โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

งูเห่าหม้อ

ดัชนี งูเห่าหม้อ

งูเห่าหม้อ หรือ งูเห่าไทย หรือ งูเห่าดง หรือ งูเห่าปลวก (Siamese cobra, Monocled cobra) เป็นงูพิษร้ายแรงชนิดหนึ่ง จำพวกงูเห่า อยู่ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) หัวมีลักษณะกลมเรียว หางเรียวยาว มีสีสันลำตัวต่าง ๆ ทั้ง สีดำ, เขียว หรือน้ำตาลเหลืองหรือน้ำตาลเข้ม รวมทั้งเป็นสีขาวนวลปลอดตลอดทั้งตัวด้วย โดยที่มิใช่เป็นงูเผือกเรียกว่า "งูเห่านวล" (N. k. var. suphanensis Nutaphand, 1986) มีทั้งที่มีลายตามตัว และไม่มีลาย ไม่มีดอกจัน พบที่แถบจังหวัดสุพรรณบุรี ตัวผู้หัวจะทู่ใหญ่ พังพานจะแผ่กว้างเป็นวงกลม ส่วนตัวเมียหัวจะหลิมปลายจมูกเรียว พังพานแคบกว่าตัวผู้ โดยงูเห่าชนิดนี้สามารถแผ่พังพานได้กว้างกว่างูเห่าชนิดอื่น ๆ และใกล้เคียงกับงูเห่าอินเดีย (N. naja) ที่พบได้ในประเทศอินเดีย และเมื่อยกตัวชูคอแผ่พังพานได้สูงที่สุดประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวลำตัว เกล็ดบนหัวมีขนาดใหญ่ จัดเป็นงูเห่าที่มีขนาดใหญ่มากชนิดหนึ่ง โดยความยาวเฉลี่ยเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 100–180 เซนติเมตร โดยขนาดยาวที่สุดที่วัดได้ของสถานเสาวภา โดยสภากาชาดไทย คือ 225 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์อย่างชุกชุมในประเทศไทย โดยพบได้ทุกภาค พบชุกชุมโดยเฉพาะภาคกลาง นอกจากนี้แล้วยังพบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่อินเดีย, เนปาล, พม่า, จีน, เวียดนาม, กัมพูชา, ลาว ไปจนถึงแหลมมลายู ในประเทศไทยถือเป็นงูเห่าชนิดที่พบได้ชุกชุมมากที่สุด โดยมักในบริเวณที่ลุ่มค่อนข้างชื้น มักอาศัยอยู่ในจอมปลวก, ทุ่งนา หรือพบบนภูเขาที่ระดับความสูง 900 เมตรจากระดับน้ำทะเล ออกหากินในเวลาพลบค่ำโดยหากินตามพื้นดิน ผสมพันธุ์ช่วงเดือนสิงหาคมถึงมกราคม วางไข่ครั้งละ 15–37 ฟอง ในช่วงเดือนตุลาคมถึงมีนาคม ระยะฟักไข่นาน 51–69 วัน (เฉลี่ย 60 วัน) เมื่อแรกเกิดมีน้ำหนัก 13.2–18.8 กรัม และความยาว 31.5–35.5 เซนติเมตร กินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเช่น หนู และ นก, กบ, เขียด และบางครั้งก็กินงูชนิดอื่นเป็นอาหาร.

4 ความสัมพันธ์: วงศ์งูพิษเขี้ยวหน้างูเห่างูเห่าพ่นพิษสยามงูเห่าอินเดีย

วงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า

วงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Elapidae; Cobra, Sea snake, King cobra, Taipan, Mamba) เป็นวงศ์ของงูวงศ์หนึ่ง ที่มีพิษร้ายแรง สามารถทำให้มนุษย์หรือสัตว์ขนาดใหญ่ต่าง ๆ ตายได้เมื่อถูกพิษเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งคำว่า Elapidae ที่ใช้เป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์นั้นมาจากภาษากรีกคำว่า "éllops" หมายถึง งูทะเล มีลักษณะโดยทั่วไป คือ กระดูกพรีแมคซิลลาไม่มีฟัน กระดูกแมคซิลลาเรียงตัวตามยาวและมีฟันเขี้ยวขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจนอยู่ทางด้านหน้า ช่องเปิดของตาอยู่ตรงรอยต่อระหว่างกระดูกฟรอนทัล-กระดูกพาไรทัล-กระดูกพาราสฟีนอยด์ ขากรรไกรล่างไม่มีกระดูกโคโรนอยด์และกระดูกเดนทารีมีฟัน ไม่มีกระดูกเชิงกราน ไม่มีปอดข้างซ้ายหรือมีแต่ก็เล็กมาก มีท่อนำไข่ทั้งสองข้างและเจริญเท่ากัน เป็นวงศ์ที่มีจำนวนสมาชิกมาก กระจายไปอยู่ทั่วโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา จึงแบ่งออกเป็นวงศ์ย่อย ๆ ได้อีก 3 วงศ์ และแบ่งเป็นสกุลทั้งหมด 61 สกุล และแบ่งเป็นชนิดประมาณ 325 ชนิด เป็นวงศ์ของงูที่มีพิษร้ายแรง สมาชิกในวงศ์นี้ที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ งูเห่า (Naja kaouthia), งูจงอาง (Ophiophagus hannah) ซึ่งเป็นงูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ โดยความยาวเต็มที่อาจยาวได้ถึง 5.5 เมตร รวมถึงงูทะเลด้วย ซึ่งถูกจัดให้อยู่ในวงศ์ย่อย Hydrophiinae ซึ่งเป็นหนึ่งในวงศ์ย่อยของวงศ์นี้เลยทีเดียว โดยลักษณะแต่ละอย่างของวงศ์ย่อยต่าง ๆ แบ่งออกได้เป็นดังนี้.

ใหม่!!: งูเห่าหม้อและวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า · ดูเพิ่มเติม »

งูเห่า

งูเห่า (Cobras) เป็นงูพิษขนาดกลางที่อยู่ในสกุล Naja ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) วงศ์ย่อย Elapinae ซึ่งเป็นสกุลของงูพิษที่อาจเรียกได้ว่าเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดอย่างหนึ่ง.

ใหม่!!: งูเห่าหม้อและงูเห่า · ดูเพิ่มเติม »

งูเห่าพ่นพิษสยาม

งูเห่าพ่นพิษสยาม (Indo-Chinese cobra) เป็นงูเห่าจำพวกงูเห่าพ่นพิษ กล่าวคือ เป็นงูเห่าที่สามารถพ่นพิษได้ โดยสามารถพ่นพิษได้ไกล ถึง 5 – 8 เมตร เมื่อพ่นน้ำพิษหมดแล้ว สามารถผลิตน้ำพิษได้ในเวลา 10 นาที ก็สามารถพ่นน้ำพิษใหม่ได้ ขณะชูคอแผ่แม่เบี้ยขู่ ก็จะอ้าปากเพื่อเตรียมพ่นพิษใส่ศัตรู จะมีรูของเขี้ยวพิษ อยู่ทางด้านหน้า เพื่อสะดวกในการฉีดพ่นพิษออกไป และถ้าพิษเข้าตา ก็จะทำให้ตาบอดได้ ถ้าถูกพิษทางผิวหนังที่มีแผล ก็จะทำให้เกิดการอักเสบ แต่ไม่อันตรายมาก เพราะได้รับปริมาณพิษน้อ.

ใหม่!!: งูเห่าหม้อและงูเห่าพ่นพิษสยาม · ดูเพิ่มเติม »

งูเห่าอินเดีย

งูเห่าอินเดีย หรือ งูเห่าเอเชีย หรือ งูเห่าแว่น (Indian cobra, Asian cobra, Spectacled cobra) เป็นงูพิษชนิดหนึ่ง จำพวกงูเห่า ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) งูเห่าอินเดีย ถือว่าเป็นงูเห่าที่มีสายพันธุกรรมใกล้ชิดกับงูเห่าไทย (N. kaouthia) และงูเห่าพ่นพิษสยาม (N. siamensis) ซึ่งเดิม (หรือในบางข้อมูลจัดเป็นชนิดย่อยของกันและกัน) เคยเป็นชนิดเดียวกันมาก่อน งูเห่าอินเดีย พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในอนุทวีปอินเดียเช่น อินเดีย, ศรีลังกา, บังกลาเทศ, ปากีสถาน และเนปาล มักอาศัยอยู่ตามพื้นที่ราบ, ป่าโปร่ง หรือท้องทุ่ง, ทุ่งนา กินอาหารจำพวกสัตว์ที่มีขนาดเล็ก ได้แก่ หนู, คางคก, กบ, นก เป็นต้น งูเห่าอินเดียจะออกไข่ในช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคม โดยงูตัวเมียมักจะวางไข่ในรูหนู, จอมปลวก หรือเนินดิน เป็นจำนวน 10 ถึง 30 ฟอง มีระยะเวลาฟักไข่ 48 ถึง 69 วัน ปกติงูเห่าอินเดียมีความยาวประมาณ 1.9 เมตร แต่บางตัวก็ยาวมากถึง 2.4 เมตร แต่ค่อนข้างหายาก นอกจากนี้แล้วยังสามารถพบได้ในพื้นที่ ๆ สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 2,000 เมตร (ประมาณ 6,600 ฟุต)Whitaker, Romulus; Captain, Ashok (2004).

ใหม่!!: งูเห่าหม้อและงูเห่าอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Naja kaouthiaงูเห่าดงงูเห่าปลวกงูเห่าไทย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »