โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นิโคลัส ฮิลเลียร์ด

ดัชนี นิโคลัส ฮิลเลียร์ด

นิโคลัส ฮิลลาร์ด (Nicholas Hilliard, พ.ศ. 2090 - พ.ศ. 2162) เป็นจิตรกรชาวอังกฤษที่ถนัดด้านการวาดภาพเหมือน หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ทศวรรษ 1540 หมวดหมู่:จิตรกรชาวอังกฤษ หมวดหมู่:บุคคลจากเอ็กซิเตอร์ หมวดหมู่:บุคคลจากมณฑลเดวอน.

5 ความสัมพันธ์: ภาพเหมือนตนเองจุลจิตรกรรมภาพเหมือนคริสต์ทศวรรษ 1540แคทเธอรีน เดอ เมดีชีเอ็กซิเตอร์

ภาพเหมือนตนเอง

หมือนตนเองของอัลเบรชท์ ดือเรอร์, ค.ศ. 1493. สีน้ำมันเดิมบนหนัง, พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์, ปารีส ภาพนี้เป็นภาพเหมือนตนเองอย่างเป็นทางการภาพแรก ๆ ดือเรอร์แต่งตัวแบบอิตาลีที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จระดับสากล ภาพเหมือนตนเอง (Self-portrait) คือภาพเหมือนของศิลปินเองผู้อาจจะวาด เขียนด้วยสี ถ่ายภาพ หรือแกะสลักด้วยตนเอง แม้ว่าศิลปินจะสร้างภาพเหมือนของตนเองมาแต่โบราณ แต่ก็ไม่ได้ทำกันอย่างแพร่หลาย หรือบอกได้ว่าเป็นภาพเหมือนของศิลปินเองจริง ๆ หรือวาดเป็นบุคคลหัวใจของภาพมาจนกระทั่งเมื่อต้นยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในกลางคริสต์ทศวรรษ1400 กระจกที่มีคุณภาพดีขึ้นและราคาถูกลงทำการเขียนภาพเหมือนบนจิตรกรรมแผง จิตรกร ประติมากร และช่างแกะพิมพ์มีการทำกันมากขึ้น ตัวอย่างแรกก็ได้แก่ "ภาพเหมือนของชายคนหนึ่ง (ภาพเหมือนตนเอง?)" ที่เขียนโดยยัน ฟัน ไอก์ ของปี..

ใหม่!!: นิโคลัส ฮิลเลียร์ดและภาพเหมือนตนเอง · ดูเพิ่มเติม »

จุลจิตรกรรมภาพเหมือน

ันส์ โฮลไบน์ ราว ค.ศ. 1540 จุลจิตรกรรมภาพเหมือน (Portrait miniature) คือภาพเหมือนขนาดจิ๋วที่มักจะเขียนด้วยสีน้ำทึบหรือสีน้ำหรือเป็นกระเบื้องเคลือบ จุลจิตรกรรมภาพเหมือนที่เริ่มมารุ่งเรืองในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในยุโรปและต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 ต่อมา เป็นศิลปะอันมีค่าสำหรับการแนะนำให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลกันได้ทำความรู้จักหรือเห็นหน้าเห็นตากัน ขุนนางที่เสนอการสมรสของบุตรีอาจจะส่งภาพเหมือนของบุตรีไปกับผู้เดินสาส์นไปให้ผู้หมายปองต่างๆ หรือ ทหารหรือกะลาสีก็อาจจะพกภาพเหมือนของบุคคลผู้เป็นที่รักติดตัวไปในระหว่างการเดินทาง หรือภรรยาอาจจะมีภาพเหมือนของสามีขณะที่สามีเดินทางไปยังดินแดนอันห่างไกล จุลจิตรกรรมภาพเหมือนในสมัยแรกเป็นภาพที่เขียนด้วยสีน้ำบนหนังลูกสัตว์ (vellum) ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 การเขียนด้วยกระเบื้องเคลือบที่เหมือนแก้วบนทองแดงก็กลายมาเป็นที่นิยมกันมากขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 จุลจิตรกรรมภาพเหมือนจะเขียนด้วยสีน้ำบนงาช้าง ความที่มีขนาดเล็กราว 40 × 30 มิลลิเมตรทำให้จุลจิตรกรรมภาพเหมือนใช้เป็นของที่ระลึกส่วนตัว หรือ เป็นเครื่องประดับ หรือใช้ในการประดับฝาปิดตลับตกแต่ง การวิวัฒนาการตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ของดาแกโรไทป์และภาพถ่ายทำให้ความนิยมในการมีจุลจิตรกรรมภาพเหมือนลดน้อยลง.

ใหม่!!: นิโคลัส ฮิลเลียร์ดและจุลจิตรกรรมภาพเหมือน · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ทศวรรษ 1540

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: นิโคลัส ฮิลเลียร์ดและคริสต์ทศวรรษ 1540 · ดูเพิ่มเติม »

แคทเธอรีน เดอ เมดีชี

ระเจ้าอองรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศส พระราชสวามี แคทเธอรีน เดอ เมดิชิ (ภาษาอังกฤษ: Catherine de' Medici) (13 เมษายน ค.ศ. 1519 – 5 มกราคม ค.ศ. 1589) เกิดที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ชื่อเมื่อแรกเกิดในภาษาอิตาลีคือ “คาเทอรีนา มารีอา โรโมลา ดี ลอเร็นโซ เดอ เมดิชิ” (Caterina Maria Romola di Lorenzo de' Medici) พระบิดาและมารดาของแคทเธอรีนคือลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ ดยุกแห่งเออร์บิโนและมาเดเลน เดอ ลา ทัวร์ โดแวญ เคาเทสแห่งบูลอยน (Madeleine de la Tour d'Auvergne, Countess of Boulogne) ทั้งสองคนเสียชีวิตไปไม่นานหลังจากที่แคทเธอรีนประสูติ พระนามมาเปลี่ยนมาสะกดแบบฝรั่งเศสต่อมาเป็น “Catherine de Médicis” แคทเธอรีนเป็นพระอัครมเหสีในพระเจ้าอองรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศสระหว่างปี ค.ศ. 1547 ถึงปี ค.ศ. 1559 เมื่อมีพระชนม์ได้ 14 พรรษาในปี ค.ศ. 1533 แคทเธอรีนก็ทรงเสกสมรสกับอองรีดยุกแห่งออร์เลอองผู้เป็นพระราชโอรสองค์ที่สองของพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส กับพระราชินีโคลด เมื่อเจ้าชายรัชทายาท ฟรองซัวส์ หรือ “โดแฟ็ง” (Dauphin) พระเชษฐาของอองรีสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1536 อองรีก็ได้ขึ้นเป็นโดแฟงแทน แคทเธอรีนจึงทรงมีตำแหน่งเป็น “โดฟีน” (Dauphine) ต่อมาเมื่อพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 เสด็จสวรรคต อองรีก็ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าอองรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1547 ระหว่างการครองราชพระเจ้าอองรีก็มิได้ให้ความสำคัญต่อพระราชินีแคทเธอรีนเท่าใดนัก แต่ทรงกลับไปปรนเปรอพระสนมคนโปรด ไดแอน เดอ ปอยเตียร์ (Diane de Poitiers) แทน เมื่อพระเจ้าอองรีเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1559 พระราชินีแคทเธอรีนจึงทรงเริ่มมีบทบาททางการเมืองโดยการเป็นพระชนนีของพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 2 แห่งฝรั่งเศสผู้มีพระชนมายุเพียง 15 พรรษาเมื่อขึ้นครองราชย์และไม่ทรงแข็งแรงเท่าใดนัก พระเจ้าฟรองซัวส์ทรงปกครองฝรั่งเศสได้เพียงปีเดียวก็เสด็จสวรรคต พระราชินีแคทเธอรีนก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ผู้มีอำนาจเต็มที่ในพระโอรสองค์รอง พระเจ้าชาร์ลที่ 9 ผู้มีพระชนมายุได้เพียง 10 พรรษา หลังจากพระเจ้าชาลส์เสด็จสวรรคตพระราชินีนาถแคทเธอรีนก็ทรงมีบทบาทสำคัญในการปกครองมากขึ้นเมื่อพระราชโอรสองค์ที่สามขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าอองรีที่ 3 พระเจ้าอองรีทรงปรึกษาราชการแผ่นดินต่างๆ กับพระราชชนนีจนระยะสุดท้ายก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ พระโอรสผู้อ่อนแอทั้งสามพระองค์ของแคทเธอรีนทรงปกครองฝรั่งเศสในขณะที่บ้านเมืองระส่ำระสายจากการก่อความไม่สงบต่างที่เกิดขึ้นจากสงครามกลางเมืองและสงครามศาสนา ปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นมิได้อยู่ในความควบคุมของระบบพระมหากษัตริย์และเป็นปัญหาที่ใหญ่แม้แต่สำหรับพระมหากษัตริย์ผู้ทรงอำนาจ เมื่อแรกเริ่มแคทเธอรีนก็พยายามประนีประนอมกับฝ่ายอูเกอโนท์ (Huguenots) หรือชาวฝรั่งเศสที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์เมื่อมีการจลาจลเกิดขึ้น แต่ก็ไม่ทรงเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงปัญหาความขัดแย้งทางปรัชญาทางคริสต์ศาสนวิทยาและสาเหตุของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งทำให้พระองค์ไม่มีพระอุตสาหะพอที่จะพยายามแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างสันติ และทรงใช้ไม้แข็งในการปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบ พระองค์จึงทรงถูกประณามในเหตุการณ์ร้ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเหตุการณ์การสังหารหมู่วันเซนต์บาโทโลมิว ในปี ค.ศ. 1572 ซึ่งเป็นผลให้อูเกอโนท์ถูกสังหารอย่างทารุณทั้งในปารีสและทั่วไปในประเทศฝรั่งเศส นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานกันว่าในปารีสเองมีผู้เสียชีวิตประมาณ 2,000 คนและอีกประมาณ 5,000-10,000 คนในบริเวณอื่นทั่วฝรั่งเศส หลังจากนั้นก็มีเรื่องสยดสยองต่างๆ จากเหตุการณ์ในเอกสารที่แจกจ่ายกันในสมัยนั้นซึ่งเป็นต้นกำเนิด “ตำนานมืด” (The Black Legend) ของ “พระราชินีผู้ชั่วร้าย” จากปากเสียงของผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อพระองค์ พระราชินีนาถแคทเธอรีนทรงถูกประณามว่าเป็น “Machiavellian Renaissance prince” ผู้ป้อนความกระหายอำนาจด้วยการอาชญากรรม, การวางยาพิษ และบางทีก็ถึงกับใช้อำนาจเวทมนตร์ “อากริพพา โดบินย์” (Agrippa d'Aubigné) กวีอูเกอโนท์ถึงกับขนานพระนามพระราชินีนาถแคทเธอรีนว่าเป็น “เชี้อโรคจากฟลอเรนซ์” (Florentine plague) ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักประวัติศาสตร์จูลส์ มิเชลเลท์ (Jules Michelet) บรรยายพระราชินีนาถแคทเธอรีนว่าเป็น “หนอนที่หลุดออกมาจากหลุมศพของอิตาลี” นักประวัติศาสตร์ปัจจุบันให้เหตุผลสนับสนุนการใช้อำนาจอันเกินควรของพระราชินีนาถแคทเธอรีน แต่อาร์ เจ เนคช (R. J. Knecht) กล่าวว่าความทารุณของพระราชินีนาถแคทเธอรีนจะเห็นได้จากจดหมายที่ทรงเขียน นิโคลา ซัทเธอร์แลนด์ (Nicola Sutherland) กล่าวเตือนถึงความเกินเลยในการบรรยายอำนาจของพระองค์ว่าแทนที่จะเป็นภาพพจน์ที่ทรงปกครองอย่างมั่นคง พระราชินีนาถแคทเธอรีนทรงต้องต่อสู้กับความไม่สงบต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างแทบไม่มีทางชนะ นโยบายการปกครองของพระองค์จึงเป็นนโยบายของความอยู่รอดของราชวงศ์วาลัวส์ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดใด จึงอาจจะกล่าวได้ว่าถ้าไม่มีพระราชินีนาถแคทเธอรีนพระโอรสทั้งสามพระองค์ก็คงไม่ทรงสามารถปกครองฝรั่งเศสด้วยพระองค์เองได้ ระยะการปกครองระหว่างพระโอรสทั้งสามเรียกว่า “สมัยแคทเธอรีน เดอ เมดิชิ” (The Age of Catherine de' Medici).

ใหม่!!: นิโคลัส ฮิลเลียร์ดและแคทเธอรีน เดอ เมดีชี · ดูเพิ่มเติม »

เอ็กซิเตอร์

อ็กซิเตอร์ (Exeter) เป็นนครและเมืองเอกของมณฑลเดวอนทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ จากการสำรวจในปี..

ใหม่!!: นิโคลัส ฮิลเลียร์ดและเอ็กซิเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Nicholas Hilliardนิโคลัส ฮิลลาร์ด

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »