โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ธรรมชาติวิทยา

ดัชนี ธรรมชาติวิทยา

ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ธรรมชาติวิทยา หรือ ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ หมายถึงคำรวมที่ใช้เรียกสรรพสิ่งทั้งหลายที่ปัจจุบันมองว่าเป็นศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีความเฉพาะชัดเจน นิยามเกือบทั้งหมดรวมถึงการศึกษาสิ่งมีชีวิต (เช่น ชีววิทยา รวมทั้งพฤกษศาสตร์และสัตววิทยา) นิยามอื่นได้ขยายเนื้อหารวมไปถึง บรรพชีวินวิทยา นิเวศวิทยา ดาราศาสตร์ หรือชีวเคมี รวมทั้งธรณีวิทยาและฟิสิกส์ หรือแม้แต่อุตุนิยมวิทยา บุคคลผู้สนใจในธรรมชาติวิทยาเรียกว่า "นักธรรมชาติวิทยา".

45 ความสัมพันธ์: ชาลส์ ดาร์วินชีววิทยาทางทะเลบทนำวิวัฒนาการพ.ศ. 2351พลินีผู้อาวุโสพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพรพิพิธภัณฑ์มดพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทยกรดฟอร์มิกกวางผาการสืบเชื้อสายร่วมกันการปรับตัว (ชีววิทยา)การเดินทางของจักรพรรดิมหาวิทยาลัยเอดินบะระรายการหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ราเชล คาร์สันวิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสกุลนกกระตั้วดำสกุลแมวลายหินอ่อนสมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิกสตีฟ เออร์วินหลุยส์ ลีกคีห้องสารภัณฑ์อัลเฟรด รัสเซล วอลเลซอาริสโตเติลอาร์ชดัชเชสมาเรีย ลีโอโพลดีนาแห่งออสเตรียธรรมชาติวิทยาธีโอดอร์ กิลล์ทุเรียนค็อนราท เก็สส์เนอร์งูพิษเฟียประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมืองประวัติศาสตร์โลกปลาฉลามหัวค้อนยาวแมวพัลลัสแรดชวาโยฮันน์ ไรน์โฮลด์ ฟอร์สเตอร์โยฮันน์ เบ็คมันน์โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์เบิร์ดส์ออฟอเมริกาเทคโนโลยีเดวิด แอทเทนเบอเรอห์Nepenthes beccariana24 พฤศจิกายน

ชาลส์ ดาร์วิน

ลส์ โรเบิร์ต ดาร์วิน (Charles Robert Darwin FRS; 12 กุมภาพันธ์ 1809 – 19 เมษายน 1882) เป็นนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ผู้ทำการปฏิวัติความเชื่อเดิม ๆ เกี่ยวกับที่มาของสิ่งมีชีวิต และเสนอทฤษฎีซึ่งเป็นทั้งรากฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่ และหลักการพื้นฐานของกลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) เขาตีพิมพ์ข้อเสนอของเขาในปี..

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและชาลส์ ดาร์วิน · ดูเพิ่มเติม »

ชีววิทยาทางทะเล

accessdate.

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและชีววิทยาทางทะเล · ดูเพิ่มเติม »

บทนำวิวัฒนาการ

"ต้นไม้บรรพชีวินวิทยาของสัตว์มีกระดูกสันหลัง" จากหนังสือ ''วิวัฒนาการมนุษย์'' ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5 (ลอนดอน, 1910) ของเฮเกิล (Ernst Haeckel) ประวัติวิวัฒนาการของสปีชีส์ต่าง ๆ สามารถจัดเป็นรูปต้นไม้วิวัฒนาการชาติพันธุ์ โดยมีสาขามากมายงอกออกจากลำต้นเดียวกัน วิวัฒนาการ (evolution) เป็นการเปลี่ยนแปลงในสรรพชีวิตตลอดหลายรุ่น และศาสตร์ชีววิทยาวิวัฒนาการ (evolutionary biology) เป็นศึกษาว่าเกิดขึ้นอย่างไร ประชากรสิ่งมีชีวิตวิวัฒนาผ่านการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมซึ่งเข้ากับการเปลี่ยนแปลงลักษณะปรากฏของสิ่งมีชีวิต การเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมรวมทั้งการกลายพันธุ์ ซึ่งเกิดจากความเสียหายของดีเอ็นเอหรือข้อผิดพลาดในการถ่ายแบบดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิต เมื่อความหลากหลายทางพันธุกรรมของประชากรเปลี่ยนไปอย่างไม่เจาะจงแบบสุ่มเป็นเวลาหลายรุ่นเข้า การคัดเลือกโดยธรรมชาติจะเป็นเหตุให้พบลักษณะสืบสายพันธุ์มากขึ้นหรือน้อยลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขึ้นอยู่กับความสำเร็จทางการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเช่นนั้น โลกมีอายุประมาณ 4,540 ล้านปี และหลักฐานสิ่งมีชีวิตเก่าแก่ที่สุดโดยไม่มีผู้คัดค้านสืบอายุได้อย่างน้อย ระหว่างมหายุคอีโออาร์เคียนหลังเปลือกโลกเริ่มแข็งตัว หลังจากบรมยุคเฮเดียนก่อนหน้าที่โลกยังหลอมละลาย มีซากดึกดำบรรพ์แบบเสื่อจุลินทรีย์ (microbial mat) ในหินทรายอายุ ที่พบในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย หลักฐานรูปธรรมของชีวิตต้น ๆ อื่นรวมแกรไฟต์ซึ่งเป็นสสารชีวภาพในหินชั้นกึ่งหินแปร (metasedimentary rocks) อายุ ที่พบในกรีนแลนด์ตะวันตก และในปี 2558 มีการพบ "ซากชีวิตชีวนะ (biotic life)" ในหินอายุ ในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย Early edition, published online before print.

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและบทนำวิวัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2351

ทธศักราช 2351 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและพ.ศ. 2351 · ดูเพิ่มเติม »

พลินีผู้อาวุโส

ลินีผู้อาวุโส (Pliny the Elder) หรือ กาอิอุส ปลีนิอุส แซกุนดุส (Gaivs Plinivs Secvndvs; ค.ศ. 23 – 25 สิงหาคม ค.ศ. 79) เป็นนักธรรมชาติวิทยา นักประพันธ์ และแม่ทัพชาวโรมันในสมัยจักรวรรดิโรมันตอนต้น และเป็นพระสหายของจักรพรรดิแว็สปาซิอานุส พลินีใช้เวลาส่วนใหญ่ในการศึกษา การเขียน และการสืบสวนเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและภูมิศาสตร์ งานชิ้นสำคัญที่สุดที่เขียนคือสารานุกรมชื่อ ธรรมชาติวิทยา (Natvralis Historia) ที่กลายมาเป็นแบบอย่างในการเขียนงานประเภทนี้ต่อมา พลินีเป็นลุงของพลินีผู้เยาว์ (Pliny the Younger).

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและพลินีผู้อาวุโส · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร

ัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร ตั้งอยูเลขที่ 302 ศูนย์ราชการจังหวัดชุมพร ถนนอาภากร ตำบลนาชะอัง อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร 86000 ภายจะจัดนิทรรศการใน อาคารพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติชุมพร จะมีทั้งการจัดแสดงมรดกดีเด่นของจังหวัดชุมพร เรื่องประวัติศาสตร์จังหวัดชุมพร ธรรมชาติวิทยา เส้นทางพายุไต้ฝุ่นที่พัดถล่มในจังหวัดชุมพร ชุมชนโบราณเขาสามแก้วแสดงให้เห็นถึงความเป็นอยู่ในหมู่บ้านนี้ ฯลฯ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติชุมพรเปิดแสดง 09.00 - 16.00 นาฬิกา วันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ.

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์มด

ัณฑ์มด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Ant Museum, Kasetsart University) ตั้งอยู่ที่ตึกวินิจวนันดร ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2544 พิพิธภัณฑ์มดเป็นการจัดแสดงแบบธรรมชาติวิทยา ภายในจะจัดแสดงเรื่องของมด เช่น การสื่อสารของมด, การวิวัฒนาการของมด, การสร้างรังของมด ฯลฯ.

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและพิพิธภัณฑ์มด · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย

ัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย เป็นพิพิธภัณฑ์ที่สากลเรียกว่า Natural History Museum อันเป็นสถานที่รวบรวมและจัดแสดงวัตถุธรรมชาติ (ธรรมชาติวิทยา) ทั้งในด้านธรณีวิทยา พฤกษศาสตร์ สัตวศาสตร์ ทางทะเลเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ตั้งอยู่ริมทะเลบริเวณเขาหมาจอ ตำบลแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี อยู่ตรงข้ามเกาะแสมสาร มีพื้นที่ประมาณ 16 ไร่ เป็นหนึ่งใน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สิ่งก่อสร้างมีลักษณะเป็นอาคารไต่ระดับเขาถึงยอดเนินเป็นอาคารรูปพัด เพื่อให้มองเห็นทัศนียภาพมุมกว้างของเกาะและทะเลโดยมุ่งที่จะให้ผู้ชมเห็นความงดงามของท้องทะเลไทย แล้วเกิดจินตนาการและความปิติที่จะรักษาทรัพยากรธรรมชาติไว้ตามแนวพระราชดำริพระราชทานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ว่า "ให้สำรวจตั้งแต่ยอดเขาถึงใต้ทะเล" กองทัพเรือได้น้อมเกล้าฯ รับพระราชดำริมาประมวลเป็นรูปแบบการก่อสร้างและหลักการการจัดการพิพิธภัณฑ์ฯ จนกระทั่งบัดนี้การก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทยบนฝั่งแสมสารรวมทั้งสวนพฤกษศาสตร์ และเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนเกาะแสมสารแล้วเสร็จสมบูรณ์และเปิดให้บริการแล้วตั้งแต่ 30 ตุลาคม..

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย · ดูเพิ่มเติม »

กรดฟอร์มิก

กรดฟอร์มิก หรือกรดมด (Formic acid) เป็นกรดคาร์บอกซิลิกชนิดหนึ่งที่โครงสร้างไม่ซับซ้อน มีสูตรโมเลกุลว่า CH2O2 และเรียกตามระบบ IUPAC ว่า กรดเมทาโนอิก (Methanoic acid), พบตามธรรมชาติในสัตว์จำพวกมดและผึ้ง ซึ่งมีไว้สำหรับป้องกันตัวจากศัตรู, โดยคำว่า "formic" ได้มาจากคำในภาษาละตินว่า formica ซึ่งแปลว่ามดนั่นเอง.

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและกรดฟอร์มิก · ดูเพิ่มเติม »

กวางผา

กวางผา (Gorals) เป็นสกุลของสัตว์กีบคู่จำพวกแอนทีโลปสกุลหนึ่ง ในวงศ์ Bovidae ใช้ชื่อสกุลว่า Naemorhedus.

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและกวางผา · ดูเพิ่มเติม »

การสืบเชื้อสายร่วมกัน

ในสาขาชีววิทยาวิวัฒนาการ การสืบเชื้อสายร่วมกัน หรือ การสืบสกุลร่วมกัน (Common descent) เป็นทฤษฎีที่อธิบายว่ากลุ่มสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ ได้มีบรรพบุรุษร่วมกันใกล้สุด (most recent common ancestor, MRCA) อย่างไร มีหลักฐานว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลกสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษร่วมกัน และในปี 2559 นักวิทยาศาสตร์ก็ได้ระบุยีน 355 ตัวจากบรรพบุรุษร่วมกันของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลก สิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กันจะมีบรรพบุรุษร่วมกันในช่วงการเกิดสปีชีส์ ที่สปีชีส์ต่าง ๆ จะกำเนิดจากกลุ่มบรรพบุรุษเดียวกัน โดยกลุ่มที่มีบรรพบุรุษร่วมกันใกล้กันกว่า ก็จะเป็นญาติใกล้ชิดกันมากกว่า และสิ่งมีชีวิตที่ยังมีชีวิตอยู่ทั้งหมดก็ได้มีบรรพบุรุษร่วมกันที่เรียกว่า บรรพบุรุษร่วมที่ใกล้กันที่สุดของสิ่งมีชีวิตบนโลก (LUCA) ซึ่งมีชีวิตประมาณ 3,900 ล้านปีก่อน (โดยโลกเกิดเมื่อ 4,450 ล้านปี ± 1% ก่อน) หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดของสิ่งมีชีวิตบนโลก 2 ชิ้นก็คือ.

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและการสืบเชื้อสายร่วมกัน · ดูเพิ่มเติม »

การปรับตัว (ชีววิทยา)

ในชีววิทยา คำว่า การปรับตัว (adaptation, adaptive trait) มีความหมาย 3 อย่างที่เกี่ยวข้องกัน คือ.

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและการปรับตัว (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

การเดินทางของจักรพรรดิ

การเดินทางของจักรพรรดิ (La Marche de l'empereur; March of the Penguins) เป็นภาพยนตร์สารคดีฝรั่งเศสเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาที่สร้างในปี ค.ศ. 2005 ที่กำกับและร่วมเขียนโดยลูค ฌาคเคต์ และสร้างร่วมกับ Bonne Pioche และสมาคมเนชันแนลจีโอกราฟิก เนื้อหาของภาพยนตร์เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับวัฏจักรของการผสมพันธุ์ของเพนกวินจักรพรรดิของทวีปแอนตาร์กติกา ในฤดูใบไม้ร่วงเพนกวินที่มีอายุในช่วงที่เหมาะแก่การผสมพันธุ์ (ห้าปีหรือแก่กว่า) ก็จะทิ้งทะเลเพื่อเดินทางไปทำการผสมพันธุ์ยังถิ่นฐานธรรมชาติที่ลึกเข้าไปในแผ่นดินทวีปแอนตาร์กติกาที่เป็นบริเวณที่ทำการเดินทางมาตั้งแต่ในสมัยบรรพบุรุษ เมื่อไปถึงเพนกวินก็จะหาคู่ ถ้าสำเร็จก็จะมีลูกนกเพนกวิน การที่ลูกนกจะอยู่รอดได้ในสภาวะอากาศอันทารุณ ทั้งพ่อและแม่ก็จะต้องเดินทางระหว่างมหาสมุทรและบริเวณผสมพันธุ์หลายเที่ยวเพื่อนำอาหารกลับมาเลี้ยงลูก การเดินทางของจักรพรรดิได้รับรางวัลออสการ์ ในปี ค.ศ. 2005 ในฐานะที่เป็นภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม ดนตรีประกอบภาพยนตร์ต้นฉบับภาษาฝรั่งเศส แต่งและขับร้องโดยเอมิลี ไซมอน นักดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ชาวฝรั่งเศส ส่วนฉบับที่ฉายในสหรัฐอเมริกา ได้เปลี่ยนเป็นดนตรีประกอบ (ไม่มีเพลงร้อง) แต่งโดยอเล็กซ์ วูร์แมน นักแต่งดนตรีประกอบภาพยนตร์ชาวอเมริกัน ภาพยนตร์ต้นฉบับใช้เสียงนักแสดงพากย์เหมือนกับเสียงเพนวินพูดคุยกัน โดยภาพยนตร์ฉบับที่ฉายในฮังการีและเยอรมนีก็พากย์ในลักษณะนี้เช่นเดียวกัน ส่วนฉบับที่ฉายในสหรัฐอเมริกา ได้เปลี่ยนวิธีพากย์เป็นการบรรยายในแบบสารคดี ใช้เสียงภาษาอังกฤษของมอร์แกน ฟรีแมน, ฉบับที่ฉายในประเทศอินเดีย ใช้เสียงภาษาฮินดีและภาษาอังกฤษของอมิตาภ พัจจัน.

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและการเดินทางของจักรพรรดิ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเอดินบะระ

ตึกโอลด์คอลเลจ ที่ตั้งของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอดินบะระ (The University of Edinburgh; Universitas Academica Edinburgensis) ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1583 เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่อันดับ 4 ของสกอตแลนด์ ถัดจาก มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูวส์ (ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1410) มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ (ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1451) และ มหาวิทยาลัยอเบอร์ดีน (ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1495) มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในด้านการสอนและการวิจัย ตั้งอยู่ที่เมืองเอดินบะระ สกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร เอดินบะระเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยโบราณของสกอตแลนด์ และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงที่สุดในสหราชอาณาจักร เอดินบะระเป็นสมาชิกของกลุ่มรัสเซล (Russell Group) ซึ่งเป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยวิจัยของสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ยังเป็นมหาวิทยาลัยเดียวของสกอตแลนด์ (และมหาวิทยาลัยเดียวในสหราชอาณาจักร นอกเหนือจาก เคมบริดจ์ และอ๊อกซฟอร์ด) ที่เป็นสมาชิกของ Coimbra Group และ LERU สองกลุ่มมหาวิทยาลัยชั้นนำของยุโรป และยังเป็นสมาชิกของเครือข่ายมหาวิทยาลัยวิจัย Universitas 21 อีกด้วย ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 มหาวิทยาลัยเอดินบะระได้กลายเป็นศูนย์กลางของยุครู้แจ้งของยุโรป (European Enlightenment) และกลายเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่สำคัญที่สุดของทวีปยุโรป.

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและมหาวิทยาลัยเอดินบะระ · ดูเพิ่มเติม »

รายการหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้

การจัดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้เป็นระบบการจำแนกห้องสมุดประกอบด้วย 10 หมวดใหญ่ (class) แต่ละหมวดใหญ่แบ่งเป็นสิบหมวดย่อย (division) แต่ละหมวดย่อยมีสิบหมู่ย่อย (section) ตัวอย่างเช่น หมวดใหญ่ 600 ("เทคโนโลยี") มีหมวดย่อย 630 ("เกษตรกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง") ซึ่งมีหมู่ย่อย 636 ("การเลี้ยงสัตว์") ในทางปฏิบัติ มีทั้งหมด 99 จาก 100 หมวดย่อยและ 908 จาก 1000 หมู่ย่อย เนื่องจากบางส่วนเลิกใช้แล้วหรือยังไม่กำหน.

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและรายการหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ · ดูเพิ่มเติม »

ราเชล คาร์สัน

ราเชล คาร์สัน ราเชล หลุยส์ คาร์สัน (Rachel Louise Carson; 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2450 — 14 เมษายน พ.ศ. 2507) นักธรรมชาติวิทยาและนักรณรงค์ เกิดที่เมืองสปริงเดล รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์แล้วเข้าทำงานด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลในหน่วยงานสัตว์น้ำและสัตว์ป่าของสหรัฐฯ ระหว่าง..

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและราเชล คาร์สัน · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

วิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (evolution of mammalian auditory ossicles) เป็นเหตุการณ์ทางวิวัฒนาการที่มีหลักฐานยืนยันดีที่สุด และสำคัญที่สุด เหตุการณ์หนึ่ง โดยมีทั้งซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ (transitional fossil) จำนวนมากและตัวอย่างที่เยี่ยมของกระบวนการ exaptation คือการเปลี่ยนจุดประสงค์ของโครงสร้างที่มีอยู่แล้วในระหว่างวิวัฒนาการ ในสัตว์เลื้อยคลาน แก้วหูจะเชื่อมกับหูชั้นในผ่านกระดูกท่อนเดียว คือ columella ในขณะที่ขากรรไกรล่างและบนจะมีกระดูกหลายท่อนที่ไม่พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม คือ ในช่วงวิวัฒนาการของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กระดูกชิ้นหนึ่งของขากรรไกรล่างและบน (articular และ quadrate) หมดประโยชน์โดยเป็นข้อต่อ และเกิดนำไปใช้ใหม่ในหูชั้นกลาง ไปเป็นตัวเชื่อมกับกระดูกโกลนที่มีอยู่แล้ว รวมกันกลายเป็นโซ่กระดูกสามท่อน (โดยเรียกรวมกันว่ากระดูกหู) ซึ่งถ่ายทอดเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่า และดังนั้นช่วยให้ได้ยินได้ดีกว่า ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กระดูกหูสามท่อนนี้เรียกว่า กระดูกค้อน กระดูกทั่ง และกระดูกโกลน ตามลำดับ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์ปีกยังต่างจากสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ เพราะมีคอเคลียที่วิวัฒนาการเกิดขึ้น หลักฐานว่า กระดูกค้อนและกระดูกทั่งมีกำเนิดเดียวกัน (homologous) กับกระดูก articular และ quadrate ของสัตว์เลื้อยคลานเบื้องต้นมาจากคัพภวิทยา แล้วต่อมา การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพมากมายก็ได้ยืนยันข้อสรุปนี้ โดยให้ประวัติการเปลี่ยนสภาพอย่างละเอียด ส่วนวิวัฒนาการของกระดูกโกลนจาก hyomandibula เป็นเหตุการณ์ต่างหากที่เกิดขึ้นก่อน.

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและวิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม · ดูเพิ่มเติม »

สกุลนกกระตั้วดำ

ำหรับนกกระตั้วดำอีกชนิด ดูที่: นกกระตั้วดำ นกกระตั้วดำ (Black cockatoo, Dark cockatoo) เป็นสกุลของนกปากขอขนาดใหญ่ ในวงศ์นกกระตั้ว (Cacatuidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Calyptorhynchus สกุลนี้บรรยายทางวิทยาศาสตร์โดยนักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส อองเซลเม่ เกต็อง เดมาไรซ์ ในปี ค.ศ. 1826 พบทั้งหมด 5 ชนิด ทั้งหมดส่วนใหญ่มีขนสีทึบทึมเช่น สีเทา หรือสีน้ำตาลเข้ม และการอนุกรมวิธานจะพิจารณาตามตามขนาดและบางส่วนของขนขนาดเล็กสีแดง, สีเทา และสีเหลืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในขนหาง จัดได้ว่ามีลักษณะทางพันธุกรรมที่ใกล้เคียงกับนกกระตั้วแก๊ง-แก๊ง (Callocephalon fimbriatum) และนกคอกคาเทล (Nymphicus hollandicus) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่ามาก ถือได้ว่าเป็นสกุลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของนกกระตั้วที่มิได้มีขนสีขาว และแบ่งออกได้เป็น 2 สกุลย่อย คือ Calyptorhynchus และ Zanda โดยพิจารณาจากสีขนและความแตกต่างกันระหว่าง.

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและสกุลนกกระตั้วดำ · ดูเพิ่มเติม »

สกุลแมวลายหินอ่อน

กุลแมวลายหินอ่อน (Marbled cat) เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์แมว (Felidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Pardofelis โดยคำว่า Pardofelis นั้นเป็นภาษาละติน 2 คำ คือ pardus หมายถึง เสือดาว และ felis หมายถึง แมว สัตว์ที่อยู่ในสกุลนี้นั้น มีด้วยกัน 3 ชนิด กระจายพันธุ์ในทวีปเอเชีย ตั้งแต่ภาคใต้ของจีน, อินโดจีน จนถึงเกาะบอร์เนียว โดยสกุลนี้ถูกตั้งขึ้นโดยนักสำรวจและนักธรรมชาติวิทยาชาวรัสเซีย นิโคไล เซเวอร์ทซอฟ ในปี ค.ศ. 1858 โดยมีแมวลายหินอ่อนเป็นต้นแบบ จากการศึกษาพบว่าสกุลนี้ได้พัฒนาตัวเองขึ้นมาเมื่อ 9.4 ล้านปีก่อน Johnson, W. E., Eizirik, E., Pecon-Slattery, J., Murphy, W. J., Antunes, A., Teeling, E., O'Brien, S. J. (2006).

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและสกุลแมวลายหินอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

สมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิก

มาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิก (National Geographic Society) เป็นองค์กรด้านวิทยาศาสตร์และการศึกษาแห่งหนึ่งของโลกที่ไม่แสวงหาผลกำไร มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นองค์กรที่สืบเสาะค้นหาเรื่องราวอันน่าทึ่งของภูมิศาสตร์และธรรมชาติวิทยาทั้งหมด ทั้งยังส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและรักษาโบราณสถานและโบราณวัตถุต่างๆ และยังศึกษาวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์โลก หัวใจของภารกิจของสมาคม คือ " เพิ่มพูนและทำให้ความรู้ทางภูมิศาสตร์กระจ่าง เนื่องจากการสนับสนุนการปกปักรักษาวัฒนธรรมของโลก, ประวัติศาสตร์และการสำรวจธรรมชาติ " จอห์น เอ็ม. ฟาเฮย์,จูเนียร์ ประธานและซีอีโอสมาคมกล่าว สมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิกมีจุดมุ่งหมายที่จะแนะนำให้ผู้คนดูแลรักษาโลกในนี้ สมาคมนี้มีผู้ดูแล 23 คน ซึ่งเป็นสมาชิกคณะผู้ดูแลสมาคม ซึ่งมาจากหลากหลายสาขาอาชีพ เช่น นักวิชาการ, ธุรกิจส่วนตัว, นักวิทยาศาสตร์, พนักงงานบริษัทเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและนักอนุรักษ์ เป็นต้น.

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและสมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิก · ดูเพิ่มเติม »

สตีฟ เออร์วิน

ตีเฟน โรเบิร์ต "สตีฟ" เออร์วิน (Stephen Robert "Steve" Irwin) (22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 - 4 กันยายน พ.ศ. 2549) ชื่อเล่นว่า "นักล่าจระเข้" เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องสัตว์ป่าชาวออสเตรเลีย บุคคลในโทรทัศน์ และนักอนุรักษ์ธรรมชาติ เออร์วินมีชื่อเสียงทั่วโลกจากรายการโทรทัศน์ เดอะคร็อกโคไดล์ฮันเตอร์ (The Crocodile Hunter) สารคดีสัตว์ที่ออกอากาศทั่วโลก จัดรายการร่วมกับภรรยาชื่อ เทร์รี เขาและภรรยาเป็นเจ้าของสวนสัตว์ออสเตรเลียซู ก่อตั้งโดยพ่อแม่ของเออร์วินในเบียร์วาห์ ประมาณ 80 กิโลเมตร (50 ไมล์) ทางเหนือของบริสเบน เมืองหลวงของรัฐควีนส์แลนด์ เออร์วินเสียชีวิตในวันที่ 4 กันยายน..

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและสตีฟ เออร์วิน · ดูเพิ่มเติม »

หลุยส์ ลีกคี

หลุยส์ ซีมอร์ บาเซตต์ ลีกคี (Louis Seymour Bazett Leakey; 7 สิงหาคม ค.ศ. 1903 - 1 ตุลาคม ค.ศ. 1972) นักบรรพชีวินวิทยาและธรรมชาติวิทยาชาวเคนยา ผู้มีส่วนสำคัญในการศึกษาวิวัฒนาการของมนุษย์จากการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมของเอป เป็นกำลังสำคัญในการก่อตั้งองค์กรเพื่อวิจัย และพิทักษ์สัตว์ป่าในแอฟริกา หลุยส์ ลีกคี เกิดในครอบครัวมิชชันนารีชาวอังกฤษที่อาศัยอยู่ในกรุงไนโรบี ประเทศเคนยา จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ แล้วเริ่มงานเป็นหมอสอนศาสนา ก่อนจะหันมาศึกษางานด้านโบราณคดี มานุษยวิทยา และบรรพชีวินวิท.

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและหลุยส์ ลีกคี · ดูเพิ่มเติม »

ห้องสารภัณฑ์

“พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เวอร์มิเนีย” แสดงให้เห็นถึงลักษณะของห้องสารภัณฑ์ ห้องสารภัณฑ์ (Cabinet of curiosities หรือ Cabinets of Wonder หรือ Kunstkammer หรือ Wunderkammer) คือการสะสมสิ่งของที่น่าสนใจที่เนื้อหาของสิ่งที่อยู่ในข่ายการสะสมในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของยุโรปไม่ได้ให้คำจำกัดความที่แน่นอน ในสมัยปัจจุบัน “ห้องสารภัณฑ์” หมายถึงสิ่งที่อาจจะเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยา (ซึ่งบางครั้งอาจจะเป็นของปลอมก็ได้), ธรณีวิทยา, ชาติพันธุ์วรรณนา, โบราณคดี, รำลึกวัตถุทางศาสนาหรือประวัติศาสตร์, งานศิลปะ (รวมทั้งจิตรกรรมตู้) และวัตถุโบราณ “ห้องสารภัณฑ์ถือว่าเป็น “โลกย่อ” (microcosm) หรือ “เวทีโลก” (theater of the world) และ “เวทีแห่งความทรงจำ” ห้องสารภัณฑ์เป็นการสะท้อนถึงการพยายามควบคุมโลกภายนอกของผู้สะสมในรูปแบบของสิ่งที่สะสมในโลกส่วนตัว” ตามความเห็นของปีเตอร์ ทอมัสเกี่ยวกับสิ่งสะสมในห้องสารภัณฑ์ของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษเป็นรูปการโฆษณาชวนเชื่ออย่างหนึ่ง นอกจากนั้นแล้วห้องสารภัณฑ์ของนักสะสมผู้มีชื่อเสียงหลายคนที่ได้รับการบันทึกไว้เป็นหลักฐานในยุโรปของชนชั้นปกครอง, ขุนนาง, พ่อค้า หรือ นักวิทยาศาสตร์ ก็เป็นต้นตอของสิ่งที่กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ต่อม.

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและห้องสารภัณฑ์ · ดูเพิ่มเติม »

อัลเฟรด รัสเซล วอลเลซ

อัลเฟรด รัสเซล วอลเลซ''' อัลเฟรด รัสเซล วอลเลซ (Alfred Russel Wallace; พ.ศ. 2366 — 2456) นักธรรมชาติวิทยา นักภูมิศาสตร์ นักมานุษยวิทยาและนักชีววิทยาชาวอังกฤษ เกิดที่ อัสค์ มอนมัธไชร์ เวลส์ตะวันออกเฉียงใต้ วอลเลซได้เดินทางเก็บตัวอย่างพืชพรรณแถบแอมะซอนเมื่อ..

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและอัลเฟรด รัสเซล วอลเลซ · ดูเพิ่มเติม »

อาริสโตเติล

อาริสโตเติล หรือ แอริสตอเติล (Αριστοτέλης; Aristotle) (384 ปีก่อนคริสตกาล – 7 มีนาคม 322 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักปรัชญากรีกโบราณ เป็นลูกศิษย์ของเพลโต และเป็นอาจารย์ของอเล็กซานเดอร์มหาราช ท่านและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดท่านหนึ่ง ในโลกตะวันตก ด้วยผลงานเขียนหนังสือเกี่ยวกับฟิสิกส์ กวีนิพนธ์ สัตววิทยา การเมือง การปกครอง จริยศาสตร์ และชีววิทยา นักปรัชญากรีกโบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคืออาริสโตเติล เพลโต (อาจารย์ของอาริสโตเติล) และโสกราตีส (ที่แนวคิดของเขานั้นมีอิทธิพลอย่างสูงกับเพลโต) พวกเขาได้เปลี่ยนโฉมหน้าของปรัชญากรีก สมัยก่อนโสกราตีส จนกลายเป็นรากฐานสำคัญของปรัชญาตะวันตกในลักษณะปัจจุบัน โสกราตีสนั้นไม่ได้เขียนอะไรทิ้งไว้เลย ทั้งนี้เนื่องจากผลของแนวคิดปรากฏในบทสนทนาของเพลโตชื่อ เฟดรัส เราได้ศึกษาแนวคิดของเขาผ่านทางงานเขียนของเพลโตและนักเขียนคนอื่นๆ ผลงานของเพลโตและอริสโตเติลเป็นแก่นของปรัชญาโบราณ อริสโตเติลเป็นหนึ่งในไม่กี่บุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้ศึกษาแทบทุกสาขาวิชาที่มีในช่วงเวลาของเขา ในสาขาวิทยาศาสตร์ อริสโตเติลได้ศึกษา กายวิภาคศาสตร์, ดาราศาสตร์, วิทยาเอ็มบริโอ, ภูมิศาสตร์, ธรณีวิทยา, อุตุนิยมวิทยา, ฟิสิกส์,และ สัตววิทยา ในด้านปรัชญา อริสโตเติลเขียนเกี่ยวกับ สุนทรียศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, จริยศาสตร์, การปกครอง, อภิปรัชญา, การเมือง, จิตวิทยา, วาทศิลป์ และ เทววิทยา เขายังสนใจเกี่ยวกับ ศึกษาศาสตร์, ประเพณีต่างถิ่น, วรรณกรรม และ กวีนิพนธ์ ผลงานของเขาเมื่อรวบรวมเข้าด้วยกันแล้ว สามารถจัดว่าเป็นสารานุกรมของความรู้สมัยกรีก.

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและอาริสโตเติล · ดูเพิ่มเติม »

อาร์ชดัชเชสมาเรีย ลีโอโพลดีนาแห่งออสเตรีย

อาร์ชดัชเชสมาเรีย ลีโอโพลดีนาแห่งออสเตรีย (en.: Archduchess Maria Leopoldina of Austria, de.: Erzherzogin Maria Leopoldine von Österreich, pt.: Maria Leopoldina da Áustria) (พระนามเต็ม: มาเรีย ลีโอโพลดีน่า โจเซฟ่า แคโรไลน์, Maria Leopoldina Josepha Caroline von Habsburg-Lorraine (de Bragança)) ทรงเป็นอาร์ชดัชเชสแห่งออสเตรีย และนอกจากนี้ ยังทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งบราซิล และสมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกสอีกด้ว.

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและอาร์ชดัชเชสมาเรีย ลีโอโพลดีนาแห่งออสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

ธรรมชาติวิทยา

ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ธรรมชาติวิทยา หรือ ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ หมายถึงคำรวมที่ใช้เรียกสรรพสิ่งทั้งหลายที่ปัจจุบันมองว่าเป็นศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีความเฉพาะชัดเจน นิยามเกือบทั้งหมดรวมถึงการศึกษาสิ่งมีชีวิต (เช่น ชีววิทยา รวมทั้งพฤกษศาสตร์และสัตววิทยา) นิยามอื่นได้ขยายเนื้อหารวมไปถึง บรรพชีวินวิทยา นิเวศวิทยา ดาราศาสตร์ หรือชีวเคมี รวมทั้งธรณีวิทยาและฟิสิกส์ หรือแม้แต่อุตุนิยมวิทยา บุคคลผู้สนใจในธรรมชาติวิทยาเรียกว่า "นักธรรมชาติวิทยา".

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและธรรมชาติวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ธีโอดอร์ กิลล์

ีโอดอร์ กิลล์ (Theodore Gill) นักมีนวิทยาและสัตววิทยาชาวอเมริกัน มีชื่อเต็มว่า ธีโอดอร์ นิโคลัส กิลล์ (Theodore Nicholas Gill) เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1837 ที่นิวยอร์กซิตี้ เริ่มศึกษาภายใต้การสอนของภาคเอกชน กิลล์มีความสนใจในวิชาประวัติศาสตร์ธรรมชาติวิทยา และมีความสัมพันธ์อันดีกับเจ. คาร์สัน เบรวูร์ท ในการจัดเรียงอันดับของกีฏวิทยาและงานสะสมมีนวิทยา ก่อนที่จะเดินทางไปวอชิงตัน ดี.ซี. ในปี ค.ศ. 1863 เพื่อทำงานที่สถาบันสมิธโซเนียน กิลล์ทำงานด้านจัดหมวดหมู่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, ปลาและหอย และยังเป็นบรรณารักษ์ที่สถาบันแห่งนี้และยังเป็นผู้ช่วยอาวุโสห้องสมุดของสภาคองเกรสอีกด้วย กิลล์เป็นศาสตราจารย์ด้านสัตววิทยาที่มหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน และเป็นสมาชิกของสโมสรเมกาเธอเรี่ยม ที่สถาบันสมิธโซเนียน ในวอชิงตัน ดี.ซี.

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและธีโอดอร์ กิลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ทุเรียน

ทุเรียน เป็นไม้ผลในวงศ์ฝ้าย (Malvaceae) ในสกุลทุเรียน (Durio) (ถึงแม้ว่านักอนุกรมวิธานบางคนจัดให้อยู่ในวงศ์ทุเรียน (Bombacaceae) ก็ตาม) เป็นผลไม้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นราชาของผลไม้วันดี กฤษณพันธ์, สมุนไพรน่ารู้, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิมพ์ครั้งที่ 3..

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและทุเรียน · ดูเพิ่มเติม »

ค็อนราท เก็สส์เนอร์

็อนราท เก็สส์เนอร์ (Conrad Gessner; 26 มีนาคม ค.ศ. 1516 – 13 ธันวาคม ค.ศ. 1565) เป็นนักธรรมชาติวิทยา แพทย์และนักภาษาศาสตร์ชาวสวิส เกิดที่เมืองซูริก เป็นบุตรชายของเออร์ซุส เก็สส์เนอร์ และอกาเธอ ฟริตซ์ (หรือ ฟริก) ต่อมาเก็สส์เนอร์ไปอาศัยอยู่กับลุงที่ทำงานด้านสมุนไพร ทำให้เขาสนใจด้านพืชตั้งแต่เด็ก เก็สส์เนอร์เรียนที่เมืองซูริกและเซมินารีในเฟรามึนสเตอร์และได้รับการสนับสนุนให้เรียนที่มหาวิทยาลัยสทราซบูร์และมหาวิทยาลัยบูร์ช หลังบิดาเสียชีวิตในสงครามคัพเพิลครั้งที่สอง เก็สส์เนอร์ย้ายไปอยู่ที่เมืองสทราซบูร์และเรียนภาษาฮีบรูที่สถาบันในเมืองนั้น แต่ความขัดแย้งทางศาสนาทำให้เขาต้องย้ายกลับมาอยู่ที่ซูริก ต่อมาเก็สส์เนอร์แต่งงานกับบาร์บารา ซิงเจอรินและได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนให้เข้าเรียนที่เมืองบาเซิลในปี..

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและค็อนราท เก็สส์เนอร์ · ดูเพิ่มเติม »

งูพิษเฟีย

งูพิษเฟีย (Fea's viper; 白頭蝰亞科) เป็นงูเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์ย่อย Azemiopinae และสกุล Azemiops ในวงศ์ใหญ่ Viperidae งูชนิดนี้ถูกตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแด่ ลีโอนาร์โด เฟีย นักธรรมชาติวิทยาชาวอิตาเลียน โดยจอร์จ อัลเบิร์ต บุลเลเยอร์ นักมีนวิทยาและนักวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวฝรั่งเศส-เบลเยียม มีลักษณะโดยรวมคือ ระหว่างตาและช่องจมูกไม่มีแอ่งรับคลื่นอินฟราเรด กระดูกพาลาทีนมีก้านกระดูกโคเอนัลชิ้นใหญ่ ทางด้านท้ายของกระดูกฟรีฟอนทัลและค่อนไปทางด้านในมีก้านกระดูกออร์ไบทัล มีสีลำตัวที่โดดเด่นชัดเจนมาก โดยตามลำตัวเป็นสีฟ้าเทาอมดำและมีแต้มระหว่างเกล็ดเว้นระยะห่างกันประมาณ 1-2 ชิ้น มีลายแถบสีส้มขาว หัวมีขนาดเล็กเป็นสีส้มเหลืองตัดกับลำตัว ม่านตาเป็นสีส้มเหลืองในแนวตั้ง มีขนาดความยาวประมาณ 60-70 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์อยู่ตามกองใบไม้กิ่งไม้ตามพื้นดินของป่าที่มีความชื้นสูงและอุณหภูมิต่ำไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะในป่าไผ่และป่าเฟิร์นบนภูเขาสูงในระดับ 800-1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกหากินในเวลากลางคืนและกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในแถบเทือกเขาตั้งแต่ตอนเหนือของเวียดนาม, ภาคใต้ของจีน (มณฑลฟูเจี้ยน, มณฑลกวางสี, มณฑลเจียงซี, มณฑลกุ้ยโจว, มณฑลยูนนาน, มณฑลเสฉวน และมณฑลเจ้อเจียง), ตอนใต้ของธิเบต และในรัฐคะฉิ่น ทางภาคเหนือของพม่า งูชนิดนี้มีพิษที่คล้ายคลึงกับพิษของงูชนิด Tropidolaemus wagleri และไม่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือ.

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและงูพิษเฟีย · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง

ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง เป็นสาขาวิชาหนึ่งของวิชารัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมืองเป็นวิชาที่มีลักษณะเป็นสหวิทยาการ (interdisciplinary) ระหว่างวิชาประวัติศาสตร์ และปรัชญาการเมือง.

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์โลก

ประวัติศาสตร์โลกหรือประวัติศาสตร์มนุษยชาติเริ่มต้นที่ยุคหินเก่า ประวัติศาสตร์โลกไม่รวมประวัติศาสตร์ธรรมชาติที่ไม่ใช่มนุษย์และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยา ยกเว้นตราบเท่าที่โลกธรรมชาตินั้นกระทบต่อชีวิตมนุษย์เป็นอย่างมาก ประวัติศาสตร์โลกประกอบด้วยการศึกษาทางโบราณคดีและหลักฐานลายลักษณ์อักษรตั้งแต่สมัยโบราณ ประวัติศาสตร์โบราณที่มีบันทึกเริ่มต้นจากการประดิษฐ์การเขียน ทว่า รากเหง้าแห่งอารยธรรมมีมาแต่ก่อนการประดิษฐ์การเขียน สมัยก่อนประวัติศาสตร์เริ่มต้นในยุคหินเก่า ต่อด้วยยุคหินใหม่และการปฏิวัติเกษตรกรรม (ระหว่าง 8000 ถึง 5000 ปีก่อนคริสตกาล) ในพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ (Fertile Crescent) การปฏิวัติเกษตรกรรมเป็นเครื่องหมายการเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์มนุษย์ โดยมนุษย์เริ่มต้นทำการเกษตร คือ กสิกรรมและการเลี้ยงสัตว์อย่างเป็นระบบ เมื่อเกษตรกรรมก้าวหน้าขึ้น มนุษย์ส่วนมากเปลี่ยนจากวิถีชีวิตเร่ร่อนมาเป็นตั้งถิ่นฐานเป็นเกษตรกรในนิคมถาวร การเร่ร่อนยังมีอยู่ในบางที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ห่างไกลซึ่งมีพืชที่เพาะปลูกได้ไม่กี่ชนิด แต่ความมั่นคงสัมพัทธ์และผลิตภาพที่เพิ่มขึ้นจากกสิกรรมทำให้ชุมชนมนุษย์ขยายเป็นหน่วยที่ใหญ่กว่า ซึ่งความก้าวหน้าในการขนส่งก็มีส่วนช่วย เมื่อกสิกรรมพัฒนา การเพาะปลูกธัญพืชมีความซับซ้อนขึ้นและทำให้มีการแบ่งงานกันทำเพื่อเก็บอาหารระหว่างฤดูเพาะปลูก จากนั้นการแบ่งงานทำให้เกิดชนชั้นสูงที่สุขสบายและพัฒนาการนคร สังคมมนุษย์ที่ซับซ้อนมากขึ้นทำให้ระบบการเขียนและการบัญชีมีความจำเป็น หลายนครพัฒนาบนตลิ่งทะเลสาบและแม่น้ำ ตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสตกาล เกิดนิคมโดดเด่นและมีการพัฒนา เช่นในเมโสโปเตเมีย ริมตลิ่งแม่น้ำไนล์แห่งอียิปต์ และหุบแม่น้ำสินธุ อาจมีอารยธรรมคล้ายกันพัฒนาขึ้นตามแม่น้ำสำคัญในจีน แต่หลักฐานทางโบราณคดีของการสร้างเมืองอย่างกว้างขวางในที่นั้นชัดแจ้งน้อยกว่า ประวัติศาสตร์โลกเก่า (โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุโรปและเมดิเตอร์เรเนียน) โดยทั่วไปแบ่งเป็นยุคโบราณ ถึง..

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและประวัติศาสตร์โลก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามหัวค้อนยาว

ปลาฉลามหัวค้อนยาว (Winghead shark ชื่อวิทยาศาสตร์ Eusphyra blochii) คือสปีชีส์ในกลุ่มปลาฉลามหัวค้อนและเป็นส่วนหนึ่งในวงศ์ปลาฉลามหัวค้อน มีความยาวของลำตัวได้ถึง 1.9 เมตร มีสีน้ำตาลหรือสีดำ มีรูปร่างเพรียวบางและมีครีบหลังในรูปเคียวด้ามยาว ชื่อของฉลามชนิดนี้มาจากลักษณะส่วนหัวรูปค้อนที่มีขนาดใหญ่มากเรียกว่า cephalofoil ซึ่งมีความกว้างได้มากถึงครึ่งหนึ่งของความยาวลำตัว การใช้งานจากโครงสร้างลำตัวเช่นนี้ไม่ปรากฏชัดเจนแต่อาจเกี่ยวกับระบบประสาทสัมผัสของฉลาม ช่องว่างระหว่างตาทั้งสองข้างช่วยให้ฉลามมองด้วยระบบการเห็นภาพจากสองตาได้ดีเยี่ยม ส่วนรูจมูกที่ยาวมากนั้นอาจช่วยให้ฉลามตรวจจับและติดตามกลิ่นในน้ำได้ดียิ่งขึ้น ส่วนหัว cephalofoil ยังมีพื้นสัมผัสที่มีขนาดใหญ่สำหรับรูเปิดที่มีชื่อว่าampullae of Lorenziniและเส้นข้างลำตัวซึ่งส่งผลดีต่อความสามารถในการตรวจจับกระแสไฟฟ้าและการตรวจจับพลังงาน ปลาฉลามหัวค้อนยาวอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งน้ำตื้นของทะเลอินโด-แปซิฟิกตะวันตก โดยออกหาอาหารกลุ่มปลากระดูกแข็ง สัตว์พวกกุ้งกั้งปูและสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ฉลามหัวค้อนยาวออกลูกเป็นตัวโดยตัวอ่อนจะได้รับอาหารผ่านทางสายที่เชื่อมรก ตัวเมียจะตกลูกคราวละ 6-25 ตัว ขึ้นอยู่กับพื้นที่อาศัย ช่วงเวลาตกลูกมักเกิดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมิถุนายนหลังจากระยะเวลาตั้งครรภ์นาน 8-11 เดือน ฉลามที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์นี้ มักจะถูกล่าเพื่อเป็นอาหาร สำหรับเนื้อปลา ครีบ น้ำมันตับปลาและปลาป่น สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติได้ประเมินสถานะเป็นสิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เนื่องจากจำนวนของฉลามที่ลดลงเนื่องมาจากการถูกล่าหาประโยชน์ที่มากเกินไป.

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและปลาฉลามหัวค้อนยาว · ดูเพิ่มเติม »

แมวพัลลัส

แมวพัลลัส (Pallas's cat, Steppe cat) เป็นแมวป่าขนาดเล็ก ที่ค้นพบโดย ปีเตอร์ ไซมอน พัลลัส นักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมัน ในค.ศ. 1776 ถือเป็นชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Otocolobus.

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและแมวพัลลัส · ดูเพิ่มเติม »

แรดชวา

แรดชวา หรือ ระมาด หรือ แรดซุนดา (Javan Rhinoceros) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในอันดับสัตว์กีบคี่ในวงศ์แรด อยู่ในสกุลเดียวกันกับแรดอินเดีย เป็นหนึ่งในห้าชนิดของแรดที่ยังเหลืออยู่ ลำตัวยาว 3.1–3.2 ม.สูง 1.4–1.7 ม.มีขนาดใกล้เคียงกับแรดดำ เหนือจมูกมีนอสั้น ๆ หนึ่งนอมีขนาดเล็กกว่าแรดทุกชนิด จึงได้อีกชื่อว่า แรดนอเดียว แรดชวาเป็นแรดเอเชียที่มีการกระจายพันธุ์กว้างที่สุดตั้งแต่เกาะในอินโดนีเซีย ตลอดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย และจีน ปัจจุบันแรดชวาถูกคุกคามจนอยู่ในขั้นวิกฤติ มีเพียงสองแห่งเท่านั้นที่ยังมีประชากรหลงเหลืออยู่ในป่า ไม่มีแรดชวาจัดแสดงในสวนสัตว์ แรดชวาอาจเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่พบได้ยากที่สุดในโลก มีประชากรแรดน้อยกว่า 40-50 ตัวในอุทยานแห่งชาติอูจุงกูลนบนเกาะชวาในประเทศอินโดนีเซีย และประชากรจำนวนเล็กน้อย (ประเมินเมื่อปี พ.ศ. 2550) ไม่เกิน 8 ตัวในอุทยานแห่งชาติก๊าตเตียนในประเทศเวียดนาม แต่ในปัจจุบันมีการยืนยันว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว การลดลงของแรดชวาเกิดจากการล่าเอานอซึ่งเป็นสิ่งมีค่าในการแพทย์แผนจีนซึ่งมีราคาถึง $30,000 ต่อกก.ในตลาดมืด การสูญเสียถิ่นอาศัยโดยเฉพาะผลของสงครามอย่างสงครามเวียดนาม มีส่วนในการลดลงและขัดขวางการฟื้นฟูของจำนวนประชากร แม้พื้นที่ถิ่นอาศัยที่เหลือจะได้รับการปกป้องแต่แรดชวายังคงเสี่ยงต่อการถูกล่า โรคภัยไข้เจ็บ และการสูญเสียความหลากหลายทางพันธุกรรมซึ่งจะนำไปสู่การผสมพันธุ์ในสายเลือดเดียวกัน แรดชวามีอายุประมาณ 30-45 ปีในธรรมชาติ อาศัยอยู่ในป่าดินชื้น ป่าหญ้าชื้นแฉะ และลุ่มน้ำขนาดใหญ่ แรดชวาเป็นสัตว์สันโดษมักอยู่ลำพังเพียงตัวเดียว ยกเว้นช่วงจับคู่ผสมพันธุ์และเลี้ยงดูลูกอ่อน บางครั้งจะรวมฝูงกันเมื่อลงแช่ปลักโคลนหรือลงกินโป่ง มีอาหารหลักเป็น ใบไม้อ่อน ยอดไม้ ตาไม้ และผลไม้สุกที่ร่วงหล่นตามพื้นดิน นอกจากมนุษย์แล้วแรดชวาไม่มีศัตรูอื่นอีก แรดชวาจะหลีกเลี่ยงมนุษย์แต่จะโจมตีเมื่อรู้สึกถูกคุกคาม เป็นการยากที่นักวิทยาศาสตร์และนักอนุรักษ์จะศึกษาในแรดชวาโดยตรงเพราะพบยากมากและเป็นอันตรายต่อสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ชนิดจากการรบกวน นักวิจัยอาศัยเพียงกับดักกล้องและตัวอย่างมูลเพื่อประเมินสุขภาพและพฤติกรรม ดังนั้นจึงมีการศึกษาในแรดชวาน้อยกว่าในแรดทุกชน.

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและแรดชวา · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันน์ ไรน์โฮลด์ ฟอร์สเตอร์

ันน์ ไรน์โฮล์ด ฟอร์สเตอร์ (Johann Reinhold Forster) (22 ตุลาคม ค.ศ. 1729 - (9 ธันวาคม ค.ศ. 1798) ฟอร์สเตอร์เป็นชาวเยอรมันเชื้อสายสกอตแลนด์ผู้มีอาชีพเป็นนักเทศน์ (pastor) นิกายลูเทอรัน และเป็นนักธรรมชาติวิทยา ฟอร์สเตอร์มีบทบาทสำคัญในสมัยแรกของสาขาปักษาวิทยาของยุโรป และอเมริกาเหนือ แต่สิ่งสร้างความสำคัญให้แก่ฟอร์สเตอร์คือการร่วมในการเดินทางสำรวจมหาสมุทรแปซิฟิกครั้งที่สองของเจมส์ คุกในฐานะนักธรรมชาติวิทยากับลูกชายจอร์จ ฟอร์สเตอร.

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและโยฮันน์ ไรน์โฮลด์ ฟอร์สเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันน์ เบ็คมันน์

ันน์ เบ็คมันน์ (Johann Beckmann) (4 มิถุนายน ค.ศ. 1739 - (ค.ศ. 1811) โยฮันน์ เบ็คมันน์เป็นนักเขียนสาขาวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ผลงานชิ้นสำคัญของโยฮันน์ เบ็คมันน์คือ Beiträge zur Geschichte der Erfindungen (ประวัติการประดิษฐ์ การค้นพบ และที่มา) ที่เขียนระหว่างปี ค.ศ. 1780 ถึง ปี ค.ศ. 1805 เบ็คมันน์เป็นบุคคลแรกที่คิดคำว่า “เทคโนโลยี” ขึ้นมาใช้เพื่อที่จะหมายถึงศาสตร์ของการค้าขาย และเป็นคนแรกที่สอนวิชานี้และเขียนเกี่ยวกับหัวข้อนี้เป็นตำราการศึกษา เบ็คมันน์เกิดเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1739 ที่โฮยาในฮาโนเวอร์ บิดาเป็นนายไปรษณีย์และผู้เก็บภาษี เบ็คมันน์ได้รับการศึกษาที่ชตัดและที่มหาวิทยาลัยที่เกิตติงเก็นในสาขาเทววิทยา, คณิตศาสตร์, ฟิสิกส์, ธรรมชาติวิทยา และการเงินและการบริหาร หลังจากที่จบการศึกษาในปี ค.ศ. 1762 แล้วเบ็คมันน์ก็ทำการเดินทางเพื่อการศึกษาไปยังบรันสวิคและเนเธอร์แลนด์เพื่อไปสำรวจเหมือง โรงงาน และ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิท.

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและโยฮันน์ เบ็คมันน์ · ดูเพิ่มเติม »

โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์

ซอร์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ (Sir Thomas Stamford Bingley Raffles); (6 กรกฎาคม พ.ศ. 2324 – 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2369) ผู้บริหารอาณานิคม ผู้ก่อตั้งเมืองสิงคโปร์ เกิดบนเรือที่ลอยทะเลนอกฝั่งพอร์ตมอแรนต์ จาเมกา แรฟเฟิลส์ได้รับการศึกษาอย่างเป็นทางการน้อยมากแต่ก็ได้เข้าทำงานเป็นสมียนของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ หลังจากการศึกษาด้วยตนเอง แรฟเฟิลส์ ก็ได้รับตำแหน่งก้าวหน้าเป็นผู้ช่วยเลขานุการเมืองปีนังได้เลื่อนตำแหน่งอย่างรวดเร็วจนถึงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการเขตอาณานิคมชวา (พ.ศ. 2354 - พ.ศ. 2359) และ ได้ปฏิรูประบบการบริหารใหม่โดยสิ้นเชิง เมื่อปี พ.ศ. 2359 แรฟเฟิลส์ต้องกลับบ้านที่อังกฤษเนื่องจากการป่วยไข้ และได้รับการแต่งตั้งเป็นอัศวินชั้นเซอร์ เมื่อแรฟเฟิลส์หายป่วยและกลับมาดำรงตำแหน่งรองผู่ว่าราชการเขตอาณานิคม "เบิงกูลู" (พ.ศ. 2361 - พ.ศ. 2366) ก็ได้จัดตั้งนิคมขึ้นที่เกาะสิงคโปร์อีก แรฟเฟิลส์จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีบทบาทมากที่สุดผู้หนึ่งในการพัฒนาจักรวรรดิอังกฤษในตะวันออกไกล.

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและโทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ · ดูเพิ่มเติม »

ไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์

ทสัน อาร.

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์ · ดูเพิ่มเติม »

เบิร์ดส์ออฟอเมริกา

ร์ดส์ออฟอเมริกา เป็นชื่อหนังสือโดยนักธรรมชาติวิทยาและจิตรกร จอห์น เจมส์ อูดูบอง ซึ่งมีเนื้อหาเป็นภาพวาดและการบรรยายทางวิทยาศาสตร์ของนกในสหรัฐอเมริกาหลายชนิด หนังสือได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกเป็นส่วน ๆ ระหว่าง..

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและเบิร์ดส์ออฟอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

เทคโนโลยี

นาโนเทคโนโลยีเป็นที่สนใจในศตวรรษปัจจุบัน เทคโนโลยี หรือ เทคนิควิทยา มีความหมายค่อนข้างกว้าง โดยทั่วไปหมายถึงธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิร.

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและเทคโนโลยี · ดูเพิ่มเติม »

เดวิด แอทเทนเบอเรอห์

ซอร์เดวิด เฟรเดอริค แอทเทนเบอเรอห์ (David Attenborough หรือ David Frederick Attenborough, OM, CH, CVO, CBE, FRS, FZS; เกิด: 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1926 - ปัจจุบัน) พิธีกรรายการโทรทัศน์และนักนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียง แอทเทนเบอเรอห์เป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ทางด้านธรรมชาติวิทยามาเป็นเวลานานกว่า 60 ปี งานสำคัญคือการเขียนและการเสนอโปรแกรมชุด ““Life”” เก้าตอนร่วมกับแผนกธรรมชาติวิทยาของบีบีซี ซึ่งเป็นรายการสารคดีทางโทรทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูลการสำรวจสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลก แอทเทนเบอเรอห์ มีความสนใจในชีววิทยาของสิ่งมีชีวิตมาตั้งแต่เด็ก รวมถึงการถ่ายทอดทางพันธุกรรม และวิวัฒนาการ จึงได้สร้างภาพยตร์สารคดีของตัวเองขึ้นมาและได้ออกเผยแพร่หนึ่งชุด ซึ่งสารคดีชุดนั้นยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่ง ที่ในเวลาอีกหนึ่งปีต่อมากลายเป็นผู้ค้นพบรหัสทางพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในวงการวิทยาศาสตร์ แอทเทนเบอเรอห์ จบการศึกษาด้านธรรมชาติวิทยาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ หลังจากจบการศึกษาแล้ว ได้เข้ารับราชการเป็นทหารเรือ ในกองทัพเรือ โดยประจำการที่ตอนเหนือของแคว้นเวลส์เป็นเวลานาน 2 ปี จากนั้นจึงเข้าทำงานที่สำนักพิมพ์หนังสือเด็ก จากนั้นในปี..

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและเดวิด แอทเทนเบอเรอห์ · ดูเพิ่มเติม »

Nepenthes beccariana

Nepenthes beccariana (ได้ชื่อตามโอโดอาร์โด เบคคารี (Odoardo Beccari), นักพฤกษศาสตร์) เป็นพืชเขตร้อนชื้นในสกุลหม้อข้าวหม้อแกงลิง มันถูกจัดจำแนกโดยจอห์น มิวร์เฮด แมกฟาร์แลน (John Muirhead Macfarlane) ในปี..

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและNepenthes beccariana · ดูเพิ่มเติม »

24 พฤศจิกายน

วันที่ 24 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 328 ของปี (วันที่ 329 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 37 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ธรรมชาติวิทยาและ24 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ประวัติศาสตร์ธรรมชาตินักธรรมชาติวิทยา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »