โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดินสอ

ดัชนี ดินสอ

นสอแกรไฟต์​ขนาดเอชบี Caran d'Ache). ดินสอ เป็นอุปกรณ์ในการเขียน หรือสื่อทางศิลปะ มักทำจากเนื้อรงควัตถุแข็งและแคบอยู่ภายในเปลือกที่ปกป้องเนื้อดินสอไม่ให้หักหรือทิ้งรอยไว้บนมือขณะใช้งาน ดินสอสร้างรอยโดยการขีดเขียน ทิ้งรอยวัสดุเนื้อดินสอแข็ง ๆ ติดกับกระดาษ หรือพื้นผิวอื่น ๆ ไว้ ดินสอแตกต่างจากปากกา ที่จะกระจายรอยของของเหลวหรือหมึกเจลติดลงบนกระดาษที่มีสีอ่อนกว่า เนื้อดินสอส่วนมากจะทำจากแกรไฟต์ผสมกับดินเหนียวที่จะทิ้งรอยสีเทาหรือดำไว้และทำให้ลบออกง่าย ดินสอที่ทำจากแกรไฟต์ใช้สำหรับเขียนและวาดเส้น และทำให้เกิดรอยที่ทนทาน แม้ว่ามันจะใช่ยางลบลบออกง่าย แต่ดินสอจะทนต่อความชื้น สารเคมี รังสีอัลตราไวโอเลต และอายุการใช้งาน ดินสอที่เนื้อทำจากวัสดุอื่นนั้นมีใช้กันน้อยกว่า เช่น ดินสอที่ทำจากถ่านไม้ ที่ส่วนมากจิตรกรจะใช้วาดภาพและร่างภาพ ดินสอสีบางครั้งมีไว้สำหรับครูหรือบรรณาธิใช้แก้ไขข้อความ แต่ก็จัดว่าเป็นอุปกรณ์ศิลปะเช่นกัน โดยเฉพาะชนิดที่มีเนื้อทำจากขี้ผึ้งที่จะติดลงบนกระดาษแทนที่จะลบออก ดินสอน้ำมันจะนุ่มกว่า มีเนื้อดินสอทำจากขี้ผึ้งคล้ายสีเทียนที่ทิ้งรอยบนผิวราบเรียบ เช่น กระจก หรือเครื่องลายคราม เปลือกดินสอโดยทั่วไปทำจากไม้ขนาดบาง ปกติเป็นทรงหกเหลี่ยมด้านเท่าแต่บางครั้งก็เป็นทรงกระบอก พันรอบเนื้อดินสอถาวร เปลือกดินสออาจทำจากวัสดุอื่น เช่น พลาสติก หรือกระดาษ ก็ได้ ในการใช้ดินสอ เปลือกจะต้องถูกสลักหรือปอกออกเพื่อให้ส่วนปลายของดินสอแหลมคม ดินสอกดมีเปลือกที่ละเอียดอ่อนมากกว่าซึ่งช่วยประคองชิ้นส่วนของเนื้อสีให้สามารถขยายหรือหดผ่านปลายแท่งหรือเปลือกดินสอตามที่ต้องการ.

17 ความสัมพันธ์: กราฟิกดีไซน์การวาดเส้นการเขียนยางพารายางลบยิปซัมผงอิทธิเจถนนดินสอคณะมนุษยศาสตร์ และการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพงูปลาอ้ายอ้าวปลาดินสอ (สกุล)นิ้วกลางแกรไฟต์แกนประสาทนำออกโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรีเฟเบอร์-คาสเทลล์

กราฟิกดีไซน์

กราฟิกดีไซน์ (Graphic design) คือการออกแบบสื่อสัญลักษณ์ที่มองเห็นด้วยตา (เป็นทัศนศิลป์อย่างหนึ่ง) ทำหน้าที่เพื่อสื่อความหมาย กราฟิกดีไซน์ เป็นการทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษ graphic design คำว่า graphic มีคำในภาษาไทยที่ใช้แทนได้คือ เรขศิลป์, เลขนศิลป์ หรือ เรขภาพ ส่วน design แปลว่า การออกแบบ เมื่อรวมกันแล้ว กราฟิกดีไซน์จึงมีหมายความว่า การออกแบบเรขศิลป์ หรือ การออกแบบเลขนศิลป์ ผู้ออกแบบกราฟิกจะทำการสร้าง และ/หรือ รวมส่วนประกอบทางศิลป์อย่าง สัญลักษณ์ รูปภาพ ตัวอักษร มาผ่านกระบวนการทางการออกแบบอย่างหนึ่งอย่างใดหรือมากกว่าหนึ่งกระบวนการทางการออกแบบ เช่น การออกแบบตัวอักษร การวาดภาพประกอบ การจัดองค์ประกอบ เพื่อใช้ในการสื่อสารบางอย่าง มักมีการเข้าใจผิดว่ากราฟิกดีไซน์เป็นงานที่ทำด้วยคอมพิวเตอร์หรือเป็นการสร้างแอนิเมชันสามมิติเพียงอย่างเดียว ซึ่งในความเป็นจริง คอมพิวเตอร์เป็นเพียงเครื่องมือชิ้นหนึ่งที่ช่วยในการสร้างงานกราฟิกดีไซน์ได้ เช่นเดียวกับ ดินสอ ปากกา พู่กัน.

ใหม่!!: ดินสอและกราฟิกดีไซน์ · ดูเพิ่มเติม »

การวาดเส้น

Male nude โดย Annibale Carracci ศตวรรษที่ 16 การวาดเส้น (Drawing) เป็นพื้นฐานของงานทัศนศิลป์และการออกแบบ โดยการสร้างภาพสองมิติโดยวิธีที่ง่ายและรวดเร็ว ให้เกิดร่องรอยต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมือที่อยู่ใกล้ตัว เช่น ถ่าน เศษไม้ หรือแม้แต่นิ้วมือของตนเอง แต่ในปัจจุบันนิยมใช้ ดินสอ ปากกาและหมึก เครยอง ดินสอสี ดินสอถ่าน ชอล์ก ชอล์กสี ปากกามาร์กเกอร์ ปากกาหมึกซึม ซึ่งโดยมากจะเขียนลงบนกระดาษ หรือวัสดุอื่นอย่าง กระดาษแข็ง พลาสติก หนัง ผ้า กระดาน สำหรับการเขียนชั่วคราวอาจใช้กระดานดำหรือกระดานขาว หรือบนอะไรก็ได้ สำหรับศิลปินที่เขียนหรือทำงานการวาดเส้นอาจหมายถึง ช่างสเก็ตภาพ หรือ ช่างเขียนแ.

ใหม่!!: ดินสอและการวาดเส้น · ดูเพิ่มเติม »

การเขียน

การเขียน คือการสื่อสารชนิดหนึ่งของมนุษย์เราที่ต้องอาศัยความพยายามและฝึกฝน การเขียนเป็นการแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้รับสารสามารถอ่านได้เข้าใจ ได้ทราบความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ แล้วสามารถนำมาบอกบอกต่อกับบุคคลอื่นให้ได้ความรู้ที่ผู้รับสารได้รับ เครื่องมือในการเขียนเช่น ดินสอ ปากกา สี พู่กัน กระดาษ กระดาน ฯลฯ การเขียนจะต้องเขียนเป็นภาษา ซึ่งอาจเขียนเป็นภาษาเดียวหรือหลายภาษาก็ได้.

ใหม่!!: ดินสอและการเขียน · ดูเพิ่มเติม »

ยางพารา

งพารา เป็นไม้ยืนต้น มีถิ่นกำเนิดบริเวณลุ่มน้ำแอมะซอน ประเทศบราซิลและประเทศเปรู ทวีปอเมริกาใต้ โดยชาวพื้นเมืองเรียกว่า "เกาชู" (cao tchu) แปลว่า ต้นไม้ร้องไห้ จนถึงปี..

ใหม่!!: ดินสอและยางพารา · ดูเพิ่มเติม »

ยางลบ

งลบ ยางลบ (อเมริกัน: eraser บริติช: rubber) คือเครื่องเขียนชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับลบรอยดินสอหรือปากกาที่เขียนบนวัสดุอย่างหนึ่งเช่นกระดาษ โดยใช้ยางลบถูไปมาจนรอยเขียนหายไป และดินสอส่วนมากมักจะมียางลบติดมาด้วยเพื่อใช้ควบคู่กัน ยางลบนั้นทำมาจากยางเป็นหลัก แต่สำหรับยางลบที่ใช้งานเฉพาะทางก็อาจผลิตด้วยไวนิล พลาสติก หรือยางธรรมชาติอื่นๆ ก็ได้ ส่วนมากจะพบเป็นสีขาว แต่ก็สามารถผลิตให้เป็นสีอื่นๆ ได้แล้วแต่ส่วนผสมของวั.

ใหม่!!: ดินสอและยางลบ · ดูเพิ่มเติม »

ยิปซัม

ปซัม (Gypsum) (CaSO4·2H2O) หรือเรียกว่าเกลือจืด เป็นแร่อโลหะที่มีความเปราะมากมีสีขาว ไม่มีสีหรือสีเทา มักมีสีเหลือง แดง หรือน้ำตาล เป็นมลทินปนอยู่ มีความวาวคล้ายแก้ว มุก หรือไหม ความแข็ง 2 ความถ่วงจำเพาะ 2.7 เนื้อแร่โปร่งใสจนกระทั่งโปร่งแสง อาจเรียกชื่อต่างกันออกไปตามลักษณะของเนื้อแร่ คือ ชนิดซาตินสปาร์ (satinspar) เป็นแร่ยิปซัมลักษณะที่เป็นเนื้อเสี้ยน มีความวาวคล้ายไหม ชนิดอะลาบาสเทอร์ (alabaster) มีเนื้อเป็นมวลเม็ดอัดกันแน่น และชนิดซีลีไนต์ (selenite) ใสไม่มีสี เนื้อแร่เป็นแผ่นบางโปร่งใส เกิดจากแร่ที่ตกตะกอนในแอ่งที่มีการระเหยของน้ำสูงมากและต่อเนื่อง ทำให้น้ำส่วนที่เหลือมีความเข้มข้นสูงขึ้น ถึงจุดที่แร่กลุ่มที่เรียกว่า “อีแวพอไรต์ (evaporites) ” จะสามารถตกตะกอนออกมาตามลำดับความสามารถในการละลาย (solubility) ซึ่งโดยทั่วไปเริ่มจากพวกคาร์บอเนต (carbonates) ซัลเฟต (sulphates) และเฮไลด์ (halides) การกำเนิด แร่ยิปซัมของไทยมีเนื้อเป็นเกล็ดเล็กๆ สมานแน่น เรียกว่า “อะลาบาสเตอร์ (alabaster) ” ซึ่งมิได้เกิดจากการตกตะกอนทับถมกันในสภาพการณ์ปฐมภูมิจากการระเหยของน้ำ แต่เกิดจากการเติมน้ำ (rehydration) ให้กับช่วงบนสุดของมวลแอนไฮไดรต์ จนเกิดการเปลี่ยนแปลง ชนิดแร่ ยิปซัมในประเทศไทยมีประวัติที่ค่อนข้างซับซ้อน และการศึกษาธรณีวิทยาแหล่งแร่พบว่า เคยผ่านการเปลี่ยนแปลงชนิดแร่ไปมา ระหว่างยิปซัมกับแอนไฮไดรต์ (CaSO4) หลายครั้ง (Utha-aroon and Ratanajarurak, 1996) ก่อนจะมีสภาพเช่นในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ดินสอและยิปซัม · ดูเพิ่มเติม »

ผงอิทธิเจ

อิธะเจ หรือ อิทธิเจของเทพย์ สาริกบุตร เป็นวิชาทางไสยศาสตร์ว่าด้วยการทำผงตามคัมภีร์อิธะเจ ซึ่งเป็นหนึ่งในคัมภีร์หลักของระบบไสยศาสตร์ไทยโบราณ อันประกอบด้วยคัมภีร์ปถมัง อิธะเจ ตรีนิสิงเห และมหาราช นอกจากนั้นชื่อวิชาอิธะเจยังปรากฏอยู่ในเสภาขุนช้างขุนแผนตอนพลายงามเรียนวิชาด้วย เนื้อหาของวิชาอิธะเจคือการทำผงด้วยการตั้งตัวตามสูตรบาลีมูลกัจจายน์ ซึ่งเป็นระบบบาลีไวยากรณ์ใหญ่ที่ปัจจุบันได้ล้มเลิกไป อิธะเจมีหลายตำรับด้วยกัน แต่ที่เป็นหลักสำคัญจะตั้งตัวด้วย อิทะ อิติ อิติ อัสสา อุทัง อะหัง อัคคัง อะหัง อะหัง อิถัง อัมมะ อัสสา จากนั้นจึงกระทำตามสูตรสนธิโดยอ้างสูตรตามคัมภี์บาลีไวยากรณ์จนสำเร็จเป็น อิธเจตโสทฬฺหํคณฺหาหิถามสา เป็นอันขาดตัวในสูตรสนธิ ผงที่ได้จากการเขียนและลบอักขระตามคัมภีร์อิธะเจ เรียกว่าผงอิธะเจ เชื่อว่ามีอานุภาพทางเมตตามหานิยม เป็นเสน่ห์โดยเฉพาะแก่สตรี.

ใหม่!!: ดินสอและผงอิทธิเจ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนดินสอ

ลาว่าการกรุงเทพมหานคร ถนนดินสอ (Thanon Dinso) ถนนเส้นหนึ่งในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นที่วงเวียนเสาชิงช้าที่ถนนบำรุงเมือง บริเวณหน้าเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ และทอดยาวออกไปยังถนนราชดำเนินกลางผ่านอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไปสิ้นสุดลงที่แยกสะพานวันชาติ เชิงสะพานเฉลิมวันชาติ โดยเป็นถนนที่เป็นเส้นตรงตลอดทั้งสาย มีความยาวทั้งสิ้น 850 เมตร ถนนดินสอ เป็นถนนที่สร้างขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เหตุที่ได้ชื่อว่า "ดินสอ" เนื่องจากแถบนี้ในช่วงกรุงศรีอยุธยา ผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นี่มีอาชีพทำดินสอและกระดาษ จนได้ชื่อว่า "ย่านป่าดินสอ" ปรากฏเป็นหลักฐานในเอกสารจากหอหลวง เรื่องคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ ความว่า "ย่านป่าดินสอ ริมวัดพระงาม มีร้ายขายดินสอศิลาอ่อนแก่ แลดินสอขาวเหลือง ดินสอดำ ชื่อตลาดบ้านดินสอ" จนล่วงมาถึงยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ อาชีพทำดินสอของผู้คนแถบนี้ก็ยังคงอยู่ และถูกเรียกว่า "ย่านดินสอ" หรือ "บ้านดินสอ" ต่อมามีการสร้างถนนขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: ดินสอและถนนดินสอ · ดูเพิ่มเติม »

คณะมนุษยศาสตร์ และการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ณะมนุษยศาสตร์ก่อตั้งขึ้นจากแผนกภาษาอังกฤษและแผนกศิลปศาสตร์ซึ่งเดิมเป็นแผนก อิสระที่จัดสอนวิชาภาษาอังกฤษและวิชาศึกษาทั่วไปให้แก่นักศึกษาทุกคณะ ต่อมาได้รับอนุมัติจาก ทบวงมหาวิทยาลัยให้จัดตั้งคณะมนุษยศาสตร์ เมื่อวันที่ 22 มกราคม..

ใหม่!!: ดินสอและคณะมนุษยศาสตร์ และการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ · ดูเพิ่มเติม »

งู

งู เป็นสัตว์เลื้อยคลานอันดับหนึ่ง ไม่มีขา ไม่มีเปลือกตา มีเกล็ดปกคลุมผิวหนังทั่วทั้งลำตัว ลักษณะลำตัวยาวซึ่งโดยขนาดของความยาวนั้น จะขึ้นอยู่กับชนิดของงู ปราดเปรียวและว่องไวในการเคลื่อนที่ มีลิ้นสองแฉกเพื่อใช้สำหรับรับความรู้สึกทางกลิ่น จัดอยู่ในชั้น Reptilia, ตระกูล Squamata, ตระกูลย่อย Serpentes โดยทั่วไปแล้วงูจะกลัวและไม่กัด นอกเสียจากถูกรบกวนหรือบุกรุก จะเลื้อยหลบหนีเมื่อมีสิ่งใดเข้ามาใกล้บริเวณที่อยู่ ออกล่าเหยื่อเมื่อรู้สึกหิว โดยกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเป็นอาหาร ยกเว้นงูบางชนิดที่กินงูด้วยกันเอง เช่น งูจงอาง สามารถมองเห็นได้ดีในที่มืดและในเวลากลางคืน โดยทั่วไปจะออกลูกเป็นไข่ ยกเว้นแต่งูที่มีพิษซึ่งมีผลโดยตรงทางด้านโลหิต (วงศ์งูหางกระดิ่ง((Viperidae)) ซึ่งจะออกลูกเป็นตัว เช่น งูแมวเซา ธรรมชาติโดยทั่วไป งูจะลอกคราบเมื่อมันเริ่มโตขึ้น ทำให้ผิวหนังของงูเริ่มแข็งและคับขึ้น ซึ่งงูจะลอกคราบบ่อยครั้งเมื่องูยังมีอายุไม่มากนัก ซึ่งภายหลังจากการลอกคราบของงู จะทำให้ผิวหนังเก่าหลุดออก แต่เซลล์สีที่ทำให้งูมีสีสันยังคงอยู่ในตัวงู ทำให้เกล็ดที่ปกคลุมผิวหนัง มีสีสันสดใสรวมทั้งทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน มีงูถูกค้นพบแล้วประมาณ 2,700 ชนิด แต่เป็นงูไม่มีพิษประมาณ 2,300 ชนิด สำหรับในประเทศไทยมีงูจำนวนมากตามสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ทั่วทุกภูมิภาพของประเทศไทยสามารถพบเห็นงูได้มากกว่า 180 ชนิด โดยเป็นงูที่มีพิษจำนวน 46 ชนิด และสามารถจำแนกงูที่มีพิษออกได้อีก 2 ประเภทคือ.

ใหม่!!: ดินสอและงู · ดูเพิ่มเติม »

ปลาอ้ายอ้าว

ปลาอ้ายอ้าว หรือ ปลาซิวอ้าว หรือ ปลาซิวควาย (Apollo sharks) ชื่อสกุลของปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Luciosoma (/ลิว-ซิ-โอ-โซ-มา/) มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวเพรียวยาวคล้ายแท่งดินสอ ไม่มีเข็มก้านครีบแรก มีก้านครีบอ่อน 7 ก้าน ก้านครีบก้นมี 6 ก้านครีบ ปากกว้างโดยที่มุมปากยื่นยาวไปจนอยู่ในระดับใต้ตา ครีบหลังอยู่ในส่วนครึ่งหลังของลำตัว มีจุดเด่นคือ มีลายแถบสีดำข้างลำตัว ซึ่งแตกต่างออกไปตามชนิด ขนาดโดยเฉลี่ย โตเต็มที่ประมาณ 25-30 เซนติเมตร เป็นปลาที่มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงบริเวณผิวน้ำ กินอาหารโดยล่าปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร รวมถึงแมลงด้วย พบกระจายพันธุ์ในประเทศไทย, ลาว, กัมพูชา จนถึงเกาะบอร์เนียวและเกาะชวา พบด้วยกันทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: ดินสอและปลาอ้ายอ้าว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาดินสอ (สกุล)

ปลาที่มีขนาดใหญ่กว่า ดูที่: ปลาดินสอ ปลาดินสอ (Pencil fishes) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาดินสอ (Lebiasinidae) ในอันดับปลาคาราซิน (Characiformes) ใช้ชื่อสกุลว่า Nannostomus (/นัน-โน-สะ-โต-มัส/; nannus มาจากภาษาละติน หมายถึง "เล็ก" และภาษากรีก stoma (στόμιο) หมายถึง "ปาก" ซึ่งหมายถึงปากที่มีขนาดเล็กของปลาสกุลนี้) รูปร่างและลักษณะโดยรวมของปลาดินสอ คือ เป็นปลาขนาดเล็ก มีขนาดโตเต็มที่ราว 5 เซนติเมตร มีลักษณะลำตัวเรียวยาวเป็นแท่งคล้ายดินสออันเป็นที่มาของชื่อ มีปากที่แหลมเล็กสำหรับใช้จิกอาหารขนาดเล็ก มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โดยว่ายน้ำช้า ๆ และมักอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่น้ำไหลเอื่อย ๆ บางชนิดจะลอยตัวในน้ำ โดยยกหัวตั้งขึ้น ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่แลดูแปลก พบกระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาใต้ นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ.

ใหม่!!: ดินสอและปลาดินสอ (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

นิ้วกลาง

นิ้วกลาง คือนิ้วที่สามบนมือของมนุษย์ อยู่ระหว่างนิ้วชี้และนิ้วนาง คนส่วนใหญ่จะมีนิ้วกลางเป็นนิ้วที่ยาวที่สุด แต่บางคนอาจยาวเท่ากับนิ้วชี้หรือนิ้วนาง ในทางกายวิภาคศาสตร์ นิ้วกลางอาจมีชื่อเรียกอื่นเป็นภาษาละตินเช่น digitus medius, digitus tertius, หรือ digitus III เป็นต้น นิ้วกลางมีส่วนช่วยให้จับสิ่งของได้ง่ายขึ้น เช่น ดินสอ ปากกา หรือตะเกียบ นอกเหนือไปจากนิ้วโป้งและนิ้วชี้ ถึงแม้ว่าบางคนอาจไม่ได้ใช้นิ้วกลางเลย มือกลหรือแขนเทียมมักจะมีสามนิ้วเพื่อเป็นตัวแทนของนิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลาง เพื่อให้จับได้ถนัดยิ่งขึ้นและไม่หลุดจากมือด้ว.

ใหม่!!: ดินสอและนิ้วกลาง · ดูเพิ่มเติม »

แกรไฟต์

แกรไฟต์ (graphite) เป็นอัญรูปหนึ่งของธาตุคาร์บอน ชื่อสามัญเรียกว่า พลัมเบโก (plumbago) หรือแร่ดินสอดำ มีลักษณะเป็นของแข็ง มีรูปผลึกเป็นแผ่นบาง ๆ ทึบแสง อ่อนนุ่ม สีเทาเข้มถึงดำ เนื้ออ่อน เป็นตัวนำความร้อนและไฟฟ้าได้ดี มักใช้ทำไส้ดินสอดำ เบ้าหลอมโลหะ น้ำมันหล่อลื่นบางชนิด ไส้ถ่านไฟฉาย ไส้ไฟอาร์ก ใช้เป็นตัวลดความเร็ว ช่วยควบคุมจำนวนอนุภาคนิวตรอนในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ถูกนำมาใช้เมื่อ 4 พันปีก่อนคริสตกาล ในงานทาสีตกแต่งเครื่องเซรามิกในทางตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป ได้มีการค้นพบแหล่งสะสมตัวของแร่แกรไฟต์ขนาดใหญ่มากที่รัฐคัมเบรีย ประเทศอังกฤษ แร่ที่พบมีลักษณะบริสุทธิ์ ไม่แข็ง แตกหักง่าย และมีรูปแบบการสะสมตัวอัดแน่นกัน แกรไฟต์เป็นชื่อที่ตั้งโดย Abraham Gottlob Werner ในปี ค.ศ. 1789 โดยมาจากภาษากรีกว่า γραφειν หมายถึง "เพื่อวาด/เขียน" ซึ่งตั้งตามการใช้แกรไฟต์ในดินสอ แร่แกรไฟต์เป็นการจัดเรียงตัวรูปแบบหนึ่งของคาร์บอน ในภาษากรีกแปลว่า ใช้ขีดเขียนวาดภาพ มีคุณสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้าหรือกึ่งตัวนำไฟฟ้า แกรไฟต์มีการจัดเรียงตัวแบบเสถียรที่สภาวะมาตรฐาน แต่บางครั้งแร่แกรไฟต์เกิดจากถ่านหินเมื่อมีความร้อน ความดันสูงขึ้นระดับหนึ่งซึ่งพบอยู่บนแอนทราไซท์ (Anthracite) และเมตา-แอนทราไซท์ (Meta-anthracite) ซึ่งโดยปกติแล้ว มักไม่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเพราะติดไฟยาก.

ใหม่!!: ดินสอและแกรไฟต์ · ดูเพิ่มเติม »

แกนประสาทนำออก

แกนประสาท หรือ แอกซอน หรือ ใยประสาท (axon มาจากภาษากรีกคำว่า ἄξων คือ áxōn แปลว่า แกน) เป็นเส้นใยเรียวยาวที่ยื่นออกจากเซลล์ประสาทหรือนิวรอน และปกติจะส่งกระแสประสาทหรือคำสั่งออกจากตัวเซลล์เพื่อสื่อสารกับเซลล์อื่น ๆ หน้าที่ของมันก็เพื่อส่งข้อมูลไปยังนิวรอน กล้ามเนื้อ และต่อมต่าง ๆ ในเซลล์ประสาทรับความรู้สึกบางอย่างซึ่งมีรูปร่างเป็น pseudounipolar neuron (เซลล์ประสาทขั้วเดียวเทียม) เช่นที่รับความรู้สึกสัมผัสและอุณหภูมิ กระแสประสาทจะวิ่งไปตามแอกซอนจากส่วนปลายเข้าไปยังตัวเซลล์ แล้วก็จะวิ่งออกจากตัวเซลล์ไปยังไขสันหลังตามสาขาอีกสาขาของแอกซอนเดียวกัน ความผิดปกติของแอกซอนอาจเป็นเหตุให้เกิดความผิดปกติทางประสาทซึ่งมีผลต่อทั้งเซลล์ประสาทในส่วนนอกและส่วนกลาง ใยประสาทสามารถจัดเป็นสามหมวดคือ ใยประสาทกลุ่มเอเด็ลตา (A delta) กลุ่มบี (B) และกลุ่มซี (C) โดยกลุ่มเอและบีจะมีปลอกไมอีลินในขณะที่กลุ่มซีจะไร้ปลอก แอกซอนเป็นส่วนยื่นที่ประกอบด้วยโพรโทพลาสซึมอย่างหนึ่งในสองอย่างที่ยื่นออกจากตัวเซลล์ประสาท ส่วนยื่นอีกอย่างเรียกว่า ใยประสาทนำเข้า/เดนไดรต์ (dendrite) แอกซอนจะต่างจากเดนไดรต์หลายอย่าง รวมทั้งรูปร่าง (เดนไดรต์มักจะเรียวลงเทียบกับแอกซอนที่จะคงขนาด) ความยาว (เดนไดรต์มักจะจำกัดอยู่ในปริภูมิเล็ก ๆ รอบ ๆ ตัวเซลล์ ในขณะที่แอกซอนอาจยาวกว่ามาก) และหน้าที่ (เดนไดรต์เป็นส่วนรับสัญญาณในขณะที่แอกซอนจะเป็นส่วนส่งสัญญาณ) แต่ลักษณะที่ว่านี้ทั้งหมดล้วนแต่มีข้อยกเว้น แอกซอนจะหุ้มด้วยเยื่อที่เรียกว่า axolemma ไซโทพลาซึมของแอกซอนมีชื่อโดยเฉพาะว่าแอกโซพลาซึม (axoplasm) ส่วนสุดของแอกซอนที่แตกเป็นสาขา ๆ เรียกว่า telodendron/telodendria ส่วนสุดของ telodendron ซึ่งป่องเรียกว่าปลายแอกซอน (axon terminal) ซึ่งเชื่อมกับ dendron หรือตัวเซลล์ของนิวรอนอีกตัวหนึ่ง จุดเชื่อที่ว่านี้เรียกว่าจุดประสานประสาท/ไซแนปส์ นิวรอนบางอย่างไม่มีแอกซอนและจะส่งสัญญาณผ่านเดนไดรต์ ไม่มีนิวรอนใด ๆ ที่มีแอกซอนมากกว่าหนึ่งอัน แต่ในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นแมลงและปลิง แอกซอนบางครั้งจะมีส่วนต่าง ๆ ที่ทำงานแทบเป็นอิสระต่อกันและกัน แอกซอนโดยมากจะแตกสาขา และในบางกรณีจะมีสาขาจำนวนมหาศาล แอกซอนจะเชื่อมกับเซลล์อื่น ๆ โดยปกติกับนิวรอนอื่น ๆ แต่บางครั้งก็เชื่อมกับกล้ามเนื้อหรือเซลล์ต่อม ผ่านจุดต่อที่เรียกว่า จุดประสานประสาท/ไซแนปส์ ที่ไซแนปส์ เยื่อหุ้มเซลล์ของแอกซอนจะเข้าไปเกือบชิดกับเยื่อหุ้มของเซลล์เป้าหมาย และโครงสร้างพิเศษระดับโมเลกุลจะเป็นตัวส่งสัญญาณไฟฟ้าหรือเคมี-ไฟฟ้าข้ามช่อง ยังมีไซแนปส์ในระหว่างอื่น ๆ ของแอกซอนซึ่งไม่ใช่ส่วนปลาย โดยเรียกว่า en passant synapse หรือ in passing synapse ไซแนปส์อื่น ๆ จะอยู่ที่ปลายสาขาต่าง ๆ ของแอกซอน แอกซอนหนึ่งใยพร้อมกับสาขาทั้งหมดรวม ๆ กัน อาจเชื่อมกับส่วนต่าง ๆ ในสมองและมีจุดเชื่อมคือไซแนปส์เป็นพัน.

ใหม่!!: ดินสอและแกนประสาทนำออก · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี

รงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี (Suankularb Wittayalai Nonthaburi School; อักษรย่อ: ส.ก.น., S.K.N.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ประเภทสหศึกษา ในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย ลำดับที่สอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ โดยกรมสามัญศึกษา (ปัจจุบัน: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ได้รับบริจาคที่ดิน จากนายผาสุก และนางเง็ก มณีจักร สองสามีภรรยา คหบดีชาวอำเภอปากเกร็ด ที่มีความประสงค์ให้สร้างโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย บนพื้นที่ดังกล่าว จึงเกิดการประสานงานจัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2521 เดิมให้ชื่อไว้ว่า “โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ๒ (ผาสุก มณีจักร)” และมอบหมายให้ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รักษาราชการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียน จนถึงปลายปีถัดมา จึงเปลี่ยนชื่อโรงเรียน เป็นชื่อที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และในปีเดียวกัน นางอัมพา แสนทวีสุข ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรก และเลื่อนฐานะขึ้นเป็นผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียนฯ ในเวลาต่อมา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด อาคารเรียน “สธ ๑, สธ ๒ และ สธ ๓” เมื่อกลางปี พ.ศ. 2525 และปลายปี พ.ศ. 2529 ตามลำดับ รวมทั้งพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อกลางปี พ.ศ. 2555 ตลอดจนโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามอาคารเรียน “สธ ๔” และอาคารหอประชุม “สิรินธราลัย” ด้วย นอกจากนี้ โรงเรียนฯ ยังได้รับรางวัลสถานศึกษาพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2532 และ 2544 และในปี พ.ศ. 2541 นักเรียนของโรงเรียนฯ ยังได้รับรางวัลเหรียญทองแดง จากการเข้าร่วมการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิก ที่ประเทศอิตาลี ในฐานะผู้แทนประเทศไทย ขณะที่นักกีฬาของโรงเรียนฯ ได้รับรางวัลเหรียญทอง ในฐานะผู้แทนทีมชาติไทย จากการเข้าร่วมการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 อีกด้วย จากเว็บไซต์โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรีหนังสืออนุสรณ์ 24 ปี สวนกุหลาบนนท์ 2521-2545 30 มีนาคม พ.ศ. 2545 ซุ้มประตูทางเข้าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี (ประดับประดาด้วยไฟสวยงาม เนื่องในงาน “ราตรีกุหลาบนนท์”) ด้านหลังซุ้มประตูคือ อาคารบริหารกิจการนักเรียนและประชาสัมพันธ์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี ถือกำเนิดขึ้น โดยเจตจำนงของผาสุก และเง็ก มณีจักร คหบดีชาวปากเกร็ดสองสามีภรรยา ซึ่งมีบุตรชายและหลานชายเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย บริจาคที่ดินบริเวณใกล้กับถนนติวานนท์เป็นจำนวน 25 ไร่ 1 งาน 18 ตารางวา เพื่อสร้างโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อต้นปีการศึกษา 2520 โดยมีผู้ร่วมก่อตั้งคือ สุวรรณ จันทร์สม อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ผู้อำนวยการกองการมัธยมศึกษาในขณะนั้น, สมพงษ์ พูลสวัสดิ์ และกว้าง รอบคอบ อดีตอธิบดีกรมสามัญศึกษา ขณะนั้นเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนปากเกร็ด เป็นผู้ประสานงานจัดตั้ง ในระยะเริ่มแรก โรงเรียนยังไม่มีอาคารเรียนถาวร มีเพียงที่ดินซึ่งกำลังถมและปรับสภาพ จึงต้องไปอาศัยใช้โรงเรียนชลประทานสงเคราะห์ เป็นสถานที่ในการรับสมัครเข้าเรียน และเมื่อกระทรวงศึกษาธิการประกาศตั้งโรงเรียนฯ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม..

ใหม่!!: ดินสอและโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี · ดูเพิ่มเติม »

เฟเบอร์-คาสเทลล์

ฟเบอร์-คาสเทลล์ (Faber-Castell, ฟาเบอร์-คัสเท็ลล์) เป็นบริษัทเครื่องเขียนจากประเทศเยอรมนี ก่อตั้งในปี..

ใหม่!!: ดินสอและเฟเบอร์-คาสเทลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Pencil

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »