โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จักรพรรดิโกะ-ไดโงะ

ดัชนี จักรพรรดิโกะ-ไดโงะ

ักรพรรดิโกะ-ไดโงะ (Emperor Go-Daigo) จักรพรรดิองค์ที่ 96 แห่ง ราชวงศ์ญี่ปุ่น ตามที่ได้บันทึกไว้ใน รายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น จักรพรรดิโกะ-ไดโงะครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1861 - พ.ศ. 1882 โดยพระนามของพระองค์นั้นนำมาจากพระนามของ จักรพรรดิไดโงะ ที่ครองราชย์ในช่วง ศตวรรษที่ 9 โดยเมื่อใส่คำว่า โก ที่แปลว่า สอง หรือ ยุคหลัง เข้าไปทำให้พระนามของพระองค์แปลได้ว่า จักรพรรดิไดโงะที่สอง หรือ จักรพรรดิไดโงะยุคหลัง.

32 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 1861การฟื้นฟูเค็มมุการล้อมคะมะกุระ (ค.ศ. 1333)ยุคมุโระมะชิยุคราชสำนักเหนือ-ใต้รัฐบาลโชกุนคะมะกุระราชสำนักใต้รายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่นวัดเท็นรีวสงครามปีเก็งโกอะชิกะงะ ทะกะอุจิอะโนะ ยะซุโกะอิสึสึจิ มุเนะโกะจักรพรรดิฮะนะโซะโนะจักรพรรดิโกะ-มุระกะมิจักรพรรดิโกะ-อุดะจักรพรรดิโคงงจักรพรรดิโคเมียวจักรพรรดิไดโงะคุซุโนะกิ มะซะชิเงะประเทศญี่ปุ่นนิตตะ โยะชิซะดะโชกุนโยะชิโนะ, นะระโคโกะกุไซออนจิ โนะ คิชิไซโอเจ้าชายคุนิโยะชิเจ้าหญิงจุนชิเจ้าหญิงคินชิเจ้าหญิงโชชิ (1829–1891)เจ้าหญิงโชชิ (แก้ความกำกวม)

พ.ศ. 1861

ทธศักราช 1861 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: จักรพรรดิโกะ-ไดโงะและพ.ศ. 1861 · ดูเพิ่มเติม »

การฟื้นฟูเค็มมุ

การฟื้นฟูพระราชอำนาจปีเค็มมุ หรือ การฟื้นฟูเค็มมุ การปฏิรูปประเทศญี่ปุ่นในช่วง..

ใหม่!!: จักรพรรดิโกะ-ไดโงะและการฟื้นฟูเค็มมุ · ดูเพิ่มเติม »

การล้อมคะมะกุระ (ค.ศ. 1333)

การล้อมคะมะกุระ (Siege of Kamakura (1333)) สงครามครั้งสำคัญซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ สงครามปีเก็งโก ที่เกิดขึ้นใน..

ใหม่!!: จักรพรรดิโกะ-ไดโงะและการล้อมคะมะกุระ (ค.ศ. 1333) · ดูเพิ่มเติม »

ยุคมุโระมะชิ

มุโระมะชิ ตรงกับค.ศ. 1336 - ค.ศ. 1568 ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 14 อะชิคะงะ โยะชิมิสึ ได้ปราบปรามชนชั้นปกครองลงอย่างราบคาบ และตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นอีกครั้งที่ เคียวโตะ ซึ่งรัฐบาลโชกุนนี้ได้ปกครองญี่ปุ่นต่อมาเป็นเวลานานถึงสองศตวรรษเศษอันเป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมของชนชั้นนักรบก็ได้กลืนวัฒนธรรมของชนชั้นปกครองลงอย่างราบคาบเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามรัฐบาลโชกุนของตระกูลอะชิคะงะ เกิดจากการรวมตัวของขุนศึกสำคัญ ๆ ตามหัวเมืองต่าง ๆ เข้าด้วยกัน จึงเป็นธรรมดาที่การรวบอำนาจให้รัฐบาลมีเสถียรภาพนั้นเป็นไปได้อย่างลำบาก ดังนั้นในครึ่งหลังศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ขุนศึกตามหัวเมืองต่าง ๆ จึงเริ่มทำสงครามแย่งชิงอำนาจกัน จนทั้งประเทศญี่ปุ่นตกเข้าสู่ยุคสงคราม ภายในยุคนี้เป็นยุคที่ชนชั้นนักรบมีอำนาจเหนือเกษตรกรและมีกรรมสิทธิเหนือที่ดินจึงเป็นการปกครองระบบศักดินาโดยสมบูรณ์ ด้านเศรษฐกิจก็เจริญรุ่งเรืองมาก เนื่องจากทำการค้ากับจีนสมัยหมิงด้านวัฒนธรรม ลัทธิเซนเป็นส่วนเพิ่มเติมให้กับวัฒนธรรมของชนชั้นปกครองและชนชั้นนักรบ ซึ่งเห็นรูปแบบได้จากตำหนักทอง (Kinkaku) ในปลายศตวรรษที่ 14 อันเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมคิตะยะมะ (Kitayama) และตำหนักเงิน (Ginkaku) ในปลายศตวรรษที่ 15 อันเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมฮิงะชิยะมะ (Higashiyama) การละคร อย่างเช่น โน เคียวเง็น และการต่อเพลง ก็เริ่มแพร่หลายสู่ประชาชนภายนอก ศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่น อย่างเช่น พิธีชงชา การจัดดอกไม้ ก็เริ่มมีรากฐานมาจากยุคนี้ และในช่วงกลางศตวรรษที่ 16 พวกฝรั่ง เช่น ชาติโปรตุเกส และสเปนก็ได้นำอาวุธปืนยาวและศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ที่ญี่ปุ่น.

ใหม่!!: จักรพรรดิโกะ-ไดโงะและยุคมุโระมะชิ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคราชสำนักเหนือ-ใต้

ยุคราชสำนักเหนือ-ใต้ (Northern and Southern Courts period) ยุคแห่งความวุ่นวายในการอ้างสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศโดยดำเนินไปใน ยุคอะซุชิโมะโมะยะมะ หรือตรงกับยุค รัฐบาลโชกุนอะชิกะงะ ในช่วงปี พ.ศ. 1877 - พ.ศ. 1935 แผนที่ที่แสดงถึงที่ตั้งราชสำนักของฝั่งเหนือและฝั่งใต้ ในยุคนี้ ราชสำนักเหนือ สถาปนาโดย รัฐบาลโชกุนอะชิกะงะ โดยมีราชธานีอยู่ที นครหลวงเฮอัง หรือ เคียวโตะ ในปัจจุบันส่วน ราชสำนักใต้ สถาปนาโดย จักรพรรดิโกะ-ไดโงะ โดยมีราชธานีอยู่ที่เมือง โยะชิโนะ โดยความขัดแย้งของทั้งสองราชสำนักกินเวลายาวนานประมาณเกือบ 60 ปีจนกระทั่ง จักรพรรดิโกะ-คะเมะยะมะ จักรพรรดิองค์ที่ 99 และจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชสำนักใต้ทรงประกาศยอมแพ้ต่อ จักรพรรดิโกะ-โคะมะสึ แห่งราชสำนักเหนือเมื่อปี พ.ศ. 1935 ทำให้ยุคสองราชสำนักสิ้นสุดลงซึ่งราชสำนักญี่ปุ่นในปัจจุบันนั้นสืบเชื้อสายจากราชสำนักเหนือ หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น.

ใหม่!!: จักรพรรดิโกะ-ไดโงะและยุคราชสำนักเหนือ-ใต้ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ

รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ (鎌倉幕府 Kamakura bakufu) เป็นระบอบการปกครองโดยทหารในญี่ปุ่น อันมีประมุขของรัฐบาลคือโชกุน ตั้งแต..

ใหม่!!: จักรพรรดิโกะ-ไดโงะและรัฐบาลโชกุนคะมะกุระ · ดูเพิ่มเติม »

ราชสำนักใต้

ราชสำนักใต้ (Southern Court) ราชสำนักที่จักรพรรดิ 4 พระองค์ทรงปกครองในช่วง ยุคราชสำนักเหนือ-ใต้ โดยปกครองในช่วงปี ค.ศ. 1338 - ค.ศ. 1392 ซึ่งยุคนี้ได้สิ้นสุดลงเมื่อ จักรพรรดิโกะ-คะเมะยะมะ จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชสำนักใต้ได้ประกาศยอมแพ้ต่อ จักรพรรดิโกะ-โคะมะสึ แห่ง ราชสำนักเหนือ ที่มาของชื่อมาจากที่ตั้งเมืองหลวงของราชสำนักใต้คือ โยะชิโนะ (ปัจจุบันคืออำเภอหนึ่งใน จังหวัดนะระ) นั้นตั้งอยู่ทางใต้ของ นครหลวงเคียวโตะ เมืองหลวงของ ราชสำนักเหนือ ซึ่งบางทีก็เรียกว่า ราชสำนักโยะชิโนะ โดยราชสำนักใต้มีชื่อราชสกุลว่า ไดกะกุจิ ซึ่งมีที่มาจากชื่อพระตำหนักที่ใช้ว่าราชการในวัดของ จักรพรรดิโกะ-อุดะ พระราชโอรสของ จักรพรรดิคะเมะยะมะ ผู้เป็นต้นราชสกุล.

ใหม่!!: จักรพรรดิโกะ-ไดโงะและราชสำนักใต้ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: จักรพรรดิโกะ-ไดโงะและรายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

วัดเท็นรีว

วัดเท็นรีว หรือ วัดมังกรสวรรค์ เป็นวัดเอกของนิกายเซน สำนักรินไซ สาขาเท็นรีว ตั้งอยู่ในเขตอุเกียว ในนครเคียวโตะ วัดนี้ถูกสร้างขึ้นโดยอะชิกะงะ ทะกะอุจิ ปฐมโชกุนแห่งอะชิกะงะ เริ่มก่อสร้างในปี..

ใหม่!!: จักรพรรดิโกะ-ไดโงะและวัดเท็นรีว · ดูเพิ่มเติม »

สงครามปีเก็งโก

งครามปีเก็งโก (Genkō War) สงครามกลางเมืองของประเทศญี่ปุ่นที่นำไปสู่การล่มสลายของ รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ และการหมดอำนาจของ ตระกูลโฮโจ ที่เป็นตระกูลผู้สำเร็จราชการซึ่งชื่อ เก็งโก เป็นชื่อรัชศกของ จักรพรรดิโกะ-ไดโงะ แห่ง ราชสำนักใต้ ระหว่าง..

ใหม่!!: จักรพรรดิโกะ-ไดโงะและสงครามปีเก็งโก · ดูเพิ่มเติม »

อะชิกะงะ ทะกะอุจิ

อะชิกะงะ ทะกะอุจิ (Ashikaga Takauji,足利尊氏) เป็น โชกุน คนแรกแห่ง รัฐบาลโชกุนอะชิกะง.

ใหม่!!: จักรพรรดิโกะ-ไดโงะและอะชิกะงะ ทะกะอุจิ · ดูเพิ่มเติม »

อะโนะ ยะซุโกะ

ภาพวาดของอะโนะ ยะซุโกะ อะโนะ ยะซุโกะ (1301 – 26 พฤษภาคม 1359) เมื่อออกบวชได้ฉายาทางธรรม ชินไทเก็นมนอิง (新待賢門院) พระสนมในจักรพรรดิญี่ปุ่นโดยเป็นพระสนมใน จักรพรรดิโกะ-ไดโงะ จักรพรรดิองค์ที่ 96 และเป็นพระราชมารดาใน จักรพรรดิโกะ-มุระกะมิ จักรพรรดิองค์ที่ 97 และเป็นพระอัยยิกาใน จักรพรรดิโชเก จักรพรรดิองค์ที่ 98 และ จักรพรรดิโกะ-คะเมะยะมะ จักรพรรดิองค์ที่ 99 หมวดหมู่:บุคคลในยุคคะมะกุระ หมวดหมู่:บุคคลในยุคมุโระมะจิ หมวดหมู่:ราชวงศ์ญี่ปุ่น.

ใหม่!!: จักรพรรดิโกะ-ไดโงะและอะโนะ ยะซุโกะ · ดูเพิ่มเติม »

อิสึสึจิ มุเนะโกะ

อิสึสึจิ มุเกะโนะ เป็นพระสนมในจักรพรรดิโกะ-นิโจ จักรพรรดิองค์ที่ 94 จากราชสกุลไดกะกุจิและเป็นพระมารดาของพระโอรสถึง 2 พระองค์คือ เจ้าชายคุนิโยะชิ องค์รัชทายาทใน จักรพรรดิโกะ-ไดโงะ จักรพรรดิองค์ที่ 96 และ เจ้าชายคุนิมิ หมวดหมู่:บุคคลในยุคคะมะกุระ หมวดหมู่:ราชวงศ์ญี่ปุ่น.

ใหม่!!: จักรพรรดิโกะ-ไดโงะและอิสึสึจิ มุเนะโกะ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฮะนะโซะโนะ

นหลวงของจักรพรรดิฮะนะโซะโนะ จักรพรรดิฮะนะโซะโนะ (Emperor Hanazono) จักรพรรดิองค์ที่ 95 แห่ง ราชวงศ์ญี่ปุ่น ตามที่ได้บันทึกไว้ใน รายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น จักรพรรดิฮะนะโซะโนะทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1851 - พ.ศ. 1861.

ใหม่!!: จักรพรรดิโกะ-ไดโงะและจักรพรรดิฮะนะโซะโนะ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิโกะ-มุระกะมิ

มเด็จพระจักรพรรดิโกะ-มุระกะมิ (ค.ศ. 1328 - 29 มีนาคม ค.ศ. 1368) ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นรัชกาลที่ 97 ตามการสืบราชบัลลังก์ตามแบบแผนดั้งเดิม และทรงเป็นสมาชิกในราชสำนักฝ่ายใต้ระหว่างยุคนันโบะกุ-โช ของราชสำนักฝ่ายเหนือ พระองค์ทรงอยู่ในราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1339 ถึงวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 1368 (ปีโชเฮย์ที่ 23, วันที่ 11 เดือน 3).

ใหม่!!: จักรพรรดิโกะ-ไดโงะและจักรพรรดิโกะ-มุระกะมิ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิโกะ-อุดะ

ักรพรรดิโกะ-อุดะ (Emperor Go-Uda; 17 ธันวาคม 1810 — 16 กรกฎาคม 1867) จักรพรรดิองค์ที่ 91 แห่ง ราชวงศ์ญี่ปุ่น ครองราชย์ระหว่างปี 1817-1830.

ใหม่!!: จักรพรรดิโกะ-ไดโงะและจักรพรรดิโกะ-อุดะ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิโคงง

ักรพรรดิโคงง (Emperor Kōgon) จักรพรรดิผู้อ้างสิทธิใน ราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ พระองค์ที่ 1 ตามที่ได้บันทึกไว้ใน รายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น ทรงครองสิริราชสมบัติระหว่างปี ค.ศ. 1331 - ค.ศ. 1333.

ใหม่!!: จักรพรรดิโกะ-ไดโงะและจักรพรรดิโคงง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิโคเมียว

ักรพรรดิโคเมียว (Emperor Kōmyō) จักรพรรดิผู้อ้างสิทธิใน ราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ พระองค์ที่ 2 จาก ราชสำนักเหนือ ตามที่ได้บันทึกไว้ใน รายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น โดยครองสิริราชสมบัติระหว่างปี ค.ศ. 1336 - ค.ศ. 1348.

ใหม่!!: จักรพรรดิโกะ-ไดโงะและจักรพรรดิโคเมียว · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิไดโงะ

ักรพรรดิไดโงะ (Emperor Daigo) จักรพรรดิองค์ที่ 60 แห่ง ราชวงศ์ญี่ปุ่น ตามที่ได้จัดเรียงไว้ใน รายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น จักรพรรดิไดโงะทรงครอง ราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ ระหว่างปี ค.ศ. 897 - ค.ศ. 930 พระนามของจักรพรรดิไดโงะต่อมาได้ถูกนำไปเป็นพระนามของ จักรพรรดิโกะ-ไดโงะ จักรพรรดิองค์ที่ 96 และจักรพรรดิองค์แรกแห่ง ราชสำนักเหนือ แห่ง ยุคราชสำนักเหนือ-ใต้ ในช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 14.

ใหม่!!: จักรพรรดิโกะ-ไดโงะและจักรพรรดิไดโงะ · ดูเพิ่มเติม »

คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ

ซุโนะกิ มะซะชิเงะ (ค.ศ. 1294 ถึง ค.ศ. 1336) เป็นซะมุไรในช่วงต้นยุคมุโระมะชิ เป็นซะมุไรคนสำคัญซึ่งสู้รบอยู่ในฝ่ายของพระจักรพรรดิโกะ-ไดโงะ อนุสาวรีย์ของคุซุโนะกิ มะซะชิเงะ ในสวนของพระราชวังอิมพีเรียลนครโตเกียว ชีวิตในวัยเยาว์ของคุซุโนะกิ มะซะชิเงะ และความเป็นมาของตระกูลคุซุโนะกิ ไม่ได้รับการบันทึกไว้ คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ เป็นซะมุไรระดับล่าง อาศัยอยู่ในแคว้นคะวะชิ (จังหวัดโอซะกะในปัจจุบัน) เมื่อพระจักรพรรดิโกะ-ไดโงะ ทรงประกาศเชื้อเชิญให้บรรดาซะมุไรทั้งหลายที่ไม่พอใจการปกครองของรัฐบาลโชกุนคะมะกุระเข้าร่วมกับกองกำลังของพระองค์ในการล้มล้างรัฐบาลโชกุนฯ ในปีค.ศ. 1331 คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ ประกาศตนเข้ากับฝ่ายของพระจักรพรรดิโกะ-ไดโงะ และสร้างกองกำลังอยู่ที่ป้อมอะกะซะกะ ในแคว้นคะวะชิ ซึ่งเจ้าชายโมะริโยะชิ พระโอรสของจักรพรรดิโกะ-ไดโงะเสด็จมายังป้อมอะกะซะกะเพื่อทรงร่วมนำทัพในการต่อต้านรัฐบาลโชกุน แต่ทว่าตระกูลโฮโจแห่งรัฐบาลโชกุนฯส่งกองทัพมาเข้าล้อมป้อมอะกะซะกะและสามารถยึดป้อมได้ คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ นำเจ้าชายโมะริโยะชิเสด็จหนีออกจากป้อมอะกะซะกะ จากนั้นมะซะชิเงะรวบรวมกำลังได้อีกครั้งที่ป้อมชิฮะยะ ทัพของตระกูลโฮโจเข้าล้อมป้อมชิฮะยะแต่ไม่สำเร็จ เมื่อไม่สามารถปราบกองกำลังของจักรพรรดิโกะ-ไดโงะได้ รัฐบาลโชกุนคะมะกุระจึงส่งอะชิกะงะ ทะกะอุจิ ยกทัพมาปราบกองกำลังของจักรพรรดิโกะ-ไดโงะ แต่ทว่าอะชิกะงะ ทะกะอุจิ แปรพักตร์มาเข้ากับฝ่ายของจักรพรรดิโกะ-ไดโงะ และเข้ายึดนครหลวงเคียวโตะถวายแด่พระจักรพรรดิ ส่วนนิตตะ โยะชิซะดะ ยกทัพเข้ายึดเมืองคะมะกุระ ทำให้รัฐบาลโชกุนคะมะกุระสิ้นสุดลง พระจักรพรรดิโกะ-ไดโงะ ทรงฟื้นฟูการปกครองซึ่งมีราชสำนักเมืองเกียวโตเป็นศูนย์กลางขึ้นมาใหม่ เรียกว่า การฟื้นฟูเป็นเค็มมุ (Kemmu Restoration) และลดอำนาจของชนชั้นซะมุไร สร้างความไม่พอใจให้แก่ชนชั้นซะมุไรโดยทั่วไป ในค.ศ. 1335 อะชิกะงะ ทะกะอุจิ แยกตนออกไปเพื่อก่อตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นมาอีกครั้ง ในขณะที่คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ และนิตตะ โยะชิซะดะ ยังคงจงรักภักดีต่อพระจักรพรรดิโกะ-ไดโงะ อะชิกะงะ ทะกะอุจิ ยกทัพเข้าประชิดเมืองเกียวโตในค.ศ. 1335 คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ สามารถขับไล่ทัพของอะชิกะงะออกไปได้ แต่ทว่าในปีต่อมาค.ศ. 1336 อะชิกะงะ ทะกะอุจิ สามารถรวบรวมกำลังพลขนาดใหญ่ทั้งทางน้ำและทางบกเข้ามายังเมืองเกียวโต คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ ถวายคำแนะนำแด่จักรพรรดิโกะ-ไดโงะ ว่าควรจะเสด็จออกจากนครเกียวโตไปก่อนเพื่อไปทำการตั้งรับนอกเมือง เนื่องจากทัพของอะชิกะงะมีขนาดใหญ่เกินรับมือ แต่จักรพรรดิโกะ-ไดโงะและนิตตะ โยะชิซะดะ ยืนกรานที่จะตั้งรับอยู่ภายในนครหลวงเกียวโต แม้จะทราบดีว่าการสู้รบในครั้งนี้มีโอกาสชนะน้อย แต่คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ ยังคงปฏิบัติตามพระราชโองการของจักรพรรดิโกะ-ไดโงะ ยกทัพออกไปตั้งรับต่อกรกับอะชิกะงะ ในยุทธการที่มินะโตะงะวะ ทัพของนิตตะ โยะชิซะดะ ถูกโจมตีจนถอยร่นไป เหลือเพียงคุซุโนะกิ มะซะชิเงะ เผชิญหน้ากับทัพขนาดใหญ่ของอะชิกะงะ ทะดะโยะชิ ( ) ซึ่งเป็นน้องชายของอะชิกะงะ ทะกะอุจิ เพื่อประสบกับความพ่ายแพ้ คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ จึงทำการเซ็ปปุกุเสียชีวิต หลังจากที่คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ เสียชีวิตไปแล้ว อะชิกะงะ ทะกะอุจิ สามารถเข้ายึดเมืองเกียวโตได้ ก่อตั้งรัฐบาลโชกุนอะชิกะงะ บุตรชายของมะซะชิเงะ คือ คุซุโนะกิ มะซะซึระ รับช่วงต่อหน้าที่การนำทัพของพระราชวงศ์ฝ่ายใต้ในรัชสมัยของจักรพรรดิโกะ-มุระกะมิ คุซุโนะกิ มะซะซึระ เสียชีวิตระหว่างสงครามในค.ศ. 1348 จากนั้นบุตรชายอีกคนของมะซะชิเงะ คือ คุซุโนะกิ มะซะโนะริ ขึ้นเป็นผู้นำทัพของพระราชวงศ์ฝ่ายใต้ต่อมา นักวิชาการในยุคเมจิยกย่องเชิดชู คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ ให้เป็นตัวอย่างของความจงรักภักดีต่อสถาบันพระจักรพรรดิญี่ปุ่น ในยุคเมจิมีการสร้างอนุสาวรีย์ของคุซุโนะกิ มะซะชิเงะ ขึ้นในพระราชวังอิมพีเรียลเมืองโตเกียว และคุซุโนะกิ มะซะชิเงะ ยังเป็นแบบอย่างให้แก่กองกำลังคะมิกะเซะในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองอีกด้ว.

ใหม่!!: จักรพรรดิโกะ-ไดโงะและคุซุโนะกิ มะซะชิเงะ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: จักรพรรดิโกะ-ไดโงะและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

นิตตะ โยะชิซะดะ

นิตตะ โยะชิซะดะ ( ค.ศ. 1300 ถึง ค.ศ. 1338) ซะมุไรซึ่งมีช่วงชีวิตอยู่ในปลายยุคคะมะกุระและต้นยุคมุโระมะชิ เป็นผู้ล้มล้างรัฐบาลโชกุนคะมะกุระ นิตตะ โยะชิซะดะ นิตตะ โยะชิซะดะ เป็นโกะเกะนิง ( ) หรือซะมุไรผู้ปกครองผืนดินอยู่ที่เมืองนิตตะ (ปัจจุบันอยู่ที่เมืองโอตะ จังหวัดกุมมะ) ในแคว้นโคซุเกะ ตระกูลนิตตะสืบเชื้อสายมาจากตระกูลเซวะเง็งจิ ( ) เฉกเช่นเดียวกับตระกูลอะชิกะงะ ในค.ศ. 1333 จักรพรรดิโกะ-ไดโงะ ทรงประกาศเชื้อเชิญให้บรรดาซะมุไรทั้งหลายที่ไม่พอใจการปกครองของรัฐบาลโชกุนเมืองคะมะกุระเข้าร่วมกับกองกำลังของพระองค์ในการล้มล้างรัฐบาลโชกุนฯ เรียกว่า สงครามปีเก็งโก ในขณะที่อะชิกะงะ ทะกะอุจิ ( ) ยึดเมืองเคียวโตะถวายแด่พระจักรพรรดิโกะ-ไดโงะนั้น นิตตะ โยะชิซะดะ ยกทัพจากแคว้นโคซุเกะทางไปทางใต้เพื่อเข้ายึดเมืองคะมะกุระ หลังจากที่มีชัยชนะเหนือทัพของรัฐบาลโชกุนในยุทธการที่บุบะอิงะวะระ (เขตฟุชู เมืองโตเกียวในปัจจุบัน) นิตตะ โยะชิซะดะจึงยกทัพเข้าประชิดเมืองคะมะกุระ แต่ทว่าชัยภูมิของเมืองคะมะกุระมีภูเขาล้อมรอบสามด้าน การโจมตีเมืองคะมะกุระนั้นต้องผ่านทางทะเลผ่านแหลมอินะมุระงะซะกิ นิตตะ โยะชิซะดะ จึงทำพิธีเซ่นไหว้เทพเจ้าแห่งทะเล โดยการโยนดาบลงไปในทะเล หลังจากเสร็จสิ้นพิธีคลื่นทะเลกลับเปลี่ยนทิศไปในทางที่ส่งเสริมทัพของโยะชิซะดะ โยะชิซะดะจึงสามารถยึดเมืองคะมะกุระได้ ผู้สำเร็จราชการคนสุดท้ายคือ โฮโจ ทะกะโตะกิ ทำการเซ็ปปุกุเสียชีวิตไปพร้อมกับขุนนางซะมุไรทั้งหลายในรัฐบาลโชกุนคะมะกุระ นิตตะ โยะชิซะดะ ทำพิธีบวงสรวงเทพเจ้าแห่งทะเล ที่แหลมอินะมุระงะซะกิ หลังจากการล่มสลายของรัฐบาลคะมะกุระ จักรพรรดิโกะ-ไดโงะทรงก่อตั้งการปกครองขึ้นมาใหม่โดยมีอำนาจและศูนย์กลางอยู่ที่ราชสำนักเมืองเกียวโต ดังที่เคยเป็นมาในยุคเฮอัง และลดอำนาจของชนชั้นซะมุไร เรียกว่า การฟื้นฟูปีเค็มมุ (Kemmu Restoration) สร้างความไม่พอใจให้แก่ชนชั้นซะมุไรโดยทั่วไป ในค.ศ. 1335 อะชิกะงะ ทะกะอุจิ แยกตนออกไปเพื่อก่อตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นมาอีกครั้ง ในขณะที่นิตตะ โยะชิซะดะ ยังคงจงรักภักดีต่อพระจักรพรรดิโกะ-ไดโงะ โดยที่นิตตะ โยะชิซะดะ เป็นคู่แข่งคนสำคัญของอะชิกะงะทะกะอุจิ นิตตะ โยะชิซะดะ ยกทัพไปปราบอะชิกะงะ ทะกะอุจิ ที่เมืองคะมะกุระแต่พ่ายแพ้ ทำให้อะชิกะงะ ทะกะอุจิ สามารถยกทัพเข้าประชิดเมืองเกียวโตได้ คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ ป้องกันเมืองเกียวโตได้สำเร็จทำให้ทะกะอุจิต้องถอยร่นไป ในค.ศ. 1336 อะชิกะงะ ทะกะอุจิ ยกทัพมาอีกครั้งเป็นทัพขนาดใหญ่ทั้งทางบกและทางทะเลเข้ามายังเมืองเกียวโต คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ เสนอว่าควรจะให้จักรพรรดิโกะ-ไดโงะเสด็จออกจากนครเกียวโตไปก่อนเพื่อไปทำการตั้งรับนอกเมือง เนื่องจากทัพของอะชิกะงะมีขนาดใหญ่ แต่นิตตะ โยะชิซะดะ ยืนกรานที่จะตั้งรับอยู่ภายในนครหลวงเกียวโต ในยุทธการที่มินะโตะงะวะ ทัพของนิตตะ โยะชิซะดะ ถูกโจมตีจนถอยร่นไป ส่งผลให้ทัพของฝ่ายพระจักรพรรดิพ่ายแพ้ต่อทัพของอะชิกะงะ อะชิกะงะ ทะกะอุจิ สามารถเข้ายึดนครเกียวโตได้ นิตตะ โยะชิซะดะ จึงนำองค์จักรพรรดิโกะ-ไดโงะเสด็จหลบหนีไปยังวัดเขาฮิเอ ชานเมืองเกียวโต และเสด็จหนีต่อไปยังเมืองโยะชิโนะ (จังหวัดนะระในปัจจุบัน) เพื่อก่อตั้งราชสำนักขึ้นมาใหม่ที่นั่น กลายเป็นพระราชวงศ์ฝ่ายใต้ ในขณะที่อะชิกะงะ ทะกะอุจิ ก็ตั้งองค์จักรพรรดิขึ้นใหม่อีกองค์ที่เมืองเกียวโต ซึ่งต่อมากลายเป็นพระราชวงศ์ฝ่ายเหนือ เป็นจุดเริ่มต้นของ ยุคราชวงศ์เหนือใต้ ในค.ศ. 1337 จักรพรรดิโกะ-ไดโงะมีพระราชโองการให้นิตตะ โยะชิซะดะ นำพระโอรสสองพระองค์คือ เจ้าชายทะกะนะกะ และเจ้าชายซึเนะนะกะ เสด็จไปยังแคว้นเอะชิเซ็ง (จังหวัดฟุกุอิในปัจจุบัน) ทางตะวันออกอันห่างไกลเพื่อสร้างกองกำลังขึ้นมาเพื่อยึดอำนาจคืนจากรัฐบาลโชกุนอะชิกะงะ แต่ทว่าทัพของรัฐบาลโชกุนใหม่ยกทัพติดตามมา ทำให้นิตตะ โยะชิซะดะ และเจ้าชายทั้งสองถูกทัพของรัฐบาลโชกุนฯห้อมล้อมอยู่ที่ป้อมคะเนะงะซะกิ ต่อมาป้อมคะเนะงะซะกิแตกทัพของรัฐบาลโชกุนฯสามารถเข้ายึดป้อมได้ นิตตะ โยะชิอะกิ บุตรชายคนโตของโยะชิซะดะ ทำการเซ็ปปุกุเสียชีวิต เจ้าชายทั้งสองพระองค์ถูกปลงพระชนม์ ส่วนนิตตะ โยะชิซะดะนั้น หลบหนีออกไปได้ ในค.ศ. 1338 โยะชิซะดะรวบรวมกำลังเข้าโจมตีป้อมคุโระมะรุ ซึ่งเป็นป้อมของรัฐบาลโชกุนฯ ในขณะการสู้รบที่ป้อมคุโระมะรุ ม้าของโยะชิซะดะต้องธนูและล้มทับร่างของโยะชิซะดะทำให้ไม่สามารถขยับได้ เมื่อเห็นว่าตนเองกำลังพ่ายแพ้ ตามวรรณกรรมเรื่อง "ไทเฮกิ" นิตตะ โยะชิซะดะ ได้ใช้ดาบตัดศีรษะของตนเอง จนถึงแก่ความตายในที่สุด หลังจากที่นิตตะ โยะชิซะดะ เสียชีวิตไปแล้ว บุตรหลานที่ยังคงมีชีวิตรอดของโยะชิซะดะ เปลี่ยนชื่อสกุลจากนิตตะเป็น อิวะมะซึ และกลับไปครองเมืองนิตตะที่แคว้นโคซุเกะตามเดิมไปตลอดจนถึงยุคเอ.

ใหม่!!: จักรพรรดิโกะ-ไดโงะและนิตตะ โยะชิซะดะ · ดูเพิ่มเติม »

โชกุน

กุน เป็นผู้ใช้อำนาจเผด็จการทหารแห่งญี่ปุ่นระหว่าง..

ใหม่!!: จักรพรรดิโกะ-ไดโงะและโชกุน · ดูเพิ่มเติม »

โยะชิโนะ, นะระ

โยะชิโนะ เมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในเขต อำเภอโยะชิโนะ จังหวัดนะระ ซึ่งเมืองแห่งนี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เพราะเคยเป็นที่ตั้งเมืองหลวงของทางฝั่ง ราชสำนักใต้ ที่สืบเชื้อสายจาก จักรพรรดิโกะ-ไดโงะ จักรพรรดิองค์ที่ 96 ใน ยุคราชสำนักเหนือ-ใต้ กระทั่งยุคราชสำนักเหนือ-ใต้สิ้นสุดลงทำให้เมืองหลวงย้ายกลับไปอยู่ที่ เคียวโตะ ดังเดิมโยะชิโนะจึงหมดความสำคัญลงไป หมวดหมู่:จังหวัดนะระ.

ใหม่!!: จักรพรรดิโกะ-ไดโงะและโยะชิโนะ, นะระ · ดูเพิ่มเติม »

โคโกะกุ

กุ เป็นศักราชญี่ปุ่นในสมัยที่ญี่ปุ่นมีจักรพรรดิอยู่สององค์ซึ่งแบ่งเป็นราชสำนักเหนือ-ใต้ ยุคนี้อยู่หลังศักราชเอ็งเง็งและอยู่ก่อนศักราชโชเฮ กินเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: จักรพรรดิโกะ-ไดโงะและโคโกะกุ · ดูเพิ่มเติม »

ไซออนจิ โนะ คิชิ

ซออนจิ โนะ คิชิ (1846 – 19 พฤศจิกายน 1876) จักรพรรดินีแห่งญี่ปุ่นโดยพระองค์เป็นจักรพรรดินีหรือ ชูงู ใน จักรพรรดิโกะ-ไดโงะ จักรพรรดินีคิชิเป็นธิดาคนที่ 3 ของ ไซออนจิ ซะเนะกะเนะ ต่อมาพระองค์ได้ถวายตัวต่อ เจ้าชายทะกะฮะรุ องค์รัชทายาทในรัชสมัย จักรพรรดิฮะนะโซะโนะ เมื่อ..

ใหม่!!: จักรพรรดิโกะ-ไดโงะและไซออนจิ โนะ คิชิ · ดูเพิ่มเติม »

ไซโอ

ก ตำนานเก็นจิ แสดงการใช้ชีวิตในไซกุ รายพระนามของผู้ที่ดำรงตำแหน่งไซโอ ไซโอ หรือที่รู้จักในชื่อ อิสึกิ โนะ มิโกะ (Itsuki no Miko) ตำแหน่งหัวหน้านักบวชหญิงประจำ ศาลเจ้าอิเสะ ซึ่งส่วนมากผู้ที่ดำรงตำแหน่งนี้เป็นเจ้าหญิงหรือเชื้อพระวงศ์ฝ่ายหญิงที่มีความเกี่ยวข้องกับองค์จักรพรรดิซึ่งยังไม่ผ่านการเสกสมรส โดยผู้ที่ดำรงตำแหน่งนี้เป็นองค์แรกคือ เจ้าหญิงโอกุ พระราชธิดาใน จักรพรรดิเท็มมุ จักรพรรดิองค์ที่ 40 เมื่อ..

ใหม่!!: จักรพรรดิโกะ-ไดโงะและไซโอ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายคุนิโยะชิ

ประตูหน้าพระสุสานของเจ้าชายคุนิโยะชิ เจ้าชายคุนิโยะชิ (1843 – 23 เมษายน 1869) เจ้าชายและอดีตรัชทายาทแห่งราชวงศ์ญี่ปุ่นโดยพระองค์เป็นพระราชโอรสใน จักรพรรดิโกะ-นิโจ จักรพรรดิองค์ที่ 94 ที่ประสูติแต่ อิสึสึจิ มุเกะโนะ เมื่อเจ้าชายทะกะฮะรุผู้เป็นพระปิตุลา (อา) ขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็น จักรพรรดิโกะ-ไดโงะ จักรพรรดิองค์ที่ 96 ใน..

ใหม่!!: จักรพรรดิโกะ-ไดโงะและเจ้าชายคุนิโยะชิ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงจุนชิ

เจ้าหญิงจุนชิ (Imperial Princess Junshi) จักรพรรดินีลำดับที่ 2 หรือ ชูงู ใน จักรพรรดิโกะ-ไดโงะ จักรพรรดิองค์ที่ 96 และจักรพรรดิองค์แรกของ ราชสำนักใต้ จาก ราชสกุลไดกะกุจิ เป็นพระราชธิดาใน จักรพรรดิโกะ-ฟุชิมิ จักรพรรดิองค์ที่ 94 และเป็นพระเชษฐภคินี (พี่สาว) ของ จักรพรรดิโคงง จักรพรรดิผู้อ้างสิทธิ์องค์ที่ 1 และ จักรพรรดิโคเมียว จักรพรรดิผู้อ้างสิทธิ์องค์ที่ 2 จาก ราชสกุลจิเมียวอิง หมวดหมู่:จักรพรรดินีญี่ปุ่น.

ใหม่!!: จักรพรรดิโกะ-ไดโงะและเจ้าหญิงจุนชิ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงคินชิ

้าหญิงคินชิ (13 พฤศจิกายน 1858 – 30 พฤษภาคม 1905) เจ้าหญิงแห่งราชวงศ์ญี่ปุ่นโดยพระองค์เป็นพระราชธิดาใน จักรพรรดิโกะ-ไดโงะ และเป็น เจ้าหญิงพระชายา ใน จักรพรรดิโคงง.

ใหม่!!: จักรพรรดิโกะ-ไดโงะและเจ้าหญิงคินชิ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงโชชิ (1829–1891)

้าหญิงโชชิ (28 กันยายน 1829 – 23 พฤศจิกายน 1891) จักรพรรดินีแห่งญี่ปุ่นโดยพระองค์ได้รับการสถาปนาเมื่อ..

ใหม่!!: จักรพรรดิโกะ-ไดโงะและเจ้าหญิงโชชิ (1829–1891) · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงโชชิ (แก้ความกำกวม)

้าหญิงโชชิ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: จักรพรรดิโกะ-ไดโงะและเจ้าหญิงโชชิ (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »