โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาปักเป้ากล่องดำลายจุด

ดัชนี ปลาปักเป้ากล่องดำลายจุด

ปลาปักเป้ากล่องดำลายจุด หรือ ปลาปักเป้ากล่องจุดขาว (Spotted boxfish, Pahu, White-spotted boxfish) ปลาปักเป้ากล่องชนิดหนึ่ง ลำตัวมีเกราะหุ้มเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูในแนวตัดขวาง ปากมีขนาดใหญ่และมีฟันซี่เล็ก ๆ ครีบหางใหญ่ ส่วนครีบอื่น ๆ เล็กเหมือนปลาปักเป้าทั่วไป มีลำตัวสีดำ ด้านหลังมีจุดกลมสีขาว ด้านข้างสีคล้ำ มีลายเป็นตาข่ายสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน และสีเหลือง ครีบหางมีจุดดำ ปลาปักเป้ากล่องดำลายจุด ใน 2 เพศสามารถแยกแยะได้ด้วยตาเปล่าได้ง่าย เริ่มต้นวงจรชีวิตโดยการเป็นปลาเพศเมียที่มีลวดลายดังกล่าว ก่อนจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นเพศผู้ หรือเมื่อโตขึ้น โดยเริ่มจากบริเวณส่วนหน้า ก่อนจะมีพื้นข้างลำตัวเป็นสีน้ำเงินประเหลืองทั้งตัว คงสีพื้นดำจุดขาวไว้เฉพาะบริเวณส่วนหลังเท่านั้น มีขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 40 เซนติเมตร กระจายพันธุ์ในแนวปะการังตอนลึกของมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย จัดเป็นปลาที่พบได้น้อย กินสาหร่ายและสัตว์น้ำขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ ที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่หลบซ่อนหรือเกาะติดกับหลืบหินปะการังเป็นอาหาร รวมทั้งฟองน้ำด้วย ปกติจะอาศัยอยู่ตามลำพัง ในน่าน้ำไทยพบเฉพาะจุดในฝั่งทะเลอันดามันเท่านั้นหน้า 174, "คู่มือปลาทะเล" โดย ชวลิต วิทยานนท์ ดร.

10 ความสัมพันธ์: ฟองน้ำวงศ์ปลาปักเป้ากล่องสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์น้ำสาหร่ายอันดับปลาปักเป้าทะเลอันดามันปลากล่องปลาที่มีก้านครีบ

ฟองน้ำ

ฟองน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกเดียวในไฟลัมพอริเฟอรา (Porifera มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน - porus หมายถึง รู และ ferre หมายถึง พยุงหรือค้ำเอาไว้) เป็นสัตว์หลายเซลล์ที่มีวิวัฒนาการต่ำสุด มีรูปร่างคล้ายแจกันที่มีรูพรุนเล็ก ๆ ทั่วตัวซึ่งเป็นช่องทางให้น้ำผ่านเข้าไปในลำตัว มีเซลล์เรียงกันเป็นสองชั้นแต่ยังไม่มีเส้นประสาทและกล้ามเนื้อที่แท้จริง ไม่มีอวัยวะและทางเดินอาหาร ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำทะเล มีบางชนิดเท่านั้นที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด ตัวอ่อนของฟองน้ำนั้นมีเซลล์ที่สามารถว่ายไดน้ำได้ เรียกระยะนี้ว่า แอมพิบลาสทูลา (Amphiblastula) โดยจะว่ายน้ำไปเกาะตามก้อนหิน เมื่อเจริญเติบโตแล้วจะกลายเป็นฟองน้ำที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ฟองน้ำในปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 7,000 สายพันธุ์ มักพบในเขตน้ำลึกกลางมหาสมุทร (ลึกประมาณ 8,500 เมตร) ต้นกำเนิดของฟองน้ำอาจย้อนไปถึงยุคพรีคัมเบรียน (Precambrian) หรือประมาณ 4,500 ล้านปีที่แล้ว พิสูจน์โดยซากฟอสซิลของฟองน้ำ นอกจากนี้แล้ว ฟองน้ำยังถือว่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนสูงสุดในบรรดาอาณาจักรสัตว์ทั้งหมดอีกด้วย โดยมีอายุยืนได้ถึงหมื่นปี.

ใหม่!!: ปลาปักเป้ากล่องดำลายจุดและฟองน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาปักเป้ากล่อง

วงศ์ปลาปักเป้ากล่อง หรือ วงศ์ปลาปักเป้าเหลี่ยม (วงศ์: Ostraciidae; Boxfish, Cofferfish, Trunkfish) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งทะเลวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ostraciidae ในอันดับปลาปักเป้า (Tetraodontiformes) ลักษณะของปลาในวงศ์นี้ จะมีรูปทรงป้อมเป็นรูปสี่เหลี่ยม รูปทรงและการเคลื่อนไหวจะมีความคล่องแคล่วกว่าปลาปักเป้าในวงศ์อื่น และมักจะมีขนาดเล็ก มีสีสันลวดลายสวยงาม เกล็ดเป็นรูปทรงหกเหลี่ยมเรียงตัวต่อกัน อีกทั้งปลาในวงศ์นี้มีพิษที่ต่างออกไปจากปลาปักเป้าในวงศ์อื่น กล่าวคือ มีสารพิษชนิดออสทราซิท็อกซิน (Ostracitoxin) ที่ผลิตขึ้นมาจากต่อมที่ผิวหนัง และสามารถขับออกมาพร้อมกับเมือกที่หุ้มตัวอยู่ ซึ่งสามารถละลายในน้ำได้ ซึ่งพิษชนิดนี้จะเป็นพิษกับปลาด้วยกัน ทำให้ปลาอื่นที่อยู่บริเวณเดียวกันเมื่อได้รับสารพิษตายได้ ซึ่งจะขับออกมาเมื่อได้รับความเครียดหรือตื่นตกใจ อันเป็นกลไกลหนึ่งในการป้องกันตัว ปลาปักเป้ากล่อง มีการกระจายพันธุ์เฉพาะในทะเลเท่านั้น ตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติก, อินเดีย และแปซิฟิก พบทั้งหมด 33 ชนิด ใน 9 สกุล (ดูในตาราง) บางชนิดอาจมีระยางค์แหลม ๆ ยื่นออกมาเหนือบริเวณส่วนแลดูคล้ายเขาด้วย ในน่านน้ำไทยพบด้วยกัน 3 ชนิด อาทิ ปลาปักเป้ากล่องเหลืองลายจุดดำ (Ostracion cubicus) โดยคำว่า Ostraciidae นั้นมาจากภาษากรีกคำว่า "ostracum" หมายถึง "เปลือกหอย".

ใหม่!!: ปลาปักเป้ากล่องดำลายจุดและวงศ์ปลาปักเป้ากล่อง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาปักเป้ากล่องดำลายจุดและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาปักเป้ากล่องดำลายจุดและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์น้ำ

ัตว์น้ำ (aquatic animal) หมายถึง สัตว์ที่อาศัยในน้ำหรือมีวงจรชีวิตส่วนหนึ่งอยู่ในน้ำหรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมถึง เช่น ปลา กุ้ง ปู แมงดาทะเล หอย เต่า ตะพาบน้ำ จระเข้ รวมทั้งไข่ของสัตว์น้ำนั้น สัตว์น้ำจำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม ปลิงทะเล ฟองน้ำ หินปะการัง กัลปังหา และสาหร่ายทะเล ทั้งนี้ รวมทั้งซากหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์น้ำเหล่านั้น และหมายความรวมถึงพันธุ์ไม้น้ำ ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีการะบุชื่อ.

ใหม่!!: ปลาปักเป้ากล่องดำลายจุดและสัตว์น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

สาหร่าย

หร่ายทะเลที่เกาะอยู่ตามหินชายฝั่ง สาหร่าย เป็นชื่อเรียกสิ่งมีชีวิตหลายชนิดในอาณาจักรโครมาลวีโอลาตา เอกซ์คาวาตา ไรซาเรีย มีลักษณะคล้ายพืช แต่ไม่มีส่วนที่เป็นราก ลำต้น และใบที่แท้จริง มีขนาดตั้งแต่เล็กมากมีเซลล์เดียว ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมาก อาจเป็นเส้นสายหรือมีลักษณะคล้ายพืชชั้นสูงก็มี การแบ่งพวกสาหร่ายแบ่งตามรูปร่างลักษณะภายนอกหรือดูตามสี จึงมีสาหร่ายสีเขียว เขียวแกมน้ำเงิน น้ำตาล และสีแดง สาหร่ายสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศก็มี อาศัยเพศก็มี อย่าสับสนกับสาหร่ายบางชนิด เช่น สาหร่ายหางม้า สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายข้าวเหนียว สาหร่ายเหล่านี้ คือพืชดอกไม่ใช่โพรทิสต์ แหล่งที่อยู่ของสาหร่ายมีต่าง ๆ กัน ส่วนใหญ่อยู่ในน้ำ ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม คุณค่าทางอาหารของสาหร่ายพบว่าไม่สูงมากนัก คาร์โบไฮเดรตที่มีอยู่เป็นพวกที่ย่อยยากในตัวคน โปรตีนก็มีน้อยแต่สิ่งที่ได้จากสาหร่าย คือ แร่ธาตุและวิตามินหลายชนิด นอกจากเป็นอาหารคน เช่น สาหร่ายอบกรอบ และปัจจุบันนำมาประกอบเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ แล้วยังใช้เป็นอาหารสัตว์ เป็นปุ๋ยและเป็นยา สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สามารถจับไนโตรเจนในอากาศได้อย่างอิสระ (Nonsymbiotic Nitrogen Fixer) Anabaena, Oscillatoria, nostoc.

ใหม่!!: ปลาปักเป้ากล่องดำลายจุดและสาหร่าย · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาปักเป้า

อันดับปลาปักเป้า (Puffers, Sunfishes, Triggerfishes, Filefishes) เป็นชื่อเรียกของปลาอันดับ Tetraodontiformes มีอยู่หลายชนิด หลายวงศ์ หลายสกุล อาศัยอยู่ทั้งในทะเล น้ำกร่อย และน้ำจืด โดยมากมีลำตัวกลม ครีบและหางเล็ก จึงว่ายน้ำได้เชื่องช้าดูน่ารัก หัวโต ฟันแหลมคมใช้สำหรับขบกัดสัตว์น้ำมีเปลือกต่าง ๆ เป็นอาหาร คนที่ลงเล่นน้ำจึงมักถูกกัดทำร้ายเป็นแผลบ่อย ๆ เมื่อตกใจหรือข่มขู่สามารถสูดน้ำหรือลมเข้าช่องท้องให้ตัวพองออกได้หลายลูกโป่ง ในบางชนิดมีหนามด้วย แต่การที่ปลาพองตัวออกเช่นนี้ จะมีผลกระทบต่ออวัยวะภายใน ในบางครั้ง เช่น ปลาตกใจอาจไปกระทบกับถุงลมซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ใช้ในการทรงตัวเมื่ออยู่ใต้น้ำ ให้แตกได้ ปลาปักเป้าที่เป็นเช่นนี้จะไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติ แต่จะลอยตัวอยู่บนผิวน้ำไปอย่างนั้น จนกระทั่งตาย เนื่องจากไม่สามารถป้องกันตัวหรือหากินได้อีก ปลาในอันดับนี้ที่รู้จักกันดี คือ ปลาปักเป้า ปักเป้าทุกชนิดเป็นปลาที่มีพิษในตัว โดยเฉพาะอวัยวะภายในและรังไข่ แม้บริโภคเพียงเล็กน้อยก็อาจถึงแก่ความตายได้ แต่บางชนิดในบางแหล่งน้ำหรือบางภูมิภาคก็มีผู้จับมาบริโภค โดยต้องรู้วิธีชำแหละเป็นพิเศษ เช่น ประเทศญี่ปุ่น นิยมบริโภคปลาปักเป้าโดยทำเป็นซูชิ จนเป็นอาหารประจำชาติญี่ปุ่นที่ขึ้นชื่อเป็นที่รู้จัก วงศ์ปลาปักเป้ามีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 วงศ์ คือ Diodontidae ปลาในวงศ์นี้มีฟัน 2 ซี่ Tetraodontidae ปลาในวงศ์นี้มีฟัน 4 ซี่ และ Triodontidae ปลาในวงศ์นี้ลักษณะลำตัวแบนข้าง สำหรับในประเทศไทยพบปลาทั้ง 3 วงศ์นี้ ทั้งหมด 42 ชนิด เป็นชนิดในน้ำจืด 9 ชนิด อีก 33 ชนิด เป็นชนิดในน้ำกร่อยรวมถึงทะเล ในประเทศไทย มีการนำปลาปักเป้ามาจำหน่ายในท้องตลาดในชื่อปลาเนื้อไก่ ซึ่งผู้บริโภคอาจได้รับพิษทำให้รู้สึกชาที่ริมฝีปาก ลิ้น ปลายนิ้วมือ คลื่นไส้วิงเวียน แขนขาไม่มีแรง ยืนและเดินไม่ได้ หายใจลำบาก หมดสติ และอาจจะอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วได้ เนื่องจากสารพิษชื่อว่า เตโตรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) ในหนังปลา ไข่ปลา เนื้อปลา ตับ และลำไส้ มีความทนต่อความร้อนสูง ความร้อนในการปรุงอาหาร การหุงต้ม การแปรรูป ไม่สามารถทำลายสารพิษดังกล่าวได้ ส่วนปลาในวงศ์อื่นแต่อยู่ในอันดับนี้ คือ ปลาแสงอาทิตย์ (Mola mola) ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในอันดับนี้ด้วย รวมทั้งปลาวัว (Balistidae) เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาปักเป้ากล่องดำลายจุดและอันดับปลาปักเป้า · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลอันดามัน

แนวแผ่นดินไหวของเกาะสุมาตรา (2547) ภาพดาวเทียมของทะเลอันดามัน แสดงให้เห็นสาหร่ายสีเขียวและตะกอนจากแม่น้ำอิรวดี ทะเลอันดามัน (Andaman Sea; আন্দামান সাগর; अंडमान सागर) หรือ ทะเลพม่า (မြန်မာပင်လယ်,; มยะหม่าปิ่นแหล่) เป็นทะลที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวเบงกอล เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย ทางเหนือของทะเลติดกับปากแม่น้ำอิระวดีในประเทศพม่า ทางตะวันออกเป็นคาบสมุทรประเทศพม่า ประเทศไทย และประเทศมาเลเซีย ทางตะวันตกเป็นหมู่เกาะอันดามัน และหมู่เกาะนิโคบาร์ ภายใต้การปกครองของอินเดีย ทางใต้ติดกับเกาะสุมาตรา ของอินโดนีเซีย และช่องแคบมะละกา ทะเลอันดามันมีความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 1,200 กิโลเมตร กว้าง 645 กิโลเมตร มีพื้นน้ำประมาณ 600,000 ตร.กม. มีความลึกเฉลี่ย 1,096 เมตร จุดที่ลึกที่สุดมีระดับความลึก 4,198 เมตร.

ใหม่!!: ปลาปักเป้ากล่องดำลายจุดและทะเลอันดามัน · ดูเพิ่มเติม »

ปลากล่อง

ปลากล่อง หรือ ปลาปักเป้ากล่อง หรือ ปลาปักเป้าเหลี่ยม (Boxfish, Trunkfish) เป็นสกุลของปลาปักเป้า ในวงศ์ปลาปักเป้ากล่อง (Ostraciidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Ostracion มีลำตัวเป็นทรงสี่เหลี่ยมเหมือนกล่อง แตกต่างจากปลาปักเป้าทั่วไปอย่างเห็นได้ชัด ลำตัวมีเกราะแข็งหุ้มเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูในแนวตัดขวาง ปากมีขนาดใหญ่และมีฟันซี่เล็ก ๆ ครีบหางใหญ่ ส่วนครีบอื่น ๆ เล็กเหมือนปลาปักเป้าทั่วไป สีและลวดลายตามลำตัวสดใสแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิด เป็นปลาที่อาศัยหากินอยู่ตามลำพัง พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแปซิฟิก และอินเดีย ในแนวปะการัง กินอาหารที่อยู่ตามซอกหลีบหินปะการัง เช่น ฟองน้ำ, ครัสเตเชียน และหอย เป็นอาหาร ขนาดโดยเฉลี่ยเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 30-45 เซนติเมตร.

ใหม่!!: ปลาปักเป้ากล่องดำลายจุดและปลากล่อง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาปักเป้ากล่องดำลายจุดและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Ostracion lentiginosusOstracion meleagrisOstracion sebaeSpotted boxfishปลากล่องจุดขาวปลาปักเป้ากล่องจุดขาวปลาปักเป้ากล่องดำปลาปักเป้ากล่องเจ็ดสี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »