โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซูซู

ดัชนี ซูซู

ซูซู (Zu Zu) ชื่อวงมาจากชื่อเล่นของหัวหน้าวง (ซู) เอง แต่เผอิญไปตรงกับคำท้องถิ่นแถบหนึ่งของอินโดนีเซีย หรือเป็นคำในภาษายาวี แปลว่าอวัยวะส่วนหนึ่งซึ่งอยู่ระดับอกของหญิงสาว เป็นวงดนตรีเพื่อชีวิตชาวไทยที่ก่อตั้งโดย ระพินทร์ พุฒิชาติ หรือ ซู, น้าซู อดีตสมาชิกวงสองวัย และหัวหน้าวงกะท้อน ร่วมกับเพื่อนนักดนตรี เช่น เศก ศักดิ์สิทธิ์, อู๊ด ยานนาวา, สุเทพ ปานอำพัน และ พันทิวา ภูมิประเทศ หรือ ทอม ดันดี.

23 ความสัมพันธ์: บุญนิยมทีวีพงษ์สิทธิ์ คำภีร์กะท้อนการประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่งมยุรา เศวตศิลายืนยง โอภากุลระพินทร์ พุฒิชาติรายชื่อกลุ่มดนตรีสัญชาติไทยรายนามนักร้องเพลงเพื่อชีวิตรถไฟดนตรีวอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์ศรัณยู วงษ์กระจ่างศักดิ์สิทธิ์สาริศา ใหม่ละออสาวเบียร์ช้างอู๊ด เป็นต่อทอม ดันดีทอดด์ ลาเวลล์ทำมือดี-เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์แสง ธรรมดาเพลงเพื่อชีวิตเศก ศักดิ์สิทธิ์

บุญนิยมทีวี

ญนิยมทีวี หรือชื่อเดิมสถานีโทรทัศน์เพื่อมนุษยชาติ (For Mankind Television) เป็นสถานีโทรทัศน์ธรรมะของพุทธสถานสันติอโศก ดำเนินการโดย มูลนิธิบุญนิยม โดยมี บริษัท เดินหน้าฝ่ามหาสมุทร (บุญนิยม) จำกัด เป็นผู้ดูแลด้านการผลิตเนื้อหารายการ ออกอากาศผ่านดาวเทียม NSS 6 ระบบ Ku-Band ความถี่ 11635 Symbol Rate - 27500 Polarization - Horizontal รับชมทางอินเทอร์เน็ตได้ที่ และรับชมทางเคเบิลท้องถิ่น.

ใหม่!!: ซูซูและบุญนิยมทีวี · ดูเพิ่มเติม »

พงษ์สิทธิ์ คำภีร์

งษ์สิทธิ์ คำภีร์ ศิลปินเพลงเพื่อชีวิตชาวไทย ที่ได้รับความนิยมในช่วงปี พ.ศ. 2534 และเริ่มรู้จักในวงกว้างมากขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2535 จากผลงานอัลบั้ม มาตามสัญญ.

ใหม่!!: ซูซูและพงษ์สิทธิ์ คำภีร์ · ดูเพิ่มเติม »

กะท้อน

กะท้อน ชื่อวง "กะท้อน" คือชื่อเฉพาะของวงดนตรีทางพื้นเมือง ไม่ใช่วงดนตรีชั้นสูง แต่เล่นดนตรีที่สะท้อนสังคมและโลกที่สาม: เป็นนิยามจากปกเทปชุดแรก เป็นวงดนตรีเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียง ก่อตั้งโดย ระพินทร์ พุฒิชาติ(ซู) กับเศก ศักดิ์สิทธิ์ และอู๊ด ยานนาวา โดยมีนักร้องนำหญิงคือ วันทนีย์ เอียดเอื้อ และสมทิศ ศิลปวานนท์ ซึ่งเคยเป็นนักร้องเด็กร่วมงานกับระพินทร์ ในสองวัย เริ่มมีผลงานเพลงชุดแรกกับค่ายครีเอเทีย(ซึ่งไม่เคยรับศิลปินเพลงเพื่อชีวิตมาก่อน) เมื่อปี พ.ศ. 2529 และออกอัลบั้มตามมาอีกสองชุด ก่อนที่ระพินทร์ และศักดิ์สิทธิ์ หัวหอกสำคัญของวงจะแยกตัวแล้วก่อตั้งวง ซูซู มีผลงานโดดเด่นในปี พ.ศ. 2532 ขณะที่กะท้อนยังเก็บเกี่ยวชื่อเสียงต่อไปกับอัลบั้มอีก 4 ชุด แล้วยุบวงในที่สุด เนื่องจากไม่มี วันทนีย์ นักร้องนำฝ่ายหญิงของวงซึ่งไปออกอัลบั้มเดี่ยวแล้วจนถึงปัจจุบัน วงกะท้อน มีเพลงที่มีชื่อเสียงได้แก่เพลง "สาวรำวง", "แม่ย่านาง","บุญแข่งเรือ", "บุหงาอันดามัน" และ"บุหงายาวี".

ใหม่!!: ซูซูและกะท้อน · ดูเพิ่มเติม »

การประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง

การประท้วงทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง เป็นเหตุการณ์ในประเทศไทยที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2547 ในช่วงปลายรัฐบาลทักษิณ 1 เมื่อมีการรวมตัวของกลุ่มคนในนาม กลุ่มประชาชนเพื่อชาติและราชบัลลังก์ และมีการชุมนุมปราศรัยเพื่อขับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 25 กันยายน..

ใหม่!!: ซูซูและการประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง · ดูเพิ่มเติม »

มยุรา เศวตศิลา

กุลนภา เศวตศิลา หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ มยุรา เศวตศิลา (ชื่อเกิด: รัตนา ชาตะธนะบุตร; 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2501) ก่อนหน้านี้เคยใช้ชื่อว่า มยุรา ธนะบุตร เป็นนักแสดงและพิธีกรชาวไท.

ใหม่!!: ซูซูและมยุรา เศวตศิลา · ดูเพิ่มเติม »

ยืนยง โอภากุล

ืนยง โอภากุล หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ แอ๊ด คาราบาว เป็นศิลปินเพลงเพื่อชีวิตชาวไทยเชื้อสายจีน เป็นหัวหน้าวงคาราบาว วงดนตรีเพื่อชีวิตและเป็นตำนานเพลงเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ได้รับยกย่องให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้อง-นักประพันธ์เพลงไทยสากล) ประจำปี พ.ศ. 2556.

ใหม่!!: ซูซูและยืนยง โอภากุล · ดูเพิ่มเติม »

ระพินทร์ พุฒิชาติ

ระพินทร์ พุฒิชาติ หรือ มีชื่อเล่นเดิมว่า ต้อย เกิดวันที่ 1 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ซูซูและระพินทร์ พุฒิชาติ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อกลุ่มดนตรีสัญชาติไทย

รายชื่อกลุ่มดนตรีและวงดนตรีสัญชาติไทย ชื่อในวงเล็บสำหรับกลุ่มที่ใช้ชื่อภาษาต่างประเทศ.

ใหม่!!: ซูซูและรายชื่อกลุ่มดนตรีสัญชาติไทย · ดูเพิ่มเติม »

รายนามนักร้องเพลงเพื่อชีวิต

หน้านี้คือรายนามนักร้องเพลงเพื่อชีวิต.

ใหม่!!: ซูซูและรายนามนักร้องเพลงเพื่อชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟดนตรี

รถไฟดนตรี ก่อตั้งในช่วง..

ใหม่!!: ซูซูและรถไฟดนตรี · ดูเพิ่มเติม »

วอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์

วอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์ (Warner Music Thailand) เป็นค่ายเพลงย่อยของ วอร์เนอร์มิวสิกกรุ๊ป ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ หรือ บิ๊กโฟร์ (Big Four) โดยต้นกำเนิดมาจากการที่ วอร์เนอร์มิวสิกกรุ๊ป เข้ามาเทคโอเวอร์กิจการของ ดี-เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ของ วาสนา ศิลปิกุล แห่ง แว่วหวาน, เศก ศักดิ์สิทธิ์ และ ชนินทร์ โปสาภิวัฒน์ และ มูเซอร์ เรคคอร์ดส ของ ประภาส ชลศรานนท์ และศิลปินวงเฉลียงอย่างเกี๊ยง - เกียรติศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์ และนก - ฉัตรชัย ดุริยประณีต ในต้นปี พ.ศ. 2537 ทำให้มีศิลปินบางส่วนยังคงทำเพลงกับค่ายวอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์ต่อไป โดยเฉพาะวงคาราบาว และ ซูซู อีกทั้งยังได้นำอัลบั้มทั้งหมดของ ดี-เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ และ มูเซอร์ เรคคอร์ดส มาจำหน่ายใหม่อีกด้ว.

ใหม่!!: ซูซูและวอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ศรัณยู วงษ์กระจ่าง

รัณยู วงศ์กระจ่าง (ชื่อเล่น: ตั้ว) มีชื่อจริงว่า นรัณยู วงษ์กระจ่าง (เปลี่ยนมาจาก ศรัณยู วงศ์กระจ่าง) เกิดเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2503 ที่ตำบลกระดังงา อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ศรัณยู เป็นนักแสดง พิธีกร ผู้กำกับการแสดงละครและภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในวงการบันเทิงของไทย ก่อนจะเข้ามาในวงการบันเทิง ประกอบอาชีพเป็นสถาปนิกมาก่อน แต่เนื่องจากอาชีพสถาปนิกในเวลานั้น ยังไม่เป็นที่นิยมอย่างในปัจจุบัน ซึ่งศรัณยูได้ร่วมกิจการการแสดงโดยแสดงละครของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 เมื่อยังเป็นนักศึกษาอยู่แล้ว เมื่อจบออกมามีผลงานชิ้นแรกทางโทรทัศน์ โดยแสดงเป็นตัวประกอบในรายการเพชฌฆาตความเครียด ทางช่อง 9 ในปี พ.ศ. 2527 โดยแสดงร่วมกับนักแสดงรุ่นพี่ที่เป็นศิษย์เก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่นเดียวกัน เช่น ปัญญา นิรันดร์กุล, เกียรติ กิจเจริญ, วัชระ ปานเอี่ยม เป็นต้น ศรัณยูรักอาชีพนักแสดงที่สุด เขามีผลงานทางด้านการแสดงมากกว่า 100 เรื่อง ทั้งละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และละครเวที เป็นพระเอกที่ครองความนิยมในประเทศไทยในช่วงยุค 80-90 มีผลงานละครโทรทัศน์โด่งดังมากมาย ได้แก่ เก้าอี้ขาวในห้องแดง (2527) ระนาดเอก (2528) มัสยา (2528) บ้านทรายทอง และ พจมาน สว่างวงศ์ (2530) เกมกามเทพ (2531) เจ้าสาวของอานนท์ (2531) ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง (2532) รัตติกาลยอดรัก (2532) วนาลี (2533) รอยมาร (2533) วนิดา (2534) ไฟโชนแสง (2535) น้ำเซาะทราย (2536) ทวิภพ (2537) มนต์รักลูกทุ่ง (2538) ด้วยแรงอธิษฐาน (2539) และ นายฮ้อยทมิฬ (2544) ซึ่งแทบทุกเรื่องถูกนำมาสร้างใหม่ในภายหลัง ส่วนผลงานละครเวทีที่เป็นที่จดจำมากที่สุด คือ สู่ฝันอันยิ่งใหญ่ (2530) นอกจากนั้นแล้ว ศรัณยูยังมีผลงานพิธีกร ผู้กำกับละครโทรทัศน์ และผู้กำกับภาพยนตร์ มากมายหลายเรื่อง อาทิเช่น เป็นผู้กำกับละครโทรทัศน์เรื่อง "เทพนิยายนายเสนาะ" (2541), ละครพีเรียดเรื่อง "น้ำพุ" (2545), ละครสั้นสองตอนจบเรื่อง "ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด" (2545), ละครเรื่อง "สุภาพบุรุษลูกผู้ชาย" (2546), ละครเรื่อง "หลังคาแดง" (2547), ละครเรื่อง "ตราบสิ้นดินฟ้า" (2551) ผลงานการกำกับภาพยนตร์เรื่อง "อำมหิตพิศวาส" (2550) และ "คนโขน" (2554) อีกทั้งศรัณยูยังได้นำบทประพันธ์เรื่อง "หลังคาแดง" มาดัดแปลงและนำเสนอในรูปแบบละครเวทีเรื่อง "หลังคาแดง เดอะมิวสิคัล" (2555) อีกด้วย ปัจจุบัน ศรัณยูเป็นผู้จัดละครและผู้กำกับการแสดง ผลิตละครโทรทัศน์ ในนาม "สามัญการละคร" มีผลงานการกำกับละครเรื่อง "สุภาพบุรุษลูกผู้ชาย" (2556), หัวใจเถื่อน (2557), รอยรักแรงแค้น (2558) และล่าสุดเรื่อง บัลลังก์หงส์ (2559).

ใหม่!!: ซูซูและศรัณยู วงษ์กระจ่าง · ดูเพิ่มเติม »

ศักดิ์สิทธิ์

ักดิ์สิทธิ์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ซูซูและศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

สาริศา ใหม่ละออ

ริศา ใหม่ละออ (ชื่อเดิม: สุนทรี ใหม่ละออ) เกิดวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2524 เป็นนักแสดงชาวไทย เธอได้แสดงละครเรื่องแรกกับทางช่อง 3 คือ เขยลิเก มีผลงานกับทางช่อง3 ต่อมา ได้แสดงละครกับทางช่อง ITV และ ช่อง7 แสดงหนังต่างประเทศ จบปริญญาตรีภาควิชาสื่อสารมวลชน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ใหม่!!: ซูซูและสาริศา ใหม่ละออ · ดูเพิ่มเติม »

สาวเบียร์ช้าง

วเบียร์ช้าง เป็นสตูดิโออัลบั้มลำดับที่ 22 ของวงคาราบาว ออกจำหน่ายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งอยู่ในช่วงที่ทางวงมีอายุ 20 ปี และเป็นช่วงที่รัฐบาลสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีนโยบายให้ปิดสถานบริการกลางคืนตามเวลากำหนด ทำให้คนทำงานกลางคืนเดือดร้อนกันถ้วนหน้า ด้วยเหตุนี้ทางวงจึงได้แต่งเพลง "ปุระชัยเคอร์ฟิว" ขึ้นมา นอกจากนี้ยังมีเพลงที่ไว้อาลัยเหตุการณ์ตึกถล่มที่เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ สหรัฐอเมริกา ในเพลง "เดือน 9 เช้า 11" และเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อสดุดีผู้กล้าหาญของชาติไทย คือ "ดาวแห่งโดม" และ "นางสาวสยาม" อัลบั้มชุดนี้เป็นอัลบั้มภาคปกติชุดเดียวของวงที่ผลิตโดย บริษัท "มองโกล" หลังการแยกตัวจาก กระบือ แอนด์ โค และออกมาก่อนที่ ยืนยง โอภากุล จะทำธุรกิจเครื่องดื่มคาราบาวแดง และทางวงจะกลับไปผลิตผลงานในอัลบั้มถัดไปกับ "วอร์เนอร์ มิวสิก (ประเทศไทย)" โดยเป็นอัลบั้มเพียงชุดเดียวที่ใช้ชื่อยี่ห้อสินค้าสนับสนุนของคาราบาวมาเป็นส่วนหนึ่งของชื่ออัลบั้ม.

ใหม่!!: ซูซูและสาวเบียร์ช้าง · ดูเพิ่มเติม »

อู๊ด เป็นต่อ

ีระชาติ ธีระวิทยากุล (เกิดเมื่อ 13 มีนาคม พ.ศ. 2519) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ อู๊ด เป็นต่อ เป็นนักแสดงตลกชาวไทย มีชื่อเสียงจากละครซิทคอมเรื่อง เป็นต่อ ในบท "อู๊ด" ธีระชาติเป็นชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ ครอบครัวมีกิจการร้านซ่อมนาฬิกา มีความใฝ่ฝันที่จะเป็นนักดนตรีเพื่อชีวิตตั้งแต่เด็ก จึงออกจากบ้านไปเป็นลูกวงดนตรีกะท้อน และซูซู และตั้งวงดนตรีกับเพื่อนๆ สำเนาจาก, 1 กรกฎาคม 2552 หน้า 24 รวมถึงเป็นนักแสดงตลกคณะเหลือเฟือ มกจ๊ก โดยเล่นเป็นนักดนตรีเพื่อชีวิต "แอ๊ด มกจ๊ก" ล้อเลียน แอ๊ด คาราบาว การแสดงตลกในคณะเหลือเฟือ มกจ๊ก ไปสะดุดตาจิรศักดิ์ โย้จิ้ว ผู้กำกับละครซิทคอม เป็นต่อ จึงได้ติดต่อให้เข้ามาร่วมแสดง.

ใหม่!!: ซูซูและอู๊ด เป็นต่อ · ดูเพิ่มเติม »

ทอม ดันดี

ทอม ดันดี เดิมมีชื่อจริงว่า พันทิวา ภูมิประเทศ ปัจจุบันใช้ชื่อว่า ธานัท ธนวัชรนนท์ เป็นชาวอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี มีชื่อเสียงขึ้นมาจากการเป็นนักร้องวงซูซู ที่มีผลงานเพลงที่รู้จักอยู่หลายเพลง เช่น บ่อสร้างกางจ้อง, มยุรา, สาวมอญแม่เหมย โดยชื่อทอม ดันดี นั้นตั้งมาจาก ทอม โจนส์ ในภาพยนตร์เรื่อง อินเดียน่าโจนส์ และ เมืองดันดีเมืองหลวงของสกอตแลนด์ http://news.sanook.com/social/social_12295.php ทอม ดันดี จบการศึกษาจากประเทศฝรั่งเศส มีผลงานอัลบั้มเดี่ยวครั้งแรกในปี พ.ศ. 2536 ชื่อ อย่างนี้ต้องตีเข่า มีเพลงที่ได้รับความนิยมคือเพลงชื่อเดียวกับอัลบั้ม ในสังกัดดี-เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ปัจจุบันติดคุกฐานความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย โดยศาลอาญาลงโทษจำคุก 7 ปี 6 เดือน นายธานัท ธนวัชรนนท์ ไม่ขออุทธรณ์คดีจึงจบที่ศาลชั้นต้นในวันที่ 30 พฤษภาคม2559 และขัดคำสั่งที่ 53/2557 ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ทอม ดันดี เคยพยายามทำธุรกิจถุงยางอนามัย โดยใช้ชื่อ ถุงยางอนามัยทอม ดันดี รุ่น ลีลาวดี แต่ไม่ผ่านการอนุญาตจากคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เนื่องจากชื่อยั่วยุให้ผู้บริโภคสินค้าเกินความจำเป็น.

ใหม่!!: ซูซูและทอม ดันดี · ดูเพิ่มเติม »

ทอดด์ ลาเวลล์

ทอดด์ ทองดี มีชื่อจริงว่า โทมัส เจมส์ ลาเวลล์ (อังกฤษ: Thomas James Lavelle) เกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2506 เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง นักดนตรีชาวอเมริกันที่มาใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยนานหลายปี ปัจจุบันเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ คุณพระช่วย ร่วมกับภาณุพันธ์ ครุฑโต และพงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ ทอดด์ ทองดี เกิดที่สแครนตัน เพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา มีเชื้อสายเยอรมันจากบิดา และไอริช-อเมริกันผิวสีจากมารดา ทอดด์เป็นบุตรคนที่ 3 จาก 6 คนของโทมัส ลาเวลล์ (เสียชีวิตแล้ว) และเชอร์ลีย์ ลาเวลล์ จบปริญญาตรีชีววิทยาและเอเชียศึกษาจากมหาวิทยาลัยสแครนตัน ในปี..

ใหม่!!: ซูซูและทอดด์ ลาเวลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ทำมือ

ทำมือแอ๊ด คาราบาว กล่าวไว้ว่า เดิมทีกะจะใช้ชื่ออัลบั้มนี้ว่า "ทำกะมือ" หรือ "ทำในครัว" เป็นสตูดิโออัลบั้มเดี่ยวลำดับที่ 2 ของแอ๊ด คาราบาว (ยืนยง โอภากุล) และเป็นอัลบั้มชุดแรกภายหลังการแยกตัวของวงคาราบาว หรือเป็นการพักวง เริ่มบันทึกเสียงเดือนเมษายน พ.ศ. 2532 และวางตลาดเดือนสิงหาคม ขายได้ไปกว่า 700,000 ตลับ ภายใต้สังกัดแว่วหวาน (เป็นอัลบั้มที่โด่งดังในอัลบั้มหนึ่งของ แอ๊ด คาราบาว) อัลบั้มมีเพลงทั้งสิ้น 13 เพลง โดยเพลงที่โด่งดังที่สุดคือเพลง สุรชัย 3 ช่า ร้องโดย หงา คาราวาน ส่วนแอ๊ดทำหน้าที่เพียงร้องท่อนสร้อยของเพลงเท่านั้น ซึ่งเป็นเพลงสไตล์สามช่า ที่ได้รับความนิยมอย่างมากอีกเพลงหนึ่ง รวมทั้งเพลงอื่น ๆ เช่น "รักต้องสู้" "แง้มใจ" "ทำมือ" และมีการร้องต่อกันเรื่อยมา นอกจากนี้ยังมีเพลงที่เสนอแง่มุมของความรักอย่างมีเหตุผลออกมาด้วยกันถึง 3 เพลง ได้แก่ แง้มใจ, รักต้องสู้ และ รักทรหด (2) ซึ่งเป็นเพลงภาคต่อเนื่องจากที่เสนอในอัลบั้ม ทับหลัง ของวงคาราบาว.

ใหม่!!: ซูซูและทำมือ · ดูเพิ่มเติม »

ดี-เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์

ี-เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ เป็นชื่อค่ายเพลงไทยในอดีต ก่อตั้งขึ้นเมื่อปลายปี พ.ศ. 2533 โดยคุณ วาสนา ศิลปิกุล แห่ง แว่วหวาน, เศก ศักดิ์สิทธิ์ และมี ชนินทร์ โปสาภิวัฒน์ ครีเอทีฟมือฉมังเข้าร่วมงานด้วย ศิลปินรายแรกของบริษัท คือ แอ๊ด - ยืนยง โอภากุล ซึ่งเป็นหัวหน้าวงคาราบาว กับอัลบั้มเดี่ยวชุดที่ 4 ชื่อชุด โนพลอมแพลม จากนั้นจึงรับผลิตผลงานเพลงอีกหลายศิลปิน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นศิลปินเพลงเพื่อชีวิต จนเรียกได้ว่าเป็นค่ายเพลงหนึ่งในจำนวนไม่มากนักที่เน้นแต่เพลงเพื่อชีวิต อีกทั้งยังเป็นบริษัทเทปที่บริหารงานอย่างครบวงจร ทั้งการผลิต โปรโมท จัดจำหน่าย (ในนาม ซาวด์ - ซาวด์ ก่อนจะเปลี่ยนเป็น มิวสิก้า) แต่ก็ยังได้ผลิตผลงานเพลงในแนวสตริง และโพรเกรสซิฟร็อกด้วย โดยเริ่มจากผลงานเพลงชุดแรกและชุดเดียวของอั๋น - สิรคุปต์ เมทะนี กับอัลบั้ม ฟิตเปรี๊ยะ ก่อนจะมีค่ายเพลง มูเซอร์ เรคคอร์ดส ซึ่งนำทีมโดย ประภาส ชลศรานนท์ ร่วมด้วยสมาชิกวงดนตรีเฉลียงอย่างเกี๊ยง - เกียรติศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์ และนก - ฉัตรชัย ดุริยประณีต เข้ามาประกบกับ ดี-เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ดี-เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ดำเนินงานอยู่ได้เพียง 3 ปี ก็ถูกบริษัท วอร์เนอร์มิวสิกกรุ๊ป ซึ่งเป็น 1 ใน 4 บริษัทค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ หรือที่เรียกว่า บิ๊กโฟร์ (Big Four) จากต่างประเทศเข้ามาเทคโอเวอร์กิจการ โดยรวมดี-เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ และ มูเซอร์ เรคคอร์ดส เข้ารวมกันและเปลี่ยนชื่อเป็น วอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์ ทำให้ศิลปินในสังกัด ดี-เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ และ มูเซอร์ เรคคอร์ดส จำนวนหนึ่งยังคงเดินหน้าทำเพลงต่อไปในบริษัทใหม่ และ วอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์ ยังได้นำอัลบั้มเพลงจากสมัย ดี-เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ มาวางจำหน่ายซ้ำอีกด้วย ดี-เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จึงเหลือเพียงตำนานค่ายเพลงเพื่อชีวิตครบวงจร.

ใหม่!!: ซูซูและดี-เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ · ดูเพิ่มเติม »

แสง ธรรมดา

แสง ธรรมดา มีชื่อจริงว่า แสงธรรมดา กิติเสถียรพร เป็นนักร้อง นักดนตรี และนักแต่งเพลงเพื่อชีวิต ชาวจังหวัดสงขลา มีชื่อเสียงจากการนำเพลงเพื่อชีวิตไปประยุกต์กับคำร้องและสำเนียงภาษาปักษ์ใต้ มีชื่อเสียงจากเพลง "นายหัวครก" (หัวครก เป็นภาษาใต้ แปลว่า มะม่วงหิมพานต์) จบการศึกษาแผนกวิชาสถาปัตยกรรม วิทยาลัยเทคนิคภาคใต้ (ปัจจุบันคือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย) แสง ธรรมดา เคยร่วมต่อสู้ทางการเมืองในเหตุการณ์ 6 ตุลา เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ และการขับไล่ทักษิณ ชินวัตร จากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นเจ้าของร้านอาหารและร้องดนตรีเพื่อชีวิต ชื่อร้าน "บ้านนายหัว" ที่จังหวัดสงขลา เป็นผู้ร่วมจัดตั้งเครือข่ายศิลปินพันธมิตรภาคใต้ ในการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 ในการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 แสง ธรรมดา ได้นำบุตรสาว ชื่อ เด็กหญิงแสงรายา กิติเสถียรพร ขึ้นร่วมร้องเพลงที่ทำเนียบรัฐบาลด้วย ชื่อเพลง "ดอกไม้" คำร้องโดยจิระนันท์ พิตรปรีชา ทำนองโดยวีรพจน์ ลือประสิทธิ์สกุล และเพลง "คุณหนูกู้ชาติ" ดัดแปลงจากทำนองเพลงสากล ที่ดิอิมพอสซิเบิ้ล เคยนำมาร้อง.

ใหม่!!: ซูซูและแสง ธรรมดา · ดูเพิ่มเติม »

เพลงเพื่อชีวิต

การแสดงดนตรีของวงคาราวานในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรครั้งที่ 3 เพลงเพื่อชีวิต ถือกำเนิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แต่แรกเริ่มหมายถึงเพลงที่มีเนื้อหากล่าวถึงชีวิตของคน โดยเฉพาะคนชนชั้นล่าง กล่าวถึงความยากลำบากในการใช้ชีวิต การถูกเอารัดเอาเปรียบ เพลงในแนวเพื่อชีวิตในยุคนี้โดยมากจะเป็นเพลงลูกทุ่ง เช่น เพลง กลิ่นโคนสาบควาย ของคำรณ สัมบุญณานนท์, จักรยานคนจน ของยอดรัก สลักใจ, น้ำมันแพง ของสรวง สันติ, น้ำตาอีสาน แต่งโดยชลธี ธารทอง และขับร้องโดยสายัณห์ สัญญา เป็นต้น เพลงเพื่อชีวิตในประเทศไทยเริ่มเฟื่องฟูเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางโดยแพร่หลายช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 โดยเนื้อหาของเพลงไม่จำกัดเฉพาะชีวิตของคนชั้นล่างอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการเรียกร้องประชาธิปไตยและการเหน็บแนมการเมืองอีกด้วย และแนวดนตรีได้เปิดกว้างขึ้นเป็นแนวอคูสสติกหรือร็อก โดยได้รับอิทธิพลและแรงบันดาลใจจากศิลปินต่างประเทศ เช่น บ็อบ ดิลลัน, บ็อบ มาร์เลย์, นีล ยัง, ไซมอน แอนด์ การ์ฟังเกล เป็นต้น เทียบได้กับโปรเทสต์ซองของสหรัฐอเมริกา โดยคำว่า "เพลงเพื่อชีวิต" นั้น มาจากคำว่าศิลปะเพื่อชีวิต หรือวรรณกรรมเพื่อชีวิต ซึ่งเป็นวรรณกรรมที่ว่าถึงชีวิตและการต่อสู้ของมนุษย์ในสังคม ในยุคนี้เพลงเพื่อชีวิตเฟื่องฟูมาก จนอาจกล่าวได้ว่าเป็น "เพชรเม็ดงามของวรรณกรรมเพื่อชีวิต" เพลงเพื่อชีวิตมักจะรวมเอาองค์ประกอบของดนตรีตะวันตกเหมือนกันเช่นเพลงบัลลาด และเพิ่มเป็นจังหวะของดนตรีไทยเซ่น สามช่า หมอลำ และลูกทุ่ง และมีองค์ประกอบของดนตรีคลาสสิกไทยบ้างเช่นกัน เพลงเพื่อชีวิตในยุคแรกจะเป็นดนตรีโฟล์กตะวันตกพร้อมกับการใช้เครื่องดนตรีอคูสติก ซึ่งต่อมาได้เพิ่มดนตรีร็อกพร้อมกับกีตาร์ไฟฟ้า เบส และกลองชุด บางศิลปินยังได้รับอิทธิพลของเร้กเก้ สกา และเพลงละตินบ้างและบางศิลปินยังใช้เครื่องดนตรีไทยเซ่น พิณ ขลุ่ย และซออู้ โดยวงดนตรีเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียง ได้แก่ คาราวาน, แฮมเมอร์, โคมฉาย เป็นต้น ความนิยมในเพลงเพื่อชีวิตไม่ได้เป็นเพียงกระแสในห้วงเวลานั้น หากแต่ยังได้รับความนิยมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีวงดนตรีและนักร้องเพลงเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน เช่น คาราบาว, พงษ์สิทธิ์ คำภีร์, พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ, อินโดจีน, คนด่านเกวียน, มาลีฮวนน่า, โฮป, ซูซู, ตีฆอลาซู เป็นต้น อีกทั้งยังมีศิลปินบางคนหรือบางกลุ่มที่ไม่ได้เป็นเพื่อชีวิตอย่างเต็มตัว แต่เนื้อหาของเพลงหลายเพลงมีเนื้อหาที่คล้ายคลึงกับเพื่อชีวิตหรือจัดให้อยู่ประเภทเพื่อชีวิตได้ เช่น จรัล มโนเพ็ชร, เสกสรร ทองวัฒนา, ธนพล อินทฤทธิ์, หนู มิเตอร์, นิค นิรนาม, พลพล พลกองเส็ง, กะท้อน, ศุ บุญเลี้ยง, สิบล้อ เป็นต้น.

ใหม่!!: ซูซูและเพลงเพื่อชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

เศก ศักดิ์สิทธิ์

ก ศักดิ์สิทธิ์ มีชื่อจริงว่า ศักดิ์สิทธิ์ เชื้อกลาง เป็นนักร้อง นักดนตรี และนักแต่งเพลง แนวเพลงเพื่อชีวิต และลูกทุ่ง เป็นชาวจังหวัดหนองคาย เริ่มเล่นดนตรีตั้งแต..

ใหม่!!: ซูซูและเศก ศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »