โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาหมอไตรมาคู

ดัชนี ปลาหมอไตรมาคู

ปลาหมอไตรมาคู หรือ ปลาหมอตาแดง (Three-spot cichlid, Trimac cichild) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) ปลาหมอไตรมาคู เป็นปลาหมอสีชนิดหนึ่งที่เมื่อโตเต็มที่แล้วมีขนาดใหญ่ ถือเป็นต้นสายพันธุ์ของปลาหมอฟลาวเวอร์ฮอร์น ซึ่งเป็นปลาหมอลูกผสมหรือครอสบรีดในปัจจุบัน และถือเป็นปลาหมอสีชนิดที่มีลักษณะใกล้เคียงกับปลาหมอฟลาวเวอร์ฮอร์นมากที่สุด ปลาหมอไตรมาคู ถูกค้นพบและตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ โดย อัลเบิร์ต กึนเธอร์ นักมีนวิทยาชาวเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1896 มีถิ่นกระจายพันธุ์ในแถบอเมริกากลาง ในประเทศเม็กซิโกและเอลซัลวาดอร์ มีลักษณะเด่น คือ หัวมีความโหนกนูน ซึ่งจะเริ่มปรากฏเมื่อปลามีความยาวได้ 9-10 นิ้ว ซึ่งเป็นช่วงที่ปลาจะเจริญเติบโตเร็วมาก จนกระทั่งถึง 14 นิ้ว จึงจะชะลอลง สีลำตัวมี 2 สี สีเหลืองออกส้มอ่อน ๆ โดยบริเวณลำคอเป็นสีแดงเล็กน้อย และอีกสีหนึ่ง คือ เหลือบสีเขียวออกดำ และบริเวณคอจะเป็นสีแดงเข้ม มีจุดสีดำคาดกลางลำตัว และมีจุดลักษณะคล้ายมุกอยู่รอบ ๆ จุดดำนั้น ดวงตาสีแดงสดใส มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 35 เซนติเมตร ปลาตัวเมียจะมีครีบกระโดงหลังเป็นจุดสีดำ 2 จุด ขณะที่ปลาตัวผู้จะไม่มีจุดดังกล่าว เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 6 เดือน โดยปลาจะวางไข่ติดไว้กับพื้นหรือวัสดุต่าง ๆ ใต้น้ำ ซึ่งการวางไข่แต่ละครั้งจะออกโดยเฉลี่ยครั้งละ 1,000 ฟอง มากน้อยขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของตัวแม่ปลา ซึ่งสัมพันธ์กับอายุแล.

20 ความสัมพันธ์: ชาวเยอรมันพ.ศ. 2439พ.ศ. 2544มีนวิทยาวัยเริ่มเจริญพันธุ์วงศ์ปลาหมอสีสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์อันดับปลากะพงอเมริกากลางประเทศเม็กซิโกประเทศเอลซัลวาดอร์ปลาที่มีก้านครีบปลาน้ำจืดไข่มุกเพศชายเมตร15 พฤศจิกายน15 ตุลาคม

ชาวเยอรมัน

วเยอรมัน (die Deutschen) ชื่อ กลุ่มคนเผ่าพันธุ์ โปรโต-เจอรมานิก ซึ่งมีถิ่นกำเนิดบริเวณจัตแลนด์และบริเวณอเลมันเนียซึ่งก็คือประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน ซึ่งสมัยก่อนชนชาติพวกนี้ถูกเรียกว่าชาวติวตันและชาวก๊อธปัจจุบันมีประชากรโดยรวม160ล้านคน ชาวเยอรมันจัดว่าเป็นเผ่าพันธุ์เดียวกันกับพวกชาวสแกนดิเนเวีย ชาวอังกฤษและชาวดัตช์ซึ่งจัดว่าเป็นพวกตระกูลเจอร์มานิก.

ใหม่!!: ปลาหมอไตรมาคูและชาวเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2439

ทธศักราช 2439 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1896 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ปลาหมอไตรมาคูและพ.ศ. 2439 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2544

ทธศักราช 2544 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2001 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ปลาหมอไตรมาคูและพ.ศ. 2544 · ดูเพิ่มเติม »

มีนวิทยา

มีนวิทยา (Ichthyology) เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปลา ลักษณะรูปร่างภายนอกของปลา ระบบภายในตัวปลา รวมถึงอนุกรมวิธานของปลา ออกเป็นกลุ่มหรือประเภท ปลาในที่นี้ประกอบด้วยปลากระดูกแข็ง ปลากระดูกอ่อน ได้แก่ ฉลามและกระเบน และปลาไม่มีขากรรไกร โดยไม่ครอบคลุมไปถึงสัตว์น้ำจำพวกอื่น เช่น หมึก, กบ, กุ้ง, ปู, วาฬ หรือโลมา ซึ่งไม่จัดว่าเป็นปลา การศึกษาทางด้านมีนวิทยามีความสัมพันธ์อย่างมากกับสาขาวิชาชีววิทยาทางทะเล ชลธีวิทยา และสมุทรศาสตร์ และเรียกนักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญและศึกษาศาสตร์ทางด้านนี้ว่า "นักมีนวิทยา" มีนวิทยา ถือได้ว่าเป็นแขนงย่อยของสัตววิทยา โดยคำว่า "Ichthyology" ที่ใช้เป็นชื่อภาษาอังกฤษนั้น มาจากภาษากรีกคำว่า "Ichthys" (ἰχθύς) แปลว่า ปลา, "logy" หรือ "logos" (λόγος) แปลว่า วิชา หรือ เรื่องราว, "มีน" มาจากภาษาบาลีสันสกฤต แปลว่า ปลา และ "วิทยา" มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า ความรู้ โดยบุคคลแรกที่ถือได้ว่าศึกษาศาสตร์มีนวิทยาเป็นคนแรกของโลก คือ อริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีกโบราณที่มีชื่อเสียง เพราะเป็นผู้ริเริ่มจำแนกสิ่งมีชีวิต บันทึกของอริสโตเติลได้กล่าวถึงโครงสร้าง อุปนิสัย การอพยพย้ายถิ่น ฤดูกาลสืบพันธุ์ และความรู้อื่น ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับปลามากชนิด แต่ความจริงมนุษย์รู้จักปลามานานกว่า 50,000 ปีแล้ว จากหลักฐานที่มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้วาดภาพปลาไว้ที่ผนังถ้ำ เช่น รูปปลาบึกที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นต้น การศึกษาเกี่ยวกับปลาในระยะต่อมาโดยมากยังอ้างอิงผลงานของอริสโตเติล จะมีเพิ่มเติมก็เป็นเรื่องปลีกย่อย จนกระทั่งในศตวรรษที่ 18 การศึกษาเกี่ยวกับปลาตื่นตัวมากขึ้น มีการเขียนตำราวิชาทางวิชาการ ซึ่งใช้อ้างอิงมาจนถึงทุกวันนี้ มีการจำแนกหมวดหมู่ปลากระดูกอ่อน ปลากระดูกแข็ง ศึกษากายวิภาค สรีรวิทยา วิวัฒนาการของปลาจากซากดึกดำบรรพ์ มีนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาศาสตร์ด้านมีนวิทยาที่มีชื่อเสียงหลายคน อาทิ อัลเบิร์ต กึนเธอร์, จอร์จส์ คูเวียร์, อเล็กซานเดอร์ เอ็มมานูเอล อกาซซี, หลุยส์ อกาซซี (บุตรของอกาซซี) รวมถึง คาโรลัส ลินเนียส ผู้ให้กำเนิดหลักการอนุกรมวิธานที่ใช้มาถึงปัจจุบันด้วย สำหรับในประเทศไทย ศาสตร์แขนงนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อ ดร.

ใหม่!!: ปลาหมอไตรมาคูและมีนวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

วัยเริ่มเจริญพันธุ์

วัยเริ่มเจริญพันธุ์ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพซึ่งกายของเด็กเจริญเต็มที่สู่กายผู้ใหญ่ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางอวัยวะสืบพันธุ์เพื่อให้พร้อมแก่การปฏิสนธิได้ วัยเริ่มเจริญพันธุ์เริ่มจากสัญญาณฮอร์โมนจากสมองไปยังต่อมบ่งเพศ คือ รังไข่ในเด็กหญิงและอัณฑะในเด็กชาย ต่อมบ่งเพศสนองต่อสัญญาณดังกล่าวโดยผลิตฮอร์โมนซึ่งกระตุ้นความต้องการทางเพศ (libido) และการเติบโต การทำหน้าที่และการแปรรูปของสมอง กระดูก กล้ามเนื้อ เลือด ผิวหนัง ขน หน้าอกและอวัยวะเพศ การเติบโตทางกาย ความสูงและน้ำหนัก เร่งเร็วขึ้นในครึ่งแรกของวัยเริ่มเจริญพันธุ์และเสร็จเมื่อเด็กนั้นพัฒนากายผู้ใหญ่ ความแตกต่างระหว่างเด็กชายและเด็กหญิงก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์อย่างเดียว คือ อวัยวะเพศภายนอก จนกว่ามีการเจริญเต็มที่ของสมรรถภาพสืบพันธุ์ โดยเฉลี่ย เด็กหญิงเริ่มวัยเริ่มเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 10–11 ปี เด็กชายเริ่มที่อายุ 11–12 ปี ปกติเด็กหญิงเสร็จวัยริ่มเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 15–17 ขณะที่เด็กชายปกติเสร็จเมื่ออายุ 16–17 ปี จุดกำหนดสำคัญของวัยเริ่มเจริญพันธุ์ของหญิง คือ การเริ่มแรกมีระดู หรือการเริ่มมีประจำเดือน ซึ่งโดยเฉลี่ยเกินระหว่างอายุ 12–13 ปี สำหรับชายเป็นการหลั่งน้ำกามครั้งแรก ซึ่งเฉลี่ยเกิดเมื่ออายุ 13 ปี ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 อายุเฉลี่ยซึ่งเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กหญิง ถึงวัยเริ่มเจริญพันธุ์น้อยกว่าเมื่อเทียบกับคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งได้แก่ 15 ปีสำหรับเด็กหญิง และ 16 ปีสำหรับเด็กชาย การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเนื่องจากหลายปัจจัย รวมถึงโภชนาการที่ดีขึ้นซึ่งส่งผลให้ร่างกายเติบโตอย่างรวดเร็ว น้ำหนักและการสะสมไขมันเพิ่มขึ้น หรือการสัมผัสกับตัวรบกวนฮอร์โมน เช่น ซีโนเอสโตรเจน ซึ่งบางครั้งอาจเนื่องจากการบริโภคอาหารหรือปัจจัยสิ่งแวดล้อมอื่น วัยเริ่มเจริญพันธุ์ที่เริ่มเร็วกว่าปกติ เรียก ภาวะเริ่มเจริญพันธุ์ก่อนวัย ส่วนวัยเริ่มเจริญพันธุ์ซึ่งเริ่มช้ากว่าปกติ เรียก ภาวะเริ่มเจริญพันธุ์ล่าช้า การเปลี่ยนแปลงกายสัณฐานวิทยาในขนาด รูปทรง องค์ประกอบและการทำหน้าที่ของกายวัยเริ่มเจริญพันธุ์ที่โดดเด่น คือ การพัฒนาลักษณะทางเพศทุติยภูมิ คือ การเปลี่ยนจากกายเด็ก จากเด็กหญิงเป็นหญิงสาว จากเด็กชายเป็นชายหนุ่ม คำว่า วัยเริ่มเจริญพันธุ์อธิบายการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพสู่การเจริญเต็มที่ทางเพศ มิใช่การเจริญเต็มที่ทางจิตสังคมและวัฒนธรรมซึ่งแสดงด้วยคำว่า "พัฒนาการเยาวชน" ในวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งเยาวชน คือ ช่วงการเปลี่ยนผ่านทางจิตใจจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ ซึ่งทับซ้อนกับช่วงวัยเริ่มเจริญพันธุ์เสียมาก หมวดหมู่:เยาวชน หมวดหมู่:การเจริญของมนุษย์ หมวดหมู่:เพศสภาพกับอายุ.

ใหม่!!: ปลาหมอไตรมาคูและวัยเริ่มเจริญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาหมอสี

วงศ์ปลาหมอสี (Cichlids) เป็นวงศ์ปลาที่มีจำนวนชนิดมากกว่า 1,000 ชนิด นับเป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดที่มีจำนวนชนิดมากเป็นอันดับสาม รองมาจากวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) และวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cichlidae (/ซิค-ลิด-เด/) ชื่อสามัญในภาษาไทยนิยมเรียกว่า "ปลาหมอสี" ปลาในวงศ์นี้ส่วนใหญ่จึงมักมีชื่อขึ้นต้นว่า "ปลาหมอ" ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีลักษณะหลายหลากแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของถิ่นกำเนิด ปลาหมอสีส่วนใหญ่เป็นปลาน้ำจืด แต่มีบางชนิดพบในน้ำกร่อย ปลาในวงศ์นี้พบมากที่สุดในทวีปแอฟริกา และทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งมีประมาณ 900 และ 290 ชนิดตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีบางชนิดพบได้ในตอนล่างของทวีปอเมริกาเหนือ อีกสี่ชนิดพบในตะวันออกกลาง และอีกสามชนิดพบในอินเดีย ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีความสำคัญต่อมนุษย์ในหลายลักษณะ ปลาบางชนิด เช่น ปลานิล จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ในขณะที่ปลาอีกหลายชนิดเป็นปลาตู้สวยงาม เช่น ปลาเทวดา, ปลาปอมปาดัวร์ และ ปลาออสการ์ เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาหมอไตรมาคูและวงศ์ปลาหมอสี · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาหมอไตรมาคูและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาหมอไตรมาคูและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ปลาหมอไตรมาคูและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ใหม่!!: ปลาหมอไตรมาคูและอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

อเมริกากลาง

แผนที่อเมริกากลาง อเมริกากลาง (Central America) เป็นภูมิภาคย่อยที่หมายถึงกลุ่มประเทศที่อยู่ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งตามความหมายส่วนใหญ่แล้วจะนับจาก ทางใต้ของ อ่าวเม็กซิโก ไปถึงพรมแดนระหว่างปานามากับโคลัมเบีย (หรือประเทศต่าง ๆ ระหว่างเม็กซิโกกับโคลัมเบีย) ได้แก.

ใหม่!!: ปลาหมอไตรมาคูและอเมริกากลาง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเม็กซิโก

ม็กซิโก (Mexico; México) หรือชื่อทางการคือ สหรัฐเม็กซิโก (United Mexican States; Estados Unidos Mexicanos) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ มีพรมแดนทางทิศเหนือจรดสหรัฐอเมริกา ทิศใต้และทิศตะวันตกจรดมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศตะวันออกเฉียงใต้จรดกัวเตมาลา เบลีซ และทะเลแคริบเบียน ส่วนทิศตะวันออกจรดอ่าวเม็กซิโก เนื่องจากครอบคลุมพื้นที่ถึงเกือบ 2 ล้านตารางกิโลเมตร เม็กซิโกจึงเป็นประเทศที่มากที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของทวีปอเมริกา และเป็นอันดับที่ 15 ของโลก นอกจากนี้ยังมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 10 ของโลก โดยมีการประมาณไว้ว่า เมื่อ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ประเทศนี้มีจำนวนประชากร 128,632,000 ล้านคน.

ใหม่!!: ปลาหมอไตรมาคูและประเทศเม็กซิโก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเอลซัลวาดอร์

อลซัลวาดอร์ (El Salvador) หรือชื่อทางการ สาธารณรัฐเอลซัลวาดอร์ (สเปน: República de El Salvador) เป็นประเทศในแถบอเมริกากลาง มีจำนวนประชากรเกือบ 6.7 ล้านคน เป็นประเทศที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุดในแผ่นดินใหญ่ของ (ทวีป) อเมริกา (โดยเฉพาะในเขตเมืองหลวงซานซัลวาดอร์) และเป็นประเทศที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมมากที่สุดในภูมิภาค ประเทศเอลซัลวาดอร์ได้ยกเลิกสกุลเงินโกลอนและเปลี่ยนมาใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแทนในปี ค.ศ. 2001.

ใหม่!!: ปลาหมอไตรมาคูและประเทศเอลซัลวาดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาหมอไตรมาคูและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำจืด

วงศ์นี้ล้วนแต่เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด ปลาน้ำจืด (Freshwater fish) หมายถึง ปลาที่อาศัยอยู่ได้ในเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืด คือ น้ำที่มีปริมาณเกลือหรือความเค็มละลายน้อยกว่าร้อยละ 00.5 เท่านั้น โดยอาศัยอยู่ในแม่น้ำ, คลอง พื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ที่เป็นน้ำจืด เช่น ทะเลสาบน้ำจืด, บึง หนอง หรือลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบ โดยโครงสร้างของปลาน้ำจืดนั้น จะมีแรงดันออสโมซิสในเลือดอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำที่อาศัยอยู่มาก จึงทำให้มีการไหลของน้ำเข้าสู่ร่างกายและเกลือแร่แพร่ออกสู่น้ำภายนอกได้ง่าย โดยไม่ให้น้ำซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายและออกจากร่างกายได้ แต่ทว่ากระบวนการดังกล่าวก็ยังไม่ดีพอ เพราะเหงือกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ปลาใช้หายใจมีน้ำไหลผ่าน เมื่อมีเหงือก น้ำก็มีโอกาสไหลผ่านเข้าสู่ภายในร่างกายได้ จึงกำจัดน้ำส่วนที่เกินที่ถูกดูดเข้าสู่ร่างกายออกสู่นอกร่างกายได้วิธีการขับถ่ายนำเอาปัสสาวะซึ่งมีความดันออสโมซิสต่ำกว่าเลือดออกสู่ภายนอกร่างกาย ร่างกายส่วนใหญ่ของปลาน้ำจืดจะปกคลุมด้วยผิวหนังและเกล็ดซึ่งไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านนอกจากบริเวณที่เป็นเหงือกแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจเท่านั้นที่น้ำผ่านได้ และโดยธรรมชาติปลาน้ำจืดไม่ดื่มน้ำเลย ซึ่งแตกต่างจากปลาทะเล เพราะการดื่มน้ำจะทำให้ร่างกายมีน้ำมากเกินความจำเป็น ซึ่งจะมีน้ำบางส่วนไหลผ่านบริเวณปากและเหงือกเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจก็จะมีโอกาสซึมเข้าไปในร่างกายได้บ้าง และเกลือแร่จากเลือดก็จะแพร่ออกมาทางเหงือกได้มากพอดู ปลาน้ำจืดจึงมีไตขับน้ำส่วนเกินออกไปเป็นปัสสาวะ และมีกลุ่มเซลล์พิเศษอยู่บริเวณเหงือกคอยดูดเอาเกลือแร่ต่าง ๆ ที่จำเป็นกลับสู่ร่างก.

ใหม่!!: ปลาหมอไตรมาคูและปลาน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

ไข่มุก

มุก เป็นอัญมณี มีสีขาว เงินยวง ชมพูและสีทอง โดยนำมาจากสัตว์จำพวกหอยนางรม อาจจะนับได้ว่าเป็นอัญมณีชนิดเดียวในโลกที่เกิดมาจากสัตว์ ไข่มุกสามารถนำมาทำเป็นเครื่องประดับ หรือนำมาบดในการใช้เป็นเครื่องสำอาง ความเชื่อของไข่มุก เป็นอัญมณีแห่งสายน้ำ เสริมสง่าราศีให้กับเพศหญิงก่อให้เกิดความนุ่มนวล อ่อนหวาน แก้ปัญหาทางด้านอารมณ์ ในปัจจุบันนี้ ประเทศจีน ถือได้ว่าเป็นประเทศที่ติดอันดับต้น ๆ ของการส่งไข่มุกออกสู่ตลาดโลก ไข่มุกที่คุณภาพดีนั้น ควรมีอายุการเลี้ยงอยู่ที่ 8 เดือน ถึง 2 ปี ยิ่งเลี้ยงไว้ได้นาน ความสวยงามแวววาวยิ่งมีมากขึ้น แต่ส่วนมากที่พบในตลาดไข่มุกนั้น จะมีอายุการเลี้ยงอยู่ที่ 2-5 ปี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมด้วย เช่น มลภาวะทางน้ำ อุณหภูมิ และความอุดมสมบูรณ์ของทะเล.

ใหม่!!: ปลาหมอไตรมาคูและไข่มุก · ดูเพิ่มเติม »

เพศชาย

ัญลักษณ์เพศชาย เพศชาย (♂) หรือเพศผู้ คือเพศหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ที่ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ขนาดเล็กที่เรียกว่า อสุจิ โดยตัวอสุจิสามารถรวมกับเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงที่เรียกว่า เซลล์ไข่ เกิดขั้นตอนที่เรียกว่า การผสมพันธุ์ เพศชายไม่สามารถสืบพันธุ์ได้โดยปราศจากการเข้าถึงเซลล์ไข่ของเพศหญิงอย่างน้อย 1 เซลล์ แต่สิ่งมีชีวิตบางอย่างสามารถสืบพันธุ์ได้โดยอาศัยการสืบพันธุ์หรือไม่อาศัยการสืบพันธุ์ แต่ละสปีชีส์ไม่ได้มีระบบทางเพศที่เหมือนกัน ในมนุษย์และในสัตว์ส่วนใหญ่ การสืบพันธุ์ถือเป็นกลไกทางพันธุกรรมแต่ในบางสปีชีส์แล้วสามารถเกิดในจากทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่น.

ใหม่!!: ปลาหมอไตรมาคูและเพศชาย · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: ปลาหมอไตรมาคูและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

15 พฤศจิกายน

วันที่ 15 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 319 ของปี (วันที่ 320 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 46 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ปลาหมอไตรมาคูและ15 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

15 ตุลาคม

วันที่ 15 ตุลาคม เป็นวันที่ 288 ของปี (วันที่ 289 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 77 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ปลาหมอไตรมาคูและ15 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Amphilophus trimaculatusCichlasoma trimaculatum

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »