โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรม

ดัชนี กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรม

กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรม (Programming paradigm) เป็นวิธีการพื้นฐานของการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมมี 4 กระบวนทัศน์หลัก ได้แก่ การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ การเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่ง (imperative programming) การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน (functional programming) และการเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ (logic programming) นอกจากกระบวนทัศน์หลักทั้ง 4 แล้ว ยังมีอีกกระบวนทัศน์หนึ่งซึ่งขยายความสามารถของโมดูลโปรแกรม โดยใช้วิธีการตัดแทรกโค้ด กระบวนทัศน์นี้คือ การโปรแกรมเชิงหน่วยย่อย (aspect-oriented programming).

2 ความสัมพันธ์: การเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่งภาษาเอฟชาร์ป

การเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่ง

ในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่ง คือกระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมที่เขียนบรรยายการคำนวณในรูปแบบของคำสั่งที่เปลี่ยนแปลงสถานะของโปรแกรม หากเปรียบกับภาษาธรรมชาติที่ใช้กันในชีวิตประจำวันที่คำสั่งคือการสั่งให้ปฏิบัติ การเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่งก็คือการเขียนกำหนดลำดับของคำสั่งในการทำงานสำหรับคอมพิวเตอร์ คำนี้ ถูกใช้เป็นคำตรงข้ามกับการเขียนโปรแกรมเชิงประกาศ ซึ่งเป็นกระบวนทัศน์ที่ว่าโปรแกรมควรจะบรรลุเป้าหมายอะไรโดยไม่ระบุรายละเอียดลำดับขั้นตอนว่าจะต้องทำอะไรบ้าง หมวดหมู่:กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรม.

ใหม่!!: กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมและการเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่ง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเอฟชาร์ป

ษาเอฟชาร์ป (F#) เป็นภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบ strongly typed บนดอตเน็ตเฟรมเวิร์กและ Mono ที่สนับสนุนโมเดลการเขียนโปรแกรมหลายแบบรวมทั้ง การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ และการเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่ง F# เป็นภาษาดอตเน็ต สามารถเรียกใช้เอพีไอของดอตเน็ต และถูกเรียกจากภาษาดอตเน็ตอื่นๆ นอกจากนั้น F# ยังสามารถถูกใช้กับโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ เขียนโปรแกรมสำหรับหน่วยประมวลผลกราฟิกส์ หรือ GPU และใช้เขียนโปรแกรมสำหรับแมคโอเอสเท็น ไอโอเอส และ แอนดรอยด์ โดยใช้ Programming tool สร้างโดยบริษัท Xamarin.

ใหม่!!: กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมและภาษาเอฟชาร์ป · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

โมเดลการเขียนโปรแกรม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »