โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซุนนี

ดัชนี ซุนนี

ซุนนี (سُنِّي) คือนิกายหนึ่งในศาสนาอิสลาม มีชื่อเต็มในภาษาอาหรับว่า อะฮ์ลุสซุนนะฮ์วะอัลญะมาอะฮ์ (أهل السنة والجماعة, นิยมอ่านว่า อะฮ์ลุสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์) เป็นนิกายที่ใหญ่ที่สุดในอิสลาม แบ่งเป็นสำนักหรือมัซฮับย่อย ๆ ออกเป็นหลายมัซฮับ แต่ปัจจุบันเหลือแค่เพียง 4 มัซฮับ นอกจากนี้ยังมีมัซฮับมุสลิมซุนนีที่ไม่ยึดถือมัซฮับ เรียกตนเองว่า พวกซะละฟี.

139 ความสัมพันธ์: บัสราชาวอาหรับชาวอุซเบกชาวจามชาวโวลอฟชาวโซมาลีชาวเคิร์ดบูร์ฮานุดดีน รับบานีชีอะฮ์ชนเบอร์เบอร์พม่าเชื้อสายมลายูพม่าเชื้อสายอินเดียพระนามของพระเจ้าในอิสลามกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศกัมพูชากองทัพแห่งความชอบธรรมการประหารชีวิตซัดดัม ฮุสเซนญะมาล อับดุนนาศิรญะมาอะห์ อิสลามียะห์ญะมาอะฮ์อันศอรอัสซุนนะฮ์ญิฮาดภาษาจามตะวันตกภาษาเมโมนีมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัรมัสยิดมัสยิดต้นสนมัสยิดนูรุ้ลอิสลามมารี อัลกาตีรีมาฮาดีร์ บิน โมฮามัดมุฮัมมัด บิน รอชิด อัลมักตูมมุฮัมมัด บิน ซัลมานมุฮัมมัด มุรซีมุฮัมมัด อุมัรยัสเซอร์ อาราฟัตยุทธการที่บะดัรยูนิส มะห์มูดรัฐอิสลามอัฟกานิสถานรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์รัฐเคาะลีฟะฮ์รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์รัฐเคดีฟอียิปต์ราชวงศ์ตีมูร์ราชวงศ์เซลจุคราชอาณาจักรอัฟกานิสถานราชอาณาจักรอิรักลัยลัต อัล-ก็อดรฺลัทธิศูฟีวะฮาบีย์วัฒนธรรมกัมพูชาศาสนาพุทธในประเทศบรูไน...ศาสนาอิสลามศาสนาอิสลามในประเทศไทยศาสนาในประเทศกัมพูชาสมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซัม ชาห์สาธารณรัฐอัฟกานิสถานสาธารณรัฐอียิปต์ (2496–2501)สิงหาคม พ.ศ. 2548สุลัยมานผู้เกรียงไกรสุลต่านอับดุล ฮามิด ฮาลิมแห่งเกอดะฮ์สุลต่านฮุสเซน ชาห์แห่งยะโฮร์สงครามกลางเมืองซีเรียสงครามอิรักสงครามอิรัก–อิหร่านสนธิ บุญยรัตกลินหะดีษอภิธานศัพท์ศาสนาอิสลามอะบูฏอลิบอะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบอับดุลอะซีซ บูเตฟลีกาอัยมัน อัซเซาะวาฮิรีอัรบะอีนอัลเฆาะซาลีอัสบัต อัลอันซาร์อันวัร อัสซาดาตอันวาร์ อิบราฮิมอันศอรอัลอิสลามอาหรับอุมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีรอุยกูร์อุซามะฮ์ บิน ลาดินฮอมส์ฮะมาสฮิซบุลลอฮ์ (แก้ความกำกวม)ฮิซบุลลอฮ์ชาวเคิร์ดฮุสนี มุบาร็อกจักรวรรดิกาสนาวิยะห์จักรวรรดิแอฟริกากลางจักรวรรดิเซลจุคจังหวัดชวากลางจุฬาราชมนตรีธงขาวขบวนการร่วมเพื่อเอกราชปัตตานีขบวนการอมัลต้นสมัยกลางฉนวนกาซาซัดดัม ฮุสเซนซิบฆัตตุลลอฮ์ โมญัดเดดีซีตี นูร์ฮาลีซาประชากรศาสตร์บรูไนประวัติศาสตร์รัฐชัมมูและกัษมีระประเทศบรูไนประเทศมัลดีฟส์ประเทศอิรักประเทศอิหร่านประเทศอียิปต์ประเทศคอโมโรสประเทศคาซัคสถานประเทศคีร์กีซสถานประเทศติมอร์-เลสเตประเทศซาอุดีอาระเบียประเทศซีเรียประเทศปากีสถานประเทศไทยประเทศเอริเทรียนิกายนูร์ซุลตัน นาซาร์บายิฟแช่ม พรหมยงค์แมลคัม เอ็กซ์โมฮัมหมัด นาญิบุลลอฮ์โมฮัมเหม็ด ดาวูด ข่านโรฮีนจาโลกอิสลามไทยเชื้อสายมลายูเกาะลมบกเฏาะลากสามครั้งในอินเดียเยรูซาเลมเราะมะฎอนเรเจป ไตยิป แอร์โดอันเล็ก นานาเวสเทิร์นสะฮาราเอกราชอัสซีเรียเอมิเรตอัฟกานิสถานเอมิเรตนัจญด์และฮะซาอ์เจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอียิปต์เด่นเก้าแสน เก้าวิชิตเคาะบัรวาฮิดเคาะลีฟะฮ์ บิน ซายิด อัลนะฮ์ยานเนินพระวิหาร ขยายดัชนี (89 มากกว่า) »

บัสรา

ัสรา, แบสรา (Basra) หรือ อัลบัศเราะฮ์ (البصرة) เป็นเมืองหรืออำเภอหลักของจังหวัดบัสรา ประเทศอิรัก ตั้งในเขตชัฏฏุลอะร็อบ ริมอ่าวเปอร์เซีย เป็นที่ตั้งของมัสยิดแห่งแรกนอกคาบสมุทรอาระเบีย และศูนย์กีฬาที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลาง คือ บัสราสปอร์ตซิตี ตัวเมืองอยู่ระหว่างประเทศคูเวตและประเทศอิหร่าน ชื่อเมืองมาจากคำภาษาอาหรับ بصر (บัศร์) หรือการแลเห็น เนื่องจากเมืองนี้เป็นเมืองหน้าด่านทางทะเล แต่ไม่มีท่าเรือน้ำลึกเหมือนเมืองอุมกัศร์ (أم قصر) ที่อยู่ใกล้ ๆ กัน อย่างไรก็ตามรัฐบาลอิรักกำหนดให้เมืองบัสราเป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญ.

ใหม่!!: ซุนนีและบัสรา · ดูเพิ่มเติม »

ชาวอาหรับ

วอาหรับ (عرب) เป็นกลุ่มชนเซมิติกที่พูดภาษาอาหรับโดยมีประชากรอาศัยในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้และแอฟริกาเหนือ ซึ่งกลุ่มชาวอาหรับประกอบด้วยชาวเลบานอน, ชาวซีเรีย, ชาวเอมิเรตส์, ชาวกาตาร์, ชาวซาอุดี, ชาวบาห์เรน, ชาวคูเวต, ชาวอิรัก, ชาวโอมาน, ชาวจอร์แดน, ชาวปาเลสไตน์, ชาวเยเมน, ชาวซูดาน, ชาวแอลจีเรีย, ชาวโมร็อกโก, ชาวตูนีเซีย, ชาวลิเบีย และชาวอียิปต.

ใหม่!!: ซุนนีและชาวอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวอุซเบก

วอุซเบก (Uzbeks) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดของกลุ่มชนเตอร์กิกในเอเชียกลาง ประชาชนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศอุซเบกิสถาน แต่ก็ยังพบได้เป็นประชากรส่วนน้อยของประเทศอัฟกานิสถาน ทาจิกิสถาน คีร์กิซสถาน คาซัคสถาน เติร์กเมนิสถาน รัสเซีย และจีน นอกจากนี้ผู้อพยพผลัดถิ่นชาวอุซเบกอาศัยอยู่ในประเทศตุรกี ซาอุดีอาระเบีย และปากีสถาน.

ใหม่!!: ซุนนีและชาวอุซเบก · ดูเพิ่มเติม »

ชาวจาม

ทความนี้เป็นบทความเกี่ยวกับชาติพันธุ์ สำหรับความหมายอื่นดูที่ จาม จาม (người Chăm เหงื่อยจัม, người Chàm เหงื่อยจ่าม; จาม: Urang Campa อูรัง จัมปา) จัดอยู่ในตระกูลภาษามาลาโยโพลินีเชียน อาศัยอยู่บริเวณทางใต้ของเวียดนาม และเป็นกลุ่มชนมุสลิมเป็น 1 ใน 54 ชาติพันธุ์ของประเทศเวียดนาม ในอดีตชนชาติจามตั้งอาณาจักรจามปาที่ยิ่งใหญ่ มีความเจริญรุ่งเรืองช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 2-15 ด้วยอาณาเขตติดทะเล ชาวจามจึงมีความสามารถเดินเรือและค้าขายไปตามหมู่เกาะ ไกลถึงแถบตะวันออกกลาง รวมถึงประเทศจีน ส่วนใหญ่เป็นผ้าไหม ไม้หอม เครื่องปั้นดินเผา ปัจจุบันคือบริเวณเมืองดานัง เมืองท่าในตอนกลางของเวียดนาม มีเมืองหลวงชื่อ วิชัย (ปัจจุบันคือเมืองบิญดิ่ญ) มีโบราณสถานกระจัดกระจายอยู่ตามภูเขาต่าง ๆ ในเวียดนาม กระทั่งในปี ค.ศ. 1471 อาณาจักรจามปาสู้รบกับชนชาติเวียดนามเดิม ที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศ ทำให้อาณาจักรจามปาล่มสลาย ชาวจามส่วนใหญ่ต้องอพยพลงไปใต้ปัจจุบันมีชาวจามอาศัยอยู่ทางตอนกลางของเวียดนาม ที่เมืองนิงห์ถ่วง เมืองบินห์ถ่วง เตยนินห์ โฮจิมินห์ ส่วนทางใต้จะอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากที่เมืองอันยาง.

ใหม่!!: ซุนนีและชาวจาม · ดูเพิ่มเติม »

ชาวโวลอฟ

วโวลอฟ (Wolof people) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่พบในเซเนกัล, แกมเบีย และมอริเตเนี.

ใหม่!!: ซุนนีและชาวโวลอฟ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวโซมาลี

วโซมาลี (Soomaaliyeed, الصوماليون) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในจะงอยแอฟริกา (คาบสมุทรโซมาลี) ชาวโซมาลีส่วนใหญ่พูดภาษาโซมาลี และคนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม นิกายสุหนี่Mohamed Diriye Abdullahi, Culture and Customs of Somalia, (Greenwood Press: 2001), p.1 กลุ่มชาติพันธุ์โซมาลีส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศโซมาเลีย (ประมาณ 8,700,000) and (CIA according de). The first gives 15% non-Somalis and the second 6%.

ใหม่!!: ซุนนีและชาวโซมาลี · ดูเพิ่มเติม »

ชาวเคิร์ด

วเคิร์ด (کورد Kurd คูร์ด, Kurdish people) เป็นชนในกลุ่มชนอิหร่านที่เป็นกลุ่มภาษาชาติพันธุ์ (ethnolinguistic) ที่ส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณที่เป็นเคอร์ดิสถาน ที่รวมทั้งบางส่วนบริเวณที่ใกล้เคียงกันที่รวมทั้งอิหร่าน อิรัก, ซีเรีย และ ตุรกี นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มชนเคิร์ดขนาดใหญ่พอสมควรทางตะวันตกของตุรกี และในเลบานอน, อาร์มีเนีย, อาเซอร์ไบจาน และเมื่อไม่นานมานี้ในประเทศในยุโรป และ สหรัฐอเมริกา (ดูชาวเคิร์ดพลัดถิ่น) ชาวเคิร์ดพูดภาษาเคิร์ดซึ่งเป็นภาษาในภาษากลุ่มอิหร่าน เมือง Piranshahr เป็นเมืองหลวงของอำเภอ Mukerian.

ใหม่!!: ซุนนีและชาวเคิร์ด · ดูเพิ่มเติม »

บูร์ฮานุดดีน รับบานี

ูร์ฮานุดดีน รับบานี (Burhanuddin Rabbani; برهان‌الدین ربانی, 20 กันยายน ค.ศ. 1940 – 20 กันยายน ค.ศ. 2011) เป็นนักการเมืองชาวอัฟกานิสถาน เป็นประธานาธิบดีอัฟกานิสถานระหว่างปี..

ใหม่!!: ซุนนีและบูร์ฮานุดดีน รับบานี · ดูเพิ่มเติม »

ชีอะฮ์

ีอะฮ์ (บ้างสะกด ชีอะห์) เป็นนิกายหนึ่งในอิสลาม ซึ่งนับถือพระเจ้าพระองค์เดียว และท่านนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ)เป็นนบีคนสุดท้าย หากแต่มีความแตกต่างกับซุนนีย์ในเรื่องของผู้นำศาสนาต่อจากท่านนบีมุฮัมมัด ว่ามาจากการแต่งตั้งของอัลลอฮ์และท่านนบีมุฮัมมัดเท่านั้น หากผู้ใดได้ศึกษาประวัติของวันอีดฆอดีรคุมแล้ว จะพบว่าวันนั้นเป็นวันที่อัลลอฮฺทรงแต่งตั้งอะลีให้เป็นอิมามหรือผู้นำศาสนาคนต่อไปโดยผ่านท่านนบี(ศ็อลฯ) นั้นคืออิมามสิบสองคน อันได้แก่อิมามอะลีย์และบุตรหลานของอิมามอะลีกับท่านหญิงฟาติมะห์(บุตรีของท่านนบี(ศ็อลฯ)อีก 11 คน ชีอะฮ์ ตามความหมายของปทานุกรมหมายถึง ผู้ปฏิบัติตามหรือผู้ติดตาม ซึ่งบุคคลที่เป็นชีอะฮ์หมายถึง บุคคลที่เชื่อว่า ผู้นำศาสนาหลังจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) เสียชีวิตแล้ว เป็นสิทธิของลูกหลานของท่านเท่านั้น ซึ่งชีอะฮ์จึงยึดถือและปฏิบัติ ตามแนวทางของลูกหลานของท่านศาสดา(อะฮฺลุลบัยตฺ) ทั้งด้านความรู้ และการปฏิบัติ ชีอะฮ์มีความเชื่อว่า พระองค์อัลลอฮ์ คือพระผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน คือพระผู้ทรงบริสุทธิ์ยิ่ง ศาสนาของพระองค์ก็เป็นศาสนาที่บริสุทธิ์ ศาสดามุฮัมมัด (ศ) ศาสนทูตของพระองค์ก็ต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ และผู้สืบทอดตำแหน่งของศาสดาของพระองค์ก็จำเป็นจะต้องเป็นผู้บริสุทธิ์เท่านั้น และเมื่อศาสนทูตของพระองค์ พระองค์เป็นผู้ทรงแต่งตั้ง ดังนั้นตัวแทนของศาสนทูตของพระองค์ พระองค์ก็จะต้องเป็นผู้แต่งตั้งเช่นเดียวกัน มิใช่ปล่อยให้ใครก็ได้มาเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งศาสนทูตของพระองค์ มิใช่ปล่อยให้ใครก็ได้มาแต่งตั้งผู้สืบทอดตำแหน่งศาสนทูตของพระอง.

ใหม่!!: ซุนนีและชีอะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

ชนเบอร์เบอร์

นเบอร์เบอร์ (Berber people) เป็นกลุ่มชาติพันธ์ของแอฟริกาเหนือทางตะวันตกของลุ่มแม่น้ำไนล์ ผู้ที่ตั้งถิ่นฐานกระจัดกระจายอยู่ในบริเวณตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติกไปจนถึงโอเอซิสซิวา (Siwa oasis) ในอียิปต์ และจากบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนไปจนถึงแม่น้ำไนเจอร์ ในประวัติศาสตร์ชนเบอร์เบอร์พูดภาษากลุ่มเบอร์เบอร์ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก ในปัจจุบันชนเบอร์เบอร์บางกลุ่มพูดภาษาอาหรับ ชนเบอร์เบอร์ที่พูดภาษากลุ่มเบอร์เบอร์ในบริเวณที่ว่านี้มีด้วยกันราว 30 ถึง 40 ล้านคนที่ส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นอยู่ในบริเวณแอลจีเรียและโมร็อกโก และเบาบางลงไปทางตะวันออกไปทางมาเกรบ (Maghreb) และเลยไปจากนั้น บริเวณของชนเบอร์เบอร์ ชนเบอร์เบอร์เรียกตนเองด้วยชื่อต่าง ๆ ที่รวมทั้ง “Imazighen” (เอกพจน์ “Amazigh”) ที่อาจจะแปลว่า “ชนอิสระ” ตามความเห็นของนักการทูตและนักประพันธ์ชาวอาหรับเลโอ อาฟริคานัส “Amazigh” แปลว่า “คนอิสระ” แต่ความเห็นนี้ก็ยังเป็นที่โต้แย้งกันเพราะไม่มีรากของความหมายของ “M-Z-Gh” ที่แปลว่า “อิสระ” ในภาษากลุ่มเบอร์เบอร์สมัยใหม่ นอกจากนั้นก็ยังมีคำภาษา Tuareg “amajegh” ที่แปลว่า “ศักดิ์ศรี” (noble) คำเรียกนี้ใช้กันทั่วไปในโมร็อกโก แต่ในบริเวณอื่นในท้องถิ่นก็มีคำอื่นที่เฉพาะเจาะจงลงไปอีกเช่น “Kabyle” หรือ “Chaoui” ที่มักจะใช้กันมากกว่า ในประวัติศาสตร์ชนเบอร์เบอร์ก็รู้จักกันในชื่อต่างๆ เช่นในลิเบียโบราณโดยชาวกรีกโบราณ ว่า “นูมิเดียน” และ “มอเนเทเนีย” โดยโรมัน และ “มัวร์” โดยชายยุโรปในยุคกลาง ภาษาอังกฤษสมัยปัจจุบันอาจจะแผลงมาจากภาษาอิตาลีหรืออาหรับแต่รากที่ลึกไปกว่านั้นไม่เป็นที่ทราบ ชาวเบอร์เบอร์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันก็ได้แก่นักประพันธ์ชาวโรมันอพูเลียส (Apuleius), จักรพรรดิโรมันเซ็พติมิอัส เซเวอรัส และ นักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป ชาวเบอร์เบอร์ที่มีชื่อเสียงในปัจจุบันคือดารานักฟุตบอลซีเนอดีน ซีดาน.

ใหม่!!: ซุนนีและชนเบอร์เบอร์ · ดูเพิ่มเติม »

พม่าเชื้อสายมลายู

วพม่าเชื้อสายมลายู หรือ ปะซู กลุ่มชาติพันธุ์ที่สำคัญกลุ่มหนึ่งที่กระจายตัวลงมาตั้งแต่ตอนบนจนถึงตอนล่างของหมู่เกาะมะริดในเขตแดนของเขตตะนาวศรีทางตอนใต้ของประเทศพม.

ใหม่!!: ซุนนีและพม่าเชื้อสายมลายู · ดูเพิ่มเติม »

พม่าเชื้อสายอินเดีย

วพม่าเชื้อสายอินเดีย เป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งที่มีจำนวนมาก และแทรกซึมไปทั่วประเทศพม่า ซึ่งประเทศพม่า และประเทศอินเดียเคยมีความสัมพันธ์มายาวนานหลายพันปี รวมไปถึงการเป็นประเทศเพื่อนบ้าน การนำนำศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีมาใช้ และอดีตอาณานิคมของอังกฤษร่วมกัน.

ใหม่!!: ซุนนีและพม่าเชื้อสายอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

พระนามของพระเจ้าในอิสลาม

กุรอานบทแรก ถูกเขียนขึ้นโดย  นักเขียนที่ชื่อว่า อะซีซ อะฟันดี พระนามอันไพจิตร หรือ พระนามต่างๆอันงดงามของพระเจ้า คือ พระนามต่างๆที่อิสลามใช้เรียก อัลลอฮ์  โดยทั่วไปแล้วเป็นที่รู้กันว่ามีทั้งหมด 99 พระนาม ที่ถูกกล่าวไว้ในกุรอาน แต่บ้างก็เชื่อว่าพระนามของพระองค์นั้นมีมากกว่า พระนามของพระเจ้าในกุรอาน ประมวลแล้วมีมากกว่า 200 พระนามที่ถูกกล่าวไว้ในกุรอาน และในเชิงวิชาการแล้วจะถูกเรียกกันว่า 99 พระนาม (อัสมาอุลฮุสนา) หรือพระนามต่างๆอันงดงามของพระเจ้า แม้ว่าพระนามต่างๆของพระเจ้าจะครอบคลุมถึงคุณลักษณะต่างๆ และคำต่างๆอันจำเริญจะถูกกล่าวไว้ในกุรอานและฮะดีษนั้นมีมากกว่า 99 พระนามก็ตาม แต่มวลมุสลิมมีความเขื่อว่า พระนามที่ถูกเลือกคือพระนามอันไพจิตรที่มีทั้งหมด 99 พระนาม จาก85 พระนามจาก 99 พระนามที่ถูกกล่าวไว้ในกุรอานโดยตรง และพระนามอื่นๆนั้นไม่ถูกกล่าวไว้ในกุรอานโดยตรง บ้างก็เป็นรากศัพท์ บ้างก็เป็นคำคุณลักษณะที่ไม่ใช่พระนามโดยตรง นักค้นคว้าบางท่านค้นพบพระนามในฮะดีษกว่า 200 พระนาม ทว่าพระนามทั้งหมดเป็นคุณลักษณะของพระองค์ และพระนามของพระองค์มีเพียง อัลลอฮ์ เท่านั้น.

ใหม่!!: ซุนนีและพระนามของพระเจ้าในอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศกัมพูชา

แผนที่ของกลุ่มชาติพันธุ์ในกัมพูชา (พ.ศ. 2515) กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกัมพูชาคือชาวเขมร สำหรับชนกลุ่มน้อยที่มีมากที่สุดคือชาวเวียดนาม อีกจำนวนหนึ่งเป็นลูกหลานของพ่อค้าชาวจีน และกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองเช่นชาวม้ง พนองและไทรวมทั้งกลุ่มอื่นๆที่เรียกชาวเขมรบนหรือแขมร์เลอ.

ใหม่!!: ซุนนีและกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศกัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพแห่งความชอบธรรม

กองทัพแห่งความชอบธรรม (Army of the righteous; ภาษาอูรดู:لشكرِ طيبه,Lashkar-e-Tayyiba) เป็นกองกำลังติดอาวุธขององค์กรศาสนาอิสลามนิกายซุนนีในปากีสถาน ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: ซุนนีและกองทัพแห่งความชอบธรรม · ดูเพิ่มเติม »

การประหารชีวิตซัดดัม ฮุสเซน

ซัดดัม ฮุสเซน การประหารชีวิตซัดดัม ฮุสเซน มีขึ้นในวันที่ 30 ธันวาคม..

ใหม่!!: ซุนนีและการประหารชีวิตซัดดัม ฮุสเซน · ดูเพิ่มเติม »

ญะมาล อับดุนนาศิร

ญะมาล อับดุนนาศิร ญะมาล อับดุนนาศิร ฮุซัยน์ (جمال عبد الناصر حسين; Gamal Abdel Nasser Hussein; 15 มกราคม 1918 - 28 กันยายน 1970) เกิดเมื่อวันที่ 15 มกราคม 1918 เป็นอดีตประธานาธิบดีคนที่ 2 หลังจากประธานาธิบดีมุฮัมมัด นะญีบ เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งอียิปต์เมื่อ 1954 จนกระทั่งสิ้นชีวิต 28 กันยายน 1970 รวมอายุ 52 ปี เป็นคนสำคัญที่ถอดถอนกษัตริย์ฟารูก ออกจากตำแหน่ง.

ใหม่!!: ซุนนีและญะมาล อับดุนนาศิร · ดูเพิ่มเติม »

ญะมาอะห์ อิสลามียะห์

ญะมาอะห์ อิสลามียะห์ (Jama ah Islamiyah, الجماعه الإسلاميه) หรือกลุ่ม JI เป็นกลุ่มก่อการร้ายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดว่าก่อตั้งขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: ซุนนีและญะมาอะห์ อิสลามียะห์ · ดูเพิ่มเติม »

ญะมาอะฮ์อันศอรอัสซุนนะฮ์

ญะมาอะฮ์อันศอรอัสซุนนะฮ์ (جماعة أنصار السنه,, สมัชชาผู้ช่วยเหลือแห่งซุนนะฮ์") เป็นกลุ่มติดอาวุธนิกายซุนนีในอิรัก ต่อสู้กับกองทัพสหรัฐและกองกำลังท้องถิ่นที่นิยมสหรัฐในสงครามอิรัก เดิมมีฐานที่มั่นทางภาคกลางและภาคเหนือของอิรัก และประกอบด้วยนักสู้ชาวอิรักที่นับถือนิกายซุนนี (ทั้งเชื้อสายอาหรับและเชื้อสายเคิร์ด) เป็นส่วนใหญ่ ใน..

ใหม่!!: ซุนนีและญะมาอะฮ์อันศอรอัสซุนนะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

ญิฮาด

ญิฮาด (جهاد, Jihad) มาจากคำกริยา ญะฮะดะ ในภาษาอาหรับหมายถึง การดิ้นรนต่อสู้หรือความพยายาม ในทางศาสนาหมายถึง ความพยายามที่จะเพิ่มศรัทธาในพระเจ้ารวมทั้งการทำความดี การเผยแพร่ศาสนา ผู้ทำการญิฮาดเรียกว่ามุญาฮิด พหูพจน์เรียกว่ามุญาฮิดีน ในทางศาสนาอิสลามแล้ว คำนี้ไม่ได้หมายถึงสงครามศักดิ์สิทธิ์ดังที่ผู้มิใช่มุสลิมเข้าใจ และเป็นศัพท์ทางศาสนาคำหนึ่งที่ถูกเข้าใจผิดบ่อยครั้ง คำว่าญิฮาดนี้มีปรากฏทั้งในอัลกุรอ่านและหะดิษต่าง.

ใหม่!!: ซุนนีและญิฮาด · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจามตะวันตก

ษาจามตะวันตก (Western Cham) หรือภาษาจามกัมพูชา ภาษาจามใหม่ มีผู้พูดทั้งหมด 253,100 คน พบในกัมพูชา 220,000 คน (พ.ศ. 2535) ในเมืองใกล้กับแม่น้ำโขง พบในไทย 4,000 คน ในกรุงเทพฯ และอาจมีตามค่ายผู้อพยพ ส่วนใหญ่เปลี่ยนมาพูดภาษาไทย สำเนียงที่ใช้พูดในไทยได้รับอิทธิพลจากตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติกมาก พบในเวียดนาม 25,000 คน โดยอยู่ในไซ่ง่อน 4,000 คน มีผู้พูดภาษานี้ในออสเตรเลีย ฝรั่งเศส อินโดนีเซีย ลิเบีย มาเลเซีย ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐและเยเมน ภาษานี้มีความแตกต่างจากภาษาจามตะวันออกที่ใช้พูดทางภาคกลางของเวียดนาม จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซีย สาขามาเลย์อิก สาขาย่อยอาเจะห์-จาม เขียนด้วยอักษรจามและอักษรโรมัน ผู้พูดภาษานี้นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี.

ใหม่!!: ซุนนีและภาษาจามตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเมโมนี

ษาเมโมนี เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยัน ใช้พูดโดยชาวเมโมนน พัฒนามาจากภาษาสันสกฤต ใกล้เคียงกับภาษากัจฉิและภาษาคุชราต มีผู้พูดทั้งในอินเดียและปากีสถาน ชาวเมโมน กาถิวาทีพูดภาษาที่ไม่มีระบบการเขียนซึ่งเรียกว่าภาษาเมโมนีซึ่งเป็นภาษาผสมระหว่างภาษาสินธีและภาษากัจฉิ จัดอยู่ในกลุ่มภาษาอินโด-อารยันในเขตเหนือ-ตะวันตก ภาษาสินธีและภาษากัจฉินั้นใช้พูดทั้งผู้ที่เป็นและไม่เป็นมุสลิม แต่ภาษาเมโมนีใช้พูดเฉพาะชาวเมโมน กาถิวาทีที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่ที่อพยพจากสินธ์มาสู่พื้นที่ใกล้เคียง คือที่กุตส์และกาเกียวาร์ในคุชราต เมื่อหลายร้อยปีที่ผ่านมา ภาษาที่ใช้ในปัจจุบันมีความใกล้เคียงกับภาษาสินธี แต่มีคำยืมจากภาษาคุชราต ภาษาฮินดูสตานและภาษาอังกฤษ เรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา ในปากีสถาน ภาษาเมโมนีมีการใช้คำและวลีจากภาษาอูรดูมาก.

ใหม่!!: ซุนนีและภาษาเมโมนี · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร

มหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร (جامعة الأزهر الشريف; Al-Azhar University) เป็นองค์กรศาสนาแห่งโลกอิสลาม ก่อตั้ง ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ ประวัติศาสตร์ได้จารึกว่า อัลอัซฮัร ก่อกำเนิดในต้นรัชสมัยแห่งราชวงศ์ฟาติมียะห์ ในอียิปต์ เมื่อปี พ.ศ. 1517 เป็นศูนย์กลางการศึกษาด้านภาษาอาหรับและวรรณคดี มีหลักสูตรการสอนตามแนวของซุนนี เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่อันดับที่สองที่มีการเรียนการสอนจนถึงปัจจุบัน มีพื้นที่เชื่อมต่อกับมัสยิดอัลอัซฮัร เจตนารมณ์ของมหาลัยอัลอัซฮัร คือให้การศึกษาและเผยแผ่ศาสนาอิสลาม.

ใหม่!!: ซุนนีและมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร · ดูเพิ่มเติม »

มัสยิด

มืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น มัสยิด (مسجد มัสญิด) หรือ สุเหร่า (Surau) เป็นศาสนสถานของชาวมุสลิม คำว่า มัสญิด เป็นคำภาษาอาหรับแปลว่า สถานที่กราบ ชาวมุสลิมในแต่ละชุมชนจะสร้างมัสยิดขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา อันได้แก่การนมาซ และการวิงวอน การปลีกตนเพื่อบำเพ็ญตบะ หาความสันโดษ (อิอฺติกาฟ และ คอลวะหฺ) นอกจากนี้มัสยิดยังเป็นโรงเรียนสอนอัลกุรอาน และศาสนา สถานที่ชุมนุมพบปะ ประชุม เฉลิมฉลอง ทำบุญเลี้ยง สถานที่ทำพิธีสมรส และสถานที่พักพิงของผู้สัญจรผู้ไร้ที่พำนัก โดยที่จะต้องรักษามารยาทของมัสยิด เช่นการไม่คละเคล้าระหว่างเพศชายและหญิง การกระทำที่ขัดกับบทบัญญัติห้ามของอิสลาม (ฮะรอม) ทั้งมวล.

ใหม่!!: ซุนนีและมัสยิด · ดูเพิ่มเติม »

มัสยิดต้นสน

มัสยิดต้นสน มัสยิดต้นสน หรือ กุฎีบางกอกใหญ่ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า กุฎีใหญ่ เป็นมัสยิดซุนนีที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร ประมาณกันว่าเป็นมัสยิดที่เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ก่อนสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ. 2153 -2171) ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา ชื่อกุฎีบางกอกใหญ่ หรือกุฎีใหญ่นั้น ก็เพราะมัสยิดตั้งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ ส่วนชื่อมัสยิดต้นสนนั้น ได้มาจากต้นสนคู่ที่ปลูกใหม่หน้าประตูกำแพงหลังเสร็จสิ้นการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ จึงเรียกชื่อดังกล่าวสืบม.

ใหม่!!: ซุนนีและมัสยิดต้นสน · ดูเพิ่มเติม »

มัสยิดนูรุ้ลอิสลาม

มัสยิดนูรุ้ลอิสลาม หรือ สุเหร่าเขียว ได้รับการขึ้นทะเบียนมัสยิดเลขหมายทะเบียน 5 มัสยิดนูรุ้ลอิสลาม ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลละหาร อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ณ ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492) โดยมีนายกาเซ็ม เจริญสุข เป็นอิหม่าม และเป็นมัสยิดสายซุนนี ที่เก่าแก่แห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี เรื่องราวของชุมชนมลายูมุสลิมบ้านสุเหร่าเขียว เป็นชุมชนที่เกิดต่อจากชุมชนมุสลิมบ้านปากลัด จังหวัดสมุทรปราการ และชุมชนบ้านท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ที่เกิดขึ้นตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกในราชวงศ์จักรี เป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มัสยิดนูรุ้ลอิสลาม หรือ ชุมชนบ้านสุเหร่าเขียว ประมาณกันว่าเป็นมัสยิดที่เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ก่อนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411) - (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453).

ใหม่!!: ซุนนีและมัสยิดนูรุ้ลอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

มารี อัลกาตีรี

มารี บิน อามุด อัลกาตีรี (مرعي بن عمودة الكثيري) (เกิด 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492) เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลของประเทศติมอร์-เลสเต เขาดำรงตำแหน่งตั้งแต่พฤษภาคม..

ใหม่!!: ซุนนีและมารี อัลกาตีรี · ดูเพิ่มเติม »

มาฮาดีร์ บิน โมฮามัด

ตุน ดกโตร์ มาฮาดีร์ บิน โมฮามัด (Tun Dr.) เป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของประเทศมาเลเซีย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการหลายกระทรวง ได้แก่ กระทรวงการคลัง, มหาดไทย, กลาโหม, การค้าและอุตสาหกรรม และศึกษาธิการ เขาชนะการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศมาเลเซีย พ.ศ. 2561.

ใหม่!!: ซุนนีและมาฮาดีร์ บิน โมฮามัด · ดูเพิ่มเติม »

มุฮัมมัด บิน รอชิด อัลมักตูม

มุฮัมมัด บิน รอชิด อัลมักตูม (محمد بن راشد آل مكتوم.; Mohammed bin Rashid Al Maktoum) หรือ เชคมุฮัมมัด นายกรัฐมนตรีคนที่สามและรองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นเจ้าผู้ครองนครดูไบ สืบต่อจากเชคมักตูม บิน รอชิด อัลมักตูม ผู้เป็นพระเชษฐาองค์โต เชคมุฮัมมัดเป็นพระโอรสองค์ที่สาม ในสี่องค์ของเชครอชิด บิน ซาอิด อัลมักตูม (1912-1990) อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่สอง และรองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเจ้าผู้ครองนครดูไบ มีพระเชษฐาและอนุชา ได้แก.

ใหม่!!: ซุนนีและมุฮัมมัด บิน รอชิด อัลมักตูม · ดูเพิ่มเติม »

มุฮัมมัด บิน ซัลมาน

มุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด (محمد بن سلمان بن عبدالعزيز آل سعود; Mohammad bin Salman bin Abdulaziz Al Saud; ประสูติ 31 สิงหาคม 2528) เป็นมกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบีย รองนายกรัฐมนตรีคนที่ 1 แห่งซาอุดีอาระเบีย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมที่อายุน้อยที่สุดในโลก มุฮัมมัด บิน ซัลมานยังเป็นประธานสภาเพื่อกิจการเศรษฐกิจและการพัฒนา มีการกล่าวถึงพระองค์ว่าทรงเป็นอำนาจเบื้องหลังราชบัลลังก์ของสมเด็จพระราชาธิบดีซัลมานพระราชบิดา พระองค์ได้รับแต่งตั้งเป็นมกุฎราชกุมารในเดือนมิถุนายน 2560 หลังพระราชชนกตัดสินพระทัยถอดมุฮัมมัด บิน นาเยฟ ออกจากตำแหน่งทั้งหมด ทำให้พระองค์ได้รับสถานะรัชทายาทโดยชอบธรรม.

ใหม่!!: ซุนนีและมุฮัมมัด บิน ซัลมาน · ดูเพิ่มเติม »

มุฮัมมัด มุรซี

มุฮัมมัด มุรซี อีซา อัลอัยยาฏ (محمد مرسى عيسى العياط; Muhammad Morsi Isa al-Ayyat; 8 สิงหาคม ค.ศ. 1951 —) เป็นอดีตประธานาธิบดีของประเทศอียิปต์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน..

ใหม่!!: ซุนนีและมุฮัมมัด มุรซี · ดูเพิ่มเติม »

มุฮัมมัด อุมัร

มุลลอฮ์ มุฮัมมัด อุมัร มุญาฮิด (ملا محمد عمر مجاهد, Mullah Mohammed Omar Mujahid) เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของฏอลิบานซึ่งเป็นกลุ่มก่อการร้ายในประเทศอัฟกานิสถาน เกิดเมื่อราว..

ใหม่!!: ซุนนีและมุฮัมมัด อุมัร · ดูเพิ่มเติม »

ยัสเซอร์ อาราฟัต

ัสเซอร์ อาราฟัต (ياسر عرفات ยาซิร อะเราะฟาต; 24 สิงหาคม พ.ศ. 2472 — 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547) เป็นที่รู้จักในชื่อในการรบว่า อะบู อัมมาร์ (ابو عمّار) ชื่อจริงคือ โมฮัมหมัด อับดุล ราห์มาน อัลดุล ราอูฟ อาราฟัต อัล กุดวา (محمد عبد الرؤوف القدوة الحسيني) เป็นผู้นำชาวปาเลสไตน์ เป็นประธานองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) ประธานองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ (PNA) และผู้นำฟะตะห์ (Fatah) พรรคการเมืองและอดีตกลุ่มกำลังกึ่งทหารที่เขาก่อตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: ซุนนีและยัสเซอร์ อาราฟัต · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่บะดัร

งครามบะดัร เป็นสงครามใหญ่ที่เกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงสมัยของมุฮัมหมัด(ศ็อลฯ)ระหว่างชาวมุสลิมกับชาวมักกะฮ์ ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 17 หรือ 19 เดือนรอมฎอน ปี ฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 2 (13 หรือ 15 มีนาคม ค.ศ.624) ณ เมืองบะดัร. เมื่อมุฮัมหมัด(ศ็อลฯ)ทราบข่าวว่าอบูซุฟยานยกทัพมาจากเมืองมักกะฮ์ จึงสั่งให้ชาวมุสลิมร่วมไพร่พลเกือบ 300 คน เพื่อต่อสู้กับทหารนับ1,000นาย ของอบูซุฟยานแห่งเมืองมักกะฮ์ ซึ่งผลปรากฏว่ากองทัพของมุสลิมได้รับชัยชนะ และชาวมักกะฮ์ถูกฆ่าตายเป็นจำนวนมาก บ้างก็ถูกจับเป็นเชล.

ใหม่!!: ซุนนีและยุทธการที่บะดัร · ดูเพิ่มเติม »

ยูนิส มะห์มูด

ูนิส มะห์มูด เคาะลัฟ (يونس محمود خلف, เกิด 3 กุมภาพันธ์ 1983 ที่จังหวัดคีร์คูก ประเทศอิรัก) เป็นนักฟุตบอลทีมชาติอิรัก เล่นในตำแหน่งกองหน้า โดยเป็นกัปตันทีมชาติคนปัจจุบัน รวมทั้งเป็นเจ้าของสถิติลงสนามให้ทีมชาติอิรักมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งและยิงประตูให้ทีมชาติมากที่สุดเป็นอันดับสาม ปัจจุบันมะห์มูดเล่นให้กับสโมสรอัฏเฏาะละบะฮ์ ในอิรักพรีเมียร์ลีก มะห์มูดเคยคว้ารางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งปีของทวีปเอเชีย ลำดับที่ 2 ประจำปี 2007 และเป็นนักฟุตบอลจากทวีปเอเชียเพียงไม่กี่คนที่เคยถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลฟีฟ่าบาลงดอร์ ในปี 2007 โดยได้รับการลงคะแนนให้เป็นนักฟุตบอลยอดเยี่ยมลำดับที่ 29 ของโลกในปีดังกล่าว ยูนิส มะห์มูดเป็นหนึ่งในผู้เล่นทีมชาติอิรักชุดอายุไม่เกิน 23 ปี ที่ได้ลงเล่นในกีฬาโอลิมปิก 2004 ที่ประเทศกรีซและพาทีมชาติคว้าอันดับสี่มาครองได้อย่างเหนือความคาดหมาย โดยเขาสามารถยิงประตูในโอลิมปิกได้ 1 ลูก ในเกมรอบแบ่งกลุ่มที่ชนะทีมชาติโปรตุเกส 4–2 และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลนักฟุตบอลระดับเยาวชนยอดเยี่ยมแห่งทวีปเอเชีย ประจำปี 2004 ต่อมาในปี 2006 มะห์มูดพาทีมฟุตบอลชายของอิรักคว้าเหรียญเงินได้ในกีฬาเอเชียนเกมส์ 2006 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ และก้าวขึ้นมาเป็นกัปตันทีมชาติอิรักชุดใหญ่ที่สร้างประวัติศาสตร์คว้าแชมป์ฟุตบอลเอเชียนคัพ 2007 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพร่วมกับมาเลเซีย, อินโดนีเซีย และเวียดนาม โดยเป็นแชมป์ครั้งแรกและครั้งเดียวของประเทศ ในทัวร์นาเมนต์ดังกล่าวมะห์มูดคว้ารางวัลผู้ทำประตูสูงสุดร่วมกับนาโอฮิโระ ทากาฮาระ จากทีมชาติญี่ปุ่นและยาซิร อัลเกาะห์ฏอนี จากทีมชาติซาอุดีอาระเบีย นอกจากนี้เขายังได้รับรางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำรายการไปครองอีกด้วย ถึงแม้ในปี 2010 มะห์มูดต้องพลาดโอกาสเล่นในเอเชียนเกมส์ 2010 ที่เมืองกว่างโจว ประเทศจีน เพราะสมาคมฟุตบอลอิรักถูกฟีฟ่าลงโทษ จากการปล่อยให้การเมืองในประเทศเข้ามาแทรกแซงการทำงานของสมาคม ทำให้ต้องถอนทีมออกไป แต่ในปี 2014 เขาก็ได้รับโอกาสลงเล่นในกีฬาเอเชียนเกมส์อีกครั้งในกีฬาเอเชียนเกมส์ 2014 ที่เมืองอินช็อน ประเทศเกาหลีใต้ โดยลงเล่นในโควตาผู้เล่นที่อายุเกิน 23 ปี และสามารถคว้าเหรียญทองแดงได้สำเร็จ โดยในนัดชิงอันดับ 3 เขาเป็นผู้โหม่งประตูชัยให้ทีมชาติอิรักชนะทีมชาติไทย 1–0 ในการแข่งขันฟุตบอลเอเชียนคัพ 2015 ที่ประเทศออสเตรเลีย ยูนิส มะห์มูด ยิงประตูได้ในนัดที่ชนะทีมชาติปาเลสไตน์ 2–0 ทำให้เขากลายเป็นผู้เล่นคนแรกที่ยิงประตูได้ในการแข่งขันเอเชียนคัพ ถึง 4 สมัยติดต่อกัน (2004,2007,2011,2015).

ใหม่!!: ซุนนีและยูนิส มะห์มูด · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอิสลามอัฟกานิสถาน

รัฐอิสลามอัฟกานิสถาน (Islamic State of Afghanistan, دولت اسلامی افغانستان) เป็นรัฐบาลที่ปกครองอัฟกานิสถานช่วงหลังจากที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยอัฟกานิสถานล่มสลาย ต่อมาในปี..

ใหม่!!: ซุนนีและรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์

รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (Islamic State of Iraq and the Levant, ย่อ: ISIL) หรือเรียก รัฐอิสลามอิรักและซีเรีย (Islamic State of Iraq and Syria; ย่อ: ISIS), รัฐอิสลามอิรักและอัชชาม (Islamic State of Iraq and ash-Sham) หรือรัฐอิสลาม (Islamic State; ย่อ: IS) เป็นกลุ่มนักรบสุดโต่งวะฮาบีย์/ญิฮัดสะละฟีย์ซึ่งตั้งตนเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์และรัฐอิสลาม กลุ่มนี้มีชาวอาหรับนิกายซุนนีย์จากประเทศอิรักและซีเรียเป็นผู้นำและเป็นส่วนใหญ่ ในเดือนมีนาคม 2558 กลุ่มควบคุมดินแดนที่มีประชากร 10 ล้านคนในประเทศอิรักและซีเรีย และควบคุมเหนือดินแดนขนาดเล็กในประเทศลิเบีย ไนจีเรียและอัฟกานิถสานผ่านกลุ่มท้องถิ่นที่ภักดี กลุ่มนี้ยังปฏิบัติการหรือมีสาขาในส่วนอื่นของโลก รวมถึงแอฟริกาเหนือและเอเชียใต้ วันที่ 29 มิถุนายน กลุ่มตั้งต้นเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ทั่วโลก โดยมีอะบู บักร์ อัลบัฆดาดีเป็นเคาะลีฟะฮ์ และเปลี่ยนชื่อเป็นอัดเดาละฮ์ อัลอิสลามิยะฮ์ (الدولة الإسلامية, ad-Dawlah al-Islāmiyah "รัฐอิสลาม") ด้วยเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ กลุ่มนี้อ้างอำนาจทางศาสนา การเมืองและทหารเหนือมุสลิมทุกคนทั่วโลก และว่า "ความชอบด้วยกฎหมายของทุก ๆ เอมิเรต กลุ่ม รัฐและองค์การเป็นโมฆะโดยการแผ่ขยายอำนาจของเคาะลีฟะฮ์และทหารของรัฐเคาะลีฟะฮ์มาถึงพื้นที่ของสิ่งเหล่านี้" สหประชาชาติถือว่า ISIL รับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนและอาชญากรรมสงคราม และองค์การนิรโทษกรรมสากลรายงานการล้างชาติพันธุ์ของกลุ่มใน "ขนาดที่ไม่เคยมีมาก่อน" สหประชาชาติ สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ตุรกี ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อียิปต์ อินเดียและรัสเซียประกาศให้กลุ่มนี้เป็นองค์การก่อการร้าย กว่า 60 ประเทศกำลังทำสงครามโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อ ISIL กลุ่มนี้กำเนิดเป็น "จามาต ตอฮิด วัล ญิฮัด" (Jama'at al-Tawhid wal-Jihad) ในปี 2542 ซึ่งสวามิภักดิ์ต่ออัลกออิดะฮ์ในปี 2547 กลุ่มนี้เข้าร่วมการก่อการกำเริบอิรักให้หลังการบุกครองอิรัก พ.ศ. 2546 โดยกำลังตะวันตก ในเดือนมกราคม 2549 กลุ่มนี้เข้ากับกลุ่มก่อการกำเริบซุนนีย์อื่นตั้งเป็นสภาชูรามุญาฮิดีน (Mujahideen Shura Council) ซึ่งประกาศตั้งรัฐอิสลามอิรัก (ISI) ในเดือนตุลาคม 2549 หลังสงครามกลางเมืองซีเรียอุบัติในเดือนมีนาคม 2554 ISI โดยมีอัลบัฆดาดีเป็นผู้นำ ส่งผู้แทนไปซีเรียในเดือนสิงหาคม 2554 นักรบเหล่านี้ตั้งชื่อตัวเองเป็นญับฮะตุลนุศเราะฮฺลิอะห์ลิอัชชาม (Jabhat an-Nuṣrah li-Ahli ash-Shām) หรือแนวอัลนุสรา (al-Nusra Front) และเข้าไปในอยู่ในพื้นที่ของซีเรียซึ่งมีมุสลิมซุนนีย์เป็นส่วนใหญ่จำนวนมาก ในผู้ว่าราชการอัรร็อกเกาะฮ์ อิดลิบ เดอีร์เอซซอร์ และอะเลปโป ในเดือนเมษายน 2556 อัลบัฆดาดีประกาศรวม ISI กับแนวร่วมอัลนุสราแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (ISIL) อย่างไรก็ดี อะบู มุฮัมมัด อัลจูลานี (Abu Mohammad al-Julani) และอัยมัน อัซเซาะวาฮิรี ผู้นำของอัลนุสราและอัลกออิดะฮ์ตามลำดับ ปฏิเสธการรวมดังกล่าว วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557 หลังการแย่งอำนาจนานแปดเดือน อัลกออิดะฮ์เรียกกลุ่มนี้ว่า "สุดโต่งเกิน" และตัดความสัมพันธ์ทั้งหมดกับ ISIL โดยอ้างว่าไม่สามารถปรึกษาได้และไม่ยอมอ่อนข้ออย่างเปิดเผย" ในประเทศซีเรีย กลุ่มนี้ดำเนินการโจมตีภาคพื้นดินต่อทั้งกำลังรัฐบาลและกลุ่มแยกกบฏในสงครามกลางเมืองซีเรีย กลุ่มนี้มีความสำคัญหลังขับกำลังรัฐบาลอิรักออกจากนครสำคัญในภาคตะวันตกของอิรักในการรุกที่เริ่มเมื่อต้นปี 2557 การเสียดินแดนของอิรักแทบทำให้รัฐบาลอิรักล่มและทำให้สหรัฐรื้อฟื้นการปฏิบัติทางทหารใหม่ในอิรัก.

ใหม่!!: ซุนนีและรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเคาะลีฟะฮ์

รัฐเคาะลีฟะฮ์ (Caliphate จาก خليفة khilāfa) เป็นเขตการปกครองแบบหนึ่งในอาณาจักรมุสลิมที่มีประมุขเป็นเคาะลีฟะฮ์ที่มาจากปรัชญาว่าเป็นผู้สืบอำนาจมาจากนบีมุฮัมมัดศาสดาของศาสนาอิสลาม ซุนนีย์ระบุว่าเคาะลีฟะฮ์ควรจะเป็นผู้ที่ได้รับเลือกโดยชูรา ผู้ได้รับเลือกโดยมุสลิมหรือผู้แทน ชีอะฮ์เชื่อว่าเคาะลีฟะฮ์คืออิมามผู้สืบเชื้อสายมาจากอะฮฺลุลบัยตฺ (Ahl al-Bayt) ตั้งแต่สมัยมุฮัมมัดมาจนถึงปี..

ใหม่!!: ซุนนีและรัฐเคาะลีฟะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์

รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์(الخلافة العباسية: al-Khilāfah al-‘Abbāsīyyah) เป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ราชวงศ์ที่สามของศาสนาอิสลาม ที่มีเมืองหลวงที่แบกแดดหลังจากที่โค่นราชวงศ์อุมัยยะฮ์ออกจากบริเวณต่าง ๆ ยกเว้นอัล-อันดะลุส (Al-Andalus) รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะห์ก่อตั้งโดยผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากอับบาส อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบ (العباس بن عبد المطلب‎ – Abbas ibn Abd al-Muttalib) ลุงคนเล็กของมุฮัมมัด โดยก่อตั้งขึ้นในฮาร์รานในปี ค.ศ. 750 และย้ายเมืองหลวงจากฮาร์รานไปแบกแดดในปี ค.ศ. 762 รัฐเคาะลีฟะฮ์นี้รุ่งเรืองอยู่ราวสองร้อยปีแต่ก็มาเสื่อมโทรมลงเมื่ออำนาจของตุรกีแข็งแกร่งขึ้น ภายใน 150 ปีทีแผ่ขยายอำนาจไปทั่วเปอร์เชีย รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะห์ก็สูญเสียอำนาจให้แก่จักรวรรดิมองโกล ในปี..

ใหม่!!: ซุนนีและรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์

รัฐอุมัยยะห์ (بنو أمية‎) เป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งแรกที่ถูกสถาปนาโดยมุอาวียะห์ อิบนุ อบี สุฟยาน (Muahwiya Ibn Abi Sufyan I, ค.ศ. 661 - ค.ศ. 680) หลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของอะลีย์ บุตรเขยของมุฮัมหมัด ราชวงศ์นี้แผ่ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางในช่วงต้น อีกทั้งราชวงศ์ยังรักษาธรรมเนียมปฏิบัติของศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด แต่พอถึงปลายยุคเคาะลีฟะฮ์กลับเสวยแต่น้ำจัณฑ์ ล่าสัตว์ ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยไม่ปฏิบัติตามหลักศาสนา จึงถูกลูกหลานของน้าของศาสนทูตมุฮัมหมัดโค่นล้มราชวงศ์ลงในสมัยมัรวานที่ 2 ในปี ค.ศ. 750 (พ.ศ. 1293) อุมัยยะห์เป็นหนึ่งในสี่รัฐเคาะลีฟะฮ์ของอิสลามที่ก่อตั้งหลังจากการเสียชีวิตของมุฮัมหมัด ศาสนทูตของศาสนาอิสลามที่ปกครองโดยราชวงศ์อุมัยยะห์ ที่ได้รับชื่อจาก Umayya ibn Abd Shams ผู้เป็นทวดของคอลีฟะฮ์อุมัยยะห์คนแรก แม้ว่าตระกูลอุมัยยะห์เดิมจะมาจากมักกะฮ์ แต่ดามัสกัสเป็นเมืองหลวงของรัฐ หลังจากอุมัยยะห์ถูกโค่นโดยรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะห์ก็ย้ายไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่อัล-อันดะลุส (Al-Andalus) และก่อตั้งเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบา ภายหลังจากที่ท่านอะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ เคาะลีฟะฮ์รอชิดีนคนที่ 4 เสียชีวิต ท่านหะสัน อิบนุ อะลี บุตรของท่านอาลีได้รับเลือกตั้งเป็นเคาะลีฟะฮ์คนต่อไป แต่ดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ได้ไม่กี่เดือนก็ยอมสละตำแหน่งให้แก่ท่านมุอาวียะฮ์ อิบนุ อบี สุฟยาน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในรัฐอิสลาม พร้อมกับหลีกเลี่ยงความแตกแยกและการสูญเสียเลือดระหว่างชาวมุสลิมด้วยกันมากกว่านี้ มุอาวิยะฮ์เป็นเคาะลีฟะฮ์ท่านแรกในราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ท่านสืบเชื้อสายจากตระกูลอุมัยยะห์ บุตรของอับดุซซัม ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "ราชวงศ์อุมัยยะฮ์" ในสมัยการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ท่านมุอาวียะฮ์ได้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากสาธารณรัฐเป็นราชอาณาจักร ท่านทำให้ตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์กลายเป็นตำแหน่งกษัตริย์โดยการสืบสันติวงศ์ ท่านได้ทรงแต่งตั้งยะซิด โอรสของท่านให้เป็นกษัตริย์ ต่อมาการแต่งตั้งแบบนี้ได้กลายเป็นตัวอย่างการแต่งตั้งเคาะลีฟะฮ์มาตลอดราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ทั้งรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และอื่น ๆ อีกด้วย ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าท่านเป็นผู้สร้างตำแหน่งกษัตริย์โดยการสืบสันติวงศ์ขึ้นในประวัติศาสตร์ของศาสนาอิสลาม การปกครองแบบประชาธิปไตยระหว่างเผ่าของเคาะลีฟะฮ์ท่านก่อน ๆ ก็หมดสิ้นไป กลายเป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิร.

ใหม่!!: ซุนนีและรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเคดีฟอียิปต์

รัฐเคดีฟอียิปต์ (Khedivate of Egypt; خديوية مصر; ออตโตมันเติร์ก: خدیویت مصر Hıdiviyet-i Mısır) เป็นรัฐบรรณาการของจักรวรรดิออตโตมัน ปกครองโดยราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี คำว่า "เคดีฟ" (khedive) ในภาษาตุรกีออตโตมัน หมายถึง "อุปราช" ใช้ครั้งแรกโดยมูฮัมหมัด อาลี ปาชา แต่ไม่ได้รับการยอมรับจนกระทั่งถึงปี..

ใหม่!!: ซุนนีและรัฐเคดีฟอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ตีมูร์

ราชวงศ์ตีมูร์ หรือ จักรวรรดิตีมูร์ (Timurid dynasty, تیموریان ตั้งตนเป็นGurkānī, گوركانى) เป็นราชวงศ์หนึ่งของจักรวรรดิเปอร์เชียของซุนนีย์มุสลิมในเอเชียกลางที่เดิมมาจากผู้สืบเชื้อสายจากราชวงศ์เติร์ก-มองโกล (Turko-Mongol)Encyclopædia Britannica, "", Online Academic Edition, 2007.

ใหม่!!: ซุนนีและราชวงศ์ตีมูร์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เซลจุค

จักรวรรดิเซลจุค ใน ค.ศ. 1092 เมื่อมาลิค ชาห์ที่ 1เสียชีวิต ราชวงศ์เซลจุค หรือ เซลจุคตุรกี (Seljuq dynasty หรือ Seljuq Turks) “เซลจุค” (หรือ “Seldjuks” “Seldjuqs” “Seljuks” Selçuklular, سلجوقيان Ṣaljūqīyān; سلجوق ''Saljūq'' หรือ السلاجقة ''al-Salājiqa''.) เป็นราชวงศ์เทอร์โค-เปอร์เชีย ซุนนีมุสลิมผู้ปกครองบางส่วนของทวีปเอเชียกลางและตะวันออกกลางระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ราชวงศ์เซลจุคก่อตั้งจักรวรรดิเซลจุคซึ่งในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดมีดินแดนตั้งแต่อานาโตเลียไปจนถึงเปอร์เชียและเป็นฝ่ายปฏิปักษ์ในสงครามครูเสดครั้งที่ 1 ราชวงศ์มีที่มาจากกลุ่มสมาพันธ์ของชนเทอร์โคมันของทางตอนกลางของเอเชีย ซึ่งเป็นการเริ่มการขยายอำนาจของเทอร์กิคในตะวันออกกลาง เมื่อเปอร์เชียขยายตัวเข้ามาเซลจุคก็รับวัฒนธรรม และภาษาเข้ามาเป็นของตนเอง และมีบทบาทสำคัญในการวิวัฒนาการของวัฒนธรรมเทอร์โค-เปอร์เชีย ใน “วัฒนธรรมเปอร์เชียที่รับโดยประมุขของเทอร์กิค” ในปัจจุบันเซลจุคเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นผู้อุปถัมภ์อันยิ่งใหญ่ของวัฒนธรรม, ศิลปะ, วรรณคดี และ ภาษาเปอร์เชียO.Özgündenli, "Persian Manuscripts in Ottoman and Modern Turkish Libraries", Encyclopaedia Iranica, Online Edition,Encyclopaedia Britannica, "Seljuq", Online Edition,: "...

ใหม่!!: ซุนนีและราชวงศ์เซลจุค · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรอัฟกานิสถาน

ราชอาณาจักรอัฟกานิสถาน (Kingdom of Afghanistan; د افغانستان واکمنان; پادشاهي افغانستان) เป็นราชอาณาจักรที่ปกครองอัฟกานิสถาน ระหว่าง..

ใหม่!!: ซุนนีและราชอาณาจักรอัฟกานิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรอิรัก

ราชอาณาจักรอิรัก (المملكة العراقية; Kingdom of Iraq).

ใหม่!!: ซุนนีและราชอาณาจักรอิรัก · ดูเพิ่มเติม »

ลัยลัต อัล-ก็อดรฺ

ลัยลัต อัล-ก็อดรฺ (لیلة القدر&#x200E) มีความหมายว่า คืนแห่งการประทาน, คืนแห่งพลัง, คืนที่มีค่า, คืนแห่งโชคชะตา  เป็นคืนหนึ่งที่คนมุสลิมเชื่อว่าเป็นคืนที่โองการแรกของอัลกุรอ่านถูกประทานให้แก่ศาสดามุฮัมหมัด เป็นหนึ่งในคืนในสิบคืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอน คนมุสลิมเชื่อว่าจะได้รับความเมตตาและพรจากอัลลอฮฺอย่างมากมาย ได้รับการอภัยโทษบาป การขอพรจะถูกตอบรับ และมีโองการในอัลกุรอ่านว่า จะมีเทวทูตลงมายังพื้นโลก โดยเฉพาะญิบรีล โดยกล่าวเป็น "วิญญาณอันบริสุทธ์" เพื่อทำภารกิจพิเศษที่มีคำสั่งโดยอัลลอ.

ใหม่!!: ซุนนีและลัยลัต อัล-ก็อดรฺ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิศูฟี

ลัทธิศูฟี (تصوّف) เป็นลัทธิความเชื่อลัทธิหนึ่งในศาสนาอิสลาม ซึ่งแปลงคำสอนมาจากนิกายสุหนี่ เน้นความเชื่อทางจิตวิญญาณ.

ใหม่!!: ซุนนีและลัทธิศูฟี · ดูเพิ่มเติม »

วะฮาบีย์

วะฮาบีย์หรือซะละฟีย์ เป็นขบวนการทางศาสนาหรือแขนงหนึ่งของศาสนาอิสลามนิกายซุนนี นักวิชาการและผู้สนับสนุนเรียกอย่างกว้างขวางว่า "อนุรักษนิยมเกิน" (ultraconservative), "เคร่ง" (austere), "ตีความตามอักษร" (fundamentalist), "พิวริทัน" (puritan) และเป็น "ขบวนการปฏิรูป" อิสลามเพื่อฟื้นฟู "การบูชาเอกเทวนิยมบริสุทธิ์" (เตาฮิด) และผู้คัดค้านอธิบายว่าเป็น "ขบวนการซุนนีเทียมสุดโต่ง" ผู้ศรัทธามักมองคำว่า วะฮาบีย์ เป็นคำเสื่อมเสีย และนิยมเรียก ซะละฟีย์หรือมุวาฮิด มากกว่า หมวดหมู่:นิกายในศาสนาอิสลาม หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ศาสนาอิสลาม หมวดหมู่:มุสลิมนิกายซุนนี.

ใหม่!!: ซุนนีและวะฮาบีย์ · ดูเพิ่มเติม »

วัฒนธรรมกัมพูชา

วัฒนธรรมกัมพูชาที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติมีพื้นฐานมาจากศาสนาทั้งศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู กัมพูชาได้รับอิทธิพลจากอินเดียทั้งทางด้านภาษาและศิลปะผ่านทางแผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งจากการค้าทางทะเลทางไกลกับอินเดียและจีนจนเกิดอาณาจักรฟูนันขึ้นเป็นครั้งแรก.

ใหม่!!: ซุนนีและวัฒนธรรมกัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธในประเทศบรูไน

ระพุทธศาสนาเริ่มเข้ามาในบรูไนตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีวิชัย ที่เรืองอำนาจจากฝั่งคาบสมุทรมลายูอย่างกว้างขวางในศตวรรษที่ 7 เป็นต้นมา จนถึงพุทธศตวรรษที่ 20 จึงอ่อนกำลังลงไปแล้วเงียบหาย คงเหลือแต่อิทธิพลทางภาษา ไว้เท่านั้น ต่อมาจนถึงปัจจุบันก็มีคลื่นชาวจีนโพ้นทะเลอพยพมาสู่ดินแดนนี้เพื่อประกอบอาชีพ เช่นเดียวกันกับประเทศมุสลิมใกล้เคียง จนมีศาสนิกชนเป็นจำนวนมาก และก็มีชาวญี่ปุ่น ชาวไทย ฯลฯ แม้ปัจจุบัน ประเทศนี้จะมีชาวพุทธเพียงร้อยละ 13 เท่านั้น แต่ก็สร้างความหลากหลายทางวัฒนธรรมของประเทศบรูไนได้เป็นอย่างดี แต่ประเทศนี้เป็นประเทศมุสลิม การที่จะเผยแผ่พระศาสนา จึงเป็นไปได้ยาก เช่นเดียวกันกับมาเลเซีย และอินโดนีเซีย การนับถือพระพุทธศาสนาของประชาชนในประเทศบรูไน ดารุสซาลาม ส่วนมาก็จะคล้าย ๆ กับประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย เพราะว่าเป็นชนกลุ่มน้อย รวมตัวกันช่วยกันส่งเสริมบริหารจัดการองค์กรเป็นกลุ่มเฉพาะของตน ส่วนมากจะได้รับการสนับสนุนการเผยแผ่ธรรมจากไต้หวัน หรือประเทศไทย (มีสาขาของวัดพระธรรมกายที่ไปดำเนินกิจกรรมร่วมกับชาวพุทธเดือนละ 1 ครั้ง) ในปี..

ใหม่!!: ซุนนีและศาสนาพุทธในประเทศบรูไน · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: ซุนนีและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลามในประเทศไทย

''มัสยิดกรือเซะ'' หรือ ''มัสยิดปิตูกรือบัน'' เป็นมัสยิดที่มีอายุกว่า 200 ปี ในจังหวัดปัตตานี ศาสนาอิสลาม เป็นชนกลุ่มน้อยทางศาสนาในประเทศไทย แต่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยสถิติระบุว่าประชากรมุสลิมมีระหว่าง 2.2 ล้านคนhttp://service.nso.go.th/nso/nsopublish/service/survey/cult48.pdf ถึง 7.4 ล้านคน ซึ่งมีความหลากหลายจากการอพยพเข้ามาจากทั่วโลก มุสลิมในไทยส่วนใหญ่เป็นนิกายซุนนี.

ใหม่!!: ซุนนีและศาสนาอิสลามในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาในประเทศกัมพูชา

นาที่สำคัญในกัมพูชาคือศาสนาพุทธ มาตั้งแต่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โดยก่อนหน้านั้น ศาสนาฮินดูเป็นศาสนาที่มีความสำคัญมาเป็นเวลากว่าพันปี ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเผยแพร่เข้ามาพร้อมกับมิชชันนารีจากฝรั่งเศส เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 23-24 ศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่เป็นที่นับถือในหมู่ชาวจาม ส่วนชาวเขมรเชื้อสายจีน นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ลัทธิขงจื๊อ และความเชื่อดั้งเดิมของชาวจีน.

ใหม่!!: ซุนนีและศาสนาในประเทศกัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์

มเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดีน วัดเดาละห์ ทรงเป็นสุลต่านองค์ที่ 29 แห่งบรูไน และยังทรงเป็นสุลต่านบรูไนพระองค์แรกที่ทรงพระอิสริยยศเป็นยังดีเปอร์ตวน (สมเด็จพระราชาธิบดี) พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ของสุลต่านโอมาร์ อาลี ไซฟุดดีนที่ 3 เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์ ประเทศอังกฤษ และได้รับการสถาปนาเป็นมกุฎราชกุมารเมื่อปี พ.ศ. 2504 พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2510 ทรงเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง.

ใหม่!!: ซุนนีและสมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซัม ชาห์

ลต่าน อัลมูตัสสิมู บิลลาฮี มูฮิบบุดดิน ตวนกู อัลฮัจญ์ อับดุล ฮาลิม มูอัซซัม ชาห์ อิบนี อัลมาฮูม สุลต่านบาดิร ชาฮ์ ทรงเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซียลำดับที่ 5 และ 14 และอดีตสุลต่านแห่งรัฐเกอ.

ใหม่!!: ซุนนีและสมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซัม ชาห์ · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐอัฟกานิสถาน

รณรัฐอัฟกานิสถาน (Republic of Afghanistan; ดารี: جمهوری افغانستان; د افغانستان جمهوریت) เป็นรัฐบาลที่ปกครองอัฟกานิสถาน หลังการล้มล้างระบอบกษัตริย์ในปี..

ใหม่!!: ซุนนีและสาธารณรัฐอัฟกานิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐอียิปต์ (2496–2501)

รณรัฐอียิปต์ (جمهورية مصر, Ǧumhūriyyat Maṣr) เป็นชื่ออย่างเป็นทางการของประเทศอียิปต์นับแต่การล้มเลิกพระมหากษัตริย์อียิปต์และซูดานในปี 2496 จนสหภาพของอียิปต์กับซีเรียเป็นสหสาธารณรัฐอาหรับในปี 2501 ปฏิญญาสาธารณรัฐมีหลังการปฏิวัติอียิปต์ ค.ศ. 1952 กระตุ้นโดยความเสื่อมนิยมของพระเจ้าฟารูก ผู้ทรงถูกมองว่าอ่อนแอเกินไปเมื่อเผชิญกับอังกฤษ กอปรกับความปราชัยในสงครามอาหรับ-อิสราเอล ปี 2491 ด้วยปฏิญญาสาธารณรัฐ มูฮัมหม้ด นาจิบสาบานตนเป็นประธานาธิบดีอียิปต์คนแรก รับตำแหน่งได้เกือบหนึ่งปีครั้ง ก่อนถูกนักปฏิวัติด้วยกันบังคับให้ลาออก หลังนาจิบลาออก ตำแหน่งประธานาธิบดีว่างจนการเลือกตั้งญะมาล อับดุนนาศิร ในปี 2501.

ใหม่!!: ซุนนีและสาธารณรัฐอียิปต์ (2496–2501) · ดูเพิ่มเติม »

สิงหาคม พ.ศ. 2548

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ซุนนีและสิงหาคม พ.ศ. 2548 · ดูเพิ่มเติม »

สุลัยมานผู้เกรียงไกร

ลต่านสุลัยมานที่ 1 (ตุรกีออตโตมัน: سلطان سليمان اول‎) พระองค์เป็นที่รู้จักในโลกตะวันตกว่า สุลัยมานผู้เกรียงไกร และเป็นที่รู้จักในโลกตะวันออกว่า สุลัยมานผู้ตรากฎหมาย ทรงเป็นประมุขของจักรวรรดิออตโตมันสมัยราชวงศ์ออสมันระหว่างปี ค.ศ. 1520 จนเสด็จสวรรคตเมื่อต้นเดือนกันยายนปี ค.ศ. 1566 เป็นสุลต่านพระองค์ที่ 10 และเป็นสุลต่านที่ทรงราชย์นานที่สุดของจักรวรรดิออตโตมัน เป็นเวลานานถึง 46 ปี สุลต่านสุลัยมานเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1494 ที่ทราบซอนในประเทศตุรกี เป็นพระราชโอรสในสุลต่านเซลิมที่ 1 และฮาฟซา ฮาทุน (Hafsa Hatun) ทรงเสกสมรสตามกฎหมายกับร็อกเซลานา หรือเฮอร์เรมสุลต่าน พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อราววันที่ 5/6 กันยายน ค.ศ. 1566 ที่ Szigetvár ในประเทศฮังการีปัจจุบัน หลังจากพระองค์เสด็จสวรรคต พระราชโอรสของพระองค์กับเฮอร์เรมสุลต่านก็ขึ้นครองราชย์เป็นสุลต่านเซลิมที่ 2 สุลต่านสุลัยมานเป็นพระมหากษัตริย์องค์สำคัญของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ผู้มีบทบาทสำคัญไม่เพียงแต่ในจักรวรรดิออตโตมันเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงททวีปยุโรปด้วย พระองค์มีพระบรมราชานุภาพอันยิ่งใหญ่ทางการทหารและทางเศรษฐกิจ ทรงเป็นผู้นำทัพด้วยพระองค์เองในการสงครามหลายครั้งและทรงได้รับชัยชนะในสงครามหลายครั้งที่รวมทั้งต่อเบลเกรด โรดส์ และ ฮังการีเกือบทั้งหมด แต่มาทางพ่ายแพ้ในการล้อมกรุงเวียนนาในปี..

ใหม่!!: ซุนนีและสุลัยมานผู้เกรียงไกร · ดูเพิ่มเติม »

สุลต่านอับดุล ฮามิด ฮาลิมแห่งเกอดะฮ์

ลต่าน อับดุล ฮามิด ฮาลิม ชาห์ เป็นสุลต่านแห่งรัฐเกอดะฮ์ องค์ที่ 25 นับเป็นเจ้าเมืองไทรบุรีองค์สุดท้ายภายใต้การปกครองของสยาม.

ใหม่!!: ซุนนีและสุลต่านอับดุล ฮามิด ฮาลิมแห่งเกอดะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

สุลต่านฮุสเซน ชาห์แห่งยะโฮร์

ลต่านฮุสเซียน มูอัสซาม ชาห์ อิบนี มะห์มูด ชาห์ อะลาม (พ.ศ. 2319 – 5 กันยายน พ.ศ. 2378) เป็นสุลต่านองค์ที่ 18 แห่งยะโฮร์-รีเยา พระองค์เป็นที่จดจำในการลงนามมอบดินแดนให้อังกฤษ ซึ่งเป็นที่มาของการก่อตั้งสิงคโปร์สมัยใหม่ระหว่างที่พระองค์เป็นสุลต่านแห่งยะโฮร์และสิงคโปร์ใน..

ใหม่!!: ซุนนีและสุลต่านฮุสเซน ชาห์แห่งยะโฮร์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองซีเรีย

งครามกลางเมืองซีเรีย เป็นการขัดกันด้วยอาวุธหลายฝ่ายที่กำลังดำเนินอยู่ในประเทศซีเรีย โดยมีต่างชาติเข้าแทรกแซง ความไม่สงบเริ่มในต้นฤดูใบไม้ผลิปี 2554 ในบริบทการประท้วงอาหรับสปริง โดยมีการประท้วงทั่วประเทศต่อรัฐบาลประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัด ซึ่งกำลังของเขาสนองโดยการปราบปรามอย่างรุนแรง ความขัดแย้งค่อย ๆ กลายจากการประท้วงของประชาชนเป็นการกบฏมีอาวุธหลังการล้อมทางทหารหลายเดือน รายงานสหประชาชาติฉบับหนึ่งในปลายปี 2555 อธิบายความขัดแย้งว่า "มีสภาพนิยมนิกาย (sectarian) อย่างเปิดเผย" ระหว่างกำลังรัฐบาล ทหารอาสาสมัครซึ่งส่วนใหญ่เป็นอะละวี (Alawite) และกลุ่มชีอะฮ์อื่น ต่อสู้กับกลุ่มกบฏซึ่งมีซุนนีครอบงำเป็นส่วนใหญ่ แม้ทั้งฝ่ายค้านและกำลังรัฐบาลต่างปฏิเสธ ทีแรกรัฐบาลซีเรียอาศัยกองทัพเป็นหลัก แต่ตั้งแต่ปี 2557 หน่วยป้องกันท้องถิ่นซึ่งประกอบจากอาสาสมัครที่เรียก กำลังป้องกันชาติ (National Defence Force) ได้มีบทบาทมากขึ้น ค่อย ๆ กลายเป็นกำลังทหารหลักของรัฐซีเรีย รัฐบาลซีเรียได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิค การเงิน การทหารและการเมืองจากประเทศรัสเซีย อิหร่านและอิรักมาตั้งแต่ต้น ในปี 2556 ฮิซบุลลอฮ์ที่อิหร่านสนับสนุนเข้าร่วมสงครามโดยสนับสนุนกองทัพซีเรีย รัสเซียเข้าร่วมปฏิบัติการทางอากาศตั้งแต่เดือนกัยายน 2558 เนื่องจากการเกี่ยวพันของต่างชาติ ความขัดแย้งนี้จึงถูกเรียกว่าเป็น สงครามตัวแทน ระหว่างชาติซุนนีและชีอะฮ์ภูมิภาค ที่สำคัญที่สุดคือความขัดแย้งตัวแทนระหว่างซาอุดีอาระเบียและอิหร่าน ในเดือนกันยายน 2558 รัสเซีย อิรัก อิหร่านและซีเรียตั้งห้องปฏิบัติการร่วม (ศูนย์สารสนเทศ) ในกรุงแบกแดดเพื่อประสานงานกิจกรรมของพวกตนในประเทศซีเรีย วันที่ 30 กันยายน 2558 ประเทศรัสเซียเริ่มการทัพทางอากาศของตนโดยเข้ากับฝ่ายและด้วยคำขอของรัฐบาลซีเรีย จึงเกิดสงครามตัวแทนระหว่างสหรัฐและรัสเซีย ซึ่งนักวิจารณ์บางส่วนบรรยายสถานการณ์ว่าเป็น "ก่อนสงครามโลกโดยมีประเทศเกือบโหลพัวพันในสองความขัดแย้งที่ทับซ้อนกัน" ฝ่ายค้านมีอาวุธประกอบด้วยหลายกลุ่มซึ่งก่อตั้งในห้วงความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กองทัพซีเรียเสรี (FSA) ซึ่งเป็นผู้แรกที่หยิบอาวุธในปี 2554 และแนวร่วมอิสลามซึ่งก่อตั้งในปี 2556 ฝ่ายทางตะวันออก รัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์ (ISIL) กลุ่มนักรบญิฮัดซึ่งกำเนิดในประเทศอิรัก ได้ชัยชนะทางทหารอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศซีเรียและอิรัก จนลงเอยด้วยพิพาทกับกบฏอื่น ฝ่ายแนวร่วมนานาชาติที่มีสหรัฐเป็นผู้นำมีการสถาปนาขึ้นในปี 2557 โดยมีวัตถุประสงค์ที่ประกาศไว้ว่าเพื่อตอบโต้ ISIL และได้ดำเนินการโจมตีทางอากาศต่อ ISIL ในซีเรีย ตลอดจนเป้าหมายบะอัธซีเรียและให้การสนับสนุนต่อสหพันธรัฐประชาธิปไตยซีเรียเหนือ สหรัฐเลิกให้การสนับสนุนด้านอาวุธโดยตรงต่อ FSA ในปี 2560; ปลายปี 2560 อิทธิพลและดินแดนควบคุมของ ISIL เสื่อมลง จนซีเรียประกาศว่าประเทศได้รับการปลดปล่อยจาก ISIL แล้ว ด้านตุรกีมีความเกี่ยวข้องในสงครามตั้งแต่ปี 2559 และสนับสนุนฝ่ายค้านซีเรียอย่างแข็งขันและยึดพื้นที่ได้เป็นบริเวณกว้างทางภาคเหนือของประเทศซีเรีย องค์การระหว่างประเทศกล่าวหารัฐบาลซีเรีย ISIL และกำลังฝ่ายค้านอื่นว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง โดยเกิดการสังหารหมู่หลายครั้ง ความขัดแย้งนี้ทำให้เกิดการย้ายประชากรอย่างสำคัญ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 สหประชาชาติประกาศเริ่มการเจรจาสันติภาพซีเรียเจนีวาที่สหประชาชาติเป็นสื่อกลางอย่างเป็นทางการ โดยการสู้รบยังดำเนินไปโดยไม่มีทีท่าลดลง.

ใหม่!!: ซุนนีและสงครามกลางเมืองซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามอิรัก

งครามอิรัก เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในประเทศอิรักตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม..

ใหม่!!: ซุนนีและสงครามอิรัก · ดูเพิ่มเติม »

สงครามอิรัก–อิหร่าน

งครามอิรัก–อิหร่าน (Iran–Iraq War) เป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศอิหร่านและประเทศอิรัก ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 1980 ถึงสิงหาคม 1988 มีการประเมินว่าสงครามครั้งนี้สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจรวมกันกว่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (30.6 ล้านล้านบาท) สงครามอิรัก–อิหร่านเริ่มขึ้นเมื่ออิรักทำการรุกรานอิหร่านในวันที่ 22 กันยายน 1980 อันเนื่องมาจากข้อพิพาททางชายแดนที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน หลังการปฏิวัติอิหร่านในปี 1979 รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี ได้ขึ้นเป็นผู้นำสูงสุดของอิหร่านและประกาศตนเป็นผู้นำอิสลามนิกายชีอะห์ ทำให้มุสลิมชีอะฮ์อันเป็นคนส่วนมากในอิรักขึ้นมาก่อจลาจลต่อต้านการปกครองของรัฐบาลนิกายซุนนี ขณะเดียวกัน อิรักก็มีความพยายามจะขึ้นมามีอิทธิพลครอบงำภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียแทนที่อิหร่าน แม้ว่าอิรักจะใช้โอกาสที่อิหร่านกำลังวุ่นวายนี้เข้าโจมตีอิหร่านโดยไม่ประกาศก่อน แต่เข้ายึดครองยังได้ไม่มากก็ถูกโต้กลับอย่างรวดเร็ว อิหร่านสามารถชิงดินแดนที่สูญเสียไปทั้งหมดคืนมาได้ภายในเดือนมิถุนายน 1982 และตลอดหกปีจากนี้ อิหร่านก็กลายเป็นฝ่ายรุกไล่เข้าไปในดินแดนอิรัก แม้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ร้องให้มีการหยุดยิงนับสิบๆครั้ง แต่การสู้รบก็ดำเนินไปจนถึงวันที่ 20 สิงหาคม 1988 และสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการตามมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 598 ที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับคำขอหยุดยิง ซึ่งภายหลังข้อสรุปนี้ กองทัพอิหร่านต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการถอนกำลังออกจากดินแดนอิรักโดยยึดเอาหลักเขตแดนก่อนสงคราม เชลยสงครามคนสุดท้ายของสงครามนี้ถูกส่งตัวกลับประเทศตนในปี 2003 สงครามครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตรวมกันกว่าหนึ่งล้านคนแต่กลับไม่มีฝ่ายใดได้หรือสูญเสียดินแดนเลย สงครามครั้งนี้ถูกนำไปเปรียบเทียบกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในแง่ของกลยุทธ ทั้งการใช้แท่นปืนกล, การโจมตีแบบคลื่นมนุษย์, การใช้อาวุธเคมีจำนวนมากโดยกองทัพอิรัก ประเทศอิสลามจำนวนมากอยู่ฝ่ายเดียวกับชาติตะวันตกในสงครามครั้งนี้ นั่นคือการสนับสนุนอิรักโดยการให้เงินกู้, ยุทโธปกรณ์ และภาพถ่ายดาวเทียมในช่วงที่อิรักโจมตีอิหร่าน ซึ่งในระหว่างสงคราม มีการวิจารณ์จากสื่อว่า "ประชาคมโลกต่างพากันเงียบกริบตอนอิรักใช้อาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงต่ออิหร่านและชาวเคิร์ด" และกว่าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจะประกาศให้อิรักเป็นผู้ก่อสงครามก็จนกระทั่ง 11 ธันวาคม 1991 สิบสองปีให้หลังจากที่อิรักทำการรุกรานอิหร่าน และเป็นเวลาสิบหกเดือนหลังอิรักรุกรานคูเวต ซึ่งบานปลายเป็นสงครามอ่าว.

ใหม่!!: ซุนนีและสงครามอิรัก–อิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

สนธิ บุญยรัตกลิน

ลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน (เกิด 2 ตุลาคม พ.ศ. 2489) อดีตรองนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารบกของไทยและก็เป็น ผู้บัญชาการทหารบกของไทยคนแรกที่มาจากชาวไทยมุสลิม และอดีตหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในเหตุการณ์ รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคมาตุภูมิ อดีตรองผู้อำนวยการเสริมสร้างสันติสุข จังหวัดชายแดนภาคใต้.

ใหม่!!: ซุนนีและสนธิ บุญยรัตกลิน · ดูเพิ่มเติม »

หะดีษ

ีษ บ้างก็สะกด หะดีษ, หาดีษ, ฮาดีษ (الحديث /อัลฮะดีษ/) แปลว่าคำพูด หรือใหม่ ตามทัศนะซุนนีย์หมายถึงคำพูด การกระทำ และการยอมรับของนบีมุฮัมมัด ตามทัศนะชีอะฮ์ยังรวมถึงถึงคำพูด การกระทำ และการยอมรับของบรรดามะอฺศูมอีกด้วย ฮะดีษต่าง ๆ ได้มีการรวบรวมเป็นเล่ม เรียกในภาษาไทยว่า พระวจนานุกรม มีการแบ่งเป็นอนุกรมและหมวดหมู่ สะดวกแก่การค้นห.

ใหม่!!: ซุนนีและหะดีษ · ดูเพิ่มเติม »

อภิธานศัพท์ศาสนาอิสลาม

ำศัพท์เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม.

ใหม่!!: ซุนนีและอภิธานศัพท์ศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

อะบูฏอลิบ

อะบูฏอลิบ บิน อับดิลมุฏฏอลิบ เป็นพี่ชายของ อับดุลลอหฺ บิดาของศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เป็นศาสดาของอิสลาม และเป็นบิดาของ อะลีย์ ผู้เป็นอิมามคนแรกของอิสลามชีอะหฺ และคอลีฟะหฺคนที่ 4 ของอิสลามซุนนี อะบูฏอลิบ รับศาสนทูตมุฮัมมัด มาเลี้ยงตั้งแต่อายุ 8 ขวบ อะบูฏอลิบ มีภรรยาชื่อ ฟาฏิมะหฺ บินตุ อะสัด มีบุตรธิดา 6 คนคือ 1.

ใหม่!!: ซุนนีและอะบูฏอลิบ · ดูเพิ่มเติม »

อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ

อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ (علي بن أﺑﻲ طالب; ʿAlī ibn Abī Ṭālib) เป็นบุตรเขยของศาสนทูตมุฮัมมัด อิมามที่ 1 ตามทัศนะชีอะฮ์ อย่างไรก็ตามทัศนะของมัซฮับซุนนี อิมามอะลีเป็นเคาะลีฟะฮ์ที่ 4 และศูฟีย์เกือบทุกสายถือว่าเป็นปฐมาจารย์ ต่างก็ยกย่อง อะลี ว่าเป็นสาวกผู้ทรงธรรมและเป็นปราชญ์ผู้ประเสริฐเล.

ใหม่!!: ซุนนีและอะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ · ดูเพิ่มเติม »

อับดุลอะซีซ บูเตฟลีกา

อับดุลอะซีซ บูเตฟลีกา (عبد العزيز بوتفليقة; 2 มีนาคม ค.ศ. 1937 —) เป็นนักการเมืองแอลจีเรีย นับตั้งแต่ปี 1999 เขาเป็นประธานาธิบดีคนที่ 9 ของแอลจีเรีย เขาเป็นประธานาธิบดีคนสุดท้ายในสงครามกลางเมืองในปี 2002 เขาได้ยกเลิกกฎอัยการศึกในเดือนเดือนกุมภาพันธ์ 2011 จากเหตุการณ์อาหรับสปริง.

ใหม่!!: ซุนนีและอับดุลอะซีซ บูเตฟลีกา · ดูเพิ่มเติม »

อัยมัน อัซเซาะวาฮิรี

อัยมัน มุฮัมมัด เราะบี อัซเซาะวาฮิรี (أيمن محمد ربيع الظواهري‎, Ayman Mohammed Rabie al-Zawahiri; เกิด 19 มิถุนายน พ.ศ. 2494) เป็นนักเทววิทยาอิสลามชาวอียิปต์ ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำของกลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะฮ์ ก่อนหน้านั้นเขาเคยเป็น "เอมีร์" (emir) คนที่สองและคนสุดท้ายของญิฮาดอิสลามอียิปต์ โดยสืบทอดตำแหน่งเอมีร์สืบต่อจากอับบัด อัล-ซูมาร์ เมื่อเขาถูกทางการอียิปต์ตัดสินจำคุกตลอดชีวิต ภรรยาของอัซเซาะวาฮิรีและลูกสามคนจากทั้งหมดหกคนถูกสังหารในการโจมตีทางอากาศในอัฟกานิสถานโดยกองทัพสหรัฐเมื่อปลายปี..

ใหม่!!: ซุนนีและอัยมัน อัซเซาะวาฮิรี · ดูเพิ่มเติม »

อัรบะอีน

รรดามุสลิมหลายล้านคนชุมนุมกันรอบ ๆ มัสยิดฮุซัยน์ในเมืองกัรบะลาอ์ อัลอัรบะอีน (الأربعين) หรือ ชะฮ์ลัม (چهلم, چہلم) แปลตรงตัวว่าสี่สิบ เป็นศาสนพิธีของชาวมุสลิมนิกายชีอะห์ ซึ่งจัดขึ้นหลังจากวันอาชูรออ์เป็นเวลา 40 วัน หรือวันที่ 20 เศาะฟัร เพื่อรำลึกถึงการวายชนม์ของฮุซัยน์บุตรอะลี ซึ่งแข็งข้อไม่ยอมขึ้นต่อราชวงศ์อุมัยยะฮ์จนต้องถูกตัดศีรษะในยุทธการกัรบะลาอ์ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 1223 (10 มุฮัรรอม ฮ.ศ. 61) พิธีนี้จัดขึ้นที่เมืองกัรบะลาอ์ ประเทศอิรัก และมีผู้ร่วมพิธีมากกว่าพิธีฮัจญ์ที่เมืองมักกะห์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย พิธีอัรบะอีนจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี..

ใหม่!!: ซุนนีและอัรบะอีน · ดูเพิ่มเติม »

อัลเฆาะซาลี

อะบู ฮามิด มุฮัมมัด อิบน์ มุฮัมมัด อัลเฆาะซาลี (ابو حامد محمد ابن محمد الغزالي Abū Ḥāmid Muḥammad ibn Muḥammad al-Ghazālī) เป็นนักเทววิทยาศาสนาอิสลาม นักนิติศาสตร์ นักปรัชญา และรหัสยิก ชาวเปอร์เซียLudwig W. Adamec (2009), Historical Dictionary of Islam, p.109.

ใหม่!!: ซุนนีและอัลเฆาะซาลี · ดูเพิ่มเติม »

อัสบัต อัลอันซาร์

อัสบัต อัลอันซาร์ (Asbat an-Ansarr หรือ Osbat al-Ansar) เป็นกลุ่มของมุสลิมปาเลสไตน์นิกายซุนนีหัวรุนแรง ฐานที่มั่นอยู่ในเลบานอน มีความร่วมมือกับกลุ่มอัลกออิดะฮ์ จุดหมายขององค์กรคือล้มล้างรัฐบาลเลบานอนและทำลายแนวคิดที่ต่อต้านอิสลาม กลุ่มนี้เริ่มเปิดการโจมตีในเลบานอนตั้งแต..

ใหม่!!: ซุนนีและอัสบัต อัลอันซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

อันวัร อัสซาดาต

มุฮัมมัด อันวัร อัสซาดาต (محمد أنور السادات; Muhammad Anwar al-Sadat; 25 ธันวาคม พ.ศ. 2461 - 6 ตุลาคม พ.ศ. 2524) นักการทหาร นักการเมืองและประธานาธิบดีแห่งอียิปต์ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2513 - 6 ตุลาคม..

ใหม่!!: ซุนนีและอันวัร อัสซาดาต · ดูเพิ่มเติม »

อันวาร์ อิบราฮิม

ต๊ะ ซรี อันวาร์ บิน อิบราฮิม (เกิด 10 สิงหาคม พ.ศ. 2490) เป็นนักการเมืองมาเลเซีย ผู้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีมาเลเซียตั้งแต..

ใหม่!!: ซุนนีและอันวาร์ อิบราฮิม · ดูเพิ่มเติม »

อันศอรอัลอิสลาม

งของอันศอรอัลอิสลาม อันศอรอัลอิสลาม (أنصار الإسلام) เป็นกลุ่มก่อการร้ายของมุสลิมนิกายซุนนีในอิรัก และซีเรีย ก่อตั้งในอิรักเมื่อ..

ใหม่!!: ซุนนีและอันศอรอัลอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

อาหรับ

กลุ่มประเทศอาหรับ อาหรับ (عربي, ʿarabi พหูพจน์ العرب al-ʿarab, Arab) คือบุคคลกลุ่มบุคคลที่มีชาติพันธุ์ พูดภาษา หรือมีวัฒนธรรมที่เรียกว่า “อาหรับ”เป็นชนชาติหนึ่งที่อาศัยในบริเวณคาบสมุทรอาหรับที่เป็นทะเลทราย รวมทั้งชนชาติที่พูดภาษาอาหรับในเอเชียตะวันตก และแอฟริกาเหนือ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม คำว่าอาหรับในตระกูลภาษาเซมิติกแปลว่าทะเลทรายหรือผู้อาศัยอยู่ในทะเลทราย ส่วนใหญ่ดำรงชีพแบบเร่ร่อน จึงแปลคำว่าอาหรับว่าเร่ร่อนได้ด้วย ชาวอาหรับเป็นชาวเซมิติกเช่นเดียวกับชาวยิว จัดอยู่ในพวกคอเคเซอยด์ ในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเก่ากล่าวว่าอับราฮัมมีลูกชาย 2 คน คนโตชื่ออิสไมส์หรืออิสมาอีลเป็นต้นตระกูลของชาวอาหรับ คนที่ 2 ชื่อไอแซกเป็นต้นตระกูลของชาวยิว ก่อนที่มุฮัมมัดจะประกาศศาสนาอิสลามชาวอาหรับจะอยู่กันเป็นเผ่า จงรักภักดีต่อเผ่าของตนมาก วิถีชีวิตของชาวอาหรับมีสองแบบ คือแบบอยู่เป็นหมู่บ้าน มีอาชีพค้าขายและทำการเกษตร อีกกลุ่มหนึ่งใช้ชีวิตแบบเร่ร่อนเรียกว่าเบดูอิน อาศัยอยู่ในกระโจมเพื่อเคลื่อนย้ายได้สะดวก ชาวเบดูอินกับชาวอาหรับที่ตั้งถิ่นฐานมักดูถูกกัน ไม่ลงรอยกัน หลังจากมุฮัมมัดประกาศศาสนาอิสลาม จึงเกิดความสามัคคีในหมูชาวอาหรับ ผู้นับถือศาสนาอิสลามในยุคแรกๆมักถูกกลั่นแกล้งและปราบปรามจึงเกิดการทำญิฮาดหรือการต่อสู้เพื่อศาสนาขึ้น ปัจจุบันประเทศที่จัดว่าเป็นประเทศอาหรับเป็นสมาชิกของสันนิบาตอาหรับ ในปัจจุบันมีสมาชิก 21 ประเทศ ได้แก่ แอลจีเรีย จิบูตี บาห์เรน อิรัก จอร์แดน คูเวต เลบานอน ลิเบีย มอริตาเนีย โมร็อกโก โอมาน ปาเลสไตน์ กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย โซมาเลีย ซูดาน ซีเรีย ตูนีเซีย อียิปต์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ เยเมน ในปัจจุบันยังมีความขัดแย้งในหมู่ชาวอาหรับอยู่ เช่น ปัญหาปาเลสไตน์ ความขัดแย้งทางศาสนา เช่น ความขัดแย้งระหว่างชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ในเลบานอน ความขัดแย้งระหว่างชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่และชีอะห์ เป็นต้น ภาษาอาหรับเป็นภาษาที่เก่ากว่าวัฒนธรรมอาหรับที่เริ่มเผยแพร่ในตะวันออกกลางตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 2 เมื่ออาหรับคริสเตียนเช่นกาสนาวิยะห์ ลักห์มิยะห์ และ Banu Judham เริ่มโยกย้ายเข้าไปตั้งถิ่นฐานในทะเลทรายซีเรียและในบริเวณลว้าน ภาษาอาหรับเพิ่มความสำคัญมากขึ้นพร้อมกับการรุ่งเรืองของศาสนาอิสลามในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ในการเป็นภาษาของอัลกุรอาน และวัฒนธรรมอาหรับก็เริ่มเผยแพร่ออกไปพร้อมกับการขยายดินแดนของอิสลาม.

ใหม่!!: ซุนนีและอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

อุมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีร

อุมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีร (عمر حسن أحمد البشير, 1 มกราคม ค.ศ. 1944 -) เป็นหัวหน้าพรรคเนชันแนลคองเกรส และประธานาธิบดีของประเทศซูดานคนปัจุจบัน เริ่มเข้ามามีอำนาจทางการเมืองครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1989 ขณะยังเป็นนายทหารยศพันโท โดยเป็นผู้นำกลุ่มนายทหารทำรัฐประหารไม่นองเลือดขับไล่รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีซาดิก อัลมะฮ์ดี (Sadiq al-Mahdi) ซึ่งเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2004 รัฐบาลของนายอัลบะชีรได้เจรจายุติสงครามกลางเมืองซูดานครั้งที่สอง ซึ่งเป็นสงครามที่ดำเนินมาต่อเนื่องยาวนานที่สุดและนองเลือดที่สุดครั้งหนึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยให้อำนาจปกครองตนเองบางส่วนในเซาท์ซูดานซึ่งเป็นพื้นที่เกิดสงคราม อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามกลางเมืองแล้ว รัฐบาลของนายอัลบะชีรได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางต่อบทบาทของรัฐบาลในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่ดาร์ฟูร์ อันเป็นการกวาดล้างชาติพันธุ์ประชากรที่ไม่ใช่ชาวอาหรับครั้งใหญ่ในซูดาน มีผู้เสียชีวิตจากกรณีดังกล่าวอยู่ระหว่าง 200,000 ถึง 400,000 คน บทบาทของนายอัลบะชีรในเรื่องนี้ได้นำไปสู่การสู้รบอย่างรุนแรงระหว่างกองกำลังติดอาวุธของพวกยันยาวิด (Janjaweed) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายรัฐบาล และกองกำลังกบฏฝ่ายต่างๆ อันได้แก่ กองทัพปลดแอกประชาชนซูดาน (Sudan People's Liberation Army, SPLA) กองทัพปลดปล่อยซูดาน (Sudanese Liberation Army, SLA) และขบวนการความยุติธรรมและความเสมอภาค (Justice and Equality Movement, JEM) ซึ่งทำการรบในรูปแบบสงครามกองโจรในแคว้นดาร์ฟูร์ ผลจากสงครามครั้งนี้ทำให้ประชาชนกว่า 2.5 ล้านคนต้องไร้ที่อยู่อาศัย และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศชาดกับซูดานตกต่ำลงจนถึงระดับวิกฤต เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2008 หลุยส์ โมเรโน-โอแคมโป อัยการประจำศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court, ICC) ได้ฟ้องร้องนายอัลบะชีรในข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ กระทำอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และอาชญากรรมสงครามในแคว้นดาร์ฟูร์ ศาลได้ออกหมายจับนายอัลบะชีรเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 2009 ในข้อหาอาชญากรรมต่อมนุษยชาติและอาชญากรรมสงคราม แต่ไม่รวมข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เนื่องจากศาลได้ชี้ว่าหลักฐานที่จะฟ้องร้องด้วยข้อหาดังกล่าวยังมีไม่เพียงพอBBC News, 4 March 2009.

ใหม่!!: ซุนนีและอุมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีร · ดูเพิ่มเติม »

อุยกูร์

อุยกูร์ (อุยกูร์: ئۇيغۇر; Uyghurs) เป็นกลุ่มชนเตอร์กิกกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในเอเชียตะวันออกและเอเชียกลาง ปัจจุบันชาวอุยกูร์ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร.

ใหม่!!: ซุนนีและอุยกูร์ · ดูเพิ่มเติม »

อุซามะฮ์ บิน ลาดิน

อุซามะฮ์ บิน โมฮัมเหม็ด บิน อวัด บิน ลาดิน หรือ อุซามะฮ์ บิน ลาดิน (อังกฤษ: Osama bin Mohammed bin Awad bin Laden; Osama bin Laden) (10 มีนาคม พ.ศ. 2500 - 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 (54 ปี 53 วัน) เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งและหัวหน้าอัลกออิดะฮ์ ซึ่งรับผิดชอบเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ต่อสหรัฐอเมริกา และเหตุวินาศกรรมที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากอีกหลายครั้ง เกิดในตระกูลบิน ลาดินสัญชาติซาอุดิอาระเบีย อันมั่งคั่ง บิน ลาดินอยู่ในรายชื่อหนึ่งในสิบบุคคลที่สำนักงานสืบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (เอฟบีไอ) ต้องการตัวมากที่สุดและผู้ก่อการร้ายที่ต้องการตัวมากที่สุดจากการมีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุวางระเบิดสถานทูตสหรัฐในปี พ.ศ. 2541 ระหว่าง พ.ศ. 2544 ถึง 2554 บิน ลาดินเป็นเป้าหมายสำคัญของสงครามต่อต้านการก่อการร้าย ซึ่งส่งผลให้มีพลเรือนเสียชีวิตในอิรัก อัฟกานิสถานและโซมาเลียระหว่าง 80,000 ถึง 1.2 ล้านคนระหว่างปี พ.ศ. 2544 ถึง 2550 เขาเสียชีวิตในบริเวณบ้านในแอบบอตทาบัต โดยปฏิบัติการบุกจู่โจมของหน่วยซีลสหรัฐอเมริกา จากปี พ.ศ. 2544 จนถึง 2554 บิน ลาดินเป็นเป้าหมายหลักของสงครามต่อต้านการก่อการร้าย โดย FBI ได้ให้ค่าหัวถึง 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อตามหาเขา ในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 บิน ลาดิน ได้ถูกยิงเสียชีวิต ในที่พัก ณ แอบบอตทาบัด ซึ่งเขาได้พักอยู่กับครอบครัวพื้นเมืองจากวาซิริสถาน โดยคำสั่งจาก บารัก โอบามา ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: ซุนนีและอุซามะฮ์ บิน ลาดิน · ดูเพิ่มเติม »

ฮอมส์

อมส์ (Homs) หรือ ฮิมศ์ (حمص) หรือเดิมรู้จักในชื่อ เอเมซา (กรีก: Ἔμεσα, Emesa) เป็นเมืองตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศซีเรีย เป็นเมืองหลวงของเขตผู้ว่าราชการฮอมส์ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 501 เมตร (1,644 ฟุต) ตั้งอยู่ห่างจากกรุงดามัสกัสทางทิศเหนือราว 162 กิโลเมตร (101 ไมล์) บนฝั่งแม่น้ำออรันตีส ฮอมส์ยังเป็นเมืองศูนย์กลางที่เชื่อมโยงเมืองภายในกับเมืองชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ชาวอาหรับเข้ายึดครองเมืองในปี..

ใหม่!!: ซุนนีและฮอมส์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮะมาส

มาส (حماس) ย่อมาจาก ฮะเราะกะฮ์ อัลมุกอวะมะฮ์ อัลอิสลามียะฮ์ (حركة المقاومة الاسلامية) เป็นพรรคการเมืองหนึ่งของปาเลสไตน์ที่นับถือศาสนาอิสลามและมีกองกำลังติดอาวุธ มักถูกเรียกว่า กลุ่มหัวรุนแรงฮะมาส หรือ กลุ่มติดอาวุธฮะมาส ซึ่งมักก่อเหตุโจมตีกลุ่มฟะตะห์โดยใช้ระเบิดพลีชีพ อามาสเป็นขบวนการที่เป็นผลพวงของการต่อต้านอิสราเอลใน..

ใหม่!!: ซุนนีและฮะมาส · ดูเพิ่มเติม »

ฮิซบุลลอฮ์ (แก้ความกำกวม)

ซบุลลอฮ์ (ภาษาอาหรับ หมายถึงพรรคของพระเจ้า) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ซุนนีและฮิซบุลลอฮ์ (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

ฮิซบุลลอฮ์ชาวเคิร์ด

ซบุลลอฮ์ชาวเคิร์ด (Kurdish Hezbollah; เคิร์ด: Hizbullahî Kurdî) หรือ ฮิซบุลลอฮ์ชาวเติร์ก เป็นกองกำลังทหารอิสลามนิกายซุนนีของชาวเคิร์ดในตุรกี ก่อตั้งเมื่อราว..

ใหม่!!: ซุนนีและฮิซบุลลอฮ์ชาวเคิร์ด · ดูเพิ่มเติม »

ฮุสนี มุบาร็อก

นี มุบาร็อก หรือชื่อเต็มว่า มุฮัมมัด ฮุสนี ซัยยิด มุบาร็อก (محمد حسني سيد مبارك‎,; Muhammad Hosni Sayyid Mubarak) ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนที่ 4 แห่งสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ เคยดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานาธิบดี ในปี ค.ศ. 1975 ในสมัยประธานาธิบดี อันวัร อัสซาดาต และเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1981 จนกระทั่งลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 หลังจากการประท้วงนาน 18 วัน.

ใหม่!!: ซุนนีและฮุสนี มุบาร็อก · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิกาสนาวิยะห์

กาสนาวิยะห์ (غزنویان, Ghaznavids) เป็นราชวงศ์อิสลามและเปอร์เชียของชนเตอร์กิกมามลุค ผู้รุ่งเรืองระหว่าง..

ใหม่!!: ซุนนีและจักรวรรดิกาสนาวิยะห์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิแอฟริกากลาง

ักรวรรดิแอฟริกากลาง (ฝรั่งเศส: Empire centrafricain) เป็นจักรวรรดิที่ได้รับการสถาปนาเป็นช่วงสั้น ๆ โดยการประกาศระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เผด็จการ และสถาบันพระมหากษัตริย์ จักรวรรดิได้การการสถาปนานาขึ้นมาแทนที่สาธารณรัฐแอฟริกากลาง แต่ในที่สุดก็ล่มสลายและมีการฟื้นฟูธารณรัฐแอฟริกากลางขึ้นมาอีกครั้ง จักรวรรดิได้รับการก่อตั้งโดยฌ็อง-เบแดล บอกาซา ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ได้ประกาศสถาปนาตนเป็น "สมเด็จพระจักรพรรดิโบคัสซาที่ 1 แห่งจักรวรรดิแอฟริกากลาง" เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 1976 โบคัสซาใช้เงินประมาณ 20 ล้านดอลลาสหรัฐ หรือหนึ่งในสี่ของรายได้ของประเทศในช่วงรัฐบาลของเขา ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สถาบันพระมหากษัตริย์ถูกล้มล้างและแทนที่ด้วย "สาธารณรัฐแอฟริกากลาง" เมื่อวันที่ 21 กันยายน 1979 หลังจากที่โบคัสซาไม่ได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศสอีกต่อไป.

ใหม่!!: ซุนนีและจักรวรรดิแอฟริกากลาง · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเซลจุค

มหาจักรวรรดิเซลจุค (سلجوقیان.) เป็นจักรวรรดิแบบเปอร์เชียM.A. Amir-Moezzi, "Shahrbanu", Encyclopaedia Iranica, Online Edition,: "...

ใหม่!!: ซุนนีและจักรวรรดิเซลจุค · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดชวากลาง

วากลาง (Jawa Tengah, ꦗꦮꦠꦼꦔꦃ) เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศอินโดนีเซีย เมืองเอกคือ เซอมารัง (Semarang) นับเป็นหนึ่งในจังหวัดทั้งหกของเกาะชวา ชวากลางมีจุดเด่นทั้งด้านวัฒนธรรม และทางการเมือง ยอกยาการ์ตาเป็นส่วนสำคัญแห่งหนึ่งของชวากลาง อย่างไรก็ตาม ในเชิงการบริหารแล้ว เมืองนี้และพื้นที่โดยรอบเป็นพื้นที่พิเศษที่แยกต่างหาก นับตั้งแต่อินโดนีเซียประกาศเอกราช จังหวัดชวากลางมีพื้นที่ 32,548.20 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณหนึ่งในสี่ของพื้นที่เกาะชวา มีประชากร 31,820,000 (พ.ศ. 2548) จึงเป็นจังหวัดที่มีประชากรมากเป็นอันดับสามของอินโดนีเซีย รองจากชวาตะวันตก และชวาตะวันออก และมีประชากรประมาณหนึ่งในสี่ของเกาะนี้ ชวากลาง หมวดหมู่:จังหวัดชวากลาง.

ใหม่!!: ซุนนีและจังหวัดชวากลาง · ดูเพิ่มเติม »

จุฬาราชมนตรี

ฬาราชมนตรี เป็นผู้นำกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย และเป็นตำแหน่งฝ่ายมุสลิมให้ข้อปรึกษาด้านศาสนาอิสลามแก่รัฐบาลไทย โดยเฉพาะแก่กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงวัฒนธรรม มีประวัติมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ในทำเนียบศักดินาของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทำเนียบตำแหน่งขุนนาง ซึ่งในชั้นหลังเรียกว่า "กรมท่าขวา" มี "พระจุลาราชมนตรี" เป็นหัวหน้าฝ่ายแขก คู่กับ "หลวงโชฎึกราชเศรษฐี" หัวหน้าฝ่ายจีน.

ใหม่!!: ซุนนีและจุฬาราชมนตรี · ดูเพิ่มเติม »

ธงขาว

งขาวที่สร้างขึ้นอย่างง่ายๆ ธงขาว (white flag) เป็นคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ โดยทั่วไปเป็นที่เข้าใจว่าการยกธงขาวเป็นสัญลักษณ์ของการยอมแพ้ หรือการพักรบ หรือทั้งสองกรณี ในการสงคราม อย่างไรก็ดี ธงขาวยังมีความหมายอย่างอื่นอีกมากในประวัติศาสตร์และธรรมเนียมของแต่ละท้องถิ่น.

ใหม่!!: ซุนนีและธงขาว · ดูเพิ่มเติม »

ขบวนการร่วมเพื่อเอกราชปัตตานี

วนการร่วมเพื่อเอกราชปัตตานี หรือ เบอร์ซาตู (Bersatu; The United Front for the independent of Pattani) เป็นการรวมตัวขององค์กรที่ต่อสู้เพื่อเอกราชของปัตตานี 4 องค์กรคือ ขบวนการแนวร่วมปลดแอกแห่งชาติปัตตานี ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี มูจาฮีดีนอิสลามปัตตานีและพูโลใหม่ เมื่อ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2532 เพื่อรวมการต่อสู้ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ประธานคนแรกคือ ดร.

ใหม่!!: ซุนนีและขบวนการร่วมเพื่อเอกราชปัตตานี · ดูเพิ่มเติม »

ขบวนการอมัล

งขบวนการอมัล ขบวนการอมัล (Amal movement; ภาษาอาหรับ: ตัวย่อของ أفواج المقاومة اللبنانية Afwâj al-Muqâwmat al-Lubnâniyya, หรือ حركة أمل; Harakat Amal) เป็นชื่อย่อของแนวป้องกันเลบานอน อมัลกลายเป็นกองทัพมุสลิมชีอะห์ที่สำคัญในสงครามกลางเมืองเลบานอน การเติบโตของอมัลเกิดจากความใกล้ชิดกับระบบสังคมอิสลามของอิหร่าน และผู้อพยพนิกายชีอะห์ 300,000 คนจากเลบานอนภาคใต้ ซึ่งอพยพมาเนื่องจากการถูกอิสราเอลโจมตีใน..

ใหม่!!: ซุนนีและขบวนการอมัล · ดูเพิ่มเติม »

ต้นสมัยกลาง

ักรพรรดินีธีโอโดรา พระอัครมเหสีในจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 ในงานโมเสกของคริสต์ศตวรรษที่ 6 ภายในมหาวิหารซันวีตาเล เมืองราเวนนา หนังสือสำหรับพิธีศาสนาจากคริสต์ศตวรรษที่ 8 (หอสมุดวาติกัน, Reg. Lat. 316. foll. 131v/132r) ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages) เป็นสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์ยุโรป เริ่มขึ้นหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันและดำเนินต่อเนื่องกันเป็นเวลาประมาณห้าร้อยปีโดยเริ่มตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 500 จนกระทั่งมาถึงราวปี ค.ศ. 1000 ต้นสมัยกลางสิ้นสุดแล้วจึงต่อด้วยสมัยกลางยุครุ่งโรจน.

ใหม่!!: ซุนนีและต้นสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ฉนวนกาซา

ฉนวนกาซา (Gaza Strip; قطاع غزة; רצועת עזה‎) เป็นชื่อเรียกอาณาบริเวณแคบ ๆ ขนาด 360 ตร.กม. ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในตะวันออกกลาง โดยมีประชากรชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ประมาณ 1.7 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากผู้อพยพลี้ภัย โดยในการสำรวจเมื่อเดือนมีนาคม ปี..

ใหม่!!: ซุนนีและฉนวนกาซา · ดูเพิ่มเติม »

ซัดดัม ฮุสเซน

ซัดดัม ฮุสเซน (Saddam Hussein) หรือ ศ็อดดาม ฮุเซน อับดุลมะญีด อัลตีกรีตี (อาหรับ: صدام حسين عبد المجيد التكريتي; ละติน:Ṣaddām Ḥusayn ʿAbd al-Majīd al-Tikrītī; 28 เมษายน พ.ศ. 2480-30 ธันวาคม พ.ศ. 2549) เป็นอดีตประธานาธิบดีของอิรัก ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ซุนนีและซัดดัม ฮุสเซน · ดูเพิ่มเติม »

ซิบฆัตตุลลอฮ์ โมญัดเดดี

ซิบฆัตตุลลอฮ์ โมญัดเดดี (Sibghatullah Mojaddedi; صبغت الله مجددی; เกิดประมาณ ค.ศ. 1926) เป็นนักการเมืองชาวอัฟกานิสถาน เป็นประธานาธิบดีอัฟกานิสถานระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน..

ใหม่!!: ซุนนีและซิบฆัตตุลลอฮ์ โมญัดเดดี · ดูเพิ่มเติม »

ซีตี นูร์ฮาลีซา

ต๊ะ หรือดาตินซรี ซีตี นูร์ฮาลีซา บินตี ตารูดิน DIMP, JSM, SAP, PMP, AAP (Siti Nurhaliza binti Tarudin, سيتي نورهاليزا بنت تارودين; เกิด 11 มกราคม ค.ศ. 1979) เป็นนักร้องชาวมาเลเซีย ตั้งแต่เธอเป็นนักร้อง เธอได้รับรางวัลการแข่งขันประกวดร้องเพลงระดับนานาชาติหลายครั้ง เธอได้รับฉายาว่าเป็นเสียงแห่งเอเชีย หลังจากชนะตำแหน่งกรังปรีแชมเปียนจากเทศกาล Voice of Asia รายการประกวดร้องเพลงที่จัดขึ้นที่เมืองอัลมาตี ประเทศคาซัคสถาน โดยก่อนหน้านั้นในปี..

ใหม่!!: ซุนนีและซีตี นูร์ฮาลีซา · ดูเพิ่มเติม »

ประชากรศาสตร์บรูไน

ทความนี้ว่าด้วยลักษณะประชากรของประเทศบรูไน รวมถึงความหนาแน่นของประชากร ชาติพันธุ์ ระดับการศึกษา สาธารณสุข สถานภาพทางเศรษฐกิจ การนับถือศาสนา เป็นต้น ชาวบรูไนเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ออสโตรนีเซียน มีต้นกำเนิดมาจากเกาะไต้หวันย้อนหลังไปจาก 5000 ปีก่อนคริสตกาล พวกเขาอาศัยอยู่ตลอดชายฝั่งตะวันตกบนของเกาะบอร์เนียวมีประชากรทั้งหมด (2554) 428,146 คน ภาษาทางการ คือภาษามลายู ศาสนาที่ชาวบรูไนนับถือคือ ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี 67% รองลงมาเป็นศาสนาพุทธนิกายมหายาน 13% ศาสนาคริสต์ 10% ศาสนาฮินดู ความเชื่อพื้นเมืองและอื่น ๆ ตามม.

ใหม่!!: ซุนนีและประชากรศาสตร์บรูไน · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์รัฐชัมมูและกัษมีระ

ประวัติศาสตร์รัฐชัมมูและกัษมีระ มีความเป็นมายาวนาน รัฐชัมมูและกัษมีระเคยเป็นดินแดนที่เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ต่อมาได้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม เคยอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิดุรรานีในอัฟกานิสถาน จักรวรรดิโมกุล ในอินเดีย และเคยอยู่ภายใต้การปกครองของชาวสิกข์ ภายหลังขับไล่ชาวสิกข์ออกไปได้ ในยุคที่อังกฤษเข้ามา กษัตริย์ของชัมมูและกัษมีระช่วยอังกฤษรบกับชาวสิกข์และได้เป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ เมื่ออังกฤษให้เอกราชแก่อินเดียและมีการแบ่งเป็นอินเดียและปากีสถาน รัฐชัมมูและกัษมีระกลายเป็นกรณีพิพาทของทั้งสองประเทศจวบจนปัจจุบัน.

ใหม่!!: ซุนนีและประวัติศาสตร์รัฐชัมมูและกัษมีระ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบรูไน

รูไน (Brunei) หรือ เนอการาบรูไนดารุซซาลาม (Negara Brunei Darussalam) เป็นรัฐเอกราชบนเกาะบอร์เนียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชายฝั่งทางด้านเหนือจรดทะเลจีนใต้ พรมแดนทางบกที่เหลือจากนั้นถูกล้อมรอบด้วยรัฐซาราวะก์ของมาเลเซียตะวันออก บรูไนเป็นประเทศเดียวที่มีพื้นที่ทั้งหมดอยู่บนเกาะบอร์เนียว ส่วนพื้นที่ ๆ เหลือของเกาะถูกแบ่งเป็นของประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย ประทศบรูไนมีประชากรประมาณ 423,196 คนใน..

ใหม่!!: ซุนนีและประเทศบรูไน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมัลดีฟส์

มัลดีฟส์ (Maldives; ދިވެހިރާއްޖެ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐมัลดีฟส์ (Republic of Maldives; ހިވެދި ގުޖޭއްރާ ޔާއްރިހޫމްޖު) เป็นประเทศที่มีพื้นที่ประกอบด้วยหมู่เกาะปะการังจำนวนมากในมหาสมุทรอินเดีย และตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอินเดียและประเทศศรีลังก.

ใหม่!!: ซุนนีและประเทศมัลดีฟส์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิรัก

ประเทศอิรัก (العراق; عێراق อังกฤษ: Iraq) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิรัก (جمهورية العراق; كؤماری عێراق) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีอาณาเขตทางทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทางทิศตะวันออกจดประเทศอิหร่าน ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จดประเทศคูเวต ทางทิศใต้จดประเทศซาอุดีอาระเบีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศจอร์แดน และทางทิศตะวันตกจดประเทศซีเรีย กรุงแบกแดด ซึ่งเป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่ในกลางประเทศ ราว 97% ของประชากรอิรัก 36 ล้านคนเป็นชาวมุสลิม ส่วนใหญ่มีเชื้อสายซุนนีย์ ชีอะฮ์และเคิร์ด ประเทศอิรักมีแนวชายฝั่งส่วนแคบวัดความยาวได้ 58 กิโลเมตรทางเหนือของอ่าวเปอร์เซีย และอาณาเขตของประเทศครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเมโสโปเตเมีย ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาซากรอส และทะเลทรายซีเรียส่วนตะวันออก สองแม่น้ำหลัก แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ไหลลงใต้ผ่านใจกลางประเทศและไหลลงสู่ชัฏฏุลอะร็อบใกล้อ่าวเปอร์เซีย แม่น้ำเหล่านี้ทำให้ประเทศอิรักมีดินแดนอุดมสมบูรณ์มากมาย ภูมิภาคระหว่างแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสมักเรยกว่า เมโสโปเตเมีย และคาดว่าเป็นบ่อเกิดของการเขียนและอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดของโลก พื้นที่นี้ยังเป็นที่ตั้งของอารยธรรมที่สืบทอดต่อกันมานับแต่ 6 สหัสวรรษก่อนคริสตกาล ในแต่ละช่วงของประวัติศาสตร์ อิรักเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิอัคคาเดีย ซูเมเรีย อัสซีเรีย และบาบิโลเนีย นอกจากนี้ยังเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมีเดีย อะคีเมนิด เฮลเลนนิสติก พาร์เธีย แซสซานิด โรมัน รอชิดีน อุมัยยะฮ์ อับบาซียะห์ มองโกล ซาฟาวิด อาฟชาริยะห์และออตโตมัน และเคยเป็นอาณาเขตในอาณัติสันนิบาตชาติภายใต้การควบคุมของอังกฤษ พรมแดนสมัยใหม่ของประเทศอิรักส่วนใหญ่ปักใน..

ใหม่!!: ซุนนีและประเทศอิรัก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ใหม่!!: ซุนนีและประเทศอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอียิปต์

รณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt; جمهورية مصر العربية) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์ (Egypt; مصر มิส-ร) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรไซนาย (เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ (ประมาณ 40,000 ตารางกิโลเมตร) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายสะฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ ชื่อ "อียิปต์" (Egypt) มาจากชื่อภาษาละตินว่า "ไอกิปตุส" (Aegyptus) และชื่อภาษากรีกว่า "ไอกึปตอส" (Αιγυπτος) ทั้งสองรูปมีที่มาอีกทอดหนึ่งจากภาษาอียิปต์ว่า "ฮิ-คุ-ปตาห์" (Hi-ku-ptah) ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองที.

ใหม่!!: ซุนนีและประเทศอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศคอโมโรส

อโมโรส (Comoros; جزر القمر‎; Comores) หรือชื่อทางการว่า สหภาพคอโมโรส (Union of the Comoros; คอโมโรส: Udzima wa Komori; الاتحاد القمري; Union des Comores) เป็นประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดีย ตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกา บริเวณจุดเหนือสุดของช่องแคบโมซัมบิก ระหว่างทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศมาดากัสการ์และทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศโมซัมบิก ประเทศอื่นๆ ที่อยู่ใกล้กับคอโมโรสคือประเทศแทนซาเนียที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือและประเทศเซเชลส์ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีเมืองหลวงคือ โมโรนี บนเกาะกร็องด์กอมอร์ ภาษาราชการมี 3 ภาษาคือ อาหรับ คอโมโรส และฝรั่งเศส ศาสนาของประชากรส่วนใหญ่คือศาสนาอิสลาม ด้วยเนื้อที่เพียง 1,660 ตารางกิโลเมตร (640 ตารางไมล์) (ไม่รวมเกาะมายอตที่ยังมีปัญหากันอยู่) ทำให้คอโมโรสเป็นประเทศที่เล็กที่สุดเป็นอันดับ 3 ในทวีปแอฟริกา โดยมีประชากรทั้งหมดประมาณ 798,000 คน (ไม่รวมมายอต) ในฐานะที่เป็นประเทศที่เกิดขึ้นจากอารยธรรมที่แตกต่างกัน ทำให้หมู่เกาะนี้มีชื่อเสียงในด้านวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่หลากหลาย ผู้ตั้งรกรากบนเกาะนี้เป็นกลุ่มแรกๆ คือ กลุ่มคนที่พูดภาษาบันตู จากแอฟริกาตะวันออก พร้อมด้วยชาวอาหรับและการอพยพเข้ามาของชาวออสโตรนีเชียน หมู่เกาะคอโมโรสประกอบไปด้วย 3 เกาะใหญ่และหมู่เกาะเล็ก ๆ อีกมากมายซึ่งตั้งอยู่บนหมู่เกาะภูเขาไฟคอโมโรส เกาะที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปในชื่อฝรั่งเศสของพวกเขา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือสุด คือ เกาะกร็องด์กอมอร์หรืออึงกาซีจา มอเอลีหรืออึมวาลี อ็องฌูอ็องหรืออึนซวานี นอกจากนี้ประเทศยังอ้างสิทธิเหนือเกาะอีกแห่งที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้สุดคือเกาะมายอตหรือมาโอเร ถึงแม้ว่าเกาะมายอตจะมีการประกาศอิสรภาพจากฝรั่งเศสแล้วตั้งแต่ปี 2517 แต่ก็ไม่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลคอโมโรสและยังคงถูกปกครองโดยฝรั่งเศสต่อไป (ในฐานะดินแดนโพ้นทะเลของฝรั่งเศส) ฝรั่งเศสได้คัดค้านมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติทียืนยันอธิปไตยของคอโมโรสเหนือเกาะนี้The first UN General Assembly Resolution regarding the matter, " (PDF)", United Nations General Assembly Resolution A/RES/31/4, (21 October 1976) states "the occupation by France of the Comorian island of Mayotte constitutes a flagrant encroachment on the national unity of the Comorian State, a Member of the United Nations," rejecting the French-administered referendums and condemning French presence in Mayotte.

ใหม่!!: ซุนนีและประเทศคอโมโรส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศคาซัคสถาน

อัลมาตี คาซัคสถาน (Қазақстан,; Казахстан) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐคาซัคสถาน (Қазақстан Республикасы; Республика Казахстан) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ครอบคลุมกว้างขวางในทวีปเอเชีย และเป็นสาธารณรัฐในอดีตสหภาพโซเวียต มีพรมแดนติดกับประเทศรัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศในเอเชียกลาง ได้แก่ คีร์กีซถาน อุซเบกิสถาน และเติร์กเมนิสถาน และมีชายฝั่งบนทะเลแคสเปียน คาซัคสถานเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต คาซัคสถานเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก อย่างไรก็ดี มีพื้นที่กึ่งทะเลทราย (steppe) อยู่มาก จึงมีประชากรเป็นอันดับที่ 57 มีประมาณ 6 คน/ตร.กม.

ใหม่!!: ซุนนีและประเทศคาซัคสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศคีร์กีซสถาน

ก พิพิธภัณฑ์เลนิน ชายสวมหมวกแบบดั้งเดิม คีร์กีซสถาน (คีร์กีซและКыргызстан) หรือมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐคีร์กีซ (Кыргыз Республикасы; Кыргызская Республика) เป็นประเทศในเอเชียกลาง มีพรมแดนติดกับสาธารณรัฐประชาชนจีน คาซัคสถาน ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสถาน เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดมีชื่อว่าบิชเคก (เดิมเรียกว่า ฟรุนเซ) คีร์กีซสถานเดิมเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต.

ใหม่!!: ซุนนีและประเทศคีร์กีซสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศติมอร์-เลสเต

ติมอร์-เลสเต (Timor-Leste,, ตีโมร์แลชตือ) หรือ ติมอร์ตะวันออก (Timór Lorosa'e) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต (República Democrática de Timor-Leste; Repúblika Demokrátika Timór-Leste) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนเกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยเกาะติมอร์ด้านตะวันออก เกาะอาเตารู (Atauro) และเกาะฌากู (Jaco) ที่อยู่ใกล้เคียง และเทศบาลโอเอกูซี (Oecusse) ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของเกาะติมอร์ ติมอร์ตะวันออกถูกล้อมรอบโดยพื้นที่ของประเทศอินโดนีเซีย แต่เดิมประเทศติมอร์-เลสเตถูกปกครองโดยประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งได้ยึดครองติมอร์ตะวันออกเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) และในปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) ติมอร์ตะวันออกได้แยกตัวเป็นอิสระ และได้รับเอกราชอย่างเต็มตัวเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) เมื่อประเทศติมอร์ตะวันออกเข้าร่วมองค์การสหประชาชาติในปีเดียวกัน ก็ได้ตกลงว่าจะเรียกประเทศอย่างเป็นทางการว่า "ติมอร์-เลสเต" ซึ่งเป็นชื่อในภาษาโปรตุเก.

ใหม่!!: ซุนนีและประเทศติมอร์-เลสเต · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศซาอุดีอาระเบีย

ซาอุดีอาระเบีย (Saudi Arabia; السعودية) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย (المملكة العربية السعودية) เป็นรัฐอาหรับในเอเชียตะวันออกกลาง กินอาณาบริเวณกว้างขวางในคาบสมุทรอาหรับ มีพื้นที่ประมาณ 2,149,690 ตารางกิโลเมตร ประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นรัฐที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในโลกอาหรับรองจากประเทศแอลจีเรีย ประเทศซาอุดีอาระเบียมีพรมแดนติดประเทศจอร์แดนและอิรักทางเหนือ ประเทศคูเวตทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศกาตาร์ บาห์เรนและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ทางตะวันออก ประเทศโอมานทางตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศเยเมนทางใต้ เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งติดทั้งทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย และภูมิประเทศส่วนใหญ่ประกอบด้วยทะเลทรายแห้งแล้ง อยู่อาศัยไม่ได้ หรือธรณีสัณฐานไม่อุดม พื้นที่ประเทศซาอุดีอาระเบียสมัยใหม่ประกอบด้วยสี่ภูมิภาคสำคัญ ได้แก่ ฮิญาซ นัจญด์ และบางส่วนของอาระเบียตะวันออกและอาระเบียใต้ ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียก่อตั้งในปี 2475 โดย พระเจ้าอิบนุ ซะอูด (King Ibnu Saud) พระองค์ทรงรวบรวมสี่ภูมิภาคเข้าเป็นรัฐเดี่ยวผ่านชุดการพิชิตเริ่มตั้งแต่ปี 2445 ด้วยการยึดรียาด บ้านบรรพบุรุษแห่งราชวงศ์ซะอูดของพระองค์ นับแต่นั้น ประเทศเป็นสมบูรณาญาสิทธิราช เป็นเผด็จการสืบสายโลหิตที่ปกครองตามแบบอิสลาม ขบวนการศาสนาวะฮาบีย์ภายในนิกายซุนนีย์ถูกเรียกว่า "ลักษณะเด่นของวัฒนธรรมซาอุดีอาระเบีย" บ้างเรียกประเทศซาอุดีอาระเบียว่า "ดินแดนสองมัสยิดศักดิ์สิทธิ์" โดยหมายถึง อัลมัสยิดอัลฮาราม (Al-Masjid al-Haram) ในมักกะฮ์ และอัลมัสยิดอันนาบาวี (Al-Masjid al-Nabawi) ในมะดีนะฮ์ ซึ่งเป็นสองมัสยิดที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในศาสนาอิสลาม แห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย มีประชากร 28.7 ล้านคน สัญชาติซาอุดีอาระเบีย 20 ล้านคน และ 8.7 ล้านคนเป็นชาวต่างประเทศ มีการค้นพบปิโตรเลียมในปี 2481 และประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกแต่ต่อไปน้ำมันคงไร้ความหมาย โดยควบคุมน้ำมันสำรองใหญ่ที่สุดอันดับสองของโลก ราชอาณาจักรจัดอยู่ในเศรษฐกิจรายได้สูงของธนาคารโลกโดยมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูง และเป็นประเทศอาหรับประเทศเดียวที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ จี 20 ทว่า เศรษฐกิจซาอุดีอาระเบียมีความหลากหลายน้อยที่สุดในสภาความร่วมมืออ่าว ราชอาณาจักรเป็นอัตตาธิปไตยราชาธิปไตยและฟรีดอมเฮาส์จัดว่า "ไม่เสรี" ประเทศซาอุดีอาระเบียมีรายจ่ายทางทหารสูงสุดเป็นอันดับ 4 ของโลก และในปี 2553–2557 SIPRI พบว่าประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นผู้นำเข้าอาวุธรายใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของโลก ประเทศซาอุดีอาระเบียถือว่าเป็นอำนาจภูมิภาคและปานกลาง นอกเหนือจากสภาความร่วมมืออ่าว ราชอาณาจักรยังเป็นสมาชิกขององค์การความร่วมมืออิสลามและโอเปคและนอกจากนี้ยังเริ่มมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางทะเลอีกด้ว.

ใหม่!!: ซุนนีและประเทศซาอุดีอาระเบีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศซีเรีย

ประเทศซีเรีย (Syria; سورية ซูริยา) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย (Syrian Arab Republic; الجمهورية العربية السورية) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศตะวันตกจดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทิศตะวันออกจดประเทศอิรัก ทิศใต้จดประเทศจอร์แดน และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศอิสราเอล กรุงดามัสกัส เมืองหลวง เป็นนครที่มีผู้อยู่อาศัยต่อเนื่องที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประเทศซีเรียเป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ ภูเขาสูงและทะเลทราย มีประชากรกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาหลากหลาย ส่วนมากเป็นชาวอาหรับ ซึ่งรวมอลาวียะห์ ดรูซ มุสลิมซุนนีย์และคริสต์ศาสนิกชน กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ได้แก่ ชาวอาร์มีเนีย อัสซีเรีย เคิร์ดและเติร์ก ชาวอาหรับซุนนีย์เป็นกลุ่มประชากรใหญ่ที่สุดในประเทศซีเรีย ในภาษาอังกฤษ เดิมชื่อ "ซีเรีย" สมนัยกับเลแวนต์ (ภาษาอาหรับว่า al-Sham) ขณะที่รัฐสมัยใหม่ครอบคลุมที่ตั้งของราชอาณาจักรและจักรวรรดิโบราณหลายแห่ง รวมถึงอารยธรรมเอบลา (Ebla) ในสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ในสมัยอิสลาม ดามัสกัสเป็นเมืองหลวงของรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ และเมืองเอกในรัฐสุลต่านมัมลุกในอียิปต์ รัฐซีเรียสมัยใหม่สถาปนาขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยเป็นอาณาเขตในอาณัติของฝรั่งเศส และเป็นรัฐอาหรับใหญ่ที่สุดที่กำเนิดขึ้นจากเลแวนต์อาหรับที่เดิมออตโตมันปกครอง ประเทศซีเรียได้รับเอกราชในเดือนเมษายน 2489 เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา สมัยหลังได้รับเอกราชมีความวุ่นวาย และกลุ่มรัฐประหารและความพยายามรัฐประหารสะเทือนประเทศในสมัยปี 2492–2514 ระหว่างปี 2501 ถึง 2504 ประเทศซีเรียเข้าร่วมสหภาพช่วงสั้น ๆ กับอียิปต์ ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยรัฐประหาร ประเทศซีเรียอยู่ภายใต้กฎหมายฉุกเฉินระหว่างปี 2506 ถึง 2554 ระงับการคุ้มครองพลเมืองส่วนใหญ่ของรัฐธรรมนูญอย่างชะงัด และระบบรัฐบาลถูกพิจารณาว่าไม่เป็นประชาธิปไตย บัชชาร อัลอะซัดเป็นประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2543 สืบทอดจากฮาเฟซ อัลอะซัด บิดา ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2513 ถึง 2543 ประเทศซีเรียเป็นสมาชิกสหประชาชาติและขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ปัจจุบันถูกระงับสมาชิกภาพจากสันนิบาตอาหรับและองค์การความร่วมมืออิสลาม และระงับตนเองจากสหภาพเพื่อเมดิเตอร์เรเนียน นับแต่เดือนมีนาคม 2554 ประเทศซีเรียเกิดสงครามกลางเมืองในห้วงการก่อการกำเริบ (ถือว่าเป็นผลขยายของอาหรับสปริง) ต่ออะซัดและรัฐบาลพรรคบะอัธ กลุ่มต่อต้านตั้งรัฐบาลทางเลือกขึ้น คือ แนวร่วมแห่งชาติซีเรีย (Syrian National Coalition) ในเดือนมีนาคม 2555 ต่อมา ผู้แทนรัฐบาลนี้ได้รับเชิญให้แทนที่ประเทศซีเรียในสันนิบาตอาหรั.

ใหม่!!: ซุนนีและประเทศซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศปากีสถาน

ปากีสถาน (Pakistan; پاکستان) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน (Islamic Republic of Pakistan; اسلامی جمہوریہ پاکستان) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเอเชียใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศอินเดีย อิหร่าน อัฟกานิสถาน และ จีน และมีชายฝั่งติดกับทะเลอาหรับ มีประชากรกว่า 150 ล้านคน มากเป็นอันดับ 6 ของโลก และเป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ใหญ่เป็นอันดับ 2 และเป็นสมาชิกที่สำคัญของ โอไอซี และเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง คำว่า "ปากีสถาน" ซึ่งมีความหมายว่า "ดินแดนของชนบริสุทธิ์" ในภาษาอูรดูและภาษาเปอร์เซียนั้น มาจากการรวมชื่อดินแดนในประเทศนี้ ประกอบด้วยปัญจาบ (Punjab) อัฟกาเนีย (Afghania) แคชเมียร์หรือกัศมีร์ (Kashmir) สินธ์ (Sindh) และบาลูจิสถาน (BaluchisTAN).

ใหม่!!: ซุนนีและประเทศปากีสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ซุนนีและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเอริเทรีย

อริเทรีย (Eritrea; ตึกรึญญา:; إرتريا) หรือชื่อทางการคือ รัฐเอริเทรีย (State of Eritrea; ตึกรึญญา:; دولة إرتريا) เป็นประเทศทางตอนเหนือของแอฟริกาตะวันออก มีชายฝั่งทะเลติดกับทะเลแดงเกือบหนึ่งพันกิโลเมตร ทิศเหนือและทิศตะวันออกติดทะเลแดง ทิศตะวันตกติดซูดาน ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดจิบูตี ทิศใต้ติดเอธิโอเปีย มีเมืองหลวงชื่อแอสมาร.

ใหม่!!: ซุนนีและประเทศเอริเทรีย · ดูเพิ่มเติม »

นิกาย

นิกายในศาสนา (Religious denomination) หมายถึง หมู่ หรือพวกคณะนักบวชในศาสนาเดียวกัน ที่แยกออกไปเป็นพวก.

ใหม่!!: ซุนนีและนิกาย · ดูเพิ่มเติม »

นูร์ซุลตัน นาซาร์บายิฟ

นูร์ซุลตัน แอเบอชูเลอ นาซาร์บายิฟ (Нұрсұлтан Әбішұлы Назарбаев, Nursultan Äbişulı Nazarbayev Нурсултан Абишевич Назарбаев, Nursultan Abishevich Nazarbayev; เกิด 6 กรกฎาคม 1940) เป็นประธานาธิบดีของคาซัคสถานเขาเคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งคาซัคสถานซึ่งเป็นตำแหน่งประมุขแห่งรัฐที่ปกครองคาซัคสถานโดยพฤตินัยในช่วงเวลาสั้นๆในปี 1990 เขาได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศในปี 1991 เขายังได้รับฉายาว่าบิดาแห่งชาวคาซัค ในเดือนเมษายน 2015 เขาได้รับการเลือกตั้งไปด้วยคะแนนร้อยละ 93.

ใหม่!!: ซุนนีและนูร์ซุลตัน นาซาร์บายิฟ · ดูเพิ่มเติม »

แช่ม พรหมยงค์

นายแช่ม พรหมยงค์ มีชื่อและนามสกุลเดิมว่า ซำซุดดิน มุสตาฟา เกิดเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2444 ที่ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ บิดาชื่อ นายจำปา หรือ มุสตาฟา เป็นโต๊ะอิหม่าม แห่งมัสยิดพระประแดงและเป็นอาจารย์สอนศาสนาอิสลาม นายแช่มเองนั้นจบการศึกษาด้านศาสนาอิสลามจากมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ ในทางการเมือง นายบรรจง ศรีจรูญ เพื่อนสนิทซึ่งศึกษาอยู่ในเวลาเดียวกันได้ชักชวน นายแช่ม ให้เข้าเป็นสมาชิกคณะราษฎร ในวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง นายแช่มและนายบรรจง ทำหน้าที่ควบคุมตัวเจ้านายและพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง ให้เข้าประทับในพระที่นั่งอนันตสมาคม และทำหน้าที่แจกใบปลิวเพื่อทำความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยแก่ราษฎร นายแช่ม พรหมยงค์ มีความสนิทสนมและนับถือ นายปรีดี พนมยงค์ หัวหน้าคณะราษฎรฝ่ายมันสมองเป็นอย่างมาก ถึงกับเปลี่ยนนามสกุลเป็น พรหมยงค์ เพื่อให้คล้ายคลึงกับ พนมยงค์ นามสกุลของนายปรีดี อีกด้วย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เข้าเป็นสมาชิกขบวนการเสรีไทย นายแช่ม พรหมยงค์ ขณะนำเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ชมมัสยิดต้นสน (พ.ศ. 2489) เมื่อนายปรีดี พนมยงค์ได้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และมีดำริที่จะฟื้นฟูตำแหน่งจุฬาราชมนตรีขึ้นมาใหม่ หลังจากที่ชะงักไปหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง นายแช่มซึ่งเป็นข้าราชการกรมโฆษณาการและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ในขณะนั้น จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นจุฬาราชมนตรีเมื่อ..

ใหม่!!: ซุนนีและแช่ม พรหมยงค์ · ดูเพิ่มเติม »

แมลคัม เอ็กซ์

นที่ที่แมลคัมถูกยิงเสียชีวิต แมลคัม เอ็กซ์ (Malcolm X ออกเสียง /ˈmælkəm ˈɛks/) (19 พฤษภาคม ค.ศ. 1925 - 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1965) หรือ เอล-ฮัจญ์ มาลิก เอล-ชาบาซ (الحاجّ مالك الشباز, El-Hajj Malik El-Shabazz) เป็นนักพูด นักรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชนของชาวมุสลิมและชาวอเมริกันผิวดำ แมลคัม เอ็กซ์ เกิดที่โอมาฮา เนแบรสกา เดิมชื่อ "แมลคัม ลิทเทิล" บิดาของเขาถูกฆาตกรรม และมารดาถูกส่งเข้าโรงพยาบาลเพื่อรักษาอาการทางประสาท มัลแคมจึงต้องใช้ชีวิตวัยเด็กในบ้านเลี้ยงดูเด็กกำพร้า ทำให้ขาดการเลี้ยงดู และก่ออาชญากรรมในบอสตันและนิวยอร์ก และต้องรับโทษในเรือนจำ ในปี 1945 ระหว่างถูกจองจำ แมลคัมได้ร่วมเป็นสมาชิกของขบวนการชาติแห่งอิสลาม และเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม หลังจากเขาได้รับทัณฑ์บนในปี..

ใหม่!!: ซุนนีและแมลคัม เอ็กซ์ · ดูเพิ่มเติม »

โมฮัมหมัด นาญิบุลลอฮ์

มฮัมหมัด นาญิบุลลอฮ์ อะหมัดไซ (Mohammad Najibullah Ahmadzai; ډاکټر نجیب ﷲ احمدزۍ, เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1947 – 28 กันยายน ค.ศ. 1996) เป็นนักการเมืองชาวอัฟกานิสถาน เป็นประธานาธิบดีอัฟกานิสถานระหว่าง..

ใหม่!!: ซุนนีและโมฮัมหมัด นาญิบุลลอฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

โมฮัมเหม็ด ดาวูด ข่าน

มฮัมเหม็ด ดาวูด ข่าน (Mohammed Daoud Khan; سردار محمد داود خان; 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1909 – 28 เมษายน ค.ศ. 1978) เป็นนักการเมืองชาวอัฟกานิสถาน เป็นประธานาธิบดีคนแรกของอัฟกานิสถาน (ค.ศ. 1973–1978) โมฮัมเหม็ด ดาวูด ข่านเกิดที่กรุงคาบูล เมื่อ..

ใหม่!!: ซุนนีและโมฮัมเหม็ด ดาวูด ข่าน · ดูเพิ่มเติม »

โรฮีนจา

รฮีนจา (ရိုဟင်ဂျာ โรฮีนจา; โรฮีนจา: Ruáingga รูไอง์กา; রোহিঙ্গা, Rohingga) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ (อาระกัน) ทางตะวันตกของประเทศพม่า และพูดภาษาโรฮีนจา ชาวโรฮีนจาและนักวิชาการบางส่วนกล่าวว่า โรฮีนจาเป็นชนพื้นเมืองในพื้นที่รัฐยะไข่ ในขณะที่นักประวัติศาสตร์บางส่วนอ้างว่า พวกเขาอพยพเข้าพม่าจากเบงกอลในสมัยการปกครองของสหราชอาณาจักรเป็นหลัก และนักประวัติศาสตร์ส่วนน้อยกล่าวว่า พวกเขาอพยพมาหลังจากพม่าได้รับเอกราชในปี 2491 และหลังจากบังกลาเทศทำสงครามประกาศเอกราชในปี 2514 ชาวมุสลิมตั้งถิ่นฐานในรัฐยะไข่ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 แต่ไม่สามารถประมาณจำนวนผู้ตั้งถิ่นฐานชาวมุสลิมก่อนการปกครองของสหราชอาณาจักรได้อย่างแม่นยำ หลังสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่หนึ่งในปี 2369 สหราชอาณาจักรผนวกรัฐยะไข่และสนับสนุนให้มีการย้ายถิ่นจากเบงกอลเพื่อทำงานเป็นผู้ใช้แรงงานในไร่นา ประชากรมุสลิมอาจมีจำนวนถึงร้อยละ 5 ของประชากรรัฐยะไข่แล้วเมื่อถึงปี 2412 แต่จากการประเมินของปีก่อนหน้าก็พบว่ามีจำนวนสูงกว่านี้ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ความรุนแรงระหว่างชุมชนก็ปะทุขึ้นระหว่างชาวยะไข่ซึ่งนับถือศาสนาพุทธกับหน่วยกำลังวี (V-Force) ชาวโรฮีนจาที่สหราชอาณาจักรติดอาวุธให้ และการแบ่งขั้วก็รุนแรงมากขึ้นในพื้นที่ ในปี 2525 รัฐบาลพลเอกเนวีนตรากฎหมายความเป็นพลเมืองซึ่งปฏิเสธความเป็นพลเมืองของชาวโรฮีนจา ในปี 2556 มีชาวโรฮีนจาประมาณ 735,000 คนอาศัยอยู่ในประเทศพม่า ส่วนใหญ่อยู่ในเมืองทางเหนือของรัฐยะไข่ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 80–98 ของประชากร สื่อระหว่างประเทศและองค์การสิทธิมนุษยชนกล่าวว่าชาวโรฮีนจาเป็นชนกลุ่มน้อยที่ถูกข่มเหงที่สุดกลุ่มหนึ่งในโลก ชาวโรฮีนจาจำนวนมากหนีไปอยู่ในย่านชนกลุ่มน้อยและค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศเพื่อนบ้านอย่างบังกลาเทศ รวมทั้งพื้นที่ตามชายแดนไทย–พม่า ชาวโรฮีนจากว่า 100,000 คนยังอาศัยอยู่ในค่ายสำหรับผู้พลัดถิ่นในประเทศซึ่งทางการไม่อนุญาตให้ออกมา ชาวโรฮีนจาได้รับความสนใจจากนานาชาติในห้วงเหตุจลาจลในรัฐยะไข่ พ.ศ. 2555.

ใหม่!!: ซุนนีและโรฮีนจา · ดูเพิ่มเติม »

โลกอิสลาม

ลกอิสลาม เป็นศัพท์เชิงวิชาการที่ใช้เรียกผืนแผ่นดินที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ผู้นับถือศาสนาอิสลามมีประมาณหนึ่งพันล้านคน ที่ปฏิบัติตามศาสนาของ มุฮัมหมัด บุตรของอับดุลลอฮ์ (ศาสดาของบรรดามุสลิม) เป็นชาวฮิญาซ และเป็นศาสนาที่มีมากว่า 1400 ปี (ปีจันทรคติ) บรรดามุสลิมมีความเชื่อเหมือนกันว่า ศาสดามุฮัมหมัด บุตรของอับดุลลอฮ์ คือศาสดาองค์สุดท้าย (คอตะมุลอันบิยา) เชื่อในกุรอาน (คัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาอิสลาม) กิบลัตและบทบัญญัติหลักปฏิบัติศาสนก.

ใหม่!!: ซุนนีและโลกอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ไทยเชื้อสายมลายู

วไทยเชื้อสายมลายู หมายถึงชาวไทยซึ่งมีเชื้อสายมลายู มีกระจายทั่วไปในทางภาคใต้ของประเทศไทย ประชากรใช้ภาษาตระกูลมาลาโย-โพลินีเชียน และส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และมีประชากร ร้อยละ 3 ของประชากรทั้งหมด กระจายตัวหนาแน่นมากที่สุดทางภาคใต้ตอนล่าง ในภาคใต้ส่วนอื่นๆก็มีชาวไทยเชื้อสายมลายูกระจายอยู่ทั่วไป ส่วนภาคกลางเองก็มีมากในกรุงเทพฯ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี เลยไปถึงจังหวัดฉะเชิงเทราในตำบลศาลาแดง อำเภอบางน้ำเปรี้ยวด้ว.

ใหม่!!: ซุนนีและไทยเชื้อสายมลายู · ดูเพิ่มเติม »

เกาะลมบก

ลมบก (Lombok) เป็นเกาะที่อยู่ทางตะวันออกของเกาะบาหลี คำว่า "ลมบก" ในภาษาชวาหมายถึงพริกขี้หนู ตั้งอยู่ในจังหวัดนูซาเติงการาตะวันตก ประเทศอินโดนีเซี.

ใหม่!!: ซุนนีและเกาะลมบก · ดูเพิ่มเติม »

เฏาะลากสามครั้งในอินเดีย

ฏาะลากสามครั้ง (triple talaq) เป็นรูปแบบหนึ่งของการหย่าในศาสนาอิสลาม (ซึ่งภาษาอาหรับเรียก talaq-e-mughallazah แปลว่า การหย่าอันลบล้างมิได้) ชายมุสลิมสามารถหย่าภรรยาได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เพียงแจ้งภรรยาว่า "เฏาะลาก" (talaq แปลว่า "หย่า") สามครั้ง ซึ่งมักทำในคราวเดียว ไม่ว่าด้วยวาจา ด้วยลายลักษณ์อักษร หรือปัจจุบันด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ก็มี การแจ้งเฏาะลากสามครั้งที่ประพฤติกันในหมู่มุสลิมอินเดียนั้นเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์เสมอมา บรรดาผู้ตั้งคำถามเห็นว่า การหย่าดังกล่าวเป็นการไม่ยุติธรรม สร้างความเหลื่อมล้ำทางเพศ ขัดต่อสิทธิมนุษยชน และขัดต่อหลักฆราวาสนิยม อันเป็นประเด็นเกี่ยวเนื่องถึงการบังคับใช้ประมวลกฎหมายแพ่งที่เป็นระเบียบเดียวกันทั่วประเทศ และเกี่ยวพันไปถึงรัฐบาลอินเดียกับศาลสูงสุดอินเดีย ฉะนั้น ในวันที่ 22 สิงหาคม..

ใหม่!!: ซุนนีและเฏาะลากสามครั้งในอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

เยรูซาเลม

รูซาเลม (Jerusalem), เยรูชาลายิม (יְרוּשָׁלַיִם) หรือ อัลกุดส์ (القُدس) เป็นเมืองในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่บนที่ราบของภูเขายูดาห์ ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลเดดซี เยรูซาเลมเป็นเมืองที่พระยาห์เวห์ทรงเลือกสรรไว้ให้เป็นป้อมแห่งความเชื่อถึงพระเป็นเจ้าแต่เพียงองค์เดียว ประเทศอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ต่างอ้างสิทธิเหนือเยรูซาเลมว่าเป็นเมืองหลวงของตน อย่างไรก็ตาม การกล่าวอ้างของทั้งสองฝ่ายไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ เยรูซาเลมถือเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยได้รับการกล่าวถึงในชื่อ "อูรูซาลิมา" ในแผ่นศิลาจารึกของเมโสโปเตเมีย ซึ่งมีความหมายว่า "นครแห่งชาลิม" อันเป็นนามของพระเจ้าในแผ่นดินคานาอันเมื่อราว 2,400 ปีก่อนคริสตกาล และเมื่อมาถึงยุคของวงศ์วานอิสราเอล การก่อร่างสร้างเมืองเยรูซาเลมอย่างจริงจังก็ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล (ยุคเหล็กช่วงปลาย) และในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล เยรูซาเลมก็ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองและทางศาสนาของอาณาจักรยูดาห์ ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของเยรูซาเลม นครแห่งนี้ได้ถูกทำลายไปอย่างน้อย 2 ครั้ง, ถูกปิดล้อม 23 ครั้ง, ถูกโจมตี 52 ครั้ง, ถูกยึดและเอาคืน 44 ครั้ง According to Eric H. Cline's tally in Jerusalem Besieged.

ใหม่!!: ซุนนีและเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

เราะมะฎอน

ี้ยวของรอมฎอน เราะมะฎอน (رمضان; Ramadan) หรือสะกด "รอมะฎอน" หรือ "รอมฎอน" คือเดือนที่ 9 ของปฏิทินฮิจญ์เราะฮ์ในศาสนาอิสลาม เป็นเดือนที่มุสลิมถือศีลอดทั้งเดือน ด้วยเหตุนี้จึงเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "เดือนบวช" และถือว่าเป็นเดือนที่สำคัญที่สุดเดือนหนึ่ง มุสลิมจะต้องอดอาหารเพื่อที่จะได้เข้าถึงอัลลอฮ์ และเพื่อให้มีความอดทน (ตบะ), การอุทิศส่วนกุศล ระลึกถึงภาวะขาดแคลนอาหาร และผู้ที่ไม่ได้รับการดูแลจากสังคม เช่น คนยากจน เป็นต้น เดือนนี้ยังเป็นเดือนที่อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาเป็นทางนำให้กับมนุษย์ มุสลิมจึงต้องอ่านอัลกุรอาน เพื่อศึกษาถึงสิ่งที่พระเจ้าต้องการให้มนุษย์รู้ว่าการเป็นอยู่ในโลกนี้ และโลกหน้าจะเป็นอย่างไร จะต้องปฏิบัติธรรมะเพื่อตนเองอย่างไรบ้าง กิจกรรมพิเศษของมุสลิมนิกายซุนนี คือการละหมาดตะรอเวียะฮ์ในยามค่ำของเดือนนี้ เมื่อสิ้นเดือนเราะมะฎอนแล้ว จะมีการเฉลิมฉลองในวันที่ 1 เดือนเชาวาล เรียกว่า อีดุลฟิฏริ หรือ วันอีดเล็ก ในปี พ.ศ. 2549 เดือนเราะมะฎอน (ฮ.ศ. 1426) เริ่มเมื่อวันที่ 21 กันยายน (ซาอุดีอาระเบีย อ่าวเปอร์เซีย และบางส่วนของในตะวันออกกลาง) และวันที่ 24 กันยายน ในที่อื่น ๆ (รวมทั้งส่วนอื่น ๆ ของตะวันออกกลาง) โดยมีกำหนดถึงวันที่ 21 ตุลาคม.

ใหม่!!: ซุนนีและเราะมะฎอน · ดูเพิ่มเติม »

เรเจป ไตยิป แอร์โดอัน

รเจป ไตยิป แอร์โดอัน (Recep Tayyip Erdoğan, เกิด 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1954) เป็นประธานาธิบดีแห่งตุรกี คนปัจจุบันของตุรกีและอดีตนายกรัฐมนตรีแห่งตุรกี เป็นนักการเมืองนิยมศาสนาอิสลาม เข้าสู่วงการการเมืองจากการเป็นนายกเทศมนตรีอิสตันบูลและเป็นผู้ก่อตั้งพรรคยุติธรรมและการพัฒนา (ตุรกี) ซึ่งเคยเป็นพรรคนอกสายตาประชาชนตุรกี แอร์โดอันยังเป็นผู้ที่ฟื้นฟูตุรกีจากสภาวะเศรษฐกิจในปี 2001 เขาพัฒนาเศรษฐกิจ สวัสดิการ สาธารณูปโภคแก่ประเทศ ทั้งยังให้สิทธิการศึกษาแก่เด็กยากจน ซึ่งในด้านการศึกษา เขาได้อนุมัติงบประมาณให้กับกระทรวงศึกษาธิการเป็นจำนวน 3,400 ล้านลีรา บนเวทีโลก ภาพของแอร์โดอันดูไม่ค่อยสวย เขาถูกวิจารณ์ในการสลายการชุมนุมผู้ชุมนุมต่อต้านเขา เขายังมีนโยบายไม่เปิดเสรีทางด้านสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับแอร์โดอันเข้าต่อต้านและหนึ่งในนั้นคือ ผู้บัญชาการกองทัพที่จะทำการรัฐประหารแต่ถูกจับกุมก่อน อีกด้านเขายังสนับสนุนฮะมาสในการต่อต้านอิสราเอล นานาชาติจึงไม่พอใจที่ตุรกีสนับสนุนองค์กรที่ถูกขึ้นบัญชีดำ ประวัติการศึกษา จบการศึกษาระดับปริญญาตรีคณะ Economics and Administrative Sciences มหาวิทยาลัย Marmara.

ใหม่!!: ซุนนีและเรเจป ไตยิป แอร์โดอัน · ดูเพิ่มเติม »

เล็ก นานา

นายเล็ก นานา (18 มีนาคม พ.ศ. 2468 - 1 เมษายน พ.ศ. 2553) เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ คนที่ 9 อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง และอดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร หลายสมั.

ใหม่!!: ซุนนีและเล็ก นานา · ดูเพิ่มเติม »

เวสเทิร์นสะฮารา

วสเทิร์นสะฮารา (Western Sahara; الصحراء الغربية; เบอร์เบอร์: Taneẓroft Tutrimt; Sáhara Occidental) เป็นดินแดนที่มีข้อพิพาทและถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของโมร็อกโกในภูมิภาคมาเกร็บ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา ทิศเหนือติดกับประเทศโมร็อกโก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศแอลจีเรีย ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับประเทศมอริเตเนีย ส่วนทิศตะวันตกจรดมหาสมุทรแอตแลนติก มีพื้นที่ประมาณ 266,000 ตารางกิโลเมตร (103,000 ตารางไมล์) เป็นหนึ่งในดินแดนที่มีประชากรเบาบางที่สุดในโลก เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบทะเลทราย มีประชากรประมาณ 500,000 คน เกือบร้อยละ 40 อาศัยอยู่ที่เอลอายูน ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเวสเทิร์นสะฮารา เวสเทิร์นสะฮาราถูกสเปนปกครองจนถึงปลายคริสตศวรรษที่ 20 หลังจากนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งในรายชื่อดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเองของสหประชาชาติตั้งแต่ปี 2506 เป็นต้นมา ซึ่งเกิดจากข้อเรียกร้องของโมร็อกโก เป็นดินแดนที่มีประชากรและพื้นที่มากที่สุดที่อยู่ในรายชื่อนี้ ในปี 2508 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้มีมติครั้งแรกเกี่ยวกับเวสเทิร์นสะฮารา ในการขอให้สเปนให้เอกราชแก่ดินแดนนี้ หนึ่งปีต่อมามติใหม่ได้รับการรับรองจากสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเพื่อขอให้มีการลงประชามติโดยสเปนเกี่ยวกับการตัดสินใจด้วยตนเอง ในปี 2518 สเปนได้ยกเลิกการบริหารจัดการดินแดนนี้ไปสู่การจัดการบริหารร่วมโดยโมร็อกโก (ซึ่งได้เรียกร้องสิทธิเหนือดินแดนนี้มาตั้งแต่ปี 2500)และมอริเตเนีย สงครามปะทุขึ้นระหว่างประเทศเหล่านี้กับขบวนการชาตินิยมซาห์ราวี แนวร่วมโปลีซารีโอซึ่งได้ประกาศให้ดินแดนนี้กลายเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีมีรัฐบาลพลัดถิ่นอยู่ในทินดูฟ แอลจีเรีย ต่อมา มอริเตเนียได้ถอนการอ้างสิทธิเหนือดินแดนในปี 2522 และในที่สุดโมร็อกโกก็ได้ควบคุมดินแดนส่วนใหญ่รวมทั้งเมืองสำคัญและทรัพยากรธรรมชาติ องค์การสหประชาชาติพิจารณาว่าแนวร่วมโปลีซารีโอเป็นตัวแทนที่ถูกต้องตามกฎหมายของชาวซาห์ราวีและยืนยันว่าชาวซาห์ราวีมีสิทธิในการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง ในปี 2560 ไม่มีรัฐสมาชิกสหประชาชาติใดให้การยอมรับอำนาจอธิปไตยของโมร็อกโกเหนือดินแดนเวสเทิร์นสะฮารา อย่างไรก็ตาม หลายประเทศได้แสดงการสนับสนุนต่อการรับรองในอนาคตเกี่ยวกับการผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโมร็อกโกในฐานะดินแดนปกครองตนเองของราชอาณาจักร กล่าวโดยสรุป การผนวกดินแดนยังไม่ได้รับความสนใจมากนักในประชาคมนานาชาติเนื่องจากมีกรณีพิพาทเรื่องของการผนวกดินแดนอื่นๆ อีก (เช่น การผนวกดินแดนของรัสเซียในคาบสมุทรไครเมีย) ตั้งแต่ที่สหประชาชาติผลักดันให้มีการทำข้อตกลงหยุดยิงในปี 2534 สองในสามของดินแดน(รวมถึงส่วนใหญ่ของชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก) ถูกปกครองโดยรัฐบาลโมร็อกโกซึ่งได้รับการสนับสนุนแบบลับๆ จากฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา ขณะที่ส่วนที่เหลือถูกปกครองโดยสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากแอลจีเรีย ในระดับนานาชาติ ประเทศต่างๆ เช่น รัสเซียอยู่ในฐานะที่คลุมเครือและเป็นกลางในการอ้างสิทธิของทั้ง 2 ฝ่าย แต่ก็ได้กดดันให้ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันในการแก้ปัญหาอย่างสันติ ทั้งโมร็อกโกและโปลีซาริโอต่างพยายามที่จะเพิ่มแรงสนับสนุนในการรับรองดินแดนอย่างเป็นทางการจากชาติต่าง ๆ โดยเฉพาะชาติจากแอฟริกา เอเชีย และลาตินอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนา แนวร่วมโปลีซาริโอได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการสำหรับการจัดตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีจาก 37 ประเทศ และยังเป็นสมาชิกของสหภาพแอฟริกาต่อไป ขณะที่โมร็อกโกได้รับการยอมรับหรือสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศในแอฟริกาหลายแห่ง และส่วนใหญ่จากโลกมุสลิมและสันนิบาตอาหรับ ตลอดสองทศวรรษหลัง การยอมรับที่มีต่อทั้งสองฝ่ายขยายเพิ่มและถดถอยลงตามการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก.

ใหม่!!: ซุนนีและเวสเทิร์นสะฮารา · ดูเพิ่มเติม »

เอกราชอัสซีเรีย

อกราชอัสซีเรีย (Assyrian independence) เป็นขบวนการทางการเมืองและลัทธิที่สนับสนุนการสร้างดินแดนอัสซีเรียสำหรับชาวคริสต์อัสซีเรียที่พูดภาษาแอราเมอิกในภาคเหนือของอิรัก การต่อสู้ของขบวนการเอกราชอัสซีเรียเริ่มตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงปัจจุบัน บริเวณที่ชาวอัสซีเรียอาศัยอยู่คือบริเวณนินนาวา-โมซูล ซึ่งเป็นที่ตั้งของนินเนเวห์ เมืองหลวงของอัสซีเรียในคัมภีร์ไบเบิล บริเวณนี้เป็นที่รู้จักในชื่อสามเหลี่ยมอัสซีเรี.

ใหม่!!: ซุนนีและเอกราชอัสซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

เอมิเรตอัฟกานิสถาน

อมิเรตอัฟกานิสถาน (Emirate of Afghanistan; د افغانستان امارت) เป็นเอมิเรตที่ปกครองอัฟกานิสถานระหว่างปี..

ใหม่!!: ซุนนีและเอมิเรตอัฟกานิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

เอมิเรตนัจญด์และฮะซาอ์

อมิเรตนัจญด์และฮะซาอ์ (Emirate of Nejd and Hasa; إمارة نجد والأحساء) หรือ รัฐซาอุดีที่สาม หรือ เอมิเรตริยาดMadawi Al-Rasheed.

ใหม่!!: ซุนนีและเอมิเรตนัจญด์และฮะซาอ์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอียิปต์

้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอียิปต์ (فوزية بنت فؤاد الأول.; فوزیه فؤاد; ประสูติ: 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1921 — สิ้นพระชนม์: 2 กรกฎาคม ค.ศ. 2013) เจ้าหญิงแห่งอียิปต์และอดีตสมเด็จพระราชินีในโมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี ชาห์อิหร่าน หลังจากการเสกสมรสอีกครั้งใน..

ใหม่!!: ซุนนีและเจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

เด่นเก้าแสน เก้าวิชิต

นเก้าแสน เก้าวิชิต (ชื่อจริง: สุเทพ หวังมุก; ชื่อเล่น: มะ) เป็นอดีตแชมป์โลกในรุ่นฟลายเวท ของสมาคมมวยโลก (WBA) นับเป็นนักมวยชาวไทยคนแรกที่มีโอกาสชิงแชมป์โลกถึง 3 ครั้งและประสบความสำเร็จ ซึ่งก่อนหน้านั้นมีนักมวยไทย 2 คนที่ได้ชิงแชมป์โลกถึง 3 ครั้ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ คือ จำเริญ ทรงกิตรัตน์ และ ถนอมศักดิ์ ศิษ.

ใหม่!!: ซุนนีและเด่นเก้าแสน เก้าวิชิต · ดูเพิ่มเติม »

เคาะบัรวาฮิด

ัรวาฮิด เป็นประเภทหนึ่งของฮะดีษ(วัจนะท่านศาสดามุฮัมหมัด (ศ็อลฯ)) ซึ่งสายการรายงานของบรรดาผู้รายงานไม่ถึงระดับขั้น “ตะวาตุร” จนทำให้ไม่สามารถเชื่อมั่นถึงความถูกต้องของฮะดีษนั้นได้ ทุกฮะดีษที่ไม่ใช่เคาะบัรมุตะวาติร ถือเป็นเคาะบัรวาฮิดทั้งหมด แม้ว่าสายการรายงานของผู้รายงานจะมีมากกว่าหนึ่งคนก็ตาม โดยส่วนมากแล้วฮะดีษเกือบทั้งหมดที่มีอยู่ในอิสลามจะอยู่ในหมวด เคาะบัรว.

ใหม่!!: ซุนนีและเคาะบัรวาฮิด · ดูเพิ่มเติม »

เคาะลีฟะฮ์ บิน ซายิด อัลนะฮ์ยาน

ลีฟะฮ์ บิน ซายิด บิน สุลฏอน อัลนะฮ์ยาน (خليفة بن زايد بن سلطان آل نهيان.; Khalifa bin Zayed Al Nahyan) หรือ เชคเคาะลีฟะฮ์ หรือ เชคนะฮ์ยาน ประธานาธิบดีคนที่สองแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และเป็นเจ้าผู้ครองนครอาบูดาบี ดำรงตำแหน่งสืบต่อจากเชคซายิด บิน สุลฏอน อัลนะฮ์ยาน ผู้เป็นพระราชบิดา เชคเคาะลีฟะฮ์เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ตั้งแต่ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร และก่อตั้งประเทศเมื่อ..

ใหม่!!: ซุนนีและเคาะลีฟะฮ์ บิน ซายิด อัลนะฮ์ยาน · ดูเพิ่มเติม »

เนินพระวิหาร

นินพระวิหาร ในเยรูซาเลม เนินพระวิหาร (הַר הַבַּיִת, Temple Mount) หรือที่ในภาษาอาหรับเรียกว่า อัลฮะเราะมุชชะรีฟ (الحرم الشريف) เป็นเนินเขาในเขตเมืองเก่าของเยรูซาเลมอันเป็นที่ตั้งของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปีของสามศาสนาคือ ศาสนายูดาห์, ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ตั้งอยู่ที่ระดับความสูง 740 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล สิ่งก่อสร้างในสมัยราชวงศ์อุมัยยะฮ์บนเนินเขาแห่งนี้ได้แก่ มัสยิดอัลอักซอ, โดมทองแห่งเยรูซาเลมตลอดจนหอสูงทั้งสี่ มีประตูอยู่ 11 ประตูเพื่อเข้าไปภายในอาณาเขตแห่งนี้ โดยสิบประตูสงวนไว้สำหรับชาวมุสลิม และอีกหนึ่งประตูสำหรับผู้ไม่ใช่มุสลิม คัมภีร์ไบเบิลระบุว่า วิหารของพวกยิวตั้งอยู่บนเนินพระวิหาร และพงศาวดารของยิวก็ได้ระบุว่าพระ วิหารแรกถูกสร้างขึ้นในสมัยของกษัตริย์ซาโลมอนเมื่อ 957 ปีก่อนคริสตกาล และถูกทำลายลงโดยบาบิโลเนียเมื่อ 586 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนพระวิหารที่สองถูกสร้างขึ้นในสมัยของเศรุบบาเบลเมื่อ 516 ปีก่อนคริสตกาล และถูกพวกโรมันทำลายลงในปี..

ใหม่!!: ซุนนีและเนินพระวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

SunniSunni IslamSunni Muslimสุหนี่อะห์ลุซซุนนะห์ซุนนีย์นิกายสุหนี่นิกายซุนนีนิกายซุนนีย์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »