โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นักกฎหมาย

ดัชนี นักกฎหมาย

วิลเลียม เมอร์รีย์ เอิร์ลแห่งแมนส์ฟิลด์ เป็นนักกฎหมายผู้เป็นทั้งเนติกร อัยการ และผู้พิพากษา ในเขตอำนาจศาลอังกฤษและเวลส์ นักกฎหมาย (Lawyer) คือผู้ปฏิบัติงานด้านกฎหมาย อาทิ เนติกร, อัยการ, ทนายความ นักกฎหมายทำงานโดยอาศัยประโยชน์จากข้อสรุปของทฤษฎีทางกฎหมายตลอดจนองค์ความรู้เพื่อแก้ปัญหาของแต่ละปัจเจกบุคคล หรือเป็นคนรับใช้ด้านกฎหมายเพื่อผลประโยชน์ของผู้ว่าจ้าง บทบาทของนักกฎหมาย แตกต่างกันอย่างมากไปตามแต่ละเขตอำนาจศาล คำศัพท์ซึ่งปรากฏอยู่ในบทความนี้เป็นจึงเป็นเฉพาะในบริบทที่เป็นสากล.

44 ความสัมพันธ์: พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์พระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทฺโธ)พริทาม ซิงห์กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซกิแกโรญะมาล อับดุนนาศิรวรเจตน์ ภาคีรัตน์สุวรรณ วลัยเสถียรหลวงประเสริฐมนูกิจ (ประเสริฐ ศิริสัมพันธ์)หลิว เจียเหลียงออทโท ฟอน บิสมาร์คอัยการสูงสุด (ประเทศไทย)อัลเฆาะซาลีอันเดรย์ วืยชินสกีอิบน์ บะฏูเฏาะฮ์อุมแบร์โต เอโกอีดี อามินอีเลฟเทริออส เวนิเซลอสอ็องรี ลา ฟงแตนฮิลลารี คลินตันธนัญชัย บริบาลทอมัส มอร์ทนายความคมสัน โพธิ์คงปริศนา (แก้ความกำกวม)นักฟิสิกส์นายทหารพระธรรมนูญนาตาเลีย ปอกลอนสกายานิกมาทิลลา ยูลดาเชฟนิติศาสตร์แอนสท์ คัลเทนบรุนเนอร์แคลวิน คูลิดจ์แซนฟอร์ด บี. โดลโจ ไบเดินโทมัส อาร์. มาร์แชลล์ไรนซ์ พรีบัสเวคอัปนิวส์เจมส์ บูแคนันเจมส์ โจเซฟ ซิลเวสเตอร์เจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ (โรลังยัคมินส์)เทพ โชตินุชิตเทโอดอร์ มอมม์เซินเนติบัณฑิต26 พฤษภาคม

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์

มหาอำมาตย์เอก มหาเสวกเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (21 ตุลาคม พ.ศ. 2417 - 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463) ทรงเป็นต้นราชสกุลรพีพัฒน์ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้วางรากฐานด้านกฎหมายในเมืองไทย จนได้รับพระสมัญญานามว่าพระบิดาแห่งกฎหมายไทย ทางด้านชีวิตส่วนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ทรงเสกสมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอรพัทธ์ประไพ พระธิดาองค์ใหญ่ใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ แต่ทรงมีชีวิตร่วมกันเพียงไม่นานก็หย่าขาดจากกันหลังจากนั้นทรงรับหม่อมอ่อนเป็นชายา หลังจากนั้นทรงมีหม่อมอีก 2 พระองค์ คือ หม่อมแดงและหม่อมราชวงศ์สอางค์ ปราโมช สิ้นพระชนม์ ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม..

ใหม่!!: นักกฎหมายและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทฺโธ)

ระเทพวิทยาคม นามเดิม คูณ ฉัตร์พลกรัง หรือที่รู้จักในนาม หลวงพ่อคูณ (4 ตุลาคม พ.ศ. 2466-16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558) เป็นพระเกจิอาจารย์ อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 11 และอดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านไร.

ใหม่!!: นักกฎหมายและพระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทฺโธ) · ดูเพิ่มเติม »

พริทาม ซิงห์

ริทาม ซิงห์ (เกิด 2 สิงหาคม ค.ศ. 1976) เป็นนักการเมืองและนักกฎหมายชาวสิงคโปร์ เป็นหัวหน้าพรรคแรงงานและเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 8 เมษายน..

ใหม่!!: นักกฎหมายและพริทาม ซิงห์ · ดูเพิ่มเติม »

กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ

กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ฟอน ไลบ์นิซ (Gottfried Wilhelm von Leibniz) (1 กรกฎาคม ค.ศ. 1646 (พ.ศ. 2189) ในเมืองไลพ์ซิจ ประเทศเยอรมนี 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1646 - 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1716 (พ.ศ. 2259)) เป็นนักปรัชญา, นักวิทยาศาสตร์, นักคณิตศาสตร์, นักการทูต, บรรณารักษ์ และ นักกฎหมาย ชาวเยอรมันเชื้อสายเซิบ เขาเป็นคนที่เริ่มใช้คำว่า "ฟังก์ชัน" สำหรับอธิบายปริมาณที่เกี่ยวกับเส้นโค้ง เช่น ความชันของเส้นโค้ง หรือจุดบางจุดของเส้นโค้งดังกล่าว ไลบ์นิซและนิวตันได้รับการยกย่องร่วมกันว่าเป็นผู้เริ่มพัฒนาแคลคูลัส โดยเฉพาะส่วนของไลบ์นิซในการพัฒนาปริพันธ์และกฎผลคูณ หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2189 หมวดหมู่:นักปรัชญา หมวดหมู่:ชาวเยอรมัน หมวดหมู่:นักฟิสิกส์ หมวดหมู่:นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน หมวดหมู่:นักคณิตศาสตร์ หมวดหมู่:นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน หมวดหมู่:นักปรัชญาชาวเยอรมัน.

ใหม่!!: นักกฎหมายและกอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ · ดูเพิ่มเติม »

กิแกโร

มาร์กุส ตุลลิอุส กิแกโร (Marcvs Tvllivs Cicero; 3 มกราคม 106 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 7 ธันวาคม 43 ปีก่อนคริสต์ศักราช) คือนักปรัชญา รัฐบุรุษ นักกฎหมาย นักทฤษฎีการเมือง และนักนิยมรัฐธรรมนูญชาวโรมันโบราณ เขาเกิดในตระกูลขุนนางอันมั่งคั่งในตำแหน่งขุนคลัง เป็นที่รู้จักแพร่หลายในฐานะนักพูดและกวีที่มีชื่อเสียงที่สุดของโรมัน เขาเป็นผู้ริเริ่มโรงเรียนผู้นำด้านปรัชญากรีกในโรมัน และสร้างศัพท์ทางปรัชญาในภาษาละตินขึ้นใหม่หลายคำ (เช่น humanitas, qualitas, quantitas, และ essentia) ทำให้เขาโดดเด่นในฐานะนักภาษาศาสตร์ นักแปล และนักปรัชญาด้วย กิแกโรเป็นทั้งนักพูดที่มีพลัง และเป็นนักกฎหมายผู้ประสบความสำเร็จ ปัจจุบันเขาเป็นที่ยกย่องจากงานเขียนเชิงมนุษยนิยม ปรัชญา และการเมือง ทั้งสุนทรพจน์และจดหมายของกิแกโรหลายฉบับยังคงหลงเหลือตกทอดมาถึงปัจจุบัน เป็นแหล่งข้อมูลชั้นต้นที่สำคัญที่สุดในช่วงยุคท้าย ๆ ของสาธารณรัฐโรมัน.

ใหม่!!: นักกฎหมายและกิแกโร · ดูเพิ่มเติม »

ญะมาล อับดุนนาศิร

ญะมาล อับดุนนาศิร ญะมาล อับดุนนาศิร ฮุซัยน์ (جمال عبد الناصر حسين; Gamal Abdel Nasser Hussein; 15 มกราคม 1918 - 28 กันยายน 1970) เกิดเมื่อวันที่ 15 มกราคม 1918 เป็นอดีตประธานาธิบดีคนที่ 2 หลังจากประธานาธิบดีมุฮัมมัด นะญีบ เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งอียิปต์เมื่อ 1954 จนกระทั่งสิ้นชีวิต 28 กันยายน 1970 รวมอายุ 52 ปี เป็นคนสำคัญที่ถอดถอนกษัตริย์ฟารูก ออกจากตำแหน่ง.

ใหม่!!: นักกฎหมายและญะมาล อับดุนนาศิร · ดูเพิ่มเติม »

วรเจตน์ ภาคีรัตน์

ตราจารย์ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ (เกิด 23 สิงหาคม พ.ศ. 2512) เป็นนักนิติศาสตร์ชาวไทย เป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นอาจารย์พิเศษในสถาบันการศึกษาอื่นอีกหลายแห่ง มีชื่อเสียงจากการร่วมก่อตั้งคณะนิติราษฎร์ที่เสนอแนะการปรับปรุงสังคมในหลายด้าน โดยเฉพาะการต่อต้านอุปสรรคในการพัฒนาประชาธิปไตย แต่เนื่องจากมีผู้ไม่เห็นด้วย จึงมีการต่อต้านวรเจตน์กับเพื่อนหลายครั้ง คราวร้ายแรงที่สุด มีผู้ทำร้ายร่างกายเขาจนบาดเจ็บ มติชนออนไลน์ ให้วรเจตน์กับเพื่อนคณะนิติราษฎร์เป็นบุคคลผู้ทรงอิทธิพลแห่งปี 2553 ในสาขาวิชาการ และสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีมติให้เขาเป็นศาสตราจารย์ในเดือนสิงหาคม 2557.

ใหม่!!: นักกฎหมายและวรเจตน์ ภาคีรัตน์ · ดูเพิ่มเติม »

สุวรรณ วลัยเสถียร

ร.สุวรรณ วลัยเสถียร เป็นนักกฎหมาย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดีตกรรมการบริหารชุดแรกของพรรคไทยรักไทย เป็นผู้ก่อตั้งชมรมคนออมเงิน และปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานชมรมฯ.

ใหม่!!: นักกฎหมายและสุวรรณ วลัยเสถียร · ดูเพิ่มเติม »

หลวงประเสริฐมนูกิจ (ประเสริฐ ศิริสัมพันธ์)

หลวงประเสริฐมนูกิจ มีชื่อจริงว่า นายประเสริฐ ศิริสัมพันธ์ เป็นนักกฎหมายและอาจารย์มหาวิทยาลัย เคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และเป็นศาสตราจารย์พิเศษคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ราชทินนามของหลวงประเสริฐมนูกิจนั้นเป็นราชทินนามคู่กับปรีดี พนมยงค์และถูกนำไปใช้เป็นชื่อของถนนประเสริฐมนูกิจ ในกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: นักกฎหมายและหลวงประเสริฐมนูกิจ (ประเสริฐ ศิริสัมพันธ์) · ดูเพิ่มเติม »

หลิว เจียเหลียง

หลิว เจียเหลียง หรือ เล่า กาเหลียง (จีน: 刘家良; พินอิน: Liú Jiāliáng อังกฤษ: Lau Kar-leung) เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้ผลิตภาพยนตร์, นักแสดง และผู้เขียนบทภาพยนตร์ชาวฮ่องกงที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่ง โดยภาพยนตร์ที่เขาสร้างจะมีนักแสดงนำภาพยนตร์ที่โด่งดังเช่น กอร์ดอน หลิว หรือ หลิว เจียฮุย หรือ อเล็กซานเดอร์ ฟู่ เซิง.

ใหม่!!: นักกฎหมายและหลิว เจียเหลียง · ดูเพิ่มเติม »

ออทโท ฟอน บิสมาร์ค

ออทโท อีดวร์ท เลโอโพลด์ ฟอน บิสมาร์ค-เชินเฮาเซิน (Otto Eduard Leopold von Bismarck-Schönhausen) หรือที่นิยมเรียกว่า ออทโท ฟอน บิสมาร์ค เป็นรัฐบุรุษและนักการทูตแห่งราชอาณาจักรปรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน เขาเป็นผู้นำทางการเมืองที่ทรงอิทธิพลที่สุดในยุโรประหว่างทศวรรษ 1860 ถึง 1890 และดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกแห่งจักรวรรดิเยอรมันระหว่าง 1871 ถึง 1890 ในปี 1862 พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ทรงแต่งตั้งบิสมาร์คเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซีย ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งนี้จนถึงปี 1890 เขานำพาปรัสเซียเข้าสู่สงครามสามครั้งอันได้แก่ สงครามชเลสวิจครั้งที่สอง, สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย และสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย และได้รับชัยชนะในสงครามทั้งสาม หลังชนะในสงครามกับออสเตรีย บิสมาร์คได้ยุบสมาพันธรัฐเยอรมันทิ้ง และจัดตั้งสมาพันธรัฐเยอรมันเหนืออันมีปรัสเซียเป็นแกนนำขึ้นมาแทน ศูนย์อำนาจทางการเมืองของยุโรปภาคพื้นทวีปได้ย้ายจากกรุงเวียนนาของออสเตรียไปยังกรุงเบอร์ลินของปรัสเซีย และเมื่อปรัสเซียมีชัยชนะเหนือฝรั่งเศสแล้ว บิสมาร์คก็ได้สถาปนาสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือขึ้นเป็นจักรวรรดิเยอรมัน โดยทูลเชิญพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ขึ้นดำรงตำแหน่งจักรพรรดิเยอรมันพระองค์แรกในปี 1871 บิสมาร์คจึงกลายเป็นทั้งนายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน ความสำเร็จในการรวมชาติเยอรมันในปี 1871 บิสมาร์คได้ใช้ทักษะทางการทูตของเขารักษาดุลอำนาจของเยอรมันในยุโรปไว้ บิสมาร์คได้อุทิศตนเองในการพยายามรักษาสันติภาพในบรรดามหาอำนาจเป็นเวลากว่าสองทศวรรษ อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่เยอรมันผนวกแคว้นอัลซัค-ลอแรน (Alsace-Lorraine) มาจากฝรั่งเศส ได้จุดชนวนขบวนการชาตินิยมขึ้นในฝรั่งเศส การเรืองอำนาจของเยอรมันทำให้เกิดภาวะ "กลัวเยอรมัน" (Germanophobia) ขึ้นในฝรั่งเศส เป็นความครุกครุ่นก่อนปะทุเป็นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นโยบาย realpolitik ของบิสมาร์คประกอบกับบารมีที่มากล้นของเขาทำให้บิสมาร์คได้รับสมญาว่า นายกฯเหล็ก ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ก้าวกระโดดของเยอรมันถือเป็นรากฐานของนโยบายเหล่านี้ บิสมาร์คเป็นคนไม่ชอบการล่าอาณานิคมแต่เขาก็จำยอมฝืนใจต้องสร้างจักรวรรดิอาณานิคมเยอรมันขึ้นจากเสียงเรียกร้องของบรรดาชนชั้นนำและมวลชนในจักรวรรดิ บิสมาร์คมีชั้นเชิงทางการทูตชนิดหาตัวจับได้ยาก เขาเล่นกลการเมืองด้วยการจัดการประชุม การเจรจา และการร่วมเป็นพันธมิตรที่สอดประสานกันอย่างซับซ้อนหลายครั้งเพื่อถ่วงดุลอำนาจในทวีปยุโรปให้เกิดสันติสุขตลอดช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 และ 1880 ได้สำเร็จ ไม่เพียงด้านการทูตและการต่างประเทศเท่านั้น บิสมาร์คยังเป็นปรมาจารย์ด้านการเมืองในประเทศ เขาริเริ่มรัฐสวัสดิการเป็นครั้งแรกในโลกสมัยใหม่ มีเป้าหมายเพื่อดึงการสนับสนุนของมวลชนจากชนชั้นแรงงาน ซึ่งมิเช่นนั้นแล้วมวลชนเหล่านี้อาจไปเข้าร่วมกับสังคมนิยมซึ่งเป็นศัตรูของเขาได้ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 เขาเข้าเป็นพันธมิตรกับเสรีนิยม (ผู้นิยมอัตราภาษีศุลกากรระดับต่ำและต่อต้านคาทอลิก) และต่อสู้กับศาสนจักรคาทอลิกที่ซึ่งถูกขนานนามว่า คุลทูร์คัมพฟ์ (Kulturkampf; การต่อสู้ทางวัฒนธรรม) แต่พ่ายแพ้ โดยฝ่ายศาสนจักรตอบโต้ด้วยการจัดตั้งพรรคกลาง (Centre Party) อันทรงพลังและใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปของชายเพื่อให้ได้ที่นั่งในสภา ด้วยเหตุนี้บิสมาร์คจึงกลับลำ ล้มเลิกปฏิบัติการคุลทูร์คัมพฟ์ ตัดขาดกับฝ่ายเสรีนิยม กำหนดภาษีศุลกากรแบบคุ้มกัน และร่วมเป็นพันธมิตรทางการเมืองกับพรรคกลางเพื่อต่อกรกับฝ่ายสังคมนิยม บิสมาร์คเป็นผู้เลื่อมใสศรัทธาในนิกายลูเทอแรนอย่างมาก จึงจงรักภักดีต่อกษัตริย์ของตนผู้ซึ่งมีทัศนะขัดแย้งกับเขา แต่ท้ายที่สุดก็ทรงโอนอ่อนและสนับสนุนเขาจากคำแนะนำของพระมเหสีและพระรัชทายาท ในขณะนั้นสภาไรชส์ทาคมาจากเลือกตั้งแบบสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปของชายชาวเยอรมัน แต่ไรชส์ทาคไม่มีอำนาจควบคุมนโยบายของรัฐบาลมากนัก บิสมาร์คไม่เชื่อในระบอบประชาธิปไตยจึงปกครองผ่านระบบข้าราชการประจำที่แข็งแกร่งและได้รับการฝึกฝนมาดีในอุ้งมือของอภิชนยุงเคอร์เดิมซึ่งประกอบด้วยขุนนางเจ้าที่ดินในปรัสเซียตะวันออก ในรัชกาลพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 เขาเป็นผู้ควบคุมกิจการในประเทศและต่างประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่ จนเมื่อจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ถอดเขาจากตำแหน่งในปี 1890 เมื่อเขาอายุได้ 75 ปี บิสมาร์คผู้เป็นขุนนางศักดินา ยุงเคอร์ มีบุคคลิกเด่น ๆ คือหัวรั้น ปากกล้า และบางครั้งเอาแต่ใจ แต่ในขณะเดียวกันก็สุภาพ มีเสน่ห์ และมีไหวพริบด้วยเช่นกัน ในบางโอกาสเขาก็เป็นคนที่มีอารมณ์รุนแรง บิสมาร์ครักษาอำนาจของเขาด้วยการเล่นละครแสดงบทบาทอ่อนไหวพร้อมขู่ว่าจะลาออกจากตำแหน่งอยู่ซ้ำ ๆ ซึ่งมักจะทำให้พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ทรงเกรงกลัว นอกจากนี้บิสมาร์คไม่เพียงแต่มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับกิจการภายในและต่างประเทศอันยาวไกลเท่านั้น แต่ยังมีทักษะที่สามารถเล่นกลทางการเมืองเพื่อแทรกแซงสถานการณ์อันซับซ้อนที่กำลังดำเนินไปในระยะสั้นได้ด้วย จนกลายเป็นผู้นำที่ถูกนักประวัติศาสตร์ขนานนามว่าเป็น "ฝ่ายอนุรักษนิยมสายปฏิวัติ" (revolutionary conservatism) สำหรับนักชาตินิยมเยอรมัน บิสมาร์คคือวีรบุรุษของพวกเขา มีการจัดสร้างอนุสาวรีย์ของบิสมาร์คหลายแห่งเพื่อเชิดชูเกียรติผู้ก่อตั้ง จักรวรรดิไรซ์ ยุคใหม่ นักประวัติศาสตร์หลายคนเองก็ชื่นชมเขาในฐานะผู้มีวิสัยทัศน์ไกล ผู้ซึ่งมีส่วนสำคัญในการรวมเยอรมนีให้เป็นหนึ่งเดียวและช่วยให้ยุโรปดำรงสันติภาพเอาไว้ได้ผ่านการทูตอันชาญฉลาดของ.

ใหม่!!: นักกฎหมายและออทโท ฟอน บิสมาร์ค · ดูเพิ่มเติม »

อัยการสูงสุด (ประเทศไทย)

อัยการสูงสุด (Attorney General) คือ ตำแหน่งผู้บังคับบัญชาสูงสุดของพนักงานอัยการในสำนักงานอัยการสูงสุด พนักงานอัยการนั้นมีหน้าที่เป็นทนายแผ่นดิน หรือนักกฎหมายให้แก่รัฐ เป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินคดีอาญาในนามของรัฐ และสามารถมอบอำนาจหน้าที่ให้แก่พนักงานอัยการผู้ใต้บังคับบัญชาได้ สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นองค์กรอัยการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่ใช้อำนาจตุลาการบริหาร รับพิจารณาสั่งคดีขึ้นสู่ศาลและว่าความ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนและรัฐตามหลักนิติรั.

ใหม่!!: นักกฎหมายและอัยการสูงสุด (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

อัลเฆาะซาลี

อะบู ฮามิด มุฮัมมัด อิบน์ มุฮัมมัด อัลเฆาะซาลี (ابو حامد محمد ابن محمد الغزالي Abū Ḥāmid Muḥammad ibn Muḥammad al-Ghazālī) เป็นนักเทววิทยาศาสนาอิสลาม นักนิติศาสตร์ นักปรัชญา และรหัสยิก ชาวเปอร์เซียLudwig W. Adamec (2009), Historical Dictionary of Islam, p.109.

ใหม่!!: นักกฎหมายและอัลเฆาะซาลี · ดูเพิ่มเติม »

อันเดรย์ วืยชินสกี

อันเดรย์ ยันอูราเยวิช วืยชินสกี (Андре́й Януа́рьевич Выши́нский; Andrzej Wyszyński) เป็นนักการเมือง, นักกฎหมาย และนักการทูตชาวโซเวียต วืยชินสกีเป็นที่รู้จักในตำแหน่งอัยการสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียต ของ โจเซฟ สตาลิน ในช่วง การพิจารณาคดีมอสโก และ การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก เขายังเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหภาพโซเวียต ตั้งแต่ปี 1949 ถึงปี 1953 หลังจากเป็นรองรัฐมนตรีของวยาเชสลาฟ โมโลตอฟ ตั้งแต่ปี 1940 นอกจากนี้เขายังเป็นผู้อำนวยการสถาบันกฎหมายรัฐสหภาพโซเวียต และ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสหภาพโซเวียต และตำแหน่งสุดท้ายของวืยชินสกีก่อนเสียชีวิตคือตำแหน่งเอกอัครราชทูตโซเวียตประจำสหประชาชาต.

ใหม่!!: นักกฎหมายและอันเดรย์ วืยชินสกี · ดูเพิ่มเติม »

อิบน์ บะฏูเฏาะฮ์

อะบู อับดุลลอฮ์ มุฮัมมัด อิบน์ อับดุลลอฮ์ อัลละวาตี อัฏฏ็อนญี อิบน์ บะฏูเฏาะฮ์ (أبو عبد الله محمد بن عبد الله اللواتي الطنجي بن بطوطة) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า อิบน์ บะฏูเฏาะฮ์ (ابن بطوطة; กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1304 – 1368 หรือ 1369) เป็นนักสำรวจชาวโมร็อกโกและเบอร์เบอร์ เขาเป็นที่รู้จักจากบันทึกการเดินทางซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือริห์ละฮ์ ("การเดินทาง") ตลอดระยะเวลาสามสิบปี บะฏูเฏาะฮ์ได้ไปเยือนพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกมุสลิมรวมไปถึงดินแดนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่มุสลิม การเดินทางของเขาได้แก่การเดินทางไปยังแอฟริกาเหนือ จะงอยแอฟริกา แอฟริกาตะวันตก และยุโรปตะวันออกในซีกโลกตะวันตก และไปยังตะวันออกกลาง เอเชียใต้ เอเชียกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีนในซีกโลกตะวันออก ซึ่งเป็นระยะทางที่มากกว่าการเดินทางของมาร์โก โปโล ถึงสามเท่า บะฏูเฏาะฮ์ถือเป็นหนึ่งในบรรดานักเดินทางที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล.

ใหม่!!: นักกฎหมายและอิบน์ บะฏูเฏาะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

อุมแบร์โต เอโก

อุมแบร์โต เอโก (Umberto Eco; 5 มกราคม พ.ศ. 2475 – 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559) เป็นนักเขียน, นักปรัชญา และนักสัญญาณศาสตร์ชาวอิตาลี มีผลงานที่เป็นที่รู้จัก คือ The Name of the Rose.

ใหม่!!: นักกฎหมายและอุมแบร์โต เอโก · ดูเพิ่มเติม »

อีดี อามิน

อีดี้ อามิน (พ.ศ. 2468 - 16 สิงหาคม พ.ศ. 2546) เป็นเผด็จการทหาร และประธานาธิบดีของประเทศยูกันดาตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: นักกฎหมายและอีดี อามิน · ดูเพิ่มเติม »

อีเลฟเทริออส เวนิเซลอส

อีเลฟเทริออส เวนิเซลอส (Eleftherios Venizelos; ชื่อเต็ม: อีเลฟเทรีออส คีรีอาคู เวนิเซลอส;Elefthérios Kyriákou Venizélos, กรีก: Ἐλευθέριος Κυριάκου Βενιζέλος; 23 สิงหาคม ค.ศ. 1864 - 18 มีนาคม ค.ศ. 1936) เป็นผู้นำชาวกรีกที่ประสบความสำเร็จในขบวนการปลดปล่อยชาติกรีกและเป็นรัฐบุรุษที่มีเสน่ห์ในช่วงยุคต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นที่จดจำจากการส่งเสริมนโยบายแนวเสรีนิยมประชาธิปไตยKitromilides, 2006, p. 178, Time, Feb.18,1924 เขาได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งกรีซหลายสมัย โดยดำรงตำแหน่งระหว่าง..

ใหม่!!: นักกฎหมายและอีเลฟเทริออส เวนิเซลอส · ดูเพิ่มเติม »

อ็องรี ลา ฟงแตน

อ็องรี ลา ฟงแตน (Henri La Fontaine; 22 เมษายน ค.ศ. 1854 – 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1943) เป็นนักกฎหมายและนักเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพชาวเบลเยียม เกิดที่กรุงบรัสเซลส์ ในปี..

ใหม่!!: นักกฎหมายและอ็องรี ลา ฟงแตน · ดูเพิ่มเติม »

ฮิลลารี คลินตัน

ลลารี ไดแอน ร็อดแดม คลินตัน เกิดวันที่ 26 ตุลาคม..

ใหม่!!: นักกฎหมายและฮิลลารี คลินตัน · ดูเพิ่มเติม »

ธนัญชัย บริบาล

นัญชัย บริบาล (3 ตุลาคม 2515 -) นักฟุตบอลชาวไทยเล่นในตำแหน่งกองกลาง ให้กับสโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ร่วมเล่นในฟุตบอลทีมชาติไทยตั้งแต่ปี 2540 และเล่นในทีมชาติชุดใหญ่ ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยผู้ฝึกสอนของสโมสรฟุตบอลลูกพ่อขุน ยูไนเต็.

ใหม่!!: นักกฎหมายและธนัญชัย บริบาล · ดูเพิ่มเติม »

ทอมัส มอร์

ทอมัส มอร์ (Thomas More) คริสตจักรโรมันคาทอลิกเรียกว่านักบุญทอมัส มอร์ เป็นนักกฎหมาย นักปรัชญาสังคม นักเขียน รัฐบุรุษ และนักมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ดำรงตำแหน่งองคมนตรีในพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ และประธานฝ่ายตุลาการอังกฤษตั้งแต่เดือนตุลาคม..

ใหม่!!: นักกฎหมายและทอมัส มอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ทนายความ

ทนายความ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: นักกฎหมายและทนายความ · ดูเพิ่มเติม »

คมสัน โพธิ์คง

มสัน โพธิ์คง เป็นนักนิติศาสตร์ชาวไทย อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เขามีชื่อเสียงจากการเป็นสมาชิกนักวิชาการกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ อันเป็นกลุ่มนักวิชาการที่รวมตัวกันเฉพาะกิจขนาดเล็กที่มีการพบปะพูดคุยเพื่อออกแถลงการณ์ในเรื่องที่กลุ่มเห็นว่าฝ่ายผู้มีอำนาจนั้นกระทำการไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือตามนโยบายที่ไม่สมเหตุสมผล อนึ่ง เขาเป็นคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550.

ใหม่!!: นักกฎหมายและคมสัน โพธิ์คง · ดูเพิ่มเติม »

ปริศนา (แก้ความกำกวม)

ปริศนา อาจหมายถึง.

ใหม่!!: นักกฎหมายและปริศนา (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

นักฟิสิกส์

นักฟิสิกส์ คือนักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาหรือปฏิบัติงานด้านฟิสิกส์ นักฟิสิกส์ศึกษาปรากฏการณ์ทางกายภาพอย่างกว้างขวางในทุกขนาด ตั้งแต่อนุภาคระดับต่ำกว่าอะตอม (sub atomic particles) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของสสาร (ฟิสิกส์ของอนุภาค) ไปจนถึงพฤติกรรมของวัตถุในเอกภพโดยรวม (จักรวาลวิทยา หรือ Cosmology) วิชาฟิสิกส์มีมากมายหลายสาขา แต่ละสาขามีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในสาขานั้น.

ใหม่!!: นักกฎหมายและนักฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

นายทหารพระธรรมนูญ

นายทหารพระธรรมนูญ (Staff judge advocate) คือ ทหารนักกฎหมาย คำว่า "นายทหารพระธรรมนูญ" โดยทั่วไปอาจมีความหมายได้สองนัย นัยแรกความหมายโดยกว้าง ๆ ได้แก่ นายทหารผู้ที่มีเหล่าทหารพระธรรมนูญโดยมิได้คำนึงถึงตำแหน่งหน้าที่อย่างหนึ่ง อีกนัยหนึ่งหมายความถึง นายทหารที่ดำรงตำแหน่งนายทหารพระธรรมนูญอีกอย่างหนึ่ง เนื่องด้วยจากภารกิจและหน้าที่ที่ต้องเป็นทั้งทหารและนักกฎหมายในเวลาเดียวกัน ก็จำเป็นจะต้องปฏิบัติหน้าที่ทั้งสองอย่างไปพร้อม ๆ กันให้ได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งในบทบาทหน้าที่ของการเป็นทหารก็จะต้องวางตนรักษาระเบียบวินัยของทหารโดยเคร่งครัด ครั้นเมื่อจะต้องปฏิบัติหน้าที่ในด้านกฎหมาย ก็จะต้องสวมวิญญาณเป็นนักกฎหมาย ที่ยึดหลักจริยธรรมสำหรับวิชาชีพด้วย ตำแหน่งนายทหารพระธรรมนูญและนายทหารพระธรรมนูญผู้ช่วยที่สังกัดกองทัพบกมีจำนวนทั่วประเทศประมาณ 400 นาย โดยทั่วไป อัตราประจำหน่วยกำลังรบจะมีนายทหารพระธรรมนูญ 1 นาย ต่อ 1 กรมทหาร.

ใหม่!!: นักกฎหมายและนายทหารพระธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

นาตาเลีย ปอกลอนสกายา

นาตาเลีย วลาดีมีรอฟนา ปอกลอนสกายา (p; Natalia Vladimirovna Poklonskaya; เกิด 18 มีนาคม 1980) เป็นอัยการสูงสุดแห่งสาธารณรัฐไครเมี.

ใหม่!!: นักกฎหมายและนาตาเลีย ปอกลอนสกายา · ดูเพิ่มเติม »

นิกมาทิลลา ยูลดาเชฟ

นิกมาทิลลา ทุลคิโนวิช ยูลดาเชฟ (Nigmatilla Tulkinovich Yuldashev; เกิด 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1962 Ministry of Justice) เป็นนักกฎหมายและนักการเมืองชาวอุซเบก หลังประธานาธิบดี อิสลาม คารีมอฟ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 กันยายน..

ใหม่!!: นักกฎหมายและนิกมาทิลลา ยูลดาเชฟ · ดูเพิ่มเติม »

นิติศาสตร์

นิติศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม.

ใหม่!!: นักกฎหมายและนิติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

แอนสท์ คัลเทนบรุนเนอร์

แอนสท์ คัลเทนบรุนเนอร์ (Ernst Kaltenbrunner) เป็นชาวเยอรมันเชื้อชาติออสเตรีย เป็นเจ้าหน้าที่อาวุโสของนาซีเยอรมนีระหว่าง สงครามโลกครั้งที่สอง.

ใหม่!!: นักกฎหมายและแอนสท์ คัลเทนบรุนเนอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แคลวิน คูลิดจ์

อห์น แคลวิน คูลิดจ์ จูเนียร์ (John Calvin Coolidge, Jr.; 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2415 – 5 มกราคม พ.ศ. 2476) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 30 ของประเทศสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2472 - พ.ศ. 2476) มักมีผู้เรียกเขาว่า "คาลผู้เงียบขรึม" คูลิดจ์เป็นนักกฎหมายจากรัฐเวอร์มอนต์ ไต่เต้าสู่วงการเมืองด้วยการลงเล่นการเมืองในรัฐแมสซาชูเซตส์จนได้เป็นผู้ว่าการรัฐ และจากฝีมือในการจัดการกับกรณีตำรวจบอสตันสไตค์เมื่อ พ.ศ. 2462 ทำให้คูลิดจ์เป็นที่รู้จักเด่นชัดในระดับประเทศ หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2463 คูลิดจ์ได้รับการเลือกตั้งเป็นรองประธานาธิดีคนที่ 29 และได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีแทนประธานาธิบดีวาร์เรน จี. ฮาร์ดิงซึ่งถึงอสัญกรรมในตำแหน่ง คูลิดจ์ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีโดยตรงเมื่อ พ.ศ. 2467 และได้รับการกล่าวว่าเป็นรัฐบาลอนุรักษนิยมขนาดเล็ก มีหลายอย่างที่แสดงให้เห็นว่าสไตล์การบริหารประเทศของคูลิดจ์ย้อนกลับไปสู่ยุคประธาธิบดีเฉื่อยของสหรัฐฯ ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 19 (พ.ศ. 2344-2403) แต่คูลิดจ์ก็ได้กู้ความเชื่อมั่นของทำเนียบขาวจากเรื่องอื้อฉาวที่เกิดขึ้นในสมัยประธานาธิบดีฮาร์ดิง และหมดวาระประธานาธิบดีด้วยความนิยมค่อนข้างสูง ดังที่นักเขียนชีวประวัติของคูลิดจ์ได้กล่าวว่า "คูลิดจ์ได้หลอมจิตวิญญาณและความหวังของคนชั้นกลาง สามารถแปลและเข้าใจถึงสิ่งที่คนกลุ่มนี้ไฝ่หาและแสดงออกมา เป็นตัวแทนของความอัจฉริยะของคนในระดับเฉลี่ยนั่นเองที่เป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นพลังของคูลิดจ์" มีหลายคนที่วิพากษ์วิจารณ์คูลิดจ์ในตอนหลังว่ามีส่วนทำให้เกิดการบริหารประเทศแบบมือใครยาวสาวได้สาวเอา (laissez-faire government) จนทำให้เกิดเศรษฐกิจตกต่ำสุดขีด ชื่อเสียงในด้านนี้ได้เกิดซ้ำอีกในสมัยประธานาธิบดีรีแกน แต่การประเมินการบริหารประเทศของคูลิดจ์ก็ยังแยกเป็นสองฝ่ายระหว่างผู้เห็นด้วยกับการปรับขนาดของคณะรัฐมนตรีให้เล็กลง กับ ฝ่ายที่เห็นว่ารัฐบาลกลางควรเข้าไปมีส่วนในการยับยั้งผลเสียที่กำลังแรงของระบบทุนนิยม.

ใหม่!!: นักกฎหมายและแคลวิน คูลิดจ์ · ดูเพิ่มเติม »

แซนฟอร์ด บี. โดล

แซนฟอร์ด แบลลาร์ด โดล (23 เมษายน พ.ศ. 2387 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2469) เป็นทนายความและนักกฎหมายในหมู่เกาะฮาวายในตอนที่เป็นราชอาณาจักร รัฐในอารักขา สาธารณรัฐ และดินแดน ศัตรูของพระบรมวงศานุวงศ์ฮาวายและเพื่อนของชนชั้นชุมชนผู้อพยพ โดลสนับสนุนความเป็นตะวันตกของรัฐบาลฮาวายและวัฒนธรรม หลังจากการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ เขาทำหน้าที่เป็นประธานาธิบดีฮาวายจนกระทั่งรัฐบาลของเขาประสบความสำเร็จในการผนวกฮาวายเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: นักกฎหมายและแซนฟอร์ด บี. โดล · ดูเพิ่มเติม »

โจ ไบเดิน

ซฟ โรบิเนตต์ ไบเดิน จูเนียร์ (Joseph Robinette Biden, Jr.) หรือเรียกอย่างง่ายว่า โจ ไบเดิน เป็นนักการเมืองชาวอเมริกัน ดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนที่ 47 ระหว่าง..

ใหม่!!: นักกฎหมายและโจ ไบเดิน · ดูเพิ่มเติม »

โทมัส อาร์. มาร์แชลล์

ทมัส ไรลีย์ มาร์แชลล์ (Thomas Riley Marshall; 14 มีนาคม พ.ศ. 2397 - 1 มิถุนายน พ.ศ. 2468) เป็นนักการเมืองชาวอเมริกัน ดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนที่ 28 ระหว่าง..

ใหม่!!: นักกฎหมายและโทมัส อาร์. มาร์แชลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ไรนซ์ พรีบัส

รนโฮลด์ ริชาร์ด "ไรนซ์" พรีบัส (Reinhold Richard "Reince" Priebus) เกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม..

ใหม่!!: นักกฎหมายและไรนซ์ พรีบัส · ดูเพิ่มเติม »

เวคอัปนิวส์

วคอัปนิวส์ (Wake Up News) เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทวิเคราะห์กับสนทนาเชิงข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบัน มีสถานะเทียบเท่าข่าวภาคเช้า ของสถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี ลักษณะเด่นของรายการอยู่ที่ทรรศนะการนำเสนอ ซึ่งแหลมคมและแตกต่างไปจากสื่อมวลชนกระแสหลัก โดยเฉพาะแนวความคิดทางการเมืองแบบก้าวหน้า รายการนี้ออกอากาศเป็นครั้งแรก เมื่อวันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 โดยมีชื่อตั้งต้นของรายการว่า "เวคอัปไทยแลนด์" (WAKE UP THAILAND) และผลิตรายการสดจากห้องส่ง ในทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 07:00-09:00 น. และออกอากาศซ้ำในเวลา 15:00-17:0น.

ใหม่!!: นักกฎหมายและเวคอัปนิวส์ · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์ บูแคนัน

มส์ บูแคนัน (/bjuːˈkænən/.) เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 15 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาคนที่ 17 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาจากรัฐเพนซิลเวเนี.

ใหม่!!: นักกฎหมายและเจมส์ บูแคนัน · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์ โจเซฟ ซิลเวสเตอร์

มส์ โจเซฟ ซิลเวสเตอร์ เจมส์ โจเซฟ ซิลเวสเตอร์ หรือชื่อเดิม เจมส์ โจเซฟ (James Joseph Sylvester หรือชื่อเดิม James Joseph; 3 กันยายน, ค.ศ. 1814 - 15 มีนาคม, ค.ศ. 1897) เป็นนักกฎหมายและนักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ.

ใหม่!!: นักกฎหมายและเจมส์ โจเซฟ ซิลเวสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ (โรลังยัคมินส์)

้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ (31 มกราคม พ.ศ. 2378 – 9 มกราคม พ.ศ. 2445) หรือชื่อจริงว่า กุสตาฟว์ อ็องรี อ็องฌ์ อีปอลิต รอแล็ง-ฌักแม็ง (Gustave Henri Ange Hippolyte Rolin-Jacquemyns) หรือนิยมเรียกว่า โรลังยัคมินส์ เป็นนักการทูตและนักการเมืองชาวเบลเยี่ยม ได้เข้ารับราชการในราชอาณาจักรสยามสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจ้าอยู่หัว และนับเป็นผู้มีคุณูปการต่อการพัฒนาระบบศาลยุติธรรมของสยาม.

ใหม่!!: นักกฎหมายและเจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ (โรลังยัคมินส์) · ดูเพิ่มเติม »

เทพ โชตินุชิต

นายเทพ โชตินุชิต เป็นอดีตนักการเมือง นักกฎหมาย และทนายความชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีที่ไม่ประจำกระทรวง และเป็นหัวหน้าพรรคการเมือง 2 พรรค คือ พรรคเศรษฐกร (พ.ศ. 2498 - พ.ศ. 2501) และพรรคแนวร่วม-เศรษฐกร (พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2514).

ใหม่!!: นักกฎหมายและเทพ โชตินุชิต · ดูเพิ่มเติม »

เทโอดอร์ มอมม์เซิน

ริสเตียน มัททิอัส เทโอดอร์ มอมม์เซิน (Christian Matthias Theodor Mommsen) (30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2360 - 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446) ชาวเยอรมัน เป็นนักวิชาการคลาสสิก, นักประวัติศาสตร์, นักกฎหมาย, นักข่าว, นักการเมือง, นักโบราณคดี ถือกันว่าเป็นคลาสสิกซิสต์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผลงานที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์โรมันยังคงมีความสำคัญในระดับพื้นฐานในการวิจัยจนแม้ในปัจจุบัน ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี..

ใหม่!!: นักกฎหมายและเทโอดอร์ มอมม์เซิน · ดูเพิ่มเติม »

เนติบัณฑิต

ียนเนติบัณฑิตชาวอังกฤษในศตวรรษที่ 19 เนติบัณฑิต (barrister, barrister-at-law, หรือ bar-at-law) เป็นนักกฎหมาย (lawyer) ประเภทหนึ่งในเขตอำนาจคอมมอนลอว์ ซึ่งส่วนใหญ่เชี่ยวชาญการว่าความและดำเนินคดีในโรงศาล ปฏิบัติงานเป็นต้นว่า ฟ้องและอุทธรณ์คดี ร่างเอกสารทางกฎหมาย วิจัยทางนิติศาสตร์ นิติปรัชญา หรือนิติประวัติศาสตร์ และให้ความเห็นทางกฎหมาย อนึ่ง ยังมักถือเป็นนักนิติศาสตร์ (jurist) ด้วย ในเขตอำนาจคอมมอนลอว์ เนติบัณฑิตต่างจากทนายความที่ปรึกษา (solicitor) ซึ่งเข้าถึงลูกความได้โดยตรงกว่า และมักดำเนินงานประเภทธุรกรรมทางกฎหมาย ขณะที่เนติบัณฑิตมักได้รับแต่งตั้งเป็นตุลาการ และน้อยครั้งที่จะรับว่าจ้างจากลูกความโดยตรง ในระบบกฎหมายบางอย่าง เช่น ของสกอตแลนด์ อเมริกาใต้ สแกนดิเนเวีย ปากีสถาน อินเดีย บังกลาเทศ เจอร์ซีย์ เกิร์นซีย์ และไอล์ออฟแมน ยังใช้คำว่า เนติบัณฑิต เป็นคำนำหน้าชื่อด้วย ในบางเขตอำนาจ มีการห้ามเนติบัณฑิตดำเนินคดี และกำหนดให้ต้องปฏิบัติงานตามคำสั่งของทนายที่ปรึกษาอาวุโสเท่านั้น โดยทนายความที่ปรึกษาจะรับหน้าที่ประสานระหว่างคู่ความและศาล รวมถึงจัดทำเอกสารทางศาล ส่วนในอังกฤษและเวลส์ เนติบัณฑิตอาจได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการมาตรฐานเนติบัณฑิตยสภา (Bar Standards Board) ให้ดำเนินคดีได้ การอนุญาตเช่นนี้ทำให้เนติบัณฑิตมีบทบาทซ้อนสอง คือ เป็นทั้งเนติบัณฑิตและทนายความ ในบางประเทศที่ใช้ระบบคอมมอนลอว์ เช่น นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย นักกฎหมายสามารถเป็นได้เนติบัณฑิตและทนายความ แต่คุณสมบัติสำหรับเนติบัณฑิตจะแยกต่างจากสำหรับทนายความ.

ใหม่!!: นักกฎหมายและเนติบัณฑิต · ดูเพิ่มเติม »

26 พฤษภาคม

วันที่ 26 พฤษภาคม เป็นวันที่ 146 ของปี (วันที่ 147 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 219 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: นักกฎหมายและ26 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

นักนิติศาสตร์นิติกร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »