โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การประท้วง

ดัชนี การประท้วง

การประท้วง การประท้วง (Protest) เป็นการแสดงออกด้วยการกระทำ เพื่อแสดงให้เห็นว่าคัดค้าน หรือ ไม่เห็นด้วย มีหลากหลายวิธี เช่น การ อดข้าวประท้วง การเดินประท้วง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการแสดงออกทางสังคมและการเมือง การประท้วงที่ใช้ความรุนแรงก่อให้เกิดความวุ่นวายจะกลายเป็น การจลาจล.

20 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2499พระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)พหุนิยมการบ่อนทำลายการก่อการกำเริบในบูร์กินาฟาโซ พ.ศ. 2557การจลาจลการค้าประเวณีเด็กการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็กการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน พ.ศ. 2532การประท้วงต่อต้านสงคราม 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546การประท้วงในกัมพูชา พ.ศ. 2556–2557การประท้วงในเกาหลีใต้ พ.ศ. 2559การเดินขบวนฝูงชนวุ่นวายมุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกีระเบิดขวดอาหรับสปริงประชาธิปไตยแฟลชม็อบโอลิมปิกฤดูหนาว 2014

พ.ศ. 2499

ทธศักราช 2499 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1956 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: การประท้วงและพ.ศ. 2499 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)

ระเจ้าช้างเผือก (The King of the White Elephant) เป็นภาพยนตร์ไทยขาวดำ ในระบบ 35 มม.

ใหม่!!: การประท้วงและพระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์) · ดูเพิ่มเติม »

พหุนิยม

หุนิยม (Pluralism) เป็นหนึ่งในบรรดาคำหลายๆ คำที่ถูกหยิบยกไปใช้อย่างกว้างขวางในแทบจะทุกสาขา แต่โดยรวมแล้วจะมีนัยหมายถึงชุดของแนวคิดที่รับรู้ว่ามีความแตกต่างด้านแนวคิดอยู่ในสังคม และสนับสนุนในความแตกต่างหลากหลายทางแนวคิดเหล่านั้น รวมไปถึงต่อต้านการผูกขาดการตีความ หรือ การครอบงำโดยแนวคิดใดแนวคิดหนึ่งเพียงแนวคิดเดียว เช่น พหุวัฒนธรรม (cultural pluralism) นั้นสนับสนุนแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับความแตกต่างหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม และไม่ยอมรับการครอบงำด้วยอิทธิพลของวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง หรือ พหุนิยมเชิงญาณวิทยา (epistemological pluralism) ที่มองว่าองค์ความรู้นั้นมีวิธีการอธิบาย และเข้าถึงตัวองค์ความรู้ได้หลากหลายวิธี โดยมิได้ถูกครอบงำด้วยวิธี และรูปแบบการอธิบายของสำนักคิดใดสำนักคิดหนึ่งเพียงสำนักเดียว (Kurian, 2011: 1213).

ใหม่!!: การประท้วงและพหุนิยม · ดูเพิ่มเติม »

การบ่อนทำลาย

การบ่อนทำลาย (subversion) หมายถึง ความพยายามเปลี่ยนแปลงระเบียบสังคมและโครงสร้างอำนาจ อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายและลำดับชั้นบังคับบัญชาของสังคมอันเป็นที่ยอมรับ การบ่อนทำลายยังหมายถึง กระบวนการซึ่งค่านิยมและหลักของระบบที่มีอยู่ถูกขัดแย้งหรือสวนทาง การบ่อนทำลายใช้เป็นเครื่องมือบรรลุเป้าหมายทางการเมือง เพราะโดยทั่วไปมีความเสี่ยง ราคาและความยากน้อยกว่า ซึ่งตรงข้ามกับการเป็นคู่สงครามอย่างเปิดเผย ยิ่งไปกว่านั้น การบ่อนทำลายยังเป็นการสงครามรูปแบบที่ค่อนข้างราคาถูกซึ่งไม่ต้องอาศัยการฝึกมากนัก โดยทั่วไป กลุ่มก่อการร้ายไม่ใช้การบ่อนทำลายเป็นเครื่องมือบรรลุเป้าหมายของตน การบ่อนทำลายเป็นกิจกรรมที่เน้นกำลังคนและหลายกลุ่มขาดกำลังคนและเครือข่ายการเมืองและสังคมเพื่อดำเนินกิจกรรมบ่อนทำลาย ทว่า การกระทำของผู้ก่อการร้ายอาจมีผลบ่อนทำลายต่อสังคม การบ่อนทำลายยังส่อความการใช้วิธีแอบแฝง ไม่ซื่อสัตย์ การเงินหรือรุนแรงเพื่อนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงเช่นว่า การบ่อนทำลายขัดกับการประท้วง รัฐประหาร หรือการดำเนินผ่านวิธีดั้งเดิมที่มีอยู่ในระบบการเมืองหนึ่งเพื่อนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง ยิ่งไปกว่านั้น การบ่อนทำลายภายนอก คือ การที่ "รัฐผู้รุกรานพยายามเกณฑ์และสนับสนุนตัวแสดงทางการเมืองและทหารพื้นเมืองเพื่อโค่นรัฐบาลของตนโดยรัฐประหาร" หากการบ่อนทำลายไม่อาจบรรลุเป้าหมายการนำมาซึ่งรัฐประหารได้ เป็นไปได้ว่าตัวแสดงและการกระทำของกลุ่มบ่อนทำลายอาจเปลี่ยนเป็นการก่อการกบฏ และ/หรือ การสงครามกองโจรได้.

ใหม่!!: การประท้วงและการบ่อนทำลาย · ดูเพิ่มเติม »

การก่อการกำเริบในบูร์กินาฟาโซ พ.ศ. 2557

การก่อการกำเริบในบูร์กินาฟาโซเป็นชุดการเดินขบวนและการจลาจลในประเทศบูร์กินาฟาโซในเดือนตุลาคม..

ใหม่!!: การประท้วงและการก่อการกำเริบในบูร์กินาฟาโซ พ.ศ. 2557 · ดูเพิ่มเติม »

การจลาจล

การจุดไฟเผารถยนต์ระหว่างการจลาจล การจลาจล เป็นรูปแบบหนึ่งของการก่อความไม่สงบต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทรัพย์สินหรือประชาชน ซึ่งมีลักษณะเป็นการปรากฏตัวออกมาทันใดของกลุ่มคนที่ไม่มีการจัดระเบียบและหุนหันพลันแล่นที่จะใช้ความรุนแรง ถึงแม้ว่าอาจมีคนหรือกลุ่มคนพยายามที่จะนำหรือควบคุมการจลาจล แต่ส่วนใหญ่แล้วการจลาจลมักไร้ระเบียบเป็นธรรมดาและแสดงพฤติกรรมฝูง การจลาจลมักเกิดขึ้นเป็นปฏิกิรยาจากการได้รับความเดือดร้อนหรือการแสดงความไม่เห็นด้วย ในประวัติศาสตร์ การจลาจลเกิดขึ้นเนื่องจากได้รับค่าแรงต่ำหรือคุณภาพชีวิต รัฐบาล การกดขี่ ภาษีหรือการเกณฑ์ทหาร ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มเชื้อชาติ การขาดแคลนอาหารหรือความขัดแย้งทางศาสนา ผลจากการแข่งขันกีฬาหรือความไม่พอใจกับช่องทางของกฎหมายผ่านการแสดงความคับข้องใจ การจลาจลมักเกี่ยวข้องกับการทำลายทรัพย์สินของรัฐหรือเอกชน ทรัพย์สินที่ตกเป็นเป้าหมายโดยเฉพาะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุของการจลาจลและการโน้มเอียงทางความคิด เป้าหมายสามารถรวมไปถึงร้านค้า รถยนต์ ร้านอาหาร สถาบันของรัฐหรือสิ่งก่อสร้างทางศาสนา ผู้ก่อการจลาจลจำนวนหนึ่งค่อนข้างมีความชำนาญในการทำความเข้าใจและการสกัดยุทธวิธีที่ตำรวจใช้ในสถานการณ์จลาจล คู่มือสำหรับการจลาจลให้ประสบความสำเร็จสามารถเข้าถึงได้บนอินเทอร์เน็ต คู่มือเหล่านี้ยังกระตุ้นให้ผู้ก่อการจลาจลนำสื่อเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เนื่องจากพบว่าการมีกล้องไปด้วยจะมีความปลอดภัยและได้รับความสนใจมากกว่า พลเมืองที่มีกล้องวิดีโอยังสามารถมีผลกระทบต่อทั้งผู้ก่อการจลาจลและตำรวจได้ เจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนสวมเกราะลำตัวและโล่ การรับมือกับการจลาจลมักจะเป็นงานยากของกรมตำรวจบ่อยครั้ง และเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ถูกส่งตัวไปรับมือกับการจลาจลมักจะถือโล่ยุทธวิธีและลูกซองปราบจลาจล ส่วนใหญ่เนื่องมาจากการกระจายที่กว้างกว่าของล้ากล้องสั้น ตำรวจยังอาจใช้แก๊สน้ำตาหรือแก๊สซีเอสเพื่อหยุดผู้ก่อการจลาจล ตำรวจปราบจลาจลส่วนใหญ่ใช้วิธีอาวุธไม่ร้ายแรงในการควบคุมฝูงชน อย่างเช่น ปืนลูกซองที่ยิงกระสุนยางและกระสุนถุงตะกั่วเพื่อทำให้ได้รับบาดเจ็บหรือทำให้ผู้ก่อการจลาจลง่ายต่อการจับกุม.

ใหม่!!: การประท้วงและการจลาจล · ดูเพิ่มเติม »

การค้าประเวณีเด็ก

การค้าประเวณีเด็ก (Prostitution of children, child prostitution) เป็นการค้าประเวณีที่เกี่ยวกับเด็ก เป็นรูปแบบหนึ่งของการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก เด็กในที่นี้มักจะหมายถึงผู้เยาว์ หรือบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ในเขตกฎหมายโดยมาก การค้าประเวณีเด็กผิดกฎหมายโดยเป็นส่วนของกฎหมายห้ามการค้าประเวณีโดยทั่ว ๆ ไป การค้าประเวณีเด็กมักจะปรากฏในรูปแบบของการค้าเซ็กซ์ (sex trafficking) ที่เด็กถูกลักพาตัว หรือถูกหลอกให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการค้าเพศ หรือว่า เป็นเซ็กซ์เพื่อการอยู่รอด ที่เด็กจะร่วมกิจกรรมทางเพศแลกเปลี่ยนกับปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อชีวิตรวมทั้งอาหารและที่อยู่อาศัย การค้าประเวณีเด็กมักจะเกี่ยวข้องกับสื่อลามกอนาจารเด็ก และบางครั้งจะเกิดขึ้นคาบเกี่ยวกัน และมีคนที่เดินทางไปต่างประเทศเพื่อจะเที่ยวเซ็กซ์ทัวร์เด็ก งานวิจัยแสดงว่า อาจจะมีเด็กมากถึง 10 ล้านคนทั่วโลกที่ค้าประเวณี โดยมีปัญหาหนักที่สุดในทวีปอเมริกาใต้และเอเชีย แต่ก็เป็นปัญหาทั่วโลก ทั้งในประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาแล้ว สหประชาชาติได้กำหนดว่า การค้าประเวณีเด็กผิดกฎหมายสากล โดยมีการรณรงค์และองค์กรต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านการปฏิบัติการเช่นนี้ เด็กโดยมากที่เกี่ยวข้องเป็นหญิง อาจจะอายุเพียงแค่ 4-5 ขวบ เรียนน้อยมากและถูกคนแปลกหน้าหลอกได้ง.

ใหม่!!: การประท้วงและการค้าประเวณีเด็ก · ดูเพิ่มเติม »

การฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก

การฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก (Commercial sexual exploitation of children ตัวย่อ CSEC) เป็นธุรกรรมทางการค้าที่อาศัยการฉวยประโยชน์ทางเพศ (sexual exploitation) จากเด็ก เช่นการค้าประเวณี และสื่อลามกอนาจาร อาจจะมีการบีบบังคับและการใช้ความรุนแรงต่อเด็ก เท่ากับเป็นแรงงานบังคับและเป็นรูปแบบความเป็นทาสยุคปัจจุบัน รวมทั้งการให้บริการทางเพศของเด็กเพื่อผลประโยชน์แลกเปลี่ยน จะเป็นเงินทองหรืออะไรอย่างอื่นก็ดี ปฏิญญาของงานประชุมโลกใหญ่ต้านการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก (Declaration of the First World Congress against Commercial Sexual Exploitation of Children) ที่ประชุมในเมืองสตอกโฮล์มปี 2539 นิยาม CSEC ว่า CSEC ยังหมายถึงเซ็กซ์ทัวร์ และธุรกรรมทางเพศแบบอื่น ๆ ที่เด็กร่วมกิจกรรมทางเพศเพื่อแลกปัจจัยที่จำเป็นต่อชีวิต เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย หรือการศึกษา รวมทั้งรูปแบบที่สมาชิกในบ้านไม่ห้ามหรือแจ้งตำรวจเกี่ยวกับทารุณกรรมต่อเด็ก เนื่องจากได้ผลประโยชน์จากผู้กระทำผิด และอาจรวมการแต่งงานแบบคลุมถุงชนสำหรับเด็กที่ยังไม่ถึงอายุที่ยอมให้ร่วมประเวณีได้ ที่เด็กไม่ได้ยินยอมและถูกทารุณทางเพศ ศูนย์เพื่อเด็กหายและถูกฉวยผลประโยชน์แห่งชาติ (National Center for Missing and Exploited Children) ซึ่งเป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไรเอกชน (แต่เบื้องต้นจัดตั้งโดยรัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกา) กล่าวว่า เด็กหญิง 1 ใน 5 และเด็กชาย 1 ใน 10 จะถูกฉวยประโยชน์หรือทารุณกรรมทางเพศก่อนจะโตเป็นผู้หใญ่ ส่วนกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) กล่าวว่า การฉวยประโยชน์ทางเพศจากเด็กเป็น "การล่วงละเมิดสิทธิที่รุนแรงที่สุดที่เด็กคนหนึ่งอาจจะต้องอดทนอดกลั้น".

ใหม่!!: การประท้วงและการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก · ดูเพิ่มเติม »

การประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน พ.ศ. 2532

การชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน เป็นเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ระหว่างวันที่ 15 เมษายน - 4 มิถุนายน..

ใหม่!!: การประท้วงและการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน พ.ศ. 2532 · ดูเพิ่มเติม »

การประท้วงต่อต้านสงคราม 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546

การประท้วงต่อต้านสงคราม 15 กุมภาพัน..

ใหม่!!: การประท้วงและการประท้วงต่อต้านสงคราม 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 · ดูเพิ่มเติม »

การประท้วงในกัมพูชา พ.ศ. 2556–2557

การประท้วงต่อต้านรัฐบาล (បាតុកម្មប្រឆាំងរាជរដ្ឋាភិបាល) ได้เริ่มต้นขึ้นที่กัมพูชาเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 โดยผู้ประท้วงได้รวมตัวกันที่พนมเปญเพื่อขับไล่รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีฮุน เซนซึ่งผู้ชุมนุมเห็นว่ารัฐบาลได้โกงการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 รวมถึงความต้องการให้ปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 160 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ(5,280 บาท) ต่อเดือน และความไม่พอใจที่ประเทศเวียดนามมีอิทธิพลต่อกัมพูชา ซึ่งพรรคฝ่ายค้านหลักปฏิเสธที่จะมีส่วนร่วมในรัฐสภาหลังการเลือกตั้ง และการเดินขบวนครั้งใหญ่ได้เกิดขึ้นตลอดเดือนธันวาคม..

ใหม่!!: การประท้วงและการประท้วงในกัมพูชา พ.ศ. 2556–2557 · ดูเพิ่มเติม »

การประท้วงในเกาหลีใต้ พ.ศ. 2559

การประท้วงในเกาหลีใต้..

ใหม่!!: การประท้วงและการประท้วงในเกาหลีใต้ พ.ศ. 2559 · ดูเพิ่มเติม »

การเดินขบวน

งผ่านคบเพลิงโอลิมปิก ค.ศ. 2008 การเดินขบวนวันจันทร์ในเยอรมนีตะวันออก การเคลื่อนไหวของขบวนการสิทธิพลเมืองอเมริกันใน วอชิงตัน โดยเดินแถวไปสู่อนุสาวรีย์วอชิงตัน เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1963 การปฏิวัติออเรนจ์ ผู้เดินขบวนจัดตั้งค่ายพักแรมเพื่อเดินขบวนกันอย่างยืดเยื้อ การเดินขบวนเพื่อสนับสนุน ข้อตกลงเจนีวา (Geneva Accord) เมื่อ ค.ศ. 2004 การประท้วงการเลือกตั้งในอิหร่าน พ.ศ. 2552 ประชาชนชาวไต้หวันปิดล้อมทำเนียบประธานาธิบดีที่กรุงไทเปเพื่อกดดันให้ เฉิน สุยเปี่ยน ประธานาธิบดีจีนลาออก การเดินขบวนหน้ารัฐสภาอังกฤษ การเดินขบวน (demonstration) เป็นรูปแบบหนึ่งของการเคลื่อนไหวโดยปราศจากความรุนแรง (nonviolent) ของกลุ่มบุคคลเพื่อประโยชน์ทางการเมืองหรืออื่น ๆ ซึ่งปรกติมักมีการเดินรณรงค์เป็นขบวน และมีการชุมนุมพูดจาปราศรัย และบางทีก็อาจมีการปิดล้อม (blockade) และการยึดพื้นที่ประท้วง (sit-in) ด้วย ซึ่งการเดินขบวนจัดเป็นกิจกรรมหนึ่งในลัทธิกิจกรรมนิยม (activism) อันเป็นความนิยมกระทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุความมุ่งหมายทางการเมืองของกลุ่มตน การเดินขบวนอาจมีขึ้นเพื่อแสดงมุมมองเกี่ยวกับประเด็นสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นมุมมองด้านบวกก็ดี ด้านลบก็ดี และประเด็นเช่นว่ามักเกี่ยวกับการร้องทุกข์หรือความอยุติธรรมทางสังคม แต่บางครั้งก็เกี่ยวกับเศรษฐกิจ โดยผู้เดินขบวนมักเห็นว่ากิจกรรมของตนจะประสบความสำเร็จยิ่งขึ้นถ้ามีผู้ร่วมกิจกรรมมากขึ้น ในภาษาอังกฤษ คำ "demonstration" เพิ่งเริ่มใช้ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 เพื่อแทนที่ "monster meeting" อันหมายความว่า "การชุนนุมของอมนุษย์" ซึ่งคำ "demonstration" นั้นบัญญัติขึ้นโดยกลุ่มผู้ประท้วงในไอร์แลนด์ที่ได้รับอิทธิพลในการชุมนุมจากนักการเมือง แดเนียล โอคอนเนล (Daniel O'Connell) Oxford English Dictionary.

ใหม่!!: การประท้วงและการเดินขบวน · ดูเพิ่มเติม »

ฝูงชนวุ่นวาย

220x220px ฝูงชนวุ่นวาย หรือ ม็อบ (mob) หมายถึง การรวมตัวกันของผู้คนอย่างไร้ระเบียบ ซึ่งในทางพฤตินัยมักเกิดขึ้นเพราะความกริ้วโกรธหรือไม่พึงพอใจ และบางครั้งก็เป็นส่วนหนึ่งของการจลาจล อันจะเรียกว่าฝูงชนวุ่นวายได้นั้น มักถือเอาจำนวนผู้รวมตัวกันว่ามากกว่าสิบคนขึ้นไป ในทางสังคมศาสตร์ คำว่า "ฝูงชุนวุ่นวาย" นั้นมีความหมายแค่เพียงตามตัวอักษรเช่นนั้นเท่านั้น แต่คนทั่วไปมักเข้าใจว่าเป็นการรวมตัวกันเพื่อประท้วง เรียกร้อง หรือกระทำการใด ๆ อันไม่ค่อยสงบเรียบร้อยนักเป็นต้น คำว่า "mob" ในภาษาอังกฤษนั้นมาจากศัพท์ภาษาละตินว่า "mobile vulgus" หมายความว่า ฝูงชนวุ่นวาย หมวดหมู่:นิติศาสตร์ หมวดหมู่:รัฐศาสตร์ หมวดหมู่:สังคมศาสตร์ de:Mob (Personen) en:Crowd fr:Foule he:המון hr:Rulja ja:集団 pl:Tłum ru:Толпа sk:Dav sv:Massa (sociologi).

ใหม่!!: การประท้วงและฝูงชนวุ่นวาย · ดูเพิ่มเติม »

มุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกี

นม ชอมสกี เป็นผู้มีชื่อเสียงในฐานะปัญญาชน นักปฏิบัติการ (หรือนักกิจกรรม) ทางการเมือง และนักวิจารณ์ เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลอื่น ๆ เขาเรียกตัวเองว่า นักสังคมนิยมแบบอิสรนิยม ผู้สนับสนุนสหการนิยมแบบอนาธิปไตย (anarcho-syndicalism) และมองว่า เป็นผู้รอบรู้สำคัญคนหนึ่งในการเมืองฝ่ายซ้ายของสหรัฐ โนม ชอมสกี ในการประท้วงต่อต้านสงครามในเมืองแวนคูเวอร์ พ.ศ. 2547.

ใหม่!!: การประท้วงและมุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกี · ดูเพิ่มเติม »

ระเบิดขวด

ระเบิดขวด (Molotov cocktail) เป็นชื่อเรียกทั่วไปของระเบิดเพลิงอย่างง่าย ที่มีส่วนประกอบเป็น ขวดแก้วบรรจุน้ำมันก๊าด, น้ำมันเบนซิน หรือสารที่ใช้ในระเบิดนาปาล์ม และมีไส้ที่ชุบแอลกอฮอล์หรือสารติดไฟอื่นๆ อยู่ที่ฝาขวด เมื่อจุดไฟที่ไส้ แล้วขว้างไปกระทบเป้าหมาย ขวดจะแตกทำให้น้ำมันภายในสัมผัสกับไฟที่ติดอยู่ที่ไส้ เกิดเป็นเพลิงใหม้อยู่บนเป้าหมาย ระเบิดขวด มีจุดประสงค์หลักที่จะทำให้เกิดไฟลุกท่วมเป้าหมาย มากกว่าจะเป็นการทำลายเป้าหมายในทันที และเนื่องจากสร้างขึ้นได้ง่าย จะนิยมใช้โดยกลุ่มผู้ประท้วง หรือกลุ่มผู้ก่อจลาจล.

ใหม่!!: การประท้วงและระเบิดขวด · ดูเพิ่มเติม »

อาหรับสปริง

อาหรับสปริง (Arab Spring, الثورات العربية‎ al-Thawrāt al-ʻArabiyyah) เป็นคลื่นปฏิวัติการเดินขบวน การประท้วงและสงครามซึ่งเกิดขึ้นในโลกอาหรับตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2553 ตราบจนปัจจุบัน ผู้ปกครองถูกโค่นจากอำนาจในตูนิเซีย อียิปต์ ลิเบีย และเยเมน การก่อการกำเริบพลเมืองอุบัติขึ้นในบาห์เรน และซีเรีย การประท้วงใหญ่เกิดขึ้นในอัลจีเรีย อิรัก จอร์แดน คูเวต โมร็อกโก และซูดาน และการประท้วงเล็กเกิดในเลบานอน มอริเตเนีย โอมาน ซาอุดิอาระเบีย จิบูตี และเวสเทิร์นสะฮารา การประท้วงมีเทคนิคการดื้อแพ่งร่วมกันในการรณรงค์ต่อเนื่องซึ่งเกี่ยวข้องกับการนัดหยุดงาน การเดินขบวน การเดินแถว และการชุมนม เช่นเดียวกับการใช้โซเชียลมีเดียในการจัดระเบียบ สื่อสารและสร้างความตระหนักเมื่อเผชิญกับความพยายามของรัฐในการปราบปรามและตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ต การเดินขบวนอาหรับสปริงหลายประเทศเผชิญกับการตอบสนองรุนแรงจากทางการ เช่นเดียวกับทหารอาสาสมัครนิยมรัฐบาลและการเดินขบวนโต้ตอบ การโจมตีเหล่านี้ได้รับการสนองจากผู้ประท้วงด้วยความรุนแรงในบางกรณี.

ใหม่!!: การประท้วงและอาหรับสปริง · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตย

รัฐที่มิได้มองว่าตนปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ นครรัฐวาติกัน ประเทศซาอุดิอาระเบีย UAE กาตาร์ โอมาน ฟิจิและบรูไน ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตยเกิดขึ้นในบางนครรัฐกรีกโบราณช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเธนส์หลังการก่อการกำเริบเมื่อ 508 ปีก่อนคริสตกาล ประชาธิปไตยแบบนี้เรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งพลเมืองเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง แต่ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยสาธารณะออกเสียงในการเลือกตั้งและเลือกนักการเมืองเป็นผู้แทนตนในรัฐสภา จากนั้น สมาชิกสภาจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก ประชาธิปไตยทางตรงยังมีอยู่ในระดับท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล อย่างไรก็ดี ในระดับชาติ ความเป็นประชาธิปไตยทางตรงมีเพียงการลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมายและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง แม้ในปัจจุบัน ประชาธิปไตยจะยังไม่มีนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีการระบุว่าความเสมอภาคและอิสรภาพเป็นคุณลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนับแต่โบราณกาลR.

ใหม่!!: การประท้วงและประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

แฟลชม็อบ

แฟลชม็อบแสดงการต่อสู้ด้วยหมอน ในดาวน์ทาวน์ของโตรอนโต (พ.ศ. 2548) เพื่อให้ผู้คนที่ผ่านไปมาประหลาดใจ แฟลชม็อบ (flash mob หรือ flashmob) คือการรวมตัวของกลุ่มคนในสถานที่หนึ่งอย่างฉับพลัน เพื่อแสดงสิ่งแปลกตาและดูเหมือนไม่มีจุดมุ่งหมายในช่วงระยะเวลาอันสั้น จากนั้นจึงสลายตัว มักจะทำเพื่อจุดประสงค์การบันเทิง การล้อเลียน หรือการแสดงออกทางศิลปะ แฟลชม็อบเกิดขึ้นโดยการนัดกันผ่านการสื่อสารโทรคมนาคม เครือข่ายสังคม หรือการส่งอีเมลต่อ ๆ กัน ศัพท์คำนี้เกิดขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: การประท้วงและแฟลชม็อบ · ดูเพิ่มเติม »

โอลิมปิกฤดูหนาว 2014

กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 22 (XXII Olympic Winter Games) เป็นการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 22 จัดขึ้น ณ เมืองโซชี ประเทศรัสเซีย ระหว่างวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ถึง 23 กุมภาพัน..

ใหม่!!: การประท้วงและโอลิมปิกฤดูหนาว 2014 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Mass demonstrationประท้วง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »