โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คลองปานามา

ดัชนี คลองปานามา

แผนที่การเดินทางในคลองปานามา โดยมีรายชื่อประตูกั้นน้ำประกอบ สถานที่ตั้งของคลองปานามาระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน โดยตัวคลองตั้งอยู่บริเวณตรงกลางของแผนที่ คลองปานามา (Panama Canal) เป็นคลองเดินเรือสมุทรความยาว 77 กิโลเมตร สร้างขึ้นบริเวณคอคอดปานามาในประเทศปานามา เพื่อเชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรแอตแลนติกเข้าด้วยกัน ซึ่งช่วยย่นระยะเวลาที่ต้องไปอ้อมช่องแคบเดรกและแหลมฮอร์น ทางใต้สุดของทวีปอเมริกาใต้ คิดเป็นระยะทางกว่า 22,500 กิโลเมตร ซึ่งมีผลอย่างยิ่งต่อการเดินเรือระหว่างสองมหาสมุทร โดยถูกใช้เป็นเส้นทางเดินเรือหลักสำหรับการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ ตั้งแต่เปิดทำการ คลองปานามาประสบความสำเร็จและเป็นกุญแจสำคัญในการขนส่งสินค้าทั่วโลก จำนวนเรือที่ผ่านคลองปานามาเพิ่มขึ้นจาก 1,000 ลำต่อปีในยุคแรกเริ่ม มาเป็น 14,702 ลำต่อปี ในปี..

28 ความสัมพันธ์: บัลปาราอิโซช่องแคบมะละกาช่องแคบมาเจลลันพ.ศ. 2457มหาสมุทรแอตแลนติกรายชื่อการครอบครองอาณานิคมของสหรัฐอเมริการายชื่อสนธิสัญญาสนธิสัญญาตอร์รีคอส-คาร์เตอร์อันดับของขนาด (ความยาว)อ่าวปานามาจิมมี คาร์เตอร์ธีโอดอร์ โรสเวลต์ทะเลสาบกาตูนดิอะเมซิ่งเรซ 8คลองคลองเดินเรือสมุทรคอคอดคอคอดปานามาประวัติศาสตร์สหรัฐประเทศปานามาปลาสิงโตปีกปานามาซิตีแฟร์ดีน็อง เดอ แลแซ็ปส์แอตแลนติสโอมาร์ ตอร์รีคอสเส้นทางการค้าเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก15 สิงหาคม

บัลปาราอิโซ

ัลปาราอิโซ (Valparaíso, "หุบเขาสวรรค์") เป็นหนึ่งในเมืองท่าที่สำคัญที่สุดและศูนย์กลางวัฒนธรรมที่เริ่มมีชีวิตชีวาขึ้นเรื่อย ๆ ของประเทศชิลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ เป็นเมืองหลักของแคว้นบัลปาราอิโซ โดยในขณะที่ซานเตียโกเป็นเมืองหลวงของประเทศนั้น บัลปาราอิโซก็มีความสำคัญในฐานะเป็นที่ตั้งรัฐสภา ซึ่งเมืองนี้ก็เช่นเดียวกับเมืองอื่น ๆ ในชิลีที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวครั้งใหญ่เกิดขึ้นล่าสุดในปี ค.ศ. 1906 ได้ทำลายตัวเมืองและคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 20,000 ราย ในปี ค.ศ. 2003 รัฐสภาชิลีได้มีมติประกาศให้บัลปาราอิโซเป็น "เมืองหลวงทางวัฒนธรรมของชิลี" และเป็นที่ตั้งของสำนักงานกระทรวงวัฒนธรรมแห่งใหม่ของประเทศ แม้ว่าจริง ๆ แล้วเมืองนี้จะเป็นเพียงเมืองใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของประเทศ โดยมีจำนวนประชากร 263,499 คน แต่เมื่อรวมกับพื้นที่ปริมณฑล (เช่นเมืองพักตากอากาศบิญญาเดลมาร์) แล้ว เขตมหานครกรันบัลปาราอิโซ (Gran Valparaíso) จะใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของประเทศ (จำนวนประชากร 803,683 คน) บัลปาราอิโซตั้งอยู่ทางตอนกลางของชิลี ห่างจากกรุงซานเตียโกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 120 กิโลเมตร การเดินทางระหว่างสองเมืองนี้ใช้เวลาประมาณ 70 นาที เมืองนี้ยังเป็นศูนย์กลางการศึกษาของประเทศอีกด้วย เนื่องจากมีมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ถึง 9 แห่ง รายได้หลักของเมืองมาจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว วัฒนธรรม และการขนส่ง ท่าเรือของเมืองยังเป็นศูนย์กลางการเดินเรือบรรทุกขนส่งสินค้า และส่งออกไวน์ ทองแดง และผลไม้สด บัลปาราอิโซมีบทบาทสำคัญทางภูมิศาสตร์การเมืองในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเป็นที่พักกลางทางของเรือที่เดินทางระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรแอตแลนติกผ่านทางช่องแคบมาเจลลัน ชาวยุโรปได้อพยพเข้ามาอย่างมาก บัลปาราอิโซในขณะนั้นได้รับการขนานนามจากกะลาสีจากชาติต่าง ๆ ว่าเป็น "แซนแฟรนซิสโกน้อย" หรือ "อัญมณีแห่งแปซิฟิก" ซึ่งช่วงนี้เองที่ถือเป็นยุคทองของเมือง โดยตัวอย่างที่แสดงถึงความรุ่งเรืองของเมืองนี้ ได้แก่ ตลาดหุ้นที่เก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคลาตินอเมริกา ห้องสมุดประชาชนแห่งแรกของชิลี และหนังสือพิมพ์ภาษาสเปน (ซึ่งพิมพ์ต่อเนื่องกัน) ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เป็นต้น จนกระทั่งการเปิดใช้คลองปานามาและความซบเซาของการเดินเรือได้ทำให้ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองชะงักลง.

ใหม่!!: คลองปานามาและบัลปาราอิโซ · ดูเพิ่มเติม »

ช่องแคบมะละกา

องแคบมะละกา อยู่ระหว่างแหลมมลายูกับเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย 250px ช่องแคบมะละกา (Strait of Malacca) เป็นช่องแคบระหว่างแหลมมลายูกับเกาะสุมาตรา อยู่บริเวณทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย ตะวันตกและใต้ของมาเลเซีย ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือและเหนือของเกาะสุมาตรา และเลยไปถึงทางด้านใต้ของสิงคโปร์ ระบุพิกัดที่ประมาณ 1.43 องศาเหนือ และ 102.89 องศาตะวันออก ช่องแคบมะละกาเป็นช่องแคบที่มีความกว้างบริเวณทางเข้าประมาณ 5 ไมล์ ยาวประมาณ 600 ไมล์ ช่วงที่แคบที่สุดประมาณ 1.5 ไมล์ มีเรือผ่านประมาณ 900 ลำต่อวันหรือประมาณ 50,000 ลำต่อปี ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบแล้วมีประมาณเรือที่ผ่านมากกว่าคลองสุเอซประมาณ 2 เท่า และมากกว่าคลองปานามากว่า 3 เท่า มะละกา มะละกา หมวดหมู่:ประเทศสิงคโปร์ มะละกา หมวดหมู่:ชายแดนมาเลเซีย - อินโดนีเซีย.

ใหม่!!: คลองปานามาและช่องแคบมะละกา · ดูเพิ่มเติม »

ช่องแคบมาเจลลัน

วเทียมบริเวณช่องแคบมาเจลลัน ช่องแคบมาเจลลัน (Strait of Magellan, Magellanic Strait; Estrecho de Magallanes) เป็นทางเดินเรือที่ตั้งอยู่ระหว่างตอนใต้ของแผ่นดินใหญ่ทวีปอเมริกาใต้กับกลุ่มเกาะเตียร์ราเดลฟวยโก ตั้งชื่อตามชื่อของเฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน นักเดินเรือชาวโปรตุเกส ช่องแคบนี้เป็นทางเชื่อมสำคัญระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรแอตแลนติก มีความยาวประมาณ 570 กิโลเมตร ส่วนที่แคบที่สุดอยู่บริเวณเกาะการ์โลสที่ 3 ทางด้านตะวันตกของช่องแคบ ซึ่งกว้างเพียง 2 กิโลเมตร เนื่องจากมาเจลลันเดินเรือมาถึงที่นี่ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ซึ่งตรงกับวันสมโภชนักบุญทั้งหลายพอดี ในตอนแรกเขาจึงตั้งชื่อว่า "ช่องแคบแห่งเหล่านักบุญ" (Strait of All Saints) แต่ต่อมาพระมหากษัตริย์แห่งสเปนที่มาเจลลันถวายงานทรงเปลี่ยนชื่อมาเป็น "ช่องแคบมาเจลลัน" เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา ปัจจุบันตลอดช่องแคบมาเจลลันถือเป็นน่านน้ำของชิลี แต่ปากทางด้านแอตแลนติกบางจุดเป็นอาณาเขตของอาร์เจนตินา อย่างไรก็ตาม เรือชาติต่าง ๆ ยังสามารถเดินทางผ่านช่องแคบนี้ได้อย่างเสรี ก่อนที่จะมีการเปิดใช้คลองปานามาซึ่งสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1914 ช่องแคบนี้เป็นเส้นทางข้ามมหาสมุทรที่สำคัญและปลอดภัยสำหรับเรือกลจักรไอน้ำ แต่ถ้าเป็นเรือใบ เช่น เรือแบบคลิปเปอร์ จะนิยมใช้ช่องแคบเดรกซึ่งอยู่ใต้ลงไปอีก เพราะมีเนื้อที่ให้กลับลำเรือได้กว้างกว่า แต่ก็ต้องเสี่ยงกับสภาพอากาศที่ปั่นป่วนและคาดคะเนได้ยาก.

ใหม่!!: คลองปานามาและช่องแคบมาเจลลัน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2457

ทธศักราช 2457 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1914 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: คลองปานามาและพ.ศ. 2457 · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

ใหม่!!: คลองปานามาและมหาสมุทรแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อการครอบครองอาณานิคมของสหรัฐอเมริกา

หรัฐอเมริกา ได้มีช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ในการมีหลายดินแดนในการครอบครองในฐานะอาณานิคม.

ใหม่!!: คลองปานามาและรายชื่อการครอบครองอาณานิคมของสหรัฐอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสนธิสัญญา

การลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายในห้องกระจกของพระราชวังแวร์ซายในฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919เพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รายชื่อสนธิสัญญา เป็นรายชื่อข้อตกลงทางประวัติศาสตร์ฉบับที่สำคัญ ระหว่างรัฐ กองทัพ รัฐบาล และกลุ่มชน.

ใหม่!!: คลองปานามาและรายชื่อสนธิสัญญา · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญาตอร์รีคอส-คาร์เตอร์

จิมมี คาร์เตอร์ และโอมาร์ ตอร์รีคอส จับมือหลังลงนามในสนธิสัญญาตอร์รีคอส-คาร์เตอร์ สนธิสัญญาตอร์รีคอส-คาร์เตอร์ (The Torrijos-Carter Treaties) เป็นสนธิสัญญาที่ร่วมลงนามโดยสหรัฐอเมริกาและประเทศปานามา ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 7 กันยายน..

ใหม่!!: คลองปานามาและสนธิสัญญาตอร์รีคอส-คาร์เตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับของขนาด (ความยาว)

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: คลองปานามาและอันดับของขนาด (ความยาว) · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวปานามา

อ่าวปานามา อ่าวปานามา (Golfo De Panamá) เป็นอ่าวในมหาสมุทรแปซิฟิก ใก้กับชายฝั่งทางใต้ของประเทศปานามา มีความกว้างประมาณ 250 กม.

ใหม่!!: คลองปานามาและอ่าวปานามา · ดูเพิ่มเติม »

จิมมี คาร์เตอร์

รือเอก เจมส์ เอิร์ล "จิมมี" คาร์เตอร์ จูเนียร์ (James Earl "Jimmy" Carter, Jr) เกิดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 39 ของสหรัฐอเมริกาในช่วงปี..

ใหม่!!: คลองปานามาและจิมมี คาร์เตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ธีโอดอร์ โรสเวลต์

ีโอดอร์ รูสเวลต์ ธีโอดอร์ รูสเวลต์ (Theodore Roosevelt) (27 ตุลาคม พ.ศ. 2401 - 6 มกราคม พ.ศ. 2462) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 26 ของสหรัฐอเมริกา ผู้คนนิยมเรียกเขาว่า เท็ดดี้ ซึ่งรูสเวลต์นั้นคือแรงบรรดาลใจให้ก่อให้เกิดตุ๊กตาหมีในตำนานอย่าง หมีเท็ดดี้ ซึ่งหลายๆคนรู้จักดี แต่ในด้านการบริหารประเทศ รูสเวลต์ก็ไม่ได้น้อยหน้าใคร เขาได้ดำรงตำแหน่งติดต่อกันถึง 2 สมัย 8 ปี และใบหน้าของเขาก็ได้ถูกสลักไว้ในอนุสรณ์สถานแห่งชาติเมานต์รัชมอร์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เขาหรือรูสเวลต์เป็นประธานาธิบดีที่มีความสามารถมากคนหนึ่งของอเมริกา มีบทบาทและทรงอิทธิพลคนหนึ่ง ที่สำคัญเขายังได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ซึ่งเป็นรางวัลอันทรงเกียรติสูงสุดในปี ค.ศ. 1905 อีกด้ว.

ใหม่!!: คลองปานามาและธีโอดอร์ โรสเวลต์ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบกาตูน

ทะเลสาบกาตูน (Lago Gatún; Gatun Lake) เป็นทะเลสาบขุดขนาดใหญ่ ในประเทศปานามา บริเวณคอคอดปานามา เป็นส่วนหนึ่งของระบบคลองปานามา และเกิดจากการสร้างเขื่อนกาตูนกั้นแม่น้ำชาเกรส เริ่มก่อสร้างระหว่างปี..

ใหม่!!: คลองปานามาและทะเลสาบกาตูน · ดูเพิ่มเติม »

ดิอะเมซิ่งเรซ 8

อะเมซซิง เรซ 8 (The Amazing Race 8) เป็นฤดูกาลที่ 8 ของรายการยอดนิยม ดิ อะเมซิ่ง เรซ โดยจะมีความแตกต่างจากดิ อะเมซิง เรซ ในฤดูกาลที่ผ่าน ๆ มา จากเดิมแต่ละทีมมีเพียงผู้ใหญ่แข่งเป็นคู่ แต่ในฤดูกาลนี้การแข่งขันจะเป็นแบบครอบครัวที่มี 4 คน และอนุญาตให้มีบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะอีกด้วย (ต่ำกว่า 8 ปี) เป็นฉบับครอบครัวโดยใช้ชื่อในการแข่งขันว่า The Amazing Race: Family Edition อย่างไรก็ตาม การแข่งขันจะกลับมามีผู้เข้าแข่งขันเพียงทีมละสองคนในดิ อะเมซิ่ง เรซ 9 ฤดูกาลนี้มีกำหนดออกอากาศตอนแรก 2 ชั่วโมงเต็ม ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2548 ทางซีบีเอส และจะออกอากาศตอนแรกในประเทศไทย เวลา 20:00 น. ของวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2548 ทางช่อง AXN ยูบีซีช่อง 19 ส่วนตอนสุดท้าย จะออกอากาศในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2548.

ใหม่!!: คลองปานามาและดิอะเมซิ่งเรซ 8 · ดูเพิ่มเติม »

คลอง

ลองในประเทศฝรั่งเศส คลอง (canal) คือ ทางน้ำหรือลำน้ำที่เกิดขึ้นเองหรือขุดเชื่อมกับแม่น้ำหรือทะเล ในภาษาไทยมีคำที่ใช้เรียกทางน้ำหรือลำน้ำขนาดต่างๆ รวมกันว่า แม่น้ำคูคลอง โดยแม่น้ำเป็นลำน้ำที่มีขนาดใหญ่มาก ส่วนคลอง และคูมีขนาดเล็กรองลงมาตามลำดับ คลองมักจะเชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำ สู่แม่น้ำ หรือ ระหว่างทะเลสาบ และมหาสมุทร คลองมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการส่งน้ำสำหรับการเดินทาง และอุปโภคบริโภค คลองที่เก่าแก่ที่สุดปรากฏในยุคเมโสโปเตเมีย ประมาณ 4000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ปัจจุบันในประเทศไทย คลองในฐานะที่เป็นเส้นทางการขนส่งทางน้ำเริ่มมีใช้ลดน้อยลง เนื่องจากการเพิ่มของถนนและทางรถไฟ ทำให้คลองในหลายสถานที่ไม่ได้รับความดูแล เกิดความเน่าเสียได้ง่าย ในหลายๆเมือง ได้นำคลองมาใช้ในการนันทนาการแทนที่ โดยมีการล่องเรือนำเที่ยวเมืองภายในคลอง ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้มีความเชื่อว่าบนดาวอังคารได้มีคลอง.

ใหม่!!: คลองปานามาและคลอง · ดูเพิ่มเติม »

คลองเดินเรือสมุทร

ลองปานามา คลองเดินเรือสมุทร (Ship canal) เป็นคลองที่วางแผนเอาไว้โดยเฉพาะเพื่ออำนวยความสะดวกแก่เรือที่ใช้มหาสมุทร ทะเล หรือทะเล.

ใหม่!!: คลองปานามาและคลองเดินเรือสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

คอคอด

อคอด (isthmus) หมายถึง แผ่นดินลักษณะแคบที่เชื่อมระหว่างแผ่นดินขนาดใหญ่สองแห่งที่มีขนาดใหญ่กว่าเข้าด้วยกัน อย่างเช่น คอคอดปานามา ซึ่งเชื่อมระหว่างทวีปอเมริกาเหนือเข้ากับทวีปอเมริกาใต้ มักจะมีการขุดคลองในบริเวณที่มีลักษณะเป็นคอคอด เพื่อประโยชน์ในการย่นระยะทางและระยะเวลาการขนส่งทางทะเล ตัวอย่างเช่น คลองปานามา เชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก โดยสร้างทับคอคอดปานามา เป็นต้น.

ใหม่!!: คลองปานามาและคอคอด · ดูเพิ่มเติม »

คอคอดปานามา

อคอดปานามา คอคอดปานามา (Istmo de Panamá) หรือในอดีตเรียก คอคอดดาเรียน (Istmo de Darién) เป็นแผ่นดินกิ่วคอดซึ่งอยู่กลางทะเลแคริบเบียนและมหาสมุทรแปซิฟิก และเชื่อมทวีปอเมริกาเหนือเข้ากับทวีปอเมริกาใต้ ทั้งเป็นดินแดนประเทศปานามาและเป็นแหล่งคลองปานามา นอกจากนี้ ยังมีคุณค่าทางยุทธศาสตร์นานัปการเช่นเดียวกับคอคอดแห่งอื่น ๆ คอคอดปานาเกิดขึ้นราวสามล้านปีก่อนในยุคไพลโอซีน ซึ่งทำให้มหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิกแยกจากกัน และก่อให้เกิดกระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรดังกล่าว.

ใหม่!!: คลองปานามาและคอคอดปานามา · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์สหรัฐ

วันเริ่มต้นประวัติศาสตร์ของประเทศสหรัฐมีการถกเถียงกันในหมู่นักประวัติศาสตร.

ใหม่!!: คลองปานามาและประวัติศาสตร์สหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศปานามา

ปานามา (Panamá) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐปานามา (República de Panamá) เป็นประเทศที่อยู่ทางใต้สุดของอเมริกากลาง มีอาณาเขตจรดประเทศคอสตาริกาทางทิศตะวันตก และจรดประเทศโคลอมเบียทางทิศตะวันออก.

ใหม่!!: คลองปานามาและประเทศปานามา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสิงโตปีก

ปลาสิงโตปีก หรือ ปลาสิงโตปีกจุด (Red lionfish; /เท-โร-อิส-โว-ลิ-แทนส์/) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง จำพวกปลาสิงโต ในวงศ์ปลาแมงป่อง (Scorpaenidae) มีครีบอกแผ่กว้างมีก้านครีบแข็งยื่นยาวออกไป และมีเยื่อยึดระหว่างก้านครีบ ครีบหางโค้งมน พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน มีจุดสีดำแต้มบนเยื่อยึดระหว่างก้านครีบอก ครีบหลังมีก้านครีบแข็งทั้งหมด 13 ก้าน ซึ่งแต่ละก้านสามารถเคลื่อนไหวเป็นอิสระ โดยมีครีบเป็นตัวยึดติดไว้ ในก้านครีบหลังมีบางก้านซึ่งมีเข็มพิษและภายในบรรจุถุงพิษ รวมถึงครีบอื่น ๆ เช่น ครีบก้น, ครีบอก ด้วย หากถูกแทงจะได้รับความเจ็บปวดมาก เมื่อแทงเข้าไปในเนื้อเยื่อของผู้ที่โดนแทงจะก่อให้เกิดความปวดแสบปวดร้อน เพราะมีผลต่อระบบกล้ามเนื้อ ก่อให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น เป็นอัมพาต หรืออัมพาตชั่วคราว รวมถึงเป็นแผลพุพองได้ด้วย ขนาดโตเต็มที่สามารถยาวได้ถึง 47 เซนติเมตร (18.5 นิ้ว) ในขณะที่ยังเป็นปลาวัยอ่อนจะมีความยาวสั้นกว่า 1 นิ้ว (2.5 เซนติเมตร) มีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 10 ปีNational Oceanic and Atmospheric Administration, National Centers for Coastal Ocean Science "Have You Seen Me?" Encyclopedia of Life (EOL).

ใหม่!!: คลองปานามาและปลาสิงโตปีก · ดูเพิ่มเติม »

ปานามาซิตี

ทิวทัศน์กรุงปานามาซิตี มองจากเนินเขาเซร์โรอันซอง ยอดโบสถ์การ์เมง (Iglesia del Carmen) ในเขตกัสโกเวียโฮ (Casco Viejo) กรุงปานามาซิตีสมัยใหม่ ผ่านอ่าวปานามา มองจากท่าเรือเก่าใกล้ตลาดสาธารณะ (Mercado Publico) ในเขตซันเฟลีเป (กัสโกเวียโฮ) ถนนที่เชื่อมระหว่างเกาะนาโอส เกาะเปรีโก และเกาะฟลาเมงโกเข้ากับแผ่นดินใหญ่ มีช่องทางจักรยานขนานไปกับถนน ปานามาซิตี (Panama City) หรือ ซิวดัดเดปานามา (Ciudad de Panamá) เป็นเมืองหลวงของประเทศปานามา ตั้งอยู่ทางฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ปากทางเข้าคลองปานามา ที่พิกัดภูมิศาสตร์ ปานามาซิตีเป็นศูนย์กลางการเมือง การบริหาร และวัฒนธรรมของประเทศ ฮวน การ์โลส นาบาร์โรเป็นนายกเทศมนตรีคนปัจจุบัน ปัจจุบันกรุงปานามาซิตีมีจำนวนประชากร 708,738 คน รวมเขตนครหลวงทั้งหมดมี 1,063,000 คน.

ใหม่!!: คลองปานามาและปานามาซิตี · ดูเพิ่มเติม »

แฟร์ดีน็อง เดอ แลแซ็ปส์

แฟร์ดีน็อง เดอ แลแซ็ปส์ แฟร์ดีน็อง มารี วีกงต์ เดอ แลแซ็ปส์ (Ferdinand Marie, Vicomte de Lesseps; 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1805 - 7 ธันวาคม ค.ศ. 1894) เป็นหัวหน้าวิศวกรและนักการทูตชาวฝรั่งเศสผู้สร้างคลองสุเอซสำเร็จในปี ค.ศ. 1869 ถึงแม้เขาจะประสบความล้มเหลวในการสร้างคลองปานามา แต่เขาก็เป็นผู้วางแนวคิดและหลักวิชาการทางด้านวิศวกรรม ที่ใช้แก้ปัญหาจนนำความสำเร็จในการสร้างคลองปานามา หมวดหมู่:วิศวกรชาวฝรั่งเศส หมวดหมู่:นักการทูตชาวฝรั่งเศส.

ใหม่!!: คลองปานามาและแฟร์ดีน็อง เดอ แลแซ็ปส์ · ดูเพิ่มเติม »

แอตแลนติส

แอตแลนติส (Ἀτλαντὶς) คือชื่อในภาษากรีกที่มีความหมายว่า "เกาะแอตลาส" เป็นอาณาจักรในตำนานที่ถูกกล่าวถึงโดยเพลโต ปราชญ์ของกรีกโบราณที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวคิดตะวันตก กล่าวกันว่าอาณาจักรแอตแลนติส เป็นทวีปๆ หนึ่งที่อยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นที่อยู่อาศัยของพลเมืองผู้ทรงคุณธรรมและเทคโนโลยีที่สูงส่ง กำแพงเมืองเป็นทองคำและวิหารสร้างด้วยเงิน มีอุทยานหย่อนใจ และสนามแข่งม้า ทว่ามันถูกทำลายพังพินาศ ด้วยความพิโรธของเทพเจ้าผู้เนรมิตรมันขึ้นมา คำว่า แอตแลนติส มาจากแอตลาสบุตรของโพไซดอน แอตแลนติสอาจอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน นักประดาน้ำบางคนพบขุมทองบริเวณนั้นนั่นเอง เพลโต นักปราชญ์ชาวกรีกเขียนไว้เมื่อราว 300 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งยุคของเพลโต ห่างจากยุคของแอตแลนติสราว 9,000 ปี เพลโตเขียนถึงแอตแลนติสในหนังสือที่ชื่อว่า ทิเมอุส และ ครีทีแอซ โดยอ้างว่า โซลอน รัฐบุรุษคนหนึ่งของกรีกราวยุค 600 ปีก่อนคริสตกาล เป็นผู้นำมาเผยแพร่หลังจากรับทราบเรื่องราวของแอตแลนติสจากนักบวชชาวอียิปต์ท่านหนึ่ง มีการกล่าวว่า อารยธรรมโบราณหลายๆ แห่งของโลก ไม่ว่าจะเป็นอียิปต์ รวมถึงบรรดาวัฒนธรรมเมโสโปเตเมียทั้งหลาย ไปจนถึงวัฒนธรรมโบราณของชนเผ่าอินคา มายา และแอซแต็กในแถบอเมริกากลาง รวมทั้งสิ่งปลูกสร้างที่มหัศจรรย์ ไม่ว่าจะเป็นสโตนเฮ้นจ์ หรือปิรามิดในดินแดนต่างๆ ทั่วโลก ต่างก็เป็นมรดกจากชาวแอตแลนติสทั้งสิ้น.

ใหม่!!: คลองปานามาและแอตแลนติส · ดูเพิ่มเติม »

โอมาร์ ตอร์รีคอส

อมาร์ ตอร์รีคอส กับชาวนาชาวปานามา โอมาร์ ตอร์รีคอส (Omar Torrijos) (13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1929 - 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1981) เป็นผู้นำกลุ่มเผด็จการชาวปานามา ในช่วงระหว่างปี 1968 ถึง 1981 ถึงแม้เขาจะเป็นเผด็จการฝ่ายซ้ายแต่เขาก็ยังได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ บทบาทของตอร์รีคอส คือเป็นผู้เจรจาในสนธิสัญญาตอร์รีคอส-คาร์เตอร์ ที่ทำให้ปานามามีอำนาจการควบคุมดูแลคลองปานามา จากสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ในวันที่ 31 ธันวาคม..

ใหม่!!: คลองปานามาและโอมาร์ ตอร์รีคอส · ดูเพิ่มเติม »

เส้นทางการค้า

้นทางการค้า (trade route) คือเส้นทางที่ในเครือข่ายที่บ่งว่าเป็นเส้นทางและจุดหยุดพักที่ใช้ในการขนส่งสินค้าไปยังตลาดที่อยู่ในดินแดนที่ไกลออกไปจากต้นแหล่งที่ผลิตสินค้ามาก เส้นทางการค้าแต่ละเส้นทางก็จะประกอบด้วยถนนสายหลัก (Arterial road) ที่อาจจะมีเครือข่ายย่อยๆ ที่ใช้เป็นเส้นทางการค้าและการคมนาคมมาบรรจบ ในประวัติศาสตร์ช่วงตั้งแต่ปี 1532 ก่อนคริสต์ศักราช จนถึง..

ใหม่!!: คลองปานามาและเส้นทางการค้า · ดูเพิ่มเติม »

เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก

็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก (Seven Wonders of the World) คือ สิ่งก่อสร้างที่มีความยิ่งใหญ่และโดดเด่น ทั้งหมด 7 แห่งด้วยกัน โดยมีการกล่าวถึงครั้งแรกในงานของเฮโรโดตุส (Herodotos หรือ Herodotus เมื่อราว 5 ศตวรรษก่อนคริสตกาล แต่หลังจากนั้นก็การอ้างถึงจากกวีชาวกรีก เช่น คัลลิมาฆุส แห่งคีเรนี, อันทิพาเตอร์ แห่งซีดอน และฟิโล แห่งไบเซนไทน์ เมื่อราวศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ หรือสิ่งมหัศจรรย์ทั้งเจ็ดของโลก ในบัญชีแรก เรียกกันว่า เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ และหลังจากนั้น ยังมีบัญชีเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลางและยุคปัจจุบัน โดยไม่ปรากฏผู้จัดทำรายการอย่างชัดเจน.

ใหม่!!: คลองปานามาและเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก · ดูเพิ่มเติม »

15 สิงหาคม

วันที่ 15 สิงหาคม เป็นวันที่ 227 ของปี (วันที่ 228 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 138 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: คลองปานามาและ15 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Panama Canal

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »