โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)

ดัชนี ฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)

ฉันทลักษณ์ หมายถึง ลักษณะบังคับของคำประพันธ์ไทย ซึ่งกำชัย ทองหล่อให้ความหมายไว้ว่า ฉันทลักษณ์ คือตำราที่ว่าด้วยวิธีร้อยกรองถ้อยคำหรือเรียบเรียงถ้อยคำให้เป็นระเบียบตามลักษณะบังคับและบัญญัติที่นักปราชญ์ได้ว่างเป็นแบบไว้ ถ้อยคำที่ร้อยกรองขึ้นตามลักษณะบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์ เรียกว่า คำประพันธ์กำชัย ทองหล่อ.

11 ความสัมพันธ์: กลอนกวีนิพนธ์กาพย์กาพย์ยานีกาพย์สุรางคนางค์ภาษากวางตุ้งมาตรฐานสามัคคีเภทคำฉันท์คันจิฉันท์โคลง

กลอน

กลอน เป็นลักษณะคำประพันธ์ไทยที่ฉันทลักษณ์ประกอบด้วยลักษณะบังคับ 3 ประการคือ คณะ จำนวนคำ และสัมผัสกรมศิลปากร.

ใหม่!!: ฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)และกลอน · ดูเพิ่มเติม »

กวีนิพนธ์

กวีนิพนธ์ (Poetry, Poem, Poesy) คือรูปแบบทางศิลปะที่มนุษย์ใช้ภาษา เพื่อคุณประโยชน์ด้านสุนทรียะ ซึ่งเพิ่มเติมจากเนื้อหาทางความหมาย นับเป็นส่วนหนึ่งของวรรณกรรม โดยเป็นคำประพันธ์ที่กวีแต่ง เป็นงานเขียนที่มีวรรณศิลป์ เร้าให้สะเทือนอารมณ์ได้ คำที่มีความหมายทำนองเดียวกันได้แก่ ร้อยกรอง ซึ่งหมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์ นอกจากนี้ยังมีคำอื่น ๆ อีกหลายคำที่มีความหมายทำนองเดียวกับ กวีนิพนธ์ และร้อยกรอง ได้แก่ บทกวี บทประพันธ์ คำประพันธ์ กวีวัจนะ ลำนำ บทกลอน กาพย์กลอน กลอนกานท์ กานท์ รวมทั้งคำว่า ฉันท์ กาพย์ และกลอน ซึ่งในปัจจุบันหมายถึงคำประพันธ์ที่มีรูปแบบต่างกัน ก็เคยใช้ในความหมายเดียวกันกับ กวีนิพนธ์ และ ร้อยกรอง มาในยุคสมัยหนึ่ง ผลงานที่จัดเป็นกวีนิพนธ์เรียกว่า บทกวี ส่วนผู้ที่สร้างสรรค์ผลงานดังกล่าว เรียกว่า กวี หรือ นักกวี บทกวี คือ ภาษาของอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด คือเครื่องมือที่จะนำสิ่งที่เรารู้สึกว่าเป็นข่าวสารออกมาแสดงให้ประจักษ์ ตระหนัก ตระหนก สะทก สะท้อน กวีอาจไม่มีหน้าที่สรุปหรือฟันธงความจริง แต่กวีอาจหมุนแปรคำและความให้เห็นความจริงใหม่ ๆ ของชีวิตหลายด้าน ทั้งเรื่องที่บางทีคนทั่วไปคิดไม่ถึง และแม้แต่ตัวกวีเองก็เพิ่งจะคิดถึง.

ใหม่!!: ฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)และกวีนิพนธ์ · ดูเพิ่มเติม »

กาพย์

กาพย์ เป็นคำประพันธ์ชนิดหนึ่งที่บังคับจำนวนคำและสัมผัส จัดวรรคต่างจากกลอนและไม่บังคับเสียงวรรณยุกต์ท้ายวรรค ไม่มีบังคับเอก-โทเหมือนโคลง และไม่มีบังคับครุและลหุเหมือนฉันท.

ใหม่!!: ฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)และกาพย์ · ดูเพิ่มเติม »

กาพย์ยานี

กาพย์ยานี เป็นคำประพันธ์ไทยประเภทกาพย์ที่กวีนิยมแต่งมากที่สุด มีทั้งแต่งสลับกับคำประพันธ์ประเภทอื่นและแต่งเพียงลำพัง กาพย์ยานีบทหนึ่งมีสองบาท บาทละ 11 คำ คนทั่วไปจึงนิยมเรียกว่า กาพย์ยานี 11.

ใหม่!!: ฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)และกาพย์ยานี · ดูเพิ่มเติม »

กาพย์สุรางคนางค์

กาพย์สุรางคนางค์ เป็นชนิดหนึ่งที่กวีนิยมแต่งในไทย แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ กาพย์สุรางคนางค์ 28 กาพย์สุรางค์นางค์ 32 (กาพย์ธนัญชยางค์) และกาพย์สุรางคนางค์ 36 (กาพย์ขับไม้).

ใหม่!!: ฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)และกาพย์สุรางคนางค์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากวางตุ้งมาตรฐาน

ษากวางตุ้งมาตรฐาน หรือ สำเนียงกวางเจา คือสำเนียงของภาษากวางตุ้งที่เป็นที่ยอมรับให้เป็นสำเนียงมาตรฐาน ใช้เป็นภาษาราชการที่พูดกันในฮ่องกงและมาเก๊า ทั้งในรัฐบาลและการเรียนการสอนในโรงเรียน ภาษานี้เป็นภาษาประจำถิ่นของเมืองกวางเจา มณฑลกวางตุ้ง และบริเวณโดยรอบทางตอนใต้ของประเทศจีน.

ใหม่!!: ฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)และภาษากวางตุ้งมาตรฐาน · ดูเพิ่มเติม »

สามัคคีเภทคำฉันท์

มัคคีเภทคำฉันท์ เป็นนิยายคำฉันท์ขนาดสั้นไม่กี่สิบหน้ากระดาษเท่านั้น แต่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี มีความงดงามทางวรรณศิลป์ ทั้งยังได้รับการคัดเลือกเป็นหนังสือประกอบการเรียนการสอนในวิชาภาษาไทยด้วย หนังสือ สามัคคีเภทคำฉันท์ (ฉบับกระทรวงศึกษาธิการจัดพิมพ์ เขียนเว้นวรรค เป็น "สามัคคีเภท คำฉันท์") นี้ นายชิต บุรทัต ได้แต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2457 ในสมัยรัชกาลที่ 6 นับเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงอีกชิ้นหนึ่งของกวีผู้นี้.

ใหม่!!: ฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)และสามัคคีเภทคำฉันท์ · ดูเพิ่มเติม »

ฑ (มณโฑ) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 17 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ฐ (ฐาน) และก่อนหน้า ฒ (ผู้เฒ่า) ออกเสียงอย่าง ท (ทหาร) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ฑ มณโฑ” (บางคนก็เรียกว่า ฑ นางมณโฑ) อักษร ฑ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /tʰ/ หรือ /d/ (ดูหัวข้อถัดไป) และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /t̚/ ปัจจุบันมีคำที่ขึ้นต้นด้วย ฑ อยู่น้อยคำ ได้แก่ ฑังส, ฑาก, ฑาหก, ฑาหะ นอกเหนือจากนั้นใช้ประกอบกับคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต.

ใหม่!!: ฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)และฑ · ดูเพิ่มเติม »

คันจิ

ันจิ เป็นอักษรจีนที่ใช้ในระบบการเขียนภาษาญี่ปุ่นในปัจจุบัน จัดอยู่ในประเภทอักษรคำ (Logograms) ใช้ร่วมกับตัวอักษร อีก 4 ประเภท ได้แก่ ฮิรางานะ (ひらがな, 平仮名 Hiragana) คะตาคานะ (カタカナ, 片仮名 Katakana) โรมะจิ (ローマ字 Rōmaji) และตัวเลขอารบิก คำว่า "คันจิ" หากอ่านตามเสียงภาษาจีนกลางจะอ่านว่า "ฮั่นจื้อ" มีความหมายว่า ตัวอักษรของชาวฮั่น อันเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศจีน คำว่าภาษาจีนในภาษาจีนเอง ก็เรียกว่า ภาษาฮั่น (ภาษาจีนกลาง: 漢語, hànyǔ) เช่นกัน.

ใหม่!!: ฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)และคันจิ · ดูเพิ่มเติม »

ฉันท์

ฉันท์ เป็นลักษณ์หนึ่งของการประพันธ์ประเภทร้อยกรองในวรรณคดีไทยที่บังคับเสียงหนัก - เบาของพยางค์ ที่เรียกว่า ครุ - ลหุ ฉันท์ในภาษาไทยรับแบบมาจากประเทศอินเดีย ตำราฉันท์ที่เก่าแก่ที่สุดของอินเดียเป็นภาษาสันสกฤต คือ ปิงคลฉันทศาสตร์ แต่งโดยปิงคลาจารย์ ส่วนตำราฉันท์ภาษาบาลีเล่มสำคัญที่สุดได้แก่ คัมภีร์วุตโตทัยปกรณ์ ผู้แต่งคือ พระสังฆรักขิตมหาสามี เถระชาวลังกา แต่งเมื่อ พ.ศ. 1703 เป็นที่มาของ คัมภีร์วุตโตทัย ซึ่งเป็นต้นตำหรับการแต่งฉันท์ของไทยกวีนิพนธ์ไทย ๑ - ๒, สุภาพร มากแจ้ง, กรุงเทพฯ, โอเดียนสโตร์, 2539.

ใหม่!!: ฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)และฉันท์ · ดูเพิ่มเติม »

โคลง

ลง เป็นคำประพันธ์ที่บังคับวรรณยุกต์ คือ เอก โท และบังคับสัมผัส มีหลักฐานอันควรเชื่อว่าเป็นคำประพันธ์พื้นเมืองไทยทางเหนือและอีสานก่อนจะแพร่หลายมายังภาคกลาง.

ใหม่!!: ฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)และโคลง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ลหุครุครุ และ ลหุครุลหุครุและลหุคำตายคำเป็นคำเป็น และ คำตายคำเป็นและคำตาย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »