โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์ย่อยปลาหมอเอิร์ธอีเตอร์

ดัชนี วงศ์ย่อยปลาหมอเอิร์ธอีเตอร์

วงศ์ย่อยปลาหมอเอิร์ธอีเตอร์ (Eath-eater) เป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ปลาหมอสี (Cichilidae) ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Geophaginae ปลาที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้ มีลักษณะโดยรวม คือ เป็นปลาที่กระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาใต้ มีส่วนหัวและปากที่โค้งงอลงด้านล่าง เพื่อใช้ปากสำหรับคุ้ยเขี่ยหาอาหารตามพื้นท้องน้ำ และรวมถึงปลาหมอแคระในหลายสกุลด้ว.

15 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2454การตั้งชื่อทวินามวงศ์ปลาหมอสีสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังอันดับปลากะพงทวีปอเมริกาใต้ปลาหมอลายตารางหมากรุกปลาหมอแรมปลาหมอแคระปลาหมอแคระอพิสโตแกรมมาปลาหมอแคระคาเคทอยเดสปลาหมอแคระแรมเจ็ดสีปลาที่มีก้านครีบ

พ.ศ. 2454

ทธศักราช 2454 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1911 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาหมอเอิร์ธอีเตอร์และพ.ศ. 2454 · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาหมอเอิร์ธอีเตอร์และการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาหมอสี

วงศ์ปลาหมอสี (Cichlids) เป็นวงศ์ปลาที่มีจำนวนชนิดมากกว่า 1,000 ชนิด นับเป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดที่มีจำนวนชนิดมากเป็นอันดับสาม รองมาจากวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) และวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cichlidae (/ซิค-ลิด-เด/) ชื่อสามัญในภาษาไทยนิยมเรียกว่า "ปลาหมอสี" ปลาในวงศ์นี้ส่วนใหญ่จึงมักมีชื่อขึ้นต้นว่า "ปลาหมอ" ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีลักษณะหลายหลากแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของถิ่นกำเนิด ปลาหมอสีส่วนใหญ่เป็นปลาน้ำจืด แต่มีบางชนิดพบในน้ำกร่อย ปลาในวงศ์นี้พบมากที่สุดในทวีปแอฟริกา และทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งมีประมาณ 900 และ 290 ชนิดตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีบางชนิดพบได้ในตอนล่างของทวีปอเมริกาเหนือ อีกสี่ชนิดพบในตะวันออกกลาง และอีกสามชนิดพบในอินเดีย ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีความสำคัญต่อมนุษย์ในหลายลักษณะ ปลาบางชนิด เช่น ปลานิล จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ในขณะที่ปลาอีกหลายชนิดเป็นปลาตู้สวยงาม เช่น ปลาเทวดา, ปลาปอมปาดัวร์ และ ปลาออสการ์ เป็นต้น.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาหมอเอิร์ธอีเตอร์และวงศ์ปลาหมอสี · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาหมอเอิร์ธอีเตอร์และสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาหมอเอิร์ธอีเตอร์และสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาหมอเอิร์ธอีเตอร์และสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาหมอเอิร์ธอีเตอร์และอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาใต้

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้ แผนที่ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาหมอเอิร์ธอีเตอร์และทวีปอเมริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอลายตารางหมากรุก

ปลาหมอลายตารางหมากรุก หรือ ปลาหมอแคระไดครอสซัส เป็นสกุลของปลาจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) เป็นปลาขนาดเล็กจำพวกปลาหมอแคระ ใช้ชื่อสกุลว่า Dicrossus (/ได-ครอส-ซัส/) เป็นปลาที่มีลำตัวเพรียวบาง ปากแหลมเล็ก พื้นลำตัวสีขาวหรือเทา มีลายจุดสี่เหลี่ยมไขว้เรียงกันเป็นระเบียบจนดูคล้ายตารางหมากรุกในแนวนอนอย่างมีระเบียบสองแถว อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ มีความยาวเฉลี่ยไม่เกิน 4 นิ้ว สำหรับปลาตัวผู้ และ 2 นิ้วสำหรับปลาตัวเมีย พบกระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำอเมซอน, โอริโนโค, เนโกร, ทาปาโฆส และมาไดรา ในประเทศบราซิลและใกล้เคียง ทั้งในบริเวณที่เป็นแหล่งน้ำสีชาและแหล่งน้ำใส มีทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาหมอเอิร์ธอีเตอร์และปลาหมอลายตารางหมากรุก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอแรม

ปลาหมอแรม หรือ ปลาหมอไมโครจีโอฟากัส (Ram cichlid) เป็นปลาสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) จัดเป็นปลาหมอแคระสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Mikrogeophagus หรือ Microgeophagus (ชื่อพ้อง-/ไม-โคร-จี-โอ-ฟา-กัส/) เป็นปลาที่มีสีสันสวยงามทั้งตัวผู้และตัวเมีย มีขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 8 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในแม่น้ำอเมซอนและโอริโนโค ในทวีปอเมริกาใต้ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะการเลี้ยงในตู้ไม้น้ำ ซึ่งปัจจุบันได้มีการเพาะขยายพันธุ์จนมีความหลากหลายไปจากดั้งเดิมในธรรมชาติ เช่น ปลาบอลลูน ที่มีลำตัวอ้วนกลมและสั้นเหมือนลูกบอล ปลาหางยาวที่ดูคล้ายปลาทอง หรือที่มีสีฟ้าแวววาวทั้งตัว มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาหมอเอิร์ธอีเตอร์และปลาหมอแรม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอแคระ

ปลาหมอแคระฮองสลอย (''Apistogramma hongsloi'') ในสกุล ''Apistogramma'' พบในทวีปอเมริกาใต้ ชนิดเดียวในสกุล ''Anomalochromis''http://www.itis.gov/servlet/SingleRpt/SingleRpt จาก ITIS.gov พบในทวีปแอฟริกา สำหรับปลาในวงศ์อื่น ดูที่: วงศ์ปลาหมอแคระ ปลาหมอแคระ (Dwarf cichlid) เป็นชื่อเรียกปลาในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) กลุ่มหนึ่ง ที่มีขนาดลำตัวเล็กกว่าปลาในวงศ์เดียวกันสกุลอื่น ๆ ทั่วไป โดยจะมีความยาวลำตัวจรดหางเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 2 นิ้ว หรือ 12-15 เซนติเมตร โดยมากแล้วนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามในตู้กระจก ที่มีการปลูกพืชจำพวกไม้น้ำควบคู่ไปด้วย ซึ่งปลาหมอแคระหลายสกุล หลายชนิดสามารถเพาะขยายพันธุ์กันได้ในที่เลี้ยง เป็นปลาที่มีประวัติการเลี้ยงมายาวนาน และจากการเพาะขยายพันธุ์เอง ที่ทำให้มีสายพันธุ์ที่หลากหลาย มีสีสันและลวดลายที่แตกต่างไปจากปลาที่พบในธรรมชาติ ปลาหมอแคระสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ปลากลุ่มที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ และปลาที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา มักอาศัยในน้ำที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง 4-7 (pH) แตกต่างออกไปตามถิ่นที่อยู.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาหมอเอิร์ธอีเตอร์และปลาหมอแคระ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอแคระอพิสโตแกรมมา

ปลาหมอแคระอพิสโตแกรมมา เป็นปลาในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Apistogramma (/อะ-พิส-โต-แกรม-มา/) จัดเป็นปลาขนาดเล็กในวงศ์นี้ จัดได้เป็นว่าปลาหมอแคระสกุลหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ แพร่กระจายพันธุ์และอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่มีค่าความเป็นกรดของน้ำค่อนข้างต่ำ (ต่ำกว่า 6.5 pH) จัดเป็นปลาที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมอย่างมาก สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายชนิด มีลักษณะรูปร่างโดยรวมคือ ลำตัวเพรียวยาว สีสันสดใสมากโดยเฉพาะในปลาเพศผู้ ครีบอกเรียวยาวปลายแหลม รวมทั้งครีบหลังที่ดูโดดเด่น ปลายหางแหลม มีความแตกต่างอย่างมากระหว่างเพศผู้กับเพศเมีย กล่าวคือ เพศผู้มีสีสันที่สดสวยกว่าและมีขนาดลำตัวที่สวยกว่า แต่เมื่อตกใจสีจะซีดได้ ขนาดเมื่อโตเต็มที่แล้วจะมีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 2 นิ้ว เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ในตู้เลี้ยง โดยเฉพาะการเลี้ยงในตู้ไม้น้ำ มีอุปนิสัยเรียบร้อย ไม่ก้าวร้าว และไม่ทำลายต้นไม้ในตู้ มีพฤติกรรมในการขยายพันธุ์ โดยวางไข่ติดกับผนังถ้ำหรือโขดหินในแบบกลับหัว ซึ่งรูปแบบการวางไข่อาจจะแตกต่างไปตามชนิด ซึ่งในฤดูผสมพันธุ์ ปลาเพศผู้จะอวดสีและครีบแข่งกันเพื่อดึงดูดความสนใจจากปลาเพศเมีย ปลาเพศเมียอายุน้อยอาจวางไข่ได้ประมาณ 20 ฟอง ขณะที่ตัวที่มีอายุมากและสมบูรณ์พร้อมจะวางไข่ได้ถึง 100 ฟอง เมื่อฟักออกเป็นตัวแล้ว เพศเมียจะเป็นฝ่ายดูแลลูก โดยไม่ให้ปลาเพศผู้เข้ามายุ่งเกี่ยว ถึงแม้ว่าอาจมีเพศผู้บางตัวสามารถเลี้ยงลูกได้เช่นกัน ในหลายชนิดสามารถผสมพันธุ์แบบหมู่ คือ เพศผู้หนึ่งตัวต่อเพศเมียหลายตัวได้ ในขณะที่บางชนิดจะผสมพันธุ์กันแบบคู่ต่อคู่ ปลาในสกุลนี้ชนิดที่นิยมเลี้ยงได้แก่ชนิด A. agassizii, A. hongsloi และ A. viejita เป็นต้น ปลาหมอสีในสกุลนี้ จัดเป็นปลาที่มีวงจรชีวิตสั้น หลายชนิดสามารถผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่มีอายุเพียง 3-4 เดือน.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาหมอเอิร์ธอีเตอร์และปลาหมอแคระอพิสโตแกรมมา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอแคระคาเคทอยเดส

ปลาหมอแคระคาเคทอยเดส หรือ ปลาหมอแคระคาเคทอย (Cockatoo cichlid, Cockatoo dwarf cichlid) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) จัดเป็นปลาหมอแคระชนิดหนึ่ง ในสกุลอพิสโตแกรมมา มีลักษณะเหมือนกับปลาชนิดอื่นในสกุลเดียวกันนี้ทั่วไป แต่มีลักษณะเด่น คือ มีครีบกระโดงหลังที่ตั้งชูงอนเหมือนนกกระตั้ว อันเป็นที่มาของชื่อสามัญในภาษาอังกฤษ และมีสีลำตัวและครีบต่าง ๆ เป็นโทนเข้ม เช่น สีส้มหรือสีแดง โดยมีลวดลายบนครีบต่าง ๆ สดเข้มตลอดเวลาไม่ว่าปลาจะอยู่ในอารมณ์หรือสภาพแวดล้อมใด มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 5 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาใต้ ในสาขาของแม่น้ำอเมซอน ที่มีกระแสน้ำไหลเอื่อย ๆ มีใบไม้หล่นร่วงมาพื้นท้องน้ำ โดยปลาจะใช้เป็นที่หลบซ่อน โดยน้ำจะมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างต่ำ (ต่ำกว่า 6.5 pH) กินอาหารจำพวก สัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ เป็นปลาที่นิยมอย่างมากในการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ โดยถือเป็นชนิดที่นิยมเป็นอันดับต้น ๆ ของสกุลนี้ เนื่องจากคุณสมบัติที่ว่า จะมีสีสันสดสวยตลอดรวมทั้งครีบหลังที่ตั้งสูง และนิยมที่จะเพาะขยายพันธุ์กันในตู้เลี้ยง โดยปลาตัวเมียจะวางไข่ไว้กับซอกหลีบหรือเพดานของวัสดุต่าง ๆ ใต้น้ำ และเป็นฝ่ายดูแลลูก.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาหมอเอิร์ธอีเตอร์และปลาหมอแคระคาเคทอยเดส · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอแคระแรมเจ็ดสี

ปลาหมอแคระแรมเจ็ดสี หรือ ปลาหมอแรมเจ็ดสี (Ram, Blue ram, German blue ram, Asian ram, Butterfly cichlid, Ramirez's dwarf cichlid, Dwarf butterfly cichlid, Ram cichlid, Ramirezi) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mikrogeophagus ramirezi อยู่ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) จัดเป็นปลาหมอแคระชนิดหนึ่ง ปลาตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ส่วนตัวเมีย 4-5 เซนติเมตร ลักษณะรูปร่างแบนข้าง ลำตัวกว้าง ส่วนหัวค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบสัดส่วนกับลำตัว ครีบหางสั้นเป็นรูปสามเหลี่ยม ครีบหลังเชื่อมยาวต่อกันตั้งสูงชันคล้ายกำแพง ก้านครีบแข็ง 3-4 ก้านแรกของครีบหลังมีสีดำตั้งสูงชันขึ้นมาคล้ายหงอนของนกกระตั้ว ดวงตามีสีแดง มีเส้นสีดำพาดตาจากบนหัวลงมาเกือบถึงใต้คอ มีจุดดำขนาดค่อนข้างใหญ่อยู่บริเวณปลายตัวเห็นเด่นชัด สีของปลาหมอแคระแรมเจ็ดสี มีสีสันที่สวยสด โดยเป็นสีเหลือบเขียวและเหลือง มีจุดฟ้าแวววาว และจะยิ่งสดสวยขึ้นเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งปลาตัวผู้จะขับสีออกมาเพื่อเรียกร้องความสนใจจากปลาตัวเมีย อันเป็นที่มาของชื่อเรียก พบกระจายพันธุ์ในแม่น้ำโอรีโนโก ในเขตประเทศเวเนซุเอลาและโคลัมเบีย เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม กันมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ แต่เป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าวกว่าปลาหมอแคระจำพวกอื่น ๆ มักจะข่มขู่และกัดกันเองอยู่ในฝูงอยู่เสมอ ปัจจุบัน เป็นปลาที่ได้รับการเพาะขยายพันธุ์จากมนุษย์จนมีความหลากหลายทางสายพันธุ์มากกว่าปลาที่พบในธรรมชาติ เช่น ปลาที่มีลำตัวสั้นกว่าปกติ หรือ ปลาบอลลูน และปลาที่มีหางยาวเหมือนปลาทอง หรือ ปลาที่มีสีฟ้าแวววาวตลอดทั้งตัว หรือสีเหลืองตลอดทั้งตัว.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาหมอเอิร์ธอีเตอร์และปลาหมอแคระแรมเจ็ดสี · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยปลาหมอเอิร์ธอีเตอร์และปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

GeophaginaeGeophagini

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »