โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์ปลาแพะ

ดัชนี วงศ์ปลาแพะ

วงศ์ปลาแพะ (Armored catfish, Cory catfish) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งในอันดับปลาหนัง (Siluriformes) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Callichthyidae เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ขนาดโดยทั่วไปแล้วมีขนาดประมาณ 3-5 นิ้ว โดยพัฒนาผิวหนังลำตัวให้แข็งเหมือนเกราะเพื่อป้องกันตัวจากศัตรู มีลักษณะโดยรวม คือ ลำตัวป้อมกลม ส่วนหัวค่อนข้างโตกว่าส่วนอื่น ๆ มีหนวดยื่นออกมาริมปากซึ่งงุ้มลงด้านล่างเพื่อเป็นประสาทสัมผัสในการหาอาหาร ซึ่งหนวดที่ว่านี้มีลักษณะคล้ายกับหนวดเคราของแพะ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก เป็นปลาที่หากินตามพื้นท้องน้ำ มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยกินอาหารจำพวกสัตว์น้ำขนาดเล็ก และเศษซากพืช ซากสัตว์ พบกระจายพันธุ์ในหลายแม่น้ำในทวีปอเมริกาใต้ จัดเป็นวงศ์ปลาที่มีสมาชิกจำนวนมาก สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย 9 สกุล (ดูในตาราง) ประมาณ 177 ชนิด โดยมีความสำคัญในแง่ของการเป็นปลาเศรษฐกิจในทวีปอเมริกาใต้ ในบางชนิด และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามกัน ด้วยว่าเป็นปลาที่มีนิสัยเรียบร้อย ไม่ดุร้ายก้าวร้าว จึงทำให้เป็นที่นิยมมาก โดยชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ปลากดเกราะ (Hoplosternum littorale) ที่มีขนาดยาวเต็มที่ 24 เซนติเมตร.

26 ความสัมพันธ์: ชั้นปลากระดูกแข็งพ.ศ. 2381พ.ศ. 2554การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์การตั้งชื่อทวินามมิถุนายนวงศ์ปลาแพะสกุล (ชีววิทยา)สกุลดีอานีม่าสกุลปลาแพะสมัยไพลโอซีนสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์น้ำสปีชีส์อันดับปลาหนังทวีปอเมริกาใต้ประสาทสัมผัสปลากดเกราะปลาสวยงามปลาที่มีก้านครีบปลาน้ำจืดแพะแม่น้ำเกราะญี่ปุ่นเมตร

ชั้นปลากระดูกแข็ง

ปลากระดูกแข็ง (ชั้น: Osteichthyes, Bony fish) จัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ซึ่งอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตา เป็นปลาที่จัดอยู่ในชั้น Osteichthyes พบทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โครงร่างภายในเป็นกระดูกแข็งทั้งหมด ก้านครีบอาจเป็นกระดูกอ่อนหรือกระดูกแข็งก็ได้ มีกระดูกสันหลัง ปากอยู่ปลายสุดด้านหน้า มีฟัน ตาขนาดใหญ่ ไม่มีหนังตา ขากรรไกรเจริญดี หายใจด้วยเหงือก มีฝาปิดเหงือก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมองมี 10 คู่ มีถุงรับกลิ่น 1 คู่ แยกเพศ ปฏิสนธิภายนอก ออกลูกเป็นไข่ มีบางชนิดที่ออกลูกเป็นตัว.

ใหม่!!: วงศ์ปลาแพะและชั้นปลากระดูกแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2381

ทธศักราช 2381 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1838.

ใหม่!!: วงศ์ปลาแพะและพ.ศ. 2381 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2554

ทธศักราช 2554 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2011 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: วงศ์ปลาแพะและพ.ศ. 2554 · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาแพะและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: วงศ์ปลาแพะและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

มิถุนายน

มิถุนายน เป็นเดือนที่ 6 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 4 เดือนที่มี 30 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนมิถุนายนเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมถุน และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีกรกฎ แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนมิถุนายนดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาววัวและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาวคนคู่ ชื่อในภาษาอังกฤษ "June" มีที่มาจากเทพเจ้าโรมันนามว่า จูโน (Juno) ส่วนในประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนมิถุนายนในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน.

ใหม่!!: วงศ์ปลาแพะและมิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาแพะ

วงศ์ปลาแพะ (Armored catfish, Cory catfish) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งในอันดับปลาหนัง (Siluriformes) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Callichthyidae เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ขนาดโดยทั่วไปแล้วมีขนาดประมาณ 3-5 นิ้ว โดยพัฒนาผิวหนังลำตัวให้แข็งเหมือนเกราะเพื่อป้องกันตัวจากศัตรู มีลักษณะโดยรวม คือ ลำตัวป้อมกลม ส่วนหัวค่อนข้างโตกว่าส่วนอื่น ๆ มีหนวดยื่นออกมาริมปากซึ่งงุ้มลงด้านล่างเพื่อเป็นประสาทสัมผัสในการหาอาหาร ซึ่งหนวดที่ว่านี้มีลักษณะคล้ายกับหนวดเคราของแพะ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก เป็นปลาที่หากินตามพื้นท้องน้ำ มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยกินอาหารจำพวกสัตว์น้ำขนาดเล็ก และเศษซากพืช ซากสัตว์ พบกระจายพันธุ์ในหลายแม่น้ำในทวีปอเมริกาใต้ จัดเป็นวงศ์ปลาที่มีสมาชิกจำนวนมาก สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย 9 สกุล (ดูในตาราง) ประมาณ 177 ชนิด โดยมีความสำคัญในแง่ของการเป็นปลาเศรษฐกิจในทวีปอเมริกาใต้ ในบางชนิด และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามกัน ด้วยว่าเป็นปลาที่มีนิสัยเรียบร้อย ไม่ดุร้ายก้าวร้าว จึงทำให้เป็นที่นิยมมาก โดยชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ปลากดเกราะ (Hoplosternum littorale) ที่มีขนาดยาวเต็มที่ 24 เซนติเมตร.

ใหม่!!: วงศ์ปลาแพะและวงศ์ปลาแพะ · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: วงศ์ปลาแพะและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สกุลดีอานีม่า

กุลดีอานีม่า เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ในวงศ์ปลาแพะ (Callichthyidae) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็งในอันดับปลาหนัง (Siluriformes) โดยใช้ชื่อสกุลว่า Dianema มีรูปร่างเรียวยาวเป็นทรงกระบอก ส่วนหัวแหลม ปากแบนเล็ก มีหนวดบนปากสองเส้นและข้างปากอีกสองเส้น และริมฝีปากอีก 4 เส้น ใช้ในการสัมผัสหาอาหาร ลำตัวมีผิวหนังที่พัฒนาเป็นเกราะแข็งใช้สำหรับป้องกันตัว ส่วนหัวมีจุดสีดำกระจัดกระจายไปทั่ว มีแถบสีดำในแนวนอนลากยาวตั้งแต่จมูกจรดแผ่นปิดเหงือก ดวงตาอยู่ตรงขนานกับปาก ปลาตัวผู้มีหนามแข็งเล็ก ๆ ที่ก้านครีบอก ปลาตัวเมียมีลักษณะอ้วนป้อมกว่าหากมองจากด้านบน ตัวเมียเมื่อไข่สุกท้องจะขยายใหญ่ วางไข่ได้ถึงครั้งละ 500 ฟอง โดยปลาตัวผู้จะเป็นผู้ดูแลไข่ที่วางในหลุมพื้นน้ำที่ขุดขึ้น เป็นปลาขนาดเล็ก มีขนาดประมาณ 10-12 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำที่มีกระแสน้ำไหลเอื่อย ๆ ไม่แรงเชี่ยว มีใบไม้หรือพืชน้ำทับถมกัน น้ำมีความเป็นกรดเล็กน้อย (pH ต่ำกว่า 7 ลงมาเล็กน้อย) ซึ่งมักเป็นแหล่งน้ำตื้น ๆ ไหลคดเคี้ยวในป่าดิบชื้น หากินเศษอาหารตามพื้นน้ำและสัตว์น้ำขนาดเล็ก แบ่งออกได้เป็น 2 ชน.

ใหม่!!: วงศ์ปลาแพะและสกุลดีอานีม่า · ดูเพิ่มเติม »

สกุลปลาแพะ

กุลปลาแพะ (Corydorases, Corie, Cory) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาแพะ (Callichthyidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Corydoras (/คอ-รี่-ดอ-เรส/) เป็นปลาขนาดเล็ก มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 5-9 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาใต้ตั้งแต่ เวเนซุเอลา, เปรู, บราซิล, เอกวาดอร์, ตรินิแดดและโตเบโก ไปตลอดจนแนวเทือกเขาแอนดีส มีจำนวนสมาชิกไม่แน่นอน เนื่องจากค้นพบชนิดใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี แต่ ณ ปัจจุบัน มีมากกว่า 100 ชนิดแล้ว นับว่าเป็นสกุลที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดในวงศ์นี้ นับเป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม หลายชนิดสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ ทั้งง่ายและยาก เป็นปลาที่หากินอยู่กับหน้าดิน และอยู่รวมกันเป็นฝูง กินอาหารได้แก่ ไส้เดือนน้ำ และหนอนแดง อยู่ในน้ำที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ไม่เกิน 7 โดยชนิดที่นิยมเลี้ยง เช่น ปลาแพะเขียว (C. aeneus), ปลาแพะทรีลิเนียตัส (C. trilineatus), ปลาแพะสเตอร์ไบ (C. sterbai), ปลาแพะแพนด้า (C. panda), ปลาแพะพลิคาเรอัส (C. duplicareus) เป็นต้น.

ใหม่!!: วงศ์ปลาแพะและสกุลปลาแพะ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยไพลโอซีน

Diodora italica จากสมัยไพลโอซีนของไซปรัส สมัยไพลโอซีน (Pliocene หรือ Paleocene) เป็นสมัยหนึ่งของยุคนีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 5.333 ถึง 2.588See the 2009 version of the ICS geologic time scale: ล้านปีก่อนปัจจุบัน สมัยไพลโอซีนเป็นสมัยที่สองและสมัยใหม่ที่สุดของยุคนีโอจีนของมหายุคซีโนโซอิก สมัยไพลโอซีนต่อมาจากสมัยไมโอซีนและตามด้วยสมัยไพลสโตซีน ชื่อของสมัยตั้งโดยนักธรณีวิทยาชาลส์ ไลเอลล์ ที่มาจากคำในภาษากรีกว่า πλεῖον (pleion แปลว่า "มาก") และ καινός (kainos ที่แปลว่า "ใหม่") ที่แปลง่าย ๆ ว่า "สมัยที่ตามมาจากสมัยปัจจุบัน" ที่หมายถึงสมัยของสัตว์ทะเลมอลลัสกาของสมัยใหม.

ใหม่!!: วงศ์ปลาแพะและสมัยไพลโอซีน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: วงศ์ปลาแพะและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: วงศ์ปลาแพะและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์น้ำ

ัตว์น้ำ (aquatic animal) หมายถึง สัตว์ที่อาศัยในน้ำหรือมีวงจรชีวิตส่วนหนึ่งอยู่ในน้ำหรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมถึง เช่น ปลา กุ้ง ปู แมงดาทะเล หอย เต่า ตะพาบน้ำ จระเข้ รวมทั้งไข่ของสัตว์น้ำนั้น สัตว์น้ำจำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม ปลิงทะเล ฟองน้ำ หินปะการัง กัลปังหา และสาหร่ายทะเล ทั้งนี้ รวมทั้งซากหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์น้ำเหล่านั้น และหมายความรวมถึงพันธุ์ไม้น้ำ ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีการะบุชื่อ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาแพะและสัตว์น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: วงศ์ปลาแพะและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาหนัง

อันดับปลาหนัง หรือ ตระกูลปลาหนัง (Catfish) เป็นอันดับทางอนุกรมวิธานของปลากระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Siluriformes (/ซิ-ลู-ริ-ฟอร์-เมส/) อันดับปลาหนังเป็นอันดับที่มีจำนวนปลามากถึง 35 วงศ์ และ 2,867 ชนิด ซึ่งประกอบไปด้วยปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ปลาดุก, ปลาสวาย, ปลาบึก, ปลาเนื้ออ่อน, ปลาก.

ใหม่!!: วงศ์ปลาแพะและอันดับปลาหนัง · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาใต้

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้ แผนที่ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาแพะและทวีปอเมริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทสัมผัส

ประสาทสัมผัส (Sense)"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" ให้ความหมายของ sense ว่า ความรู้สึก, การรับรู้, การกำหนดรู้, ประสาทสัมผัส เป็นสมรรถภาพในสรีระของสิ่งมีชีวิตที่ให้ข้อมูลเพื่อให้เกิดการรับรู้ (perception) มีการศึกษาประเด็นเกี่ยวกับการทำงาน การจำแนกประเภท และทฤษฎีของประสาทสัมผัส ในวิชาหลายสาขา โดยเฉพาะในวิทยาศาสตร์ประสาท จิตวิทยาปริชาน (หรือประชานศาสตร์) และปรัชญาแห่งการรับรู้ (philosophy of perception) ระบบประสาทของสัตว์นั้นมีระบบรับความรู้สึกหรืออวัยวะรับความรู้สึก สำหรับความรู้สึกแต่ละอย่าง มนุษย์เองก็มีประสาทสัมผัสหลายอย่าง การเห็น การได้ยิน การลิ้มรส การได้กลิ่น การถูกต้องสัมผัส เป็นประสาทสัมผัสห้าทางที่รู้จักกันมาตั้งแต่โบราณ แต่ว่า ความสามารถในการตรวจจับตัวกระตุ้นอื่น ๆ นอกเหนือจากนั้นก็ยังมีอยู่ รวมทั้ง อุณหภูมิ ความรู้สึกเกี่ยวกับเคลื่อนไหว (proprioception) ความเจ็บปวด (nociception) ความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัว และความรู้สึกเกี่ยวกับตัวกระตุ้นภายในต่าง ๆ (เช่นมีเซลล์รับความรู้สึกเชิงเคมี คือ chemoreceptor ที่ตรวจจับระดับความเข้มข้นของเกลือและคาร์บอนไดออกไซด์ ที่อยู่ในเลือด) และความสามารถต่าง ๆ เหล่านี้สามารถเรียกว่าเป็นประสาทสัมผัสโดยต่างหากได้เพียงไม่กี่อย่าง เพราะว่า ประเด็นว่า อะไรเรียกว่า ประสาทสัมผัส (sense) ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ทำให้ยากที่จะนิยามความหมายของคำว่า ประสาทสัมผัส อย่างแม่นยำ สัตว์ต่าง ๆ มีตัวรับความรู้สึกเพื่อที่จะสัมผัสโลกรอบ ๆ ตัว มีระดับความสามารถที่ต่าง ๆ กันไปแล้วแต่สปีชีส์ เมื่อเทียบกันแล้ว มนุษย์มีประสาทสัมผัสทางจมูกที่ไม่ดี และสัตว์เหล่าอื่นก็อาจจะไม่มีประสาทสัมผัส 5 ทางที่กล่าวถึงไปแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง สัตว์บางอย่างอาจจะรับข้อมูลเกี่ยวกับตัวกระตุ้นและแปลผลข้อมูลเหล่านั้นต่างไปจากมนุษย์ และสัตว์บางชนิดก็สามารถสัมผัสโลกโดยวิธีที่มนุษย์ไม่สามารถ เช่นมีสัตว์บางชนิดสามารถสัมผัสสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก สามารถสัมผัสแรงดันน้ำและกระแสน้ำ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาแพะและประสาทสัมผัส · ดูเพิ่มเติม »

ปลากดเกราะ

ปลากดเกราะ (Atipa, Brown hoplo) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในอันดับปลาหนัง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hoplosternum littorale ในวงศ์ปลาแพะ (Callichthyidae) มีลำตัวป้อม ค่อนข้างแบนข้าง ส่วนหัวกลมมน มีหนวดสองคู่ ลำตัวปกคลุมด้วยแผ่นกระดูกสองแถวเรียงสานกัน ลำตัวด้านบนสีเทาอมเขียว ด้านหลังสีเทาอมสีเหลืองทอง ครีบทั้งหมดเป็นสีเทาดำ ครีบอกสีเหลืองทองโดยส่วนเงี่ยงจะมีสีเหลืองเข้มกว่าก้านครีบ มีความยาวสูงสุดราว 24 เซนติเมตร เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางมากในทวีปอเมริกาใต้ โดยสามารถพบได้ในลุ่มแม่น้ำในกรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ภาคเหนือของเวเนซุเอลา ตลอดจนพบเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในรัฐฟลอริดา ของสหรัฐอเมริกาอีกด้วย เป็นปลาที่หากินบริเวณพื้นน้ำ อาหารได้แก่ หนอนแดงและซากอินทรีย์สาร แต่จะเปลี่ยนไปกินแมลงและสัตว์มีกระดองขนาดเล็กในช่วงฤดูแล้ง ปลาจะเริ่มผสมพันธุ์ในช่วงต้นฤดูฝน โดยจะสร้างหวอดคล้ายกับปลากัด ซึ่งทั้งเพศผู้และเพศเมียจะร่วมกันสร้างขึ้นมา ด้วยการเสียดสีร่างกายของกันและกัน หลังจากวางไข่แล้ว ปลาเพศผู้จะทำหน้าที่ดูแลปกป้องไข่ จนกระทั่งฟักออกเป็นตัวแล้วประมาณสองวันถัดมา จึงปล่อยให้หากินตามลำพัง เป็นปลาที่มักพบในแหล่งน้ำที่มีอุณหภูมิประมาณ 18-26 องศาเซลเซียส และค่าความเป็นกรด-ด่างประมาณ 5.9-7.2 (pH) ที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำและบึง ที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งซึ่งมีปริมาณออกซิเจนละลายอยู่ค่อนข้างต่ำ หรือในป่าที่มีน้ำท่วมเกือบทั้งปี ปลากดเกราะ ถือเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งในทวีปอเมริกาใต้ นิยมบริโภคกันทั่วไป ในตรินิแดดและเฟรนช์เกียนา มีการเพาะเลี้ยงกันด้วย อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยมีชื่อเรียกในภาษาถิ่นว่า Camboatám และ Tamboatá.

ใหม่!!: วงศ์ปลาแพะและปลากดเกราะ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสวยงาม

ตู้ ปลาสวยงาม หรือ ปลาตู้ (Ornamental fish) คือ ปลาที่มนุษย์เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อการบริโภค หรือสัตว์น้ำจำพวกอื่น ที่ไม่ใช่ปลาแต่มีการนำมาเลี้ยงเพื้อการเดียวกัน เช่น เครย์ฟิช นิยมเลี้ยงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ในบ้านพักอาศัย อาทิ ตู้ปลา, บ่อ หรือสระ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประมง ความเป็นอยู่ของปลามีความแตกต่างจากสัตว์บกหรือสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างมาก การเลี้ยงสัตว์บกสามารถปรับปรุงคอกเลี้ยง ทำให้สามารถทำความสะอาดกำจัดเศษอาหาร และมูลสัตว์ออกจากคอกได้อย่างง่ายดาย แต่ปลามีน้ำเป็นบ้านอย่างถาวรและจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อีกหลายชนิด คุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสาเหตุจากสภาพแวดล้อมและจากตัวปลาเอง เพราะปลาก็มีการขับถ่ายอยู่ตลอดเวลา แต่ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะเกิดการปรับปรุงหรือปรับสภาพให้น้ำมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยขบวนการต่าง ๆ จากสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในน้ำอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล.

ใหม่!!: วงศ์ปลาแพะและปลาสวยงาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาแพะและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำจืด

วงศ์นี้ล้วนแต่เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด ปลาน้ำจืด (Freshwater fish) หมายถึง ปลาที่อาศัยอยู่ได้ในเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืด คือ น้ำที่มีปริมาณเกลือหรือความเค็มละลายน้อยกว่าร้อยละ 00.5 เท่านั้น โดยอาศัยอยู่ในแม่น้ำ, คลอง พื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ที่เป็นน้ำจืด เช่น ทะเลสาบน้ำจืด, บึง หนอง หรือลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบ โดยโครงสร้างของปลาน้ำจืดนั้น จะมีแรงดันออสโมซิสในเลือดอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำที่อาศัยอยู่มาก จึงทำให้มีการไหลของน้ำเข้าสู่ร่างกายและเกลือแร่แพร่ออกสู่น้ำภายนอกได้ง่าย โดยไม่ให้น้ำซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายและออกจากร่างกายได้ แต่ทว่ากระบวนการดังกล่าวก็ยังไม่ดีพอ เพราะเหงือกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ปลาใช้หายใจมีน้ำไหลผ่าน เมื่อมีเหงือก น้ำก็มีโอกาสไหลผ่านเข้าสู่ภายในร่างกายได้ จึงกำจัดน้ำส่วนที่เกินที่ถูกดูดเข้าสู่ร่างกายออกสู่นอกร่างกายได้วิธีการขับถ่ายนำเอาปัสสาวะซึ่งมีความดันออสโมซิสต่ำกว่าเลือดออกสู่ภายนอกร่างกาย ร่างกายส่วนใหญ่ของปลาน้ำจืดจะปกคลุมด้วยผิวหนังและเกล็ดซึ่งไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านนอกจากบริเวณที่เป็นเหงือกแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจเท่านั้นที่น้ำผ่านได้ และโดยธรรมชาติปลาน้ำจืดไม่ดื่มน้ำเลย ซึ่งแตกต่างจากปลาทะเล เพราะการดื่มน้ำจะทำให้ร่างกายมีน้ำมากเกินความจำเป็น ซึ่งจะมีน้ำบางส่วนไหลผ่านบริเวณปากและเหงือกเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจก็จะมีโอกาสซึมเข้าไปในร่างกายได้บ้าง และเกลือแร่จากเลือดก็จะแพร่ออกมาทางเหงือกได้มากพอดู ปลาน้ำจืดจึงมีไตขับน้ำส่วนเกินออกไปเป็นปัสสาวะ และมีกลุ่มเซลล์พิเศษอยู่บริเวณเหงือกคอยดูดเอาเกลือแร่ต่าง ๆ ที่จำเป็นกลับสู่ร่างก.

ใหม่!!: วงศ์ปลาแพะและปลาน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

แพะ

แพะ เป็นชนิดย่อยของแพะซึ่งทำให้เชื่องจากแพะป่าในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้และยุโรปตะวันออก แพะนี้อยู่ในสกุล Bovidae และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแกะเพราะต่างอยู่ในวงศ์ย่อยแกะและแพะ (Caprinae) มีแพะกว่า 300 สายพันธุ์Hirst, K. Kris.

ใหม่!!: วงศ์ปลาแพะและแพะ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำ

แม่น้ำตาปี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี แม่น้ำ (river) เป็นทางน้ำธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ เป็นคำศัพท์ทั่วไปที่ในทางวิทยาศาสตร์หมายถึงกระแสน้ำตามธรรมชาติทั้งหลาย รวมทั้งกระแสน้ำขนาดเล็ก เช่น ลำธาร คลอง เป็นต้น น้ำฝนที่ตกลงบนพื้นดินจะไหลไปยังแม่น้ำแล้วออกสู่มหาสมุทรหรือแอ่งน้ำขนาดใหญ่อื่น ๆ เช่น ทะเลสาบ แม่น้ำมีส่วนประกอบโดยพื้นฐานหลายส่วน อาจมีแหล่งกำเนิดจากต้นน้ำหรือน้ำซับ แล้วไหลสู่กระแสน้ำหลัก ลำธารสายเล็กที่ไหลลงสู่แม่น้ำเรียกว่าแคว โดยปกติกระแสน้ำจะไหลไปตามร่องน้ำที่ขนาบข้างด้วยตลิ่ง ที่จุดสิ้นสุดของแม่น้ำหรือปากแม่น้ำ มักมีลักษณะแผ่ขยายออก เรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่าดินดอนสามเหลี่ยม (Delta) หรือชะวากทะเล (Estuary).

ใหม่!!: วงศ์ปลาแพะและแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

เกราะญี่ปุ่น

''เกราะญี่ปุ่นของซามูไรในสมัยโบราณ'' เกราะญี่ปุ่น คือเครื่องสวมใส่สำหรับป้องกันอันตรายจากอาวุธ ของนักรบซามูไรในสมัยโบราณและทหารเดินเท้า เป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักรบ ซามูไร ในการต่อสู้ ถูกเรียกว่า จิตวิญญาณแห่งเหล็กกล้า เกราะญี่ปุ่น สามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปประเภท คือ โยะโรย และ โดะมะรุ ซึ่ง โยะโรย คือเกราะสำหรับซามูไรขี่ม้า หรือแม่ทัพและไดเมียว ซึ่งลักษณะของเกราะจะมีน้ำหนักมากและมีแผงกำบังไหล่ สีสันฉูดฉาดสะดุดตา ส่วน โดะมะรุ คือเกราะสำหรับซามูไรเดินเท้า จะแตกต่างกับ โยะโรย ตรงที่เกราะจะมีน้ำหนักเบาและสวมพอดีตัวกับผู้สวมใส่ และสีสันค่อนข้างทึ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาแพะและเกราะญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: วงศ์ปลาแพะและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

CallichthyidaeCallichthyinaeCorydoradinae

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »