โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จุดปลายระยะทางวงโคจร

ดัชนี จุดปลายระยะทางวงโคจร

ปลายระยะทางวงโคจร ในทางดาราศาสตร์ จุดปลายระยะทางวงโคจร (apsis) หมายถึง จุดในวงโคจรของวัตถุที่อยู่ใกล้ที่สุดหรือไกลที่สุดจากจุดศูนย์กลางมวลที่มันโคจรรอบ จุดที่เคลื่อนเข้าไปใกล้จุดศูนย์กลางมวลมากที่สุด เรียกว่า จุดใกล้ที่สุด (periapsis หรือ pericentre) จุดที่เคลื่อนออกไปไกลที่สุดเรียกว่า จุดไกลที่สุด (apoapsis, apocentre หรือ apapsis) เส้นตรงที่ลากจากจุดใกล้ที่สุดไปยังจุดไกลที่สุด เรียกว่า line of apsides ซึ่งก็คือแกนเอกของวงรี หรือเส้นที่ยาวที่สุดภายในวงรีนั่นเอง นอกจากนี้มีคำศัพท์เฉพาะอื่นๆ ที่ใช้เรียกจุดใกล้ที่สุดหรือจุดไกลที่สุดในการโคจรรอบเทหวัตถุบางชนิด จุดใกล้ที่สุดและจุดไกลที่สุดในการโคจรรอบโลก เรียกว่า perigee และ apogee ตามลำดับ จุดใกล้ที่สุดและจุดไกลที่สุดในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ เรียกว่า perihelion และ aphelion ตามลำดั.

16 ความสัมพันธ์: กฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์การชนกับนิบิรุการหมุนควงของวงโคจรระบบสุริยะระยะมุมจุดใกล้ศูนย์กลางที่สุดสุริยุปราคา 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์อาแล็กซิส แกลโรจันทรุปราคา กันยายน พ.ศ. 2558จันทรุปราคา มกราคม พ.ศ. 2561ดวงจันทร์ของกาลิเลโอดาวอังคารดาวเคราะห์นอกระบบแถบหินกระจายโลก (ดาวเคราะห์)เซดนอยด์

กฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์

แสดงกฎ 3 ข้อของเคปเลอร์ที่มีวงโคจรดาวเคราะห์ 2 วง (1) วงโคจรเป็นวงรีด้วยจุดโฟกัส ''f1'' และ ''f2'' สำหรับดาวเคราะห์ดวงแรกและ ''f1'' และ ''f3'' สำหรับดาวเคราะห์ดวงที่ 2 ดวงอาทิตย์อยู่ที่จุด ''f1'' (2) ส่วนแรเงา 2 ส่วน ''A1'' และ ''A2'' มีผิวพื้นเท่ากันและเวลาที่ดาวเคราะห์ 1 ทับพื้นที่ ''A1'' เท่ากับเวลาที่ทับพื้นที่ ''A2''. (3) เวลารวมของวงโคจรสำหรับดาวเคราะห์ 1 และดาวเคราะห์ 2 มีสัดส่วนเท่ากับ a1^3/2:a2^3/2. กฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ของเคปเลอร์ (Kepler's laws of planetary motion) คือกฎทางคณิตศาสตร์ 3 ข้อที่กล่าวถึงการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ โยฮันเนส เคปเลอร์ (พ.ศ. 2114 – พ.ศ. 2173) เป็นผู้ค้นพบ เคปเลอร์ได้ศึกษาการสังเกตการณ์ของนักดาราศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงชาวเดนมาร์กชื่อไทโค บราห์ (Tycho Brahe) โดยประมาณ พ.ศ. 2148 เคปเลอร์พบว่าการสังเกตตำแหน่งของดาวเคราะห์ของบราห์เป็นไปตามกฎง่ายๆ ทางคณิตศาสตร์ กฎของเคปเลอร์ท้าทายดาราศาสตร์สายอริสโตเติลและสายทอเลมีและกฎทางฟิสิกส์ในขณะนั้น เคปเลอร์ยืนยันว่าโลกเคลื่อนที่เป็นวงรีมากกว่าวงกลม และยังได้พิสูจน์ว่าความเร็วการเคลื่อนที่มีความผันแปรด้วย ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงความรู้ทางดาราศาสตร์และฟิสิกส์ อย่างไรก็ดี คำอธิบายเชิงฟิสิกส์เกี่ยวกับพฤติกรรมของดาวเคราะห์ก็ได้ปรากฏชัดเจนได้ในอีกเกือบศตวรรษต่อมา เมื่อไอแซก นิวตันสามารถสรุปกฎของเคปเลอร์ได้ว่าเข้ากันกับกฎการเคลื่อนที่และกฎความโน้มถ่วงสากลของนิวตันเองโดยใช้วิชาแคลคูลัสที่เขาคิดสร้างขึ้น รูปจำลองแบบอื่นที่นำมาใช้มักให้ผลผิดพล.

ใหม่!!: จุดปลายระยะทางวงโคจรและกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

การชนกับนิบิรุ

การชนกับนิบิรุ เป็นแนวคิดที่เสนอว่าอาจมีการชนกันครั้งหายนะระหว่างโลกกับวัตถุดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ (ซึ่งอาจชนหรือพลาดไปอย่างเฉียดฉิว) ซึ่งมีคนบางกลุ่มเชื่อว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ผู้ที่เชื่อว่าเหตุการณ์สิ้นโลกดังกล่าวจะเกิดขึ้นนั้นมักเรียกวัตถุนี้ว่า ดาวเคราะห์เอกซ์ หรือนิบิรุ แนวคิดที่ว่าวัตถุที่มีขนาดเท่าดาวเคราะห์อาจชนกับโลกหรือเคลื่อนที่ผ่านโลกไปในอนาคตอันใกล้นี้ไม่ได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใด นักดาราศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ปฏิเสธแนวคิดดังกล่าวโดยระบุว่าเป็นการสรุปผลโดยปราศจากข้อเท็จจริง แนวคิดดังกล่าวได้รับการเสนอครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: จุดปลายระยะทางวงโคจรและการชนกับนิบิรุ · ดูเพิ่มเติม »

การหมุนควงของวงโคจร

ในกลศาสตร์ท้องฟ้า การหมุนควงของวงโคจร (Orbital precession) เป็นการหมุนควงของวงโคจรของวัตถุท้องฟ้า โดยละเอียด มันเป็นการเคลื่อนที่แบบหมุนที่ขยับจุดปลายระยะทางวงโคจร ซึ่งเป็นจุดที่ใกล้และไกลที่สุดในวงโคจร การหมุนควงของวงโคจรเป็นอนุพันธ์ตัวแรกของระยะมุมจุดใกล้ศูนย์กลางที่สุด ซึ่งเป็นหนึ่งในหกองค์ประกอบของวงโคจร หมวดหมู่:วงโคจร.

ใหม่!!: จุดปลายระยะทางวงโคจรและการหมุนควงของวงโคจร · ดูเพิ่มเติม »

ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ (Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน นับถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอา มาคีมาคี และ อีรีส มีดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบ ๆ เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า "ดวงจันทร์" ตามอย่างดวงจันทร์ของโลก นอกจากนี้ดาวเคราะห์ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวอันประกอบด้วยเศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่าง ๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: จุดปลายระยะทางวงโคจรและระบบสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

ระยะมุมจุดใกล้ศูนย์กลางที่สุด

ภาพแสดงระยะมุมจุดใกล้จุดศูนย์กลางที่สุด ระยะมุมจุดใกล้จุดศูนย์กลางที่สุด (อังกฤษ: argument of periapsis) เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของวงโคจร หมายถึงมุมระหว่างจุดปลายระยะทางวงโคจรกับโหนดขึ้น หมวดหมู่:ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ru:Кеплеровы элементы орбиты#Аргумент перицентра.

ใหม่!!: จุดปลายระยะทางวงโคจรและระยะมุมจุดใกล้ศูนย์กลางที่สุด · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคา 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ริยุปราคาเต็มดวง เกิดขึ้นในวันที่ 13–15 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: จุดปลายระยะทางวงโคจรและสุริยุปราคา 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 · ดูเพิ่มเติม »

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein, อัลแบร์ท ไอน์ชไตน์; 14 มีนาคม พ.ศ. 2422 – 18 เมษายน พ.ศ. 2498) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎี ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2428 ชาวเยอรมันเชื้อสายยิว (ตามลำดับ) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ และมีส่วนร่วมในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม สถิติกลศาสตร์ และจักรวาลวิทยา เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ใน..

ใหม่!!: จุดปลายระยะทางวงโคจรและอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

อาแล็กซิส แกลโร

อาแล็กซิส โกลด เดอ แกลโร (Alexis Claude de Clairaut; 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1713 - 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1765) เป็นนักคณิตศาสตร์และปราชญ์ชาวฝรั่งเศส เขาได้เข้าร่วมกับปีแยร์ หลุยส์ โมแปร์ตุย (Pierre Louis Maupertuis) เดินทางไปยังแลปแลนด์ ประเทศฟินแลนด์ ในปี 1736 เพื่อการศึกษาเกี่ยวกับเส้นเมอริเดียน เมื่อกลับจากแลปแลนด์เขาได้ตีพิมพ์งานเขียนชื่อ Théorie de la figure de la terre ในปี 1743 งานชิ้นนี้เขาได้นำเสนอทฤษฎีซึ่งต่อมาได้ชื่อว่า ทฤษฎีแกลโร ว่าด้วยแรงดึงดูด ณ ตำแหน่งบนพื้นผิวของวัตถุทรงรีที่กำลังหมุนที่เกี่ยวพันกับแรงอัดและแรงดึงสู่ศูนย์กลางที่เส้นศูนย์สูตร เขายังได้คิดค้นหาคำตอบโดยประมาณของปัญหาสามวัตถุ และได้รับรางวัลจาก St Petersburg Academy เมื่อปี 1750 จากผลงานเรื่อง Théorie de la lune ต่อมาในปี..

ใหม่!!: จุดปลายระยะทางวงโคจรและอาแล็กซิส แกลโร · ดูเพิ่มเติม »

จันทรุปราคา กันยายน พ.ศ. 2558

ันทรุปราคาเต็มดวง เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 27 ถึง 28 กันยายน..

ใหม่!!: จุดปลายระยะทางวงโคจรและจันทรุปราคา กันยายน พ.ศ. 2558 · ดูเพิ่มเติม »

จันทรุปราคา มกราคม พ.ศ. 2561

ันทรุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 31 มกราคม..

ใหม่!!: จุดปลายระยะทางวงโคจรและจันทรุปราคา มกราคม พ.ศ. 2561 · ดูเพิ่มเติม »

ดวงจันทร์ของกาลิเลโอ

แกนิมีด คัลลิสโต ดวงจันทร์ของกาลิเลโอ (Galilean moons) คือดวงจันทร์บริวารทั้ง 4 ดวงของดาวพฤหัสบดีซึ่งถูกค้นพบโดยกาลิเลโอ กาลิเลอีช่วงเดือนมกราคม..

ใหม่!!: จุดปลายระยะทางวงโคจรและดวงจันทร์ของกาลิเลโอ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวอังคาร

วอังคาร (Mars) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สี่จากดวงอาทิตย์ เป็นดาวเคราะห์เล็กที่สุดอันดับที่สองในระบบสุริยะรองจากดาวพุธ ในภาษาอังกฤษได้ชื่อตามเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน มักได้รับขนานนาม "ดาวแดง" เพราะมีออกไซด์ของเหล็กดาษดื่นบนพื้นผิวทำให้มีสีออกแดงเรื่อ ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หินที่มีบรรยากาศเบาบาง มีลักษณะพื้นผิวคล้ายคลึงกับทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย ตลอดจนพิดน้ำแข็งขั้วดาวที่ปรากฏบนโลก คาบการหมุนรอบตัวเองและวัฏจักรฤดูกาลของดาวอังคารก็มีความคล้ายคลึงกับโลกซึ่งความเอียงก่อให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ดาวอังคารเป็นที่ตั้งของโอลิมปัสมอนส์ ภูเขาไฟใหญ่ที่สุดบนดาวอังคารและสูงสุดอันดับสองในระบบสุริยะเท่าที่มีการค้นพบ และเป็นที่ตั้งของเวลส์มาริเนริส แคนยอนขนาดใหญ่อันดับต้น ๆ ในระบบสุริยะ แอ่งบอเรียลิสที่ราบเรียบในซีกเหนือของดาวปกคลุมกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมดและอาจเป็นลักษณะการถูกอุกกาบาตชนครั้งใหญ่ ดาวอังคารมีดาวบริวารสองดวง คือ โฟบอสและดีมอสซึ่งต่างก็มีขนาดเล็กและมีรูปร่างบิดเบี้ยว ทั้งคู่อาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกจับไว้ คล้ายกับทรอยของดาวอังคาร เช่น 5261 ยูเรกา ก่อนหน้าการบินผ่านดาวอังคารที่สำเร็จครั้งแรกของ มาริเนอร์ 4 เมื่อปี 1965 หลายคนคาดว่ามีน้ำในรูปของเหลวบนพื้นผิวดาวอังคาร แนวคิดนี้อาศัยผลต่างเป็นคาบที่สังเกตได้ของรอยมืดและรอยสว่าง โดยเฉพาะในละติจูดขั้วดาวซึ่งดูเป็นทะเลและทวีป บางคนแปลความรอยมืดริ้วลายขนานเป็นร่องทดน้ำสำหรับน้ำในรูปของเหลว ภายหลัง มีการอธิบายว่าภูมิประเทศเส้นตรงเหล่านั้นเป็นภาพลวงตา แม้ว่าหลักฐานทางธรณีวิทยาที่ภารกิจไร้คนบังคับรวบรวมชี้ว่า ครั้งหนึ่งดาวอังคารเคยมีน้ำปริมาณมากปกคลุมบนพื้นผิว ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะต้น ๆ ของอายุ ในปี 2005 เรดาร์เผยว่ามีน้ำแข็งน้ำ (water ice) ปริมาณมากขั้วทั้งสองของดาว และที่ละติจูดกลาง ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารสปิริต พบตัวอย่างสารประกอบเคมีที่มีโมเลกุลน้ำเมื่อเดือนมีนาคม 2007 ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ พบตัวอย่างน้ำแข็งน้ำโดยตรงในดินส่วนตื้นของดาวอังคารเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2008 มียานอวกาศที่กำลังปฏิบัติงานอยู่เจ็ดลำ ห้าลำอยู่ในวงโคจร ได้แก่ 2001 มาร์สโอดิสซี มาร์สเอ็กซ์เพรส มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เมเว็น และมาร์สออร์บิเตอร์มิชชัน และสองลำบนพื้นผิว ได้แก่ ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารออปพอร์ทูนิตี และยานมาร์สไซแอนซ์แลบอราทอรีคิวริออซิตี การสังเกตโดย มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เปิดเผยว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีน้ำไหลในช่วงเดือนที่ร้อนที่สุดบนดาวอังคาร ในปี 2013 ยานคิวริออซิตี ของนาซาค้นพบว่าดินของดาวอังคารมีน้ำเป็นองค์ประกอบระหว่างร้อยละ 1.5 ถึง 3 โดยมวล แม้ว่าน้ำนั้นจะติดอยู่กับสารประกอบอื่น ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยอิสระ กำลังมีการสืบค้นเพื่อประเมินศักยภาพความสามารถอยู่อาศัยได้ในอดีตของดาวอังคาร ตลอดจนความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตหลงเหลืออยู่ มีการสืบค้นบริเวณนั้นโดยส่วนลงจอด ''ไวกิง'' โรเวอร์ สปิริต และออปพอร์ทูนิตี ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ และโรเวอร์ คิวริออซิตี มีการวางแผนภารกิจทางชีวดาราศาสตร์ไว้แล้ว ซึ่งรวม มาร์ส 2020 และเอ็กโซมาร์สโรเวอร์ ดาวอังคารสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากโลกโดยง่ายซึ่งจะปรากฏให้เห็นเป็นสีออกแดง มีความส่องสว่างปรากฏได้ถึง −2.91 ซึ่งเป็นรองเพียงดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินโดยทั่วไปมีขีดจำกัดการมองเห็นรายละเอียดของภูมิประเทศขนาดประมาณ 300 กิโลเมตรเมื่อโลกและดาวอังคารเข้าใกล้กันมากที่สุดอันเป็นผลจากบรรยากาศของโลก.

ใหม่!!: จุดปลายระยะทางวงโคจรและดาวอังคาร · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์นอกระบบ

accessdate.

ใหม่!!: จุดปลายระยะทางวงโคจรและดาวเคราะห์นอกระบบ · ดูเพิ่มเติม »

แถบหินกระจาย

แถบหินกระจาย (scattered disc) คือย่านวัตถุไกลในระบบสุริยะที่มีดาวเคราะห์น้ำแข็งขนาดเล็กกระจัดกระจายอยู่ห่างๆ กัน เรียกชื่อว่า วัตถุในแถบหินกระจาย (scattered disc objects; SDO) ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยอยู่ในบรรดาตระกูลวัตถุพ้นดาวเนปจูน (trans-Neptunian object; TNO) วัตถุในแถบหินกระจายมีค่าความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรสูงสุดถึง 0.8 ความเอียงวงโคจรสูงสุด 40° มีระยะไกลดวงอาทิตย์ที่สุดมากกว่า 30 หน่วยดาราศาสตร์ วงโคจรที่ไกลมากขนาดนี้เชื่อว่าเป็นผลจากแรงโน้มถ่วงที่กระจัดกระจายโดยดาวแก๊สยักษ์ หมวดหมู่:วัตถุพ้นดาวเนปจูน หมวดหมู่:ระบบสุริยะ.

ใหม่!!: จุดปลายระยะทางวงโคจรและแถบหินกระจาย · ดูเพิ่มเติม »

โลก (ดาวเคราะห์)

ลก (Earth) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สามจากดวงอาทิตย์ และเป็นวัตถุทางดาราศาสตร์เพียงหนึ่งเดียวที่ทราบว่ามีสิ่งมีชีวิต จากการวัดอายุด้วยกัมมันตรังสีและแหล่งหลักฐานอื่นได้ความว่าโลกกำเนิดเมื่อประมาณ 4,500 ล้านปีก่อน โลกมีอันตรกิริยะเชิงโน้มถ่วงกับวัตถุอื่นในอวกาศโดยเฉพาะดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ซึ่งเป็นดาวบริวารถาวรหนึ่งเดียวของโลก โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365.26 วัน เรียกว่า ปี ซึ่งระหว่างนั้นโลกโคจรรอบแกนตัวเองประมาณ 366.26 รอบ แกนหมุนของโลกเอียงทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ บนผิวโลก อันตรกิริยาความโน้มถ่วงระหว่างโลกกับดวงจันทร์ก่อให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร ทำให้การหมุนบนแกนของโลกมีเสถียรภาพ และค่อย ๆ ชะลอการหมุนของโลก โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นสูงสุดในระบบสุริยะและใหญ่สุดในดาวเคราะห์คล้ายโลก 4 ดวง ธรณีภาคของโลกแบ่งออกได้เป็นหลาย ๆ ส่วน เรียกว่าแผ่นธรณีภาค ซึ่งย้ายที่ตัดผ่านพื้นผิวตลอดเวลาหลายล้านปี ร้อยละ 71 ของพื้นผิวโลกปกคลุมด้วยน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาสมุทร อีกร้อยละ 29 ที่เหลือเป็นแผ่นดินประกอบด้วยทวีปและเกาะซึ่งมีะเลสาบ แม่น้ำและแลห่งน้ำอื่นจำนวนมากกอปรเป็นอุทกภาค บริเวณขั้วโลกทั้งสองปกคลุมด้วยน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก และน้ำแข็งทะเลของแพน้ำแข็งขั้วโลก บริเวณภายในของโลกยังคงมีความเคลื่อนไหวโดยมีแก่นชั้นในซึ่งเป็นเหล็กในสถานะของแข็ง มีแก่นเหลวชั้นนอกซึ่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก และชั้นแมนเทิลพาความร้อนที่ขับเคลื่อนการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค ภายในพันล้านปีแรก สิ่งมีชีวิตปรากฏขึ้นในมหาสมุทรและเริ่มส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศและผิวดาว เกื้อหนุนให้เกิดการแพร่ขยายของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ออกซิเจนเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช้ออกซิเจน หลักฐานธรณีวิทยาบางส่วนชี้ว่าชีวิตอาจกำเนิดขึ้นเร็วสุด 4.1 พันล้านปีก่อน นับแต่นั้นตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะ คุณสมบัติทางกายภาพของโลก และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยาของโลกประกอบกันทำให้สิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการและแพร่พันธุ์ได้ Early edition, published online before print.

ใหม่!!: จุดปลายระยะทางวงโคจรและโลก (ดาวเคราะห์) · ดูเพิ่มเติม »

เซดนอยด์

ซดนา เซดนอยด์ดวงแรก เซดนอยด์ (Sednoid) คือกลุ่มของวัตถุพ้นดาวเนปจูนที่มีจุดปลายวงโคจรที่ระยะทางมากกว่า 50 หน่วยดาราศาสตร์ และมีกึ่งแกนเอกมากกว่า 150 หน่วยดาราศาสตร์ มีวัตถุสองชิ้นที่ทราบกันว่าอยู่ในกลุ่มนี้ คือ 90377 เซดนา และ โดยทั้งคู่ต่างมีจุดปลายวงโคจรมากกว่า 75 หน่วยดาราศาสตร์ แต่มันถูกคาดว่าจะมีวัตถุประเภทนี้อีกมาก วัตถุเหล่านี้โคจรอยู่ในบริเวณที่เกือบเป็นช่องว่างของระบบสุริยะ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 50 หน่วยดาราศาสตร์ และไม่มีปฏิสัมพันธ์ที่โดดเด่นกับดาวเคราะห์ วัตถุในกลุ่มนี้ยังมักที่จะถุกจัดรวมไปกับวัตถุกระจาย นักดาราศาสตร์บางคน เช่น สกอตต์ เชฟเพิร์ด จัดให้กลุ่มเซดนอยด์เป็นวัตถุเมฆออร์ตชั้นใน แม้ว่าเมฆออร์ตชั้นใน จะอยู่เลยออกไปไกลกว่า 2,000 หน่วยดาราศาสตร์ ซึ่งไกลกว่าจุดปลายวงโคจรของวัตถุเซดนอยด์ที่ทราบทั้งสองออกไปหลายเท.

ใหม่!!: จุดปลายระยะทางวงโคจรและเซดนอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

จุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดจุดใกล้โลกที่สุดจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุดจุดไกลโลกที่สุด

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »