โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กรมอู่ทหารเรือ

ดัชนี กรมอู่ทหารเรือ

ตราราขการกรมอู่ทหารเรือ กรมอู่ทหารเรือ ภาพกรมอู่ทหารเรือจากแม่น้ำเจ้าพระยา กรมอู่ทหารเรือ เดิมชื่อ "อู่เรือหลวง" มีหน้าที่ซ่อมสร้างเรือมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นได้เริ่มมีเรือกลไฟใช้แล้ว ต่อมามีเรือมากขึ้นและเรือมีขนาดใหญ่ขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดฯ ให้สร้างอู่ไม้ขนาดใหญ่ เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2433 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนากรมอู่ทหารเรือ นับได้ว่าเป็นหน่วยงานทางช่างลำดับต้น ๆ ของประเทศ กรมอู่ทหารเรือซึ่งเดิมตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันได้ย้ายที่ตั้งกองบังคับการ กรมอู่ทหารเรือ ไปอยู่ในพื้นที่อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช สัตหีบ ชลบุรี เจ้ากรมอู่ทหารเรือคนปัจจุบันได้แก่ พล.ร.ท.มิ่ง อิ่มวิท.

20 ความสัมพันธ์: พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกบฏแมนฮัตตันกระบวนพยุหยาตราชลมารคกองทัพเรือไทยการเล่นกีฬาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกหม่อมเจ้าอุปพัทธพงศ์ ศรีธวัชถนนวังหลังถนนสุขุมวิทถนนอรุณอมรินทร์แยกไฟฉายเริงจิตร์แจรง อาภากรเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9เรือหลวงกระบี่เรือหลวงศรีอยุธยาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาเรือเอกไชยเหินหาวเขตบางกอกน้อย9 มกราคม

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

ระวังสับสนกับ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 12 สิงหาคม 2555 พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 (Celebrations on the Auspicious Occasion of His Majesty the King’s 80th Birthday Anniversary) เป็นงานฉลองที่ประกอบด้วยรัฐพิธี ราชพิธี และราษฎรพิธี เนื่องในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมายุครบ 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม..

ใหม่!!: กรมอู่ทหารเรือและพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 · ดูเพิ่มเติม »

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระราชพิธีที่รัฐบาลไทยจัดขึ้นเพื่อแสดงความอาลัยเป็นครั้งสุดท้าย ภายหลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จัดขึ้น ณ พระเมรุมาศ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ระหว่างวันที่ 25 – 29 ตุลาคม..

ใหม่!!: กรมอู่ทหารเรือและพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช · ดูเพิ่มเติม »

กบฏแมนฮัตตัน

กบฏแมนฮัตตัน หรือ กรณีแมนฮัตตัน ชื่อเรียกเหตุการณ์การกบฏในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เมื่อทหารเรือกลุ่มหนึ่ง เรียกตัวเองว่า "คณะกู้ชาติ" นำโดย น.ต.มนัส จารุภา ร.น.ผู้บังคับการเรือหลวงรัตนโกสินทร์ พลเรือตรี ทหาร ขำหิรัญ นายทหารนอกราชการ อดีตผู้บังคับการกรมนาวิกโยธิน นาวาเอก อานนท์ ปุณฑริกาภา ผู้บังคับการกองสำรองเรือรบ นาวาตรี ประกาย พุทธารี สังกัดกรมนาวิกโยธิน และ นาวาตรี สุภัทร ตันตยาภรณ์ สังกัดกรมนาวิกโยธิน ทำการกบฏจี้ตัวจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ระหว่างเป็นประธานในพิธีรับมอบเรือขุดสันดอนสัญชาติอเมริกัน ชื่อ "แมนฮัตตัน" ที่ท่าราชวรดิฐ โดยนำไปกักขังไว้ในเรือรบหลวงชื่อ "ศรีอยุธยา" ที่จอดรออยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งก่อนหน้านี้ คณะผู้ก่อการคิดจะก่อการในลักษณะเช่นนี้มาหลายครั้งแล้ว แต่ยังไม่สบจังหวะที่เหมาะสม จึงได้แต่เลื่อนออกไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงเวลาลงมือจริง หลายฝ่ายที่ถูกชักชวนให้ลงมือก็คาดว่าจะต้องมีการเลื่อนอีกแน่นอน จึงมิได้ปฏิบัติการตามแผนที่วางไว้ เหตุที่เลือกเอาวันนี้เป็นวันลงมือ เพราะก่อนหน้านั้นเพียงหนึ่งวัน มีการปล่อยกำลังทหารกองหนุนกลับสู่ภูมิภาค ทำให้จำนวนทหารในพระนครเหลือน้อย เรียกกลับมาประจำการไม่ทัน อีกทั้งพื้นที่บริเวณนี้ก็เป็นเขตของทหารเรือด้วย จึงลงมือได้ง่ายกว่า ในเหตุการณ์กบฏ หัวหน้าคณะก่อการ คือ น.อ.อานนท์ ปุณฑริกกาภา ร.น. สั่งการให้ทหารเรือกลุ่มที่สนับสนุนการก่อการมุ่งหน้าและตรึงกำลังไว้ที่พระนคร และประกาศตั้ง พระยาสารสาสน์ประพันธ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม กระจายเสียงในฐานะนายกรัฐมนตรีจากในเรือ แต่ทางฝ่ายรัฐบาลไม่ยอม ได้กระจายเสียงตอบโต้ไปโดยใช้วิทยุของกรมการรักษาดินแดน (ร.ด.) โดยได้ให้นายวรการบัญชา ประธานสภาผู้แทนราษฎร รักษาการนายกรัฐมนตรีแทน และตั้งกองบัญชาการขึ้นที่ทำเนียบรัฐบาล (ในขณะนั้นคือ พระที่นั่งอนันตสมาคม) จึงเกิดการต่อสู้ยิงกันอย่างหนักระหว่างทหารฝ่ายรัฐบาลและทหารฝ่ายก่อการ ซึ่งตามแผนการของผู้ก่อการแล้ว ฝ่ายก่อการต้องยึดโรงไฟฟ้าและสถานีโทรศัพท์กลาง ที่หน้าวัดราชบุรณะ (วัดเลียบ) ให้ได้ โดยเรือรบหลวงศรีอยุธยาจะต้องแล่นผ่านสะพานพระพุทธยอดฟ้า ซึ่งเปิดรอ เพื่อไปตั้งกองบัญชาการที่ฝั่งพระนคร และมีกำลังทหารจากต่างจังหวัดยกเข้ามาสมทบทั้งทหารเรือและทหารบก แต่เมื่อลงมือจริง ๆ แล้วกลับไม่เป็นไปตามนั้น สะพานพระพุทธยอดฟ้าก็ไม่เปิด และในที่สุดเครื่องยนต์เรือก็เสียจากการถูกโจมตีหนัก โดยในวันที่ 29 มิถุนายน..

ใหม่!!: กรมอู่ทหารเรือและกบฏแมนฮัตตัน · ดูเพิ่มเติม »

กระบวนพยุหยาตราชลมารค

กระบวนเรือ กระบวนพยุหยาตราชลมารค หรือ กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำที่เป็นราชประเพณีไทยที่มีมาแต่โบราณ โดยมีหลักฐานชัดเจนตั้งแต่สมัยอยุธยา เรือในกระบวนมีการสลักโขนเรือเป็นรูปสัตว์ในเทพนิยาย มีการจัดกระบวนหลายแบบ ที่รู้จักกันดีก็คือ "กระบวนพยุหยาตราเพชรพวง" ดังปรากฏใน ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง ลิลิตพรรณนากระบวนเรือ ประพันธ์โดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เมื่อ พ.ศ. 2330 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยยึดถือตามแบบแผนเดิมสมัยอยุธยา ประเภทของการเห่เรือ สามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทคือ การเห่เรือหลวง (การเห่เรือในงานพระราชพิธี) และการเห่เรือเล่น (การเห่เรือเล่นของชาวบ้านในงานต่างๆ) ในปัจจุบันการเห่เรือยังคงอยู่เฉพาะ การเห่เรือหลวง ที่ใช้ในกระบวนพยุหยาตราชลมาร.

ใหม่!!: กรมอู่ทหารเรือและกระบวนพยุหยาตราชลมารค · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพเรือไทย

กองทัพเรือไทย หรือ ราชนาวีไทย (คำย่อ: ทร., Royal Thai Navy) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการปฏิบัติการทางทหารในทะเล ลำน้ำ และพื้นที่บริเวณชายฝั่งของประเทศไทย กองทัพเรือมีจำนวนกำลังพลประจำการเป็นลำดับ 2 (รองจากกองทัพบก) ซึ่งมีเรือปฏิบัติการด้วยเรือรบกว่า 74 ลำ อากาศยานกว่า 90 เครื่อง และกำลังรบทางบกอีก 2 กองพล นับเป็นกองทัพเรือที่มีความสำคัญในลำดับต้นของภูมิภาคเอเชีย กองทัพเรือมีผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด โดยเป็นหน่วยงานในสังกัดของกองบัญชาการกองทัพไทย ที่มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชา และอยู่ในสังกัดของกระทรวงกลาโหม กองทัพเรือมีพื้นที่ปฏิบัติการหลักทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ตามแนวเขตแดนระหว่างประเทศในทะเลความยาวกว่า 1,680 ไมล์ และตามแนวชายฝั่งความยาวกว่า 1,500 ไมล์ หน่วยต่างๆ ในสังกัดกองทัพเรือมีลักษณะการจัดโครงสร้างหน่วยที่คล้ายกับกองทัพเรือสหรัฐอเมริกามาก โดยเฉพาะในหน่วยกำลังรบ คือ กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ (กบร. กร.) หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ (นสร. กร.) และหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (นย.).

ใหม่!!: กรมอู่ทหารเรือและกองทัพเรือไทย · ดูเพิ่มเติม »

การเล่นกีฬาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเล่นเรือใบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดการเล่นกีฬามาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เมื่อประทับอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โปรดกีฬาหลายประเภท เช่น สกีน้ำแข็ง, ยิงปืน, กอล์ฟเล็ก, การแข่งขันรถเล็ก, เทนนิส, แบดมินตัน, เครื่องร่อน โดยทรงเล่นกีฬาเหล่านี้มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ โดยทรงศึกษาข้อมูลของกีฬาแต่ละประเภทอย่างละเอียด และทรงฝึกฝนจนปฏิบัติได้ดี นับเป็นแบบอย่างที่ดีของนักกีฬา น่าสังเกตว่ากีฬาที่โปรด มักเป็นกีฬาที่ไม่ได้ใช้แต่พละกำลังเพียงอย่างเดียว คือ ต้องอาศัย ความรู้รอบตัวและเทคนิคไหวพริบ ผนวกกับความรู้ ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในกีฬานั้น ๆ ซึ่งทรงพอพระทัยกับการเผชิญความท้าทายในเกมกีฬาเป็นอย่างมาก เช่น เทนนิส, เรือใบ เป็นต้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเคารพกฎกติกาของการกีฬาที่ทรงเล่น และมักจะทรงเน้นย้ำให้นักกีฬาทั้งหลายมีวินัยตลอดเวลา ทรงให้ความสำคัญต่อการฝึกซ้อมเป็นอันมาก ทรงสนพระทัยกีฬาที่มีโอกาสได้ฝึกซ้อม ด้วยทรงเห็นว่าการจะเป็นนักกีฬาที่ดีนั้น ต้องให้ความสนใจในการฝึกซ้อม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และปรับปรุงตนเอง มีประสบการณ์เพิ่มขึ้นถ้านักกีฬาคนใดไม่ฝึกซ้อมก็จะเป็นนักกีฬาที่ดีไม่ได้ แต่ด้วยพระราชภารกิจ อันมากมายของพระองค์ กีฬาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนั้น ส่วนมากจะทรงเป็นระยะๆ บางช่วง ด้วยไม่สะดวกที่จะทรงฝึกซ้อมเป็นประจำ นอกจากกีฬาแข่งขันแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังสนพระทัยในการออกกำลังพระวรกายเพื่อสุขภาพอีกด้วย เช่น วิ่งเหยาะ และเดินเร็ว การออกกำลังพระวรกายสม่ำเสมออย่างถูกหลักวิชาการ คือ มีการบันทึกพระชีพจร ความดันพระโลหิตทั้งก่อนและหลังการทรงออกกำลังพระวรกาย รวมทั้งทรงกระตุ้นให้เกิดความอบอุ่นแก่พระวรกายก่อนเริ่ม และผ่อนคลายความตึงเครียดของพระกล้ามเนื้อ หลังจากการออกกำลังพระวรกาย โดยทรงปฏิบัติเช่นนี้เป็นกิจวัตร เป็นแบบฉบับของนักกีฬาที่ดี ถึงแม้ในช่วงแปรพระราชฐานไปในที่ต่าง ๆ ในเวลากลางวันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะอุทิศเวลาเพื่อราษฎรของพระองค์ กว่าจะเสร็จสิ้นพระวรกายด้วยการทรงพระดำเนินแล้ว เป็นระยะทางนับเป็นหลายร้อยเมตร เพื่อให้พระวรกายของพระองค์แข็งแรง พร้อมที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปในที่ต่าง ๆ เพื่อเยี่ยมเยียนราษฎรของพระองค์ได้เสมอ โดยพระราชทานพระราชดำรัสเกี่ยวกับการกีฬาไว้ว่า "การกีฬามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับชีวิตของแต่ละคนและชีวิตบ้านเมือง" พระราชดำรัสนี้แสดงให้เห็นถึงพระราชปณิธานในเรื่องการส่งเสริมการกีฬาว่าเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาบุคคลและประเทศชาติ จึงทรงส่งเสริมกีฬาทุกประเภท พร้อมทั้งทรงกีฬามากมายหลายประเภทเช่นกัน.

ใหม่!!: กรมอู่ทหารเรือและการเล่นกีฬาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

มหาอำมาตย์ตรี พันเอกพิเศษ จอมพลเรือ นายกองเอกเสือป่า สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (1 มกราคม พ.ศ. 2435 – 24 กันยายน พ.ศ. 2472) เป็นพระบรมราชชนกในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเป็นพระอัยกาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า มีพระเชษฐาและพระเชษฐภคินีที่ประสูติร่วมพระราชมารดา 7 พระองค์ พระองค์มีคุณูปการแก่กิจการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของประเทศไทยประชาชนโดยทั่วไปคุ้นเคยกับพระนามว่า "กรมหลวงสงขลานครินทร์" หรือ "พระราชบิดา" และบางครั้งก็ปรากฏพระนามว่า "เจ้าฟ้าทหารเรือ" และ "พระประทีปแห่งการอนุรักษ์สัตว์น้ำของไทย" ส่วนชาวต่างประเทศเรียกพระนามว่า "เจ้าฟ้ามหิดล" หลังพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พระองค์ทรงพระประชวรต้องประทับในพระตำหนักวังสระปทุม และสวรรคตเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 เวลา 16.45 น. ด้วยพระโรคฝีบิดในพระยกนะ(ตับ) โดยมีโรคแทรกซ้อนคือพระปัปผาสะบวมน้ำและพระหทัยวาย พระชนมายุได้ 37 พรรษา 8 เดือน 23 วัน.

ใหม่!!: กรมอู่ทหารเรือและสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมเจ้าอุปพัทธพงศ์ ศรีธวัช

ลเรือเอก หม่อมเจ้าอุปพัทธพงศ์ ศรีธวัช (His Serene Prince Upabaddhabongse Sridhavaj, 25 มีนาคม พ.ศ. 2419 - 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2475) พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย กรมขุนสิริธัชสังกาศ ประสูติแต่ หม่อมเสงี่ยม บุตรีพระยาเสนานุชิต (นุช ณ นคร).

ใหม่!!: กรมอู่ทหารเรือและหม่อมเจ้าอุปพัทธพงศ์ ศรีธวัช · ดูเพิ่มเติม »

ถนนวังหลัง

นนวังหลัง (Thanon Wang Lang) เป็นถนนสายสำคัญในพื้นที่เขตบางกอกน้อย ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร เป็นถนนแอสฟัลต์ 4 ช่องจราจร ไม่มีเกาะกลาง ความยาวประมาณ 950 เมตร เขตถนนกว้าง 14.50 เมตร ผิวจราจรกว้าง 11.40 เมตร เริ่มต้นจากท่าเรือพรานนกและท่าเรือวังหลัง (ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามท่าพระจันทร์) ตรงไปทางทิศตะวันตกในท้องที่แขวงศิริราช ตัดกับถนนอรุณอมรินทร์ที่ทางแยกศิริราช จากนั้นข้ามคลองบ้านขมิ้น ตั้งแต่จุดนี้ถือเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงศิริราชทางฟากเหนือกับแขวงบ้านช่างหล่อทางฟากใต้ของถนน ตรงไปทางทิศเดิมจนกระทั่งสิ้นสุดถนนที่ทางแยกพรานนก โดยมีแนวถนนตรงต่อเนื่องไปเป็นถนนพรานนก.

ใหม่!!: กรมอู่ทหารเรือและถนนวังหลัง · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสุขุมวิท

นนสุขุมวิท (Thanon Sukhumvit) ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 สายบางนา–หาดเล็ก เป็นหนึ่งในทางหลวงแผ่นดินสายประธานทั้งสี่ของประเทศไทย จุดเริ่มต้นเชื่อมต่อจากถนนเพลินจิต เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีเส้นทางไปตามชายทะเลภาคตะวันออก และสิ้นสุดที่อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ติดต่อกับชายแดนจังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา รวมระยะทางยาวทั้งสิ้นประมาณ 488 กิโลเมตร.

ใหม่!!: กรมอู่ทหารเรือและถนนสุขุมวิท · ดูเพิ่มเติม »

ถนนอรุณอมรินทร์

นนอรุณอมรินทร์ ถนนอรุณอมรินทร์ (Thanon Arun Ammarin) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: กรมอู่ทหารเรือและถนนอรุณอมรินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

แยกไฟฉาย

แยกไฟฉาย เป็นสี่แยกถนนพรานนกบรรจบถนนจรัญสนิทวงศ์ ใจกลางพื้นที่เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นจุดเริ่มต้นของถนนพรานนก ซึ่งเชื่อมต่อกับถนนอิสรภาพและถนนอรุณอมรินทร์ ไปยังตลาดสดพรานนก และพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาของฝั่งธนบุรีชั้นใน ได้แก่ท่าน้ำวังหลัง โรงพยาบาลศิริราช ในเขตบางกอกน้อย และวัดอรุณฯ พระราชวังเดิม ในเขตบางกอกใหญ่ แยกไฟฉายเดิมมีสภาพเป็นสามแยกจนกระทั่งโครงการถนนพรานนกตัดใหม่แล้วเสร็จ จึงเกิดสภาพเป็นสี่แยก โดยเชื่อมถนนจรัญสนิทวงศ์และถนนพรานนกเข้ากับถนนกาญจนาภิเษก ซึ่งจะทำให้การสัญจรระหว่างพื้นที่บางกอกน้อยและพื้นที่รอบนอก เช่น ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา สะดวกสบายมากขึ้น ตั้งแต่ปลายปี..

ใหม่!!: กรมอู่ทหารเรือและแยกไฟฉาย · ดูเพิ่มเติม »

เริงจิตร์แจรง อาภากร

ท่านหญิงเริงจิตร์แจรง อาภากร (พระยศเดิม: หม่อมเจ้าเริงจิตร์แจรง อาภากร; ประสูติ: 7 มิถุนายน พ.ศ. 2448 — สิ้นชีพิตักษัย: 19 สิงหาคม พ.ศ. 2536) เป็นพระธิดาพระองค์ที่ 3 ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ประสูติในหม่อมกิม อาภากร ณ อยุธยา ธิดานายตั๊น ซุ่นเพียว หม่อมเจ้าเริงจิตร์แจรง อาภากร เสกสมรสกับหม่อมเจ้าไขแสงรพี รพีพัฒน์ พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ มีพระธิดาเพียงคนเดียวคือ.

ใหม่!!: กรมอู่ทหารเรือและเริงจิตร์แจรง อาภากร · ดูเพิ่มเติม »

เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9

รือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เป็นเรือพระที่นั่งกิ่งประเภทเรือรูปสัตว์ หนึ่งในเรือพระราชพิธี ในกระบวนพยุหยาตราชลมารค จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาส พระราชพิธีกาญจนาภิเษก แห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 โดย กองทัพเรือ ร่วมกับ กรมศิลปากร ได้นำ โขนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ ที่สร้างขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 3 และ รัชกาลที่ 4 มาเป็นต้นแบบ โดยกองทัพเรือ สร้างในส่วนที่เป็นโครงสร้างเรือ พาย และคัดฉาก ส่วนกรมศิลปากร ดำเนินการในงานที่เกี่ยวกับ ศิลปกรรมของเรือทั้งหม.

ใหม่!!: กรมอู่ทหารเรือและเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 · ดูเพิ่มเติม »

เรือหลวงกระบี่

รือหลวงกระบี่ (HTMS Krabi) (OPV-551) เป็นเรือรบประเภทเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้น ริเวอร์ หมายเลขประจำเรือ 551 ประจำการอยู่ในสังกัดหมวดเรือที่ 1 กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ ฐานทัพเรือสัตหีบ โดยเรือมีขนาดระวางขับน้ำเต็มที่ 1,969 ตัน และเป็นเรือรบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่กองทัพเรือไทยเคยสร้างม.

ใหม่!!: กรมอู่ทหารเรือและเรือหลวงกระบี่ · ดูเพิ่มเติม »

เรือหลวงศรีอยุธยา

รือหลวงศรีอยุธยา (HTMS Sri Ayudhya) เป็นเรือรบประเภทเรือปืนยามฝั่งสังกัดราชนาวีไทย มีระวางขับน้ำ 2,350 ตัน เครื่องจักรดีเซล 2 เครื่อง ความเร็วมัธยัสถ์ 12.2 นอต ติดอาวุธปืน 8 นิ้ว ป้อมคู่ จำนวน 2 ป้อม ปืน 3 นิ้ว จำ นวน 4 กระบอก ปืน 50 มิลลิเมตร จำนวน 2 แท่น พลประจำเรือ 234 นาย ต่อจากอู่ต่อเรือคาวาซากิ ประเทศญี่ปุ่น ขึ้นระวางประจำการ เมื่อ 19 กรกฎาคม..

ใหม่!!: กรมอู่ทหารเรือและเรือหลวงศรีอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา

รือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เป็นชุดเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งที่กองทัพเรือไทยจัดสร้างขึ้นจำนวนทั้งหมด 3 ลำ คือ เรือ ต.991 เรือ ต.992 และเรือ ต.993 โดยมอบหมายให้กรมอู่ทหารเรือเป็นผู้จัดสร้างเรือ ต.991 ณ อู่ทหารเรือธนบุรี ส่วนเรือ ต.992 และ ต.993 กองทัพเรือได้ว่าจ้างบริษัท มาร์ซัน จำกัด เป็นผู้ดำเนินการต่อเรือ เรือ ต.991 ได้มีพิธีปล่อยเรือลงน้ำที่อู่ทหารเรือธนบุรีเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2550 (สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์) (สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ) ส่วนเรือ ต.992 และ ต.993 ทำพิธีปล่อยเรือที่อู่ต่อเรือบริษัท มาร์ซัน จำกัด ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2550 (ข้อมูลจากสำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ) และมีกำหนดส่งมอบเรือให้แก่กองทัพเรือในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550.

ใหม่!!: กรมอู่ทหารเรือและเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา · ดูเพิ่มเติม »

เรือเอกไชยเหินหาว

รือเอกไชยเหินหาวเป็นเรือประเภทเรือเอกขัยในลำดับชั้นของเรือพระที่นั่งในกระบวนพยุหยาตราชลมารค ซึ่งเกือบเทียบเท่าเรือพระที่นั่งกิ่ง ทำหน้าที่เป็นเรือคู่ชักใช้นำหน้าหรือชักลากเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ คู่กับเรือเอกไชยหลาวทองหรือสำหรับชักลากเรือพระที่นั่ง ในกรณีที่ฝีพายไม่เพียงพอ ปัจจุบันเก็บรักษาที่ พิพิธภัณฑสถานเรือพระราชพิธี คลองบางกอกน้อ.

ใหม่!!: กรมอู่ทหารเรือและเรือเอกไชยเหินหาว · ดูเพิ่มเติม »

เขตบางกอกน้อย

ตบางกอกน้อย เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ ซึ่งถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี โดยมีคำขวัญประจำเขตว่า "สมเด็จโตวัดระฆัง วังหลังตั้งอยู่ อู่เรือพระราชพิธี สถานีรถไฟ คลองใหญ่มีชื่อ เลื่องลือเครื่องลงหิน นามระบิลช่างหล่อ งามลออวัดวา".

ใหม่!!: กรมอู่ทหารเรือและเขตบางกอกน้อย · ดูเพิ่มเติม »

9 มกราคม

วันที่ 9 มกราคม เป็นวันที่ 9 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 356 วันในปีนั้น (357 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: กรมอู่ทหารเรือและ9 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »