันดา หมวดหมู่:ประเทศยูกันดา.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและโยเวรี มูเซเวนี · ดูเพิ่มเติม »

โรคเท้าช้าง

รคเท้าช้าง เป็นโรคที่มีลักษณะผิวหนังและเนื้อเยื่อข้างใต้หนาตัวขึ้น โดยเฉพาะบริเวณขาและอวัยวะเพศ ในบางครั้งอาจมีการบวมของอัณฑะ โดยมียุงเป็นพาหะนำโร.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและโรคเท้าช้าง · ดูเพิ่มเติม »

โอยูกันดา แลนด์ออฟบิวที

"โอยูกันดา แลนด์ออฟบิวที" (Oh Uganda, Land of Beauty - ยูกันดา ดินแดนแห่งความงดงาม) เป็นชื่อเพลงชาติของประเทศยูกันดา ประพันธ์เนื้อร้องและทำนองโดย จอร์จ วิลเบอร์ฟอส คาโกมา (George Wilberforce Kakoma) เพลงนี้เริ่มใช้เป็นเพลงชาติยูกันดามาตั้งแต่ พ.ศ. 2506 หลังจากประเทศได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรไม่นาน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและโอยูกันดา แลนด์ออฟบิวที · ดูเพิ่มเติม »

โจเซฟ กาบีลา

ซฟ กาบีลา (Joseph Kabila, เกิด 4 มิถุนายน 1971) เป็นนักการเมืองชาวคองโกและเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกตั้งแต่เดือนมกราคม..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและโจเซฟ กาบีลา · ดูเพิ่มเติม »

โจเซฟ โคนี

ซฟ โคนี (เกิดราวเดือนกรกฎาคม/กันยายน พ.ศ. 2504) เป็นหัวหน้ากองทัพต่อต้านของพระเจ้า (Lord's Resistance Army - LRA) กลุ่มกองโจรยูกันดา โคนีถูกกล่าวหาจากหน่วยงานของรัฐว่า สั่งการลักพาตัวเด็กเป็นทาสทางเพศเด็กและทหารเด็กInternational Criminal Court (14 October 2005).

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและโจเซฟ โคนี · ดูเพิ่มเติม »

โปเกมอน โก

ปเกมอน โก (Pokémon GO) เป็นเกมพกพา อิงพิกัดภูมิศาสตร์ (location-based) ผสานกับเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (augmented reality) เล่นฟรี บนสมาร์ตโฟนที่ต้องมีกล้องหลัง, มีระบบตรวจจับพิกัดตำแหน่งบนโลก (GPS), ตัวจับระดับการหมุน และจอสัมผัส พัฒนาโดยบริษัทไนแอนติก ออกจำหน่ายใน..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและโปเกมอน โก · ดูเพิ่มเติม »

ไก่ต๊อกหมวกเหล็ก

ก่ต๊อกหมวกเหล็ก (helmeted guineafowl) เป็นนกขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ไก่ต๊อก (Numididae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Numida ไก่ต๊อกหมวกเหล็ก มีลักษณะทั่วไปเหมือนกับไก่ต๊อกชนิดอื่น ๆ แต่บนหัวมีหงอนที่เป็นโหนกแข็งที่มีลักษณะที่เหมือนกับสวมหมวกเหล็กหรือหมวกกันน็อกอยู่ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ มีความยาวเต็มที่ประมาณ 61 เซนติเมตร มีพฤติกรรมรวมตัวกันเป็นฝูงตั้งแต่ 10-100 ตัว หากินตามพื้นดินหรือตามทุ่งหญ้าโปร่งเท่านั้น เมื่อตกใจจะบินได้ระยะทางสั้น ๆ เพื่อขึ้นต้นไม้หรือขึ้นที่สูง โดยกินอาหารที่เป็นพืชแทบทุกชนิด ตลอดจนสัตว์ขนาดเล็ก เช่น หอยทาก แมลงชนิดต่าง ๆ ไก่ต๊อกหมวกเหล็กเป็นไก่ต๊อกที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา และเป็นไก่ต๊อกชนิดที่พบเห็นได้ง่ายและแพร่กระจายพันธุ์มากที่สุด ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงไก่ต๊อกหมวกเหล็กเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม เพื่อความเพลิดเพลินใจ และยังมีการเพาะเลี้ยงเพื่อการบริโภคเนื้อและไข่เป็นสัตว์เศรษฐกิจอีกด้วย โดยเมื่อวางไข่ไก่ต๊อกหมวกเหล็กจะแยกตัวจากฝูงไปวางไข่เพียงตามลำพังในพงหญ้า ครั้งละ 40-50 ฟอง แม่ไก่จะดูแลลูกประมาณ 2-3 เดือน เมื่อพ้นจากนี้แล้วลูกไก่จะแข็งแรงพอที่จะเข้าฝูงหากินเองได้ ไก่ต๊อกหมวกเหล็กเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 5-7 เดือน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและไก่ต๊อกหมวกเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

ไวรัสซิกา

วรัสซิกา (Zika virus; ZIKV) เป็นไวรัสในสกุลเฟลวิวิริเด่ (Flaviviridae) วงศ์เฟลวิไวรัส (Flavivirus) โดยผ่านจากยุงลาย (Aedes) อาทิเช่น ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) และ ยุงลายสวน (Aedes albopictus) โดยตั้งชื่อโรคมาจากป่าซิกาใน ประเทศยูกันดา ซึ่งเป็นที่แพร่โรคซิก้าเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1947 สำหรับผู้ติดเชื้อซิก้า เป็นที่รู้จักในชื่อว่า ไข้ซิกา (Zika Fever) ในผู้ติดเชื้อซิกามักจะไม่มีอาการแสดงหรือมีอาการไม่รุนแรง ซึ่งนับแต่คริสต์ทศวรรษ 1950 ทราบว่าเกิดเชื้อในเส้นศูนย์สูตรแคบ ๆ ตั้งแต่ทวีปแอฟริกาถึงทวีปเอเชีย, ปี 2014 ไวรัสซิก้าได้แพร่กระจาย ไปทางทิศตะวันออก สู่มหาสมุทรแปซิฟิก ไปยัง เฟรนช์โปลินีเซีย จากนั้นแพร่กระจายไปที่ เกาะอีสเตอร์ และในปี 2015 แพร่กระจายไปยังแม็กซิโก, อเมริกากลาง, แคริบเบียน และอเมริกาใต้ โดยเปนที่ระบาดของไวรัสซิก้าที่แพร่กระจายไปทั่วในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและไวรัสซิกา · ดูเพิ่มเติม »

ไฮแรกซ์จุดเหลือง

แรกซ์จุดเหลือง หรือ ไฮแรกซ์พุ่มไม้ (Yellow-spotted rock hyrax, Bush hyrax) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ในอันดับไฮแรกซ์ (Hyracoidea) ในวงศ์ไฮแรกซ์ (Procaviidae) มีลักษณะรูปร่างคล้ายกับไฮแรกซ์หิน ซึ่งเป็นไฮแรกซ์อีกชนิดหนึ่ง มีน้ำหนักประมาณ 1.5-2.5 กิโลกรัม มีความสูง 20-25 เซนติเมตร ความยาว 35-57 เซนติเมตร อายุขัยเฉลี่ย 5-10 ปี ไฮแรกซ์จุดเหลืองมีรูปร่างลักษณะเหมือนไฮแรกซ์หิน แต่มีจุดสีขาวเหนือดวงตาแต่ละข้าง อาศัยอยู่ตามโขดหินและถ้ำเล็ก ๆ กินพืชต่าง ๆ และใบไม้บนต้นไม้เป็นอาหาร ไฮแรกซ์จุดเหลืองก็เหมือนกับไฮแรกซ์หินตรงที่ก็ตกเป็นเหยื่อของสัตว์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น เสือดาว, เสือชีตาห์, แมวป่าต่าง ๆ, นกล่าเหยื่อขนาดใหญ่ เช่น อินทรี, เหยี่ยว หรือนกฮูก รวมทั้งงู ไฮแรกซ์จุดเหลือง นับเป็นไฮแรกซ์ชนิดที่พบได้มากที่สุดและกระจายพันธุ์ในวงกว้างที่สุด โดยพบที่แองโกลา, บอตสวานา, บูรุนดี, คองโก, อียิปต์ตอนใต้, เอริเธรีย, เอธิโอเปีย, เคนยา, มาลาวี, โมซัมบิก, รวันดา, โซมาลี, ตอนเหนือของแอฟริกาใต้, ซูดาน, แทนซาเนีย, อูกันดา, แซมเบีย และ ซิมบับเว โดยไม่พบในอาระเบียเหมือนไฮแรกซ์หิน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและไฮแรกซ์จุดเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ไทยทีวีโกลบอลเน็ตเวิร์ก

ทยทีวีโกลบอลเน็ทเวิร์ค (TGN, Thai TV Global Network) เป็นสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมแห่งแรกของประเทศไทย ดำเนินการโดยสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก โดยได้แพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ เพื่อคนไทยที่อาศัยอยู่ทั่วโลก 170 ประเทศ และต่างชาติที่ต้องการศึกษาเกี่ยวกับประเทศไทย ก่อนมีพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและไทยทีวีโกลบอลเน็ตเวิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ไดแอน ฟอสซีย์

แอน ฟอสซีย์ กับดิจิต กอริลลาภูเขาตัวผู้ ตัวโปรดของเธอ ไดแอน ฟอสซีย์ (Dian Fossey; 16 มกราคม ค.ศ. 1932 - 26 ธันวาคม ค.ศ. 1985) นักสัตววิทยาชาวอเมริกัน ผู้ทำการศึกษาพฤติกรรมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยเฉพาะกับกอริลลา (วานรวิทยา) เธอมีชื่อเสียงจากการผลงานวิจัยกลุ่มลิงกอริลลาภูเขา ในป่าทึบของประเทศรวันดา มีผลงานเขียนหนังสือ ชื่อ Gorilla in the Mist ซึ่งถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ชื่อ Gorillas in the Mist: The Story of Dian Fossey (1988) หลังจากเธอเสียชีวิต รับบทโดยซิกอร์นีย์ วีเวอร.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและไดแอน ฟอสซีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เกรตริฟต์แวลลีย์

แนวหุบเขาทรุดถ่ายจากดาวเทียม เกรตริฟต์แวลลีย์ (Great Rift Valley) คือหุบเขารอยเลื่อนขนาดใหญ่ เป็นรอยแยกยาวต่อเนื่องขนาดยาวที่สุดในโลก ขนาดความกว้างประมาณ 30-100 กิโลเมตร เป็นหน้าผาดิ่งจากที่ราบสูงรอบ ๆ ลึกกว่า 450-800 เมตร พาดผ่าน 19 ประเทศ ตั้งแต่เหนือจรดใต้ เรียงกันได้ดังนี้ เริ่มต้นจากประเทศซีเรีย เลบานอน อิสราเอล จอร์แดน เวสต์แบงก์ (ปาเลสไตน์) ผ่านเข้าสู่ทะเลแดง เลียบชายฝั่งอียิปต์และซูดาน ก่อนจะเข้าสู่เอริเทรีย เอธิโอเปีย เคนยา ยูกันดา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ซาอีร์เดิม) รวันดา บุรุนดี แทนซาเนีย แซมเบีย มาลาวี และสิ้นสุดในโมซัมบิก รวมความยาวที่พาดผ่านตั้งแต่เหนือจรดใต้ ประมาณ 6,750 กิโลเมตร คิดเป็นประมาณ 1 ใน 4 เท่าของเส้นรอบวงโลก (เส้นศูนย์สูตร) โดยที่ขอบด้านข้างของหุบเขาทรุดสูงมากกว่า 2,000 เมตร หุบเขาทรุดเกิดจากการที่แผนเปลือกโลก 2 แผ่นแยกออกจากกัน คือ แผ่นเปลือกโลกที่รองรับคาบสมุทรอาหรับและแอฟริกาตะวันออก กับแผ่นเปลือกโลกที่รอบรับทวีปแอฟริกาทั้งทวีป ซึ่งค่อย ๆ แยกตัวออกจากกันอย่างสม่ำเสมอทำให้เกิดแนวทรุดตัวเป็นแนวยาว เกิดที่ที่ราบทรุดตัวแม่น้ำ ร่องธารลึก และภายในยุคหน้าน้ำทะเลจะท่วมเข้ามาจนกระทั่งตัดทวีปแอฟริกาขาดออกจากกัน.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและเกรตริฟต์แวลลีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เวลาสากลเชิงพิกัด

แผนที่โลกแสดงเขตเวลาในปัจจุบัน เวลาสากลเชิงพิกัด (Coordinated Universal Time; ตัวย่อ: UTC) คือ หน่วยเวลาที่ใช้ในการอ้างอิงการหมุนของโลก โดยใช้เครื่องหมายบวก (+) หรือลบ (-) เทียบจากหน่วยเวลาสากลซึ่งเป็นระบบอ้างอิงจากเวลามาตรฐานกรีนิช (GMT) จุดอ้างอิงของเวลาสากลเชิงพิกัดคือที่ลองจิจูด ที่ 0° ที่ตัดผ่านหอดูดาวหลวงกรีนิชในกรีนิช ลอนดอน สหราชอาณาจักร (และเป็นสาเหตุหลักที่เวลามาตรฐานกรีนิชยังคงมีใช้อยู่ในปัจจุบัน).

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและเวลาสากลเชิงพิกัด · ดูเพิ่มเติม »

เสือไฟแอฟริกา

ือไฟแอฟริกา หรือ แมวทองแอฟริกา (African golden cat) เสือขนาดเล็กหรือแมวชนิดหนึ่ง กระจายพันธุ์อยู่ในทวีปแอฟริกา เสือไฟแอฟริกามีลักษณะทั่วไปคล้ายกับเสือไฟที่พบในทวีปเอเชีย ทั้งที่พบกันคนละทวีปที่ห่างไกลกัน เชื่อว่าในยุคก่อนประวัติศาสตร์ราวหนึ่งล้านปีก่อนแผ่นดินใหญ่ในจีนจนถึงทวีปแอฟริกาในปัจจุบันเชื่่อมต่อกันเป็นป่าเดียวกัน แต่ต่อมาถูกคั่นด้วยทะเลทรายกว้างใหญ่หลายแห่ง เสือไฟในสองทวีป จึงถูกตัดขาดจากกัน และมีวิวัฒนาการแยกออกจากกัน หรือเป็นผลของการวิวัฒนาการแบบเข้าหากันผ่อง เล่งอี้.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและเสือไฟแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

เหตุการณ์ฟาโชดา

แผนที่ทวีปแอฟริกาแสดงอาณานิคมของอังกฤษ (สีเหลือง) และฝรั่งเศส (สีแดง) ที่ตั้งเมืองโคดอก (ฟาโชดาในปัจจุบัน) ในประเทศซูดาน เหตุการณ์ฟาโชดา (Fashoda Incident พ.ศ. 2441 - 2442) เป็นกรณีพิพาทระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสเพื่อแข่งขันกันช่วงชิงลุ่มแม่น้ำไนล์ตอนบนและดินแดนในทวีปแอฟริกาเป็นอาณานิคมของตน เหตุการณ์รุนแรงมากจนถึงขั้นวิกฤติเมื่อฝรั่งเศสเข้ายึดเมืองฟาโชดาได้ก่อนอังกฤษในวันที่ 18 กันยายน..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและเหตุการณ์ฟาโชดา · ดูเพิ่มเติม »

เหตุระเบิดในโมกาดิชู 14 ตุลาคม พ.ศ. 2560

มื่อวันที่ 14 ตุลาคม..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและเหตุระเบิดในโมกาดิชู 14 ตุลาคม พ.ศ. 2560 · ดูเพิ่มเติม »

เผด็จการแผ่นดินเลือด

ผด็จการแผ่นดินเลือด (The Last King of Scotland) เป็นละครภาพยนตร์อังกฤษในปี 2006 ที่มาจากนวนิยาย เดอะ ลาสต์ คิง ออฟ สก็อตแลนด์ ของ ไจลส์ โฟเดน ดัดแปลงบทภาพยนตร์โดย ปีเตอร์ มอร์แกน และ เจเรมี บร็อก กำกับการแสดงโดย เควิน แมคโดนัลด์ ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ร่วมการสร้างระหว่าง สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา รวมทั้งบริษัท ฟ็อกซ์ เสิร์ชไลต์ พิกเจอร์ (Fox Searchlight Pictures) และ ฟิล์ม4 (Film4) เดอะ ลาสต์ คิง ออฟ สก็อตแลนด์ ได้บอกเล่าเรื่องราวของตัวละครที่ชื่อ ดร.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและเผด็จการแผ่นดินเลือด · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาวีรูงกา

ทือกเขาวีรูงกา (Virunga Mountains) เป็นแนวภูเขาไฟในแอฟริกาตะวันออก ตามพรมแดนด้านเหนือของรวันดา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และยูกันดา เทือกเขานี้เป็นสาขาหนึ่งของอัลเปอร์ไทน์ริฟต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเกรตริฟต์แวลลีย์ ตั้งอยู่ระหว่างทะเลสาบเอ็ดเวิร์ดและทะเลสาบกิวู คำว่า "วีรูงกา" เป็นคำในภาษาอังกฤษของคำว่า ibirunga ในภาษากินยาร์วันดา ซึ่งมีความหมายว่า "เทือกเขา" เทือกเขาวีรูงกาประกอบด้วยภูเขาไฟหลัก 8 ลูก ส่วนใหญ่เป็นภูเขาไฟที่สงบแล้ว ยกเว้นภูเขาไฟเอ็นยิรากอนโก (3,462 เมตร) และภูเขาไฟนัยยะมูรกิรา (3,063 เมตร) ทั้งสองอยู่ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก การปะทุครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและเทือกเขาวีรูงกา · ดูเพิ่มเติม »

เซอร์วัล

ซอร์วัล (serval, serval cat) สัตว์กินเนื้อขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์เสือและแมว (Felidae).

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและเซอร์วัล · ดูเพิ่มเติม »

CYP3A5

ซโทโครม P450 3A5 (Cytochrome P450 3A5; ชื่อย่อ: CYP3A5) เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งในกลุ่มออกซิไดซิงเอนไซม์ตระกูลไซโตโครม P450 ที่มีความสำคัญยิ่งต่อร่างกายมนุษย์ โดยโปรตีน CYP3A5 ในมนุษย์จะถูกเข้ารหัสโดยยีน CYP3A5 ซึ่งยีนนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มยีน cytochrome P450 บน โครโมโซมคู่ที่ 7 โลคัส 7q22.1 CYP3A5 เป็นเอนไซม์ที่พบได้ในเนื้อเยืื่อหลายชนิดในร่างกาย ส่วนมากมักอยู่ที่เนื้อเยื่อของเซลล์ตับ ต่อมลูกหมาก ทางเดินอาหาร ไต ต่อมหมวกไต อย่างไรก็ตาม CYP3A5 ที่อยู่ในเนื้อเยื่ออื่นที่นอกเหนือจากเซลล์ตับจะสามารถแสดงออกได้โดดเด่นมากกว่า หน้าที่หลักของ CYP3A5 คือ การเมแทบอไลซ์ยาและสารประกอบไขมันต่างๆ ในร่างกาย เช่น เทสโทสเทอโรน โปรเจสเตอโรน และแอนโดรสตีนีไดโอน อย่างไรก็ตาม การทำงานของ CYP3A5 นั้นมีความแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ โดยชาติพันธ์ุที่มีอัลลีลของ CYP3A5 เป็น CYP3A5*1 จะมีการทำงานของเอนไซม์ที่เป็นปกติ แต่ในบางกลุ่มชาติพันธ์ุที่มีอัลลีลเป็น CYP3A5*3 อย่างประชากรในแถบยุโรป เอเชียตะวันตก และเอเชียกลาง จะมีการทำงานของเอนไซม์นี้ลดลง และในบางกลุ่มประชากรอาจเกิดการกลายพันธุ์จากอัลลีล CYP3A5*1 มาเป็น CYP3A5*3 ได้.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและCYP3A5 · ดูเพิ่มเติม »

ISO 4217

ISO 4217 เป็นมาตรฐานสากลสำหรับรหัสสกุลเงินที่ใช้ในประเทศต่างๆ มักใช้ในการแลกเปลี่ยนสกุลเงินตามธนาคาร ประกอบด้วยอักษรละตินตัวใหญ่ 3 ตัวจากชื่อประเทศและชื่อของสกุลเงินที่ใช้ในประเทศนั้น.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและISO 4217 · ดูเพิ่มเติม »

UTC+03:00

UTC+03:00 เป็นเขตเวลาที่เวลาท้องถิ่นเร็วกว่าเวลาสากลเชิงพิกัด 3 ชั่วโมง ใช้ใน .

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและUTC+03:00 · ดูเพิ่มเติม »

1 มีนาคม

วันที่ 1 มีนาคม เป็นวันที่ 60 ของปี (วันที่ 61 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 305 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและ1 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

11 กรกฎาคม

วันที่ 11 กรกฎาคม เป็นวันที่ 192 ของปี (วันที่ 193 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 173 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและ11 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

27 มิถุนายน

วันที่ 27 มิถุนายน เป็นวันที่ 178 ของปี (วันที่ 179 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 187 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและ27 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

9 ตุลาคม

วันที่ 9 ตุลาคม เป็นวันที่ 282 ของปี (วันที่ 283 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 83 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ประเทศยูกันดาและ9 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Ugandaยูกันดายูกานดาสาธารณรัฐยูกันดาอูกันดาอูกานดาประเทศอูกันดา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »