โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาโนรี

ดัชนี ปลาโนรี

ำหรับโนรีที่หมายถึงนก ดูที่: นกโนรี สำหรับโนรีที่หมายถึงนักมวย ดูที่: โนรี จ๊อกกี้ยิม ปลาโนรี (Bannerfishes, Pennanfishes) เป็นสกุลของปลาทะเลสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Heniochus อยู่ในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) มีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวสั้นแต่กว้างมาก หัวแหลม ปากเล็กอยู่ที่ปลายสุดจะงอยปาก ครีบหลังที่มีก้านแข็งราว 11-12 อัน ก้านครีบหลังอันที่ 4 ตอนแรกยื่นยาวเป็นเส้นยาวมากดูโดดเด่น ตัวมีสีสันสดสวยหัวและลำตัวมีพื้นสีขาวเงิน มีแถบสีดำเข้มพาดขวางราว 3 แถบ มีทั้งหมด 8 ชนิด ได้แก.

34 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2301พ.ศ. 2359พ.ศ. 2372พ.ศ. 2374พ.ศ. 2376พ.ศ. 2392พ.ศ. 2446พ.ศ. 2454พ.ศ. 2466พืดหินปะการังพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542วงศ์ปลาผีเสื้อสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์อันดับปลากะพงฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธธงทะเลความงามคาโรลัส ลินเนียสปลาที่มีก้านครีบปลาน้ำเค็มปลาโนรีหน้าหักปลาโนรีครีบยาวปลาโนรีครีบสั้นปลาโนรีเกล็ดปลาโนรีเทวรูปนกโนรีโนรี จ๊อกกี้ยิมเมตรเอเอสทีวีผู้จัดการเขตร้อน

พ.ศ. 2301

ทธศักราช 2301 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ปลาโนรีและพ.ศ. 2301 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2359

ทธศักราช 2359 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ปลาโนรีและพ.ศ. 2359 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2372

ทธศักราช 2372 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ปลาโนรีและพ.ศ. 2372 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2374

ทธศักราช 2374 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ปลาโนรีและพ.ศ. 2374 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2376

ทธศักราช 2376 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ปลาโนรีและพ.ศ. 2376 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2392

ทธศักราช 2392 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ปลาโนรีและพ.ศ. 2392 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2446

ทธศักราช 2446 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1903 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ปลาโนรีและพ.ศ. 2446 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2454

ทธศักราช 2454 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1911 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ปลาโนรีและพ.ศ. 2454 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2466

ทธศักราช 2466 ตรงกั.

ใหม่!!: ปลาโนรีและพ.ศ. 2466 · ดูเพิ่มเติม »

พืดหินปะการัง

แผนที่แสดงการกระจายตัวของแนวปะการังทั่วโลก แนวปะการัง หรือ พืดหินปะการัง เป็นระบบนิเวศที่ซับซ้อน และมีความหลากหลายมากที่สุดในทะเล แนวปะการังจัดเป็นสิ่งก่อสร้างของสิ่งมีชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นหินปูนที่มีความแข็ง โดยสัตว์ทะเลขนาดเล็กคือ ปะการัง รวมถึงซากของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในทะเลอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น สาหร่ายหินปูน, หอยที่มีเปลือกแข็ง เป็นต้น ทั้งปะการังเองและสิ่งมีชีวิตที่สร้างหินปูนได้ เมื่อตายไปแล้วจะยังคงเหลือซากหินปูนทับถมพอกพูน ซึ่งถือว่าเป็นขบวนการสร้างแนวปะการัง ซากหินปูนเหล่านั้นค่อย ๆ ผุกร่อนเป็นผงตะกอน ซึ่งส่วนหนึ่งก็ยังคงสะสมพอกพูนในแนวปะการัง แต่อีกส่วนหนึ่งอาจถูกพัดพาล่องลอยไปตามกระแสน้ำไปทับถมพอกพูนเป็นชายหาด การเจริญเติบโตของแนวปะการังเป็นไปอย่างช้า ๆ ในแต่ละปี ปะการังบางชนิดอาจเพิ่มขนาดของตนเองขึ้นมาได้เพียง 2-5 เซนติเมตรเท่านั้น ซึ่งกว่าที่ปะการังจะสร้างตนเองจนแข็งแรงเป็นแนวพืดได้ต้องใช้เวลานับหมื่น ๆ ปี โดยแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เกรตแบร์ริเออร์รีฟ ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย ที่มีเนื้อที่กว้างขวางกว่า 1,562 ไมล์ (2,500 กิโลเมตร) มีแนวปะการังมากกว่า 2,900 แนว ซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นมรกดกโลกทางธรรมชาติ และแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งของโลก คือ สามเหลี่ยมปะการัง ที่ครอบคลุมพื้นที่ระหว่างน่านน้ำของฟิลิปปินส์ เช่น อุทยานธรรมชาติปะการังตุบบาตาฮา, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ปาปัวนิวกินี, หมู่เกาะโซโลมอน และติมอร์เลสเต คิดเป็น 1 ใน 3 ของแนวปะการังที่มีอยู่ในโลก และมีความหลากหลายของชนิดปลาที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังคิดเป็นร้อยละ 35 ของปลาที่อาศัยในแนวปะการังทั้งหมดทั่วโลก.

ใหม่!!: ปลาโนรีและพืดหินปะการัง · ดูเพิ่มเติม »

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542

หน้าปกพจนานุกรม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: ปลาโนรีและพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาผีเสื้อ

วงศ์ปลาผีเสื้อ (วงศ์: Chaetodontidae, Butterflyfish, Bannerfish, Coralfish) เป็นวงศ์ของปลาทะเลจำพวกหนึ่ง ในชั้นปลากระดูกแข็ง อันดับปลากะพง (Perciformes) ประกอบไปด้วยสมาชิกแบ่งออกเป็นสกุลต่าง ๆ ได้ 10 สกุล พบประมาณ 114 ชนิด มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวสั้น แบนด้านข้าง ปากมีขนาดเล็กอาจยืดหดได้ ภายในปากมีฟันละเอียด ครีบหลังมีอันเดียว ประกอบด้วยก้านครีบแข็งอยู่ส่วนหน้าและก้านครีบอ่อนอยู่ถัดไป ครีบทวารมีก้านครีบแข็ง 3 อัน และแผ่นยื่นรับกับครีบหลัง มีนิสัยเฉื่อยชา ว่ายน้ำหรือเคลื่อนไหวไปอย่างช้า ๆ ไม่ว่องไว มีสีสันและลวดลายที่สดใสสวยงาม มีพฤติกรรมอาศัยเป็นฝูงหรือเป็นคู่ในแนวปะการัง พบแพร่กระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิค เป็นปลาที่ออกหากินในเวลากลางวัน โดยอาศัยการแทะกินสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ตามแนวปะการัง ส่วนในเวลากลางคืนจะอาศัยหลับนอนตามโพรงหินหรือปะการัง และจะเปลี่ยนสีตัวเองให้เข้มขึ้นเพื่ออำพรางตัวจากศัตรู ซึ่งในหลายชนิดและบางสกุล จะมีจุดวงกลมสีดำขนาดใหญ่คล้ายดวงตาอยู่บริเวณท้ายลำตัวเพื่อล่อหลอกให้ศัตรูสับสนได้อีกด้วยคล้ายกับผีเสื้อที่เป็นแมลง มีการสืบพันธุ์วางไข่โดยการปล่อยไข่ให้ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ก่อนจะรอวันให้ลูกปลาฟักออกมาเป็นตัวและกลับไปอาศัยในแนวปะการังต่อไป ลูกปลาผีเสื้อแทบทุกชนิดมีรูปร่างหน้าตาแทบจะเหมือนกับตัวเต็มวัย โดยมักจะมีจุดบริเวณครีบหลัง และเมื่อลูกปลาโตขึ้นจุดที่ว่านี้ก็จะหายไปเช่นเดียวกับปลาในแนวปะการังอื่น ๆ อีกหลายชนิด ด้วยความสวยงามและรูปร่างที่น่ารัก จึงทำให้นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งในบางชนิดสามารถฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ หลายชนิดเลี้ยงได้ไม่ยากนัก ขณะที่บางชนิดที่เลี้ยงได้ยาก สำหรับในน่านน้ำไทยพบปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อนี้ไม่ต่ำกว่า 40 ชนิด อาทิ ปลาผีเสื้อนกกระจิบ (Chelmon rostratus), ปลาผีเสื้อทอง (Chaetodon semilarvatus), ปลาผีเสื้อจมูกยาวขอบตาขาว (Forcipiger flavissimus), ปลาโนรีเกล็ด (Heniochus diphreutes) เป็นต้น โดยจะพบในด้านทะเลอันดามันมากกว่าอ่าวไทย ซึ่งปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อนั้น ในอดีตเมื่อเริ่มมีการอนุกรมวิธาน ด้วยลักษณะปากที่ยื่นยาวทำให้มีความเข้าใจผิดว่า สามารถพ่นน้ำจับแมลงได้เหมือนเช่น ปลาเสือพ่นน้ำ (Toxotidae) ซึ่งเป็นปลาน้ำจืด โดยความผิดพลาดเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1764 เมื่อมีการส่งตัวอย่างปลาในยังกรุงลอนดอนเพื่อลงรูปตีพิมพ์ลงในหนังสือ ปรากฏเป็นภาพของปลาผีเสื้อนกกระจิบ และถูกบรรยายว่าสามารถพ่นน้ำจับแมลงกินเป็นอาหารได้ จึงถูกกล่าวอ้างต่อมาอย่างผิด ๆ อีกนาน.

ใหม่!!: ปลาโนรีและวงศ์ปลาผีเสื้อ · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: ปลาโนรีและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาโนรีและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาโนรีและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ปลาโนรีและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ใหม่!!: ปลาโนรีและอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ

ร. ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ (ื่อย่อ: H.M. Smith) (21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2408 / ค.ศ. 1865 -28 กันยายน พ.ศ. 2484 / ค.ศ. 1941) นักชีววิทยา ชาวอเมริกัน อธิบดีสำนักงานประมง (the Bureau of Fisheries) แห่งสหรัฐอเมริกา ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ หรือ ดร.ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ เกิดที่กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) ได้จบการศึกษาปริญญาเอกแพทยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ (Georgetown University) และจบการศึกษาระดับปริญญาเอกนิติศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1908) เริ่มต้นทำงานที่ สำนักประมง สหรัฐอเมริกา (U. S. Fish Commission) ปี พ.ศ. 2429 (ค.ศ. 1886) ในตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์ 1897-1903 หัวหน้าห้องปฏิบัติการชีววิทยาทางทะเล (Marine Biological Laboratory ที่ Wood Hole, และโดยเป็นผู้กำกับดูแลงานทางด้านการศึกษาและสำรวจธรรมชาติในทางวิทยาศาสตร์ ในสถาบันการศึกษาชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ระหว่างปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) ถึงปี พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) ได้เดินทางพร้อมคณะนักสำรวจมาที่ฟิลิปปินส์ ด้วยเรือชื่อ USS Albatross ด้วยเป็นกรรมการสมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิก เพื่อสำรวจความหลากหลายของธรรมชาติในภูมิภาคแถบนี้.

ใหม่!!: ปลาโนรีและฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ · ดูเพิ่มเติม »

ธง

ง เป็นวัตถุใช้เป็นเครื่องหมายเพื่อสื่อสาร เช่น บอกชาติ ตำแหน่งในราชการ โดยมีกำหนดกฎเกณฑ์เป็นต้น เช่น ธงชาติ ธงแม่ทัพนายกอง ใช้เป็นเครื่องหมายตามแบบสากลนิยม เช่น ธงกาชาด บอกที่ตั้งกองบรรเทาทุกข์, ธงขาว บอกความจำนนขอหย่าศึกหรือยอมแพ้, ธงเหลือง บอกเป็นเรือพยาบาลคนป่วยหรือเรือที่มีโรคติดต่ออันตราย, ธงแดง บอกเหตุการณ์อันเป็นภัย ใช้เป็นเครื่องหมายเรือเดินทะเล คณะ สมาคม อาคารการค้า ใช้เป็นอาณัติสัญญาณ ใช้เป็นเครื่องตกแต่งสถานที่ในงานรื่นเริงหรือถือเข้ากระบวนแห่เป็นต้น ส่วนใหญ่ธงจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ยังมีธงสามเหลี่ยมหรือธงรูปร่างแบบอื่นต่างกันไป.

ใหม่!!: ปลาโนรีและธง · ดูเพิ่มเติม »

ทะเล

ทะเลโบฟอร์ต ทะเล เป็นแหล่งน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยพื้นดินทั้งหมดหรือบางส่วน.

ใหม่!!: ปลาโนรีและทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ความงาม

อกกุหลาบเป็นสิ่งหนึ่งที่หลายคนเห็นว่างาม ความงาม คือสถานภาพของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเพลิดเพลิน และความชื่นชมผ่านการเข้าใจและรับรู้ถึงความสมดุล สัดส่วน และ แรงดึงดูด ของสิ่งๆนั้น ซึ่งอาจจะเป็นบุคคล สัตว์ สิ่งของ เหตุการณ์ สถานที่ ดนตรี ศิลปะ หรือ ความคิด สิ่งตรงกันข้ามกับความงามคือความน่าเกลียดน่าชัง ซึ่งมีผลกระทบอย่างตรงกันข้ามต่อผู้ที่รับรู้.

ใหม่!!: ปลาโนรีและความงาม · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: ปลาโนรีและคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาโนรีและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำเค็ม

ปลาหมอทะเล (''Epinephelus lanceolatus'') เป็นปลาน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่สุดที่มักพบได้ตามแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ปลาน้ำเค็ม หรือ ปลาทะเล คือ ปลาที่เป็นปลาส่วนใหญ่ที่พบได้ในปัจจุบันนี้ มีแหล่งอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำทะเลหรือน้ำเค็มที่มีปริมาณความเค็มของเกลือละลายมากกว่าร้อยละ 3–5 ขึ้นไป อันได้แก่ มหาสมุทร, ทะเล, ทะเลสาบน้ำเค็ม, ทะเลลึก หรือปากแม่น้ำ, ชายฝั่ง หรือป่าโกงกางที่เป็นส่วนของน้ำเค็มหรือน้ำกร่อย โครงสร้างของปลาน้ำเค็มนั้นจะไม่แตกต่างไปจากปลาน้ำจืดเท่าใดนัก เพียงแต่จะมีการปรับตัวให้เข้ากับน้ำเค็มได้โดยมีผิวหนังและเกล็ดหุ้มตัวกันไม่ให้น้ำและเกลือแร่ผ่านสู่ร่างกายมากนัก น้ำจากภายในร่างกายจะแพร่ออกสู่ภายนอกร่างกาย เนื่องจากน้ำภายนอกร่างกายมีความเข้มข้นของสารละลายมากกว่าภายในร่างกาย ปลาน้ำเค็มจึงต้องมีการดื่มน้ำเพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปซึ่งต่างจากปลาน้ำจืด ไตของปลาน้ำเค็มขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่สูงเท่ากับปริมาณออกซิเจนในเลือด ขณะที่ปลาน้ำจืดไตจะขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่ต่ำกว่าที่อยู่ในเลือด ในขณะเดียวกันก็จะมีการขับสารละลายส่วนเกินที่ได้จากการดื่มน้ำออกสู่นอกร่างกาย โดยจะมีอวัยวะพิเศษที่จะช่วยในการขับสารละลายที่ไม่ต้องการออก เรียกว่า คลอไรด์เซลล์ ที่อยู่บริเวณเหงือก ที่เป็นอวัยวะช่วยในการหายใจ นอกจากนี้แล้ว ปลาน้ำเค็มในบางอันดับเช่นอันดับปลากะพงจะมีโครงสร้างของกระดูกที่มีความแข็งแรงและหนาแน่น มีน้ำหนักกว่าปลาน้ำจืด ทั้งนี้เนื่องจาก ความเค็มในทะเลหรือมหาสมุทรจะมีความหนาแน่นมากกว่าในน้ำจืด ฉะนั้นปลาน้ำเค็มจึงมีการลอยตัวตามธรรมชาติได้ดีกว.

ใหม่!!: ปลาโนรีและปลาน้ำเค็ม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาโนรีหน้าหัก

ปลาโนรีหน้าหัก หรือ ปลาโนรีเขา (Phantom bannerfish, Indian Ocean bannerfish) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Heniochus pleurotaenia ในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) มีรูปร่างเหมือนปลาโนรีหลังเหลือง (H. singularius) คือ มีครีบหลังที่ไม่ยื่นยาว มีจุดเด่น คือ บริเวณหน้าผากมีอวัยวะแข็งคล้ายเขาหรือนอแหลมยื่นออกมาบริเวณเหนือดวงตา มีครีบแข็งตั้งบนหลัง ไม่มีครีบยาวยื่นออกมาเหมือนปลาโนรีชนิดอื่น ครีบหลังยกสูง ลำตัวมีสีออกน้ำตาลคาดขาว-ดำ เมื่อยังเป็นปลาวัยอ่อน ครีบหลังจะยกสูง จนดูทำให้มีรูปร่างคล้ายตัวอักษรเอ (A) เป็นปลาที่พบในเขตน้ำลึกกว่าปลาโนรีชนิดอื่น ๆ พบเจอตัวได้ยากกว่า มีขนาดความยาวเต็มที่ประมาณ 17 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรอินเดีย ได้แก่ มัลดีฟส์, เกาะชวา, ศรีลังกา, ทะเลอันดามันตอนเหนือ แม้เป็นปลาที่ไม่สวยงาม แต่ก็มีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ปลาโนรีและปลาโนรีหน้าหัก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาโนรีครีบยาว

ปลาโนรีครีบยาว (Pennant coralfish, Longfin bannerfish, Coachman, Black and White Heniochus, Poor mans' moorish idol, Black and White bannerfish, Featherfin bullfish) เป็นปลาทะเลจำพวกปลาโนรีชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Heniochus acuminatus อยู่ในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) เป็นปลาที่สังเกตและแยกแยะได้ง่าย เพราะมีครีบหลังยาวออกมาเป็นเส้น ลำตัวเป็นลายสีขาวดำ ครีบและหางมีสีเหลือง ลักษณะคล้ายกับปลาโนรีอีกชนิดหนึ่ง คือ ปลาโนรีเกล็ด (H. diphreutes) แต่ปลาโนรีเกล็ดนั้นมีลำตัวที่ค่อนข้างกลมกว่า มีความยาวเต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลเขตอินโด-แปซิฟิก ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มักหากินกระจัดกระจายตามลำพังบ้าง เป็นคู่บ้าง หรือบางทีก็พบรวมกันเป็นฝูง ตามกองหินและแนวปะการัง เป็นปลาอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินอาหารได้ง่าย และมีพฤติกรรมที่ไม่ก้าวร้าว แต่ยังเป็นปลาที่ต้องจับมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติในทะเล.

ใหม่!!: ปลาโนรีและปลาโนรีครีบยาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาโนรีครีบสั้น

ปลาโนรีครีบสั้น หรือ ปลาโนรีหลังเหลือง (Singular bannerfish, Philippine kabubu) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Heniochus singularius ในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) มีรูปร่างคล้ายกับปลาโนรีครีบยาว (H. acuminatus) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่มีรูปร่างใหญ่กว่า มีครีบบนหลังสั้นกว่ามากและบริเวณท้ายลำตัวมีสีออกเหลืองเข้มกว่า มีขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร พบในความลึกประมาณ 2-40 เมตร ชอบอยู่ในแหล่งน้ำที่ค่อนข้างขุ่นกว่าปลาโนรีชนิดอื่น กระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแปซิฟิก ได้แก่ หมู่เกาะอันดามัน, มหาสมุทรอินเดีย, ซามัว, ทะเลญี่ปุ่น และนิวแคลิโดเนีย เป็นต้น เป็นปลาที่แลดูแล้วไม่สวยเหมือนปลาโนรีชนิดอื่น ๆ แต่ก็นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยถูกจับปะปนมากับปลาโนรีชนิดอื่น.

ใหม่!!: ปลาโนรีและปลาโนรีครีบสั้น · ดูเพิ่มเติม »

ปลาโนรีเกล็ด

ปลาโนรีเกล็ด หรือ ปลาโนรีเทวรูปปลอม (Schooling bannerfish, False moorish idol) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Heniochus diphreutes ในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) จัดเป็นปลาโนรีอีกชนิดหนึ่ง ที่มีความสวยงาม มีลักษณะและรูปร่างคล้ายเคียงกับปลาโนรีครีบยาว (H. acuminatus) มาก แต่ปลาโนรีเกล็ดมีรูปร่างที่ป้อมกลมกว่า และมีตาที่ใหญ่และจมูกที่เล็กกว่า มีความยาวเต็มที่ประมาณ 18 เซนติเมตร มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ทำให้แลดูสวยงามบริเวณชายฝั่งหรือแนวปะการัง พบกระจายพันธุ์อยู่ในทะเลรอบ ๆ ทวีปแอฟริกา, ทะเลแดง, หมู่เกาะฮาวาย และออสเตรเลีย เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: ปลาโนรีและปลาโนรีเกล็ด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาโนรีเทวรูป

ปลาโนรีเทวรูป หรือ ปลาผีเสื้อเทวรูป (Moorish idol) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zanclus cornutus จัดอยู่ในวงศ์ Zanclidae (มาจากภาษากรีกคำว่า zagkios หมายถึง ทแยง) และถือเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์นี้ และสกุล Zanclus ปลาโนรีเทวรูป มีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) มาก โดยเฉพาะกับปลาโนรี (Heniochus spp.) ซึ่งในอดีตเคยถูกจัดให้อยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่ปัจจุบันได้มีการแยกออกมา แต่ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเป็นผลมาจากการวิวัฒนาการที่มีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งปลาโนรีเทวรูปมีความใกล้เคียงกับปลาการ์ตูน (Amphiprioninae) หรือปลาสินสมุทร (Pomacanthidae) มากกว่า มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาโนรีครีบยาว (H. acuminatus) และปลาโนรีเกล็ด (H. diphreutes) มาก แต่มีลำตัวทางด้านท้ายเป็นสีเหลืองนวล จะงอยปากแหลมยาวกว่า ครีบหางมีสีดำ และสีครีบหางจะคล้ำและมีรอยคล้ายเขม่าที่บริเวณครีบหลัง ลักษณะเกล็ดแลดูเรียบเป็นมันเงา มีความยาวเต็มที่ประมาณ 22 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแถบอินโด-แปซิฟิก ในน่านน้ำไทยจะได้พบในด้านทะเลอันดามัน ในต่างประเทศ พบได้กว้างขวางมาก ตั้งแต่ มหาสมุทรอินเดีย, อ่าวแคลิฟอร์เนีย, อเมริกาใต้, ฮาวาย, ทะเลญี่ปุ่น, ไมโครนีเซีย, แอฟริกา หากินอยู่ตามแนวปะการังเช่นเดียวกับปลาผีเสื้อ และสามารถหากินได้ลึกถึงหน้าดินในความลึกถึง 182 เมตร ซ้ำยังมีพฤติกรรมออกหากินในเวลากลางวันเช่นเดียวกัน แต่เป็นปลาที่มักอาศัยอยู่ตามลำพังหรือไม่ก็เป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ โดยกินฟองน้ำเป็นอาหารหลัก และสัตว์น้ำทั่วไปขนาดเล็ก ปลาวัยอ่อนมีขนาดค่อนข้างใหญ่ แต่ลำตัวโปร่งใส ใช้ชีวิตคล้ายกับแพลงก์ตอนคือ จะถูกกระแสน้ำพัดพาลอยไปไกลจากถิ่นกำเนิด จึงทำให้การแพร่กระจายพันธุ์เป็นไปอย่างกว้างขวาง นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเช่นเดียวกับปลาผีเสื้อหรือปลาโนรี และสามารถเลี้ยงรวมกันได้ ซึ่งในวัฒนธรรมร่วมสมัย ปลาโนรีเทวรูปได้ถูกสร้างเป็นตัวละครตัวหนึ่งในภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง Finding Nemo ของวอลต์ ดีสนีย์ ออกฉายในปี ค.ศ. 2003 โดยเป็นหัวหน้าฝูงปลาชื่อ กิลด์ (ให้เสียงพากย์โดย วิลเลม ดาโฟ) ในตู้กระจกภายในคลินิกทันตแพทย์ ปลาโนรีเทวรูป ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก ได้แก่ "ปลาผีเสื้อหนัง" หรือ "ปลาโนรีหนัง".

ใหม่!!: ปลาโนรีและปลาโนรีเทวรูป · ดูเพิ่มเติม »

นกโนรี

นกโนรีสีแดงที่สวนสัตว์พาต้า นกโนรี (Lory) เป็นสกุลของนกปากขอสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Lorius จัดเป็นนกขนาดกลางในอันดับนี้ มีความยาวจากจะงอยปากจรดปลายหาง 30 เซนติเมตร หางสั้น พบกระจายพันธุ์ในแถบประเทศอินโดนีเซีย หมู่เกาะโมลุกกะ ปาปัวนิวกินี และหมู่เกาะโซโลมอน ลำตัวสีสดใสต่างกันไปตามชนิด เช่น แดงเข้มไปหมดทั้งตัว ยกเว้นปลายปีก ปาก และนิ้ว เป็นต้น มีอุปนิสัยปกติจะอาศัยอยู่อย่างโดดเดี่ยว เว้นแต่ว่าเมื่อจับคู่แล้วจึงไม่แยกห่างจากกัน มีบ้างในบางครั้งจะอยู่รวมกันเป็นฝูงราว 4-6 ตัว ชอบบินสูงเหนือยอดไม้ ไม่ส่งเสียงร้องในขณะบินเหมือนนกชนิดอื่นในอันดับเดียวกัน อาหารหลักคือ ผลไม้สุกที่มีรสหวาน โดยมีตอนปลายของลิ้นก็ตรงที่ลิ้นที่ม้วนเป็นหลอดได้ สำหรับดูดกินน้ำหวานจากดอกไม้ และมีหนอนหรือแมลงเป็นอาหารเสริม โดยปกติแล้วจะวางไข่ครั้งละไม่เกิน 2 ฟองเท่านั้น นกโนรีก็เหมือนนกชนิดอื่นในอันดับนี้ คือ นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง ในประเทศไทยเชื่อว่ามีผู้นำเข้ามาเลี้ยงตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่สามารถที่จะฝึกหัดให้เลียนเสียงมนุษย์ได้เหมือนนกชนิดอื่น.

ใหม่!!: ปลาโนรีและนกโนรี · ดูเพิ่มเติม »

โนรี จ๊อกกี้ยิม

นรี จ๊อกกี้ยิม มีชื่อจริงว่า วิสันต์ ทุ่มโมง เกิดเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน..

ใหม่!!: ปลาโนรีและโนรี จ๊อกกี้ยิม · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: ปลาโนรีและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เอเอสทีวีผู้จัดการ

ผู้จัดการ 360° เป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวันภาษาไทย ในเครือผู้จัดการ วางแผง(วันจันทร์-วันเสาร์)โดยฉบับ(วันเสาร์จะควบวันอาทิตย์) วางจำหน่ายฉบับปฐมฤกษ์ (ในชื่อเอเอสทีวีผู้จัดการ) เมื่อวันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ปลาโนรีและเอเอสทีวีผู้จัดการ · ดูเพิ่มเติม »

เขตร้อน

แผนที่โลกที่เน้นเขตร้อนด้วยสีแดง เขตร้อนหรือโซนร้อน (tropics) เป็นบริเวณของโลกที่อยู่รอบเส้นศูนย์สูตร จำกัดด้วยเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ในซีกโลกเหนือ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) เหนือ และทรอปิกออฟแคปริคอร์นในซีกโลกใต้ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) ใต้ ละติจูดนี้ใกล้เคียงกับความเอียงของแกนโลก เขตร้อนรวมทุกพื้นที่บนโลกซึ่งดวงอาทิตย์ถึงจุดใต้แสงอาทิตย์ (subsolar point) คือ จุดที่ดวงอาทิตย์อยู่ตรงเหนือศีรษะพอดี อย่างน้อยครั้งหนึ่งในปีสุริยคติ.

ใหม่!!: ปลาโนรีและเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Heniochusสกุลปลาโนรี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »