โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตัวเหนี่ยวนำ

ดัชนี ตัวเหนี่ยวนำ

ตัวเหนี่ยวนำทั่วไป สัญลักษณ์แทนตัวเหนี่ยวนำ ตัวเหนี่ยวนำ (Inductor) บางครั้งถูกเรียกว่าคอยล์หรือรีแอคเตอร์(coil หรือ reactor)เป็นชิ้นส่วนในวงจรไฟฟ้าแบบพาสซีฟสองขั้วไฟฟ้า(ขา) มีคุณสมบัติในการป้องกันการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวมัน มันประกอบด้วยตัวนำ เช่นลวดทองแดงม้วนกันเป็นวงกลม เมื่อกระแสไหลผ่านตัวมัน พลังงานจะถูกเก็บไว้ชั่วคราวในรูปสนามแม่เหล็กในคอยล์นั้น เมื่อกระแสนั้นเปลี่ยนแปลง, สนามแม่เหล็กที่แปรตามเวลาจะทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าในตัวนำนั้น ตามกฎการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าของฟาราเดย์ ซึ่งจะต้านกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสที่สร้างมัน ทิศทางของสนามไฟฟ้าเกิดขึ้นตามกฏมือขวา ทิศทางของสนามเกิดในทิศทางของหัวแม่มือ, เมื่อกระแสไหลไปในทิศทางของนิ้วมือทั้งสี่ ตัวเหนี่ยวนำถูกกำหนดโดยการเหนี่ยวนำของมัน หรืออัตราส่วนของแรงดันไฟฟ้ากับอัตราการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้า ซึ่งมีหน่วยเป็น Henries (H) ตัวเหนี่ยวนำมีค่าปกติตั้งแต่ 1 μH (10- 6H)จนถึง 1 H ตัวเหนี่ยวนำจำนวนมากมีแกนเป็นแม่เหล็กที่ทำจากเหล็ก หรือเฟอร์ไรต์ภายในคอยล์ เหมือนกับตัวเก็บประจุและตัวต้านทาน ตัวเหนี่ยวนำเป็นหนึ่งในสามชิ้นส่วนวงจรเชิงเส้นแบบพาสซีฟที่ประกอบขึ้นเป็นวงจรไฟฟ้า ตัวเหนี่ยวนำถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กระแสสลับ (AC) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุปกรณ์วิทยุ มันถูกใช้ป้องกันการไหลของกระแส AC ขณะที่ยอมให้กระแส DC ผ่านไปได้ ตัวเหนี่ยวนำที่ถูกออกแบบมาเพื่อการนี้จะเรียกว่าโช๊ค(choke) มันยังถูกใช้ในตัวกรองอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแยกสัญญาณที่มีความถี่ที่แตกต่างกันและใช้ร่วมกับตัวเก็บประจุเพื่อทำเป็นวงจรปรับหาความถี่(tuner) ที่ใช้ในการปรับหาคลื่นสถานีของเครื่องรับวิทยุและโทรทัศน.

14 ความสัมพันธ์: ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์กฎการเหนี่ยวนำของฟาราเดย์กระแสเอ็ดดี้วิศวกรรมไฟฟ้าผลจากความใกล้ชิดขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าขดลวดเทสลาตัวเก็บประจุแหล่งจ่ายไฟไฟฟ้าไมโครอิเล็กทรอนิกส์เมมริสเตอร์เฮนรี (หน่วยวัด)เครือข่ายไฟฟ้า

ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Component) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่แยกออกเป็นชิ้นย่อยๆเป็นเอกเทศหรือเป็นอุปกรณ์ที่มีเอกลักษณ์ทางกายภาพในระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการส่งผลกระทบต่ออิเล็กตรอนหรือสาขาที่เกี่ยวข้องกับอิเล็กตรอน ตัวอย่างชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมากกว่าสองขั้วไฟฟ้า(ขาหรือลีดส์) เมื่อนำขาของชิ้นส่วนหลายชนิดมาบัดกรีเข้าด้วยกันบนแผงวงจรพิมพ์จะสร้างเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (วงจรย่อย) ที่มีฟังก์ชันที่เฉพาะเจาะจง (เช่นเครื่องขยายสัญญาณ, เครื่องรับสัญญาณวิทยุหรือ oscillator) ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐานอาจจะถูกเก็บในบรรจุภัณฑ์แยกชนิดกัน หรือจัดเรียงเป็นแถวหรือเครือข่ายของส่วนประกอบที่เหมือนกันหรือผสมกันภายในแพคเกจเช่นวงจรรวมเซมิคอนดักเตอร์, แผงวงจรไฟฟ้าไฮบริดหรืออุปกรณ์ฟิล์มหน.

ใหม่!!: ตัวเหนี่ยวนำและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

กฎการเหนี่ยวนำของฟาราเดย์

กฎการเหนี่ยวนำของฟาราเดย์ (Faraday's law of induction) เป็นกฎพื้นฐานของแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งทำนายว่าสนามแม่เหล็กจะมีอันตรกิริยากับวงจรไฟฟ้าเพื่อผลิตแรงเคลื่อนไฟฟ้า เป็นปรากฏการณ์ที่เรียก การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นหลักการทำงานพื้นฐานของหม้อแปลงไฟฟ้า ตัวเหนี่ยวนำ และมอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องกำเนิดไฟฟ้าและโซลินอยด์หลายชนิด สมการแม็กซ์เวลล์–ฟาราเดย์เป็นสามัญการของกฎของฟาราเดย์ และเป็นหนึ่งในสมการของแมกซ์เวลล์ หมวดหมู่:อิเล็กโทรไดนามิกส์ หมวดหมู่:สมการของแม็กซ์เวลล์.

ใหม่!!: ตัวเหนี่ยวนำและกฎการเหนี่ยวนำของฟาราเดย์ · ดูเพิ่มเติม »

กระแสเอ็ดดี้

กระแสเอ็ดดี้ (Eddy current) (หรือบางทีก็เรียกว่ากระแส Foucault) เป็นการไหลวนเป็นหลายวงรอบของกระแสไฟฟ้าที่ถูกเหนี่ยวนำขึ้นภายในตัวนำโดยการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กในตัวนำนั้นตามกฎของการเหนี่ยวนำของฟาราเดย์ กระแสเอ็ดดี้จะไหลเป็นวงรอบปิดภายในตัวนำในระนาบที่ตั้งฉากกับสนามแม่เหล็ก กระแสเหล่านี้สามารถถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภายในตัวนำที่ติดนิ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงโดยสนามแม่เหล็กที่แปรเปลี่ยนตามเวลาที่สร้างขึ้นโดยแม่เหล็กไฟฟ้าหรือหม้อแปลงกระแสสลับ (ตัวอย่าง) หรือโดยการเคลื่อนที่สัมพัทธ์ระหว่างแม่เหล็กและตัวนำที่อยู่บริเวณใกล้เคียง ขนาดของกระแสในวงรอบหนึ่งจะเป็นสัดส่วนกับความแรงของสนามแม่เหล็ก, พื้นที่ของวงรอบ, และอัตราการเปลี่ยนแปลงของฟลักซ์, และสัดส่วนที่แปรผกผันกับคุณสมบัติความต้านทานของวัสดุ ตามกฎของเลนซ์ กระแสเอ็ดดี้จะสร้างสนามแม่เหล็กสนามหนึ่งที่ตรงข้ามกับสนามแม่เหล็กที่สร้างมันขึ้นมา กระแสเอ็ดดี้จึงกลับมาเป็นปฏิปักษ์กับแหล่งที่มาของสนามแม่เหล็กนั้น ยกตัวอย่างเช่นพื้นผิวที่เป็นสื่อกระแสไฟฟ้าที่อยู่บริเวณใกล้เคียงจะออกแรงลากแรงหนึ่งบนแม่เหล็กที่กำลังเคลื่อนที่เพื่อต่อต้านกับการเคลื่อนที่ของแม่เหล็ก แรงลากนั้นเกิดขึ้นเนื่องจากกระแสเอ็ดดี้ที่ถูกเหนี่ยวนำในพื้นผิวโดยสนามแม่เหล็กที่กำลังเคลื่อนที่ ผลกระทบนี้จะถูกนำมาใช้ในตัวเบรกด้วยกระแสเอ็ดดี้ที่ถูกใช้ในการหยุดการหมุนของเครื่องมือไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วเมื่อเครื่องมือนั้นถูกถูกปิดกระแสไฟฟ้า กระแสที่ไหลผ่านความต้านทานของตัวนำยังกระจายพลังงานความร้อนในวัสดุอีกด้วย ดังนั้นกระแสเอ็ดดี้จึงเป็นแหล่งที่มาของการสูญเสียพลังงานในตัวเหนี่ยวนำ, หม้อแปลง, มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ที่ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) และเครื่องจักรกล AC อื่น ๆ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องมีการสร้างพิเศษให้กับอุปกรณ์เหล่านั้น เช่นการเคลือบแกนแม่เหล็กเพื่อลดกระแสเอ็ดดี้ กระแสเอ็ดดี้ยังถูกใช้อีกด้วยในการให้ความร้อนวัตถุในเตาเผาและอุปกรณ์ที่สร้างความร้อนโดยการเหนี่ยวนำ และในการตรวจสอบรอยแตกและตำหนิในชิ้นส่วนโลหะโดยใช้'เครื่องมือทดสอบกระแสเอ็ดดี้'.

ใหม่!!: ตัวเหนี่ยวนำและกระแสเอ็ดดี้ · ดูเพิ่มเติม »

วิศวกรรมไฟฟ้า

วิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering) เป็นสาขาที่ศึกษาทฤษฏีและการประยุกต์ใช้ ไฟฟ้า, คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ผู้ที่ประกอบวิชาชีพในสาขานี้เรียกว่า วิศวกรไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเป็นสาขาที่กว้างประกอบไปด้วยหลายสาขาย่อ.

ใหม่!!: ตัวเหนี่ยวนำและวิศวกรรมไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ผลจากความใกล้ชิด

ในตัวนำที่มี กระแสสลับ ไหลในตัวมัน ถ้ามีกระแสอื่นกำลังไหลผ่านตัวนำอื่นที่อยู่ใกล้เคียง เช่นภายในขดลวดที่อยู้ใกล้ชิดกัน การกระจายของกระแสไฟฟ้าภายในตัวนำแรกจะถูกจำกัดอยู่ในภูมิภาคขนาดเล็ก หรือเรียกว่า กระแสแออัด (current crowding) ผลที่เกิดขึ้นจะเรียกว่าเป็น ผลจากความใกล้ชิด (proximity effect) การแออัดนี้จะทำให้มีการเพิ่มขึ้นของความต้านทานที่มีประสิทธิผล (effective resistance) ของวงจร ซึ่งจะเพิ่มขึ้นตามความถี่ที่เพิ่มขึ้น.

ใหม่!!: ตัวเหนี่ยวนำและผลจากความใกล้ชิด · ดูเพิ่มเติม »

ขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้า

ลวดแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ (electromagnetic coil) เป็นตัวนำไฟฟ้าอย่างหนึ่งเช่น ลวดในรูปของขดลวด(coil), รูปเกลียวก้นหอยหรือเกลียวสปริง ขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าถูกใช้ในวิศวกรรมไฟฟ้า, ในการใช้งานที่กระแสไฟฟ้าจะมีปฏิสัมพันธ์กับสนามแม่เหล็ก, ในอุปกรณ์เช่นตัวเหนี่ยวนำ, แม่เหล็กไฟฟ้า, หม้อแปลง, และขดลวดเซ็นเซอร์ เป็นได้ทั้งกระแสไฟฟ้าจะถูกส่งผ่านลวดของคอยล์เพื่อสร้างสนามแม่เหล็ก หรือตรงกันข้าม สนามแม่เหล็กภายนอกที่แปรตามเวลาพาดผ่านด้านในของขดลวดสร้าง EMF(แรงดัน)ในตัวนำ กระแสไหลในตัวนำใดๆจะสร้างสนามแม่เหล็กวงกลมรอบตัวนำตามกฎของแอมแปร์ ประโยชน์ของการใช้รูปทรงแบบขดม้วนก็คือมันจะเพิ่ม ความแรงของสนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแส สนามแม่เหล็กที่เกิดจากแต่ละรอบที่แยกจากกันของลวดตัวนำทั้งหมดผ่านศูนย์กลางของขดลวดและซ้อนกัน(superpose) เพื่อสร้างสนามที่แข็งแกร่งที่นั่น จำนวนรอบของขดลวดยิ่งมาก สนามที่ถูกสร้างขึ้นก็ยิ่งแรง ในทางกลับกัน การเปลี่ยนแปลงของฟลักซ์แม่เหล็กภายนอกทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าในตัวนำตามกฎการเหนี่ยวนำของฟาราเดย์ แรงดันไฟฟ้า ที่ถูกเหนี่ยวนำสามารถทำให้เพิ่มขึ้นได้โดยพันลวดให้เป็นขดเพราะเส้นสนามจะตัดเส้นลวดหลายครั้ง มีขดลวดหลายประเภทที่ใช้ในอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิก.

ใหม่!!: ตัวเหนี่ยวนำและขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ขดลวดเทสลา

ลวดเทสลา ขดลวดเทสลา (Tesla coil) เป็นหม้อแปลงที่อาศัยหลักการเรโซแนนซ์ในวงจรไฟฟ้า โดยมีแกนเป็นอากาศ สามารถสร้างแรงดันไฟฟ้าระดับสูงได้อย่างน่าตกใจ ซึ่งเป็นหนทางนำส่งคลื่นวิทยุและทีวีในเวลาต่อมา นอกจากนั้น การค้นพบที่น่าสนใจที่สุดในเทสลาคอยส์ก็คือ สามารถส่งพลังไฟฟ้าผ่านอากาศที่เบาบางได้ เทสลาคอยส์ถูกสร้างขึ้นโดย นิโคลา เทสลา ซึ่งเป็นนักฟิสิกส์วิทยาศาสตร์ชาวโครเอเชีย เขาเคยได้ลองสร้างเทสลาคอยส์ ขนาดยักษ์เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูงมาก จนสามารถส่งกระแสไฟ 10,000 วัตต์ ผ่านอากาศและสามารถจุดดวงไฟที่อยู่ห่างออกไป 40 กิโลเมตรได้มากกว่า 200 ดวง โดยในปัจจุบันภาพยนตร์หลายเรื่องนิยมนำเทสลาคอยส์มาใช้ เมื่อต้องการฉากฟ้าผ่าฟ้าแลบ หรือการสปาร์กของกระแสไฟฟ้า ยกตัวอย่างเช่นหนังเรื่อง ฅนเหล็ก 2029 ภาค 2 (terminator II) ศึกอภินิหารพ่อมดถล่มโลก (the sorcerer’s Apprentice) เป็นต้น นอกจากในวงการภาพยนตร์แล้วในวงการดนตรีเองก็นิยมนำเสียงที่เกินจากแรงดันกระแสไฟฟ้ามาใช้ เพื่อเป็นเสียงประกอบที่สร้างความแปลกใหม่ไปในตัวอีกด้วย ส่วนประกอบเทสล่าคอ.

ใหม่!!: ตัวเหนี่ยวนำและขดลวดเทสลา · ดูเพิ่มเติม »

ตัวเก็บประจุ

ตัวเก็บประจุ หรือ คาปาซิเตอร์ (capacitor หรือ condenser) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ทำหน้าที่เก็บพลังงานในรูปสนามไฟฟ้า ที่สร้างขึ้นระหว่างคู่ฉนวน โดยมีค่าประจุไฟฟ้าเท่ากัน แต่มีชนิดของประจุตรงข้ามกัน บ้างเรียกตัวเก็บประจุนี้ว่า คอนเดนเซอร์ (condenser) แต่ส่วนใหญ่เรียกสั้น ๆ ว่า แคป (Cap) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานสำคัญในงานอิเล็กทรอนิกส์ และพบได้แทบทุกวงจร มีคุณสมบัติตรงข้ามกับตัวเหนี่ยวนำ จึงมักใช้หักร้างกันหรือทำงานร่วมกันในวงจรต่าง ๆ เป็นหนึ่งในสามชิ้นส่วนวงจรเชิงเส้นแบบพาสซีฟที่ประกอบขึ้นเป็นวงจรไฟฟ้า ในระบบจ่ายไฟฟ้าใช้ตัวเก็บประจุเป็นชุดหลายตัวเพิ่มค่าตัวประกอบกำลัง (Power factor) ให้กับระบบไฟฟ้าที่เรียกว่า แคปแบงค์ (Cap Bank) ตัวเก็บประจุบางชนิดในอนาคตมีความเป็นไปได้สูงที่จะถูกนำมาใช้แทนแบตเตอรี่ เช่น ตัวเก็บประจุยิ่งยวด (Supercapacitor).

ใหม่!!: ตัวเหนี่ยวนำและตัวเก็บประจุ · ดูเพิ่มเติม »

แหล่งจ่ายไฟ

รูปแสดงแหล่งจ่ายไฟแบบหลอดสูญญากาศ แขวนบนแร็ค ปรับได้ ทำงานที่ +/- 1500 volts DC, 0 to 100mA output, สามารถจำกัดกระแสได้ แหล่งจ่ายไฟ (Power supply)เป็นอุปกรณ์ที่จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับโหลดไฟฟ้.

ใหม่!!: ตัวเหนี่ยวนำและแหล่งจ่ายไฟ · ดูเพิ่มเติม »

ไฟฟ้า

ฟฟ้า (ήλεκτρον; electricity) เป็นชุดของปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ มีที่มาจากภาษากรีกซึ่งในสมัยนั้นหมายถึงผลจากสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเนื่องจากการปรากฏตัวและการไหลของประจุไฟฟ้า เช่นฟ้าผ่า, ไฟฟ้าสถิต, การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า นอกจากนี้ ไฟฟ้ายังทำให้เกิดการผลิตและการรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่นคลื่นวิทยุ พูดถึงไฟฟ้า ประจุจะผลิตสนามแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งจะกระทำกับประจุอื่น ๆ ไฟฟ้าเกิดขึ้นได้เนื่องจากหลายชนิดของฟิสิกซ์ดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: ตัวเหนี่ยวนำและไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครอิเล็กทรอนิกส์

มโครอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสาขาย่อยของอิเล็กทรอนิกส์ ไมโครอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีความสัมพันธ์กับการศึกษาและการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีขนาดเล็กมาก อุปกรณ์เหล่านี้วัสดุจากสารกึ่งตัวนำ โดยการใช้กระบวนการที่เรียกว่า โฟโตไลโทกราฟี (photolithography) อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบปกตินั้น ยังอาจมีลักษณะร่วมในเชิงไมโครอิเล็กทรอนิกส์ด้วย เช่น ทรานซิสเตอร์, ตัวเก็บประจุ, ตัวเหนี่ยวนำ, ตัวต้านทาน, ไดโอด และยังรวมถึงฉนวน และตัวนำ ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถพบได้ในอุปกรณ์ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ด้วย วงจรรวมแบบดิจิตอลนั้นส่วนใหญ่ประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ ส่วนวงจรแอนะลอกนั้นปกติประกอบด้วยตัวต้านทานและตัวเก็บประจุ ส่วนตัวเหนี่ยวนำนั้นใช้ในวงจรแอนะลอกความถี่สูงบางแบบ แต่มักจะใช้พื้นที่ของชิปขนาดใหญ่ หากใช้ที่ความถี่ค่ำ โดยอาจใช้ gyrator แทน เมื่อเทคนิคต่างๆ เพิ่มึ้น ขนาดของอุปกรณ์ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ก็มีขนาดลดลงตามลำดับ และที่ขนาดเล็กนั้น ผลของส่วนประกอบย่อย เช่น สายเชื่อมต่อ อาจมีความสำคัญมากกว่าเดิม เหล่านี้เรยกว่า parasitic effects และเป้าหมายของวิศวกรผู้ออกแบบไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ก็เพื่อหาทางชดเชย หรือลดผลกระทบเหล่านี้ให้เหลือน้อยที่สุด ขณะเดียวกันก็ ทำให้อุปกรณ์มีขนาดเล็กลง ทำงานเร็วขึ้น และราคาถูกลง.

ใหม่!!: ตัวเหนี่ยวนำและไมโครอิเล็กทรอนิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

เมมริสเตอร์

มมริสเตอร์ (memristor) มาจากคำว่า เมมโมรี บวก รีซิสเตอร์ กลายเป็น "ตัวต้านทานหน่วยความจำ") เป็นจินตนาการเดิมในปี ค.ศ. 1971 โดยนักทฤษฎีวงจร Leon Chua ว่าเป็นชิ้นส่วนที่หายไป ซึ่งเป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์แบบพาสซีฟเชิงเส้นสองขั้วที่เกี่ยวข้องกับประจุไฟฟ้าและ magnetic flux linkage เมมริสเตอร์กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาโดยทีมงานต่าง ๆ รวมทั้งฮิวเลตต์แพคการ์ด, SK Hynix และ HRL Lab เมื่อกระแสไหลผ่านเมมริสเตอร์ในทิศทางหนึ่ง ความต้านทานของมันจะเพิ่มขึ้น แต่เมื่อกระแสไหลในทิศทางตรงกันข้าม ความต้านทานกลับลดลง เมื่อกระแสหยุดไหล ความต้านทานของเมมริสเตอร์กลับเป็นเท่าเดิม หลังจากนี้เมื่อมีกระแสไหลผ่านอีก ความต้านทานก็จะไม่เปลี่ยนแล้ว ในปี ค.ศ. 2008 ทีมที่ HP Labs ได้ประกาศการก้าวหน้าของเมมริสเตอร์บนแผ่นฟิล์มบางของไทเทเนียมไดออกไซด์. อุปกรณ์นี้มีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นหน่วยความจำนาโนอิเล็กทรอนิคส์, ลอจิกของคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ neuromorphic. ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2011 ทีมประกาศว่าจะมีในเชิงพาณิชย์ภายใน 18 เดือนเพื่อทดเแทน Flash ไดรฟ์, SSD, DRAM และ SRAM. ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2012, ทีมนักวิจัยจาก HRL และมหาวิทยาลัยมิชิแกนประกาศการทำงานเป็นครั้งแรกของเมมริสเตอร์อาร์เรย์ที่สร้างขึ้นบนชิป CMOS.

ใหม่!!: ตัวเหนี่ยวนำและเมมริสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เฮนรี (หน่วยวัด)

นรี (henry; ตัวย่อ H) เป็นหน่วยวัดความเหนี่ยวนำไฟฟ้าในระบบเอสไอ ตั้งชื่อตามโจเซฟ เฮนรี นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน.

ใหม่!!: ตัวเหนี่ยวนำและเฮนรี (หน่วยวัด) · ดูเพิ่มเติม »

เครือข่ายไฟฟ้า

วงจรไฟฟ้าอย่างง่ายประกอบไปด้วยแหล่งจ่ายไฟและตัวต้านทาน ในวงจรนี้จะเห็นว่า V.

ใหม่!!: ตัวเหนี่ยวนำและเครือข่ายไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

เครื่องชักนำไฟฟ้า

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »