โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กบฏบวรเดช

ดัชนี กบฏบวรเดช

กบฏบวรเดช เกิดขึ้นเมื่อ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 นับเป็นการกบฏครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 สาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างระบอบเก่ากับระบอบใหม่ จากข้อโต้แย้งในเรื่องเค้าโครงเศรษฐกิจที่นายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้เสนอ และถูกมองว่าเป็น "คอมมิวนิสต์" ชนวนสำคัญที่สุดคือข้อโต้แย้งในเรื่องพระเกียรติยศและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบใหม่ เป็นผลนำไปสู่การนำกำลังทหารก่อกบฏโดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อันเป็นที่มาของชื่อ "กบฏบวรเดช" โดยในที่สุดฝ่ายรัฐบาลสามารถปราบปรามคณะกบฏลงได้ ส่วนพระองค์เจ้าบวรเดชหัวหน้าคณะกบฏและพระชายาได้หนีไปยังประเทศกัมพูชา อนุสาวรีย์ที่ตั้งอยู่บริเวณหลักสี่ บางเขน กรุงเทพฯ ที่เรียกกันว่า "อนุสาวรีย์หลักสี่" นั้น ชื่อจริงคือ "อนุสาวรีย์ปราบกบฏ" หรือ "อนุสาวรีย์พิทักษ์ธรรมนูญ" ซึ่งรัฐบาลในสมัยนั้น ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ผู้ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ปราบกบฏบวร.

48 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2476พรรคก้าวหน้า (พ.ศ. 2488)พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระยาศราภัยพิพัฒ (เลื่อน ศราภัยวานิช)พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ)พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ (หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์)พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน)พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดชพระตำหนักสวนรื่นฤดีพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีพระเทวัญอำนวยเดช (เสรี สุวรรณานุช)กบฏพระยาทรงสุรเดชกบฏในประเทศไทยการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475การเมืองไทยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2476รัฐประหารในประเทศไทย มิถุนายน พ.ศ. 2476รายพระนามและรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลาราตรีประดับดาว (นวนิยาย)ลำดับเหตุการณ์คณะราษฎรวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหารสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีสฤษดิ์ ธนะรัชต์สอ เสถบุตรสถานีรถไฟหินลับสงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทยหม่อมราชวงศ์นิมิตรมงคล นวรัตนหม่อมศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยาหม่อมทิพวัน กฤดากร ณ อยุธยาหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากรหลวงชำนาญยุทธศิลป์ (เชย รมยะนันท์)หลวงกาจสงคราม (กาจ กาจสงคราม)อนุสรณ์สถานแห่งชาติอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญผิน ชุณหะวัณทวีป วรดิลกประชาธิปไตยบนเส้นขนานประพาศ ศกุนตนาคประภาส จารุเสถียรประเทศไทยประเทศไทยใน พ.ศ. 2476ปืน ร.ศ. 121แปลก พิบูลสงครามโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเกาะตะรุเตาเจ้าแก้วมงคล ณ เชียงใหม่เค้าโครงการเศรษฐกิจ พ.ศ. 247511 ตุลาคม

พ.ศ. 2476

ทธศักราช 2476 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1933.

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและพ.ศ. 2476 · ดูเพิ่มเติม »

พรรคก้าวหน้า (พ.ศ. 2488)

รรคก้าวหน้า เป็นพรรคการเมืองแรกของประเทศไทยที่กำเนิดขึ้นมาภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 ที่ให้สิทธิเสรีภาพในการตั้งพรรคการเมือง โดยที่ยังมิได้มีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองแต่อย่างใด จึงมิได้เป็นพรรคการเมืองที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากแต่มีรัฐธรรมนูญให้การรับรอง มีหัวหน้าพรรค คือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และสมาชิกคนสำคัญ เช่น นายสุวิชช พันธเศรษฐ, นายสอ เศรษฐบุตร, พระยาสุรพันธุ์เสนี, ดร.

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและพรรคก้าวหน้า (พ.ศ. 2488) · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 — 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 7 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง เวลา 12.25 น. หรือตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระยาศราภัยพิพัฒ (เลื่อน ศราภัยวานิช)

นาวาเอก พระยาศราภัยพิพัฒ (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2432 - 21 กันยายน พ.ศ. 2511) นักหนังสือพิมพ์ อดีตปลัดทูลฉลอง กระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และวุฒิสมาชิก พระยาศราภัยพิพัฒ มีชื่อจริงว่า เลื่อน ศราภัยวานิช สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญรุ่นเดียวกับพระยาอนุมานราชธน และไปศึกษาต่อด้านสื่อสารมวลชน จาก School of Journalism เมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย สมรสกับ หม่อมหลวงฉลอง ศราภัยวานิช พระยาศราภัยพิพัฒ ได้รับราชการเป็นนายเวรวิเศษ เลขาประจำตัวของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ตำแหน่งสุดท้ายเป็นเจ้ากรมเสมียนตรา และปลัดทูลฉลอง กระทรวงกลาโหม ถูกปลดออกจากราชการหลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 พร้อมกับทำงานด้านหนังสือพิมพ์กรุงเทพเดลิเมล์ ไปพร้อมกับนายหลุย คีรีวัต นายสอ เศรษฐบุตร เป็นต้น หนังสือพิมพ์กรุงเทพเดลิเมล์ที่พระยาศราภัยพิพัฒ นั้นได้ถูกเพ่งเล็งจากฝ่ายรัฐบาล ว่าเป็นสื่อที่สนับสนุนการปกครองแบบเก่า หลังเหตุการณ์กบฏบวรเดช ในปี พ.ศ. 2476 และพระยาศราภัยพิพัฒเขียนบทความชื่อ "ฟ้องในหลวง" โจมตี กรณีนายถวัติ ฤทธิ์เดช ยื่นฟ้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อศาลอาญา อีกทั้งยังเดินทางไปเข้าเฝ้าสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ที่ปีนัง พระยาศราภัยพิพัฒและพวกถูกหมายจับในข้อหาแจกใบปลิวเถื่อนและปลุกระดมการกบฏ จึงหลบหนีด้วยการลงเรือตังเกหนีลงทะเล แต่ถูกจับได้ที่อ่าวไทย หลังจากนั้นจึงถูกส่งไปจำคุกในฐานะนักโทษการเมือง ที่เกาะตะรุเตา พร้อมกับนักโทษคนสำคัญอีกหลายคน จนกระทั่งในวันที่ 16 ตุลาคม..

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและพระยาศราภัยพิพัฒ (เลื่อน ศราภัยวานิช) · ดูเพิ่มเติม »

พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ)

ันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) อดีตนายทหารบก ผู้เป็นแกนหลักในเหตุการณ์กบฏบวรเดชเมื่อปี พ.ศ. 2476 พระยาศรีสิทธิสงคราม มีชื่อเดิมว่า ดิ่น ท่าราบ เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2434 ในครอบครัวคหบดีชาวสวน ที่ตำบลท่าราบ อำเภอคลองกระแชง (ปัจจุบัน คือ อำเภอเมืองเพชรบุรี) จังหวัดเพชรบุรี จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก ด้วยการสอบได้ที่ 1 จึงได้ทุนการศึกษาไปศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกเยอรมัน ร่วมรุ่นเดียวกับ พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) และพระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) โดยทั้ง 3 สนิทสนมกันมาก จนได้รับฉายาจากพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกฏ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ ว่าเป็น "สามทหารเสือ" เช่นเดียวกับ สามทหารเสือ ในนวนิยายชื่อเดียวกันของอเล็กซังเดรอ ดูมาส์ นักเขียนชาวฝรั่งเศส พระยาศรีสิทธิสงคราม ได้ศึกษาที่ประเทศเยอรมันนานถึง 10 ปี ก่อนจะเดินทางกลับมายังประเทศไทย มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการอย่างรวดเร็ว โดยได้รับยศเป็น พันเอก (.อ.) ตั้งแต่อายุ 37 ปี และได้รับบรรดาศักดิ์เป็น พระยา เมื่ออายุได้ 40 ปี ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปี พ.ศ. 2475 นั้น พระยาศรีสิทธิสงครามได้ถูกชักชวนให้เข้าร่วมด้วย แต่พระยาศรีสิทธิสงครามไม่ขอเข้าร่วม เนื่องจากยึดมั่นในคำถวายสัตย์ แต่ก็ไม่ต่อต้าน โดยในวันที่ 24 มิถุนายน ปีเดียวกันนั้นที่เกิดเหตุการณ์ ตัวของพระยาศรีสิทธิสงครามก็ได้ซ่อนตัวอยู่ในบ้านพักของพระยาพหลพลหยุหเสนาทั้งวัน จากนั้น พระยาศรีสิทธิสงคราม จึงถูกย้ายไปรับราชการในกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน) ต่อมาเมื่อเกิดความขัดแย้งกันในหมู่คณะราษฎร เมื่อพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี ปิดรัฐสภา และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ซึ่งเป็นชนวนเหตุให้พระยาทรงสุรเดช, พระยาฤทธิอัคเนย์ และพระประศาสน์พิทยายุทธ ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี (ลอย) ก็เป็นพระยาศรีสิทธิสงครามที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทน และได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้ากรมยุทธการทหารบก แต่ก็อยู่ในตำแหน่งได้เพียง 2 วันเท่านั้น ก็เกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 โดยกลุ่มของ พระยาพหลพลพยุหเสนา และหลวงพิบูลสงคราม พระยาศรีสิทธิสงครามจึงถูกย้ายไปรับราชการที่กระทรวงธรรมการอีกครั้ง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเหตุให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เกิดความขุ่นข้องหมองพระทัย และได้ก่อเหตุการณ์กบฏบวรเดชขึ้นในเดือนตุลาคม ปีเดียวกันนั้น โดยพระยาศรีสิทธิสงครามเข้าร่วมด้วย มีฐานะเป็นแม่ทัพ รับหน้าที่เป็นกองระวังหลัง จนเมื่อทางฝ่ายกบฏเพลี่ยงพล้ำต่อรัฐบาล ในเวลาพลบค่ำของวันที่ 23 ตุลาคม ปีเดียวกัน พระยาศรีสิทธิสงครามได้เป็นผู้เดินไปเจรจากับทหารฝ่ายรัฐบาล เพื่อขอให้หยุดยิง แต่ปรากฏว่า พระยาศรีสิทธิสงครามได้ถูกยิงเสียชีวิต ที่สถานีรถไฟหินลับ จังหวัดสระบุรี โดยร้อยโท ตุ๊ จารุเสถียร (ประภาส จารุเสถียร) จากนั้นร่างของพระยาศรีสิทธิสงครามได้ถูกส่งกลับกรุงเทพมหานคร โดยทำการฌาปนกิจอย่างเร่งด่วนที่วัดอภัยทายาราม หรือวัดมะกอก โดยที่ทางครอบครัวไม่ได้รับรู้มาก่อนเลย และกว่าจะได้อัฐิกลับคืนก็เป็นเวลาล่วงไป 3-4 ปีแล้ว อีกทั้งยังถูกคุกคามต่าง ๆ นานา ตลอดสมัยรัฐบาลหลวงพิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ชีวิตครอบครัวของพระยาศรีสิทธิสงคราม สมรสกับคุณหญิงศรีสิทธิสงคราม (ตลับ ท่าราบ - นามสกุลเดิม อ่ำสำราญ) มีบุตรธิดาทั้งหมด 4 คน ได้แก่ นางอัมโภช จุลานนท์ (มารดาของพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์), แพทย์หญิงโชติศรี ท่าราบ, นางอารีพันธ์ ประยูรโภคราช และนายชัยสิทธิ์ ท่าร.

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและพระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) · ดูเพิ่มเติม »

พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ (หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์)

มหาอำมาตย์ตรี พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ (หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) อดีตรัฐมนตรีไม่ได้ประจำกระทรวง ในรัฐบาลของพระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และอดีตสมาชิกว.

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและพระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ (หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์) · ดูเพิ่มเติม »

พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน)

4 ทหารเสือ (จากซ้าย) พ.อ.พระยาทรงสุรเดช, พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา, พ.อ.พระยาฤทธิอัคเนย์ และ พ.ท.พระประศาสน์พิทยายุทธ พันเอก พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) (12 สิงหาคม พ.ศ. 2435 - 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516) เป็น 1 ใน 4 ทหารเสือที่ร่วมก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นผู้ที่วางแผนการยึดอำนาจทั้งหมด เป็นผู้ได้รับการสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ไม่ได้เป็น และถูกกล่าวหาว่าคิดก่อการกบฏล้มล้างรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในกบฏพระยาทรงสุรเดช ถูกเนรเทศไปอยู่ในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาจนเสียชีวิตเมื่อ..

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและพระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) · ดูเพิ่มเติม »

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช

ลเอก นายพลเสือป่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช (2 เมษายน พ.ศ. 2420 - 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496) อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นผู้นำกบฏบวรเดชพยายามยึดอำนาจจากรัฐบาลคณะราษฎร เมื่อ..

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช · ดูเพิ่มเติม »

พระตำหนักสวนรื่นฤดี

ระนางเจ้าสุวัทนาฯ และ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ ที่พระตำหนักสวนรื่นฤดี พระตำหนักสวนรื่นฤดี เป็นที่ประทับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีและสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ตั้งอยู่บริเวณถนนนครราชสีมา ตัดกับ ถนนสุโขทัย ในปัจจุบันเป็นที่ทำการของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร.

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและพระตำหนักสวนรื่นฤดี · ดูเพิ่มเติม »

พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี

ระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี (15 เมษายน พ.ศ. 2448 — 10 ตุลาคม พ.ศ. 2528) เป็นพระวรราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า เครือแก้ว อภัยวงศ์ บุตรีของพระยาอภัยภูเบศร (เลื่อม อภัยวงศ์) กับคุณเล็ก บุนนาค ต่อมาได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า สุวัทนา ได้เข้ารับราชการฝ่ายใน ในตำแหน่งเจ้าจอมสุวัทนา และได้รับการสถาปนาเป็น พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ตามลำดับ พระองค์ได้ให้ประสูติการแก่พระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในรัชกาลคือ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี แต่หลังจากประสูติพระเจ้าลูกเธอได้เพียงหนึ่งวัน พระราชสวามีได้สวรรคตลง พระองค์และพระธิดาจึงได้เสด็จไปประทับยังสหราชอาณาจักรกว่า 20 ปี ภายหลังจึงได้เสด็จนิวัตประเทศไทยโดยพำนักในวังรื่นฤดี เป็นการถาวรตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี · ดูเพิ่มเติม »

พระเทวัญอำนวยเดช (เสรี สุวรรณานุช)

นาวาอากาศโท พระเทวัญอำนวยเดช นาวาอากาศโท พระเทวัญอำนวยเดช (เสรี สุวรรณานุช) เป็นนายทหารนักบินไทยในสงครามโลกครั้งที่ 1 และอธิบดีกรมสหกรณ์ที่ดินคนแรก เดิมชื่อ "หลี" เกิดเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พุทธศักราช 2438 ณ บ้านเลขที่ 6 ตำบลบางเลน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนบุตรธิดาทั้งหมด 4 คน ของนายคำและนางยวง สุวรรณานุช ภายหลังสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกในปีพุทธศักราช 2457 ได้รับพระราชทานยศให้เป็นนายร้อยตรีแล้ว ได้เข้ารับราชการในตำแหน่งผู้บังคับหมวดในกองร้อยที่ 1 กรมทหารราบที่ 3 พุทธศักราช 2460 ได้สมัครเข้าเป็นกองทหารอาสาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเข้าร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในตำแหน่งนายร้อยโท ผู้บังคับหมวดในกองย่อยรถยนต์ กองใหญ่รถยนต์ที่ 4 พุทธศักราช 2461 เดินทางไปราชการในสงครามโลกครั้งที่ 1 ประจำการ ณ ประเทศฝรั่งเศส และด้วยที่มีใจรักทางการบิน จึงเข้าฝึกเป็นนักบินในโรงเรียนการบินทหารบกและโรงเรียนการทิ้งระเบิดแห่งประเทศฝรั่งเศส พุทธศักราช 2462 สำเร็จการฝึกเป็นนักบิน เข้าประจำการในกองทัพยึดดินแดนเมืองนอยสตาดท์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ทำหน้าที่เป็นนักบินและผู้ทิ้งลูกระเบิด โดยปฏิบัติการอยู่ประมาณ 4 เดือน เมื่อสงครามสงบได้เดินทางกลับประเทศไทยแล้วย้ายสังกัดไปอยู่ กรมอากาศยานทหารบก ในตำแหน่งผู้บังคับหมวด กองศึกษาและฝึกหัด กองบินใหญ่ที่ 3 ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งกรมอากาศยานทหารบกนี้ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “กรมอากาศยาน” และได้มีการพัฒนาปรับเปลี่ยนขยายหน่วยงานจนได้รับการยกฐานะเป็น “กองทัพอากาศ” ในปัจจุบัน พุทธศักราช 2464 ได้รับพระราชทานยศให้เป็นเรืออากาศเอก ตำแหน่งผู้ช่วยผู้บังคับกองศึกษาและฝึกหัด กองบินใหญ่ที่ 3 พุทธศักราช 2467 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงเทวัญอำนวยเดช” และเป็นผู้รั้งตำแหน่งปลัดกองบินใหญ่ที่ 3 พุทธศักราช 2468 เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งผู้บังคับกองบินใหญ่ที่ 3 พุทธศักราช 2469 เป็นผู้บังคับกองบินน้อยที่ 2 กองบินใหญ่ที่ 3 ปีพุทธศักราช 2470 ได้รับพระราชทานยศให้เป็นนาวาอากาศตรี และเป็นผู้บังคับกองบินน้อยที่ 1 กองบินใหญ่ที่ 2 พุทธศักราช 2473 ประจำกองอากาศยานเพื่อเข้าศึกษาในโรงเรียนเสนาธิการทหารบก พุทธศักราช 2474 ได้รับพระราชทานยศให้เป็นนาวาอากาศโท พุทธศักราช 2475 เข้าศึกษาในโรงเรียนการบินขั้นสูง และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระเทวัญอำนวยเดช” พุทธศักราช 2476 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเจ้ากรมอากาศยาน ฝ่ายธุรการ และได้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองกรณี “กบฏบวรเดช” มีการใช้กำลังทหารต่อสู้กันระหว่างฝ่ายของ พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช กับฝ่ายรัฐบาลของคณะราษฎร เป็นผลให้นาวาอากาศโท พระเทวัญอำนวยเดช ต้องพ้นจากราชการ และเปลี่ยนฐานะเป็น “นักโทษการเมือง” ต่อมา พุทธศักราช 2480 ได้มีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองในกรณีดังกล่าว และพิจารณาให้กลับเข้ารับราชการ โดยให้ไปเป็นข้าราชการพลเรือนปฏิบัติงานในกระทรวงทบวงกรมอื่น พุทธศักราช 2481 ได้รับบรรจุเป็นเสมียนพนักงาน กองสหกรณ์ภาคใต้ กรมสหกรณ์ แล้วเข้าศึกษาในโรงเรียนการอบรมกรมสหกรณ์ที่ดิน หลังจากนั้นได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพนักงานสหกรณ์จัตวา กองควบคุมสหกรณ์ กรมสหกรณ์ พุทธศักราช 2482 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นพนักงานสหกรณ์ตรี กองควบคุมสหกรณ์ กรมสหกรณ์ ปฏิบัติหน้าที่ประจำเขตอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี พุทธศักราช 2489 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองขยายการสหกรณ์ กรมสหกรณ์ พุทธศักราช 2494 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองสหกรณ์นิคม กรมสหกรณ์ พุทธศักราช 2495 ได้มีพระราชกฤษฎีกาประกาศปรับปรุงการจัดตั้งกระทรวงทบวงกรม ให้มีการจัดตั้งกระทรวงการสหกรณ์ขึ้น และมี กรมสหกรณ์ที่ดิน เป็นหน่วยงานหนึ่งในสังกัด โดย นาวาอากาศโท พระเทวัญอำนวยเดช ได้รับแต่งตั้งให้รักษาการในตำแหน่งอธิบดี พุทธศักราช 2496 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสหกรณ์ที่ดิน โดยนับเป็นอธิบดีคนแรกเมื่อมีการประกาศแบ่งส่วนราชการนี้ขึ้น (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อหน่วยงานเป็น "กรมส่งเสริมสหกรณ์" สังกัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) พุทธศักราช 2501 เกษียณอายุราชการเพื่อรับบำนาญ ในตอนปลายของชีวิต นาวาอากาศโท พระเทวัญอำนวยเดช ใช้เวลาอยู่กับการปลูกและดูแลต้นไม้ซึ่งเป็นสิ่งที่รักเป็นชีวิตจิตใจ ต่อมาสุขภาพทรุดโทรมลง และเริ่มมีอาการป่วยจนถึงแก่กรรมในที่สุดจากเหตุตับวาย ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พุทธศักราช 2514 เวลา 19.05 นาฬิกา สิริอายุ 76 ปี 6 เดือน จัดการพระราชทานเพลิงศพ ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร ราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2516.

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและพระเทวัญอำนวยเดช (เสรี สุวรรณานุช) · ดูเพิ่มเติม »

กบฏพระยาทรงสุรเดช

ระยาทรงสุรเดช นายทหารใน "4 ทหารเสือ" ผู้มีบทบาทอย่างสูงในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ผู้ที่ถูกต้องข้อหาว่าเป็นตัวการในการกบฏครั้งนี้ กบฏพระยาทรงสุรเดช หรือ กบฏ 18 ศพ หรือ กบฏ..

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและกบฏพระยาทรงสุรเดช · ดูเพิ่มเติม »

กบฏในประเทศไทย

ตามกฎหมายไทย กบฏ เป็นความผิดอาญา ฐานกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ ภายในราชอาณาจักร โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อล้มล้าง หรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ หรือล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการ หรืออำนาจอธิปไตยทั้งสาม หรือแบ่งแยกราชอาณาจักรหรือยึดอำนาจปกครองในส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งราชอาณาจักร เรียกว่า ความผิดฐานเป็นกบฏหรือขบถ และกำหนดโทษสำหรับผู้ก่อการกบฏ ให้ประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต อย่างไรก็ตาม มีผู้ได้รับโทษทัณฑ์ในข้อหากบฏในราชอาณาจักรน้อย มีที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษ เช่น กบฏ ร.ศ. 130 รับนิรโทษกรรมจากรัฐบาล หรือหลบหนีไปนอกราชอาณาจักร เช่น กบฏวังหลวง กรณีที่มีผู้รับโทษประหารชีวิตได้แก่ กบฏ 26 มีนาคม 2520 ซึ่งเป็นหนึ่งในชนวนเหตุที่ทำให้ทหารรัฐประหารรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียรในเวลาต่อม.

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและกบฏในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475

การปฏิวัติสยาม..

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 · ดูเพิ่มเติม »

การเมืองไทย

การเมืองไทยปัจจุบันอยู่ในระบอบเผด็จการทหารในพฤตินัย ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ และพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นผู้ใช้อำนาจบริหารและเป็นนายกรัฐมนตรี.

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและการเมืองไทย · ดูเพิ่มเติม »

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2476

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไท..

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2476 · ดูเพิ่มเติม »

รัฐประหารในประเทศไทย มิถุนายน พ.ศ. 2476

รัฐประหารในประเทศไทย มิถุนายน..

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและรัฐประหารในประเทศไทย มิถุนายน พ.ศ. 2476 · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามและรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา

นื้อหาในหน้านี้เป็นบัญชีรายพระนามและรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลาประเภทต่างๆ ตามที่ปรากฎหลักฐานในราชกิจจานุเบกษา ตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมาจนถึงแต่รัชกาลปัจจุบัน โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือระยะที่พระราชทานตามพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสสริยาภรณ์สำหรับความดีความชอบเหรียญดุษฎีมาลา ปีมะเมีย จัตวาศก ศักราช 1244 และระยะที่พระราชทานตามพระราชบัญญัติเหรียญดุษฎีมาลา พุทธศักราช 2484; หมายเหต.

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและรายพระนามและรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา · ดูเพิ่มเติม »

ราตรีประดับดาว (นวนิยาย)

ราตรีประดับดาว นวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องที่ 4 ของ ว.วินิจฉัยกุล เล่าเรื่องชีวิตของหญิงสาวต่างจังหวัด กับนายทหารหนุ่มจากพระนครในสมัยรัชกาลที่ 7 ช่วงที่มีกบฏบวรเดช ความผันแปรของชีวิตจากชาวบ้านสู่ชาวเมือง จากสาว สู่ ภริยา จาก ภริยา สู่ หม้าย สู่ แม่ของลูก ชีวิตจะต้องผ่านอุปสรรคอันใดบ้าง เพื่อชีวิตอันสุขสงบ ต้องใช้ความอดทน ความไว้เนื้อเชื่อใจ และความดีเท่านั้น หมวดหมู่:นวนิยายไทย.

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและราตรีประดับดาว (นวนิยาย) · ดูเพิ่มเติม »

ลำดับเหตุการณ์คณะราษฎร

ลำดับเหตุการณ์คณะราษฎรแสดงรายการเหตุการณ์สำคัญนับตั้งแต่การก่อตั้งคณะราษฎรในปี 2469 จนหมดอำนาจในปี 2503 เหตุการณ์ปฏิวัติสยามเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ไทย และทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ที่เคยเป็นผู้ปกครองสูงสุดของประเทศมาช้านานเสียอำนาจส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงดังกล่าวใน..

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและลำดับเหตุการณ์คณะราษฎร · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร

วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร ได้รับอนุญาตให้ตั้งเป็นสำนักสงฆ์เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2484 และเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหารเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2485 สร้างในสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยได้เสนอคณะรัฐมนตรีให้สร้างวัดขึ้นบริเวณใกล้เคียงกับอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นอนุสรณ์การปกครองระบอบประชาธิปไตย และกำหนดให้แล้วเสร็จทันวันชาติ คือวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2484 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้สร้างวัดขึ้นโดยให้ชื่อว่า วัดประชาธิปไตย ระหว่างการก่อสร้างพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (ขณะมียศเป็นนาวาเอก หลวงธำรงค์นาวาสวัสดิ์) ได้เดินทางไปขอพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศอินเดีย รวมทั้งกิ่งพระศรีมหาโพธิ 5 กิ่ง จากต้นที่สืบเนื่องมาจากต้นที่พระโคตมพุทธเจ้าเสด็จประทับ และตรัสรู้ พร้อมดินจากสังเวชนียสถานคือสถานที่ประสูติ ที่ตรัสรู้ ที่แสดงปฐมเทศนา และที่ปรินิพพาน รัฐบาลได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ กิ่งต้นพระศรีมหาโพธิ์และดินดังกล่าวมาประดิษฐานที่วัดซึ่งกำลังสร้างนี้ ได้มีการตั้งนามวัดว่า วัดพระศรีมหาธาตุ และถวายเป็นเสนาสนะเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน..

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

ลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) เป็นพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ประสูติ ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง ก่อนที่สมเด็จพระบรมชนกนาถจะเสด็จสวรรคตในวันต่อมา พระนาม เพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้ในพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ โดยมีคำนำหน้าพระนามเป็นสมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ (ลูกสาวของพี่ชาย) ในรัชกาลที่ 7 และเป็นพระภคินี (ลูกพี่ลูกน้อง) ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และโดยพระชนมายุพระองค์จึงเคยเป็นพระกุลเชษฐ์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ หลังจากเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นการถาวร พระองค์ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจเพื่อแบ่งเบาพระราชภาระในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชอยู่เป็นนิจ จนกระทั่งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ 9 ทรงเจริญพระวัยและทรงสามารถแบ่งเบาพระราชกรณียกิจได้ กอปรกับพระองค์มีพระชนมายุสูงขึ้นจึงเสด็จออกทรงเยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดารน้อยลง นอกจากนี้ พระองค์ทรงรับสถาบันและองค์กรต่างๆ ทั้งในส่วนที่สืบสานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และโดยส่วนพระองค์เองไว้ในพระอุปถัมภ์มากกว่า 30 แห่ง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 16.37 นาฬิกา ณ ตึก 84 ปี โรงพยาบาลศิริราช สิริพระชนมายุ 85 พรรษา 8 เดือน 3 วัน.

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี · ดูเพิ่มเติม »

สฤษดิ์ ธนะรัชต์

อมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (16 มิถุนายน พ.ศ. 2451 — 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 11, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, ผู้บัญชาการทหารบกและอธิบดีกรมตำรวจ เป็นผู้ริเริ่มการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นผู้ก่อตั้งสำนักงบประมาณ เป็นผู้ก่อตั้งธนาคารทหารไทย และบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด เจ้าของคำพูดที่ว่า "พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ" และ "ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว" พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ใน วันที่ 16 กันยายน..

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและสฤษดิ์ ธนะรัชต์ · ดูเพิ่มเติม »

สอ เสถบุตร

อ เสถบุตร ในวัยหนุ่ม สอ เสถบุตร หรือชื่อเดิม สอ เศรษฐบุตร ผู้แต่งพจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ฉบับ สอ เสถบุตร ซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายในประเทศไท.

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและสอ เสถบุตร · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟหินลับ

นีรถไฟหินลับ เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 144 กิโลเมตร ตั้งอยู่ที่อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี สถานีรถไฟหินลับเป็นสถานที่หนึ่งที่มีการรบกันระหว่างทหารฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายกบฏ ในเหตุการณ์กบฏบวรเดช โดยนายพันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) แม่ทัพฝ่ายกบฏ ถูกทหารฝ่ายรัฐบาลจากกองพันทหารราบที่ 6 นำโดยพันตรีหลวงวีรวัฒน์โยธายิงตายในที่รบที่สถานีรถไฟแห่งนี้ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2476.

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและสถานีรถไฟหินลับ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทย

อาณาเขตของประเทศไทยระหว่างสงคราม สงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไท.

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและสงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมราชวงศ์นิมิตรมงคล นวรัตน

หม่อมราชวงศ์นิมิตรมงคล นวรัตน (21 เมษายน พ.ศ. 2451 — 11 เมษายน พ.ศ. 2491) นักเขียนชาวไทย อดีตนายเรืออากาศที่ต้องโทษในคดีกบฏบวร..

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและหม่อมราชวงศ์นิมิตรมงคล นวรัตน · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา

หม่อมศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา (นามเดิม เจ้าศรี ณ น่าน, 19 มีนาคม พ.ศ. 2431 — 25 กันยายน พ.ศ. 2521) พระธิดาในพระเจ้าสุริยะพงศ์ผริตเดช เจ้าประเทศราชผู้ครองนครน่าน กับหม่อมศรีคำ (ชาวเวียงจันทน์) เป็นหม่อมเอกในหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ทั้งสองท่านได้ออกหนังสือ “กสิกร” มีนักวิชาการ /ผู้รู้ เสนอบทความต่างๆ เกี่ยวกับการเกษตรมากมาย ยังมีคอลัมน์เกี่ยวกับการทำอาหาร และการถนอมอาหาร โดยหม่อม เจ้าศรีพรหมา เช่น การคั้นน้ำผลไม้ การหมักดอง การทำแฮม และเบคอน เป็นต้น.

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและหม่อมศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมทิพวัน กฤดากร ณ อยุธยา

หม่อมทิพวัน กฤดากร ณ อยุธยา หรือนามเดิม เจ้าทิพวัน ณ เชียงใหม่ (13 มิถุนายน พ.ศ. 2426 — 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2497) นางข้าหลวงในเจ้าดารารัศมี พระราชชายา และอดีตหม่อมในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวร.

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและหม่อมทิพวัน กฤดากร ณ อยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร

หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร (10 เมษายน พ.ศ. 2426 — 22 มิถุนายน พ.ศ. 2514) พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ ที่ประสูติแต่ หม่อมสุภาพ กฤดากร ณ อยุธยา ทรงได้รับการยกย่องเป็น บิดาแห่งการเกษตรแผนใหม่ หม่อมเจ้าสิทธิพร เสด็จไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ทรงศึกษาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ที่กรุงลอนดอน เริ่มรับราชการที่กระทรวงพระคลัง เมื่อ..

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร · ดูเพิ่มเติม »

หลวงชำนาญยุทธศิลป์ (เชย รมยะนันท์)

ณะราษฎรสายทหารบก ที่สนามหญ้าหน้าวังปารุสกวัน ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 (หลวงชำนาญยุทธศิลป์ คือ คนที่ 9 จากซ้าย แถวหลัง) พลตรี หลวงชำนาญยุทธศิลป์ อดีตนายทหารบกผู้เป็นหนึ่งในคณะราษฎร ผู้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ และผู้ต้องหาในคดีกบฏพระยาทรงสุรเดช หลวงชำนาญยุทธศิลป์ มีชื่อจริงว่า เชย รมยะนันทน์ เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม..

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและหลวงชำนาญยุทธศิลป์ (เชย รมยะนันท์) · ดูเพิ่มเติม »

หลวงกาจสงคราม (กาจ กาจสงคราม)

ลโท พลอากาศโท กาจ กาจสงคราม หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ หลวงกาจสงคราม หนึ่งในสมาชิกคณะราษฎร สมาชิกขบวนการเสรีไทย อดีตแม่ทัพภาคที่ 1 ของกองทัพบกไทย ช่วงปี..

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและหลวงกาจสงคราม (กาจ กาจสงคราม) · ดูเพิ่มเติม »

อนุสรณ์สถานแห่งชาติ

อนุสรณ์สถานแห่งชาติ อนุสรณ์สถานแห่งชาติ สร้างขึ้นในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่บูรพมหากษัตริย์และวีระชนไทยผู้เสียสละชีวิตเพื่อประเทศชาติ ตั้งอยู่บริเวณทางแยกต่างระดับอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ช่วงถนนวิภาวดีรังสิต บรรจบกับถนนพหลโยธิน ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ในพื้นที่ 38 ไร่ 1 งาน 97 ตารางวา ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย กระทรวงกลาโหม.

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและอนุสรณ์สถานแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ

อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ เป็นอนุสาวรีย์ที่ตั้งอยู่ ณ วงเวียนหลักสี่ จุดตัดระหว่างถนนพหลโยธินกับถนนแจ้งวัฒนะและถนนรามอินทรา ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญจัดสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองการปราบกบฏบวรเดช โดยมีการบรรจุอัฐิทหารและตำรวจที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าวไว้ภายในรวม 17 นาย จึงมีชื่อเรียกอื่นๆ ได้แก่ อนุสาวรีย์ปราบกบฏ อนุสาวรีย์ 17 ทหารและตำรวจ อนุสาวรีย์หลักสี่ หรืออนุสาวรีย์หลวงอำนวยสงคราม มีการปรับปรุงพื้นที่บริเวณโดยรอบอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญอยู่หลายครั้งโดยกรมทางหลวง เพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัดโดยรอบอนุสาวรีย์ อาทิ การปรับภูมิทัศน์เป็นสี่แยกและการขุดอุโมงค์ลอดอนุสาวรีย์ และการก่อสร้างสะพานลอยด้านข้างอนุสาวรีย์เพื่อเชื่อมต่อถนนแจ้งวัฒนะกับถนนรามอินทรา ปัจจุบันในบริเวณอนุสาวรีย์มีการก่อสร้างโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายหมอชิต - คูคต และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี (พ.ศ. 2561) อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญได้รับการออกแบบโดยหลวงนฤมิตรเลขการ อาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โดยยึดหลักทางการเมืองของรัฐบาล 5 ประการ คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ กองทัพ และรัฐธรรมนูญ อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ เรียกข้อมูลวันที่ 19 กุมภาพัน..

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

ผิน ชุณหะวัณ

อมพลผิน ชุณหะวัณ (14 ตุลาคม พ.ศ. 2434 - 26 มกราคม พ.ศ. 2516) เป็นบิดาของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เกิดที่ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นบุตรของนายไข่ และ นางพลับ ชุณหะวัณ ชาวสวนและแพทย์แผนโบราณ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 8 คน จอมพลผิน ชุณหะวัณ ถึงแก่อสัญกรรมในวันศุกร์ที่ 26 มกราคม..

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและผิน ชุณหะวัณ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีป วรดิลก

ทวีป วรดิลก (25 สิงหาคม พ.ศ. 2471 - 8 เมษายน พ.ศ. 2548) นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี..

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและทวีป วรดิลก · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน

right หน้าปกนวนิยาย "ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน" ฉบับจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ดอกหญ้า ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน เป็นหนังสือของ วินทร์ เลียววาริณ วางจำหน่ายใน พ.ศ. 2537 และได้รางวัลซีไรต์ใน พ.ศ. 2540 ฉบับภาษาอังกฤษให้ชื่อว่า (Democracy, Shaken & Stirred) วางจำหน่าย พ.ศ. 2546 เป็นนิยายเชิงการเมืองไทย โดยดำเนินเรื่องตามการปฏิวัติในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2475 จนถึงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬใน พ.ศ. 2535 ตัวละครหลักในเรื่องเป็นตัวละครสมมติ แต่มีการใช้บุคคลในประวัติศาสตร์มากมาย วินทร์ได้ใช้ลักษณะการเขียนแบบเดียวกันนี้ในนิยายอีกเรื่องของเขา คือ ปีกแดง (พ.ศ. 2545) เพียงแต่เป็นเรื่องของลัทธิคอมมิวนิสต์ทั้งในประเทศไทยและต่างประเท.

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและประชาธิปไตยบนเส้นขนาน · ดูเพิ่มเติม »

ประพาศ ศกุนตนาค

19 กันยายน พ.ศ. 2549 พลตรี ประพาศ ศกุนตนาค เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2478 เป็นบุตรชายของ ขุนเหมสมาหาร(ประพงศ์ ศกุนตนาค) อดีตนายอำเภอที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกรณีกบฏบวรเดชและ นางเหมสมาหาร(พริ้ง ศรีเพ็ญ)เป็นหลานปู่ หลวงสรรพกิจโกศล(ปาน ศกุนตนาค) ในปี พ.ศ. 2476 พล.ต.ประพาศ จบโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นเดียวกับ พล.ต.อ.ชลอ เกิดเทศ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) รุ่นที่ 10 รุ่นเดียวกับ พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับราชการอยู่ในกรมการทหารสื่อสารมาโดยตลอด เป็นผู้ประกาศข่าวของช่อง 7 ยุคก่อตั้งสถานีที่ยังคงอยู่ในความดูแลของช่อง 5 และยังออกอากาศเป็นภาพขาวดำอยู่ จากนั้นในปี พ.ศ. 2515 จึงได้มีโอกาสแสดงละครเวทีเฉพาะพระพักตร์ และละครโทรทัศน์หลายเรื่องด้วยกัน โดยเรื่องที่สร้างชื่อเสียงได้แก่ สี่แผ่นดิน ในปี พ.ศ. 2517 โดยรับบทเป็นคุณเปรมตัวเอกของเรื่องด้วย ภายหลังได้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเสนาธิการทหารบก และได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ซึ่งทั้งนี้ยังถือเป็นอาจารย์ผู้สอนของนายทหารผู้มีบทบาทสำคัญในประเทศอีกหลายท่านด้วยกัน อาทิเช่น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พลเอกอุดมเดช สีตบุตร เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นนักดนตรีที่เล่นดนตรีไทยได้หลายชิ้น สามารถร้องเพลงไทย และขับเสภาได้ไพเราะ จนได้รับคำชมจากหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ได้มีโอกาสแสดงดนตรีและขับเสภาในงานสำคัญต่าง ๆ หลายต่อหลายครั้ง อีกทั้งยังเป็นเจ้าของเสียงขับเสภาในละครโทรทัศน์แนวจักร ๆ วงศ์ ๆ หลายเรื่องด้วย หน้าที่สุดท้ายคือเป็นที่ปรึกษาผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 แต่ยังได้รับโอกาสให้เป็นผู้บรรยายงานพระราชพิธีและรัฐพิธีหลายต่อหลายครั้ง โดยงานที่ภูมิใจที่สุดคือได้เป็นหัวหน้าผู้บรรยายในงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในปี พ.ศ. 2549 และต่อมาได้เป็นหัวหน้าคณะผู้บรรยายในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 และล่าสุดยังได้เป็นหัวหน้าคณะผู้บรรยายในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 พล.ต.ประพาศ ศกุนตนาค ได้รับฉายาว่าเป็น "โฆษกคณะปฏิวัติ" เช่นเดียวกับนายอาคม มกรานนท์ เนื่องจากมักเป็นผู้ที่อ่านประกาศของคณะรัฐประหารหรือคณะปฏิรูปหรือเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกี่ยวกับสถานการณ์ความมั่นคงของชาติหลายครั้ง เช่น เป็นผู้อ่านประกาศของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ในเหตุการณ์รัฐประหาร เมื่อปี พ.ศ. 2534 หรือ อ่านประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี พ.ศ. 2535 และ อ่านประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (คปค.) ในการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2549 เป็นต้น ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาต..

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและประพาศ ศกุนตนาค · ดูเพิ่มเติม »

ประภาส จารุเสถียร

อมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ พลตำรวจเอก ประภาส จารุเสถียร (5 ธันวาคม พ.ศ. 2455 — 18 สิงหาคม พ.ศ. 2540) อดีตรองนายกรัฐมนตรี, อดีตผู้บัญชาการทหารบก, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, อดีตอธิบดีกรมตำรวจ และอดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลั.

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและประภาส จารุเสถียร · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทยใน พ.ศ. 2476

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 276 ในประเทศไท.

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและประเทศไทยใน พ.ศ. 2476 · ดูเพิ่มเติม »

ปืน ร.ศ. 121

ปืนเล็กยาว ร..

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและปืน ร.ศ. 121 · ดูเพิ่มเติม »

แปลก พิบูลสงคราม

งครามอินโดจีน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งผนวชทรงรับบาตรจากจอมพล ป. นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ แปลก พิบูลสงคราม (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "จอมพล ป.พิบูลสงคราม" เป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด คือ 14 ปี 11 เดือน 18 วัน รวม 8 สมัย และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีนโยบายที่สำคัญคือ การมุ่งมั่นพัฒนาประเทศไทย ให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศ มีการปลุกระดมให้คนไทยรู้สึกรักชาติ โดยออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย "รัฐนิยม" หลายอย่าง ซึ่งบางอย่างได้ประกาศเป็นกฎหมายในภายหลัง หลายอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ เช่น การรำวง, ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ "ประเทศสยาม" เป็น "ประเทศไทย" และเป็นผู้เปลี่ยน "เพลงชาติไทย" มาเป็นเพลงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คำขวัญที่รู้จักกันดีของนายกรัฐมนตรีผู้นี้คือ "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย" หรือ "ท่านผู้นำไปไหนฉันไปด้วย" และ "ไทยอยู่คู่ฟ้า" ในสายตานักวิชาการประวัติศาสตร์การเมืองไทยส่วนหนึ่งเห็นว่า จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นเผด็จการทางทหารที่มีบทบาททางการเมืองสูง และให้ความสนใจกับความคิดที่ส่อไปในทางเชื้อชาตินิยม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ในเวลาประมาณ 20.30 น. ณ บ้านพักส่วนตัว ชานกรุงโตเกียว สิริอายุได้ 67 ปี.

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและแปลก พิบูลสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

รงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (อักษรย่อ: ส.ก./S.K.) เป็นโรงเรียนชายล้วนในระดับชั้น มัธยมศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งโดย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ 88 ถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร บนเนื้อที่ 11 ไร่ 2 งาน 23 ตารางวา ประกอบด้วยอาคารเรียน 7 หลัง ห้องเรียนทั้งหมด 78 ห้อง นอกจากนี้โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยยังโดดเด่นในเรื่องคุณภาพมาตรฐานของศิษย์เก่าที่จบไปโดยเฉพาะด้านวิชาการ ภาษา และความเป็นผู้นำ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็น 1 ในกลุ่มโรงเรียนจตุรมิตรสามัคคี ซึ่งประกอบด้วย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย มีการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมของทั้ง 4 โรงเรียน โดยแต่ละโรงเรียนจะผลัดกันเป็นเจ้าภาพในทุกๆ 2 ปี นอกจากการแข่งขันฟุตบอล ยังมี การแปรอักษร ของทั้ง 4 โรงเรียน ซึ่งเป็นอีกสัญลักษณ์สำคัญของงาน โดยกีฬาจตุรมิตรสามัคคีจะจัดขึ้นในทุกๆ 4 ปี ที่ สนามศุภชลาศัย นอกจากนี้ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ยังมีงานกรีฑาสวนกุหลาบสัมพันธ์ และงานชุมนุมลูกเสือสวนกุหลาบสัมพันธ์ ซึ่งจัดขึ้นร่วมกับโรงเรียนใน เครือสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นประจำทุกปี โดยแต่ละโรงเรียนจะผลัดกันเป็นเจ้.

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

เกาะตะรุเตา

หาดของเกาะตะรุเตา อ่าวตะโละวาว เกาะตะรุเตา เป็นเกาะหลัก เกาะใหญ่ที่สุดในอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ซึ่งประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่จำนวน 51 เกาะ ตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน บริเวณช่องแคบมะละกา มหาสมุทรอินเดีย ในท้องที่อำเภอละงู จังหวัดสตูล ด้านใต้ของเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ห่างจากเกาะลังกาวี ของมาเลเซีย เพียง 4.8 กิโลเมตร รวมทั้งพื้นที่บนเกาะและทะเลประมาณ 931,250 ไร่ หรือ 1,490 ตารางกิโลเมตร คำว่า "ตะรุเตา" เป็นภาษามลายู เพี้ยนมาจากคำว่า ตือโละตาวาร์ (Teluk Tawar) แปลว่า "อ่าวจืด" หรือ "อ่าวน้ำจืด" เพราะบนเกาะแห่งนี้เป็นเกาะที่เดียวที่มีธารน้ำจืดอยู่ด้วย ในทางประวัติศาสตร์ ในปี..

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและเกาะตะรุเตา · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าแก้วมงคล ณ เชียงใหม่

รืออากาศโท เจ้าแก้วมงคล ณ เชียงใหม่ เป็นราชโอรสใน เจ้าราชวงศ์ (เลาแก้ว ณ เชียงใหม่) เจ้าราชวงศ์นครเชียงใหม่ ราชโอรสองค์เดียวในเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 8 ประสูติแต่แม่เจ้าทิพเนตรราชเทวี ทรงสมรสกับเจ้าแสงดาว ณ เชียงใหม่ บุตรบุญธรรมในพระราชชายา เจ้าดารารัศมี เจ้าแก้วมงคล เป็นเจ้านายฝ่ายเหนือคนหนึ่งที่ถูกมองว่าอาจจะได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 10เบญจวรรณ บุญโทแสง.

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและเจ้าแก้วมงคล ณ เชียงใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

เค้าโครงการเศรษฐกิจ พ.ศ. 2475

้าโครงการเศรษฐก..

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและเค้าโครงการเศรษฐกิจ พ.ศ. 2475 · ดูเพิ่มเติม »

11 ตุลาคม

วันที่ 11 ตุลาคม เป็นวันที่ 284 ของปี (วันที่ 285 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 81 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: กบฏบวรเดชและ11 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Boworadet Rebellionกบฎบวรเดช

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »