โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาอินทรี

ดัชนี ปลาอินทรี

วามหมายอื่น อินทรี ปลาอินทรี (Indo-Pacific king mackerels, Spotted mackerels, Seerfishes) เป็นปลาทะเลจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในสกุล Scomberomorus (/สะ-คอม-บี-โร-โม-รัส/) ในวงศ์ Scombridae ปลาอินทรีมีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวแบนข้างเรียวยาว คอดหางกิ่ว ปลายหางเว้าเป็นแฉกลึก ส่วนหัวและปลายปากแหลม ภายในปากในบางชนิดและปลาขนาดใหญ่จะเห็นฟันแหลมคมอย่างชัดเจน อาศัยอยู่เป็นฝูงใกล้ผิวน้ำ มีลวดลายเป็นจุดหรือบั้งตามแต่ชนิด จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่สกุลหนึ่งในวงศ์ คือ มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 1 เมตร หาอาหารโดยไล่กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า อาศัยอยู่ในทะเลเปิดทั่วโลกในเขตร้อนและเขตอบอุ่น เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง โดยในประเทศไทยนิยมนำมาทอดหรือทำเป็นปลาเค็ม ซึ่งในภาษาแต้จิ๋วจะเรียกว่า "เบกาฮื้อ" (馬鮫魚; พินอิน: Mǎ jiāo yú) และนิยมตกเป็นเกมกีฬาด้ว.

30 ความสัมพันธ์: ฟันพ.ศ. 2344พินอินพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542การจับปลาการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ภาษาแต้จิ๋ววงศ์ปลาอินทรีสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์น้ำสปีชีส์อัปโหลดและดาวน์โหลดอันดับปลากะพงอินทรี (แก้ความกำกวม)จุดทะเลดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงประเทศไทยปลาวาฮูปลาอินทรีบั้งปลาอินทรีจุดปลาอินทรีทะเลสาบเขมรปลาที่มีก้านครีบปลาน้ำเค็มน้ำจืดโตนเลสาบเขตร้อน

ฟัน

แสดงโครงสร้างของเหงือกและฟัน ฟัน เป็นอวัยวะที่อยู่ภายในช่องปากของคนและสัตว์ มีส่วนรากติดอยู่กับขากรรไกรและมีตัวฟันโผล่พ้นเหงือกออกมา ฟันเป็นอวัยวะที่เจริญมาจากเนื้อเยื้อชั้นนอก (Ectoderm) เช่นเดียวกับผิวหนังหรือเกล็ดปลา ฟันเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งในระบบย่อยอาหาร หน้าที่หลักของฟันคือ ฉีก บด อาหารให้คลุกเคล้ากับน้ำลาย และนอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการพูดออกเสียงด้วย ลักษณะของฟันมีส่วนเกี่ยวข้องกับลักษณะอาหารของสัตว์แต่ละประเภทเช่นเดียวกับวิวัฒนาการ ตัวอย่างเช่น พืชนั้นยากที่จะย่อยดังนั้น สัตว์กินพืช (Herbivore) จึงต้องมีฟันกรามหลายซี่เพื่อใช้ในการเคี้ยว ส่วนสัตว์กินเนื้อ (Carnivore) ต้องมีฟันเขี้ยวเพื่อฆ่าและฉีกเหยื่อและเนื้อนั้นให้ย่อยง่าย พวกมันจึงกลืนได้โดยที่ไม่ต้องใช้ฟันกรามเคี้ยวมากนัก.

ใหม่!!: ปลาอินทรีและฟัน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2344

ทธศักราช 2344 ตรงกับคริสต์ศักราช 1801 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: ปลาอินทรีและพ.ศ. 2344 · ดูเพิ่มเติม »

พินอิน

นอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (แปลว่า สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์) พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese) สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน.

ใหม่!!: ปลาอินทรีและพินอิน · ดูเพิ่มเติม »

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542

หน้าปกพจนานุกรม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: ปลาอินทรีและพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 · ดูเพิ่มเติม »

การจับปลา

การตกปลา เป็นการจับปลาและเป็นกีฬาที่เป็นที่นิยมชนิดหนึ่ง กระทำโดยการใช้เหยื่อล่อ โดยใช้ได้ทั้งที่เป็นเหยื่อสด เหยื่อหมัก และเหยื่อปลอม หมวดหมู่:การประมง หมวดหมู่:การตกปลา.

ใหม่!!: ปลาอินทรีและการจับปลา · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: ปลาอินทรีและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแต้จิ๋ว

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ปลาอินทรีและภาษาแต้จิ๋ว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาอินทรี

วงศ์ปลาอินทรี (Mackerels, Tunas, King mackerels) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scombridae มีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวเพรียวยาวเป็นทรงกระสวย นัยน์ตากลมโต มีครีบหลังแบ่งออกเป็น 2 ตอน โดยตอนหลังมีลักษณะแข็งและมีขนาดเล็ก มีครีบท้องและครีบก้น กล้ามเนื้อก่อนถึงโคนหางมีเนื้อเยื่อขวางอยู่เรียกว่า "คีล" (Keel) โคนครีบหางกิ่วเล็กแต่แข็งแรง มีครีบแบ่งเป็นแฉก 2 แฉกเว้าลึก ครีบท้องขนานยาวไปกับความยาวลำตัว มีขนาดความยาวแตกต่างกันตั้งแต่ 20 เซนติเมตร ไปจนถึงเกือบ 3 เมตร บางสกุลอาจมีลวดลายตามความยาวหรือแนวลำตัว ในปากมีฟันและกรามที่แข็งแรง มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ในทะเลเปิดในเขตอบอุ่นทั่วโลก เป็นปลาที่มีการอพยพย้ายถิ่น ในปลาขนาดเล็กกินแพลงก์ตอนและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า และในปลาขนาดใหญ่จะไล่กินปลาขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร ว่ายน้ำได้อย่างรวดเร็ว เพราะใช้ครีบและหางแนบกับลำตัวเมื่อว่ายน้ำ โดยมีสถิติสูงสุดที่บันทึกได้คือ 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยปลาในวงศ์นี้ เป็นที่รู้จักกันในชื่อสามัญภาษาไทยโดยรวมกัน คือ ปลาทู, ปลาโอ, ปลาทูน่า และปลาอินทรี เป็นต้น เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก เพราะเป็นปลาที่มนุษย์ใช้ในการบริโภค ทั้งปรุงสุดหรืออาหารกระป๋อง รวมทั้งทำอาหารสัตว์ และตกกันเป็นเกมกีฬาด้วย ปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 55 ชนิด 15 สกุล และแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ (Thunnus thynnus) ที่มีรายงานยาวเต็มที่ที่เคยพบคือ 458 เซนติเมตร และมีน้ำหนักถึง 684 กิโลกรัม.

ใหม่!!: ปลาอินทรีและวงศ์ปลาอินทรี · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: ปลาอินทรีและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาอินทรีและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาอินทรีและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์น้ำ

ัตว์น้ำ (aquatic animal) หมายถึง สัตว์ที่อาศัยในน้ำหรือมีวงจรชีวิตส่วนหนึ่งอยู่ในน้ำหรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมถึง เช่น ปลา กุ้ง ปู แมงดาทะเล หอย เต่า ตะพาบน้ำ จระเข้ รวมทั้งไข่ของสัตว์น้ำนั้น สัตว์น้ำจำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม ปลิงทะเล ฟองน้ำ หินปะการัง กัลปังหา และสาหร่ายทะเล ทั้งนี้ รวมทั้งซากหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์น้ำเหล่านั้น และหมายความรวมถึงพันธุ์ไม้น้ำ ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีการะบุชื่อ.

ใหม่!!: ปลาอินทรีและสัตว์น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ปลาอินทรีและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อัปโหลดและดาวน์โหลด

ในทางคอมพิวเตอร์ อัปโหลด (upload; ศัพท์บัญญัติว่า บรรจุขึ้น) และ ดาวน์โหลด (download, ศัพท์บัญญัติว่า บรรจุลง) เป็นการส่งผ่านข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง การส่งข้อมูล แฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรม จากคอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ หมายถึงการอัปโหลด ขณะเดียวกัน การรับข้อมูล แฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ หมายถึงการดาวน์โหลด ตัวอย่างเช่นว่าคัดลอกจากคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเข้ามาเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ของเราเอง สำหรับทาง ไอเอสพี กำหนดการส่งข้อมูลจากลูกค้า เรียกว่าการอัปโหลด และการรับข้อมูลถือเป็นการดาวน์โหลด โดยทั่วไปที่เข้าใจกัน คำว่าดาวน์โหลดหมายถึงการรับไฟล์ และอัปโหลดหมายถึงการส่งไฟล์ การดาวน์โหลดต่างๆ ได้ทั้งเรื่องการศึกษา ความบันเทิง เช่น ในกรณีดาวน์โหลด ลงเครื่องคอมพิวเตอร์ก็สามารถทำได้ เช่น ดาวน์โหลดเพลง MP3 ดาวน์โหลดโปรแกรมต่างๆ เป็นต้น หรือในกรณีดาวน์โหลดลงโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ทำได้ เช่น ดาวน์โหลดริงโทน ดาวน์โหลดวอลล์เปเปอร์ ต่างๆ หรือจะเป็น ดาวน์โหลดSMS เป็นต้น หมวดหมู่:การส่งผ่านข้อมูล หมวดหมู่:คำศัพท์ de:Herunterladen es:Descargar (archivos) ru:Скачивание.

ใหม่!!: ปลาอินทรีและอัปโหลดและดาวน์โหลด · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ใหม่!!: ปลาอินทรีและอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

อินทรี (แก้ความกำกวม)

อินทรี อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ปลาอินทรีและอินทรี (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

จุด

อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ปลาอินทรีและจุด · ดูเพิ่มเติม »

ทะเล

ทะเลโบฟอร์ต ทะเล เป็นแหล่งน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยพื้นดินทั้งหมดหรือบางส่วน.

ใหม่!!: ปลาอินทรีและทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ

right right right ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (river delta) จะเกิดเฉพาะกับแม่น้ำที่พัดพาเอาตะกอนขนาดเล็ก ๆ จำพวกทรายละเอียดและโคลนมากับลำน้ำเป็นปริมาณมาก แล้วมาตกตะกอนทับถมกันบริเวณปากแม่น้ำ เมื่อแม่น้ำไหลลงสู่ทะเลหรือทะเลสาบ ความเร็วของน้ำในแม่น้ำจะลดลงและตะกอนที่แม่น้ำพัดมาจะค่อย ๆ สะสมตัวบริเวณดังกล่าว ในบางแห่งขณะน้ำขึ้นน้ำลง กระแสน้ำจะพัดพาเอาทรายและโคลนออกไปสู่ทะเลไกลออกไปจึงไม่มีดินดอนปากแม่น้ำเกิดขึ้น ถ้าในกรณีที่กระแสน้ำขึ้นลงไม่ส่งอิทธิพลรุนแรง แม่น้ำก็จะพัดพาเอาตะกอนมาสะสมอยู่เรื่อย ๆ โดยทรายหยาบจะตกตะกอนลงเป็นพวกแรกและนาน ๆ เข้าก็จะปรากฏเป็นสันทรายบริเวณปากแม่น้ำ ในที่สุดแม่น้ำก็จะแตกแขนงออกเป็นสองสาขาในเวลาต่อมา ในเวลาต่อมาแม่น้ำทั้งสองสาขาก็จะถูกปิดกั้นด้วยสันทราย ทำให้สาขาแม่น้ำแตกออกเป็นสาขาลำน้ำย่อยลงไปอีก ดินดอนโดยทั่วไปมักมีสาขาของลำน้ำที่แตกแขนงจากแม่น้ำใหญ่ โคลนเนื้อละเอียดจะถูกพัดพาไปไกลจากสันทรายและตกตะกอนสะสมตัวกันแผ่คลุมท้องทะเลหรือทะเลสาบในบริเวณที่กว้างขวางเป็นรูปคล้ายพัดหรืองอกตัวลงทะเลตลอดเวลา โดยธรรมดาแล้วแม่น้ำทุกสายที่ไหลลงทะเลหรือทะเลสาบจะมีดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเกิดขึ้นเสมอ ที่เราเรียกกันว่า "เดลต้า" (delta) เพราะว่าบริเวณดังกล่าวมีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม ซึ่งถึงแม้ว่าดินดอนจะไม่เป็นรูปสามเหลี่ยมนักภูมิศาสตร์โดยทั่วไปก็เรียกว่า "เดลต้า" แม่น้ำสายใหญ่ ๆ เช่นในเอเชีย เช่น แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสในอิรัก ซึ่งเดิมเมืองโบราณชื่ออัวร์ถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 6,000 ปีที่แล้วอยู่ติดทะเล แต่ปัจจุบันเมืองดังกล่าวอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน 240 กิโลเมตร แม่น้ำพรหมบุตรใน.

ใหม่!!: ปลาอินทรีและดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง

แผนที่แสดงตำแหน่งของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ถือเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ตรงบริเวณทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเวียดนาม โดยเป็นบริเวณที่แม่น้ำโขงซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากที่ราบสูงทิเบตแล้วไหลมาทางทิศใต้ผ่าน 7 ประเทศ ไหลออกสู่ทะเลจีนใต้ที่บริเวณนี้ โดยบริเวณที่เกิดการสะสมตัวของตะกอนในลักษณะของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำนั้นพบว่าแม่น้ำโขงมีการแตกออกเป็นสาขาย่อย ๆ หลายสาขา ปัจจุบันพบว่าดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงมีความกว้างของดินดอนสามเหลี่ยมใหญ่ที่สุดที่หนึ่งของโลกและกินพื้นที่ 39,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นสัดส่วนโดยมากของพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเวียดนาม พื้นที่ของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงส่วนที่ถูกปกคลุมด้วยน้ำนั้นขึ้นกับแต่ละฤดู เพราะปริมาณน้ำไม่เท่ากัน จากการศึกษาพบว่าบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงนั้นมีการพัดพาของน้ำมาประมาณ 470 ลูกบากศ์กิโลเมตรต่อปี ซึ่งน้ำที่ไหลมาในบริเวณนี้ได้พัดพาตะกอนมาตกสะสมประมาณ 790,000-810,000 ตารางกิโลเมตรต่อปี นอกจากนี้พบว่าเมื่อประมาณ 6,000 ปีที่ผ่านมา มีการพอกของตะกอนในบริเวณนี้ในลักษณะการพอกคืบเข้าไปในทะเลคิดเป็น 200 กิโลเมตร รอบชายแดนของประเทศกัมพูชาและชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม โดยในปัจจุบันพบว่าลักษณะปรากฏของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงนั้น มีรูปร่างคล้ายรูปสามเหลี่ยมที่กินเนื้อที่เป็นบริเวณกว้าง ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงได้มีการศึกษาเรื่องการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิตบริเวณนี้ โดยพบว่าบริเวณนี้เป็นแหล่งรวมสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่กว่า 10,000 สายพันธุ์ ซึ่งทำให้บริเวฯดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงนี้นอกจากจะมีความน่าสนใจในการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะทางธรณีวิทยาแล้วยังมีความน่าสนใจเป็นอย่างมากในการศึกษาเกี่ยวกับระบบชีววิทยาของพื้นที่ จากการสะสมตัวของตะกอนพบว่าตะกอนที่สะสมตัวในหุบเขาซึ่งทับอยู่บนชั้นตะกอนที่มีอายุสมัยไพลสโตซีน นั้นเกิดการสะสมตัวในช่วงที่มีเกิดเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลอย่างรวดเร็วครั้งล่าสุด ซึ่งพบว่าแม่น้ำโขงในช่วงยุคน้ำแข็งครั้งล่าสุดหรือเมื่อประมาณ 18,000 ปีมาแล้วนั้น ตำแหน่งของทางน้ำอยู่ทางตะวันออกของบริเวณที่เป็นหุบเขาทำให้บริเวณหุบเขามีลักษณะเป็นปากแม่น้ำ ขณะที่น้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นจึงเกิดการสะสมตัวของตะกอนที่เป็นตะกอนปากแม่น้ำ เมื่อน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นปากแม่น้ำจึงย้ายเข้าไปในแผ่นดินมากขึ้นทำให้บริเวณนี้ได้รับอิทธิพลจากกระบวนการทางทะเลมากขึ้น จึงเกิดการสะสมตัวของที่ราบที่ได้รับผลจากน้ำขึ้น-น้ำลง หลังจากนั้นพบว่าเกิดการสะสมตัวของตะกอนดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเมื่อประมาณ 6,000 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่น้ำทะเลขึ้นสูงสุดและกำลังเริ่มลดลงเรื่อยๆ ทำให้พบลักษณะการเพิ่มขึ้นของขนาดเม็ดตะกอนเมื่อใกล้พื้นผิวมากขึ้น โดยเราสามารถแบ่งดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงออกเป็น 2 บริเวณตามอิทธิพลหลักที่มีผลต่อการสะสมตัวของตะกอนในแต่ละบริเวณ คือ.

ใหม่!!: ปลาอินทรีและดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ปลาอินทรีและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาวาฮู

ปลาวาฮู หรือ ปลาอินทรีน้ำลึก (Wahoo) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Acanthocybium solandri อยู่ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) มีรูปร่างคล้ายกับปลาในสกุลปลาอินทรี (Scomberomorus spp.) อย่างมาก โดยมีความแตกต่างกันคือ ครีบหลังของปลาวาฮูในตอนแรกจะมีความสูงกว่า และมีที่ว่างของครีบหลังตอนแรกและตอนหลังมากกว่าปลาในสกุลปลาอินทรี ครีบหางมีลักษณะเว้าที่ตื้นกว่า มีส่วนของจะงอยปากแลดูแหลมคมกว่า และรูปร่างที่เพรียวบางกว่า จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Acanthocybium มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 2.5 เมตร และมีน้ำหนักถึง 83 กิโลกรัม เป็นปลาที่อาศัยอยู่เป็นฝูงในเขตน้ำลึกได้ถึง 80 เมตร ในทะเลเปิดเขตอบอุ่นและกึ่งอบอุ่นทั่วโลก โดยในฮาวายจะเรียกว่า "Ono" ขณะที่แถบทะเลแคริบเบียนและอเมริกากลางจะเรียกว่า "Peto" ว่ายน้ำได้รวดเร็วมาก เป็นปลาที่นิยมตกเป็นเกมกีฬา ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน.

ใหม่!!: ปลาอินทรีและปลาวาฮู · ดูเพิ่มเติม »

ปลาอินทรีบั้ง

ปลาอินทรีบั้ง (Narrow-barred Spanish mackerel) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง จำพวกปลาอินทรี ในวงศ์ปลาอินทรี หรือปลาทูน่า (Scombridae) มีรูปร่างคล้ายกับปลาอินทรีชนิดอื่น หรือปลาอินทรีจุด (S. guttatus) ซึ่งเป็นปลาอินทรีอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ในเขตน่านน้ำประเทศไทย แต่มีลำตัวค่อนข้างกลมและหนากว่า ด้านข้างลำตัวจะมีแถบสีดำหรือเทาเข้มเป็นบั้ง ๆ ขวางลำตัวเริ่มจากแนวฐานครีบหูหรือครีบอกเรื่อยออกไปเกือบจรดโคนครีบหาง จะเห็นบั้งได้ชัดตรงบริเวณแนวเส้นข้างตัว ปลาอินทรีบั้งตัวโตจะมีบั้งมากกว่าตัวเล็ก กินปลาและสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ตามผิวน้ำเป็นอาหาร เช่น ปลากะตัก, ปลาหลังเขียว และหมึก ขนาดที่พบทั่วไปมักมีความยาว 30-70 เซนติเมตร ขนาดใหญ่ที่สุดยาวถึง 1 เมตร (พบใหญ่ที่สุด 2 เมตร น้ำหนัก 70 กิโลกรัม ที่ออสเตรเลีย) พบทั่วไปในอ่าวไทยทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตก และทางฝั่งทะเลอันดามัน ในต่างประเทศพบได้ทั้งทั่วชายฝั่งทวีปแอฟริกา, ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน, ทะเลแดง, อ่าวเปอร์เซีย, มหาสมุทรอินเดีย จนถึงออสเตรเลียและนิวกินี เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง นิยมใช้ปรุงอาหาร ปรุงสุด และทำปลาเค็ม ชาวจีนเรียกว่าปลาเค็มที่ทำจากปลาอินทรีบั้งว่า "ปลาเบกา" หรือ "เบกาฮื้อ" (จีน: 土魠魚) ในภาษาแต้จิ๋ว อีกทั้งเป็นปลาอีกชนิดหนึ่งที่นิยมตกกันเป็นเกมกีฬ.

ใหม่!!: ปลาอินทรีและปลาอินทรีบั้ง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาอินทรีจุด

ปลาอินทรีจุด หรือ ปลาอินทรีดอก หรือ ปลาอินทรีข้าวตอก (Indo-Pacific king mackerel, Spotted seerfish) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง จำพวกปลาอินทรี ในวงศ์ปลาอินทรี หรือปลาทูน่า (Scombridae) เนื้อปลาอินทรีจุดหั่นทอด หรือ "เบกาฮื้อ" จัดเป็นปลาอินทรีขนาดเล็กกว่าปลาอินทรีชนิดอื่น นับเป็นปลาอินทรีอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย นอกจากปลาอินทรีบั้ง (S. commerson) มีรูปร่างลำตัวค่อนข้างกลม และเรียวยาว ด้านข้างลำตัวครึ่งบนมีแต้มด้วยจุดสีดำหรือสีเทาคล้ายลายข้าวตอก ส่วนปากมีมุมปากยาว ปากอ้าได้กว้าง จะงอยปากแหลม ภายในปากมีฟันแหลมคม ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ส่วน ก้านครีบด้านหน้าเป็นก้านครีบแข็ง ส่วนก้านครีบหลังมีลักษณะเหมือนกับก้านครีบก้นที่ประกอบด้วยก้านครีบอ่อน และถัดมาจะเป็นครีบฝอย ส่วนครีบหูหรือครีบอกมีขนาดเล็ก ครีบท้องมีขนาดเล็กสุด ครีบหางมีขนาดใหญ่ ลักษณะครีบเว้าลึก เป็นรูปวงเดือย มักอยู่รวมกันเป็นฝูง ว่ายน้ำรวดเร็ว ลำตัวยาวประมาณ 40-55 เซนติเมตร นิยมนำมาปรุงอาหารต่าง ๆ และแปรรูปเป็นปลาเค็มหรือหั่นเป็นชิ้นทอด ที่ภาษาแต้จิ๋วเรียก "เบกาฮื้อ" (จีน: 土魠魚) รวมถึงตกเป็นเกมกีฬ.

ใหม่!!: ปลาอินทรีและปลาอินทรีจุด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาอินทรีทะเลสาบเขมร

ปลาอินทรีทะเลสาบเขมร (Chinese seerfish, Chinese mackerel; เขมร: ត្រីស្បៃកា, ត្រីបីកា) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่งที่สามารถอาศัยในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ อยู่ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) มีรูปร่างเพรียวยาว หัวแหลม ปากมีฟันแหลมคม ครีบหางเว้าลึก ครีบท้องและครีบหลังแหลมและมีรอยหยักไปจรดครีบหาง ชายครีบเป็นสีดำ ปลายครีบอกหรือครีบอกมนกลมไม่แหลม ลำตัวสีเทาเงินเหลือบเขียว ลำตัวไม่มีลวดลายหรือแต้มจุดเหมือนปลาอินทรีชนิดอื่น อาศัยอยู่ตามชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งแต่สหรัฐอเมริกาแถบชายฝั่งแปซิฟิก, ญี่ปุ่น, จีน, เวียดนาม และพบบางส่วนเข้ามาอาศัยในแหล่งน้ำจืด ที่ปากแม่น้ำโขง และทะเลสาบเขมรด้วย โดยพบได้ตั้งแต่น้ำตกคอนพะเพ็งในลาวไปจนถึงจังหวัดกระแจะและพนมเปญในกัมพูชา ในประเทศไทยพบได้บ้างแถบจังหวัดจันทบุรี และมีการตกได้ที่เกาะราชาน้อย จังหวัดภูเก็ต เมื่อปลายเดือนมีนาคม..

ใหม่!!: ปลาอินทรีและปลาอินทรีทะเลสาบเขมร · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาอินทรีและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำเค็ม

ปลาหมอทะเล (''Epinephelus lanceolatus'') เป็นปลาน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่สุดที่มักพบได้ตามแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ปลาน้ำเค็ม หรือ ปลาทะเล คือ ปลาที่เป็นปลาส่วนใหญ่ที่พบได้ในปัจจุบันนี้ มีแหล่งอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำทะเลหรือน้ำเค็มที่มีปริมาณความเค็มของเกลือละลายมากกว่าร้อยละ 3–5 ขึ้นไป อันได้แก่ มหาสมุทร, ทะเล, ทะเลสาบน้ำเค็ม, ทะเลลึก หรือปากแม่น้ำ, ชายฝั่ง หรือป่าโกงกางที่เป็นส่วนของน้ำเค็มหรือน้ำกร่อย โครงสร้างของปลาน้ำเค็มนั้นจะไม่แตกต่างไปจากปลาน้ำจืดเท่าใดนัก เพียงแต่จะมีการปรับตัวให้เข้ากับน้ำเค็มได้โดยมีผิวหนังและเกล็ดหุ้มตัวกันไม่ให้น้ำและเกลือแร่ผ่านสู่ร่างกายมากนัก น้ำจากภายในร่างกายจะแพร่ออกสู่ภายนอกร่างกาย เนื่องจากน้ำภายนอกร่างกายมีความเข้มข้นของสารละลายมากกว่าภายในร่างกาย ปลาน้ำเค็มจึงต้องมีการดื่มน้ำเพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปซึ่งต่างจากปลาน้ำจืด ไตของปลาน้ำเค็มขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่สูงเท่ากับปริมาณออกซิเจนในเลือด ขณะที่ปลาน้ำจืดไตจะขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่ต่ำกว่าที่อยู่ในเลือด ในขณะเดียวกันก็จะมีการขับสารละลายส่วนเกินที่ได้จากการดื่มน้ำออกสู่นอกร่างกาย โดยจะมีอวัยวะพิเศษที่จะช่วยในการขับสารละลายที่ไม่ต้องการออก เรียกว่า คลอไรด์เซลล์ ที่อยู่บริเวณเหงือก ที่เป็นอวัยวะช่วยในการหายใจ นอกจากนี้แล้ว ปลาน้ำเค็มในบางอันดับเช่นอันดับปลากะพงจะมีโครงสร้างของกระดูกที่มีความแข็งแรงและหนาแน่น มีน้ำหนักกว่าปลาน้ำจืด ทั้งนี้เนื่องจาก ความเค็มในทะเลหรือมหาสมุทรจะมีความหนาแน่นมากกว่าในน้ำจืด ฉะนั้นปลาน้ำเค็มจึงมีการลอยตัวตามธรรมชาติได้ดีกว.

ใหม่!!: ปลาอินทรีและปลาน้ำเค็ม · ดูเพิ่มเติม »

น้ำจืด

น้ำจืดในลำธาร น้ำจืด หมายถึงน้ำในแหล่งน้ำทั่วไปอาทิ บ่อน้ำ ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำธาร เป็นต้น ที่ซึ่งมีเกลือและของแข็งอื่นละลายอยู่ในระดับต่ำ มีความหนาแน่นน้อย นั่นคือน้ำจืดไม่ได้เป็นน้ำเค็มและน้ำกร่อย น้ำจืดสามารถเป็นผลผลิตของน้ำทะเลที่เอาเกลือออกแล้วได้ น้ำจืดเป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนบกเป็นส่วนใหญ่ และเป็นที่จำเป็นต่อมนุษย์สำหรับน้ำดื่ม และใช้ในเกษตรกรรม เป็นต้น องค์การสหประชาชาติได้คาดการณ์ไว้ว่า ประชากรโลกประมาณร้อยละ 18 ขาดแคลนน้ำดื่มที่ปลอดภั.

ใหม่!!: ปลาอินทรีและน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

โตนเลสาบ

ทะเลสาบเขมร หรือ โตนเลสาบ (បឹងទន្លេសាប บึงทนฺเลสาบ) เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่บริเวณตรงกลางของประเทศกัมพูชา มีพื้นที่ ประมาณ 7,500 ตารางกิโลเมตร หรือใหญ่กว่ากรุงเทพฯ ประมาณ 7 เท่า ความลึกโดยเฉลี่ย อยู่ที่ 10 เมตร และเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจะท่วมพื้นที่บริเวณรอบ ๆ ทำให้โตนเลสาบขยายตัวออกกว้างมากถึง 6 เท่า ทะเลสาบเขมรเกิดจากแม่น้ำโขง ซึ่งแม่น้ำโขงไหลผ่านมีความยาวถึง 500 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัดของกัมพูชา ได้แก่ กำปงธม กำปงชนัง โพธิสัตว์ พระตะบอง และเสียมราฐ เป็นทะเลสาบที่มีปลาน้ำจืดชุกชุมมากแห่งหนึ่งประมาณ 300 ชนิด จึงมีชาวกัมพูชาเป็นจำนวนมากที่ประกอบอาชีพประมงในบริเวณทะเลสาบแห่งนี้ ทะเลสาบเขมรยังเป็นที่ที่ค้นพบหนึ่งในราชกกุธภัณฑ์ พระแสงขรรค์ชัยศรี อีกด้ว.

ใหม่!!: ปลาอินทรีและโตนเลสาบ · ดูเพิ่มเติม »

เขตร้อน

แผนที่โลกที่เน้นเขตร้อนด้วยสีแดง เขตร้อนหรือโซนร้อน (tropics) เป็นบริเวณของโลกที่อยู่รอบเส้นศูนย์สูตร จำกัดด้วยเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ในซีกโลกเหนือ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) เหนือ และทรอปิกออฟแคปริคอร์นในซีกโลกใต้ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) ใต้ ละติจูดนี้ใกล้เคียงกับความเอียงของแกนโลก เขตร้อนรวมทุกพื้นที่บนโลกซึ่งดวงอาทิตย์ถึงจุดใต้แสงอาทิตย์ (subsolar point) คือ จุดที่ดวงอาทิตย์อยู่ตรงเหนือศีรษะพอดี อย่างน้อยครั้งหนึ่งในปีสุริยคติ.

ใหม่!!: ปลาอินทรีและเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Scomberomorusสกุลปลาอินทรี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »