โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดัชนี ก

ก (ไก่) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 1 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับก่อนหน้า ข (ไข่) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรกลาง ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า "ก ไก่" อักษร ก เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /k/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /k̚/ เมื่อเป็นพยัญชนะต้น สามารถควบกับอักษร ร ล ว ได้ เมื่อเป็นตัวสะกด นับเป็นตัวสะกดแม่กก และนับเป็นตัวแทนของตัวสะกดแม่กกด้วย ในหนังสือโบราณ มีการใช้ "ก หัน" คือ อักษร ก สองตัว แทนไม้หันอากาศและตัว ก สะกด ดังนี้ รกก (รัก), หกก (หัก) อักษร ก นี้ เทียบได้กับอักษรในระบบอักษรอื่นๆ ของอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายระบบ เช่น ระบบอักษรเทวนาครี ระบบอักษรมอญพม่า ระบบอักษรขอม เป็นต้น โดยอักษร ก ถือเป็นพยัญชนะตัวแรกเสมอ ก เพียงตัวเดียวแล้วเติมไม้ไต่คู้ โดยไม่มีสระ สามารถเป็นคำได้หนึ่งคำ คือ ก็ (อ่านว่า เก้าะ) เป็นคำสันธานแปลว่า แล้ว, จึง, ย่อม.

16 ความสัมพันธ์: พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2552กวนอูกะ (อักษรเทวนาครี)การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ไทยมาตรารายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก (ก)รายชื่อตอนในการิน ปริศนาคดีอาถรรพ์สมุดหน้าเหลืองสะเดาแม่นากพระโขนงไฟฟ้ากระแสสลับไตรยางศ์เสียงกัก เพดานอ่อน ไม่ก้อง

พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2552

นานุกรมศัพท์วรรณกรรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2552 พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: กและพจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2552 · ดูเพิ่มเติม »

กวนอู

กวนอู เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เกิดเมื่อวันที่ 24 เดือนมิถุนายน จีนศักราชเอี่ยงฮี ปี พ.ศ. 704 ในรัชกาลฮั่นฮวนเต้ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 เดือนกรกฎาคม จีนศักราชเคี่ยงเซ้ง ปี 763 ในรัชกาลฮั่นเหี้ยนเต้ มีชื่อรองว่า "หุนเตี๋ยง" (Yunchang) เป็นชาวอำเภอไก่เหลียง ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก กวนอูเป็นผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ 9 ฟุตจีนหรือประมาณ 6 ศอก ใบหน้าแดงเหมือนผลพุทราสุก นัยน์ตายาวรี คิ้วดั่งหนอนไหม หนวดเครางามถึงอก มีง้าวรูปจันทร์เสี้ยว ยาว 11 ศอก หนัก 82 ชั่ง เป็นอาวุธประจำกายเรียกว่า ง้าวมังกรเขียว หรือง้าวมังกรจันทร์ฉงาย ในจินตนาการของศิลปินมักวาดภาพหรือปั้นภาพให้กวนอูแต่งกายด้วยชุดสีเขียวและมีผ้าโพกศีรษะ กวนอูมีความเชี่ยวชาญและเก่งกาจวิทยายุทธ จงรักภักดี กตัญญูรู้คุณ มีคุณธรรมและซื่อสัตย์เป็นเลิศ ในวัยหนุ่มฉกรรจ์กวนอูได้พลั้งมือฆ่าปลัดอำเภอและน้าชายตายจนต้องหลบหนีการจับกุมกวนอู ตัวละครสำคัญในสามก๊ก, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กและกวนอู · ดูเพิ่มเติม »

กะ (อักษรเทวนาครี)

ตัวอักษรกะ (क) กะ เป็นพยัญชนะตัวแรกในอักษรเทวนาครี โดยเขียนว่า क เข้าในพวกกัณฐชะ (เกิดจากเพดานอ่อน) เสียงสปรรศะ ออกเสียงทับศัพท์ภาษาไทยให้เสียง ก และทับศัพท์ภาษาอังกฤษให้เสียง ตัวอักษรสามารถเขียนเป็นพยัญชนะสังโยค โดยจะเหลือแค่ส่วนด้านหน้า ไม่ลากต่อมาด้านหลัง เช่น กฺว (क्व), กฺน (क्न), กฺย (क्य), กฺต (क्त) และกฺษ (क्ष).

ใหม่!!: กและกะ (อักษรเทวนาครี) · ดูเพิ่มเติม »

การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ไทย

การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ไทย เป็นความร่วมมือกันระหว่างสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ ได้แก่ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี, สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์, สถานีโทรทัศน์ไอทีวี, สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี, และ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือ ไทยพีบีเอส เพื่อจัดระดับความเหมาะสมของรายการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ชมสามารถเลือกดูได้ว่ารายการใดที่มีความเหมาะสมต่อตัวเองและคนรอบข้าง อาทิเช่น รายการใดที่เด็กควรดู รายการที่ผู้ใหญ่ควรให้ความแนะนำ หรือรายการที่ไม่เหมาะสมต่อเด็กและเยาวชน เมื่อผู้ชมเปิดชมรายการโทรทัศน์ของ 6 สถานีดังกล่าว จะมีการแสดงสัญลักษณ์ความเหมาะสมก่อนออกรายการ และ ระหว่างรายการโดยปรากฏตรงด้านล่างซ้ายของจอโทรทัศน์ โดยการจัดระเบียบความเหมาะสมของรายการนั้น เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2549 อนึ่ง รายการที่ไม่ต้องแสดงสัญลักษณ์ดังกล่าวนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นรายการข่าว รายการสั้น ๆ ที่มีความยาวไม่เกิน 5 ถึง 10 นาที หรือการถ่ายทอ.

ใหม่!!: กและการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

มาตรา

"มาตรา" สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: กและมาตรา · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก (ก)

ต่อไปนี้เป็นรายชื่อของบุคคลในประวัติศาสตร์จีนในยุคสามก๊กที่มีชื่อขึ้นต้นด้วยตัวอักษร ก รายชื่อนี้แสดงชื่อตามสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ชื่อในภาษาจีนกลาง ชื่อในอักษรโรมัน และชื่อเขียนเป็นตัวอักษรจีน กรณีเป็นชื่อบุคคลที่ไม่ปรากฏในสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) จะแสดงเฉพาะชื่อในภาษาจีนกลาง ชื่อในอักษรโรมัน และชื่อเขียนเป็นตัวอักษรจีน.

ใหม่!!: กและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก (ก) · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตอนในการิน ปริศนาคดีอาถรรพ์

รายชื่อตอนในการิน ปริศนาคดีอาถรรพ์ เป็นรายชื่อตอนที่ปรากฏในการ์ตูนไทยและนิยายเรื่อง "การิน ปริศนาคดีอาถรรพ์".

ใหม่!!: กและรายชื่อตอนในการิน ปริศนาคดีอาถรรพ์ · ดูเพิ่มเติม »

สมุดหน้าเหลือง

มุดหน้าเหลือง หรือ เยลโล่เพจเจส เป็นคำสามัญที่หลายประเทศทั่วโลกใช้เรียกสมุดโทรศัพท์ประเภทไดเร็คทอรี่ส์ที่รวบรวมรายชื่อธุรกิจ สินค้า และบริการ ที่เรียบเรียงไว้เป็นหมวดหมู่ แจกจ่ายไปตามบ้านเรือน ที่พักอาศัย บริษัท ห้างร้าน และแหล่งธุรกิจต่าง ๆ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ถือว่าเป็นสื่อโฆษณาแบบรายปี แรกเริ่มเดิมที สมุดหน้าเหลืองถูกพิมพ์ครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา บนกระดาษสีเหลืองคุณภาพต่ำด้วยความจำเป็นด้านต้นทุน เนื่องจากต้องพิมพ์เป็นจำนวนมาก แม้ปัจจุบันสมุดหน้าเหลืองจะใช้กระดาษคุณภาพมาตรฐานที่มีสีขาวย้อมเหลืองแล้วก็ตาม คนทั่วไปก็ยังคงจำภาพลักษณ์ของสมุดโทรศัพท์ประเภทไดเร็คทอรี่ส์ว่า เยลโล่เพจเจส ต่อมา รูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบเยลโล่เพจเจส เป็นที่นิยมและเริ่มมีทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนนำรูปแบบนี้ไปทำธุรกิจทุกประเทศ หลากหลายภาษาทั่วโลก จวบจนธุรกิจสมุดหน้าเหลืองเข้าประเทศไทย โดยบริษัท จีทีอี ที่คนไทยเรียกกันติดปากว่า "หน้าเหลือง" จากนั้นโอนย้ายไปอยู่ในการดูแลของ เอที แอนด์ ที ภายใต้สัมปทานที่ได้มาจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (TOT) และต่อมากับบริษัทชินวัตร ไดเร็คทอรี่ (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทเทเลอินโฟ มีเดีย จำกัด มหาชน) ซึ่งหมายถึงไทยแลนด์ เยลโล่เพจเจส ในขณะที่บ้านเราก็มีสมุดหน้าขาว หรือ ไวท์เพจเจส ก็พิมพ์บนกระดาษสีขาวโดยตัวสมุดจะเป็นการรวบรวมรายชื่อบุคคล (หรือธุรกิจ) ที่เรียงตามลำดับตัวอักษร ก-ฮ ปัจจุบันหลังจากมีการเปิดเสรีโทรคมนาคมแล้ว ผนวกกับการเข้ามาของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ได้เข้ามาท้าทายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของสื่อประเภทไดเร็คทอรี่ส์ จนสมุดหน้าเหลืองต้องปรับตัวเป็นสื่อไดเร็คทอรี่ส์ออนไลน์มากยิ่งขึ้น ทำให้ก้าวต่อไปของสมุดหน้าเหลืองกลายเป็นเรื่องของธุรกิจฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่สามารถกระจายเนื้อหาไปยังสื่อประเภทต่าง ๆ ได้อีกมากม.

ใหม่!!: กและสมุดหน้าเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

สะเดา

''Azadirachta indica'' สะเดา เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เจริญได้ดีในที่แล้ง ใช้ประโยชน์ได้มากมายทั้งเป็นอาหารและสร้างที่อยู่อาศัย ในใบและเมล็ดสะเดามีสารอาซาดิเรซติน (Azadirachtin) ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารฆ่าแมลง ในเมล็ดมีน้ำมันที่เรียกว่า margosa oil ใช้เป็นสีย้อมผ้าและยาฆ่าพยาธิในสัตว์เลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด แต่ต้องรีบนำไปเพาะทันทีหลังจากเมล็ดร่วง มิฉะนั้น จะสูญเสียความสามารถในการงอกไปอย่างรวดเร็ว.

ใหม่!!: กและสะเดา · ดูเพิ่มเติม »

ฃ (ขวด) เป็นพยัญชนะตัวที่ 3 จากพยัญชนะทั้งหมด 44 ตัวในอักษรไทย อยู่ในลำดับถัดจาก ข (ไข่) และก่อนหน้า ๒ค (ควาย) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรสูงในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า "ฃ ขวด" เข้าในพวกกัณฐชะ (เกิดจากเพดานอ่อน-) เป็นพยัญชนะชนิดหัวหยักหรือหัวแตก ออกเสียงอย่าง ข (ไข่) เมื่อเป็นพยัญชนะต้น ให้เสียง /kʰ/ สามารถใช้เป็นพยัญชนะสะกดในมาตรากกได้ ให้เสียง /k̚/ (ในทางทฤษฎี) ซึ่งเดิมทีนั้น ได้มีการคาดกันว่าเสียงของ ฃ นั้นมีความแตกต่างจากเสียง ข แต่กลับเพี้ยนไป ปัจจุบันไม่มีคำศัพท์ในหมวดคำ ฃ ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 โดยระบุว่า ฃ เป็นอักษรที่ไม่นิยมใช้แล้ว อย่างไรก็ตาม ยังมีการใช้อักษร ฃ ในบางแวดวง นัยว่าเพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้ตัวอักษรไทยมีใช้ครบ 44 ตัว รวมถึงมีการพูดถึงการฟื้นฟูการใช้งานอักษร ฃ ขึ้นมาใหม่ รวมทั้งในแบบเรียนอักษรไทยและบนแป้นพิมพ์ภาษาไทยก็ยังคงมีอักษร ฃ อยู่ อักษร ฃ นี้เป็นอักษรของไทยาดั้งเดิม และไม่ปรากฏในชุดอักษรภาษาอื่น ๆ ซึ่งหมายความว่า ในชุดอักษรภาษาอื่น ๆ ที่ลำดับอักษร ก ข ค ฆ ง แบบเดียวกันกับอักษรอินเดีย เช่น อักษรเทวนาครี อักษรขอม อักษรมอญ ฯลฯ ล้วนไม่มีตัวอักษร ฃ ทั้งสิ้น จึงให้เหตุผลว่า อักษร ฃ น่าจะเป็นการประดิษฐ์แทรกเช่นเดียวกับอักษร ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ ฯลฯ เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใน พ.ศ. 1826 และก็ได้เติมพยัญชนะและวรรณยุกต์เข้าในวรรคอักษรแบบอินเดีย เพื่อใช้แทนเสียงที่ภาษาในสมัยนั้นมีอยู่ให้ครบถ้วน หรือไม่ก็คาดว่า ฃ ได้รับการดัดแปลงมาจากภาษาสันสกฤตนั่นเอง นอกจากตัวอักษร ฃ จะปรากฏในภาษาไทยแล้ว ตัวอักษร ฃ นี้ยังมีประวัติการใช้งานอยู่ในภาษาไทยถิ่นอื่นอีก เช่น คำเมืองมาลา คำจันทร.

ใหม่!!: กและฃ · ดูเพิ่มเติม »

(ไข่) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 2 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ก (ไก่) และก่อนหน้า ฃ (ขวด) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรสูง ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ข ไข่” อักษร ข เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /kʰ/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /k̚/.

ใหม่!!: กและข · ดูเพิ่มเติม »

ฅ (คน) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 5 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ค (ควาย) และก่อนหน้า ฆ (ระฆัง) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ ออกเสียงอย่าง ค (ควาย) นิยมเรียกกันว่า “ฅ คน” อักษรเป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /kʰ/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /k̚/ (ในทางทฤษฎี) ฅ เป็นอักษรที่เลิกใช้แล้ว ไม่มีคำศัพท์ในหมวดคำ ฅ ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แต่ยังมีการใช้ ฅ อยู่บ้างในบางแวดวง นัยว่าเพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้ตัวอักษรไทยมีใช้ครบ 44 ตัว เท่าที่พบเห็น มักจะใช้ในคำว่า ฅน (คน) โดยเฉพาะในบันเทิงคดีต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ในแบบเรียนอักษรไทย ยังคงมีอักษร ฅ อยู่ อักษร ฅ นี้เป็นอักษรที่ใช้แทนเสียงในภาษาไทดั้งเดิม ในชุดอักษรสำหรับภาษาตระกูลอื่นๆ ที่ลำดับอักษร ก ข ค ฆ ง แบบอักษรอินเดีย เช่น อักษรเทวนาครี อักษรขอม อักษรมอญ ฯลฯ มักจะไม่มีตัวอักษร ฅ น่าจะเป็นการประดิษฐ์แทรกเช่นเดียวกับอักษร ฃ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ ฯลฯ ที่ไทยได้เติมเข้าในวรรคอักษรแบบอินเดีย โดยเหตุผลเพื่อต้องการใช้แทนเสียงที่มีอยู่ให้ครบถ้วน โดยมีพัฒนาการควบคู่กันมากับอักษร ฃ (ขวด).

ใหม่!!: กและฅ · ดูเพิ่มเติม »

แม่นากพระโขนง

ลแม่นากพระโขนง ในวัดมหาบุศย์ ซอยสุขุมวิท 77 (ถนนอ่อนนุช) ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตสวนหลวงมิใช่เขตพระโขนง แม่นากโขนง หรือมักเรียกสั้น ๆ ว่า แม่นาก (โดยมากสะกดด้วย ค.ควาย) เป็นผีตายทั้งกลมที่เป็นที่รู้จักกันดีของไทย เชื่อกันว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นจริงในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันมีศาลแม่นากตั้งอยู่ที่วัดมหาบุศย์ ซอยสุขุมวิท 77 (ถนนอ่อนนุช) เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: กและแม่นากพระโขนง · ดูเพิ่มเติม »

ไฟฟ้ากระแสสลับ

แสดงความแตกต่างระหว่างไฟฟ้ากระแสตรงและไฟฟ้ากระแสสลับ กระแสตรงอาจเป็นบวกหรือลบก็ได้อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ไปก็กลับ แต่กระแสสลับ วิ่งไปวิ่งกลับตลอดเวลา จำนวนรอบของไทยคือ 50 รอบต่อวินาที หรือ 50 Hz ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current Electricity: AC หรือ ac) หมายถึงกระแสที่มีทิศทางไปและกลับตลอดระยะเวลา มีการสลับขั้วบวกและลบกันอยู่ตลอดเวลา ไม่เหมือนกระแสตรง (Direct Current, DC หรือ dc) ที่ไฟฟ้าจะไหลไปในทิศทางเดียวและไม่ไหลกลับ เช่น ไฟฟ้าที่ได้จากถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ของรถยนต์ เป็นต้น ไฟฟ้ากระแสสลับจึงเป็นไฟฟ้าที่เหมาะสำหรับบ้านเรือนหรือธุรกิจอุตสาหกรรมที่ใช้ไฟฟ้าปริมาณมากๆ รูปคลื่นเป็น sine wave ในบางกรณี รูปคลื่นอาจเป็นสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยม ภาพจำลองการส่งคลื่น AC จาก generator ซึ่งส่งพลังงานกลับทิศทางตลอดเวล.

ใหม่!!: กและไฟฟ้ากระแสสลับ · ดูเพิ่มเติม »

ไตรยางศ์

ตรยางศ์ หรือ อักษรสามหมู่ คือระบบการจัดหมวดหมู่อักษรไทย (เฉพาะรูปพยัญชนะ) ตามลักษณะการผันวรรณยุกต์ ของพยัญชนะแต่ละหมวด เนื่องจากพยัญชนะไทย เมื่อกำกับด้วยวรรณยุกต์หนึ่งๆ แล้วจะมีเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน การจัดหมวดพยัญชนะ ทำให้การเรียนภาษาไทยง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงเชื่อว่า ในชั้นแรกนั้น การแบ่งหมวดหมู่พยัญชนะน่าจะทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการแต่งตำราสอนภาษาไทยแก่นักเรียน คำว่า ไตรยางศ์ มาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า ตฺรย (ไตร) ซึ่งแปลว่า สาม รวมกับ อํศ (องศ์) ซึ่งแปลว่า ส่วน ดังนั้น ไตรยางศ์ จึงแปลรวมกันได้ว่าว่า สามส่วน.

ใหม่!!: กและไตรยางศ์ · ดูเพิ่มเติม »

เสียงกัก เพดานอ่อน ไม่ก้อง

เสียงกัก เพดานอ่อน ไม่ก้อง เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ k เสียงนี้ในภาษาไทยจะสะกดด้วยตัวอักษร ก เมื่อไม่พ่นลม และ ข ฃ ค ฅ ฆ เมื่อพ่นลม หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะในภาษาไทย.

ใหม่!!: กและเสียงกัก เพดานอ่อน ไม่ก้อง · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »