โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กระดูกฝ่ามือ

ดัชนี กระดูกฝ่ามือ

กระดูกมือข้างซ้าย มุมมองจากด้านหลังมือ ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกฝ่ามือ (Metacarpal bones/Metacarpus) เป็นกลุ่มของกระดูกมือที่เชื่อมต่อระหว่างกระดูกข้อมือ (Carpus) และกระดูกนิ้วมือ (Phalanges) โดยจะมีจำนวน 5 ชิ้น เพื่อรองรับกระดูกนิ้วมือทั้ง 5.

27 ความสัมพันธ์: กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 1กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 3กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 4กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 5กระดูกยาวกระดูกฮาเมตกระดูกทราพีเซียมกระดูกข้อมือกระดูกนิ้วมือกระดูกแคปปิเตตกระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อกล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัสกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริสกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิสกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ อินดิซิสกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริสกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัสกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิสมือรยางค์บนรายชื่อกระดูกในร่างกายมนุษย์รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์วิวัฒนาการของมนุษย์นิ้วหัวแม่มือไทแรนโนซอรัสICD-10 บทที่ 19: การบาดเจ็บ การเป็นพิษ และผลสืบเนื่องบางอย่างจากสาเหตุภายนอก

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 1

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 1 หรือ กระดูกฝ่ามือของนิ้วหัวแม่มือ (First metacarpal bone; metacarpal bone of the thumb) เป็นกระดูกฝ่ามือ (metacarpal bones) ที่รองรับนิ้วหัวแม่มือ โดยลักษณะสำคัญคือจะสั้นและกว้างกว่ากระดูกฝ่ามือชิ้นอื่นเล็กน้อย และขอบด้านฝ่ามือมีความโค้งเข้าหาตัวฝ่ามือ ตัวกระดูกด้านหลังมือ (dorsal surface) มีลักษณะแบนและกว้าง และไม่มีสันเหมือนในกระดูกฝ่ามือชิ้นอื่นๆ พื้นผิวด้านฝ่ามือ (volar surface) เว้าจากบนลงล่าง ขอบทางด้านเรเดียส (ด้านนิ้วหัวแม่มือ) จะเป็นจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อออพโพเนนส์ พอลิซิส (Opponens pollicis muscle) ขณะที่ขอบทางด้านที่ติดกับนิ้วชี้จะให้เป็นจุดเกาะต้นของปลายจุดเกาะด้านข้าง (lateral head) กล้ามเนื้ออินเตอร์ออสเซียสด้านหลังมือ (Dorsal interosseus muscles) ที่ยึดระหว่างนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ ทางด้านฐานกระดูกจะเป็นรอยเว้าที่รองรับกับกระดูกทราพีเซียม (greater multangular) ส่วนด้านข้างไม่มีหน้าประกบที่เกิดข้อต่อ แต่ด้านเรเดียล (ด้านนิ้วหัวแม่มือ) มีปุ่มกระดูกสำหรับจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส (Abductor pollicis longus) ขณะที่ทางด้านหัวกระดูกจะมีลักษณะโค้งนูนน้อยกว่ากระดูกฝ่ามือชิ้นอื่น และมีความกว้างในทางด้านข้างมากกว่าทางแนวหน้าหลัง พื้นผิวด้านฝ่ามือ (volar surface) มีส่วนนูนซึ่งเป็นข้อต่อ 2 อัน โดยอันที่อยู่ด้านข้างกว่ามีขนาดใหญ่กว่า ข้อต่อทั้งสองเกิดกับกระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อ (sesamoid bone) 2 ชิ้นที่อยู่ในเอ็นกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ พอลิซิส เบรวิส (flexor pollicis brevis muscle).

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือและกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2 หรือ กระดูกฝ่ามือของนิ้วชี้ (Second metacarpal bone or Metacarpal bone of the index finger) เป็นกระดูกฝ่ามือซึ่งมีความยาวที่สุด รองรับนิ้วชี้ และที่ฐานมีขนาดใหญ่ที่สุดรองจากกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 1 ฐานของกระดูกนี้ยืดยาวไปทางด้านบนและด้านใกล้กลาง (medialward) เกิดเป็นสันนูนเด่น กระดูกนี้มีหน้าประกบซึ่งเป็นข้อต่อกับกระดูกชิ้นอื่น 4 หน้า โดย 3 หน้าอยู่ทางด้านบน และอีกด้านหนึ่งอยู่ด้านอัลนา (ด้านใกล้นิ้วกลาง) หน้าประกบที่อยู่ทางพื้นผิวด้านบน.

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือและกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 3

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 3 หรือ กระดูกฝ่ามือของนิ้วกลาง (Third metacarpal bone or Metacarpal bone of the middle finger) เป็นกระดูกฝ่ามือชิ้นที่รองรับนิ้วกลาง และมีขนาดเล็กกว่ากระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2 เล็กน้อย ที่พื้นผิวด้านหลังมือของฐานของกระดูกนี้จะมีส่วนที่ยื่นลงมาทางด้านเรเดียส (ด้านที่ติดกับนิ้วชี้) เรียกว่า สไตลอยด์ โพรเซส (styloid process) ซึ่งยื่นขึ้นมาประกอบกับทางด้านหลังของกระดูกแคปปิเตต (capitate) และด้านปลายของสไตลอยด์ โพรเซสมีพื้นผิวขรุขระซึ่งเป็นจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส (Extensor carpi radialis brevis muscle) หน้าประกบซึ่งเกิดข้อต่อด้านกระดูกข้อมือ (carpal) ด้านหลังมีลักษณะเว้า ด้านหน้าแบน เกิดเป็นข้อต่อกับกระดูกแคปปิเตต นอกจากนี้ที่ด้านเรเดียส (ด้านที่ติดนิ้วชี้) มีลักษณะเป็นหน้าประกบเรียบ เว้า ซึ่งเกิดข้อต่อกับกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2 และ ด้านอัลนา (ด้านที่ติดนิ้วนาง) มีหน้าประกบรูปวงรีขนาดเล็ก 2 อันซึ่งเกิดข้อต่อกับกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 4 ด้ว.

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือและกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 4

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 4 หรือ กระดูกฝ่ามือของนิ้วนาง (Fourth metacarpal bone or Metacarpal bone of the ring finger) เป็นกระดูกฝ่ามือที่รองรับนิ้วนาง มีขนาดเล็กและสั้นกว่ากระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 3 ที่ฐานของกระดูกมีขนาดเล็กและเป็นรูปสี่เหลี่ยม พื้นผิวด้านบนมีหน้าประกบ 2 หน้า อันที่ใหญ่กว่าอยู่ทางด้านใกล้กลาง (ด้านที่ติดกับนิ้วก้อย) จะเกิดข้อต่อกับกระดูกฮาเมต (hamate) ส่วนหน้าประกบอันเล็กกว่าซึ่งอยู่ทางด้านข้าง (ด้านที่ติดกับนิ้วกลาง) จะเกิดข้อต่อกับกระดูกแคปปิเตต (capitate) และทางด้านเรเดียส (ด้านติดกับนิ้วกลาง) ยังมีหน้าประกบรูปวงรีอีก 2 หน้า ซึ่งเกิดรอยต่อกับกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 3 (third metacarpal) และทางด้านอัลนา (ด้านติดกับนิ้วก้อย) ก็มีหน้าประกบเว้า ซึ่งเป็นข้อต่อกับกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 5 (fifth metacarpal) ด้ว.

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือและกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 5

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 5 หรือ กระดูกฝ่ามือของนิ้วก้อย (Fifth metacarpal bone or Metacarpal bone of the little finger) เป็นกระดูกฝ่ามือชิ้นที่อยู่ด้านข้างลำตัวที่สุด รองรับนิ้วก้อ.

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือและกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 5 · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกยาว

กระดูกต้นแขน เป็น'''กระดูกยาว'''ชนิดหนึ่ง กระดูกยาว (Long bone) เป็นประเภทหนึ่งของกระดูกที่มีความยาวมากกว่าความกว้าง ซึ่งมีการเติบโตแบบปฐมภูมิโดยการยืดออกของไดอะไฟซิส (diaphysis) โดยมีเอพิไฟซิส (epiphysis) อยู่ที่ปลายของกระดูกที่เจริญ ปลายของเอพิไฟซิสถูกคลุมด้วยกระดูกอ่อนชนิดไฮยาลิน คาร์ทิเลจ (hyaline cartilage) (หรือ "articular cartilage") การเจริญเติบโตทางยาวของกระดูกยาวเป็นผลจากการสร้างกระดูกแบบแทนที่กระดูกอ่อน (endochondral ossification) ที่บริเวณแผ่นเอพิไฟเซียล (epiphyseal plate) การยืดยาวออกของกระดูกถูกกระตุ้นโดยการสร้างโกรทฮอร์โมน (growth hormone) ซึ่งหลั่งจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ตัวอย่างของกระดูกยาว เช่น กระดูกต้นขา กระดูกแข้ง และกระดูกน่องของขา กระดูกต้นแขน กระดูกเรเดียส กระดูกอัลนาของแขน กระดูกฝ่ามือและกระดูกฝ่าเท้า (metatarsal) ของมือและเท้า และกระดูกนิ้วมือและกระดูกนิ้วเท้า กระดูกยาวของขามนุษย์มีความยาวเกือบเป็นครึ่งหนึ่งของความสูงในผู้ใหญ่ นอกจากนั้นโครงสร้างที่เป็นกระดูกที่ประกอบเป็นความสูงก็ได้แก่กระดูกสันหลังและกะโหลกศีรษะ ด้านนอกของกระดูกประกอบด้วยชั้นของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เรียกว่า เยื่อหุ้มกระดูก (periosteum) นอกจากนี้เปลือกนอกของกระดูกยาวเป็นกระดูกเนื้อแน่น หรือกระดูกทึบ (compact bone) ชั้นลึกลงไปเป็นชั้นกระดูกฟ่าม, กระดูกฟองน้ำ, กระดูกพรุน หรือกระดูกโปร่ง (cancellous bone หรือ spongy bone) ซึ่งมีไขกระดูก (bone marrow) ส่วนด้านในของกระดูกยาวเป็นช่องว่างเรียกว่า medullary cavity ซึ่งแกนกลางของโพรงกระดูกประกอบด้วยไขกระดูกเหลือง (yellow marrow) ในผู้ใหญ่ ซึ่งจะพบมากในผู้หญิง.

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือและกระดูกยาว · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกฮาเมต

กระดูกฮาเมต (hamate bone or unciform bone) เป็นกระดูกที่อยู่ในข้อมือของมนุษย์ซึ่งมีลักษณะเด่นคือมีรูปร่างคล้ายลิ่ม และทีส่วนยื่นของกระดูกที่มีรูปร่างคล้ายตะขอออกมาจากพื้นผิวด้านฝ่ามือ กระดูกนี้เป็นกระดูกข้อมือ (carpus) ในแถวหลังที่วางตัวอยู่ทางด้านใกล้กลาง (ด้านนิ้วก้อย) ซึ่งมีฐานอยู่ด้านล่างติดกับกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 4 และ 5 ส่วนยอดชี้ขึ้นด้านบนและไปทางด้านข้างลำตัว รากศัพท์ของชื่อกระดูกมาจากภาษาละติน hamus แปลว่า ตะขอ.

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือและกระดูกฮาเมต · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกทราพีเซียม

กระดูกทราพีเซียม (Trapezium bone; Greater multangular bone) เป็นกระดูกข้อมือ (carpus) ในแถวปลาย อยู่ภายในข้อมือ กระดูกทราพีเซียมมีลักษณะเด่นคือจะมีร่องลึกทางด้านฝ่ามือ กระดูกชิ้นนี้จะตั้งอยู่ที่ด้านเรเดียส (ด้านนิ้วหัวแม่มือ) ของข้อมือ ระหว่างกระดูกสแคฟฟอยด์ (scaphoid) และกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 1 (first metacarpal bone) รากศัพท์ของชื่อกระดูกมาจากภาษากรีก trapezion ซึ่งหมายความตามตัวอักษรว่า รูปสี่เหลี่ยมไม่สม่ำเสมอ (irregular quadrilateral) หรือมาจาก trapeza หมายถึง โต๊ะ หรือมาจาก tra- แปลว่า สี่ และ peza แปลว่า เท้า หรือ ขอ.

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือและกระดูกทราพีเซียม · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกข้อมือ

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกข้อมือ (Carpal bones; Carpus) เป็นกลุ่มของกระดูกชิ้นเล็กๆที่เรียงตัวอยู่ระหว่างกระดูกของส่วนปลายแขนและกระดูกฝ่ามือ (Metacarpal bones) และเป็นกระดูกที่ประกอบกันเป็นส่วนประกอบหลักของข้อมือ (wrist) กระดูกส่วนใหญ่ของกลุ่มกระดูกข้อมือจะมีรูปร่างคล้ายลูกเต๋า โดยที่พื้นผิวทางด้านหลังมือ (dorsal surface) และฝ่ามือ (palmar surface) จะมีลักษณะขรุขระเนื่องจากมีเอ็นและปลอกหุ้มเอ็น (tendon sheath) พาดผ่าน ขณะที่พื้นผิวด้านอื่นๆจะค่อนข้างเรียบเพื่อต่อกับกระดูกชิ้นอื่นๆได้อย่างสนิท สำหรับในมนุษย์ จะมีกระดูกข้อมือจำนวน 8 ชิ้น ซึ่งจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือกระดูกข้อมือที่ติดต่อกับกระดูกเรเดียส จะเรียกว่า กระดูกข้อมือแถวแรก (proximal row) ซึ่งมีจำนวน 4 ชิ้น ส่วนอีกกลุ่มจะติดต่อกับกระดูกฝ่ามือ จะเรียกว่ากระดูกข้อมือแถวหลัง (distal row) ซึ่งมีจำนวน 4 ชิ้นเช่นกัน.

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือและกระดูกข้อมือ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกนิ้วมือ

กระดูกนิ้วมือ (Phalanges of hand; Finger bones) เป็นกลุ่มของกระดูกที่ประกอบขึ้นเป็นแกนของนิ้วมือทั้งห้านิ้วของมนุษย์ โดยแต่ละนิ้วจะมีกระดูกนิ้วมือ 3 ท่อน คือ.

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือและกระดูกนิ้วมือ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกแคปปิเตต

กระดูกแคปปิเตต (Capitate bone) เป็นกระดูกที่อยู่ในข้อมือของมนุษย์ กระดูกนี้นับว่าเป็นกระดูกข้อมือที่ใหญ่ที่สุดและตั้งอยู่ตรงกลางของข้อมือ ส่วนบนมีลักษณะเป็นหัวกระดูกกลม ซึ่งรับกับส่วนของกระดูกสแคฟฟอยด์ (scaphoid) และกระดูกลูเนท (lunate) และถัดลงมาเป็นส่วนคอดเรียกว่า คอกระดูก และด้านล่างเป็นตัวกระดูก รากศัพท์ของชื่อกระดูก มาจากภาษาละติน capitātus แปลว่า มีหัว มาจาก capit- แปลว่า หัว.

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือและกระดูกแคปปิเตต · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อ

กระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อ หรือ กระดูกเซซามอยด์ (sesamoid bone) ในทางกายวิภาคศาสตร์เป็นกระดูกชนิดหนึ่งที่ฝังอยู่ในเอ็นกล้ามเนื้อ รูปร่างของกระดูกจะคล้ายเมล็ดงา มักจะพบในตำแหน่งที่เอ็นกล้ามเนื้อพาดข้ามข้อต่อ เช่นในมือ, เข่า, และเท้า หน้าที่ของกระดูกชนิดนี้คือทำหน้าที่ปกป้องเอ็นกล้ามเนื้อและช่วยเพิ่มความได้เปรียบเชิงกล การมีกระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อจะช่วยให้เอ็นกล้ามเนื้ออยู่ห่างจากศูนย์กลางของข้อเล็กน้อย ซึ่งช่วยทำให้เพิ่มความยาวแขนโมเมนต์ในการหมุน นอกจากนั้นกระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อยังช่วยป้องกันไม่ให้เอ็นแบนเข้าไปในข้อต่อเมื่อความตึงมากขึ้น และช่วยคงให้แขนโมเมนต์คงที่ไม่ว่าจะต้องรับแรงมากเท่าใด กระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อแตกต่างจากเมนิสคัส (Meniscus) ซึ่งเป็นกระดูกอ่อนที่ทำหน้าที่ช่วยกระจายน้ำหนักของร่างกายที่ลงบนข้อต่อและช่วยลดแรงเสียดทานขณะที่เคลื่อนไหว.

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือและกระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส

กล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส (Abductor pollicis longus) เป็นกล้ามเนื้อที่ทอดตัวอยู่ใต้กล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์ (supinator) และบางครั้งอาจรวมเข้าอยู่ด้วยกัน.

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือและกล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส (flexor carpi ulnaris muscle; FCU) เป็นกล้ามเนื้อของปลายแขนของมนุษย์ ทำหน้าที่งอ (flex) และหุบ (adduct) มือ.

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือและกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส

ในทางกายวิภาคศาสตร์ กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส (Flexor carpi radialis muscle; FCR) เป็นกล้ามเนื้อในปลายแขนของมนุษย์ ทำหน้าที่งอและกางมือออก.

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือและกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ อินดิซิส

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ อินดิซิส หรือ กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ อินดิซิส โพรเพรียส (Extensor indicis; extensor indicis proprius) เป็นกล้ามเนื้อแบน ยาว อยู่ด้านใกล้กลางและทอดขนานไปกับกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัส (extensor pollicis longus).

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ อินดิซิส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส (Extensor carpi ulnaris; ECU) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ในปลายแขนของมนุษย์ ทำหน้าที่เหยียด (extend) และหุบ (adduct) ข้อมือ อยู่บริเวณพื้นที่ด้านหลังของปลายแขน (posterior side of the forearm).

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส (Extensor carpi radialis longus; ECRL) เป็นหนึ่งในห้ากล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวที่ข้อมือ กล้ามเนื้อนี้ค่อนข้างยาวเริ่มจากด้านข้างของกระดูกต้นแขน (humerus) และไปยึดเกาะกับฐานของกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2 (2nd metacarpal) ในตอนแรกกล้ามเนื้อนี้จะวิ่งมาด้วยกันกับกล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส (brachioradialis) แต่จะกลายเป็นเอ็นกล้ามเนื้อก่อน แล้ววิ่งอยู่ระหว่างกล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิสและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส (extensor carpi radialis brevis).

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส (Extensor carpi radialis brevis; ECRB) เป็นกล้ามเนื้อที่หนากว่ากล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส (extensor carpi radialis longus) ที่อยู่เหนือกว.

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส · ดูเพิ่มเติม »

มือ

มือ (Hand) คืออวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายอยู่ต่อแขน สำหรับจับ หยิบ สิ่งของต่าง.

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือและมือ · ดูเพิ่มเติม »

รยางค์บน

ต้นแขนของมนุษย์ ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ รยางค์บน (upper limb หรือ upper extremities) คือส่วนของร่างกายมนุษย์ที่เรียกโดยทั่วไปว่า แขน (arm) คือโครงสร้างตั้งแต่แขนจนถึงปลายนิ้ว รวมทั้งส่วนของต้นแขน (upper arm) ด้ว.

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือและรยางค์บน · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อกระดูกในร่างกายมนุษย์

รงกระดูกของผู้ใหญ่ โดยทั่วไปประกอบด้วยกระดูก 206-350 ชิ้น ขึ้นกับอายุ จำนวนของกระดูกของแต่ละคนอาจแตกต่างกันขึ้นกับความหลากหลายทางกายวิภาค (anatomical variation) เช่น ประชากรมนุษย์จำนวนหนึ่งที่มีกระดูกซี่โครงต้นคอ (cervical rib) หรืออาจมีจำนวนกระดูกสันหลังส่วนบั้นเอวเกินมา (ตัวเลขในวงเล็บแสดงจำนวนของกระดูกในบริเวณนั้นๆ ตัวเลข ตัวหนา หลังชื่อแสดงตำแหน่งของกระดูกในภาพทางขวา) The human skeleton.

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือและรายชื่อกระดูกในร่างกายมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์

รายชื่อกล้ามเนื้อของร่างกายมนุษย์ โดยทั่วไปร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยกล้ามเนื้อโครงร่างประมาณ 640 มัด อย่างไรก็ตาม ตัวเลขจำนวนกล้ามเนื้อที่แน่นอนก็ยังไม่แน่ชัดเพราะแต่ละแหล่งข้อมูลก็มีการจัดกลุ่มกล้ามเนื้อแตกต่างกัน ทำให้จำนวนกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์มีตั้งแต่ 640-850 มัด ซึ่งตารางนี้มีรายชื่อกล้ามเนื้อประมาณ 320 มัด หน้าที่ของกล้ามเนื้อในตารางนี้เป็นหน้าที่มาตรฐานเมื่อร่างกายอยู่ในตำแหน่าค (anatomical position) ในตำแหน่งร่างกายอื่นๆ กล้ามเนื้ออาจมีหน้าที่ที่ต.

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือและรายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการของมนุษย์

''Homo sapiens sapiens'' ชาวอาข่าในประเทศไทย วิวัฒนาการของมนุษย์ (Human evolution) เป็นกระบวนการวิวัฒนาการที่นำไปสู่การปรากฏขึ้นของ "มนุษย์ปัจจุบัน" (modern human มีนามตามอนุกรมวิธานว่า Homo sapiens หรือ Homo sapiens sapiens) ซึ่งแม้ว่าจริง ๆ แล้วจะเริ่มต้นตั้งแต่บรรพบุรุษแรกของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด แต่บทความนี้ครอบคลุมเพียงแค่ประวัติวิวัฒนาการของสัตว์อันดับวานร (primate) โดยเฉพาะของสกุล โฮโม (Homo) และการปรากฏขึ้นของมนุษย์สปีชีส์ Homo sapiens ที่จัดเป็นสัตว์วงศ์ลิงใหญ่เท่านั้น การศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการมนุษย์นั้นต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลายสาขา รวมทั้งมานุษยวิทยาเชิงกายภาพ (หรือ มานุษยวิทยาเชิงชีวภาพ), วานรวิทยา, โบราณคดี, บรรพชีวินวิทยา, พฤติกรรมวิทยา, ภาษาศาสตร์, จิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการ (evolutionary psychology), คัพภวิทยา และพันธุศาสตร์ กระบวนการวิวัฒนาการเป็นความเปลี่ยนแปลงของลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตผ่านหลายชั่วยุคชีวิต เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความหลายหลากกับสิ่งมีชีวิตในทุกระดับชั้น รวมทั้งระดับสปีชีส์ ระดับสิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิต และแม้กระทั่งโครงสร้างระดับโมเลกุลเช่นดีเอ็นเอและโปรตีน สิ่งมีชีวิตทั้งหมดในโลกสืบสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกันที่มีชีวิตประมาณ 3.8 พันล้านปีก่อน การเกิดสปีชีส์ใหม่ ๆ และการแยกสายพันธุ์ออกจากกันของสิ่งมีชีวิต สามารถอนุมานได้จากลักษณะสืบสายพันธุ์ทางสัณฐานและทางเคมีชีวภาพ หรือโดยลำดับดีเอ็นเอที่มีร่วมกัน คือ ลักษณะสืบสายพันธุ์และลำดับดีเอ็นเอที่มีกำเนิดเดียวกัน จะมีความคล้ายคลึงกันระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันเร็ว ๆ นี้มากกว่าระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันมานานแล้ว ดังนั้นความคล้ายคลึงกันและความแตกต่างกันจึงสามารถใช้สร้างแบบของต้นไม้สายพันธุ์สิ่งมีชีวิต ที่แสดงความสัมพันธ์เชิงญาติ โดยใช้สิ่งมีชีวิตที่ยังมีอยู่หรือใช้ซากดึกดำบรรพ์เป็นหลักฐานข้อมูล รูปแบบความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในโลกเปลี่ยนแปลงไปเพราะการเกิดขึ้นของสปีชีส์ใหม่ ๆ และการสูญพันธุ์ไปของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ งานวิจัยต่าง ๆ ทางพันธุศาสตร์แสดงว่า สัตว์อันดับวานรรวมทั้งมนุษย์แยกออกจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทอื่น ๆ เมื่อประมาณ โดยมีซากดึกดำบรรพ์ปรากฏเป็นครั้งแรกสุดเมื่อประมาณ ส่วนลิงวงศ์ชะนี (Hylobatidae) แยกสายพันธุ์ออกจากสายพันธุ์วงศ์ลิงใหญ่ (Hominidae) รวมทั้งมนุษย์ ซึ่งเป็นวงศ์หนึ่ง ๆ ของสัตว์อันดับวานรนั้น เมื่อ แล้วลิงวงศ์ Ponginae (ลิงอุรังอุตัง) ก็แยกออกจากสายพันธุ์เมื่อประมาณ จากนั้น การเดินด้วยสองเท้า (bipedalism) ซึ่งเป็นการปรับตัวพื้นฐานที่สุดของสัตว์เผ่า Hominini ซึ่งเป็นสายพันธุ์ของมนุษย์ที่ลิงชิมแปนซีได้แยกออกไปแล้ว ก็เริ่มปรากฏในสัตว์สองเท้าแรกสุดในสกุล Sahelanthropus หรือ Orrorin โดยมีสกุล Ardipithecus ซึ่งเป็นสัตว์สองเท้าที่มีหลักฐานชัดเจนกว่า ตามมาทีหลัง ส่วนลิงกอริลลาและลิงชิมแปนซีแยกออกจากสายพันธุ์ในช่วงเวลาใกล้ ๆ กัน คือลิงกอริลลาเมื่อ และลิงชิมแปนซีเมื่อ โดยอาจจะมี Sahelanthropus เป็นบรรพบุรุษสุดท้ายร่วมกันระหว่างชิมแปนซีและมนุษย์ สัตว์สองเท้ายุคเริ่มต้นเหล่านี้ในที่สุดก็วิวัฒนาการมาเป็นเผ่า hominini เผ่าย่อย Australopithecina (australopithecine ปกติรวมสกุล Australopithecus, Paranthropus, และในบางที่ Ardipithecus) ที่ และหลังจากนั้นจึงเป็นเผ่าย่อย Hominina ซึ่งรวมเอามนุษย์สกุล โฮโม เท่านั้น มนุษย์สกุลโฮโมที่มีหลักฐานยืนยันพวกแรกที่สุดเป็นสปีชีส์ Homo habilis ซึ่งเกิดขึ้นประมาณ โดยเชื่อกันว่า สืบสายพันธุ์มาจาก homonin ในสกุล Australopithecus เป็นสปีชีส์แรก ๆ ที่มีหลักฐานชัดเจนว่าใช้เครื่องมือหิน และการปรับตัวของสายพันธุ์มนุษย์อีกอย่างหนึ่งคือ การขยายขนาดของสมอง (encephalization) ก็ได้เริ่มขึ้นที่มนุษย์ยุคต้นนี้ ซึ่งมีขนาดสมองที่ประมาณ 610 ซม3 คือมีขนาดใหญ่กว่าของลิงชิมแปนซีเล็กน้อย (ระหว่าง 300-500 ซม3) มีนักวิทยาศาสตร์ที่เสนอว่า นี้อยู่ในช่วงเวลาที่ยีนมนุษย์ประเภท SRGAP2 มีจำนวนเป็นสองเท่าเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาของสมองกลีบหน้าได้รวดเร็วกว่าในสัตว์อื่น ๆ ต่อมา มนุษย์สปีชีส์ Homo erectus/ergaster ก็เกิดขึ้นในช่วงประมาณ ที่มีปริมาตรกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของลิงชิมแปนซีคือ 850 ซม3 การขยายขนาดของสมองเช่นนี้เทียบเท่ากับมีเซลล์ประสาทเพิ่มขึ้น 125,000 เซลล์ทุกชั่วยุคคน สปีชีส์นี้เชื่อว่าเป็นพวกแรก ๆ ที่สามารถควบคุมไฟ และใช้เครื่องมือหินที่มีเทคโนโลยีที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เป็นมนุษย์สกุล Homo พวกแรกที่อพยพออกไปตั้งถิ่นฐานทั่วทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย และทวีปยุโรป อาจเริ่มตั้งแต่ ดังนั้น การวิวัฒนาการของสายพันธุ์มนุษย์ก่อนหน้านี้ล้วนเป็นไปในแอฟริกาเท่านั้น ส่วนกลุ่มมนุษย์โบราณที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า Archaic humans ก็เกิดวิวัฒนาการขึ้นต่อมาประมาณ 600,000 ปีก่อน สืบสายพันธุ์มาจาก H. erectus/ergaster เป็นกลุ่มมนุษย์ที่อาจเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน โดยเฉพาะคือมนุษย์โบราณ H. heidelbergensis/rhodesiensis หลังจากนั้น มนุษย์สปีชีส์ ''Homo sapiens'' ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน (anatomically modern human) ก็เกิดขึ้นโดยมีวิวัฒนาการมาจากมนุษย์โบราณในยุคหินกลาง (แอฟริกา) คือประมาณ 300,000 ปีก่อน ตามทฤษฎี "กำเนิดมนุษย์ปัจจุบันเร็ว ๆ นี้จากแอฟริกา" มนุษย์ปัจจุบันได้วิวัฒนาการในทวีปแอฟริกาแล้วจึงอพยพออกจากทวีปประมาณ 50,000-100,000 ปีก่อน (ต่างหากจากมนุษย์ในยุคก่อน ๆ) ไปตั้งถิ่นฐานแทนที่กลุ่มมนุษย์สปีชีส์ H. erectus, H. denisova, H. floresiensis และ H. neanderthalensis ในที่ต่าง ๆ ที่เป็นเชื้อสายของมนุษย์ที่อพยพออกมาจากทวีปแอฟริกาในยุคก่อน ๆ โดยอาจได้ผสมพันธุ์กับมนุษย์โบราณก่อน ๆ เหล่านั้น หลักฐานโดยดีเอ็นเอในปี..

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือและวิวัฒนาการของมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

นิ้วหัวแม่มือ

นิ้วหัวแม่มือ หรือ นิ้วโป้ง (Thumb) เป็นนิ้วแรกของมือในทั้งหมด 5 นิ้ว.

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือและนิ้วหัวแม่มือ · ดูเพิ่มเติม »

ไทแรนโนซอรัส

กะโหลกของ ไทแรนโนซอรัส นั้นมีขนาดใหญ่ที่สุด ในบรรดา ไดโนเสาร์กินเนื้อทั้งหมด ซึ่งความใหญ่ของกะโหลกวัดกันที่ความกว้าง หลังมีการค้นพบญาติร่วมวงศ์ตระกูลของทีเร็กซ์ ว่ามีขนปกคลุม ทำให้นักวิทยาศาตร์ ได้สันนิฐานว่า ทีเร็กซ์และญาติของมัน น่าจะมีขนปกคลุมตามตัว ไทแรนโนซอรัส หรือ ไทรันโนซอรัส (แปลว่า กิ้งก่าทรราชย์ มาจากภาษากรีก) เป็นสกุลหนึ่งของไดโนเสาร์ประเภทเทอโรพอด ชนิดเดียวที่เป็นที่รู้จักในสกุลนี้คือ ไทแรนโนซอรัส เรกซ์ (rex แปลว่า ราชา มาจากภาษาละติน) หรือเรียกอย่างย่อว่า ที.

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือและไทแรนโนซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 19: การบาดเจ็บ การเป็นพิษ และผลสืบเนื่องบางอย่างจากสาเหตุภายนอก

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือและICD-10 บทที่ 19: การบาดเจ็บ การเป็นพิษ และผลสืบเนื่องบางอย่างจากสาเหตุภายนอก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

MetacarpalMetacarpal boneMetacarpalsMetacarpus

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »