โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตัวขยายสัญญาณ

ดัชนี ตัวขยายสัญญาณ

ตัวอย่างวงจรขยายกำลังสัญญาณ ตัวขยายสัญญาณ หรือ วงจรขยายสัญญาณ (Electronic Amplifier or Amplifier) หรือเรียกสั้นๆว่า Amp เป็นอุปกรณ์หรือวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ช่วยเพิ่มขนาดหรือกำลังของสัญญาณ โดยการใช้พลังงานจากแหล่งจ่ายไฟและการควบคุมสัญญาณเอาต์พุทให้มีรูปร่างเหมือนสัญญาณอินพุท แต่มีขนาดใหญ่กว่า ในความหมายนี้ ตัวขยายสัญญาณทำการกล้ำสัญญาณ (modulate) เอาต์พุทของแหล่งจ่ายไฟ ตัวขยายอิเล็กทรอนิกส์มี 4 ประเภทพื้นฐานได้แก่ ตัวขยายแรงดัน, ตัวขยายกระแส, ตัวขยาย transconductance และตัวขยาย transresistance ความแตกต่างอยู่ที่สัญญาณเอาต์พุตจะแทนความหมายของสัญญาณอินพุทแบบเชิงเส้นหรือแบบเอ็กซ์โปเนนเชียล ตัวขยายสัญญาณยังสามารถถูกแยกประเภทโดยการแทนที่ทางกายภาพในขบวนของสัญญาณด้วย ในบทความนี้ ตัวขยายสัญญาณหมายถึงอุปกรณ์เช่นทรานซิสเตอร์, หลอดสูญญากาศ ฯลฯ วงจรขยายสัญญาณหมายถึงอุปกรณ์ขยายสัญญาณหรือชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆที่ขยายสัญญาณ.

11 ความสัมพันธ์: ลำดับสิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ (ค.ศ. 1946–91)วิศวกรรมโทรคมนาคมสายอากาศอิเล็กทรอนิกส์อิเล็กทรอนิกส์กำลังทรานซิสเตอร์ตัวต้านทานตัวเหนี่ยวนำไบอัสเกน (อิเล็กทรอนิกส์)Klystron

ลำดับสิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ (ค.ศ. 1946–91)

ลำดับสิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ (ค.ศ. 1946–91) ครอบคลุมความเป็นช่างประดิษฐ์และความก้าวหน้าทางนวัตกรรมของประเทศสหรัฐอเมริกาภายในบริบททางประวัติศาสตร์, ย้อนไปตั้งแต่ยุคร่วมสมัยถึงยุคปัจจุบัน, ซึ่งได้บรรลุความสำเร็จโดยนักประดิษฐ์ทั้งหลาย ผู้เป็นทั้งประชากรโดยกำเนิดหรือได้รับเป็นพลเมืองของประเทศสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: ตัวขยายสัญญาณและลำดับสิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ (ค.ศ. 1946–91) · ดูเพิ่มเติม »

วิศวกรรมโทรคมนาคม

วเทียมวงโคจรต่ำที่ไคยัน วิศวกรรมโทรคมนาคม (Telecommunications engineering) เป็นวิชาการด้านวิศวกรรมที่เกิดจากการรวบรวมองค์ความรู้ทางวิศวกรรมไฟฟ้า และ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์เพื่อเสริมสร้างระบบการสื่อสารโทรคมนาคมที่เป็นองค์ความรู้เฉพาะทาง.

ใหม่!!: ตัวขยายสัญญาณและวิศวกรรมโทรคมนาคม · ดูเพิ่มเติม »

สายอากาศ

อากาศ (Antenna) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือในทางกลับกัน ปกติสายอากาศจะถูกใช้กับเครื่องส่งและเครื่องรับวิท.

ใหม่!!: ตัวขยายสัญญาณและสายอากาศ · ดูเพิ่มเติม »

อิเล็กทรอนิกส์

อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics) เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวงจรไฟฟ้าที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เป็น active component เช่นหลอดสูญญากาศ, ทรานซิสเตอร์, ไดโอด และ Integrated Circuit และ ชิ้นส่วน พาสซีฟ (passive component) เช่น ตัวนำไฟฟ้า, ตัวต้านทานไฟฟ้า, ตัวเก็บประจุ และคอยล์ พฤติกรรมไม่เชิงเส้นของ active component และความสามารถในการควบคุมการไหลของอิเล็กตรอนทำให้สามารถขยายสัญญาณอ่อนๆให้แรงขึ้นเพื่อการสื่อสารทางภาพและเสียงเช่นโทรเลข, โทรศัพท์, วิทยุ, โทรทัศน์ เป็นต้น อิเล็กทรอนิกส์ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในการสื่อสารข้อมูลโทรคมนาคม ความสามารถของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่เป็นสวิทช์ปิดเปิดวงจรถูกนำไปใช้ในวงจร ลอจิกเกต ซึ่งเป็นส่วนสำคัญหลักในระบบคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้น วงจรอิเล็กทรอนิกส์ยังถูกนำไปใช้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ในการส่งพลังงานไฟฟ้าเป็นระยะทางไกลๆ การผลิตพลังงานทดแทน และอุตสาหกรรมต่างๆอีกมาก อิเล็กทรอนิกส์แตกต่างจากวิทยาศาสตร์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีเครื่องกลไฟฟ้า โดยจะเกี่ยวข้องกับการสร้าง, การกระจาย, การสวิทช์, การจัดเก็บและการแปลงพลังงานไฟฟ้าไปและมาจากพลังงานรูปแบบอื่น ๆ โดยใช้สายไฟ, มอเตอร์, เครื่องกำเนิดไฟฟ้า, แบตเตอรี่, สวิตช์, รีเลย์, หม้อแปลงไฟฟ้า ตัวต้านทานและส่วนประกอบที่เป็นพาสซีพอื่นๆ ความแตกต่างนี้เริ่มราวปี 1906 เป็นผลจากการประดิษฐ์ไตรโอดโดยลี เดอ ฟอเรสท์ ซึ่งใช้ขยายสัญญาณวิทยุที่อ่อนๆได้ ทำให้เกิดการออกแบบและพัฒนาระบบการรับส่งสัญญาณเสียงและหลอดสูญญากาศ จึงเรียกสาขานี้ว่า "เทคโนโลยีวิทยุ" จนถึงปี 1950 ปัจจุบัน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ ใช้ชิ้นส่วนสารกึ่งตัวนำเพื่อควบคุมการทำงานของอิเล็กตรอน การศึกษาเกี่ยวกับอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำและเทคโนโลยีโซลิดสเตต ในขณะที่การออกแบบและการสร้างวงจรอิเล็กทรอนิกส์ในการแก้ปัญหาในทางปฏิบัติอยู่ภายใต้สาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ บทความนี้มุ่งเน้นด้านวิศวกรรมของ.

ใหม่!!: ตัวขยายสัญญาณและอิเล็กทรอนิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

อิเล็กทรอนิกส์กำลัง

high voltage DC (HVDC)) ในห้องโถงที่ Baltic Cable AB ในสวีเดน อิเล็กทรอนิกส์กำลัง (Power Electronics) เป็นการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ โซลิดสเตต ไปใช้ในการควบคุมและการแปลงพลังงานไฟฟ้า นอกจากนี้ยังหมายถึงหัวข้อของการวิจัยในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ, การควบคุม, การใช้คอมพิวเตอร์, และการบูรณาการของระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการประมวลพลังงานตามเวลาที่เปลี่ยนแบบ ไม่เชิงเส้น ด้วยไดนามิกของความเร็ว.

ใหม่!!: ตัวขยายสัญญาณและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง · ดูเพิ่มเติม »

ทรานซิสเตอร์

ทรานซิสเตอร์ (transistor) เป็นอุปกรณ์สารกึงตัวนำที่สามารถควบคุมการไหลของอิเล็กตรอนได้ ใช้ทำหน้าที่ ขยายสัญญาณไฟฟ้า, เปิด/ปิดสัญญาณไฟฟ้า, ควบคุมแรงดันไฟฟ้าให้คงที่, หรือกล้ำสัญญาณไฟฟ้า (modulate) เป็นต้น การทำงานของทรานซิสเตอร์เปรียบได้กับวาล์วควบคุมที่ทำงานด้วยสัญญาณไฟฟ้าที่ขาเข้า เพื่อปรับขนาดกระแสไฟฟ้าขาออกที่จ่ายมาจากแหล่งจ่ายไฟ ทรานซิสเตอร์ประกอบด้วยวัสดุเซมิคอนดักเตอร์ที่มีอย่างน้อยสามขั้วไฟฟ้าเพื่อเชื่อมต่อกับวงจร ภายนอก แรงดันหรือกระแสไฟฟ้าที่ป้อนให้กับขั้วทรานซิสเตอร์หนึ่งคู่ จะมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระแสที่ไหลผ่านในขั้วทรานซิสเตอร์อีกคู่หนึ่ง เนื่องจากพลังงานที่ถูกควบคุม (เอาต์พุต)จะสูงกว่าพลังงานที่ใช้ในการควบคุม (อินพุท) ทรานซิสเตอร์จึงสามารถขยายสัญญาณได้ ปัจจุบัน บางทรานซิสเตอร์ถูกประกอบขึ้นมาต่างหากแต่ยังมีอีกมากที่พบฝังอยู่ใน แผงวงจรรวม ทรานซิสเตอร์เป็นการสร้างบล็อกพื้นฐานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย ​​และเป็นที่แพร่หลายในระบบอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม.

ใหม่!!: ตัวขยายสัญญาณและทรานซิสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ตัวต้านทาน

ตัวต้านทานแบบมีขาออกทางปลายแบบหนึ่ง ตัวต้านทาน หรือ รีซิสเตอร์ (resistor) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติในการต้านการไหลผ่านของกระแสไฟฟ้า ทำด้วยลวดต้านทานหรือถ่านคาร์บอน เป็นต้น นั่นคือ ถ้าอุปกรณ์นั้นมีความต้านทานมาก กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านจะน้อยลง เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดพาสซีฟสองขั้ว ที่สร้างความต่างศักย์ไฟฟ้าคร่อมขั้วทั้งสอง (V) โดยมีสัดส่วนมากน้อยตามปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน (I) อัตราส่วนระหว่างความต่างศักย์ และปริมาณกระแสไฟฟ้า ก็คือ ค่าความต้านทานทางไฟฟ้า หรือค่าความต้านทานของตัวนำมีหน่วยเป็นโอห์ม (สัญลักษณ์: Ω) เขียนเป็นสมการตามกฏของโอห์ม ดังนี้ ค่าความต้านทานนี้ถูกกำหนดว่าเป็นค่าคงที่สำหรับตัวต้านทานธรรมดาทั่วไปที่ทำงานภายในค่ากำลังงานที่กำหนดของตัวมันเอง ตัวต้านทานทำหน้าที่ลดการไหลของกระแสและในเวลาเดียวกันก็ทำหน้าที่ลดระดับแรงดันไฟฟ้าภายในวงจรทั่วไป Resistors อาจเป็นแบบค่าความต้านทานคงที่ หรือค่าความต้านทานแปรได้ เช่นที่พบใน ตัวต้านทานแปรตามอุณหภูมิ(thermistor), ตัวต้านทานแปรตามแรงดัน(varistor), ตัวหรี่ไฟ(trimmer), ตัวต้านทานแปรตามแสง(photoresistor) และตัวต้านทานปรับด้วยมือ(potentiometer) ตัวต้านทานเป็นชิ้นส่วนธรรมดาของเครือข่ายไฟฟ้าและวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และเป็นที่แพร่หลาย ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตัวต้านทานในทางปฏิบัติจะประกอบด้วยสารประกอบและฟิล์มต่างๆ เช่นเดียวกับ สายไฟต้านทาน (สายไฟที่ทำจากโลหะผสมความต้านทานสูง เช่น นิกเกิล-โครเมี่ยม) Resistors ยังถูกนำไปใช้ในวงจรรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุปกรณ์แอนะล็อก และยังสามารถรวมเข้ากับวงจรไฮบริดและวงจรพิมพ์ ฟังก์ชันทางไฟฟ้าของตัวต้านทานจะถูกกำหนดโดยค่าความต้านทานของมัน ตัวต้านทานเชิงพาณิชย์ทั่วไปถูกผลิตในลำดับที่มากกว่าเก้าขั้นของขนาด เมื่อทำการระบุว่าตัวต้านทานจะถูกใช้ในการออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ ความแม่นยำที่จำเป็นของความต้านทานอาจต้องให้ความสนใจในการสร้างความอดทนของตัวต้านทานตามการใช้งานเฉพาะของมัน นอกจากนี้ค่าสัมประสิทธิ์อุณหภูมิของความต้านทานยังอาจจะมีความกังวลในการใช้งานบางอย่างที่ต้องการความแม่นยำ ตัวต้านทานในทางปฏิบัติยังถูกระบุถึงว่ามีระดับพลังงานสูงสุดซึ่งจะต้องเกินกว่าการกระจายความร้อนของตัวต้านทานที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในวงจรเฉพาะ สิ่งนี้เป็นความกังวลหลักในการใช้งานกับอิเล็กทรอนิกส์กำลัง ตัวต้านทานที่มีอัตรากำลังที่สูงกว่าก็จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าและอาจต้องใช้ heat sink ในวงจรไฟฟ้าแรงดันสูง บางครั้งก็ต้องให้ความสนใจกับอัตราแรงดันการทำงานสูงสุดของตัวต้านทาน ถ้าไม่ได้พิจารณาถึงแรงดันไฟฟ้าในการทำงานขั้นต่ำสุดสำหรับตัวต้านทาน ความล้มเหลวอาจก่อให้เกิดการเผาใหม้ของตัวต้านทาน เมื่อกระแสไหลผ่านตัวมัน ตัวต้านทานในทางปฏิบัติมีค่าการเหนี่ยวนำต่ออนุกรมและค่าการเก็บประจุขนาดเล็กขนานอยู่กับมัน ข้อกำหนดเหล่านี้จะมีความสำคัญในการใช้งานความถี่สูง ในตัวขยายสัญญาณเสียงรบกวนต่ำหรือพรีแอมป์ ลักษณะการรบกวนของตัวต้านทานอาจเป็นประเด็น การเหนี่ยวนำที่ไม่ต้องการ, เสียงรบกวนมากเกินไปและค่าสัมประสิทธิ์อุณหภูมิ เหล่านี้จะขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่ใช้ ในการผลิตตัวต้านทาน ปกติพวกมันจะไม่ได้ถูกระบุไว้เป็นรายต้วของตัวต้านทานที่ถูกผลิตโดยใช้เทคโนโลยีอย่างใดอย่างหนึ่ง.

ใหม่!!: ตัวขยายสัญญาณและตัวต้านทาน · ดูเพิ่มเติม »

ตัวเหนี่ยวนำ

ตัวเหนี่ยวนำทั่วไป สัญลักษณ์แทนตัวเหนี่ยวนำ ตัวเหนี่ยวนำ (Inductor) บางครั้งถูกเรียกว่าคอยล์หรือรีแอคเตอร์(coil หรือ reactor)เป็นชิ้นส่วนในวงจรไฟฟ้าแบบพาสซีฟสองขั้วไฟฟ้า(ขา) มีคุณสมบัติในการป้องกันการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวมัน มันประกอบด้วยตัวนำ เช่นลวดทองแดงม้วนกันเป็นวงกลม เมื่อกระแสไหลผ่านตัวมัน พลังงานจะถูกเก็บไว้ชั่วคราวในรูปสนามแม่เหล็กในคอยล์นั้น เมื่อกระแสนั้นเปลี่ยนแปลง, สนามแม่เหล็กที่แปรตามเวลาจะทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าในตัวนำนั้น ตามกฎการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าของฟาราเดย์ ซึ่งจะต้านกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสที่สร้างมัน ทิศทางของสนามไฟฟ้าเกิดขึ้นตามกฏมือขวา ทิศทางของสนามเกิดในทิศทางของหัวแม่มือ, เมื่อกระแสไหลไปในทิศทางของนิ้วมือทั้งสี่ ตัวเหนี่ยวนำถูกกำหนดโดยการเหนี่ยวนำของมัน หรืออัตราส่วนของแรงดันไฟฟ้ากับอัตราการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้า ซึ่งมีหน่วยเป็น Henries (H) ตัวเหนี่ยวนำมีค่าปกติตั้งแต่ 1 μH (10- 6H)จนถึง 1 H ตัวเหนี่ยวนำจำนวนมากมีแกนเป็นแม่เหล็กที่ทำจากเหล็ก หรือเฟอร์ไรต์ภายในคอยล์ เหมือนกับตัวเก็บประจุและตัวต้านทาน ตัวเหนี่ยวนำเป็นหนึ่งในสามชิ้นส่วนวงจรเชิงเส้นแบบพาสซีฟที่ประกอบขึ้นเป็นวงจรไฟฟ้า ตัวเหนี่ยวนำถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กระแสสลับ (AC) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุปกรณ์วิทยุ มันถูกใช้ป้องกันการไหลของกระแส AC ขณะที่ยอมให้กระแส DC ผ่านไปได้ ตัวเหนี่ยวนำที่ถูกออกแบบมาเพื่อการนี้จะเรียกว่าโช๊ค(choke) มันยังถูกใช้ในตัวกรองอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแยกสัญญาณที่มีความถี่ที่แตกต่างกันและใช้ร่วมกับตัวเก็บประจุเพื่อทำเป็นวงจรปรับหาความถี่(tuner) ที่ใช้ในการปรับหาคลื่นสถานีของเครื่องรับวิทยุและโทรทัศน.

ใหม่!!: ตัวขยายสัญญาณและตัวเหนี่ยวนำ · ดูเพิ่มเติม »

ไบอัส

การให้ไบอัส หรือ (biasing) ในอิเล็กทรอนิกส์เป็นวิธีการของการสร้างแรงดันหรือกระแสไฟฟ้าที่กำหนดไว้ที่จุดต่างๆของวงจรอิเล็กทรอนิกส์เพื่อจุดประสงค์ของการสร้างสภาวะการทำงานที่เหมาะสมของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากที่ฟังก์ชันของมันคือการประมวลสัญญาณ (AC) ที่เปลี่ยนแปลงตามเวลา ก็ยังต้องการกระแสหรือแรงดัน (DC) ที่คงที่ในการดำเนินการอย่างถูกต้อง สัญญาณ AC ที่ถูกป้อนให้พวกเขาจะขี่อยู่บนกระแสหรือแรงดันไบอัส DC นี้ อุปกรณ์ประเภทอื่นๆ เช่นหัวบันทึกแม่เหล็ก ต้องการสัญญาณ(AC) ที่เปลี่ยนแปลงตามเวลาเป็นไบอัส จุดปฏิบัติการของอุปกรณ์หนึ่งๆที่เรียกว่าเป็น จุดไบอัส, จุดนิ่ง(quiescent point) หรือ Q-point เป็นแรงดันหรือกระแสไฟฟ้าสภาวะคงที่ ที่ขาใดขาหนึ่งที่ระบุของอุปกรณ์แอคทีฟ (ทรานซิสเตอร์หรือหลอดสูญญากาศ) โดยที่ไม่มีสัญญาณอินพุทป้อนเข้าม.

ใหม่!!: ตัวขยายสัญญาณและไบอัส · ดูเพิ่มเติม »

เกน (อิเล็กทรอนิกส์)

ในสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ เกน เป็นการวัดความสามารถของวงจรอิเล็กทรอนิกส์สองพอร์ต (มักจะเป็นตัวขยายสัญญาณ) เพื่อเพิ่มพลังหรือความสูง (amplitude) ของสัญญาณจากพอร์ตอินพุทไปยังพอร์ตเอาท์พุท โดยการเพิ่มพลังงานที่ถูกแปลงจากแหล่งจ่ายไฟไปเป็นสัญญาณ มันมักจะถูกกำหนดให้เป็นอัตราส่วนเฉลี่ยของขนาดสัญญาณหรือกำลังงานที่พอร์ตเอาท์พุทต่อขนาดสัญญาณหรือกำลังงานที่พอร์ตอินพุต มันมักจะแสดงค่าโดยใช้หน่วยเป็นเดซิเบล (dB)("dB gain") เกนที่มากกว่าหนึ่ง (ศูนย์เดซิเบล) เป็นการขยายสัญญาณและเป็นคุณสมบัติที่กำหนดให้กับองค์ประกอบหรือวงจรแบบแอคทีฟ (active element) ในขณะที่วงจรแบบ passive จะมีเกนน้อยกว่าหนึ่ง คำว่า เกน เฉย ๆ จะกำกวมไม่ชัดเจนและสามารถหมายถึงอัตราส่วนของเอาท์พุทต่ออินพุตของแรงดันไฟฟ้า (เกนแรงดันไฟฟ้า) ของกระแส (เกนกระแสไฟฟ้า) หรือของกำลังงานไฟฟ้า (เกนกำลังงานไฟฟ้า) ก็ได้ ในด้านเสียงและตัวขยายสัญญาณอเนกประสงค์, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ออปแอมป์ คำนี้มักจะหมายถึงเกนแรงดันไฟฟ้า แต่ในตัวขยายสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุ มันมักจะหมายถึงเกนกำลังงาน นอกจากนี้คำว่าเกนยังถูกนำไปประยุกต์ใช้ในระบบเซ็นเซอร์ที่ input และ output มีหน่วยที่แตกต่างกัน ในกรณีดังกล่าวหน่วยของเกนจะถูกระบุใหม่ เช่นเป็น "5 microvolts ต่อโฟตอน" สำหรับค่าความสามารถในการตอบสนอง (responsivity) ของตัวตรวจจับแสง (photosensor) เป็นต้น.

ใหม่!!: ตัวขยายสัญญาณและเกน (อิเล็กทรอนิกส์) · ดูเพิ่มเติม »

Klystron

klystron กำลังสูงที่ใช้สำหรับการสื่อสารยานอวกาศที่ศูนย์การสื่อสารห้วงอวกาศแคนเบอร์รา Externer Resonator). klystrons แบบสะท้อนเกือบจะล้าสมัยแล้วในขณะนี้ Klystron เป็นหลอดสูญญากาศเฉพาะ แบบลำแสงเชิงเส้น (specialized linear-beam vacuum tube), ได้รับการประดิษฐ์คิดค้นในปี 1937 โดยวิศวกรไฟฟ้าชาวอเมริกัน รัสเซล และ ซีเกิร์ด Varian,Pond, Norman H. "The Tube Guys".

ใหม่!!: ตัวขยายสัญญาณและKlystron · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Preampพรีแอมป์ปรีแอมปลิไฟเออร์เครื่องขยายกำลังสัญญาณ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »