โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คำขวัญประจำชาติ

ดัชนี คำขวัญประจำชาติ

ำขวัญประจำชาติ (state motto) คือ สิ่งที่ใช้อธิบายประเทศต่างๆ โดยใช้วลีที่สั้น และกระชับ โดยเนื้อหาจะเกี่ยวกับ แนวความคิด แรงจูงใจ การปลุกใจ เอกลักษณ์ หรือความภาคภูมิใจสำหรับชาตินั้น.

5 ความสัมพันธ์: ธงชาติอิเควทอเรียลกินีธงชาติเบลีซทรีคัลเลอรส์ตราแผ่นดินของเบลีซเสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ

ธงชาติอิเควทอเรียลกินี

23px ธงชาติอิเควทอเรียลกินี สัดส่วนธง 2:3 ธงชาติอิเควทอเรียลกินี มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ภายในธงนั้น ที่ด้านติดคันธงมีรูปสามเหลี่ยมสีฟ้า ฐานยาวเท่าความกว้างของธง ความยาวเป็น 1 ใน 3 ของด้านยาวธง ส่วนที่เหลือแบ่งพื้นที่ภายในตามแนวนอนเป็น 3 แถบ ประกอบด้วยแถบสีเขียว สีขาว และสีแดง เรียงจากบนลงล่าง ทุกแถบนั้นกว้างเท่ากัน ที่ใจกลางแถบสีขาวนั้น มีภาพตราแผ่นดินของอิเควทอเรียลกินี ซึ่งเป็นรูปต้นฝ้ายในโล่สีเทา เบื้องบนมีรูปดาว 6 ดวงเรียงเป็นแถวโค้ง เบื้องล่างมีแพรแถบแสดงคำขวัญประจำชาติเป็นภาษาสเปนว่า Unidad Paz Justicia แปลว่า "เอกภาพ สันติภาพ ยุติธรรม" ธงนี้เริ่มใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นวันที่อิเควทอเรียลกินีประกาศเอกราชจากสเปน ในธงนี้ สีเขียวหมายถึงป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติในประเทศ สีฟ้าหมายถึงทะเล ซึ่งเชื่อมโยงเกาะกับแผ่นดินใหญ่ไว้ สีขาวหมายถึงสันติภาพ และสีแดงหมายถึงการต่อสู้เพื่อเอกราช ส่วนภาพตราแผ่นดินในธงนั้น ได้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2515 ก่อนที่จะกลับมาใช้ตราแบบเดิมอีกครั้งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2522.

ใหม่!!: คำขวัญประจำชาติและธงชาติอิเควทอเรียลกินี · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติเบลีซ

งชาติเบลีซ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นสีน้ำเงิน ที่ขอบธงตอนบนและตอนล่างมีแถบขนาดเล็กสีแดง กลางธงมีรูปวงกลมสีขาว ภายในมีภาพตราแผ่นดินของเบลีซ ซึ่งล้อมรอบด้วยใบมะฮอกกานีสีเขียวจำนวน 50 ใบ ธงนี้เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 อันเป็นปีที่เริ่มมีการเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชจากสหราชอาณาจักร โดยขณะนั้นเบลีซใช้ชื่อประเทศว่า บริติชฮอนดูรัส ภายหลังเมื่อเบลีซได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2524 ธงนี้จึงมีฐานะเป็นธงชาติเบลีซอย่างเป็นทางการ ภายในตราแผ่นดินนั้น ประกอบด้วยรูปโล่ซึ่งภายในแบ่งเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วยภาพขวานและไม้พายไขว้ในพื้นสีขาวที่ช่องซ้ายบน รูปขวานกับเลื่อยไขว้กันในพื้นสีเหลืองที่ช่องขวาบน และภาพเรือใบแล่นในทะเลบนพื้นสีฟ้าช่องล่างกลาง เบื้องหลังโล่นี้มีภาพต้นมะฮอกกานี เบื้องซ้ายของโล่เป็นภาพคนงานผิวเหลืองแบกขวาน เบื้องขวาเป็นรูปคนงานผิวดำแบกพาย ทั้งสองคนนี้ยืนประคองรูปโล่ เบื้องล่างของภาพทั้งหมดมีคำขวัญประจำชาติในแพรแถบสีขาว เป็นข้อความภาษาละตินใจความว่า "Sub Umbra Floreo" (อันอาจแปลได้ว่า "เราเจริญขึ้นภายใต้ร่มเงา") ภาพทั้งหมดมีความหมายถึงอุตสาหกรรมไม้มะฮอกกานี ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของชาติ ตรานี้เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2450 ส่วนสีของธงชาตินั้น มีที่มาจากสีของพรรคการเมืองที่เป็นแกนสำคัญในการเรียกร้องเอกราชของเบลีซ กล่าวคือ สีน้ำเงินเป็นสัญลักษณ์ของพรรคสหภาพประชาชน (People's United Party - PUP) ส่วนสีแดงคือสีของพรรคสหประชาธิปไตย (United Democratic Party - UDP) ใบมะฮอกกานีทั้ง 50 ใบ หมายถึงปี..

ใหม่!!: คำขวัญประจำชาติและธงชาติเบลีซ · ดูเพิ่มเติม »

ทรีคัลเลอรส์

นตร์ไตรภาค ทรี คัลเลอร์ส (Trois couleurs, Three Colours, Trzy kolory) เป็นภาพยนตร์สามเรื่อง ที่กำกับโดยคริสซ์ตอฟ เคียสลอฟสกี้ (Krzysztof Kieślowski) ผู้กำกับชาวโปแลนด์ ในปี..

ใหม่!!: คำขวัญประจำชาติและทรีคัลเลอรส์ · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของเบลีซ

ตราแผ่นดินของเบลีซ ประกอบด้วยรูปโล่ซึ่งภายในแบ่งเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วยภาพขวานและไม้พายไขว้ในพื้นสีขาวที่ช่องซ้ายบน รูปขวานกับเลื่อยไขว้กันในพื้นสีเหลืองที่ช่องขวาบน และภาพเรือใบแล่นในทะเลบนพื้นสีฟ้าช่องล่างกลาง เบื้องหลังโล่นี้มีภาพต้นมะฮอกกานี เบื้องซ้ายของโล่เป็นภาพคนงานผิวเหลืองแบกขวาน เบื้องขวาเป็นรูปคนงานผิวดำแบกพาย ทั้งสองคนนี้ยืนประคองรูปโล่ เบื้องล่างของภาพทั้งหมดมีคำขวัญประจำชาติในแพรแถบสีขาว เป็นข้อความภาษาละตินใจความว่า "Sub Umbra Floreo" (อันอาจแปลได้ว่า "เราเจริญขึ้นภายใต้ร่มเงา") ภาพทั้งหมดมีความหมายถึงอุตสาหกรรมไม้มะฮอกกานี ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของชาติ ตรานี้เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2450.

ใหม่!!: คำขวัญประจำชาติและตราแผ่นดินของเบลีซ · ดูเพิ่มเติม »

เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ

รีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ (Liberté, Égalité, Fraternité) เป็นคำขวัญประจำชาติของสาธารณรัฐฝรั่ง.

ใหม่!!: คำขวัญประจำชาติและเสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »