โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปิตุฆาต

ดัชนี ปิตุฆาต

ปิตุฆาต (patricide) หมายถึง การฆ่าบิดาของตัวเอง คำว่า "ปิตุฆาต" มาจากการรวมกันของ 2 คำคือ ปิตุ (พ่อ) และ ฆาต (ฆ่า) สำหรับคำในภาษาอังกฤษ patricide มาจากการรวมกันของคำในภาษาละติน pater (พ่อ) และคำปัจจัย -cida (ฆ่า) ในทางกฎหมาย การทำปิตุฆาตมีโทษถึงประหารชีวิตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 และเป็น 1 ใน อนันตริยกรรม (กรรมที่หนักที่สุด) 5 อย่างของพระพุทธศาสน.

11 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2544พระเจ้าพิมพิสารพระเจ้าอชาตศัตรูการสังหารหมู่ราชวงศ์เนปาลการฆ่าคนภาษาละตินราชคฤห์ศาสนาพุทธอนันตริยกรรมโทษประหารชีวิต1 มิถุนายน

พ.ศ. 2544

ทธศักราช 2544 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2001 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ปิตุฆาตและพ.ศ. 2544 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าพิมพิสาร

กหลวงเมืองราชคฤห์ สถานที่พระเจ้าพิมพิสารถูกจองจำจนเสด็จสวรรคตในช่วงบั้นปลายของชีวิต พระเจ้าพิมพิสาร (-pi; बिम्बिसार, 14 ปีก่อนพุทธศักราช—พ.ศ. 53) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งแคว้นมคธ พระองค์ได้ครองราชสมบัติอยู่เป็นเวลา 52 ปี มีพระอัครมเหสีพระนามว่าเวเทหิ ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้ามหาโกศลแห่งแคว้นโกศล พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระสหายกับพระโคตมพุทธเจ้าสมัยที่ยังเป็นพระกุมาร ด้วยพระเจ้าสุทโธทนะทรงสนิทสนมกับพระบิดาของพระเจ้าพิมพิสาร พระองค์นับถือพระพุทธศาสนา ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างเข้มแข็ง จนแว่นแคว้นของพระองค์มีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วว่าเป็นดินแดนแห่งพระธรรม พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระโสดาบัน มีพระอัครมเหสีพระนามว่าพระนางเวเทหิ เป็นพระกนิษฐาในพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ได้พระกนิษฐาของพระเจ้าพิมพิสารเป็นพระมเหสีเช่นกัน พระเจ้าพิมพิสารมีพระราชโอรสนามว่าอชาตศัตรู (ผู้เกิดมาไม่เป็นศัตรู) โหรทำนายว่าพระโอรสองค์นี้จะทำปิตุฆาต แต่พระเจ้าพิมพิสารก็มิสนพระทัยต่อคำทำนาย ทรงอบรมให้การศึกษาพระโอรสเป็นอย่างดี เจ้าชายก็อยู่ในพระโอวาทเป็นอย่างดี แต่พอเจ้าชายน้อยได้รู้จักพระเทวทัต ถูกพระเทวทัตหลอกให้เห็นผิดเป็นชอบ จนจับพระเจ้าพิมพิสารขังคุกให้อดพระกระยาหาร และทำการทรมานต่างๆ เช่น กรีดพระบาทของพระเจ้าพิมพิสาร เพื่อให้เดินจงกรมทำสมาธิไม่ได้ เป็นต้น จนพระองค์เสด็จสวรรคต ไปเกิดเป็นยักษ์ชื่อ "ชนวสภะ" ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา พระเจ้าพิมพิสารเป็นกษัตริย์ผู้ทรงธรรมทรงอุปถัมภ์ศาสนาพุทธเป็นอย่างดี ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญแพร่หลายทั่วแคว้นม.

ใหม่!!: ปิตุฆาตและพระเจ้าพิมพิสาร · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอชาตศัตรู

ูปพระเจ้าอชาตศัตรู เมืองราชคฤห์ พระเจ้าอชาตศัตรู (अजातशत्रु; ครองราชย์ 2 ปีก่อน พ.ศ.- พ.ศ. 83) พระราชาองค์ที่ 3 แห่งแคว้นมคธ ปกครองทางตอนเหนือของอินเดีย เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าพิมพิสารและพระนางเวเทหิ พระธิดาของพระเจ้ามหาโกศลแห่งแคว้นโกศลและพระภคินีของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นอุบาสก และผู้อุปถัมภ์สังคายนาครั้งที่หนึ่งในศาสนาพุท.

ใหม่!!: ปิตุฆาตและพระเจ้าอชาตศัตรู · ดูเพิ่มเติม »

การสังหารหมู่ราชวงศ์เนปาล

มื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ได้เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่พระราชวงศ์แห่งเนปาลขึ้นภายในพระราชวังในกรุงกาฐมาณฑุ เป็นผลให้กษัตริย์พิเรนทรพีรพิกรมศาหเทวะ (Birendra Bir Bikram Shah Dev) และสมเด็จพระราชินีไอศวรรยาราชยลักษมีเทวีศาหะ (Aiswarya) เสด็จสวรรคต พร้อมด้วยสมาชิกพระราชวงศ์อีก 7 พระองค์ ซึ่งล้วนแต่เป็นสมาชิกองค์สำคัญในราชวงศ์เนปาลทั้งสิ้น เหตุการณ์นี้ทำให้ชาวโลกตื่นตะลึง และยังความเศร้าโศกโกลาหลให้แก่ชาวเนปาลอย่างมหันต์ สำนักพระราชวังได้ประกาศสาเหตุของโศกนาฏกรรมว่า เกิดจากอุบัติเหตุพระแสงปืนลั่นโดยมกุฎราชกุมารดิเพนทรา (Dipentra) เป็นผู้ทำพระแสงปืนลั่นในขณะที่สมาชิกพระราชวงศ์กำลังร่วมเสวยพระกระยาหารค่ำ ก่อนที่องค์มกุฎราชกุมารจะทำพระแสงปืนลั่นถูกพระองค์เอง ในขณะที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสำนักพระราชวังและแหล่งข่าวหลายกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าโศกนาฏกรรมครั้งนี้เกิดจากการที่องค์มกุฏราชกุมาณทรงบันดาลโทสะในขณะทรงวิวาทกับพระราชมารดาเรื่องการที่องค์มกุฎราชกุมาร ทรงต้องการจะอภิเษกกับสตรีจากตระกูลรานา (Rana) และแหล่งข่าวอีกหลายกระแส ตั้งข้อสงสัยว่าองค์มกุฎราชกุมารทรงตกอยู่ในพระอาการมึนเมาจากน้ำจัณฑ์ (สุรา) และยาเสพติด หลังจากจัดงานพระบรมศพเรียบร้อย ในวันที่ 3 มิถุนายน ทางการเนปาลก็ได้อัญเชิญให้มกุฎราชกุมาร ดิเพนทรา ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา แต่ในวันเดียวกัน พระองค์ก็สวรรคตลงอีกพระองค์หนึ่ง ทำให้ทางการเนปาลต้องถวายการแต่งตั้งให้เจ้าชายชญาเนนทร (Gyanendra) พระอนุชาของกษัตริย์พิเรนทรา ซึ่งมิได้ประทับในกาฐมาณฑุขณะเกิดโศกนาฏกรรม การสวรรคตของกษัตริย์พิเรนทรา ส่งผลให้การเมืองภายในประเทศของเนปาลเกิดความปั่นป่วนขึ้นเกือบจะในทันที ประชาชนจำนวนมากได้รวมตัวกันเป็นขบวนประท้วงไปตามถนนในกรุงกาฐมาณฑุ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลสืบหาความจริงของโศกนาฏกรรมโดยด่วน ประชาชนที่กำลังโกรธแค้นได้ทำลายสาธารณสมบัติ และต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจจนมีผู้เสียชีวิตหลายราย ทำให้ทางการต้องประกาศกฎอัยการศึกทั่วประเทศจนถึงวันที่ 8 มิถุนายน ในขณะเดียวกันหนังสือพิมพ์ 3 ฉบับถูกสั่งปิดข้อหาลงข่าวที่ไม่เหมาะสม ขณะที่ผู้นำกลุ่มลัทธิเหมา (Maoist) นายประจันดา (Prachanda เป็นชื่อย่อจาก Pushpa Kamal Dahal) ได้ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้ฝ่ายซ้าย (leftist) ฝ่ายชาตินิยม (nationalist) และฝ่ายนิยมสาธารณรัฐ (republican) ร่วมกันตั้งรัฐบาลเฉพาะการณ์ขึ้นในระหว่างที่ประเทศกำลังระส่ำระสาย นอกจากนี้ นายมาดาว์ กุมาร เนปาล (Madhav Kumar Nepal) หัวหน้าพรรคแนวร่วมคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (Nepal Communist Party-United Marxist and Leninist: NCP-UML) ซึ่งเป็นฝ่ายค้านของเนปาลได้ลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 14 มิถุนายน เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจต่อการสวรรคตของกษัตริย์พิเรนทร.

ใหม่!!: ปิตุฆาตและการสังหารหมู่ราชวงศ์เนปาล · ดูเพิ่มเติม »

การฆ่าคน

การฆ่าคน (murder) เป็นการกระทำให้มนุษย์ถึงแก่ความตาย จัดเป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่ง ทางนิติศาสตร์แบ่งเป็นสองประเภท คือ การทำให้คนตายโดยเจตนา (homicide) และการทำให้คนตายโดยไม่เจตนา (manslaughter) การฆ่าคนทั้งสองประเภท ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักหรือเบาตามกฎหมายแล้วแต่กรณี.

ใหม่!!: ปิตุฆาตและการฆ่าคน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ปิตุฆาตและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

ราชคฤห์

ราชคฤห์ (ราชคห; राजगिर ราชคริ; राजगीर ราชคีร; Rajgir; راجگیر) เป็นชื่อเมืองหลวงของแคว้นมคธสมัยพุทธกาล เป็นเมืองในหุบเขา มีภูเขาล้อมรอบ 5 ลูก จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เบญจคีรีนคร ราชคฤห์เป็นเมืองตั้งหลักพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า โดยพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระเจ้าพิมพิสารผู้ครองนคร เป็นเมืองที่มีประวัติความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามากที่สุด สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าและพระสาวกยังปรากฏอยู่มากมาย เช่น พระคันธกุฎีบนยอดเขาคิชฌกูฏ วัดเวฬุวันซึ่งเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ถ้ำสุกรขาตาที่พระสารีบุตรได้บรรลุธรรม ถ้ำสัตบรรณคูหาที่ทำสังคายนาครั้งแรก เป็นต้น สถานะเมืองหลวงของราชคฤห์ถูกเปลี่ยนโอนไปอยู่ที่ปาฏลีบุตรตั้งแต่สมัยพระเจ้าอชาตศัตรู ส่งผลให้ราชคฤห์ในปัจจุบันเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ ในรัฐพิหาร มีผู้อยู่อาศัยไม่มาก มีสภาพเกือบเป็นป่า แต่เป็นสถานที่แสวงบุญของชาวพุทธทั่วโลกแห่งหนึ่ง ไฟล์:Rajgirbuddha.jpg|พระพุทธรูปยืนกลางมณฑลโบราณสถานวัดเวฬุวันมหาวิหาร เมืองราชคฤห์ ไฟล์:Vulturepeak.jpg|พระคันธกุฎี บนยอดเขาคิชกูฏ ไฟล์:Sattapanni.jpg|ถ้ำสัตบรรณคูหา สถานที่ทำปฐมสังคายนา ไฟล์:Tapodarama.jpg|ตโปธาราม บ่อน้ำโบราณอายุกว่า 2,500 ปี ไฟล์:Vulturepeak1.jpg|พระมูลคันธกุฎิยอดเขาคิชกูฏ เมื่อมองจากสันติสถูป.

ใหม่!!: ปิตุฆาตและราชคฤห์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: ปิตุฆาตและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

อนันตริยกรรม

อนันตริยกรรม หมายถึง กรรมหนักที่สุด (ครุกรรม) ฝ่ายบาปอกุศล ซึ่งให้ผลทันที มี 5 อย่าง คือ.

ใหม่!!: ปิตุฆาตและอนันตริยกรรม · ดูเพิ่มเติม »

โทษประหารชีวิต

ประเทศที่เลิกใช้โทษประหารชีวิต: 103 ประเทศ โทษประหารชีวิต หรือ อุกฤษฏ์โทษ (capital punishment, death penalty) เป็นกระบวนการทางกฎหมายซึ่งรัฐลงโทษอาชญากรรมของบุคคลด้วยการทำให้ตาย คำสั่งของศาลที่ให้ลงโทษบุคคลในลักษณะนี้ เรียก การลงโทษประหารชีวิต ขณะที่การบังคับใช้โทษนี้ เรียก การประหารชีวิต อาชญากรรมที่มีโทษประหารชีวิต เรียก "ความผิดอาญาขั้นอุกฤษฏ์โทษ" คำว่า capital มาจากคำภาษาละตินว่า capitalis ความหมายตามตัวอักษร คือ "เกี่ยวกับหัว" (หมายถึงการประหารชีวิตโดยการตัดหัว) สังคมอดีตส่วนมากนั้นมีโทษประหารชีวิตโดยเป็นการลงโทษอาชญากร และผู้ไม่เห็นด้วยทางการเมืองหรือศาสนา ในประวัติศาสตร์ การลงโทษประหารชีวิตมักสัมพันธ์กับการทรมาน และมักประหารชีวิตในที่สาธารณะ ปัจจุบันมีประเทศที่ยังคงโทษประหารชีวิต 58 ประเทศ ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับอาชญากรรมทุกรูปแบบโดยนิตินัย 98 ประเทศ ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตเฉพาะอาชญากรรมปรกติ 7 ประเทศ (โดยคงไว้สำหรับพฤติการณ์พิเศษ เช่น อาชญากรรมสงคราม) และประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยพฤตินัย (คือ ไม่ได้ใช้โทษประหารชีวิตอย่างน้อยสิบปี และอยู่ระหว่างงดใช้โทษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง) องค์การนิรโทษกรรมสากลมองว่าประเทศส่วนใหญ่เป็นผู้ยกเลิก (abolitionist) โดยองค์การฯ พิจารณาว่า 140 ประเทศเป็นผู้ยกเลิกในทางกฎหมายหรือทางปฏิบัติ การประหารชีวิตเกือบ 90% ทั่วโลกเกิดในทวีปเอเชีย แทบทุกประเทศในโลกห้ามการประหารชีวิตบุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปีขณะก่อเหตุ นับแต่ปี 2552 มีเพียงประเทศอิหร่าน ซาอุดิอาระเบียและซูดานที่ยังประหารชีวิตลักษณะนี้ กฎหมายระหว่างประเทศห้ามการประหารชีวิตประเภทนี้ โทษประหารชีวิตกำลังเป็นประเด็นการถกเถียงอยู่ในหลายประเทศ และจุดยืนอาจมีได้หลากหลายในอุดมการณ์ทางการเมืองหรือภูมิภาคทางวัฒนธรรมหนึ่ง ๆ ในรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป ข้อ 2 แห่งกฎบัตรสิทธิมูลฐานแห่งสหภาพยุโรปห้ามการใช้โทษประหารชีวิต สภายุโรปซึ่งมีรัฐสมาชิก 47 ประเทศ ยังห้ามสมาชิกใช้โทษประหารชีวิต สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติลงมติรับข้อมติไม่ผูกพันในปี 2550, 2551 และ 2553 เรียกร้องให้มีการผ่อนเวลาการประหารชีวิตทั่วโลก ซึ่งมุ่งให้ยกเลิกในที่สุด แม้หลายชาติยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้ว แต่ประชากรโลกกว่า 60% อาศัยอยู่ในประเทศซึ่งเกิดการประหารชีวิต เช่น สี่ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก คือ จีน อินเดีย สหรัฐอเมริกาและอินโดนีเซีย ซึ่งยังใช้บังคับโทษประหารชีวิต ทั้งสี่ประเทศออกเสียงคัดค้านข้อมติสมัชชาใหญ่ดังกล่าว.

ใหม่!!: ปิตุฆาตและโทษประหารชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

1 มิถุนายน

วันที่ 1 มิถุนายน เป็นวันที่ 152 ของปี (วันที่ 153 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 213 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ปิตุฆาตและ1 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »