โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยง

ดัชนี ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยง

วามขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยง (พ.ศ. 2492 – ปัจจุบัน) เป็นการขัดกันด้วยอาวุธในพม่า ซึ่งถือว่าเป็นสงครามกลางเมืองที่ยาวนานที่สุดในโลก ขบวนการชาตินิยมกะเหรี่ยงได้ต่อสู้เพื่อสิทธิในการปกครองตนเองหรือเอกราชจากพม่า ชาวกะเหรี่ยงได้ต่อสู้เพื่อให้รัฐกะเหรี่ยงเป็นเอกราชตั้งแต..

44 ความสัมพันธ์: บะอูพรรคประชาชนกะเหรี่ยงพะอานกองกำลังกะเหรี่ยงประชาธิปไตยฝ่ายพุทธกองทัพพม่ากองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยงก๊อด อาร์มี่ภาษาพม่าภาษากะเหรี่ยงภาษากะเหรี่ยงสะกอมองโกเลียมีนอองไลง์รัฐกะเหรี่ยงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทยวีน-มองศาสนาพุทธศาสนาคริสต์สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐสมิท ดุนสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงสันนิบาตเสรีภาพประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่าสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (พ.ศ. 2491–2505)สงครามอองซานอักษรพม่าอาณาจักรหงสาวดีอูนูองค์กรป้องกันแห่งชาติกะเหรี่ยงทีนจอความตกลงเวียงปางหลวงคัมภีร์ไบเบิลตองอูตานชเวซอมองซานยูประธานาธิบดีพม่าประเทศพม่าแม่น้ำโขงเมาะลำเลิงเหตุการณ์ก๊อด'ส อาร์มี่บุกยึดสถานทูตพม่า พ.ศ. 2542 และโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี พ.ศ. 2543เจ้าส่วยแต้กเตนเซนเนวีน

บะอู

ร.

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและบะอู · ดูเพิ่มเติม »

พรรคประชาชนกะเหรี่ยง

งชาติพรรคประชาชนกระเหรี่ยง พรรคประชาชนกระเหรี่ยง (KPP) เป็นพรรคการเมืองในประเทศพม่า ก่อตั้งเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและพรรคประชาชนกะเหรี่ยง · ดูเพิ่มเติม »

พะอาน

อาน (ဘားအံမြို့) เป็นเมืองหลักของรัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ห่างจากปากแม่น้ำสาละวินซึ่งไหลลงสู่ทะเลอันดามันราว 50 กิโลเมตร จากการสำรวจสำมะโนประชากรเมื่อปี..

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและพะอาน · ดูเพิ่มเติม »

กองกำลังกะเหรี่ยงประชาธิปไตยฝ่ายพุทธ

กองกำลังกะเหรี่ยงประชาธิปไตยฝ่ายพุทธหรือกองทัพกะเหรี่ยงพุทธประชาธิปไตย (Democratic Karen Buddhist Army; ဒီမိုကရက်တစ် တိုးတက်သော ဗုဒ္ဓဘာသာ ကရင်တပ်မတော်) เป็นองค์กรของชาวกะเหรี่ยงที่นับถือศาสนาพุทธ ก่อตั้งเมื่อเดือนมกราคม..

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและกองกำลังกะเหรี่ยงประชาธิปไตยฝ่ายพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพพม่า

กองทัพพม่า หรือในชื่อภาษาพม่า ตะมะดอ เป็นองค์กรทางการทหารของประเทศพม่า มีหน้าที่ป้องกันประเทศและรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ กองทัพพม่าดำเนินการโดยกระทรวงกลาโหมโดยมีสาขากองทัพคือ กองทัพบก กองทัพเรือและกองทัพอากาศ และมีกองกำลังเสริมของกองทัพคือ ตำรวจ อาสาสมัครพลเรือน และกองกำลังชายแดนซึ่งรู้จักกันในชื่อว่า "นาซาคา" (Na Sa Kha).

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและกองทัพพม่า · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง

งของ KNLA กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (Karen National Liberation Army; ကေအင်အယ်လ်အေ ငြိမ်းချမ်းရေးကောင်စီ) เป็นหน่วยงานทางทหารของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง หลังจากที่พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อ..

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง · ดูเพิ่มเติม »

ก๊อด อาร์มี่

ก๊อด อาร์มี่ (God's Army) เป็นกองกำลังปฏิวัติติดอาวุธคริสต์ซึ่งต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า กลุ่มนี้เป็นสาขาหนึ่งของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง อยู่ตามพรมแดนไทย-พม่า และดำเนินการปฏิบัติกองโจรเสี่ยงภัยหลายครั้ง อย่างเช่น การยึดสถานทูตพม่าในกรุงเทพมหานคร ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1990 และต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 กลุ่มนี้ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและก๊อด อาร์มี่ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาพม่า

ษาพม่า หรือ ภาษาเมียนมา (MLCTS: myanma bhasa) เป็นภาษาราชการของประเทศพม่า จัดอยู่ในในตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า อันเป็นสาขาย่อยของตระกูลภาษา โดยเป็นภาษาแม่ของคนประมาณ 32 ล้านคนในพม่า และเป็นภาษาที่สองของชนกลุ่มน้อยในพม่า และในประเทศอินเดีย ประเทศบังกลาเทศ ประเทศมาเลเซีย ประเทศไทย และสหรัฐอเมริกา ภาษาพม่าเป็นภาษาที่มีระดับเสียง หรือวรรณยุกต์ มีวรรณยุกต์ 4 เสียงและเขียนโดยใช้อักษรพม่า ซึ่งดัดแปลงจากอักษรมอญอีกทอดหนึ่ง และจัดเป็นสมาชิกในตระกูลอักษรพราหมี รหัส ISO 639 สำหรับภาษาพม่าคือ 'my' และรหัส SIL คือ BMS.

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและภาษาพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากะเหรี่ยง

ษากะเหรี่ยงเป็นภาษาในตระกูลจีน-ทิเบต สาขาทิเบต-พม่า มีผู้พูดภาษากะเหรี่ยงอยู่ในไทยและพม่า แบ่งเป็นภาษาย่อยได้ 8 ภาษา คือ.

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและภาษากะเหรี่ยง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากะเหรี่ยงสะกอ

ษากะเหรี่ยงสะกอ(S'gaw Karen) หรือ ภาษากะเหรี่ยงขาว หรือ ภาษาปกาเกอะญอ เป็นภาษาของชาวกะเหรี่ยงสะกอ มีผู้พูดทั้งหมด 1,584,700 คน พบในพม่า 1,284,700 คน (พ.ศ. 2526) ในลุ่มแม่น้ำอิระวดี ในไทยพบ 300,000 คน (พ.ศ. 2530) ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และเชียงราย ใกล้แนวชายแดนพม่า ผู้พูดส่วนใหญ่นับถือความเชื่อดั้งเดิมหรือศาสนาคริสต์จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษากลุ่มทิเบต-พม่า สาขากะเหรี่ยง สาขาย่อยสะกอ-บไฆ เรียงประโยคแบบประธาน-กริยา-กรรม.

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและภาษากะเหรี่ยงสะกอ · ดูเพิ่มเติม »

มองโกเลีย

มองโกเลีย อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและมองโกเลีย · ดูเพิ่มเติม »

มีนอองไลง์

ลเอกอาวุโส มีนอองไลง์ (မင်းအောင်လှိုင်; เกิด พ.ศ. 2498 ในเมืองทวาย เขตตะนาวศรี) เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดคนปัจจุบันของกองทัพพม.

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและมีนอองไลง์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐกะเหรี่ยง

รัฐกะเหรี่ยง หรือ รัฐกะยีน (ကရင်ပြည်နယ်) เป็นรัฐของประเทศพม่า มีเมืองหลวงอยู่ที่พะอาน.

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและรัฐกะเหรี่ยง · ดูเพิ่มเติม »

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย

ัญชีดังต่อไปนี่แสดงรายพระนาม รายนาม เสนาบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไท.

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย · ดูเพิ่มเติม »

วีน-มอง

มานวีน-มอง (မန်းဝင်းမောင်; 17 เมษายน พ.ศ. 2459 – 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2532) เป็นประธานาธิบดีแห่งสหภาพพม่า คนที่ 3 เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานาธิบดีโดยนายกรัฐมนตรีอูนู เมื่อเดือนมีนาคม..

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและวีน-มอง · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ

ันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (ไฟล์:Bscript Naingngandaw-Ayecha.png, State Peace and Development Council, อักษรย่อ SPDC) เป็นเครื่องมือการปกครองของประเทศพม่า เดิมใช้ชื่อว่าสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (State Law and Order Restoration Council) หรือสล็อร์ก (SLORC) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2531 หลังความวุ่นวายทางการเมืองที่ดำเนินมานับตั้งแต่มีการยกเลิกธนบัตรบางชนิดโดยไม่มีการชดใช้จากรัฐบาล การดำเนินการดังกล่าวสร้างความไม่พอใจให้กับนักศึกษา ประกอบกับทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจร้ายแรง ความไม่พอใจแพร่กระจายออกไปจนกระทั่งเกิดการประท้วงและปะทะกันจนนองเลือดในที่สุด ประชาชนจำนวนมากเสียชีวิตเนื่องจากทหารใช้กำลังปราบปรามโดยไม่ยับยั้ง รัฐบาลกำหนดให้มีการเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2533 ท่ามกลางความแปลกใจของประชาชน ชัยชนะอย่างท่วมท้นของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านไร้ความหมาย เมื่อสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐปฏิเสธการเปิดประชุมสภาใหม่ การเปลี่ยนชื่อเป็นชื่อที่ใช้ในปัจจุบันมีขึ้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 หลังจากพม่าเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน โดยเกิดขึ้นท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากทั้งภายในอาเซียนเองและต่างประเทศ นอกจากนี้การเปลี่ยนชื่อดังกล่าวยังถูกมองว่าเป็นการพยายามปรับปรุงภาพลักษณ์ของประเทศในสายตาของนานาชาติ แม้ว่าการเปลี่ยนชื่อจะแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงวาระสำคัญของชาติ แต่ลักษณะอำนาจนิยมของรัฐบาลยังคงมีอยู.

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สมิท ดุน

มิท ดุน สมิท ดุน (General Smith Dun) เป็นผู้บัญชาการกองทัพพม่าระหว่าง 4 มกราคม..

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและสมิท ดุน · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง

งชาติทางการของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง หรือ กะเหรี่ยงเคเอ็นยู (The Karen National Union: KNU; ကရင် အမျိုးသား အစည်းအရုံး) คือ กลุ่มติดอาวุธชาวกะเหรี่ยงในพม่าที่ทำการสู้รบกับรัฐบาลพม่าตามแนวชายแดนไทย ในบริเวณอาณาเขตของพื้นที่ที่เรียกเป็นภาษากะเหรี่ยงว่า "กอซูเล" (Kawthoolei) ฝ่ายเคเอ็นยูได้สู้รบกับพม่ามานานเกินกึ่งศตวรรษมาแล้ว นับตั้งแต่ พ.ศ. 2491 โดยร่วมกับกองกำลังย่อยที่มีชื่อว่า กะเหรี่ยงเคเอ็นแอลเอ (Karen National Liberation Army - KNLA) สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงอยู่ภายใต้การปกครองของนายพลโบเมียะมานานกว่า 30 ปีซึ่งได้ตั้งตนเป็นประธานาธิบดีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2543 (นายพลโบเมียะถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ในโรงพยาบาลในประเทศไทย) สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงสามารถเลี้ยงตนเองโดยการควบคุมตลาดมืดที่ทำการค้าชายแดนกับประเทศไทย หลังจากการลุกฮือต่อต้านเผด็จการของประชาชนชาวพม่าที่เรียกว่า "เหตุการณ์ 8888 ทมิฬ" ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2531 และได้ล้มเหลวยุติลงด้วยการปราบปรามอย่างรุนแรงของรัฐบาลเมื่อเดือนกันยายนปีเดียวกัน หลังเหตุการณ์นี้ รัฐบาลพม่าได้หันไปขอความช่วยเหลือจากจีน มีการให้สัมปทานทางการค้าหลายอย่างแก่จีนเพื่อแลกเปลี่ยนกับอาวุธจำนวนมากทำให้กองทัพพม่ามีขนาดใหญ่และเข้มแข็งจากเดิมเป็นอันมาก และในช่วงนี้รัฐบาลพม่าก็ได้เริ่มเปิดการเจรจากับสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงที่ต่อสู้กับรัฐบาลและเปิดโอกาสให้มีการเจรจาเพื่อให้เข้ามาร่วมมือกับรัฐบาลหรือมิเช่นนั้นจะต้องถูกทำลายลงทั้งหมด แต่ฝ่ายกะเหรี่ยงไม่ยอม กองกำลังของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงอ่อนแอลงมากจากการปราบปรามของฝ่ายรัฐบาลและได้เสียกองบัญชาการที่ "มาเนอพลอ" ใกล้กับชายแดนไทยเมื่อ พ.ศ. 2537 รวมทั้งการยอมเข้าร่วมมือกับรัฐบาลกองกำลังย่อยส่วนหนึ่งของกะเหรี่ยงเคเอ็นแอลเอที่เป็นกะเหรี่ยงฝ่ายนับถือพุทธที่เรียกตนเองว่า กองกำลังกะเหรี่ยงประชาธิปไตยฝ่ายพุทธ (Democratic Karen Buddhist Army - DKBA) กองกำลังกลุ่มนี้ได้รับมอบอาณาเขตพื้นที่ส่วนหนึ่งให้ปกครองตนเองเป็นการแลกเปลี่ยนที่ยอมร่วมมือกับรัฐบาล กองกำลังกระเหรียงพุทธนี้เองที่มีส่วนสำคัญช่วยรัฐบาลทหารพม่ายึดกองบัญชาการเคเอ็นยูที่มาเนอพลอได้ เหตุผลที่กะเหรี่ยงกลุ่มนี้อ้างในการเข้ากับฝ่ายรัฐบาลคือการถูกเอาเปรียบ เหลื่อมล้ำและไม่ได้รับความเป็นธรรมจากกะเหรี่ยงฝ่ายเคเอ็นยูซึ่งนับถือศาสนาคริสต์ สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงกับกะเหรี่ยงเคเอ็นแอลเอยังคงร่วมกันต่อสู้กับรัฐบาลพม่าต่อไป โดยจัดตั้งกองกำลังเป็นหน่วยทหารกองโจรขนาดเล็กหลบซ่อนอยู่ตามแนวชายแดนไทยโดยใช้วิธีตั้งค่ายแบบชั่วคราวที่เคลื่อนย้ายหนีได้สะดวก มีการประทะกันประปรายโดยตลอดมาจนถึงปัจจุบัน แม้กองทัพฝ่ายรัฐบาลจะมีขีดความสามารถที่จะกวาดล้างกองกำลังกะเหรี่ยงได้เป็นผลสำเร็จ แต่ก็จะเสียกำลัง ยุทธโปกรณ์และงบประมาณไปมาก ซึ่งอาจทำให้กองทัพพม่าโดยรวมอ่อนแอลง ฝ่ายรัฐบาลทหารพม่าจึงยังคงปล่อยให้เป็นเช่นนี้ไปก่อน การสู้รบของชาวกะเหรี่ยงนับเป็นการสู้รบเพื่ออิสรภาพที่ยาวนานที่สุดในโลก คือนานมากถึง 59 ปี.

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง · ดูเพิ่มเติม »

สันนิบาตเสรีภาพประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์

ันนิบาตเสรีภาพประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์ (Anti-Fascist People’s Freedom League) เป็นกลุ่มที่ก่อตั้งโดยกลุ่มชาตินิยมในพม่า สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีนโยบายขับไล่ญี่ปุ่นและเรียกร้องเอกราชให้พม่า กลุ่มนี้ได้บริหารประเทศหลังจากพม่าได้รับเอกราช จนถึง..

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและสันนิบาตเสรีภาพประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า

รณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า (ပြည်ထောင်စု ဆိုရှယ်လစ်သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, Pyihtaunghcu Soshallaitsammat Myanmar Ninengantaw) ตั้งแต่ปี 1974 ถึง 1988 สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (ပြည်ထောင်စု မြန်မာနိုင်ငံတော်, Pyidaunzu Myăma Nainngandaw) ตั้งแต่ 1962 ถึง 1974 เป็นรัฐสังคมนิยมในประเทศพม่า ตั้งแต่ปี 1962 ถึง 1988 โดยมีเป้าหมายจะพัฒนาเศรษฐกิจ ลดอิทธิพลจากต่างประเทศในพม่าและเพิ่มบทบาทของทหาร สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่าก่อตั้งจากการปฏิวัติสังคมนิยมที่นำโดย เน วิน และคณะปฏิวัติ (RC) ในปี 1962 ได้กระทำภายใต้ข้ออ้างของวิกฤตเศรษฐกิจศาสนาและการเมืองในประเทศโดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับสหพันธรั.

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (พ.ศ. 2491–2505)

รณรัฐแห่งสหภาพพม่า เป็นประเทศพม่าหลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษและปกครองด้วยรัฐบาลของพลเรือน การปกครองในยุคนี้สิ้นสุดลงใน..

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (พ.ศ. 2491–2505) · ดูเพิ่มเติม »

สงคราม

ระเบิดนิวเคลียร์ที่ นางาซากิในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สงคราม (war) คือ สถานะความขัดแย้งด้วยอาวุธระหว่างองค์การที่เป็นอิสระ (เช่น รัฐและตัวแสดงที่มิใช่รัฐ) หรือแนวร่วมขององค์การดังกล่าว โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นการรุกราน การทำลายล้างรวมสุดขีดและปกติมีอัตราตายสูง ชุดเทคนิคที่กลุ่มใช้ดำเนินสงคราม เรียก การสงคราม (warfare) การปลอดสงคราม ปกติเรียก สันติภาพ นักวิชาการบางส่วนมองว่าการสงครามเป็นสากลและเป็นส่วนที่สืบมาแต่บรรพชนของธรรมชาติมนุษย์ แต่บางส่วนก็แย้งว่าสงครามเป็นเพียงผลลัพธ์แห่งกรณีแวดล้อมทางสังคม-วัฒนธรรมหรือระบบนิเวศเฉพาะ ใน..

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

อองซาน

อองซาน นายพลอองซาน (အောင်ဆန်း, Aung San) หรือ อูอองซาน (U Aung San; 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2458 - 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490) เป็นนักปฏิวัติ นายพล และนักการเมืองของประเทศพม่า ได้รับการยกย่องเป็นบิดาแห่งประเทศพม่าในยุคปัจจุบัน หรือ "วีรบุรุษเพื่ออิสรภาพของประเทศพม่า" อองซานเกิดในครอบครัวที่ต่อต้านการปกครองของสหราชอาณาจักร ซึ่งในช่วงนั้นพม่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดียที่เป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ซึ่งได้แสดงความเคลื่อนไหวทางการเมือง และได้รับเลือกให้เป็นผู้นำนักศึกษา พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) อองซานได้รับการสนับสนุนจากประเทศญี่ปุ่น โดยได้ก่อตั้งกองกำลังปลดปล่อยพม่าที่กรุงเทพมหานคร ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นสามารถยึดพม่าจากสหราชอาณาจักรได้และวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) ญี่ปุ่นได้ประกาศว่าพม่าเป็นประเทศเอกราช และตั้งอองซานเป็นนายกรัฐมนตรี อองซานพบว่าเอกราชที่ญี่ปุ่นสัญญาไว้ไม่เป็นความจริง ในช่วงปลายสงครามโลก จึงได้กลับไปเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อขับไล่ญี่ปุ่นออกไปจากพม่า ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) อองซานเซ็นสัญญากับสหราชอาณาจักรว่าจะมอบเอกราชให้กับพม่าภายในหนึ่งปี แต่ระหว่างการประชุมสภาเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 อองซานถูกลอบสังหารพร้อมกับสมาชิกสภาอีก 6 คน โดยพบว่าเป็นฝีมือของ อู ซอ ซึ่งเป็นคู่แข่งทางการเมืองของอองซาน ซึ่ง อู ซอ ถูกประหารชีวิต อองซาน เสียชีวิตเมื่อมีอายุแค่เพียง 32 ปี และยังไม่ทันเห็นเอกราชของพม่าในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) ปัจจุบัน นางอองซาน ซูจี บุตรสาวของอองซานเป็นผู้นำที่มีบทบาทสำคัญในรัฐบาลพลเรือนของพม.

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและอองซาน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรพม่า

ตัวพยัญชนะพม่า ตั้งแต่ กะ ถึง อะ (ถอดเป็นอักษรไทยตามรูป จากซ้ายไปขวาและบนลงล่าง) ก,ข, ค, ฆ, ง, จ, ฉ, ช, ฌ, ญ, ฏ, ฐ, ฑ, ฒ, ณ, ต, ถ, ท, ธ, น, ป, ผ, พ, ภ, ม, ย, ร, ล, ว, ส, ห, ฬ, อ อักษรพม่า (မြန်မာအက္ခရာ) เป็นอักษรในตระกูลอักษรพราหฺมี ใช้ในประเทศพม่าสำหรับการเขียนภาษาพม่า ในสมัยโบราณ การเขียนอักษรพม่าจะกระทำโดยการจารลงในใบลาน ตัวอักษรพม่าจึงมีลักษณะโค้งกลมเพื่อหลบร่องใบลาน อักษรพม่าเขียนจากซ้ายไปขวาเหมือนอักษรไทย และอักษรภาษาอื่น ๆ ในตระกูลอักษรพราหฺมี อักษรพม่าประกอบด้วยพยัญชนะ และสระ โดยมีพยัญชนะ 33 ตัว ตั้งแต่ (กะ) ถึง (อะ) ซึ่งเสียงของพยัญชนะจะถูกเปลี่ยนแปลงโดยสระที่เขียนเหนือ, ใต้, หรือข้าง ๆ พยัญชนะ เหมือนกับอักษรภาษาอื่น ๆ ในตระกูลอักษรพราหฺมี อักษรพม่าใกล้เคียงกับอักษรมอญมาก แต่วิธีการออกเสียงเมื่อประสมสระต่างกัน ทั้งนี้เพราะความแตกต่างของทั้ง 2 ภาษา เช่นภาษาพม่ามีวรรณยุกต์แต่ภาษามอญไม่มี กล่าวกันว่าพม่ารับเอาอักษรมอญมาดัดแปลงเมื่อเข้าครอบครองอาณาจักรมอญโบราณ ในทำนองเดียวกันเมื่อพม่าเข้าครอบครองอาณาจักรไทใหญ่ ชาวไทใหญ่ได้นำอักษรพม่าบางตัวไปเขียนภาษาบาลีเพราะอักษรไทใหญ่มีไม่พอ.

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและอักษรพม่า · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรหงสาวดี

อาณาจักรหงสาวดี (ဟံသာဝတီ ပဲခူး နေပြည်တော်;,; บางครั้งเรียก กรุงหงสาวดี หรืออย่างสั้น พะโค) เป็นอาณาจักรที่ปกครองพม่าตอนล่างตั้งแต..

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและอาณาจักรหงสาวดี · ดูเพิ่มเติม »

อูนู

อูนู (နု၊ ဦး; 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2450 - 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538) เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศพม่า และดำรงตำแหน่งทั้งหมด 3 สมัย หมวดหมู่:นายกรัฐมนตรีพม่า หมวดหมู่:พุทธศาสนิกชนชาวพม่า หมวดหมู่:ผู้นำที่พ้นตำแหน่งจากรัฐประหาร.

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและอูนู · ดูเพิ่มเติม »

องค์กรป้องกันแห่งชาติกะเหรี่ยง

องค์กรป้องกันแห่งชาติกะเหรี่ยง (Karen National Defence Organisation; KNDO;ကရင်အမျိုးသား ကာကွယ်ရေး အဖွဲ့အစည်း) เป็นกองกำลังติดอาวุธหนึ่งในสองของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง ควบคู่กับกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNLA) องค์กรเริ่มต้นของ KNDO ต่อสู้กับรัฐบาลพม่าตั้งแต..

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและองค์กรป้องกันแห่งชาติกะเหรี่ยง · ดูเพิ่มเติม »

ทีนจอ

ทีนจอ (ထင်ကျော်, เกิดวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2489) เป็นนักเขียนและนักวิชาการชาวพม่า อดีตประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า คนที่ 9 หลังจากได้ดำรงตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 มีนาคม..

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและทีนจอ · ดูเพิ่มเติม »

ความตกลงเวียงปางหลวง

วามตกลงเวียงปางหลวงฉบับภาษาอังกฤษ ความตกลงเวียงปางหลวง (Panglong Agreement; ပင်လုံစာချုပ်) เป็นความตกลงระหว่างพม่า ไทใหญ่ ชิน กะฉิ่น ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการประชุมปางหลวงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อจัดตั้งสหภาพพม่าภายหลังได้รับเอกราชจากอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ความตกลงนี้ไม่บรรลุผลเพราะพม่าไม่ปฏิบัติตาม.

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและความตกลงเวียงปางหลวง · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ไบเบิล

ัมภีร์ไบเบิลกูเทนแบร์ก คัมภีร์ไบเบิลฉบับพิมพ์ครั้งแรก คัมภีร์ไบเบิลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 99 (Bible; ביבליה; ܟܬܒܐ ܩܕܝܫܐ; Αγία Γραφή) (มาจากภาษากรีกโบราณว่า Βίβλος บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ (Holy Bible) เรียกโดยย่อว่า พระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระยาห์เวห์ มนุษย์ ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture) คริสตชนทุกคนเชื่อว่าพระคัมภีร์ทุกบททุกข้อนั้นมนุษย์เขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 66 หรือ 73 หรือ 78 เล่ม (แล้วแต่นิกาย) ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ทั้งหมดเขียนเป็นภาษาฮีบรู ยกเว้นส่วนที่เป็นคัมภีร์อธิกธรรม (ยอมรับเฉพาะชาวคาทอลิก) ถูกเขียนด้วยภาษากรีกและภาษาอียิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมาน และการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซู การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มายังอัครทูต ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูแล้ว การเบียดเบียนคริสตจักรในรูปแบบต่าง ๆ พระคัมภีร์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของเวลาทั้งหมดที่มียอดขายต่อปีประมาณ 100 ล้านเล่มและได้รับอิทธิพลสำคัญในวรรณคดีและประวัติศาสตร.

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและคัมภีร์ไบเบิล · ดูเพิ่มเติม »

ตองอู

ตองอู หรือ ตองงู (တောင်ငူ;; เตาง์งู; คำแปล: เมืองในขุนเขา) เป็นเมืองในเขตหงสาวดี ประเทศพม่า อยู่ห่างจากย่างกุ้งไปทางเหนือ 220 กิโลเมตร ตั้งบนฝั่งแม่น้ำสะโตง เป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรอิสระตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14–16 ในสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นเข้ายึดครองระหว่างปี..

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและตองอู · ดูเพิ่มเติม »

ตานชเว

ลเอกอาวุโส ตานชเว (သန်းရွှေ,; เกิดวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476) ผู้นำเผด็จการของรัฐบาลทหารพม่า ดำรงตำแหน่งประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council - SPDC) ภายหลังการรัฐประหารล้มอำนาจของพลเอกอาวุโส ซอมอง อดีตประธานสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (State Law and Order Restoration Council - SLORC) เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2535.

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและตานชเว · ดูเพิ่มเติม »

ซอมอง

ลเอกอาวุโส ซอมอง (Saw Maung; ဗိုလ်ချုပ်မှူးကြီးစောမောင်) (พ.ศ. 2471 - 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2540) อดีตประธานสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (State Law and Order Restoration Council - SLORC) เป็นผู้นำเผด็จการของรัฐบาลทหารของพม่า หลังการรัฐประหารล้มอำนาจนายพลเนวีนเมื่อ..

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและซอมอง · ดูเพิ่มเติม »

ซานยู

ลเอก ซานยู (စန်းယု,; 17 เมษายน พ.ศ. 2461 – 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2539) เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งกองทัพพม่าและประธานาธิบดีสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่าตั้งแต่ 9 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและซานยู · ดูเพิ่มเติม »

ประธานาธิบดีพม่า

ประธานาธิบดีพม่า เป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลประเทศพม.

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและประธานาธิบดีพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศพม่า

ม่า หรือ เมียนมา (မြန်မာ,, มฺยะหฺม่า) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำมะโนของประเทศในปี 2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุ้ง อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐปยูที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนบน และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ ครอบงำในประเทศ อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครั้ง และช่วงสั้น ๆ เป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์คองบองได้ปกครองพื้นที่ประเทศพม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสัมในช่วงสั้น ๆ ด้วย บริติชพิชิตพม่าหลังสงครามอังกฤษ-พม่าทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็นอาณานิคมบริติช ประเทศพม่าได้รับเอกราชใน..

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและประเทศพม่า · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำโขง

แม่น้ำโขง (မဲခေါင်မြစ်; ແມ່ນ້ຳຂອງ; ទន្លេដ៏ធំ; Mê Kông) มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านบริเวณที่ราบสูงทิเบตและมณฑลชิงไห่ ประเทศจีน ผ่านประเทศจีน ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา และออกสู่ทะเลจีนใต้ที่ประเทศเวียดนาม มีความยาวทั้งหมด 4,880 กิโลเมตร เป็นความยาวในประเทศจีน 2,130 กิโลเมตร ช่วงที่แม่น้ำไหลผ่านประเทศจีนมีชื่อเรียกว่า แม่น้ำหลานชาง หรือ หลานชางเจียง (จีนตัวย่อ: 澜沧江, จีนตัวเต็ม: 瀾滄江) แปลว่า "แม่น้ำที่มีความเชี่ยวกราก" และเมื่อไหลผ่านเข้าเขตประเทศพม่าและประเทศลาว เรียกว่า แม่น้ำของ รวมถึงคำเมืองล้านนาก็เรียก น้ำของ เช่นกัน ส่วนในภาษาไทยเรียกว่า แม่น้ำโขง ลักษณะสำคัญของแม่น้ำโขงคือ มีตลิ่งที่สูงชันมากทั้งสองฝั่ง ไหลเลี้ยวเลาะไปตามไหล่เขา กระแสน้ำจะไหลจากทางเหนือลงสู่ทางใต้ตลอดทั้งปี ระดับน้ำในฤดูฝนกับฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก ความเร็วของกระแสน้ำขึ้นอยู่กับแต่ละฤดูกาล ดินในแม่น้ำโขงเป็นดินทราย มีเกาะแก่งน้อยใหญ่กว่าหนึ่งร้อยแห่งเรียงรายตลอดแม่น้ำ การที่แม่น้ำโขงไหลผ่านหลายประเทศเช่นเดียวกับแม่น้ำดานูบในยุโรป ทำให้บางคนเรียกว่าแม่น้ำนานาชาติ และทำให้ได้รับการขนานนามว่า แม่น้ำดานูบตะวันออก นอกจากนี้ ในประเทศจีน แม่น้ำโขงยังเป็น 1 ในแม่น้ำ 3 สาย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกับแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำสาละวินในเขตพื้นที่มณฑลยูนนาน ภายใต้ชื่อ พื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนาน พื้นที่ดังกล่าวนับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลายหลายทางชีวภาพสูง สัตว์น้ำขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญและพบได้เฉพาะในแม่น้ำโขงได้แก่ ปลาบึก.

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและแม่น้ำโขง · ดูเพิ่มเติม »

เมาะลำเลิง

มาะลำเลิง หรือ มะละแหม่ง (မော်လမြိုင်) ในเอกสารเก่าของไทยเรียก เมืองพัน เป็นเมืองหลวงของรัฐมอญและเป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับที่สี่ของประเทศพม.

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและเมาะลำเลิง · ดูเพิ่มเติม »

เหตุการณ์ก๊อด'ส อาร์มี่บุกยึดสถานทูตพม่า พ.ศ. 2542 และโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี พ.ศ. 2543

นายเบดาห์หรือปรีดา ผู้นำการก่อการร้ายที่ ร.พ.ศูนย์ราชบุรี จอห์นนี่ (ซ้าย) และ ลูเธอร์ ทู (ขวา) ผู้นำก๊อด'ส อาร์มี่ เหตุการณ์ก๊อด'ส อาร์มี่บุกยึดสถานทูตพม..

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและเหตุการณ์ก๊อด'ส อาร์มี่บุกยึดสถานทูตพม่า พ.ศ. 2542 และโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี พ.ศ. 2543 · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าส่วยแต้ก

้าส่วยแต้ก หรือพระนามเต็ม เจ้าฟ้ากัมโพชรัฐสิริปวรมหาวงศาสุธรรมราชา" เป็นประธานาธิบดีแห่งสหภาพพม่าพระองค์แรกและเป็นเจ้าฟ้าพระองค์สุดท้ายของเมืองยองห้วย พระองค์เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับอย่างสูงทางการเมืองในหมู่ประชาชนชาวฉาน พระองค์สิ้นพระชนม์จากการถูกจับขังในคุกในเมืองย่างกุ้งหลังจากการรัฐประหารโดยนายพลเน วินในปี..

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและเจ้าส่วยแต้ก · ดูเพิ่มเติม »

เตนเซน

ระมหาพุทธะเตนเซนบวรธรรม หรือ พลเอก เตนเซน (သိန်းစိန်၊ ဦး) อดีตประธานาธิบดีของสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ซึ่งก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 11 ของพม่า ระหว่าง..

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและเตนเซน · ดูเพิ่มเติม »

เนวีน

นายพลเนวีน (နေဝင်း၊ ဦး; เกิด 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2453 หรือ 24 พฤษภาคม หรือ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 – 5 ธันวาคม พ.ศ. 2545) ผู้นำเผด็จการของรัฐบาลทหารของพม่า ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีพม่าอย่างยาวนานถึง 26 ปี ตั้งแต..

ใหม่!!: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงและเนวีน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ความขัดแย้งระหว่างพม่า-กะเหรี่ยง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »