โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาช่อนสจวร์ต

ดัชนี ปลาช่อนสจวร์ต

ปลาช่อนสจวร์ต (Stewart's snakehead, Assamese snakehead, golden snakehead) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) ปลาช่อนสจวร์ตเป็นปลาช่อนในกลุ่มปลาช่อนเล็กหรือปลาช่อนแคระอีกชนิดหนึ่ง โตได้เต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในลุ่มน้ำพรหมบุตรในอินเดียและบังกลาเทศ, แถบตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัยในอินเดียและเนปาล และลุ่มน้ำที่มาจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเนปาล ปลาช่อนสจวร์ตเป็นปลาช่อนอีกชนิดหนึ่งที่มีสีสันสวยงามมาก จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามและถูกนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยหลายครั้ง เป็นปลาช่อนที่มีสีสันแตกต่างหลากหลายกันมากเนื่องจากมีถิ่นฐานการแพร่กระจายพันธุ์กว้างขวาง และยังมีอีกหลายแหล่งที่มีปลาที่มีความแตกต่างกันชัดเจน แต่ทว่ายังมิได้มีการบรรยายทางวิทยาศาสตร์ จึงมีการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์อย่างไม่เป็นทางการ แต่เป็นชื่อทางการค้าอย่างหลากหลาย แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของปลา เช่น Channa cf.

14 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2410วงศ์ปลาช่อนสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังอันดับปลากะพงประเทศบังกลาเทศประเทศอินเดียประเทศเนปาลปลาช่อนบาร์กาปลาช่อนแคระปลาช่อนเอเชียปลาที่มีก้านครีบแม่น้ำพรหมบุตรเทือกเขาหิมาลัย

พ.ศ. 2410

ทธศักราช 2410 ตรงกั.

ใหม่!!: ปลาช่อนสจวร์ตและพ.ศ. 2410 · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาช่อน

วงศ์ปลาช่อน (Snakehead fish) ปลาในวงศ์นี้มีรูปร่างเรียวทรงกระบอก ส่วนหัวโตจะงอยปากยื่น ปากกว้าง ตาโต มีฟันเป็นเขี้ยวบนขากรรไกร หัวด้านบนราบ ถ้าดูจากตอนบนจะโค้งมนคล้ายงู ลำตัวค่อนข้างกลม ครีบหลังและครีบก้นยาว ครีบหางปลายมน ครีบอกใหญ่ ครีบท้องเล็ก เกล็ดมีขนาดใหญ่มีขอบเรียบ ปลาช่อนมีอวัยวะช่วยหายใจเป็นหลืบเนื้อสีแดงอยู่ในคอหอย เรียกว่า Suprabranchia จึงสามารถอยู่ในแหล่งน้ำที่มีออกซิเจนต่ำได้ ใช้ชื่อวงศ์ว่า Channidae (/ชาน-นิ-ดี้/) แพร่พันธุ์โดยการวางไข่โดยตัวผู้และตัวเมียช่วยกันปรับพื้นที่น้ำตื้น ๆ ให้เป็นแปลงกลม แล้ววางไข่ลอยเป็นแพ ตัวผู้เป็นผู้ดูแลไข่จนไข่ฟักเป็นตัวแล้วเลี้ยงลูกปลาจนโต เรียกว่า "ลูกครอก" ซึ่งมีสีแดงหรือส้ม รูปร่างคล้ายพ่อแม่ จากนั้นจึงปล่อยให้หากินเอง พบในเขตร้อนของทวีปแอฟริกาและเอเชีย ปัจจุบันพบทั้งสิ้น 31 ชนิด (และยังมีอีกหลายชนิดที่ยังไม่ได้อนุกรมวิธาน) แบ่งเป็น 2 สกุล คือ Channa 28 ชนิด พบในทวีปเอเชีย และ Parachanna ซึ่งพบในทวีปแอฟริกา 3 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบประมาณ 10 ชนิด ปลาขนาดเล็กสุดคือ ปลาก้าง (C. limbata) ซึ่งมีขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 1 ฟุต และใหญ่ที่สุดคือ ปลาชะโด (C. micropeltes) ที่ใหญ่ได้ถึง 1-1.5 เมตร จัดเป็นวงศ์ปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมาก จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยนิยมบริโภคมากเป็นอันดับหนึ่งก็ว่าได้ โดยปลาช่อนชนิดที่นิยมนำมาบริโภคคือ ปลาช่อน (C. straita) ซึ่งพบได้ทุกแหล่งน้ำและทุกภูม.

ใหม่!!: ปลาช่อนสจวร์ตและวงศ์ปลาช่อน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาช่อนสจวร์ตและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาช่อนสจวร์ตและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ใหม่!!: ปลาช่อนสจวร์ตและอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบังกลาเทศ

ังกลาเทศ (বাংলাদেশ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ (গণপ্রজাতন্ত্রী বাংলাদেশ) เป็นประเทศในเอเชียใต้ ซึ่งครอบครองเนื้อที่ในส่วนตะวันตกของภูมิภาคเบงกอล คำว่า "บังกลาเทศ (Bangladesh)" แปลว่า "ประเทศแห่งเบงกอล" ถูกล้อมรอบประเทศอินเดีย 3 ด้าน ยกเว้นพรมแดนด้านใต้ติดอ่าวเบงกอล และตะวันออกเฉียงใต้ติดประเทศพม.

ใหม่!!: ปลาช่อนสจวร์ตและประเทศบังกลาเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: ปลาช่อนสจวร์ตและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนปาล

ประเทศเนปาล หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล (Federal Democratic Republic of Nepal; सङ्घीय लोकतान्त्रिक गणतन्त्र नेपाल "สงฺฆีย โลกตานฺตฺริก คณตนฺตฺร เนปาล") เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียใต้ มีพื้นที่ 147,181 ตารางกิโลเมตร และประชากรประมาณ 27 ล้านคน ประเทศเนปาลเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 93 ของโลก และมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 41 ของโลก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย มีพรมแดนทิศเหนือติดสาธารณรัฐประชาชนจีน ทิศใต้ ตะวันออกและตะวันตกติดสาธารณรัฐอินเดีย ประเทศเนปาลแยกจากประเทศบังกลาเทศด้วยฉนวนศิลิกูริ (Siliguri Corridor) แคบ ๆ ในประเทศอินเดีย และแยกจากประเทศภูฏานด้วยรัฐสิกขิมของอินเดีย กรุงกาฐมาณฑุเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศ ภาคเหนือของประเทศเนปาลซึ่งเป็นแถบภูเขามีแปดจากสิบภูเขาสูงสุดในโลก ซึ่งรวมยอดเขาเอเวอร์เรสต์ จุดสูงสุดบนโลก ยอดเขากว่า 240 แห่งซึ่งสูงเกิน 6,096 เมตร (20,000 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเลอยู่ในประเทศเนปาล ส่วนภาคใต้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และชื้น ชาวเนปาลประมาณ 81.3% นับถือศาสนาฮินดู เป็นสัดส่วนสูงสุดในโลก ศาสนาพุทธมีความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์กับประเทศเนปาล และมีประชากรนับถือ 9% ตามด้วยศาสนาอิสลาม 4.4% Kiratism 3.1% ศาสนาคริสต์ 1.4% และวิญญาณนิยม 0.4% ประชากรสัดส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคภูเขา อาจระบุตัวว่าเป็นทั้งฮินดูและพุทธ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของธรรมชาติกลมเกลียวของทั้งสองความเชื่อในประเทศเนปาลก็เป็นได้ ประเทศเนปาลปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยตลอดประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ราชวงศ์ศาหะปกครองตั้งแต่ปี 2311 เมื่อพระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะทรงรวมราชอาณาจักรเล็ก ๆ จำนวนมาก จนปี 2551 สงครามกลางเมืองนานหนึ่งทศวรรษซึ่งเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) ตามด้วยการประท้วงใหญ่โดยพรรคการเมืองหลักทุกพรรค นำสู่ความตกลง 12 ข้อ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 การเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 1 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 ซึ่งตามมาสนับสนุนการเลิกราชาธิปไตยและการสถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนหลายพรรคการเมืองอย่างท่วมท้น แม้ความท้าทายทางการเมืองยังดำเนินไป แต่กรอบนี้ยังอยู่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 2 ซึ่งได้รับเลือกตั้งในปี 2556 ในความพยายามเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ประเทศเนปาลเป็นประเทศกำลังพัฒนาโดยมีเศรษฐกิจรายได้ต่ำ อยู่ในอันดับที่ 145 จาก 187 ประเทศในดัชนีการพัฒนามนุษย์ในปี 2557 ประเทศเนปาลยังเผชิญกับความหิวและความยากจนระดับสูง แม้ความท้าทายเหล่านี้ ประเทศเนปาลยังคงมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลผูกมัดยกระดับประเทศจากสถานภาพประเทศด้อยพัฒนาภายในปี 2565.

ใหม่!!: ปลาช่อนสจวร์ตและประเทศเนปาล · ดูเพิ่มเติม »

ปลาช่อนบาร์กา

ปลาช่อนบาร์กา (Barca snakehead) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa barca ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีความยาวเต็มที่ประมาณ 90 เซนติเมตร เป็นปลาที่มีสีสันสวยงามมาก โดยมีสีเขียวและเหลืองประกอบกับจุดสีดำและแดงกระจายทั่วบริเวณส่วนหัว, ลำตัว และครีบ ส่วนหัวมีขนาดโตและปากกว้างมาก จนได้ชื่อว่าเป็นปลาช่อนที่มีความสวยงามที่สุดในโลก มีถิ่นกระจายพันธุ์อยู่ในแม่น้ำพรหมบุตรและแม่น้ำคงคาในรัฐอัสสัมและรัฐเบงกอลตะวันตก ในประเทศอินเดีย และบางส่วนของบังกลาเทศเท่านั้น ปลาช่อนบาร์กา เป็นที่รู้จักครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1822 โดย ฟรานซิส บูชาแนน แฮมิลตัน ซึ่งเป็นนายแพทย์และนักชีววิทยาประจำกองทัพจักรวรรดิอังกฤษที่ปกครองอินเดียอยู่ ได้ศึกษาธรรมชาติในรัฐเบงกอลและได้ค้นพบปลาน้ำจืดชนิดใหม่ ๆ ได้ถึง 100 ชนิด หนึ่งในนั้นคือ ปลาช่อนชนิดนี้ พร้อมกับได้เขียนภาพประกอบไว้ โดยได้ตีพิมพ์ในหนังสือชื่อ An account of the fishes found in the river Ganges and its branches โดยบรรยายไว้เกี่ยวกับปลาช่อนบาร์กาว่า ความยาวเต็มที่ได้ถึง 90 เซนติเมตร และทำรังโดยขุดรูขึ้นบริเวณริมฝั่งโผล่และเฉพาะส่วนหัวออกมาเพื่อหาอาหาร เพศของปลาชนิดนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสีแต่ขึ้นอยู่กับรูปร่างครีบปลาลำตัว แต่ในปลาตัวผู้นั้นจะมีครีบหลัง ครีบอก ครีบก้นที่ใหญ่กว่าตัวเมียและลำตัวผอมยาวอย่างเห็นได้ชัดแต่ตัวเมียนั้นมีครีบที่เล็กกว่าอย่างเห็นได้ชัด และในตัวเมียมีลำตัวมีลักษณะข้อนข้างป้อมสั้นกว่าตัวผู้ส่วนเรื่องสีของปลาชนิดนี้ก็จะขึ้นอยู่กับค่าน้ำสภาพแวดล้อม และอื่นๆ ปลาช่อนบาร์กา จัดไว้เป็นหนึ่งในปลาช่อนที่หายากที่สุดในโลก จากคุณสมบัติทั้งหมดดังกล่าว ทำให้เป็นปลาสวยงามที่มีราคาแพงมากชนิดหนึ่ง และสำหรับในประเทศไทยเป็นปลาที่มีการนำเข้ามาจำหน่ายเพียงแค่ไม่กี่ตัว และเคยมีการหลอกขายโดยเอาปลาช่อนชนิดอื่นมาขายกันแล้วในชื่อต่าง ๆ รวมทั้งเคยสับสนกับปลาช่อนชนิดอื่นที่มีความใกล้เคียงกันด้วย พฤติกรรมในที่เลี้ยงเป็นปลาที่มีดุร้ายก้าวร้าวมาก ไม่สามารถเลี้ยงรวมกันโดยเฉพาะตัวผู้หลาย ๆ ตัวได้เลย เพราะจะกัดกันทันทีแม้กระทั่งเพิ่งเทจากถุงลงตู้กระจก แต่การเลี้ยงรวมกับตัวเมียสามารถกระทำได้อย่างง่ายดาย เป็นปลาที่สามารถเลี้ยงในห้องที่เปิดเครื่องปรับอากาศได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพราะอาศัยอยู่ในที่ ๆ มีอุณหภูมิระหว่าง 10-24 องศาเซลเซียส มีพฤติกรรมการกินอาหารเพียงแค่ แมลง หรือกุ้งฝอย หรือเนื้อกุ้งชิ้นเท่านั้น โดยไม่กินปลาเหยื่อหรือลูกปลาขนาดเล็กเล.

ใหม่!!: ปลาช่อนสจวร์ตและปลาช่อนบาร์กา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาช่อนแคระ

ปลาช่อนห้าแถบ (''Channa'' sp. "five striped") เป็นปลาช่อนแคระอีกชนิดหนึ่งที่ยังมิได้มีการระบุชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่แน่ชัด แต่มีลักษณะคล้ายกับปลาช่อนสจวร์ต (''C. stewartii'') โดยมีลายบั้งสีน้ำตาลเข้ม 5 แถบ หรือมากกว่าตามแนวตั้งของลำตัว และไม่มีสีสันสวยงาม ปลาช่อนแคระ (Dwarf snakehead) เป็นชื่อสามัญที่เรียกปลาในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) โดยหมายถึงปลาที่มีขนาดเล็ก เมื่อโตเต็มที่แล้วมีขนาดความยาวไม่เกิน 20-30 เซนติเมตร เช่น.

ใหม่!!: ปลาช่อนสจวร์ตและปลาช่อนแคระ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาช่อนเอเชีย

ปลาช่อนเอเชีย (Asiatic snakehead) สกุลปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) ปลาในสกุลนี้ มีรูปร่างโดยรวมคือ รูปร่างเรียวทรงกระบอก ส่วนหัวโตจะงอยปากยื่น ปากกว้าง ตาโต มีฟันเป็นเขี้ยวบนขากรรไกร หัวด้านบนราบ ถ้าดูจากตอนบนจะโค้งมนคล้ายงู ลำตัวค่อนข้างกลม ครีบหลังและครีบก้นยาว ครีบหางปลายมน ครีบอกใหญ่ ครีบท้องเล็ก เกล็ดใหญ่มีขอบเรียบ มีอวัยวะช่วยหายใจเป็นหลืบเนื้อสีแดงอยู่ในคอหอย เรียกว่า "Suprabranchia" จึงสามารถอยู่ในแหล่งน้ำที่มีออกซิเจนต่ำได้ ลำตัวมีลวดลายและสีสันแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิด ใช้ชื่อสกุลว่า Channa (/ชาน-นา/) ลักษณะสำคัญของสกุลนี้ คือ หัวและแก้มปกคลุมด้วยเกล็ด ฐานครีบหลังยาวกว่าฐานครีบก้น หัวกว้างและแบน ปากกว้าง มุมปากยาวเลยหลังตา นัยน์ตาอยู่ค่อยมาทางปลายจะงอยปาก แพร่กระจายพันธุ์ในทวีปเอเชีย พบได้ในภูมิภาคเอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงเอเชียตะวันออก มีขนาดรูปร่างแตกต่างกันอย่างมากตามแต่ละชนิด โดยพบมีความยาวตั้งแต่ 1.5 เมตร เช่น C. micropeltes หรือ C. aurolineatus ไปจนถึงไม่ถึงหนึ่งฟุต คือ ปลาช่อนแคร.

ใหม่!!: ปลาช่อนสจวร์ตและปลาช่อนเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาช่อนสจวร์ตและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำพรหมบุตร

แม่น้ำยาร์ลุงซางโปในทิเบต แม่น้ำพรหมบุตร มุมมองจากใกล้ท่าน้ำสุเกลศวรในเมืองคูวาหตี แม่น้ำพรหมบุตร (เทวนาครี: ब्रह्मपुत्र พรฺหฺมปุตฺร; Brahmaputra) เป็นแม่น้ำที่กั้นเขตแดนสายสำคัญสายหนึ่งของทวีปเอเชีย มีความความยาว 2,900 กิโลเมตร ส่วนความยาวของลำน้ำตอนบนนั้นไม่ทราบแน่ชัด มีต้นกำเนิดอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเขตปกครองตนเองทิเบต สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีชื่อเรียกเป็นภาษาทิเบตว่า "แม่น้ำยาร์ลุงซางโป (Yarlung Tsangpo)" จากนั้นไหลผ่านพื้นที่ตอนใต้ของทิเบต มีชื่อเรียกว่า "แม่น้ำดีฮัง (Dihang)" ไปตัดผ่านเทือกเขาหิมาลัยในโกรกธารใหญ่ แล้วไหลวกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ผ่านหุบเขาอัสสัม และไปทางใต้ผ่านประเทศบังกลาเทศ มีชื่อเรียกว่า "แม่น้ำยมุนา (Jamuna)" จากนั้นได้ไหลมารวมกับแม่น้ำคงคา เกิดเป็นดินดอนสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ชื่อว่าสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคา นับเป็นแหล่งชลประทานและการคมนาคมที่สำคัญแห่งหนึ่ง อนึ่ง แม่น้ำยมุนาแห่งบังกลาเทศซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำพรหมบุตรนี้เป็นคนละสายกับแม่น้ำยมุนา (Yamuna) แห่งอินเดียซึ่งไหลขนานกับแม่น้ำคงคา และมารวมกันที่เมืองอัลลอฮาบาดในอินเดีย แม่น้ำส่วนใหญ่ของอินเดียและบังกลาเทศจะมีชื่อเป็นเพศหญิง แต่แม่น้ำพรหมบุตรมีชื่อเป็นเพศชาย ในภาษาสันสกฤต คำว่า "พรหมบุตร" หมายถึง โอรสของพระพรหม ในภาษาอาหม เรียกแม่น้ำพรหมบุตรว่า น้ำดาวผี หรือ แสงดาว.

ใหม่!!: ปลาช่อนสจวร์ตและแม่น้ำพรหมบุตร · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาหิมาลัย

วเทียมของเทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาหิมาลัย (Himalaya Range) เป็นเทือกเขาในทวีปเอเชีย ที่แยกอนุทวีปอินเดียทางทิศใต้ ออกจากที่ราบสูงทิเบตทางทิศเหนือ เป็นที่ที่มียอดเขาที่สูงที่สุดในโลก เช่น ยอดเขาเอเวอเรสต์ และยอดเขากันเจนชุงคา (Kanchenjunga) และยังประกอบด้วยยอดเขาที่มีความสูงมากกว่า 7,200 เมตร (23,600 ฟุต) มากกว่าหนึ่งร้อยยอด ในทางศัพทมูลวิทยา คำว่า หิมาลัย มาจากภาษาสันสกฤต หมายถึง "ที่อยู่ของหิมะ" (หิม + อาลย) เป็นจุดกำเนิดของระบบแม่น้ำที่สำคัญของโลกหลายสาย เช่น แอ่งแม่น้ำสินธุ และแอ่งแม่น้ำคงคา-พรหมบุตร แม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำโขง เทือกเขาหิมาลัยทอดยาวพาดผ่านพื้นที่ของ 5 ประเทศ — ปากีสถาน อินเดีย จีน ภูฏาน เนปาล — พื้นที่ลุ่มน้ำของแม่น้ำหิมาลัยเป็นที่อยู่ของผู้คนราว 750 ล้านคน ซึ่งรวมถึงชาวบังคลาเทศ เทือกเขาหิมาลัยหมายรวมถึงเทือกเขาการาโกรัม ฮินดูกูช และเทือกเขาอื่น ๆ ที่เล็กกว่า เมื่อรวมกันแล้วเทือกเขาหิมาลัยเป็นระบบที่สูงที่สุดในโลก และเป็นบ้านของยอดเขาที่สูงที่สุด ซึ่งรวมถึงยอดเขาเอเวอเรสต์และเคทู.

ใหม่!!: ปลาช่อนสจวร์ตและเทือกเขาหิมาลัย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Channa stewartiiปลาช่อนสจ๊วต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »